-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 503 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน




หน้า: 1/5





       1.ฮอร์โมนไส้เดือน :
 
        สูตร 1
        ใช้วัสดุส่วนผสม เศษพืชแห้งหรือสดสับเล็ก 10 กก. มูลไก่แห้ง 2 กก.รำละเอียด 1 กก.คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี เตรียมถังเจาะรูติดก๊อกที่ก้นถัง ใส่วัสดุส่วนผสมที่เตรียมไว้ลงไปในถังให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 6-10 นิ้ว แล้วพรมวัสดุส่วนผสมด้วย น้ำซาวข้าว 1 ล. น้ำมะพร้าว 250 ซีซี. กากน้ำตาล 50 ซีซี.ให้ได้ความชื้น 80-100 % อัดวัสดุส่วนผสมให้แน่นพอประมาณปิดฝาสนิทไม่ให้แสงส่องถึง อากาศผ่านได้เล็กน้อย หมักทิ้งไว้ในร่ม 5-7 วัน เพื่อให้เวลาจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุส่วนผสมก่อน จากนั้นให้ใส่ไส้เดือนลงไป(ไส้เดือนมากตัวและหลายสายพันธุ์ดีกว่าน้อยตัวและสายพันธุ์เดียว)เก็บถังไว้ในร่ม ทิ้งไว้ 10-15 วัน ให้เปิดก๊อกก้นถัง น้ำที่ไหลออกมาจากก๊อก คือ "ฮอร์โมนไส้เดือน" พร้อมใช้
       สูตร 2
       ใช้ไส้เดือนตัวโตๆ หลายๆตัว ยิ่งมากยิ่งโตยิ่งดีใส่กะละมัง เติมน้ำพอท่วมครึ่งตัวไส้เดือนทิ้งไว้ค้างคืนให้ไส้เดือนคายเมือกออกมาน้ำเมือกที่ออกมา คือ "ฮอร์โมนไส้เดือน" พร้อมใช้งาน
       อัตราใช้และพืชเป้าหมาย :
       ฮอร์โมน 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบให้แก่พืชระยะกล้า หรือพืชกินใบ/กินยอด ช่วงเย็นอากาศไม่ร้อน จะช่วยบำรุงให้แตกยอดใหม่ดี ใบเก่าจะหนาเขียวเข้ม
   

     2.สับปะรดไร้สารไนเตรท :      
       ระยะที่หัวสับปะรดโตขนาดเท่ากระป๋องนม การแกะจุก (เด็ดหรือแคะยอด 3-4ใบ)ที่ยอดออกทิ้งจะช่วยให้ได้หัวขนาดใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะไนโตรเจนไม่ต้องไปเลี้ยงยอดหรือใบทียอดจุก แต่จะส่งไปเลี้ยงผลแทนจนทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นและใหญ่กว่าหัวที่ไม่ได้แคะจุกกรณีนี้ทำให้ในเนื้อสับปะรดมีไนโตรเจนมากด้วยหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วนำไปทำสับปะรดกระป๋องจะเกิดไนเตรท จนผิวกระป๋องดำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
       แนวทางแก้ไข คือ ระยะบำรุงผล ให้ลดไนโตรเจนในปุ๋ย แล้วให้ปุ๋ยที่มีไนโตร
เจนน้อย เช่น 1:1:7 แทน ควบคู่กับการให้ฮอร์โมนสมส่วน (น้ำคั้นไชเท้า+น้ำคั้นเมล็ดงอก+น้ำมะพร้าว+ธาตุรอง/ธาตุเสริม + กลูโคส)สลับครั้งกับการให้ปุ๋ยทางใบ จนถึงเก็บเกี่ยว นอกจากขนาดผลสับปะรดจะใหญ่ขึ้นแล้ว ในหัวยังไม่สะสมไนเตรทอีกด้วย(สับปะรดสะสมสารไนเตรทไว้ที่แกนกลางหัว)หรือช่วงผลขนาดเท่ากระป๋องนม แกะจุกแล้วบำรุงด้วย"ฮิวมิค แอซิด + ปุ๋ยทางราก" ละลายน้ำให้ทางดินเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมกับให้ทางใบด้วย "น้ำ 100 ล.+ ฮิวมิค แอซิด 100กรัม + กลูโคส 100-200 ซีซี." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกลงดินเป็นการให้น้ำไปในตัว เดือนละ 1 ครั้ง จนถึงเก็บเกี่ยวก็ได้ผลเหมือนกัน  

