-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 295 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 2/3



องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร ONGART04@YAHOO.COM

ดาวเรือง ดอกไม้แห่งประชาธิปไตย ปลูกได้ดี ที่กลางดง ปากช่อง

จั่วหัวเรื่องไปอย่างนี้จะเว่อร์ไปไหมครับ ทำไมถึงพูดอย่างนั้น อ้าว! ก็พอหน้าเลือกตั้งทีไร เราก็จะเห็นแต่ดอกดาวเรือง
เขาเอามาทำพวงมาลัยแขวนคอผู้สมัครกันคนละพวงสองพวง นักร้องยอดนิยม เฮ้ย! ผู้แทนยอดนิยมก็จะคล้องกันเยอะ
หน่อย ยิ่งขึ้นบนเวทีละก็ ต้องคล้องให้ถึงปาก นัยว่าเป็นเหมือนกันชนกันอะไรมากระแทกปาก พอคล้องไปนานๆ หลายวัน
คอชักคันคะเยอ ดอกดาวเรืองมีศัตรูพืชเยอะ เพราะฉะนั้นเกษตรกรก็จะหนักยาไปหน่อย คอก็เลยคัน วันหลังเลยเห็นท่าน
ผู้แทนเอาผ้าขาวม้าพันคอเอาไว้รอบนึงก่อน?เอ้า! เชิญ พ่อแม่พี่น้องคล้องได้แล้ว?ก็เห็นยังงี้ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วจะไม่ให้
ขนานนามดอกดาวเรืองว่า ดอกไม้แห่งประชาธิปไตยได้ยังไง (อันนี้ไม่เกี่ยวกับสีน่ะครับ)


พอเลือกผู้แทนเสร็จสรรพ มักจะไม่ค่อยเห็นดอกดาวเรือง เพราะดอกดาวเรืองกลับมาจากดินแดนแห่งประชาธิปไตยกลายเป็น ดาวเรืองดอกไม้แห่งศรัทธา
เพราะเธอมักจะเป็นดอกไม้กำอยู่หน้าหิ้งพระบูชาในบ้าน ในวัด หรือไม่ก็ห้อยอยู่กับพวงมาลัยดอกมะลิตามศาลพระภูมิ

สำหรับผู้ปลูกเลี้ยงดาวเรือง อย่าง คุณเพิก ดาษงูเหลือม เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรือง ของตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาของเรา บอกว่า ?ดาว
เรืองมันก็คือดาวเรือง จะเอาดอกไปทำอะไรก็แล้วแต่ ขออย่างเดียวเอาดอกไปแล้วเอาเงินมา เป็นพอ?

ดาวเรืองในหุบเขา

บนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ของคุณเพิก เราพบว่าดอกดาวเรืองกำลังออกดอกบานสะพรั่งเต็มทั้งแปลงอยู่ท่ามกลางหุบเขาในตอนใกล้ๆ เที่ยงกับอุณหภูมิที่ร้อน
มากกว่า 40 องศาเซลเซียส เห็นคนงานร่วม 30 คน กำลังตัดดอกดาวเรืองอย่างขะมักเขม้น พอเต็มตะกร้าก็เอามารวมใส่เข่ง แล้วก็ขนขึ้นรถไถน้อยที่
ติดกระบะท้าย ขนเข้ามาในโรงคัดดอกทีละ 8 เข่ง แล้วเอามาเทกองรวมไว้ ก็จะมีคนคัดเกรดอีกทีโดยแบ่งดอกดาวเรืองตามขนาดดอกเป็น 3 เกรด 1, 2, 3
หรือ ใหญ่ กลาง เล็ก

เมื่อแบ่งเกรดแล้วก็ถึงเวลาเอามาบรรจุในถุงพลาสติคใสขนาดใหญ่ซึ่งได้เจาะรูไว้จำนวนมาก เพื่อเป็นการระบายอากาศไม่ให้อับ มิฉะนั้นจะทำให้ดอกเสียหายได้
ในถุงขนาดเดียวกัน ใส่ดอกดาวเรืองเบอร์ใหญ่ได้จำนวน 50 ดอก เบอร์กลางใส่ได้ 50 ดอกเช่นกัน แต่เบอร์เล็กสุดใส่ถึง 100 ดอก เวลายังไม่ถึงบ่าย 2 เรา
เห็นคนงานที่ตัดดอกกลับเข้ามาทำงานในโรงคัดเพื่อทำการคัดเกรดและบรรจุถุง

ก่อนปลูกดาวเรือง ต้องเพาะกล้าก่อน
เมล็ดพันธุ์ที่คุณเพิกใช้ในการปลูกจะซื้อมาซองละ 4,000 บาท มีจำนวน 3,500 เมล็ด ตกเป็นค่าใช้จ่ายเมล็ดละบาทกว่า ใช้ปลูกได้ประมาณ 3 งานกว่าๆ
ไม่ถึงไร่ วิธีเพาะกล้าจะใช้ 2 วิธี คือ การเพาะในแปลง กับเพาะในถาดหลุม โดยใช้ดินกับขุยมะพร้าว วิธีที่เพาะในถาดหลุมจะดีกว่า เพราะตอนถอนไปปลูกจะมี
วัสดุปลูกติดไปด้วย ไม่เหมือนวิธีปลูกแปลงตอนถอนไปปลูกจะไม่มีดินติด ต้นจะฟื้นช้ากว่าต้นกล้าที่ได้จากถาดหลุม ประมาณ 15 วัน ต้นกล้าก็พร้อมที่จะปลูก
ได้ ถ้าต้นกล้าอายุเกิน 20 วัน ไม่เหมาะจะนำมาปลูกแล้วเนื่องจากต้นมีขนาดใหญ่เกินไป

