-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 103 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ปลูกข้าวทำพันธุ์            


         
หลักการและเหตุผล :                
- เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ชุด สามารถใช้ปลูกติดต่อกันได้เพียง 3-4 รุ่น หากนำมาปลูกเป็นรุ่นที่ 4-5 หรือรุ่นต่อๆมาจะกลายพันธุ์หรือผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์เดิม
                    

- เมล็ดพันธุ์แท้รุ่นแรกหายาก ปัจจุบันทางราชการสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์แท้ได้เพียง 50,000-60,000 ตัน/ปี ในขณะที่ชาวนาทั่วประเทศมีความต้องการประมาณ 100,000 ตัน/ปี                

- การที่คุณภาพข้าวผิดเพี้ยนไปจากสายพันธุ์แท้ถือเป็น ต้นทุนที่สูญเปล่า อย่างหนึ่ง

- เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด หมายถึงต้นข้าว 1 กอ....ต้นข้าว 1 กอมี 20 ลำ....ต้นข้าว 1 ลำมี 1 รวง....ข้าว 1 รวงมี 100 เมล็ด....นั่นคือ เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ด เมื่อขยายพันธุ์แล้วจะได้ข้าวถึง 2,000 เมล็ด                 

- การขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากทางราชการแต่ละครั้ง จะได้มาเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่พอเพียงต่อการใช้ในแต่ละรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์แท้พอเพียงต่อการปลูกในแต่ละรุ่น ผู้ปลูกข้าวต้องนำเมล็ดพันธุ์จำนวนน้อยที่ได้มานั้นขยายพันธุ์เองด้วยวิธี "นาดำ" แล้วบำรุงต้นข้าวด้วยวิธีทำนาแบบประณีตเพื่อเพิ่มปริมาณก่อน  โดยปฏิบัติดังนี้
                
         
เตรียมแปลงตกกล้า
                
- ปรับเรียบเพื่อให้มีระดับน้ำหน้าดินและใต้ผิวดินเสมอกันทั่วทั้งแปลง
- แปลงอยู่กลางแดด ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน                
- วัดค่ากรด-ด่างของดิน แล้วปรับให้ได้ค่าที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว
- มีน้ำบริบูรณ์และช่องทางน้ำเข้า-ออก สามารถนำน้ำเข้าออกได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- การติดตั้งสปริงเกอร์แบบ ถอด-ประกอบ จะช่วยให้การฉีดพ่นสารอาหารทางใบ-ทางราก ฮอร์โมน และสารสกัดสมุนไพรได้สะดวก
                                 

หมายเหตุ :                
การเตรียมแปลงตกกล้าจะต้องพิถีพิถันมากว่าการเตรียมแปลงปลูกทั่วๆไป เพื่อให้ได้ต้นและเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด                

         
เตรียมเทือกตกกล้า
                
- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ + กระดูกป่นหรือปลาป่น + ปุ๋ยคอกหมักข้ามปี หรือ ปุ๋ยคอกน้ำ (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองอย่างๆละเท่าๆกัน) + กากก้นถังปุ๋ยชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง หว่านให้ทั่วแปลง ไถดะไถแปรและไถพรวนหลายๆรอบ
          
- หลังจากไถพรวนแล้วปล่อยทิ้งไว้ 10-15 วันระหว่างนี้ให้เติมจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน เพื่อเป็นการ บ่มดิน หรือเป็นการให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการปรับสภาพโครงสร้างดินและย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆจนได้ฮิวมิค แอซิด
                       
หมายเหตุ :                
การบ่มดินควรใช้ระยะเวลานานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อให้เกิดสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับต้นข้าว ซึ่งจะส่งผลให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี                

           
เตรียมเมล็ดพันธุ์
                
แช่เมล็ดพันธุ์ใน  น้ำ + ไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม  นาน 24 ชม.  นำขึ้นห่มชื้นต่ออีก 24-48 ชม. เมื่อรากเริ่มแทงออกมาจึงนำไปหว่านในแปลงที่เตรียมพร้อมแล้ว
           
 
        
บำรุงต้นกล้าในแปลงตกกล้า
                  
ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ .และให้แคลเซียม โบรนอน 1 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จนถึงวันถอนกล้าไปดำในแปลงจริง
                                
หมายเหตุ :                
กล้าที่ถอนขึ้นมาจากแปลงตกกล้า มัดรวมกำแล้วนำไปวางตั้งแช่ใน “น้ำ + มูลค้างคาว”  พอท่วมรากก่อนนาน 24 ชม. แล้วจึงนำไปปักดำ จะช่วยให้แตกกอดีจำนวนมาก ส่งผลให้ได้จำนวนรวงมากขึ้นด้วย
                

