-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 147 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน




หน้า: 2/5



         26. ป้องกันแบคทีเรียในอาหารสัตว์  :
            ใช้   หอมหัวใหญ่.  พริกสดเผ็ดจัด.  มะเขือเทศสุกหรือดิบ.  หัวมันฝรั่งสด.  อย่างละเท่าๆกัน คั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำ ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น"   พร้อมใช้งาน 
            อัตราใช้  "หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล."   ฉีดพ่นที่บริเวณผิวหน้าอาหารสัตว์ที่ผสมเสร็จแล้วพอชื้นจะช่วยป้องกันเชื้อโรคประเภทแบคทีเรียที่ล่องลอยอยู่ในอากาศเข้าไปเกาะอาศัยอยู่กับอาหารสัตว์นั้นเพื่อแพร่ขยายพันธุ์ได้ ทำให้อาหารสัตว์ปลอดเชื้อแบคทีเรีย 
 

 
       
27.  ป้องกันเชื้อราแอนแทร็คโนส  : 
            ใช้  "มะขามเปียกขนาดกำปั้นมือละลายน้ำ 100 ล." ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบทั่วทรงพุ่มช่วงหลังฝนหยุดใบแห้ง  หรือเช้าตรู่ก่อนน้ำค้างแห้ง  จะช่วยกำจัดเชื้อแอนแทร็คโนส (โรคผลเน่า) ที่เกาะอาศัยอยู่ในหยดน้ำฝนหรือหยดน้ำค้างไม่ให้ซึมซาบเข้าสู่ส่วนต่างๆ (ผล ดอก ใบ กิ่ง) ของพืชได้ 
 


      28. ลดปริมาณไนเตรทในผัก 
          ผักสวนครัวประเภทกินใบที่ได้รับไนโตรเจนมากๆจะเกิดการสะสมจนกลายเป็นไนเตรทตกค้างจนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่สามารถผ่านการตรวจสอบสารพิษปนเปื้อนได้  แก้ไขโดยการใช้  "น้ำเปล่า 100 ล. + โซดาเปิดใหม่ไม่เกิน 3 นาที 500 ซีซี."    ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ  ในโซดามีคาร์บอนซึ่งจะช่วยให้ต้นคายไนโตรเจนออกมา  ช่วงอากาศเปิด (แดดจัด) จะได้ผลใน 6 ชม.  แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝน) จะได้ผลใน 12 ชม. ทั้งนี้ชนิดของพืชที่มีปากใบมากหรือน้อยก็มีส่วนต่อการรับคาร์บอนแล้วคายไนโตรเจนได้เร็วหรือช้าด้วย 
 

    
29.  แก้โรค  "ไอ้ฮวบ"  ในกล้วยไม้  : 
          โรคเน่าของกล้วยไม้ที่เรียกว่า  "ไอ้ฮวบ"  นั้นเป็นเชื้อไวรัสที่มี  "แมลงบั่ว"  เป็นพาหะ  แมลงบั่วเป็นแมลงประเภทปากกัดปากดูด  ปีกชั้นเดียว  ตัวเล็กมากจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีกลุ่มใดกำจัดไวรัสไอ้ฮวบในกล้วยไม้ได้  ต้องใช้วิธีป้องกันที่แมลงพาหะเท่านั้นโดย........ 
          สูตร 1 
          ใช้ พริกแห้งเผ็ดจัดคั่วไฟอ่อนๆจนน้ำมันจับผิวผลพริกเป็นมันวาว  ให้นำขึ้นมาโขลกละเอียดทั้งเนื้อและเมล็ด (น้ำมันพริกมีมากในเมล็ด) แล้วนำไปแช่ในแอลกอฮอร์ล้างแผลพอท่วม  นาน 6-12 ชม.  ได้  "หัวเชื้อเข้มข้น"  พร้อมใช้งาน 
          ใช้   "หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ล."  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งทั้งใต้ใบบนใบ หลังค่ำหรืออากาศไม่ร้อน  ช่วงอากาศร้อนชื้นเป็นช่วงที่แมลงบั่วระบาดมากที่สุด
         
สูตร 2 
          ใช้   "น้ำมะพร้าวอ่อน + น้ำหวานเฮลบลูบอย + เลนเนท"  ฉีดพ่นทั้งที่ต้นกล้วยไม้  บริเวณโรงเรือน  และบริเวณใกล้เคียง  เป็นกลิ่นล่อแมลงบั่วเข้าไปกิน  เมื่อแมลงบั่วหลงกินเข้าไปก็จะได้รับสารเลนเนทแล้วตายไปเอง 

 