เตรียมแปลงก่อนปลูก
ดอกดาวเรืองที่ปลูกที่กลางดงจะไม่ยกร่องขึ้นมา การเตรียมแปลงเหมือนกับการทำไร่ทั่วไปคือ ไถด้วยผาล 3 ตากดินไว้ 1 สัปดาห์ โรยขี้วัวซึ่งได้จากวัวนม
แถบๆ นั้น แล้วจึงไถด้วยผาล 7 หมักขี้วัวในแปลง แปลงของที่นี่จะกว้างประมาณ 1 เมตร ทางเดินเว้นไว้ถึง 1.3 เมตร คุณเพิกให้เหตุผลว่า จะได้คล่องตัวใน
การทำงานเพราะตะกร้าที่ใส่ดอกมีขนาดใหญ่ ยกผ่านไปผ่านมา ถ้าทางเดินแคบ ดอกก็ชำรุด จึงเว้นทางเดินไว้ใหญ่กว่าแปลงดอกดาวเรืองเสียอีก ใน 1 แถว
ปลูกต้นดาวเรือง 3 ต้น ห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกแถวละ 45 ต้น รวม 3 แถว ได้ต้นทั้งหมด 135 ต้น ถือว่าเป็น 1 ร่อง
เอาปุ๋ยสูตร 25-7-7 รองก้นหลุมก่อนปลูกประมาณครึ่งช้อนแกง ช่วงปลูกใหม่ๆ รดน้ำเช้า-เย็น จนกระทั่งต้นฟื้นตัวดี จึงรดน้ำแค่วันละครั้ง พอต้นโตได้
ประมาณคืบ ก็จะเด็ดยอด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน หลังปลูก ส่วนต้นไหนยังไม่ถึงคืบอย่าเพิ่งเด็ด ค่อยมาเด็ดทีหลัง ซึ่งถ้าเราดูแลรักษาดีๆ ต้นที่มีขนาด
เล็กจะมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะโตทันๆ กัน พอต้นโตเกิน 1 ศอก ก็ให้เอาหลักไม้ปัก กะระยะว่าต้นดาวเรือง 7 ต้น ให้ปักไม้ 1 หลัก ใช้หลักไม้อะไรก็ได้ ส่วน
ใหญ่ของที่นี่ใช้ไม้กระถินเนื่องจากหาง่าย แล้วก็ขึงเชือกมาทางยาว ใช้เชือกฟางนี่แหละ ขึงเอาไว้เพื่อพยุงต้น ไม้หลักสูงประมาณ 1 เมตร พอต้นสูงไปเรื่อย ก็
ขึงเชือกขึ้นไปอีกเส้น รวมจนหมดอายุขัยของต้นจะขึงเชือกได้ 2-3 เส้น แล้วแต่พันธุ์ต้นสูงต้นเตี้ย โดยปกติจะเก็บดอกดาวเรืองได้เมื่อปลูกครบ 45 วัน และ
จะตัดดอกดาวเรืองได้เกินกว่า 30 วัน แล้วแต่การดูแลเอาใจใส่

ควรปลูกพืชหมุนเวียน อย่าปลูกซ้ำแปลง
ต้นดาวเรืองจะปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินของแถบกลางดงจะเป็นดินสีแดง ถ้าเป็นดินทรายการเจริญเติบโตและการให้ดอกไม่ค่อยจะดี บริเวณที่
เราปลูกดาวเรืองในรุ่นนี้แล้วจะปลูกซ้ำเลยอีกไม่ได้ ควรจะต้องปลูกพืชอย่างอื่นทดแทนก่อน แล้วค่อยกลับมาปลูกซ้ำในที่เดิม ที่ดินที่ใช้ปลูกดาวเรืองของคุณ
เพิกนี้ หลังจากตัดดอกดาวเรืองหมด ก็จะไถทิ้งปลูกข้าวโพดต่อ แต่ก็จะปลูกดาวเรืองต่ออีกในที่แปลงอื่นที่พักเอาไว้ แต่ในหน้าฝนการปลูกดาวเรืองค่อนข้าง
เสี่ยงต่อความเสียหายมากเพราะถ้าฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน และการระบายน้ำในแปลงไม่ดี ต้นมักจะเน่า พอถึงเวลาอย่างนี้ ยาอะไรก็เอาไม่อยู่ ในบางครั้ง
จะต้องทำเป็นคูน้ำกว้างประมาณ 1 เมตร เพื่อเบี่ยงไม่ให้น้ำฝนที่หลากลงมาจากเขาเข้ามาในแปลง แต่พอถามว่าถ้าอย่างนั้นหน้าฝนดอกดาวเรืองจะราคาดีที่สุด
คุณเพิกบอกไม่ใช่ สำหรับกลางดงหน้าร้อนราคาดีที่สุด เพราะว่า หน้าฝนคนปลูกกันเยอะ ดาวเรืองให้ดอกดี แต่พอหน้าร้อนซิ ที่อื่นปลูกไม่ค่อยได้เนื่องจากน้ำ
ไม่ค่อยมีรด หรืออากาศร้อนมากดอกไม่ใหญ่ แต่ที่กลางดงปัญหาน้ำไม่มีรดไม่มีเพราะน้ำบาดาลมีใช้ตลอดทั้งปี และอากาศก็ไม่ร้อนเหมือนกับทางภาคอื่น
คุณภาพดอกที่ได้สม่ำเสมอ ปริมาณดอกดาวเรืองทั้งประเทศมีเข้ามาส่งที่ตลาดกรุงเทพฯ น้อย จึงพลอยให้ดอกดาวเรืองที่กลางดงได้ราคามากกว่าฤดูอื่น

การตัดดอกดาวเรืองของคุณเพิกจะแบ่งเป็น 3 แปลง แปลงละ 5 ไร่ หมุนเวียนกันตัด ซึ่งหมายถึง 3 วัน ตัดได้ 1 ครั้ง โดยคนงานจะใช้กรรไกรตัด คนงานที่
เห็นในวันนั้นประมาณ 35 คน ซึ่งทำงานกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงครึ่ง ถ้างานยังไม่เสร็จคุณเพิกก็จะมีค่าล่วงเวลาจ่ายเหมือนกับแรงงานอื่น วิธีการตัด
ก็จะตัดให้ชิดโคนดอก ซึ่งจะได้ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร โดยไม่มีใบติดมา แล้วเอาใส่เข่งมารวมกันที่โรงคัดแยก เพื่อคัดแยกขนาดของดอกดาวเรืองและ
บรรจุถุงต่อไป เมื่อได้จำนวนก็จะบรรทุกรถกระบะนำไปส่งที่ปากคลองตลาด ส่วนราคาของดอกดาวเรืองเป็นไปตามแบบแผนที่มีมากันช้านานแล้ว คือผู้ซื้อเป็นผู้
กำหนดราคาตามจำนวนของปริมาณสินค้าที่เข้ามากันในวันนั้น อย่างเช่น ดอกใหญ่ ราคาอยู่ระหว่าง 40-80 สตางค์ ดอกกลาง 20-40 สตางค์ ดอกเล็ก 10-
20 สตางค์ แล้วแต่โชคชะตา ปลูกกันเยอะราคาก็ถูก ปลูกกันน้อยราคาก็แพง