การปักดำ
                
เหมือนการนาดำในการทำนาข้าวแบบประณีต                

 การปฏิบัติบำรุง
                
- การปฏิบัติบำรุงทุกระยะ ปฏิบัติเหมือนการทำนาข้าวแบบประณีต
- การสำรวจแปลงเพื่อกำจัดข้าวปน ถือเป็นมาตรการสำคัญมากเพราะผลผลิตที่ได้จะต้องเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์มากที่สุด





แปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว
1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น หากมีนา 50 ไร่ จำเป็นต้องใช้พันธุ์ข้าวประมาณ 350 กิโลกรัม สำหรับนาดำ หรือ 900 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่าน ดังนั้น พื้นที่แปลงพันธุ์ที่ต้องการ คือ 1 ไร่ สำหรับนาดำ หรือประมาณ 3 ไร่ สำหรับนาหว่าน

2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก แล้วไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อน จึงทำการตกกล้า หรือหว่านข้าว


3. หลังจากข้าวงอกหรือปักดำ ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ โดยควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูง สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะที่ผิดปกติ ให้ตัดกอหรือต้นข้าวทิ้ง ครั้งที่ 2 ในระยะออกดอก ให้ตัดกอข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน ครั้งที่ 3 ในระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ก็ให้ตัดข้าวที่มีลักษณะเมล็ดผิดปกติทิ้งไป


4. ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา เพราะอาจจะถูกฝน ทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมไปได้ การนวดข้าว ควรแยกข้าวส่วนอื่น และแน่ใจว่าเครื่องนวดไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น


การกำจัดข้าวปน
เป็นการรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ มีลักษณะถูกต้องตรงตามลักษณะพันธุ์ จึงมีความจำ
เป็นมากที่ต้องหมั่นตรวจแปลง เพื่อกำจัดข้าวเรื้อ ข้าวปน หรือข้าวกลายพันธุ์ เพราะการเกิดการปะปนของเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงเมล็ดเดียว หรือข้าวเรื้อเพียงกอเดียว จะทำให้เมล็ดข้าวที่ผลิตได้ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ ฉะนั้น การตรวจและกำจัดข้าวปนควรทำในระยะต่าง ๆ ดังนี้


1. ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่

2. ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ
ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สี ต้น กาบใบ และใบ


3.
ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่

4. ระยะข้าวแก่
ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆของต้นในการพิจารณา


ข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์

สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก

วันออกดอก
ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกัน
มากเกินกว่า 7 วัน เมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฎเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์

รวง
ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ ห่างของระแง้

ข้าวกล้องข้าวเจ้า
จะมีข้าวกล้องใส ข้าวเหนียวจะมีข้าวกล้องขุ่น นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่


การคัดข้าวไว้ทำพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยประการแรกที่สำคัญต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการ
ผลิตข้าว ปัจจุบันการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีจากทางราชการ ไม่สามารถสนับสนุนเกษตรกรได้เพียงพอ เกษตรกรควรจะหันมาจัดระบบการทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้เอง การจัดทำแปลงพันธุ์ข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ ทำให้มีเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ คุณภาพดี โดยมีข้อแนะนำดังนี้


1. เมื่อเกษตรกรได้รับเมล็ดพันธุ์ดีจากทางราชการมาแล้ว ควรเลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาทั้งหมด เช่น มีที่นา 50 ไร่ ปลูกโดยวิธีหว่าน ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัม/ไร่ จะเป็นปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ คือ 50 คูณ 15 เท่ากับ 750 กิโลกรัมหากเกษตรกรเคยทำนาได้ผลผลิต 750 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น จะคำนวณพื้นที่แปลงพันธุ์ได้ 1 ไร่พอดี


2. การเตรียมแปลง ควรกำจัดข้าวเรื้อออกให้หมด ไม่มีเมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์อื่น ๆ การทำแปลง ควรใช้วิธีปักดำ แต่ถ้าจำเป็นจะใช้วิธีหว่านก็ได้


3. เมื่อข้าวในแปลงพันธุ์งอกแล้ว ควรทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ หรือข้าวผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้ได้ข้าวพันธุ์ไม่ดี ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง

- ครั้งแรก ในระยะแตกกอ ให้ดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ความสูงของลำต้น สีของใบและลำต้น ถ้าพบลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง

- ครั้งที่สอง ในระยะออกดอก กำจัดต้นข้าวที่ออกดอกผิดเวลากับต้นข้างเคียง อย่าเสียดายเหลือไว้แต่ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน

- ครั้งที่สาม ระยะที่เมล็ดข้าวส่วนใหญ่สุกเหลือง ต้องตัดข้าวที่มีเมล็ดผิดปกติทิ้ง โดยเฉพาะเมล็ดข้าวที่มีหาง ต้องกำจัดทิ้งโดยเร็ว เพราะเป็นเมล็ดกลายพันธุ์



4. ก่อนทำการเก็บเกี่ยว ควรตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่าต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติไปจากต้นอื่นให้เกี่ยวออกต่างหากเมื่อต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีให้ทำการเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันที ไม่ควรตากข้าวไว้ในนา


5. ในการนวด ถ้าใช้เครื่อง ต้องกำจัดเมล็ดข้าวที่ติดมากับเครื่องออกให้หมดเสร็จแล้วนำข้าวที่นวดตากแดดให้แห้ง ฝัดให้สะอาด เก็บในกระสอบหรือวัสดุอื่นเก็บรักษาไว้ในที่แห้งร่มเย็นสูงจากพื้นอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อรอการนำไปทำพันธุ์ต่อไป


การเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์ มีวิธีเก็บรักษาไม่แตกต่างจากการเก็บรักษาข้าวเพื่อรอการจำหน่าย แต่เนื่องจากการเก็บรักษาข้าวไว้ทำพันธุ์มีจุดประสงค์เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรายการต่อ ๆ ไปดังนั้น จึงต้องการความประณีตในการเก็บรักษามากกว่า เพื่อเสริมให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีตามคุณลักษณะที่กำหนด โดยการเก็บไว้ในกระสอบขณะที่ความชื้นไม่ควรเกิน 14 % แล้วบรรจุไว้ในยุ้งฉางที่ระบายอากาศได้ดี และสามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ เกษตรกรควรมีป้ายบอกชื่อพันธุ์ วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยว และข้อความอื่น ๆ ที่จำเป็นผูกติดไว้ทุกกระสอบ ตั้งกระสอบเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ


อีกวิธีที่สามารถกระทำได้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือเก็บไว้ในกระพ้อม ที่ป้องกันสัตว์ แมลงศัตรูข้าวได้ โดยเก็บไว้ใต้ถุนบ้าน มีฝาปิดเรียบร้อย หรือในกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีน้อย เกษตรกรสามารถเก็บรักษาไว้ในปี๊บ หรือภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ ปิดฝาให้แน่น ที่สำคัญคือข้าวเปลือกที่นำมาเก็บรักษาจะต้องลดความชื้นให้เหลือ 12-14% จะช่วยให้รักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้อย่างดี


อนึ่ง ข้าวเปลือกที่เกษตรกรจะนำมาเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์นี้ ควรที่จะต้องผ่านการคัดเลือกตามหลักการคัดพันธุ์มาแล้วอย่างดี คือ เป็นพันธุ์แท้ มีความสมบูรณ์ทุกเมล็ด ปราศจากการทำลายของแมลงศัตรูพืช
หากเกษตรกรปฏิบัติได้ดังนี้ก็จะมีเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ปลูกได้ทุก ๆ ปี แน่นอน


(ข้อมูลจากกองส่งเสริมพืชไร่นากรมส่งเสริมการเกษตร)
โทร. 0-2940-6079, 0-2579-3787
โทรสาร. 0-2579-1981





การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว



1. การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว

        - พื้นที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ติดต่อกันหรืออยู่ใกล้เคียงกัน สะดวกในการดูแล และติดตามงาน
        - ติดถนน การคมนาคมสะดวก
        - มีแหล่งน้ำใช้พอเพียงตลอดฤดูการผลิต
        - ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่ใกล้คอกสัตว์ และบ่อเลี้ยงปลา
        - ไม่เป็นดินกรดจัด หรือด่างจัด
        - อยู่ใกล้แหล่งรับซื้อและโรงงานปรับปรุงสภาพ




2. การคัดเลือกเกษตรกร

        - มีความสนใจ ตั้งใจจริงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์
        - ขยัน หมั่นตรวจถอนพันธุ์ปนสม่ำเสมอ
        - ซื่อสัตย์ รักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ไม่ปลอมปน หรือลักจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
        - มีการรวมกลุ่มช่วยกันถอนพันธุ์ปน
        - มีพื้นที่ไม่มากเกินไป จะได้มีเวลาตรวจถอนพันธุ์ปน