     3.สัญชาติญาณสืบเผ่าพันธุ์ของพืช :
       คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตประการหนึ่งคือ การสืบพันธุ์ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ให้อยู่ในโลกได้ต่อไปและตลอดไป...การสืบพันธุ์ของพืชโดยการผสมด้วยเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียสารพันธุ์เดี่ยวกันในดอกเดียวกันหรือต่างดอกแต่ในต้นเดียว หรือต่างดอกต่างต้นกัน เปรียบเสมือนผสมพันธุ์สัตว์แบบสายเลือดชิด...กรณีของพืชนั้น เมล็ดที่เกิดในผลที่ได้เมื่อนำไปขยายพันธุ์ย่อมได้ต้นพันธุ์ใหม่ดีระดับหนึ่งหรือด้วยกว่าเดิมเรียกว่า "สายพันธุ์ด้อย" แนวทางแก้ไขคือ เปิดโอกาสให้พืชกลุ่มเดียวกันต่างสายพันธุ์กันผสมกัน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ผสมกับมะม่วงเขียวเสวย หรือทุเรียนก้านยาวผสมกับทุเรียนชะนีเป็นต้น ทั้งนี้ผลที่เกิดมาจะเป็นสายพันธุ์ตามต้นของเกสรตัวเมียเสมอ ในแปลงมะม่วงเป้าหมาย  คือ เขียวเสวย ให้ปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นเช่น น้ำดอกไม้ อกร่อง ฟ้าลั่น ฯลฯ แซม/แทรกกระจายทั่วแปลงเขียวเสวย แล้วบำรุงหรือบังคับให้ทุกสายพันธุ์ออกดอกพร้อม ๆ กัน ในแปลงทุเรียนเป้าหมายคือ หมอนทอง ให้ปลูกทุเรียนสายพันธุ์อื่นเช่น ก้านยาว ชะนี พวงมณี ฯลฯ แซม/แทรกให้กระจายทั่วแปลงหมอนทอง แล้วบำรุงหรือบังคับให้ทุกสายพันธุ์ออกดอกพร้อม ๆ กัน

    4. กำจัดมด :
       พื้นที่ว่างเปล่า เปิดหน้าดินให้แดดส่องถึงแล้วใช้ "น้ำมันก๊าด + น้ำเปล่า" อัตราส่วน 1:1 ราดให้เปียกชุ่ม 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-4 วัน นอกจากความร้อนจากน้ำมันก๊าดแล้วกลิ่นของน้ำมันก๊าดยังทำให้มดตายและหนีไปอีกด้วย...พื้นที่แปลงปลูกพืช เปิดหน้าดินให้แดดส่องแล้วใช้ "การบูร + ยาฉุน" อัตราส่วน 1:1 หรือ "น้ำหน่อไม้ดอง + น้ำเปล่า" 1:1 ราดให้เปียกชุ่ม 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 3-4 วัน
กลิ่นและสารออกฤทธิ์ในยาฉุนหรือหน่อไม้ดองจะทำให้มดตายหรือหนีไป โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชประธาน

     5.โซดาแก้เฝือใบ :

       พืชสวนครัวกินผลพุ่มเตี้ยอายุปีเดียวหรือข้ามปี เช่น มะเขือ พริก เป็นต้น เป็นพืชที่ออกดอกติดผลได้เองภายใต้สภาพ ซี/เอ็น เรโช (เกิดจากอินทรีย์วัตถุ) ในสภาพที่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล หากซี/เอ็น เรโช เหมาะสมต่อการแตกยอดและใบก็จะทำให้มะเขือหรือพริกต้นนั้นมีแต่ใบหรือเรียกว่าเฝือใบนั่นเอง กรณีนี้แก้ไขโดยการใช้ "โซดาเปิดขวดใหม่ 250-500 ซีซี.+ น้ำ 100 ลิตร " ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเช้าแดดจัด 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วัน จะทำให้มะเขือหรือพริกหยุดแตกยอดใหม่ ใบอ่อนเดิมที่มีจะกลายเป็นใบแก่ จากนั้นไม่นานก็จะออกดอกติดผลและออกเรื่อย ๆ ไปจนต้นโทรม.....ในโซดามคาร์บอน เมื่อให้แก่ต้นพริกหรือมะเขือที่เฝือใบก็เท่ากับเพิ่มปริมาณ ซี ใน ซี/เอ็น เรโช นั่นเอง นอกจากนี้หากมีการเสริมฮอร์โมนไข่ และธาตุรอง/เสริม ร่วมเข้าไปด้วยก็จะทำให้อัตรา ซี/เอ็น เรโช  เหมาะสมต่อการออกดอกติดผลมากยิ่งขึ้น