พันธุ์ดาวเรืองที่กลางดงปลูกจะมี 2 พันธุ์ คือ ซอฟเวอเรน ดอกจะขนาดใหญ่ กลีบซ้อนกันแน่น อีกพันธุ์คือ ทองเฉลิม ดอกจะเล็กกว่า แต่ตรงใจกลางดอกสีจะ
เข้มกว่า และกลีบซ้อนกันแน่นกว่าพันธุ์ซอฟเวอเรน ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์นี้ จะนำไปร้อยพวงมาลัยและทำเป็นดอกไม้กำสำหรับบูชาพระ

สำหรับเรื่องโรคของดอกดาวเรือง คุณเพิกบอกว่า ดาวเรืองเป็นต้นไม้ล้มลุกที่เปลืองยามากที่สุด โรคที่มาจากเชื้อราที่สำคัญคือ โรคไส้กลวง (อันนี้คุณเพิกตั้ง
ชื่อเอง) อาการ คือ ต้นเหี่ยว เมื่อตัดมาดูจะพบว่าไส้ข้างในกลวง เป็นแล้วต้องถอนมาเผาทิ้งให้หมด อีกโรคหนึ่งคือ หนอนชอนใบ ซึ่งดื้อยามากต้องฉีดแทบทุก
วัน ถ้าเอาไม่อยู่ต้องทำลายทั้งแปลง ที่แล้วมาคุณเพิกก็เคยขาดทุนมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ด้วยความที่มีอาชีพเกษตร ใจต้องสู้ เพราะถ้าคราวไหนได้ก็หมายถึงกำไร
มากเหมือนกัน ถามจำนวนกำไรต่อไร่เท่าไหร่ คุณเพิกบอก คิดยาก เอายังงี้ก็แล้วกัน ลงทุนไปเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น ง่ายดี

ปัญหาหลักของการปลูกดาวเรืองของคุณเพิก คือลงทุนจำนวนมาก ไม่ต้องคิดอะไรมาก เฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์ก็ไร่ละ 5,000 บาท ค่ายาชนิดต่างๆ ที่ว่ามาให้ฟังก็
มากมาย แล้วยังจะมีปัญหาเรื่องคนงานที่ต้องพร้อมทำงาน คือ ตัดดอก คัดดอก บรรจุถุงอยู่ในช่วงเวลาที่ทำเงิน ไม่อย่างนั้นความเสียหายจะเกิด พูดง่ายๆ ปลูก
ดาวเรืองความเสี่ยงสูง แต่ก็เป็นเรื่องผกผันของกำไรในการปลูกดาวเรือง ถ้าได้ดีกำไรก็สูงเช่นกัน เหมือนเล่นหุ้น แต่ไม่ได้ไปเล่นที่ตลาดหลักทรัพย์ แต่ไปเล่นที่
ตลาดปากคลอง เกษตรกรกับแม่ค้าล้วนๆ ไม่ใช่ผู้ซื้อกับบริษัทเหมือนในตลาดหลักทรัพย์


สงสัยให้ไต่ถาม คุณเพิก ดาษงูเหลือม ที่โทร. (086) 759-3939 ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ

หน้า 24


-->
ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน




ดาวเรือง


ดาวเรืองมีกำเนิดในประเทศเม็กซิโก มีหลายชนิด แต่ทีรู้จักคุ้นเคยและอยู่ในความนิยมมีเพียง 2 ชนิด
นั้นคือ


1. ดาวเรืองต้นสูง-ดอกใหญ่ ในต่างประเทศเรียก "ดาวเรืองอเมริกัน" หรือ "ดาวเรืองอัฟริกัน"
ดอกมีหลายสี อาทิ สีขาวนวล เหลืองอ่อน เหลือง เหลืองทอง และสีส้ม สามารถปลูกเลี้ยงและออก
ดอกได้ตลอดปี เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าปลูกในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนตุลาคมถึง
มีนาคม ดาวเรืองจะออกดอกและตัดจำหน่ายได้ภายใน 60-65 วัน แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูร้อนประมาณ
เดือนเมษายนถึงเดือนเมษายน ดาวเรืองจะออกดอกช้าลงประมาณ 10 วัน ทั้งนี้เพราะในช่วงดังกล่าวนี้
ดาวเรืองจะเจริญเติบโตทางต้นดีมากและออกดอกช้า จึงทำให้ต้นสูงมากจนต้นล้ม จึงต้องโกยดินสุม
โคนต้น ประคองไม่ให้ต้นล้ม


2. ดาวเรืองต้นเตี้ย-ดอกเล็ก ในต่างประเทศเรียกว่า "ดาวเรืองฝรั่งเศส" ดอกมีสีเหลือง ส้ม และ
แดง สามารถปลูกเลี้ยงและออกดอกได้ดีมากในช่วงฤดูหนาว แต่ถ้าปลูกในฤดูร้อน จะเจริญเติบโตทาง
ต้นดีมาก ต้นสูงกว่าปกติและจะไม่ออกดอกหรือจะออกบ้างก็มีเพียง 2-3 ดอกเท่านั้น ซึ่งถ้าปลูกใน
ฤดูหนาวจะออกดอกเกือบร้อยดอกต่อต้น



การขยายพันธ์

โดยใช้เมล็ด เมล็ดดาวเรืองมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับเมล็ดไม้ดอกชนิดอื่น ๆ มีรูปร่างยาวรี และ
มีหางด้วย การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดนี้ทำได้ง่ายและสะดวกมาก เพียงแต่เตรียมแปลงปลูกในที่ ๆ ต้อง
การปลูก หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกโดยตรงหลุมละ 1-2 เมล็ด แต่เนื่องจากเมล็ดดาวเรืองพันธุ์ดี ๆ
เช่น "ดาวเรืองเกษตร" จะเป็นเมล็ดลูกผสมชั่วแรก ซึ่งมีราคาแพงมาก จึงควรเพาะเมล็ดในบริเวณที่
ดูแลรักษาได้สะดวก ปลอดภัยจากมด และจิ้งหรีด แทนการหยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกโดยตรง หรือ
เพาะเมล็ดในตะกร้าพลาสติก 