3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะผลิต

        - เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ
        - เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก
        - ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่
        - หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู
        - เป็นพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ




4. การวางแผนการปลูกข้าว

        - หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวต่างจากพันธุ์เดิม เพื่อลดปัญหาข้าวปนจากข้าวเรื้อ
        - กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ใหม่
        - ห้ามปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออากาศ หนาวเย็นในช่วงกันยายน-พฤศจิกายน
        - หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนที่ระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตกชุก




5. การเตรียมดิน

        - กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ข้าว หรือ เริ่มทำแปลงขยายพันธุ์ครั้งแรก โดย ตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่ย่ำกลบตอซัง จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ จนข้าวเรื้องอก จึงใช้ขลุบย่ำ กลบข้าวเรื้อ หมักไว้1-2 สัปดาห์ ก่อนคราด ทำเทือก ปลูก
        - ปรับพื้นนาให้เรียบสม่ำเสมอ ทำร่อง ระบายน้ำทุก 4 เมตร




6. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

        - ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
        - สุ่มเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบ ข้าวปน และความงอกก่อนปลูก
        - ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบหว่านน้ำตม และ 5 กิโลกรัมต่อไร่่ สำหรับปลูกแบบปักดำ




7. วิธีการปลูกข้าว

        - หว่านน้ำตม เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานที่ขาดแคลนแรงงาน ทำนาหลายครั้งต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์


        - ปักดำ เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน หรือมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันปัญหาข้าวเรื้อ และกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัด แต่ต้องการขยายปริมาณมาก




  8. การควบคุมหอยเชอร
ี่

        - ปล่อยเป็ดกินช่วงเตรียมแปลง และใช้ตาข่ายดักจับขณะสูบน้ำเข้านา
        - ใช้สารเคมีขณะหมักเทือกก่อนหว่านข้าว
         * นิโคซามาย 50 กรัมต่อไร่
         * เมทัลดีไฮด์ 150 กรัมต่อไร่
         * สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 3 กิโลกรัมต่อไร่
        - ระดับน้ำในนาขณะใช้สารไม่เกิน 5 เซนติเมตร


9. การควบคุมวัชพืช

        - ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชให้ถูกต้อง
           * ถูกกับชนิดของวัชพืช (ใบแคบ ใบกว้าง กก )
           * ถูกกับเวลาที่ใช้แล้วได้ผลดี (โดยนับจาก วันหว่านข้าว)
           * ถูกอัตราที่สารนั้นกำหนด
        - เปิดน้ำเข้านาหลังพ่นสารเคมี 3 วัน
        - รักษาระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร หลังกำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชงอกอีกครั้ง



 10. การจัดการน้ำในนาข้าว

        - รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับอายุข้าว
           * ระยะกล้า 5 เซนติเมตร.
           * ระยะแตกกอ 5-10 เซนติเมตร
           * ระยะตั้งท้อง-ออกดอก 10 เซนติเมตร
        - ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยว
           * นาดินเหนียว 10-14 วัน
           * นาดินทราย 7 วัน



11.
การใส่ปุ๋ยในนาข้าว

        - กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
        - ระดับน้ำขณะใส่ปุ๋ย 5-10 เซนติเมตร.
        - ใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิดของดิน ชนิดและระยะการเจริญเติบโตข้าว



ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง(ต้นเตี้ย)

1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
     - ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 25 - 35 กิโลกรัม/ไร่
     - ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่

2. ดินร่วน และดินทราย
แบ่งใส่ 2 ครั้ง
     - ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 25 -35 กิโลกรัม/ไร่
     - ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่่



ข้าวไวต่อช่วงแสง(ต้นสูง)

1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
     - ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
     - ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10 - 20 กิโลกรัมต่อไร่

2. ดินร่วน และดินทราย
แบ่งใส่ 2 ครั้ง
    - ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
    - ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่


12. การกำจัดข้าวปน

- ระยะแตกกอ

- ระยะออกดอก

- ระยะโน้มรวง

- ระยะพลับพลึง


13. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

- โรคข้าว

- แมลงศัตรูข้าว

- สัตว์ศัตรูข้าว




14. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว

        - เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ระยะสุกแก่พอดี ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 %
        - ทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
        - เกี่ยวข้าวขอบแปลงแยกออกเพื่อทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ุ์
        - ทำความสะอาดภาชนะบรรจุ และรถบรรทุกก่อนเก็บเกี่ยว และชักลากเมล็ดพันธุ์






http://www.brrd.in.th/rkb/data_003/rice_xx2-03_ricetech0006.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3557 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©