          
30.  เพาะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน  : 
                 การผสมพันธุ์ :
 
            1.  ในแปลงแม่พันธุ์  "DURA"  จะมีการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ไว้แล้ว  แต่ละต้นจะใช้บันไดเหล็กมีตะขอเกี่ยวไว้กับทางใบเพื่อใช้ปีนขึ้นไปผสมพันธุ์ 
            2.  ใช้เกสรตัวผู้จากพันธุ์  "PISIFERA" (YANGAMBI) ที่เก็บมาผสมกับแป้ง  บรรจุในขวดพลาสติกแล้วปีนขึ้นไปบีบขวดพลาสติกพ่นให้ผสมกับช่อดอกตัวเมีย  DURA  ที่คลุมถุงไว้ก่อนแล้วเพื่อป้องกันเกสรตัวผู้ตัวอื่นเข้ามาผสม 
            3.  หลังจากนั้นจะต้องคลุมทะลายต้นแม่พันธุ์  DURA  ที่ได้รับการผสมแล้วไว้ตลอด  ลักษณะถุงต้องมีลักษณะพิเศษ  คือ  มี 6 ชั้น  การผูกปากถุงจะต้องใช้สำลีห่อก้านทะลายปาล์มแล้วใสยาป้องกันแมลงที่สำลี  แล้วจึงรวบปากถุงเข้ากับสำลีและก้านทะลาย  ใช้เชือกผูกให้แน่นถ้าหากมีแมลงเข้าไปหรือถุงชำรุด  เมล็ดลูกผสมที่ได้จะใช้ทำพันธุ์ไม่ได้  นอกจากนั้นยังต้องใช้มุ้งลวดทำเป็นถุงคลุมทับถุงกระดาษอีกชั้นเพื่อป้องกันหนู  กระรอก  เข้าไปทำลายผลปาล์ม  หลังจากผสมเกสรแล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 เดือนครึ่ง  ผลจะสุกจึงนำเมล็ดมาเข้าสู้กระบวนการเพาะเมล็ดต่อไป 
 
            การเตรียมเมล็ดพันธุ์ : 
            1. ตัดทะลายปาล์มลูกผสมที่สุกแล้ว  ใส่ถุงตาข่ายไนล่อนเพื่อป้องกันเมล็ดร่วงขณะขนส่ง 
            2.  สับแบ่งทะลายปาล์มเป็นช่อเล็กๆ 
            3.  นำไปบ่มนาน 8 วัน  เมล็ดจะสุกงอมและหลุดออกจากช่อ 
            4.  นำเมล็ดเข้าเครื่องล่อนเอาเนื้อปาล์มออกเหลือเมล็ดใน 
            5.  นำเมล็ดไปทำความสะอาด  แล้วแช่น้ำ 4 วัน  โดยต้องเปลี่ยนน้ำทุกวัน 
            6.  นำเมล็ดไปแช่ในสารป้องกันกำจัดเชื้อรา 3 นาที 
            7.  นำเมล็ดไปผึ่งลมในตะแกรงนาน 12 ชม.  ตะแกรงจะแบ่งเป็นชั้นๆ 1 ตะแกง/1 ทะลาย  มีป้ายบอกเบอร์ต้น  แปลง  วันเดือนปีที่เก็บ   1 ทะลายจะได้เมล็ดประมาณ 700-1,200 เมล็ด 
            8.  นำเมล็ดไปสับเอาเส้นใยที่ติดอยู่ที่ก้นเมล็ดออกเพื่อป้องกันเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นในขณะเพาะได้ 
            9.  นำเมล็ดใส่ถุงพลาสติก  ถุงละ 100 เมล็ดพร้อมมัดปากถุง 
          10.  นำเมล็ดในถุงเข้าห้องที่ควบคุมความร้อนโดยใช้  HEATER  เป็นขดลวดต้านทาน ใช้พัดลมเป่าผ่าน  ควบคุมความร้อนให้อยู่ที่ 40 องศาเซลเซียสนาน 60 วัน (วางถุงเป็นชั้น  ไม่วางซ้อนกัน)  เป็นการทำลายระยะพักตัวของเมล็ดโดยในภาวะปกติต้องใช้เวลา 4 เดือนเมล็ดจึงจะงอก 
          11. นำเมล็ดออกจากห้องควบคุมอุณหภูมิหลังจากครบกำหนด 60 วันแล้ว  นำลงแช่น้ำ 4 วันเพื่อเพิ่มความชื้นและใส่ยากำจัดเชื้อรา 
          12.  นำเมล็ดใสถุงพลาสติกและรัดยางแล้วนำไปวางในห้องปกติ 7 วัน  เมล็ดจะเริ่มงอกรากและยอดอ่อนในถุง 
          13.  คัดเอาเมล็ดที่งอกออก  เอาเฉพาะเมล็ดที่รากและยอดยาวประมาณ 2-3 มม. (เมล็ดที่รากและยอดอ่อนเน่าต้องคัดทิ้ง)  นำมาบรรจุถุงพลาสติก  ถุงละ 20 เมล็ด  สำหรับเมล็ดที่ยังไม่งอกหรืองอกไม่ได้มาตรฐานจะนำไปใส่ถุงผูกยางแล้วนำมาคัดเมล็ดงอกรากและยอดใหม่ทุก 7 วัน 
          14.  นำเมล็ดที่บรรจุถุงละ 200 เมล็ดมาบรรจุลงลัง  ลังละ 10 ถุงเพื่อส่งจำหน่าย  ราคาจำหน่าย 1.1 เหรียญมาเลเซีย/1 เมล็ด  (ประมาณ 11 บาท)  บริษัทสำรองความเสียหาย 10 เมล็ด/ถุง รวมเป็น 210 เมล็ด/ถุง 