ทางที่ดีที่สุดคือ เพาะเมล็ดในถุงพลาสติกขนาด 3 1/2 x 5 นิ้ว โดยเจาะรู้ก้นถุงเพื่อระบายน้ห
พร้อมกับพับปากถุงลงไปประมาณ 1 1/2 นิ้ว บรรจุดินหรือวัสดุปลูกที่เตรียมไว้เติมน้ำคลุกเคล้าให้มี
ความชื้นพอประมาณ (ไม่แฉะ) ลงไปในถุง (อย่าอัดแน่น) ให้ระดับดินต่ำจากปากถุงประมาณครึ่ง
เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงไปถุงละ 1 เมล็ด โดยวางตามแนวนอน หรือปักเมล็ดลงไปในแนวตั้งจนมิด
เมล็ด ให้ส่วนหางชี้ขึ้น กลบด้วยดินหรือวัสดุปลูกที่เหลือ หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ซึ่งดินจะพูนปาก
ถุงขึ้นมาเล็กน้อย แต่เมื่อรดน้ำด้วยหัวบัวละเอียด ๆ จนโชก 2-3 ครั้งในวันแรกที่เพาะ ดินจะยุบตัว
เสมอปากถุงพอดี ปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อช่วยรักษาความชื้น ในวันที่ 2-3 รดน้ำ 2
ครั้ง เช้า-บ่าย ถ้าเมล็ดมีคุณภาพดี เมล็ดจะงอกภายใน 3 วัน นับจากวันเพาะ ดังนั้นในเย็นวันที่ 3
หรือวันที่ 4 เปิดกระดาษออกเพื่อให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเต็มที่ตั้งแต่เช้าวันที่ 4 หรือ 5 เป็นต้นไป
ถ้าปิดกระดาษออกช้า จะทำให้ต้นกล้าอ่อนแอ ต้นจะยืดและล้มพับคอดินได้ง่าย


หลังจากเปิดกระดาษออกแล้ว ในวันต่อ ๆ ไป รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง เช้า-บ่าย ตามความจำเป็น ถ้ารด
น้ำมากไป รากจะเน่าเป็นเหตุให้ต้นตายได้


การเพาะเมล็ดลงในถุงพลาสติกหรือภาชนะขนาดเล็กดังกล่าวมานี้ มีผลดีตรงที่เมื่อเมล็ดงอกแล้วไม่จำ
เป็นย้ายกล้า สามารถเลี้ยงดูต้นกล้าดาวเรืองให้เจริญเติบโตอยู่ในถุงจนกว่าจะมีใบจริง 5-6 คู่ ซึ่งใช้
เวลาประมาณ 23-23 วัน นับจากวันเพาะเมล็ด ซึ่งพร้อมที่จะเด็ดยอดให้เหลือใบจริง 4 คู่ หลังจาก
เด็ดยอดเรียบร้อยแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงทันที ซึ่งสะดวกสบายและประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน


2. โดยใช้ยอดปักชำ การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ ปกติจะไม่นิยมทำแต่เนื่องจากเมล็ดดาวเรือนพันธุ์ดีมี
ราคาแพง ประจวบกับการปลูกดาวเรืองในช่วงฤดูร้อน ต้นดาวเรืองจะเจริญเติบโตดีมากและออกดอกช้า
ลงด้วย ดังนั้นการเด็ดยอดช้าลง 2-3 วัน เพื่อให้ส่วนยอดที่จะเด็ดออกมีความยาวประมาณ 3-4
เซนติเมตร เพื่อนำไปปักชำได้สะดวกจะไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของดอกของต้นเดิมและต้นที่ได้จาก
การปักชำยอด จึงไม่ควรขยายพันธุ์โดยวิธีนี้กับต้นดาวเรืองที่ปลูกในฤดูหนาว ซึ่งดาวเรืองออกดอกเร็วจะ
ทำให้ดอกทั้งที่ได้จากต้นเดิมและจากต้นที่ได้จากชำยอดมีขนาดเล็กลงและก้านสั้นไม่ได้คุณภาพ

ควรเตรียมภาชนะใส่น้ำไว้รองรับส่วนยอดที่เด็ดออกเพื่อจะนำไปปักชำ ทั้งนี้เพราะยอดดาวเรืองที่เด็ด
จากต้นแล้วจะเหี่ยวภายใน 4-5 นาทีเท่านั้น



ระยะการปลูก

1. ถ้าปลูกต้นดอกแบบติดก้านยาวสำหรับทำเป็นดอกไม้กำ ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 40 คูณ 40
เซนติเมตร ถ้าแปลงกว้าง 1.10 เมตร จะปลูกได้ 3 ต้นต่อแถว หรือร่องกว้าง 4.50 เมตร จะปลูก
ได้ 11 ต้น ต่อแถว


2. ถ้าปลูกแบบเด็ดดอกใส่ถุงสำหรับร้อยพวงมาลัย ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 70 คูณ 70
เซนติเมตร ถ้าแปลงกว้า 1.10 เมตร จะปลูกได้ 2 ต้นต่อแถว หรือร่องกว้าง 4.50 เมตร จะปลูก
ได้ 6 ต้นต่อแถว

3. ถ้าปลูกใส่กระถางทำเป็นไม้ดอกกระถาง ควรปลูกในกระถางขนาด 6 หรือ 8 นิ้ว กระถางละ 1
ต้น โดยย้ายกล้าลงปลูกภายหลังเด็ดยอดแล้ว เมื่อมีการแตกกิ่งข้างยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ควร
วางกระถางให้ห่างกันหนึ่งเว้นหนึ่งกระถาง มิเช่นนั้นพุ่มต้นจะชะลูดการแตกกิ่งข้างจะไม่พร้อมกันอีกทั้ง
มีดอกน้อยไม่ครบ 8 ดอก ตามต้องการ



การเตรียมดิน

ดาวเรืองต้องการแสงแดดจัด จึงต้องปลูกดาวเรืองกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรง อย่างน้อยวันละ 6
ชั่วโมง ที่สำคัญคือไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมตลอดเวลา ควรจะหาพืชอื่นปลูกสลับ แล้วจึงเวียนกลับมาปลูก
ดาวเรืองใหม่


แม้ดาวเรืองจะสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิดก็ตาม แต่ถ้าจะให้ได้ดาวเรืองที่มีพุ่มต้นสมบูรณ์
ดอกใหญ่และมีคุณภาพดี ดินควรจะมีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอ มีการระบายน้ำดีกักเก็บ
ความชื้นไว้พอควร ความเป็นกรดด่างประมาณ 6.5