     6.เปิดตาดอกแก้วมังกร : 
       แก้วมังกรก็เหมือนไม้ผลยืนต้นอื่นๆ ที่ต้นสมบูรณ์อั้นตาดอกดีแล้ว  ให้เปิดตาดอกด้วย โปแตสเซียมไนเตรท หรือไธโอยูเรีย หรือ 0-52-34 หรือ ฮอร์โมนไข่ หรือสาหร่ายทะเล อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างรวมกันตามความเหมาะสม ปัจจุบันมีชาวสวนแก้วมังกรตั้งข้อสังเกตุว่า "ไธโอยูเรีย" ก็คือ "ยูเรีย" ตัวหนึ่ง เมื่อเห็นว่าไธโอยูเรียสามารถเปิดตาดอกแก้วมังกรได้ จึงตัดสินใจใช้ยูเรีย หรือ 46-0-0 เปิดตาดอกแก้วมังกรแทน ปรากฎว่าในแก้วมังกรต้นที่อั้นตาดอกเต็มที่แล้วออกดอกได้ไม่ต่างจากใช้ไธโอยูเรีย แต่ในต้นที่อั้นตาดอกไม่ดีกลับแตกเป็นใบหรือกิ่งอ่อนแทน

   
7.เสียบยอดมังคุดบนตอมะพูด :
      ต้นมังคุดที่ขยายพันธุ์จากกิ่งตอนมักมีระบบรากไม่สมบูรณ์และมีจำนวนน้อย ทำให้โตช้า เมื่อต้นโตขึ้นให้ผลผลิตได้แล้วยังให้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่ดีอีกด้วย ต่างจากมังคุดที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดซึ่งมีรากแก้ว ระบบรากจะสมบูรณ์ แข็งแรง แต่จะให้ผลผลิตช้า....กรณีนี้แก้ไขโดยปลูกต้น "มะพูด" ลงไปก่อนเมื่อมะพูดยืนต้นได้ดีแล้วจึงเปลี่ยนยอดมะพูดเป็นยอดมังคุดก็จะช่วยให้มังคุดต้นนั้นมีระบบรากดี ต้นจะเจริญเติบโตเร็วสมบูรณ์แข็งแรงและให้ผลผลิตดี

       
      8.กุหลาบพันธุ์ดี ระบบรากไม่ดี :
        กุหลาบพันธุ์ดีที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนหรือชำกิ่ง เมื่อโตขึ้นระบบรากมักไม่ดี ไม่สมบูรณ์ไม่แข็งแรง ให้ดอกน้อย และอายุต้นสั้นเพียง 2-3 ปี กรณีนี้แก้ไขโดยปลูกต้นตอกุหลาบป่า (ตอน หรือเพาะเมล็ด) ลงไปก่อน เมื่อต้นตอกุหลาบป่ายืนต้นได้ดีแล้วให้ติดตาหรือเสียบยอดด้วยกุหลาบพันธุ์ดีที่ต้องการ ด้วยวิธีติดตาหรือเสียบยอดตามปกติ กุหลาบพันธุ์ดีบนตอกุหลาบป่าจะมีอายุยืนนานหลายๆสิบปี ให้ดอกดกและคุณภาพดี

     
      9.ยืดอายุกล้วยดิบ :
        ผลกล้วยแก่จัดเมื่อตัดเครือลงมาจากต้นแล้วจะเริ่มกระบวนการสุกตามธรรม
ชาติทันที หากยังไม่ต้องการให้กล้วยสุกหรือยังคงเป็นกล้วยดิบอยู่อย่างนั้นให้นำผลกล้วยดิบที่ตัดเครือลงมาจากต้นใหม่ๆ ตัดแยกเป็นหวีๆ หรือทั้งเครือ ล้างน้ำทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง แล้วหมกในข้าวสารในโอ่งจนมิดเครือ ระหว่างที่ผลกล้วยถูกกลบด้วยข้าวสารนั้นจะไม่สุก หรือยังคงเขียวอยู่อย่างนั้นได้นานนับเดือน จนเมื่อนำขึ้นจากข้าวสารแล้วบ่ม ผลกล้วยก็จะสุกตามปกติ