               
การเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน  : 
            1. ใช้ถุงขนาด 4 X 6 นิ้ว  บรรจุดินที่ใช้เฉพาะมีส่วนผสม  ดินธรรมดา  ดินเหนียว  และดินทราย  ผสมไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ 
            2.  นำเมล็ดที่งอกเตรียมไว้ลงเพาะในถุง  โดยเพาะลึก 1 นิ้ว  จัดให้รากอยู่ด้านล่าง  ยอดอยู่ด้านบน  การเพาะจะเพาะกลางแจ้ง  วางถุงชิดกัน 
            3.  ให้น้ำวันละ 2 ครั้งด้วยสปริงเกอร์ 
            4.  หลังจากเมล็ดงอกเป็นใบเขียวแล้วให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำป่านสปริงเกอร์  สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากให้ปุ๋ยแล้วควรให้น้ำตามเพื่อล้างปุ๋ยออก 
            5.  อายุต้นกล้าประมาณ 2 เดือน  ย้ายไปลงถุงขนาด  6 X 9 นิ้ว  อีก 2 เดือน  รวมอายุกล้า 4 เดือน 
            6.  ต้นปาล์มอายุ 4 เดือนจะย้ายลงถุงใหญ่ขนาด  15 X 18 นิ้ว  คัดเอาเฉพาะต้นสมบูรณ์ลงถุงใหญ่  การวางถุงให้วางห่างกัน 3 X 3 ฟุต  วางสลับฟันปลาเพื่อให้ได้รับแสงแดดเต็มที่และควรใช้กากเส้นใยปาล์มจากโรงงานนำมาตากแห้งแล้วปิดทับบนถุงเพื่อป้องกันวัชพืชและเก็บความชื้น 
            7.  ต้นกล้าอายุประมาณ 8 เดือน (รวมอายุต้นกล้า 12 เดือน) นำต้นสมบูรณ์ไปปลูกในแปลงโดยคัดต้นกล้า  ได้แก่  ลำต้นบิด  ต้นแคระแกร็น  ต้นที่ใบติดกัน  และต้นที่เป็นโรคหรือขาดสารอาหาร  อายุของต้นกล้าที่เหมาะนำไปปลูกอายุ 11-12 เดือน  สูงประมาณ 5 ฟุต 
            หมายเหตุ  : 
            การดูแลรักษาทางใบควรให้มีทางใบ 56 ทางใบ  โดยทางใบเรียงรอบลำต้น  รอบละ 8 ทาง  สำหรับ  YANGAMBI จะออกทะลายระหว่างช่องทางใบซึ่งมี 7 ร่อง/รอบต้น 1 รอบ (ใน 1 ปีจะออก 21-28 ทะลาย)
           (ข้อมูล  :  สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา/วารสารส่งเสริมการเกษตร  ฉบับที่ 147  เมษายน 2543) 
 