การเตรียมดินจะทำเช่นเดียวกับการปลูกผักและไม้ดอกชนิดอื่น ๆ คือ ปรุงด้วยปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ย กทม.
หรือปุ๋ยหมัก ร่วมกับอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ที่หาง่าย ราคาถูก อาทิ แกลบดิบ เปลือกถั่ว
ชานอ้อย ซึ่งวัสดุดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะผสมลงไปในดินเหนียวหนักหรือดินทรายล้วนก็ตาม จะช่วยทำให้
คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น กล่าวคือ ถ้าใส่ลงไปในดินเหนีว อินทรีย์วัตถุจะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง
อนุภาคของดิน ทำให้เม็ดดินจับตัวกันเป็นก้อนไม่จับกันแน่น มีความพรุนทำให้อากาศถ่ายเทและมีการ
ระบายน้ำดีขึ้น ตลอดจนอุ้มน้ำดีด้วย แต่ถ้าใส่ลงไปในดินทรายซึ่งตามปกติดินทรายจะระบายน้ำดีเกินไป
และถ่ายเทอากาศดีมากแต่ไม่มีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารต่ำ อีกทั้งในตัวมันเองมีธาตุ
อาหารน้อยมาก อินทรีย์วัตถุที่เติมลงไปจะเป็นตัวเชื่อมทำให้อนุภาคของทรายเชื่อมกันแข็งแรง ช่วยใน
การดูดซับน้ำและธาตุอาหารดีขึ้น



การเด็ดยอด

เป็นการเด็ดเอาส่วนยอดออกให้เหลือใบจริงติดไว้กับต้นเพียง 4 คู่ (8 ใบ) เพื่อกระตุ้นให้มีการแตก
กิ่งข้างพร้อม ๆ กัน 8 กิ่ง กล่าวคือเมื่อดาวเรืองอายุประมาณ 23-25 วันนับจากวันเพาะเมล็ด มีใบ
จริงประมาณ 5-6 คู่ จึงจะทำการเด็ดยอด


การเด็ดยอดที่ถูกต้อง ทำได้โดยใช้นิวชี้และนิ้วกลางของมือซ้ายคีบใบหน้าของใบคู่บนสุด (คู่ที่ 4
จากส่วนล่างของต้น) ขณะเดียวกันใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วนางคีบใบหลัง ถ่างออกเบา ๆ ส่วนมือขวา ใช้
เฉพาะนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือรวบโคนของยอดดาวเรืองในส่วนที่จะเด็ดออกไว้ให้แน่น ค่อย ๆ เหนี่ยวลง
ข้าง ๆ อย่างช้า ๆ จนในที่สุดส่วนที่ต้องการเด็ดออกจะหลุดติดมือออกมาทั้งหมด สังเกตได้จากรอยบุ๋ม
ลึกลงไปตรงโคนใบคู่บนสุด ควรเด็ดยอดในตอนเช้าขณะต้นดาวเรืองอวบน้ำจะทำได้สะดวกและย้าย
ปลูกในเย็นวันเดียวกัน



การปลูก

รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรต่ำ ๆ เช่น 10-20-10 หรือ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือใกล้
เคียง หลุมละ 1 ช้อนชา เกลี่ยดินกลบเม็ดปุ๋ยเล็กน้อย เพียงเพื่อไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสกับปุ๋ยโดย
ตรง เพราะจะทำให้ใบไหม้อันเป็นเหตุให้ต้นเหี่ยวและตาย ถอดถุงออกก่อนปลูก ปลูกหลุมละ 1 ต้น
กลบดินให้เสมอใบเลี้ยงหรือสูงกว่าใบเลี้ยงเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่ม ถ้าปลูกจากต้นกล้า ใน 1-2 วันแรก
รดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อประคองไม่ให้ต้นเหี่ยว หลังจากรากงอกและต้นตั้งตัวได้แล้ว รดน้ำตามความ
จำเป็น


ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเปียกดอกไม้จะดีที่สุด เพราะดอกดาวเรืองขณะบานจะอุ้มน้ำทำให้คอดอกหัก และ
ดอกเน่าก่อนตัดขาย



การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น และเป็นผลสืบเนื่องถึงคุณภาพของดอก เนื่องจาก
ดาวเรืองเป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลาเพียง 60-65 วันนับจากเพาะเมล็ดถึงตัดดอกขาย จึงควรใส่ปุ๋ญให้ถูก
ต้องตรงตามจังหวะของการเจริญเติบโต นอกเหนือจากปุ๋ยที่ใส่รองก้นหลุมแล้ว การใส่ปุ๋ยเสริมหลังจาก
ปลูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้


1. ช่วงเจริญเติบโตทางต้น เป็นช่วง 30 วันแรกนับจากเพาะเมล็ดในช่วงนี้ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง
เพื่อเร่งให้ดาวเรืองเจริญเติบโตทางตนและแตกกิ่งข้างให้เร็วที่สุด อาจใช้ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรตอัตรา 3
ช้อนแกง หรือยูเรีย 1 ช้อนแกง ผสมกับธาตุอาหารเสริมเช่น ดีซ หรือ วิกริโฟล หรือเชียร์ อีก 2 ช้อน
แกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ รดหรือพ่นต้นและใบ ขณะอายุได้ประมาณ 14-15 วัน และอีก 1-2 ครั้ง ทันที
หลังจากเด็ดยอดและย้ายปลูกแล้ว ทั้งนี้เพื่อเร่งให้ดาวเรืองแตกกิ่งข้างพร้อม ๆ กันทั้ง 8 กิ่ง


2. ช่วงออกดอก ดาวเรืองจะเริ่มเกิดตาดอกขณะอายุประมาณ 30 วัน ถ้าปลูกในช่วงฤดูหนาว ดังนั้น
ในช่วงอายุ 30-45 วันนี้ควรเปลี่ยนใช้ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง เช่น 15-30-15 หรือใกล้เคียง หากหา
ซื้อไม่ได้อาจใช้ 20-20-20 ฝังลงไปในดินห่างจากต้นประมาณ 1 คืบ อัตรา 1 ช้อนชาต่อต้น
ขณะอายุประมาณ 30-35 วัน 1 ครั้ง และเสริมด้วยปุ๋ยเกร็ด สูตร 15-30-15 หรือใกล้เคียง
อัตรา 2 ช้อนแกง ผสมกับดีซหรือวิกริโฟลหรือเชียร์ อีก 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ พ่นต้นและใบใน
ตอนเย็น ๆ อีก 2-3 ครั้ง (ทุก 3-5 วัน)


3. ช่วงทำคุณภาพ

3.1 ในกรณีที่ตัดดอกติดก้านยาว ๆ ขายเป็นดอกไม้กำ หลังจากอายุได้ 50 วันแล้ว งดปุ๋ยทุกชนิด
และก่อนตัดดอกขาย 2-3 วัน ควรพ่นด้วยน้ำผสมน้ำตาลทราย 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ พ่นต้น
และใบจนโชกจะทำให้ดอกดาวเรืองบานทนขึ้น