    
      10.ยืดอายุกล้วยสุก :
         กล้วยสุกที่รับประทานไม่ทัน หรือต้องการยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น แนะนำให้นำผลกล้วยที่สุกพอดีๆแล้วตัดเป็นหวีๆ ลงแช่ในน้ำเดือดนาน 2-3 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาเก็บ (แขวนหรือวางตามปกติ)ผลกล้วยจะหยุดสุกต่อนาน15-20 วัน จากนั้นจึงจะสุกหรือสุกงอม
      


      11.ปลูกกล้วยหอมให้โตเร็ว :
         กล้วยหอมชอบดินร่วนปนทรายมีอินทรีย์วัตถุ (ยิบซั่ม กระดูกป่น มูลวัว+มูลไก่)มากๆ ชอบดินชื้น น้ำไม่ขังค้างหรือไม่แฉะ การแยกหน่อจากต้นแม่ ต้องกระทำด้วยความประณีต ขณะขนย้ายให้ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด หน่อที่ขุดแยกออกมาให้มีดินเดิมบริเวณโคนต้นติดรากมามากๆ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะรากกล้วยหอมจะเจริญเติบโตต่อจากรากเดิม ถ้าจำเป็นต้องขนย้ายระยะทางไกลๆ หรือนานๆ อาจพิจารณาให้มีวัสดุห่อหุ้มโคนที่มีดินกับรากด้วยจะดีมาก
         ขุดหลุมปลูกลึกให้มิดคอ (ลำต้นต่อกับเหง้า)1-2 ฝ่ามือแล้วพูนดินโคนต้นสูงๆ การย้ายหน่อลงปลูกในแปลงจริงช่วงปลายฝนต่อต้นหนาวในขณะที่ดินยังมีความชื้นพอดีๆ และสม่ำเสมอจะช่วยให้ต้นโตเร็ว กล้วยหอมก็เหมือนกล้วยอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงดีมาก

        
      12.ปุ๋ยเร่งดอกกล้วยไม้-กุหลาบ :
         ใช้ "ฉี่" คนหรือสัตว์ใส่ถังไม่ใช่โลหะ วางไว้กลางแจ้ง ปิดฝาพอหลวม
ตากแดดทิ้งไว้นานข้ามเดือนเพื่อให้กากตกตะกอนและกลิ่นไม่พึงประสงค์หายไปจนไม่มีกลิ่น ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้งาน....ใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 20-30 ซีซี.+ น้ำ 20 ล.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 5-10 กรัม ฉีดพ่นกล้วยไม้ กุหลาบ ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงเช้า ทุก 5-7 วัน จะช่วยให้ออกดอกดี

         
      13.จุลินทรีย์สับปะรด :
         เลือกสับปะรดสดใหม่แก่จัด (ตัดจากต้นใหม่ๆ) ล้างทำความสะอาด สับเล็กทั้งเนื้อและเปลือก 5 กก.+ น้ำตาลทายแดง 1 กก.+ ยิสต์ทำขนมปัง 100 กรัม ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี บรรจุลงภาชนะทึบแสง (ลนไฟแอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อแล้ว)ปิดฝาภาชนะด้วยสำลี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน (อุณหภูมิปกติ)หรือหมัก 10 วัน (อากาศเย็น)ก็จะได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสและแอลกอฮอร์" เข้มข้น พร้อมใช้งาน.......ใช้ "หัวเชื้อ 20-30 ซีซี.+ น้ำ 20 ล." ราดรดลงดินทุก 7-10 วัน จุลินทรีย์และแอลกอฮอร์จะช่วยกำจัดเชื้อราไฟธอปเทอร่า (โรครากเน่าโคนเน่า) ปรับสภาพโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุยดี  และแก้ปัญหาค่า EC ในดิน

     
   