     
31.  กิ้งก่ากำจัดจั๊กจั่น  : 
           ช่วงหน้าแล้งมักมีจักจั่นตัวโตขนาดปลายนิ้วก้อยถึงโตกว่าออกหากินโดยดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนยอดอ่อนพร้อมกับส่งเสียงร้องอยู่บนต้นไม้  จั๊กจั่นพวกนี้ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ไว้ตามซอกเปลือก  เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนแล้วจะร่วงไปอาศัยอยู่ใต้พื้นดินโคนต้น  อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากจนกระทั่งเข้าดักแด้  ออกจากดักแด้ก็เป็นจั๊กจั่นตัวเต็มวัยสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป 
          วิธีกำจัดไข่ของจักจั่นในซอกเปลือกต้นไม้และตัวหนอนใต้ดินโคนต้นให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพผสมกับสารสกัดสมุนไพรบ่อยโดยเฉพาะช่วงที่มีจักจั่นเข้ามาในสวน  ส่วนวิธีกำจัดตัวแม่จั๊กจั่นให้หากิ้งก่าให้เข้ามาอยู่ในสวน  กิ้งก่าจะคอยจับจักจั่นกินเป็นอาหารหรือจักจั่นพอกันอพยพย้ายไปอยู่ที่อื่นจนหมด 
 

     32.  รักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง  : 
           เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองตากแห้งดีแล้ว 100 กก.ผสมกับปูนขาวหินเผา 20 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วบรรจุใส่กระสอบ นำไปเก็บในยุ้งที่แห้ง อากาศผ่านสะดวก จะไม่มีแมลงประเภทมอดหรืออื่นๆมากัดทำลายเมล็ดถั่วเหลือง 
 

      33. แสงไฟไล่ค้างคาว  : 
            ใช้แสงไฟวาบๆเหมือนไฟบนรถตำรวจ  ขนาด 100 วัตต์  สีแดงหรือส้ม  ติดปลายเสาหรือไม้เหนือยอดต้นไม้ผลที่ค้างจะเข้ามากัดกินผลไม้ในช่วงที่ค้างคาวเริ่มเข้ามา  แสงไฟวาบๆจะช่วยขับไล่ค้างคาวให้หนีไปได้ 
 

      34.  พริกไล่แมลงวัน : 
            อาหารสดๆคาวๆ เช่น กะปิ น้ำตาล ปลาร้า ปลาสด ปลาเค็ม มักมีแมลงวันทั้งแมลงวันบ้านและแมลงวันหัวเขียวเข้ามาตอม  ให้ใช้พริกแห้ง 5-6 ฝัก วางไว้บนกองหรือข้างๆ กลิ่นฉุนจากพริกจะช่วยขับไล่แมลงวันให้หนีไปได้ 
  

     35. ทำเศษพืชให้เป็นปุ๋ยคอก  : 
          หลักการและเหตุผล : 
       1. ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ย่อมมีสารอาหารพืชที่เกิดจากอาหารที่สัตว์นั้นกินเข้าไป  เช่น  มูลวัวมีหญ้า  มูลไก่มีข้าวโพด  ปลาป่น และอื่นๆ 
       2. การใส่ปุ๋ยคอกให้แก่ต้นพืชด้วยวิธีการหว่านทีละต้นหรือแต่ละพื้นที่ทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงาน 
           
การปฏิบัติ  : 
       1.  สร้างเศษซากพืชด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ณ จุดหรือบริเวณที่ต้องการใส่ปุ๋ยคอก  บำรุงเลี้ยงจนต้นถั่วเริ่มออกดอกจึงไถกลบต้นถั่วลงดินหรือล้มให้ราบกับพื้น  หรือนำเศษซากพืชที่ต้องการมากระจายในแปลงเกษตร  ทิ้งไว้ให้แห้ง 
       2.  เลือกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ที่ต้องการละลายน้ำ  กรองเอากากออก  ใช้เฉพาะน้ำเข้มข้น  ผ่านไปกับหัวสปริงเกอร์ราดรดลงบนเศษซากต้นถั่วหรือเศษซากพืชนั้นให้เปียกโชก  2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน 
          - เศษซากต้นถั่วหรือพืชที่เน่าสลายรวมกับน้ำปุ๋ยคอกอะไรก็จะมีคุณลักษณะหรือกลายเป็นมูลสัตว์ชนิดนั้นโดยไม่ต้องหว่าน 
          - เสริมประสิทธิภาพน้ำละลายปุ๋ยคอกด้วยการใช้มูลสัตว์หลายๆอย่าง   จัดอัตราส่วนตามความเหมาะสม  พร้อมกับใส่จุลินทรีย์  ฮอร์โมน  ธาตุรอง/ธาตุเสริม ตามต้องการไปพร้อมในเวลาเดียวกันเลย  ก็จะได้ทั้งชนิดและปริมาณของสารอาหารพืชเพิ่มมากขึ้น 


     
36.  วัสดุปลูกไม่พึ่งปุ๋ยเคมี  : 
            