3.2 ในกรณีที่ปลูกเพื่อเด็ดดอกใส่ถุงสำหรับร้อยพวงมาลัย หลังจากอายุครบ 50 วัน แล้วจะยังไม่งด
ปุ๋ญ จะใส่ปุ๋ยเม็ดสูตร 16-16-16 หรือใกล้เคียงครั้งละ 1 ช้อนชาต่อเนื่องกันไป ทุก ๆ 10 วัน อีก
3-4 ครั้งจนกว่าต้นจะโทรม ทั้งนี้เพราะยังสามารถตัดดอกขายได้อีกเรื่อย ๆ ประมาณ 45-50 วัน


การแต่งดอกข้าง

หลังจากเด็ดยอดแล้วประมาณ 15-20 วัน คือ เมื่อดาวเรืองอายุ 45-50 วัน ดาวเรืองจะมีกิ่งข้าง 8
กิ่ง พร้อมกับดอกยอดขนาดเมล็ดข้าวโพดกิ่งละ 1 ดอก และแต่ละกิ่งจะมีดอกเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดถั่ว
เขียวเกิดขึ้นทุก ๆ ง่ามใบ


ในกรณีที่ปลูกเพื่อตัดดอกติดก้านยาวเป็นดอกไม้กำซึ่งตลาดต้องการดอกใหญ่ ก้านยาว ดังนั้นจึงต้อง
แต่งดอกข้างของแต่ละกิ่งออกให้เหลือเฉพาะดอกยอดไว้เท่านั้น โดยใช้นิ้วชี้หักตรงคอดอกย่อยทุก ๆ
ง่ามใบออกจนหมดโดยเร็วที่สุด เพื่อดอกยอดจะมีขนาดใหญ่ ก้านยาวตัดจำหน่ายได้ทันเวลา 60-65 วัน


ในกรณีที่ปลูกเพื่อเด็ดดอกใส่ถุงสำหรับร้อยพวงมาลัย ไม่มีความจำเป็นต้องปลิดดอกข้างออก เพราะไม่
ต้องการความยาวของก้าน แต่ต้องการปริมาณและคุณภาพของดอก ดังนั้นหลังจากเด็ดยอดแล้ว จึง
ปล่อยให้ทั้งดอกยอดและดอกข้างเจริญเติบโตต่อไป ซึ่งดอกยอดจะตัดขายได้ก่อนเป็นชุดแรก และ
ดอกข้าง ๆ จะตามมาเป็นชุด ๆ ตัดได้ทุกวันเว้นวันต่อเนื่องไปนาน 45-50 วัน จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยให้
ทุก ๆ 10 วัน และถ้าดูแลได้ถูกต้องเหมาะสมจะได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณต่อเนื่องกันยาวนานจนเกินคุ้ม


ถ้าปลูกเป็นไม้กระถางไม่จำเป็นต้องแต่งดอกข้างออก ควรปล่อยให้ดอกข้างเจริญเติบโตต่อไป ซึ่งจะได้
ดอกยอดขนาดใหญ่เป็นหลัก 8 ดอก และกอกข้างมีขนาดลดหลั่นและทยอยบาน ทำให้ดูมีชีวิตชีวา
และวางประดับได้ประมาณ 1 เดือน


ศัตรูดาวเรือง

1. เพลี้ยไฟ เป็นเพลี้ยไฟขนาดเล็ก มีสีครีม และปีกคล้ายขนสีดำตัวอ่อนมีสีขาวนวล จะระบาดมากใน
ช่วงฤดูร้อน ทำลายยอดอ่อนและดอกอ่อนโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ส่วนที่ถูกดูดหงิกงอและแห้ง
เหี่ยวไปในที่สุด ป้องกันและกำจัดโดย

1.1 ฝังฟูราดาน 3 จี ทันทีหลังจากเด็ดยอด และต่อ ๆ ไปทุก 15 วัน
1.2 พ่นด้วยสารฆ่าแมลงในตอนเช้า 09.00-10.00 น. อาจใช้พอสซ์ 20 เปอร์เซนต์ อีซี
หรือแลนเนท หรือคาราเต้ หรือธีโอดาน ที่สำคัญควรพ่นให้ถูกต้อง


2. หนอนผีเสื้อ เป็นหนอน 3 ชนิด คือ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย และหนอนกระทู้ผัก
เกิดจากแม่ผีเสื้อมาวางไข่ไว้บริเวณใบอ่อนและดอกตูม เมื่อหนอนผีเสื้อฟักออกมาเป็นตัว จะกัดกินที่
บริเวณดอกตูม จะระบาดมากในฤดูฝนที่มีฝนตกชุก



ป้องกัน และกำจัดโดย

2.1 หว่านลูกเหม็นที่มีขายในท้องตลาดลงไปบนดิน บริเวณโคนต้นในอัตราต้นละ 1-2 เม็ด กลิ่น
ของลูกเหม็นในเวลากลางวันขณะถูกแสงแดง จะฉุนมาก ป้องกันไม่ให้ผีเสื้อมาวางไข่

2.2 เมื่อมีหนอนระบาด ควรจับหนอนฆ่าถ้าเห็นตัว
2.3 พ่นด้วยสารเมทโธมิลสลับกับไพรีพรอยด์สังเคราะห์
2.4 พ่นด้วยสารละลายเนมาโทดิค 22 ในเวลาเช้าก่อน 10 โมง หรือหลังบ่าย 4 โมง สารเนมาโท
ดิคได้จากไส้เดือนฝอยตระกูลคาโปแคปซีเป็นไส้เดือนฝอยศัตรูหนอน เป็นการฆ่าหนอนโดยชีววิะี พ่น
ทุก ๆ 15 วัน หนอนจะถูกทำลายและตายภายใน 24-48 ชั่วโมง


สารเนมาโทดิค 22 เป็นสารใหม่แต่ใช้ได้ผลดีมาก โดยไม่เป็นพิษกับพืช และคน ที่สำคัญคือ
เกษตรกรสามารถเตรียมสารนี้ไว้ใช้เองได้ ถ้ารู้วิธีโดยซื้อไส้เดือนฝอยมาใช้เพียงครั้งเดียว โดยติดต่อขอ
คำแนะนำจากองกีฏวิทยา กรมวิชาการเกษตร ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ
10900 โทร. (02) 5791061, 5795583 หรือติดต่อซื้อจากบริษัทผู้ผลิต