     14.ปุ๋ยสูตรเร่งหวาน :
        ใช้ "เกลือสมุทร 1 แก้ว + มูลค้างคาว 1 กก.+ ฟางขี้เห็ดฟางเปื่อยยุ่ยจนเกือบเป็นดิน 2 กก.+ แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน + น้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว + ปูนขาว 1 แก้ว" ผสมคลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี ใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าได้ ทิ้งไว้ 3-5 วัน นำไปใส่โคนต้นไม้ผผล อัตรา 1 กก./ต้น/3 เดือน นอกจากจะช่วยให้ไม้ผลต้นนั้นออกดอกติดผลตลอดปีได้แล้วยังช่วยให้ได้คุณภาพกลิ่นรสดีอีกด้วย หรือหากใส่ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 10-15 วัน ก็จะช่วยให้ผลกลิ่นดี รสหวานจัด
        (บุญลือ  สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้)

        
      15.ฮอร์โมนบำรุงดอก :
         ใช้  "ใบผักหวานบ้านสดใหม่แก่จัด 3 กก. + ร็อคฟอสเฟต 1 กก. + น้ำมันรำ 1 ช้อน + น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล + โยเกิร์ต 150 กรัม + น้ำตาลทรายแดง 1 กก. + น้ำคลองสะอาด 5 ล."  สับละเอียดใบผักหวานแล้วผสมคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี  ใส่ภาชนะปิดฝาพอหลวม  เก็บในอุณหภูมิห้อง  หมักนาน 3 อาทิตย์  กรองแล้วยคั้นเอาแต่น้ำได้  "หัวเชื้อเข้มข้น"  พร้อมใช้งาน....ใช้ "หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล."ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น ทุก 7-10 วัน จะช่วยบำรุงดอกให้สมบูรณ์  พร้อมที่จะผสมติดเป็นผล  ซึ่งจะส่งผลให้มีผลดกขึ้น......ประสิทธิภาพดีมากในผักกินผล อายุสั้นฤดูกาลเดียว
         (บุญลือ  สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้)     

 
       
      16.ปรับ ซี/เอ็น เรโช :

         จากหลักการที่ว่า จะเปิดตาดอกในไม้ผลยืนต้นให้ประสบความสำเร็จได้นั้นไม้ผลต้นนั้นจะต้องได้รับการบำรุงทั้งสารอาหารกลุ่ม ซี.(กลุ่มสร้างดอก-ผล)และสารอาหารกลุ่ม เอ็น.(กลุ่มสร้างใบ-ต้น) ทั้งสองกลุ่มเท่าๆ กันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อน ทั้งนี้สังเกตได้จากสภาพความสมบูรณ์ของต้น
         ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี.และกลุ่ม เอ็น.ไว้ในอัตราส่วน ซี.เท่ากับ เอ็น.เมื่อเปิดตาดอกจะออกทั้งดอกและใบ หรือมีดอกแซมใบ
         ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก ไม่มีใบ
         ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. น้อยกว่า เอ็น.  เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ  ไม่มีดอก
          ดังนั้น เพื่อความมั่นใจก่อนลงมือเปิดตาดอก หรือเมื่อให้ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกแล้ว  ไม้ผลต้นนั้นจะต้องออกดอก จึงต้องมีวิธีการจัดการเพื่อปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. อย่างถูกต้อง นั่นคือ ปรับเพิ่ม ซี.และปรับลดเอ็น....โดยการปฏิบัติดังนี้
        - เปิดหน้าดินโคนต้นจนถึงพื้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม
        - ใส่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 อัตรา 2 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำราดรดบริเวณชายพุ่มพอหน้าดินชื้น  จากนั้นงดให้น้ำเด็ดขาด
        - ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56(400-500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.)+ น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด 100-200 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." (นมสด ซี/เอ็น เรโช  เท่ากับ 39:1)แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ไม่ควรให้ลงถึงพื้นโคนต้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ ช่วงเช้าแดดจัด
        - รมควันโคนต้นช่วงหลังค่ำระหว่างเวลา 19.00-20.00 ครั้งละ 10-15 นาที รวม 2-3 ครั้ง  ห่างกันครั้งละ 2-3 วัน
          ลักษณะอาการของต้นไม้ผลที่แสดงว่าการปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. ได้ผลก็คือใบยอดคู่สุดท้ายที่ปลายกิ่งแก่จัดเขียวเข้ม ใบแก่โคนกิ่งเส้นใบหนานูน เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ  หูใบอวบอ้วน ข้อระหว่างใบสั้น กิ่งเปราะ....ด้วยมาตรการงดน้ำเด็ดขาดนี้จะให้ต้นเกิดอาการใบสลด  ให้สังเกตุอาการใบสลด  ถ้าใบเริ่มสลดเมื่อเวลาประมาณ 11.00-12.00 น. แล้วเริ่มชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ติดต่อกัน 3 วัน  ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตจรเปิดตาดอก (ให้ทั้งทางใบและทางราก) ได้ทันที....แต่ถ้าใบสลดช่วงประมาณบ่ายโมงแล้วกลับชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ถือว่ายังไม่พร้อมจริง ให้งดน้ำควบคู่กับให้ทางใบต่อไป.....ปัญหางดน้ำไม่ได้ผลประการหนึ่ง คือ น้ำใต้ดินโคนต้น ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันหรือควบคุมให้ได้   