วัสดุส่วนผสม 
            เศษซากพืชตากแห้งสับเล็ก               100               กก. 
            น้ำสารอาหารพืช                          10                 ล. 
            (น้ำสารอาหารพืช  :  น้ำละลายปุ๋ยคอก 2-3 ชนิด. น้ำละลายเครื่องในปลาทะเลบดละเอียด. น้ำไขกระดูก. น้ำละลายยิบซั่มธรรมชาติ. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. ฮอร์โมนสมส่วน. ฮอร์โมนไข่. ฮอร์โมนบำรุงราก.  ฮอร์โมนอื่นๆตามต้องการ) 

            วิธีทำ 
            แผ่กองเศษซากพืชให้หนาประมาณ 30-50 ซม.  โรยบางๆด้วยยิบซั่มธรรมชาติและรำละเอียดบางๆ พรมด้วยน้ำสารอาหารให้เปียกโชก เป็นชั้นที่ 1
             นำเศษซากพืชวางทับชั้นที่ 1 หนาประมาณ 30-50 ซม.  โรยบางๆ ด้วยยิบซั่มพรมด้วยน้ำสารอาหารให้เปียกโชก  เป็นชั้นที่ 2 
            ทำซ้ำหลายๆชั้นตามความต้องการ ชั้นบนสุดให้ปิดด้วยดินร่วนหนาๆ 
            หมักทิ้งไว้ 5-7 วันหรือเมื่อเริ่มมีควันเกิดขึ้นให้กลับกองเพื่อระบายความร้อนภายในกอง และกลับกองทุกครั้งเมื่อมีควันเกิดขึ้น  พยายามรักษาระดับอุณหภูมิภายในกองให้ไม่เกิน 40-60 องศาเซลเซียสอยู่เสมอ  หมดควันหรืออุณหภูมิภายในเย็นลงได้  "วัสดุปลูก"  พร้อมใช้งาน      

          วิธีใช้  
       1. บรรจุวัสดุปลูกที่ผ่านการหมักดีแล้วลงถุงดำ  อัดให้แน่นแล้วปลูกพืชสวนครัว-ไม้ดอกไม้ประดับอายุสั้นตั้งแต่เริ่มจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตและไม้ผลระยะกล้าได้ทุกชนิดลงไป   สารอาหารในวัสดุปลูกจะช่วยให้พืชนั้นเจริญเติบโตดีโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเลย  ขณะที่พืชอายุสั้นในถุงดำกำลังเจริญเติบโตนั้นอาจให้สารอาหาร (ทำเอง) ผ่านทางใบบ้างเป็นครั้งคราว 
       2. ใช้ผสมดินในแปลงปลูกช่วงเตรียมดินหรือบ่มดินจะช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์และสร้างอาหารสำหรับพืชได้เป็นอย่างดี 

           หมายเหตุ  : 
           ปริมาณและชนิดของสารอาหารพืชในวัสดุปลูกขึ้นอยู่กับชนิดของเศษซากพืช  น้ำสารอาหารที่ปรุงแต่งขึ้นมา   และระยะเวลาในการหมัก 
 

     37.  น้ำไขกระดูก  : 
           ในกระดูกสัตว์มีสารอาหารพืชหลากหลายชนิด  และเป็นอาหารของจุลินทรีย์  เพื่อการเกษตรอีกจำนวนมาก  เลือกกระดูกสัตว์สดใหม่  บดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ ใส่แล็คติค แอซิด (ได้ฟอสฟอรัส) หรือซัลฟู
ริค แอซิด  (ได้โซเดียม) อัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตร คลุกเคล้าให้เข้ากันดี  หมัก 3-5 วันหรือเมื่อแน่ใจว่ากระดูกถูกย่อยสลายจนกลายเป็นของเหลวแล้วให้ใส่จุลินทรีย์  น้ำมะพร้าว   ฮิวมิค แอซิด  สาหร่ายทะเล  กลูโคส  คนเคล้าให้เข้ากันดี ติดปั๊มออกซิเจน  แล้วหมักต่ออีก 7-15 วัน  ได้  "หัวเชื้อน้ำไขกระดูกเข้มข้น"   พร้อมใช้งาน 