3. โรคเหี่ยว เกิดกับดาวเรืองในขณะเจริญเติบโตเต็มที่และดอกเริ่มจะบาน โดยใบยอดจะแสดงอาการ
เหี่ยวในตอนสาย ๆ และเหี่ยวมากในช่วงกลางวันที่มีแสงแดดจัด อาการคล้ายขาดน้ำ แต่ในตอนกลาง
คืนหรือเช้าตรู่ ต้นจะกลับฟื้นดังเดิม เป็นอยู่เช่นนี้ 3-4 วัน หลังจากนั้นจะเหี่ยวทั้งต้น และตายไปในที่
สุด จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora sp.) ถ้าเกิดกับต้น
ดาวเรืองแล้ว วิธีป้องกันกำจัดที่ดีที่สุดคือ ถอนแล้วเผาให้สิ้นซาก ป้องกันโดยพ่นสารไดโฟลาแทนหรือ
ไดเทนเอ็ม 45 สัปดาห์ละ 1 ครั้ง


4. โรคใบหงิก จะเกิดกับดาวเรืองในระยะกำลังเจริญเติบโตเต็มที่และเริ่มออกดอก เช่นเดียวกันกับโรค
เหี่ยว โดยเกิดกับใบยอดก่อน ใบจะแสดงอาการหงิกม้วน และกรอบนิด ๆ แผ่นใบจะไม่แผ่กางเต็มที่
เหมือนใบปกติ ทำให้ดอกเล็กและบางครั้งจะไม่บาน จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากเชื้อไมโคร
พลาสมา รักษาไม่ได้ แต่ป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดโดยการขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาให้สิ้นซากทันทีที่พบเห็น




ขอบคุณที่มา : doae.go.th
 ลิงค์ : http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2633

guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=2633 -




ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม
กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการ
เก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอก
สามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง

ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่
าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย

แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ


ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง

   ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า
"ดอกคำปู้จู้"
ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุ
ประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม
ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง
ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อ
ตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้
ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่
สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี


ชนิดของดาวเรือง

   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียง
ใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อน
กันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่

      พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple)
ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น

      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูน
ช๊อต (Moonshot) เป็นต้น

      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน
(Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น

   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้นป็นพุ่
พุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาด
เล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น
นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืช
ได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่

พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มา
เรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น

พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สกา
ร์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น

   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ
ลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะ
ต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5
สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อ
เสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับ
การผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการ
ปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่อง
เมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks)
เรด เซเว่น สตาร์(Red Seven
star) และโชว์โบ๊ต (Showboat)



พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย

   1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
   2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
   3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
   4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและ
คัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1
พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง
ขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูง
พอสมควร


การขยายพันธุ์ดาวเรือง

   1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมา
เพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ

การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะ
ประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1


   การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้าง
ละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ย
คอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้ว
ปรับหน้าแปลงให้เรียบ

การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่อง
ห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
      2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสีย
หายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะ
หรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และ
อีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้

   2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจาก
ได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้
จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบ
เพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หาก
ควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งราก
จะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถ
ย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้


การปลูกดาวเรือง

   การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการ
ปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้

   1. การเตรียมแปลงปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย
เพื่อมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตาม
ความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูก
ดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่
ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยก
ร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน

   2. วิธีการปลูก
      1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน
30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้ว
เกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
      2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรด
น้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามา
ด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปาก
หลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา

   3.การปฏิบัติดูแลรักษา
      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
หลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำ
ถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชา
ต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อ
หลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว
จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชก
เสมอ
      3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะ
ทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็น
ระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการ
ปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทาง
ด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่
ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมี
ขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
      4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่
นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือ
ยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตา
ข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ

   4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีด
พ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก
อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมี
กลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้น
ควรตัดให้ชิด
โคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว


ศัตรูที่สำคัญขอ
งดาวเรือง
โรค
โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ
   1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอก
กำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงใน
ตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้น
และตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดา
ซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง

   2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว
ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45
ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

   3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บ
เกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง


แมลง

      1. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบ
หรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้น
ประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
      2. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่ม
บานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัส
ทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด



การใช้ประโยชน์

ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทาง
เศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้
ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
   1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งาน
นาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความ
เพลิดเพลินตา สบายใจ
   2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกัน
แมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณ
ไส้เดือนฝอยในดินได้
   3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
     3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวง
มาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้
ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
     3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และ
มีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ
หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอก
ยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอก
ดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
     3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาว
เรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น
งานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคาร
บ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป
เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็
นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
     3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล
(Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของ
ไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น



ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและการตลาด

   1. ต้นทุนการผลิต การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบ
ด้วยค่าเมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้น
ทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติก
หรือปลูกในกระถาง ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิต
ประมาณกระถางละ 5-8 บาท

   2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้
ประมาณ 37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูก
ดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท

   3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลอง
ตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก
นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์
การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไป
รับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ








http://www.doae.go.th/library/html/detail/dawrueng/dawrueng.html
www.doae.go.th/library/html/detail/.../dawrueng.html -

http://www.deksiam.net/forum/index.php?topic=2792.0







ชำนาญ ทองเกียรติกุล

ตามหา ดาวเรือง ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์


ดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่รู้จักกันดี ปลูกง่าย โตเร็ว คงทน ดอกสวยงาม อายุการใช้งานได้หลายวัน เป็นที่นิยม
ใช้ในประเพณีต่างๆ


ปัจจุบัน การปลูกดาวเรือง ถือเป็นการค้าอย่างหนึ่ง ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ จึงได้มีการถ่ายทอด
การปลูกดาวเรือง ในโครงการ "ตามหาดาวเรือง" โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ร่วมกับธนาคารเพื่อการ
เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) คัดเลือกผู้ที่สนใจ
ด้านการเกษตรเข้ามาเรียนรู้ด้านการเกษตร

อาจารย์เฉลี่ย เจริญคง ผู้ถ่ายทอดการปลูกดาวเรือง ให้กับผู้สนใจในโครงการ ให้เหตุผลการอบรมว่า ดาวเรือง เป็น
ดอกไม้ที่ปลูกง่าย โตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อม เกษตรกรปลูกและขายได้ตลอดเวลา อายุสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็
สามารถตัดดอกจำหน่ายได้

อาจารย์เฉลี่ย บอกว่า สำหรับโครงการตามหาดาวเรืองนั้น ทางวิทยาลัยอบรมให้กับผู้ที่ต้องการนำไปประกอบอาชีพ
อย่างแท้จริง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ว่างงานและรักงานเกษตร เมื่ออบรมแล้ว ทาง ส.ป.ก. มอบที่ดินเพื่อการเพาะปลูก