     
    
    17.ไม้ผลแตกใบอ่อนไม่พร้อมกัน :
       การบำรุงต้นไม้ผลยืนต้นให้ออกดอกติดผลในแต่ละรุ่นต้องเริ่มต้นจากขั้นตอนฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสนมบูรณ์ให้กลับคืนมาหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตผลสุดท้ายหมดไปจากต้นด้วยการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งราก แล้วลงมือบำรุงเพื่อเรียกใบอ่อนเสมอ....หลังจากให้ปุ๋ยทางรากด้วยสูตร "25-7-7 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.+ ปุ๋ยอินทรีย์+ สารปรับปรุงบำรุงดิน + ฮอร์โมนบำรุงราก + จุลินทรีย์" ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางใบ "46-0-0 หรือ 25-5-5 (สูตรใดสูตรหนึ่ง400 กรัม) +จิ๊บเบอเรลลิน 100 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." ด้วยการฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น  ช้วงเช้าแดดจัด จากนั้น 5-10 วัน ให้ดูผล ถ้าต้นมีอาการแตกใบอ่อนทุกจุดที่ควรแตกใบอ่อนหรือได้ใบอ่อนชุดใหม่มากจนเป็นที่พอใจ ถือว่าประสบความสำเร็จแต่ถ้าหลายจุดที่ควรแตกใบอ่อนแต่กลับไม่แตกใบอ่อน  หรือได้ใบอ่อนจำนวนน้อย ไม่น่าพอใจ  ทั้งๆที่ตัดแต่กิ่งตัดแต่งราก บำรุงทางรากอย่างถูกต้องแล้วนั้น  กรณีนี้ให้เรียกใบอ่อนซ้ำด้วยการฉีดพ่นทางใบสูตรเดิม (ให้เฉพาะทางใบ ไม่ต้องให้ทางราก)  หลังจากฉีดพ่นทางใบซ้ำรอบสองแล้วให้รอดูผลอีก 5-7 วัน  จุดที่ควรจะแตกใบอ่อนปรากฏมีใบอ่อนแตกออกมาเพิ่มก็ถือว่าประสบความสำเร็จ   แต่ถ้าจุดที่ควรจะแตกใบอ่อนแล้วไม่แตกทั้งๆที่ฉีดพ่นทางใบไปแล้ว 2 รอบ  ก็แสดงว่าสภาพความสมบูรณ์ต้นไม่พร้อม  คงต้องปล่อยเลยตามเลย  หรือได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น.......การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเรียกใบอ่อนนี้  อาจะต้องทำมากกว่า 3-4 รอบ  โดยถือผลรอบแรกเป็นตัวพิจารณา ซึ่งหากต้องการเพิ่มจำนวนรอบการฉีดพ่นทางใบมากกว่า 14 รอบเป็น 2-3 รอบ  ให้ฉีดพ่นถี่ขึ้น  อาจจะเป็นเว้น 3-4วัน/ครั้งก็ได้