     
38.  ไคตินไคโตซาน  สูตรชาวบ้าน : 
            สูตร 1 
            ใช้กระดองปู  เปลือกกุ้ง  แกนหมึก  แมลง (สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง)
เห็ดนางฟ้า/นางรม/โคนน้อย/ถั่ว  (อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆละเท่าๆกัน)  อบหรือตากให้แห้ง  บดละเอียด  นำลงต้มในน้ำด่างเข้มข้น 5  เปอร์เซ็นต์ต้ม (น้ำ 1 ล.+ ปูนขาว 50 กรัม) ในอุณหภูมิ 50 องศา นาน 3 ชม.เพื่อล้างไขออกให้หมด  กรองเอากากออกทิ้ง  น้ำที่เหลือเป็นน้ำไคติน  กากที่คัดออกนำไปผสมปุ๋ยอินทรีย์หมักใช้รองก้นหลุมปลูก  
            นำน้ำไคตินที่กรองได้แช่ในกรดเกลือเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์  นาน 12 ชม.  กรองอีกครั้งหลายๆรอบได้  "ไคตินเข้มข้นบริสุทธิ์"  พร้อมใช้งาน 
            นำไคตินบริสุทธิที่ได้แช่ใน  "น้ำเปล่า + น้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์"  นาน 12 ชม.  ทำซ้ำ 4-5 รอบก็จะได้   "หัวเชื้อไคตินไคโตซานเข้มข้น"   พร้อมใช้งาน  
           
สูตร 2 
             แช่วัสดุที่อบหรือตากแห้งบดละเอียดดีแล้วในน้ำซาวข้าว  อัตราส่วน 1:1 ใส่จุลินทรีย์เล็กน้อย  ติดปั๊มอ๊อกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์   นาน 7-15 วัน ได้  "หัวเชื้อไคตินไคโตซานเข้มข้น"  พร้อมใช้งาน   
 

   39.  ฮอร์โมนไข่หอยเชอรี่  :           
         ไข่หอยเชอรี่บดละเอียด 1.5 กก. + กลูโคสผง 1 กก. +  ยาคูลท์ 1 ขวด  น้ำมันตับปลา 20 เม็ด + วิตามิน อี. 10 เม็ด + ผงชูรส 1 ซองเล็ก + นมจืด 6 กล่อง + เหล้าขาว 200 ซีซี. + น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก + เครื่องดื่มสไปรท์ 1 ขวด + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 100 ซีซี. + น้ำมันพืช 40 ซีซี.  คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี  เก็บในร่ม   อุณหภูมิห้อง  คนบ่อยๆวันละ 2-3 ครั้ง  ประมาณ  7 วัน ส่วนผสมจะเหลวเป็นน้ำ สีชมพูอมแดง  มีกลิ่นคาวจากหอยเชอรี่ฉุนน้อยกว่าครั้งหมักใหม่ และกลิ่นฉุนน้อยกว่าการหมักด้วยกากน้ำตาล......หมักนานประมาณ 10 วัน  ได้หัวเชื้อเข้มข้นพร้อมใช้งาน
        (ศรีไพร  อินทร์ทองหลาง   70 หมู่ 3  ต.ชัยนารายณ์  อ.ชัยบาดาล  จ.ลพบุรี)   


   40. ฮอร๋โมนรกหมู  :           
         รกหมูสดบดละเอียด 3 กก. + กลูโคสผง 1 กก. + เหล้าขาว 150 ซีซี. + น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก +  เปลือกสับปะรดสับละเอียด 1 กำมือ + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 50 ซีซี. + พด. 2 ชต.  คนเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันดี  เก็บในร่ม  อุณหภูมิห้อง  ช่วงหมักใหม่ๆเศษซากรกหมูจะอืดลอยขึ้นมาด้านบน  ให้คนบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้ง  เมื่อหมักนาน 7-10 วันจะเหลวเป็นน้ำวุ้นข้นเหนียว   ให้หมักต่อไปอีก 1 เดือนน้ำเหลวเหมือนน้ำเชื่อม กลิ่นฉุน สีน้ำเชื่อม  ได้หัวเชื่อเข้มข้นพร้อมใช้งาน 
        (ศรีไพร  อินทร์ทองหลาง   70 หมู่ 3  ต.ชัยนารายณ์  อ.ชัยบาดาล  จ.ลพบุรี)  

 
     41. ไคติเนสถาวร  :            
           ไคติเนสเป็นธาตุอาหารพืชตัวหนึ่ง  มีประโยชน์ต่อพืชในการแบ่งเซลล์ (ช่วยขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น) และมีสารพิษต่อโรคและแมลงศัตรูพืช  สารไคติเนสส์มีในแมลงทุกชนิด นำแมลงสดใหม่ยังมีชีวิตบดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้  ผสมน้ำราดรดโคนต้น  เศษซากแมลงเมื่อลงไปอยู่ในดินจะเกิดการหมักในดินแล้วถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายจนเกิดสารไคติเนสส์. อยู่ในดินนั้นและอยู่ได้นานหลายปี            
           ข้อมูลจากภาพยนต์สารคดีดิสคัพเวอรี่  ได้วิจัยสภาพโครงสร้างดิน  เพื่อตรวจสอบปริมาณและชนิดของสารอาหารพืช  พบว่า  ต้นไม้ในป่าที่มีแมลงสารพัดชนิดจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัย  เมื่อแมลงเหล่านั้นผสมกันแล้วก็ตายลง   เศษซากกระจายอยู่ทั่วบริเวณเน่าสลายโดยกระบวนการทางธรรมชาติแล้วกลายเป็นสารอาหารอย่างดีสำหรับพืช  สารอาหารตัวหนึ่งที่เห็นเด่นชัดมากคือสารไคติเนสส์  