"แนวโน้มทิศทางราคาตลาดดาวเรืองมีทิศทางขึ้นลง ราคาเฉลี่ย ปี 2553 มีแนวโน้มต่ำกว่า ปี 2552 ราคาดาวเรืองตัด
ดอกจะสูงในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม และช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม" อาจารย์เฉลี่ย บอก

ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะปลูกเพื่อประดับความสวยงาม ตามอาคารบ้านเรือน สถานที่
ต่างๆ หรือเพื่อป้องกันแมลง เนื่องจากมีกลิ่นเหม็น สามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลง เนื่องจากมีสารกลิ่นฉุน แมลงไม่
ชอบ ที่สำคัญรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งป้องกันไส้เดือนฝอย

การปลูกเพื่อจำหน่ายดอก ส่วนใหญ่นำมาร้อยพวงมาลัย ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งการเมือง ทั้งการเมืองท้องถิ่นและ
ระดับชาติ ช่วงเทศกาลตรุษจีน ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นช่วงที่ดอกดาวเรืองขายดี

ส่วนการปลูกลงในกระถางหรือถุงดำ นำไปประดับอาคารสถานที่ หรืองานพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะงานนิทรรศการหรืองานรับ
ปริญญา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังขายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์และผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ

อาจารย์เฉลี่ย บอกว่า ดาวเรืองมีหลายพันธุ์ แต่ที่นำมาแนะนำให้ผู้เข้าอบรมเพาะปลูก จะเป็นพันธุ์ทองเฉลิม ดาวเรือง
จะมีหลายสี แล้วแต่สายพันธุ์ที่บริษัทเอกชนปรับปรุง เช่น สีทอง สีเหลือง สีส้ม และส่วนใหญ่จะผ่านการฉายแสงมา
แล้ว ดังนั้น เกษตรกรไม่สามารถนำดอกตากแห้งไปเพาะปลูกใหม่ เหมือนพันธุ์ดั้งเดิมที่สามารถนำดอกแก่มาตากแห้ง
และปลูกจะเป็นพันธุ์พื้นเมือง ดอกจะเล็ก สีไม่สวย ไม่เป็นที่นิยม

วิธีการปลูก
เริ่มจากไถพรวนพื้นที่ ชักร่อง ดึงน้ำใส่ตามร่อง หว่านปูนขาว อัตรา 300-400 กิโลกรัม ต่อไร่ พร้อมกับไถ
โรตารี่ย่อยดินในแปลงให้ละเอียด การย้ายกล้าปลูก ควรจะย้ายหลัง 12.00 น. หลังย้ายกล้าปลูกให้รดสารเคมีจำกัด
เชื้อราและแมลง จากนั้นอีก 5-7 วัน ใช้ปุ๋ย 15-0-0 หรือปุ๋ยที่สูตรเลขตัวหน้าสูง ผสมแมกนีเซียม อัตรา 200 กรัม ต่อ
น้ำ 200 ลิตร รดโดนต้นประมาณ 2 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน

หลังย้ายกล้าปลูกไปได้ 10-14 วัน ให้เด็ดยอดดาวเรือง หรือการเด็ดตุ้ม จะทำให้ดาวเรืองแตกพุ่มและทำให้ดอกดาว
เรืองมีขนาดใหญ่ โดยวิธีการใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้ว ใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อ
ให้ยอดหลุดออกมา ถอนวัชพืช หว่านปุ๋ย 15-0-0 หรือปุ๋ยตัวหน้าสูง ให้รดน้ำหลังหว่านปุ๋ยทันที

เมื่อย้ายกล้าปลูก 30-35 วัน หว่านปุ๋ย 15-15-15 พูนโคนกำจัดวัชพืช หรือปุ๋ยตัวหน้าสูงพร้อมรดน้ำหลังหว่านปุ๋ยทันที

ระยะการเก็บเกี่ยว
อายุประมาณ 50-90 วัน ให้ฉีดพ่น สังกะสี+ปุ๋ยตัวกลาง ท้ายสูง สลับกับแคลเซียม โบรอน +ปุ๋ยตัวกลาง ตัวท้ายสูง
การใส่ปุ๋ยให้ใส่ระหว่างต้น ห้ามใส่โคน เพราะต้นจะเน่าตาย และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม ควรจะหมุนเวียนแล้วจึงค่อยกลับ
มาปลูกใหม่ เพราะถ้าปลูกซ้ำที่เดิม จะมีแมลงและหนอนมาก ปกติแล้วดาวเรือง 1 ต้น ควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก

ก่อนตัดดอกดาวเรืองจำหน่าย ประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทราย จำนวน 15 ลิตร พ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้าน
ล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรง จากนั้นก็ทยอยตัดดอก

ต้นทุนการผลิต
เริ่มจากการเตรียมดิน, การจ้างปลูกรวมต้น ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ฟูราดาน ปูนขาว ปุ๋ยทางดิน ปุ๋ย 15-15-15 สารป้องกัน
แมลง สารเคมี และปุ๋ยเกล็ด ถุงพลาสติค ค่าเสื่อมอุปกรณ์และค่าตัดดอก

รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ทั้งสิ้น 82,983.50 บาท

ตกต้นทุนต้นละ 13 บาท ราคาขายดาวเรืองจะจัดเกรดแบ่งขนาด ชนิด จัมโบ้ ราคาดอกละ 0.60 บาท ขนาดใหญ่ 0.50
บาทขนาดกลาง 0.30 บาท และขนาดเล็ก 0.20 บาท

ตลาด
แหล่งที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก ภาคกลาง ปากคลองตลาด ลำปาง ส่วนตลาดนัดจตุจักร
ส่วนมากแล้วจะเป็นการซื้อขายชนิดที่ปลูกในกระถาง หรือถุงดำ

จังหวัดอื่นมี นครปฐม ลพบุรี สมุทรสาคร อีสาน ทางอุดรธานี ทางเหนือ เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง

นอกจากนี้ ยังมีตลาดเล็กๆ ต่างจังหวัดสามารถนำไปจำหน่ายตามตลาดสด ร้านดอกไม้สด หรือร้านร้อยพวงมาลัย หรือ
บางแห่งจะมีพ่อค้าไปรับซื้อถึงที่ ดอกใหญ่นิยมนำไปจัดแจกันหรือทำพวงหรีด ส่วนดอกเล็กจะนำไปร้อยพวงมาลัย

สำหรับท่านใดสนใจการปลูกดาวเรือง หรือสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ อาจารย์เฉลี่ย เจริญคง วิทยาลัย
เกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ โทร. (086) 734-5446


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05043010354&srcday=&search=no





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©