-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 549 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





บอนสี



เหลือกินเหลือใช้ : ภูมิปัญญาไทยกับการเลี้ยง...บอนสี(1)


อาจารย์สมรรถชัย ฉัตราคม รองประ ธานชมรมรักษ์กล้วย ข้าราชการบำนาญกรมส่งเสริมการเกษตร นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องของสายพันธุ์แล้ว ยังจัดเป็นเซียนบอนสีตัวยงอีกด้วย โดยอาจารย์สมรรถชัย เล่าให้ฟังถึง ภูมิปัญญาของคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับการปลูก เลี้ยงบอนสี ซึ่งจัดเป็นไม้มงคลประเภทหนึ่งว่า หากพูดถึงบอนสี คนจะมองเห็นเป็นไม้ประดับต้นเล็กกะทัดรัด ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีก้าน และใบที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง แดงเข้ม แดงดำ ขาวเขียว ชมพู ส่วนรูปทรงของใบ จะมีความหลากหลาย เช่น ใบกลม ใบไผ่ ใบหอก และใบยาว เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของการเลี้ยงบอนสีในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สมัยนั้นบรรดาเจ้านาย และข้าราชบริพาร เดินทางไปต่างประเทศ และมีการนำบอนสีเข้ามาเลี้ยง ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากทางชวา และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นศูนย์รวมของไม้ประดับเมืองร้อน บอนสี จึงเป็นที่นิยมของผู้มั่งมีในสมัยนั้น บอนสีถูกจัดให้เป็นไม้บารมีอย่างหนึ่ง

คนสมัยก่อนจะพิถีพิถันในการปลูกบอนสีมาก แม้กระทั่งกระถางที่ใช้เลี้ยง เป็นกระถางเคลือบลงลาย สั่งเข้ามาจากเมืองจีน เรือนเพาะชำทำด้วยไม้ระแนงปิดข้าง และทำชั้นเป็นลักษณะอัฒจันทร์

ส่วนดินที่ปลูกก็ใช้ภูมิปัญญาที่ได้จากการศึกษา สังเกต และถ่ายทอดเป็นความรู้กันมา ดินปลูกบอนสีสมัยก่อน จะใช้ดินท้องร่องที่มีใบทอง หลางปนอยู่ โดยจะนำดินขึ้นมาย่อยเป็นก้อนเล็ก แล้วเอามาวางบนสังกะสีตากแดดจัดให้แห้งสนิท หรือนำไปคั่วด้วยไฟ อ่อน ๆ เพื่อกำจัดเมล็ดหญ้า โรค และแมลง จากนั้นนำใบมะขามแห้งมาบดผสมอีกครั้ง ความเปรี้ยวของใบมะขาม จะเป็นตัวช่วยทำให้ใบบอนมีสีสันสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนใบทองหลางผุ มีคุณสมบัติช่วยทำให้ก้าน และลำต้นของบอนสีแข็งแรงขึ้น เป็นที่สังเกตว่า สมัยก่อนจะไม่นิยมใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก มาใช้เป็นส่วนผสมในการปลูกบอนสี ไม่เหมือนสมัยปัจจุบัน ดินที่ใช้ปลูกเลี้ยงบอนสี ไม่ค่อยพิถีพิถันมีการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยคอกเป็นตัวเร่งการเติบโต และสีสันต่าง ๆ

เรื่องของหัวพันธุ์บอนสี คนสมัยก่อนจะไม่มีความรู้เรื่องขยายพันธุ์ จะใช้วิธีสั่งหัวพันธุ์เข้ามาจากต่างประเทศ ต่อมามีการค้นพบวิธีผ่าหรือแยกหน่อ บางรายใช้วิธีพิเศษ เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดบอนพันธุ์ใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่าบอนแผลง ขึ้นมา เช่น นำต้นบอนที่มีอายุ 8-10 เดือน ยกทั้งกระถาง เอาขึ้นไปวางบนหลังคาสังกะสีแล้วตากแดด เป็นการทรมานต้น จนกระทั่งบอนเหี่ยวเฉา จึงนำลงมาพักฟื้น 3-4 วัน จากนั้นจะขุดหัวขึ้นมาผ่าเป็นชิ้น ๆ แล้วนำไปเพาะด้วยวัสดุเพาะชำ ที่ทำด้วยอิฐมอญทุบเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว แล้วนำชิ้นหัวของบอนมาวาง สักระยะจะเกิดบอนต้นใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากต้นพันธุ์พ่อแม่ ซึ่งสมัยก่อนจะเรียกว่า บอนแผลง เรื่องราวของบอนสียังไม่จบเท่านี้ เอาไว้เล่ากันต่อในคราวหน้านะครับ.