     42.  ฟักทองยักษ์
               
           ข้อมูลจากภาพยนต์สารคดีดิสคัพเวอรี่  นำเสนอเรื่องฟักทองในงานประกวดที่อังกฤษ  ผลที่ชนะเลิศมีน้ำหนัก 700 ปอนด์  สูงท่วมศีรษะฝรั่งผู้ใหญ่   คำนวณเส้นรอบวงโดยเปรียบเทียบกับร่างกายคนที่ยืนเคียงข้างแล้วน่าจะประมาณ 3 คนกางแขนโอบ......รายละเอียดจากสารคดีบอกว่า  เตรียมดินด้วยอินทรีย์วัตถุเป็นสัดส่วนกับดิน 1:1  บำรุงต้นด้วยปุ๋ยทางดินและทางใบเหมือนฟักทองทั่วไป แต่ที่พิเศษกว่า คือ  รดโคนต้นด้วย “เบียร์สด”  วันละ ½ ล.  เป็นประจำตั้งแต่ก่อนออกดอกจนถึงติดผล  หลังจากติดผลแล้วก็ยังบำรุงต่อจนถึงวันเก็บเกี่ยว
         

      43. ลูกปะคบกำจัดเชื้อรา            
           เหง้าไพล 500 กรัม.   ตะไคร้แกง 200 กรัม.    ผิวมะกรูด 100 กรัม.  ใบมะขามสด 100 กรัม.  ขมิ้นชัน 100 กรัม.  ขมิ้นอ้อย 100 กรัม.  ใบส้มป่อย 50 กรัม.  เกลือแกง 60 กรัม.  การบูร 30 กรัม.  พิมเสน 30 กรัม.  พืชสมุนไพรทุกตัวสภาพสดใหม่แก่จัด  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี  ห่อด้วยผ้าขาวบางมัดเป็นลูกปะคบ  สามารถใช้เป็นลูกปะคบได้  แต่ให้นำลงแช่แอลกอฮอร์พอท่วม นาน 24 ชม.  เขย่าหรือคนวันละ 1-2 ครั้ง  ครบกำหนดแล้วเติมน้ำเปล่า 20 ล. หมักต่ออีก 24-48 ชม.  เขย่าหรือคนวันละ 1-2 ครั้ง  ได้หัวเชื้อสารสกัดสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน......... ใช้กำจัดศัตรูพืชกลุ่ม  เพลี้ย.  ไร.  รา. และแบคทีเรีย.
    

    44.  ตรวจสอบชีวิตดิน  :           
          ขุดเนื้อดิน ณ ความลึกไม่เกิน 1 คืบมือ  ปริมาณ 1 กำมือใหญ่ๆ  นำลงละลายในน้ำสะอาด 5 ล.  คนเคล้าหรือขยำเอาเศษพืชต่างๆที่ลอยน้ำออกทิ้ง  แล้วแช่น้ำไว้ค้างคืน วันรุ่งขึ้นให้สังเกต  ถ้ามีฟองลอยที่ผิวน้ำแสดงว่าดินดีมีชีวิตใช้เพาะปลูกดี   แต่ถ้าไม่มีฟองแสดงว่าไม่ดีไม่มีชีวิต   


     45. ผักปอดคลุมโคนต้นกล้วย           
          เมื่อต้นกล้วยยืนต้นได้หรือสูงประมาณ 1-1.5 ม.  ให้เก็บเศษผักปอดสดๆทั้งต้นและรากจากน้ำ  พยายามนำเศษดินที่ติดรากมาด้วย  หรือหากเลือกผักปอดต้นที่ขึ้นบนพื้นดินเหลวๆ แล้วถอนขึ้นมาให้มีรากติดดินมาด้วยจะดีมาก   นำขึ้นมาคลุมโคนต้นกล้วย  คลุมหนาประมาณครึ่งหน้าแข้ง  กว้างเต็มพื้นที่ทรงพุ่ม  แล้วหว่านปุ๋ยคอกทับบนผักปอด  จากนั้นให้น้ำตามปกติ  กล้วยจะเจริญเติบโตเร็วมาก  สมบูรณ์แข็งแรง  ไม่มีศัตรูพืชในดินรบกวน  ถึงคราวออกเครือจะได้จำนวนหวีต่อเครือมากขึ้น จำนวนผลต่อหวีมากขึ้น ขนาดผลยาวใหญ่ สีจัด รสดี กลิ่นดี
               

    46. กลิ่นไล่แมลงวันทอง           
          ใช้   “หัวกระเทียมสดบดละเอียด 1 กก.  แช่ในไคตินไคโตซาน 3 ล. และหัวน้ำส้มสายชู 3 ล.”   คนเคล้าให้เข้าดีในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ  ปิดฝาด้วยผ้าให้อากาศผ่านได้เล็กน้อย  เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง  คนบ่อยๆ  หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน  กรองเอากากออกทิ้งไป  ได้  “น้ำหัวเชื้อเข้มข้น”  พร้อมใช้งาน           
        อัตราใช้   “หัวเชื้อ 150 ซีซี./น้ำ 100 ล.”    ฉีดพ่นพอเปียกใบช่วงเช้าแสงแดดเริ่มจัด  หรือแมลงวันทองเริ่มออกวางไข่  กลิ่นกระเทียมจะช่วยขับไล่แมลงวันทองให้หนีไปไม่เข้าวางไข่   


   47.  กุหลาบพยากรณ์แมลง              
         ปลูกกุหลาบแซมแทรกในแปลงพืช  แมลงประเภทปากกัดปากดูดจำพวกเพลี้ยจะเข้ากัดกินดอกกุหลาบก่อน  ทำให้รู้ว่ามีแมลงปากกัดปากดูดเข้ามาแล้ว  จากนั้นจึงเริ่มมาตรการป้องกันเพลี้ยเข้าทำลายพืชประธาน    
 

   48. ปลาเน่าไล่แมลง           
        ใช้เศษหัวปลาสดชิ้นเล็กๆเท่าหัวแม่มือวางไว้ตามพื้นดินในสวนผัก  ด้านเหนือลม  กลิ่นหัวปลาเน่าช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่ทำให้ไม่เกิดหนอนและหมัดกระโดดให้หนีไปได้
        ( บุญส่ง  ปิ่นทอง  23/1  หมู่ 3  ต.วังลึก  อ.สามชุก  จ.สุพรรณบุรี)
    

   49. ปลูกหอมแบ่งต้นสด           
         ใช้ต้นหอมแบ่งที่หัวเริ่มจะแก่แต่ต้นยังสดสมบูรณ์อยู่ในแปลงปลูก  ถอนต้นหอมนั้นขึ้นมาแยกออกจากกอ  ไม่ต้องล้าง  สลัดดินติดรากทิ้งให้หมด  ตัดรากเดิมทิ้งให้ชิดหัว ตัดส่วนลำต้นเหลือติดหัวประมาณ 1 ซม.นำหัวที่ตัดแต่งแล้วลงแช่ในสารอาหารเจือจาง (ฮอร์โมนไข่  ไคตินไคซาน  จุลินทรีย์หน่อกล้วย  ปุ๋ยน้ำชีวภาพ......อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆละเท่ากัน) นาน 5-10 นาที  จากนั้นให้นำไปปักปลูกในแปลงที่เตรียมไว้  การปฏิบัติบำรุงทุกขั้นตอนเหมือนการปลูกจากหัวพันธุ์  หอมแบ่งต้นนั้นจะโตขึ้นเป็นผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ตามปกติ
         (ศรีไพร  อินทร์ทองหลาง   70 หมู่ 3  ต.ชัยนารายณ์  อ.ชัยบาดาล  จ.ลพบุรี)  
 

   50. สมุนไพรกำจัดเพลี้ยอ่อน           
         ใช้น้ำแช่ผลมะกรูดแก่สดที่ยังไม่ได้กลั่นหรือกลั่นแล้วก็ได้ 1 ส่วน ใส่พริกสดเผ็ดจัดบดละเอียด 1 ส่วน น้ำเปล่า 1 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
         ใช้หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.  ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มช่วงเย็นอากาศไม่ร้อน  ทุก 2-3 วัน นอกจากช่วยกำจัดเพลี้ยอ่อนได้แล้วยังกำจัดหนอนแก้ว หนอนชอนใบได้อีกด้วย
            
         (ศรีไพร  อินทร์ทองหลาง  70  หมู่ 3  ต.ชัยนารายณ์  อ.ชัยบาดาล  จ.ลพบุรี)   




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©