เหลือกินเหลือใช้:ภูมิปัญญาไทย...กับการเลี้ยงบอนสี(2)

คราวที่แล้วเขียนถึง "บอนแผลง" หรือบอนสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อเกิดบอนพันธุ์ใหม่ ย่อมเป็นของธรรมดาที่จะต้องนำไปตั้งชื่อและขึ้นทะเบียนกัน จนในปัจจุบันบอนสายพันธุ์เก่า ๆ เริ่มหายากมากขึ้น ได้แก่ บอนในตระกูลพระอภัยมณี เช่น บอนนางระเวง บอนผีเสื้อสมุทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบอนใน ตระกูลขุนช้างขุนแผน เช่น บอนขุนแผน บอนขุนช้าง บอนเถรกวาด และบอนแก้วกิริยา เป็นต้น

อาจารย์ สมรรถชัย ฉัตราคม กล่าวว่า บอนจะงามดีตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป และจะงามที่สุดในเดือนสิงหาคม - ตุลาคม จากนั้นพอลมหนาวมาบอนจะเริ่มพักตัว โดยจะเริ่มหยุดการเจริญเติบโต สังเกตใบจะเฉา ซึ่งช่วงนี้นักเลงบอนจะหยุดให้น้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เน่า และต้องเอียงกระถางเพื่อไม่ให้มีน้ำค้างอยู่ใต้ดิน การเก็บหัวบอน คนสมัยก่อนจะปล่อยทิ้งไว้ในกระถาง โดยไม่ต้องรดน้ำ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นไป บอนจะเริ่มเข้าสู่วัฏจักร คือ เริ่มแทงหน่อทางใบและเจริญเติบโตต่อไป ปัจจุบันเมื่อบอนพักตัว บางรายจะขุดหน่อ นำมาล้างดิน ผึ่งให้แห้ง แล้วห่อด้วยหนังสือพิมพ์ใส่ในช่องผักของตู้เย็น พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ ก็จะนำมาพักตัว 1-2 วันที่อุณหภูมิปกติ จากนั้นจะมาลงปลูกใหม่ แต่วิธีนี้ ควรจะเก็บเฉพาะพันธุ์ ที่มีหัวใหญ่สมบูรณ์มากกว่า มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการสูญเสียมากกว่าได้ผลดี

ปัจจุบันมีการพัฒนาการเลี้ยงบอนสีมากขึ้น สามารถทำให้บอนสีเจริญเติบโตได้ทั้งปี โดยไม่ต้องหยุดพักตัวในช่วงหน้าหนาว โดยต้องรักษาระดับความชื้น โดยใช้วิธีทำตู้อบหรือโรงเรือนที่กรุด้วยพลาสติก ใส เพื่อลดการคายน้ำและรักษาอุณหภูมิที่ 30-35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่บอนสีอยู่ได้โดยไม่ต้องพักตัว นอกจากนี้ ยังให้ละลายช้าสูตร 14-14-21 และปุ๋ยทางใบ 15-30-15 อีกเป็นครั้งคราวเพื่อเสริมอาหารให้ทางใบ

จากสถิติที่มีการจดบันทึกไว้ พบว่าในช่วง 10-12 ปี บอนสีจะกลับมาโด่งดังเป็นที่นิยมอีกครั้ง โดยจะนิยมนานต่อเนื่อง 1-3 ปี แล้วก็จะซาไป โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนความนิยมระหว่าง กล้วยไม้ โกสน ว่าน อย่างไรก็ตามก็จะมีบุคคลอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ตั้งหน้าตั้งตาปลูกเลี้ยงบอนสี ในลักษณะสะสมและอนุรักษ์ไม่ให้สูญพันธุ์ โดยโยงใยไปสู่การทำเป็นอาชีพ ซึ่งมีตัวอย่างอยู่ที่ หมู่บ้านบอนสี อ.องครักษ์ จ.นครนายก ปัจจุบันเป็นแหล่งเลี้ยงบอนสีขนาดใหญ่ของประเทศ และทำกันมาตั้งแต่ในอดีต จากที่เลี้ยงกันในลักษณะนักเล่น นักอนุรักษ์ กลายเป็นอาชีพอย่างมั่นคงเพื่อส่งขายให้ทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย



ไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร

ข้อมูลจาก : น.ส.พ.เดลินิวส์  












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2305 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©