      
    18.กดใบอ่อนสู้ฝน :
       ธรรมชาติของพืชทุกชนิดมักแตกใบอ่อนหลังได้รับน้ำฝนเสมอ  พืชทั่วไปอาจจะไม่มีปัญหาหรือถือว่าดี  แต่กรณีไม้ผลยืนต้นที่ต้องการบังคับให้ออกผลนอกฤดูจะต้องไม่มีการแตกใบชุดใหม่เด็ดขาดแม้จะได้รับน้ำฝนก็ตาม  การบำรุงต้นไม้ผลยืนต้นไม่ให้แตกใบอ่อนช่วงฝนชุกก็คือ  มาตรการเพิ่มสารอาหารกลุ่ม ซี.  ควบคู่กับงดสารอาหารกลุ่ม เอ็น.  โดยการปฏบัติดังนี้.....
     - เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม  พร้อมกับทำช่องระบายน้ำฝนออกจากโคนต้น  อย่าให้น้ำฝนขังค้างนาน และงดการให้น้ำเด็ดขาด
     - ใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
     - ให้ปุ๋ยทางใบสูตร  "0-42-56  หรือ  0-21-74  หรือ 0-39-39 (สูตรใดสูตรหนึ่ง400-500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100-200 กรัม + น้ำ 100 ล."  สลับครั้งกับ  "นมสด 100-200 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 300-500 ซีซี." หรือ "ฮอร์โมนไข่สูตรไต้หวัน 500 ซีซี. + น้ำ 100 ล." (อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือใช้ทั้งสองอย่างสลับครั้งกัน)  ทุก 3-5 วัน  ช่วงเช้าวันที่ไม่มีฝน 
       ถ้ามีฝนตกตอนกลางวัน  หลังฝนหยุดใบแห้งให้ฉีดพ่นทันที  ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือบ่าย   ถ้าช่วงเช้าฉีดพ่นไปแล้ว 1 รอบ  ครั้นถึงเที่ยงมีฝนตกลงมา  ก็ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังฝนหยุดใบแห้ง......กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่น 2 ครั้งใน 1 วัน    ถ้าวันนี้ไม่มีฝน ฉีดพ่นไปแล้ว  ครั้นตกกลางคืนมีฝนตกลงมา  ให้ฉีดพ่นซ้ำในเช้าวันรุ่งขึ้นทันที.....กรณีนี้เท่ากับฉีดพ่นวันต่อวัน
       ปุ๋ยทางใบสูตรนี้เป็นสารอาหารกลุ่ม ซี.  ที่ไม่ทำให้ต้นแตกใบอ่อนได้ เมื่อให้หลายๆครั้ง หรือติดต่อกันนานนับเดือน  ไม้ผลต้นนั้นจะเกิดอาการอั้นตาดอก  เนื้อใบหนา  ใบและกิ่งกรอบ  ผิวใบกร้าน  ส่วนปลายสุดของใบไหม้  แต่ไม่เป็นปัญหาหรือไม่เป็นอันตรายใดๆต่อต้นตราบใดที่ยังมีฝนตกก็ขอให้บำรุงทางใบด้วยสูตรนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งหมดฝนและแน่ใจว่าจะไม่มีฝนตกอีกใน 15-20 วันข้างหน้า  ก็ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอกได้เลย

        
      19.สมุนไพรป้องกันรา :
         ใบพิกุลสดแก่ 3 กก.+ ขิงแก่ 3 กก.+ สาโท 1 ขวด + น้ำส้มสายชู 1 ขวด + เหล้าขาว 1 ขวด.......สับละเอียดใบพิกุล ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี หมักทิ้งไว้ 1 เดือน ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น"  พร้อมใช้งาน.....ใช้ "หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงไม่มีแสงแดดหรือหลังค่ำ  ทุก 3-5 วัน สามารถป้องกันและกำจัดราดำ ราสนิม ราแป้ง  ได้ดี.....ราเหล่านี้มักระบาดมากช่วงสภาพอากาศน้ำค้างลงแรงหากได้ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดของคืนที่น้ำค้างแรง  โดยฉีดพ่นก่อนที่น้ำค้างจะแห้งคาต้น หรือฉีดพ่นเพื่อชะล้างน้ำค้าง  จะได้ผลเหนือกว่าการฉีดพ่นตอนเย็นหรือค่ำ
        (บุญลือ  สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้) 

         
     20.สมุนไพร + ปุ๋ยกำจัดหอยเชอรี่ : 
        ใช้ "สารสกัดสมุนไพร (กลอย. หนอนตายหยาก.หางไหล.กากชา.)80 ล.+ น้ำหมักชีวภาพ 20 ล." ผสมให้เข้ากันดี ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้
...ใช้ "หัวเชื้อ 3-5 ล.+ น้ำ 10-20ล."  สาดให้ทั่วแปลงนาก่อนย่ำเทือก  สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร  สารท็อกซิคจากน้ำหมักชีวภาพ  และกลิ่นของน้ำหมักชีวภาพจะเป็นอันตรายต่อหอยเชอรี่  ทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไปได้
       (บุญลือ  สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้) 


  
     21.ยาฆ่าหญ้า  :   
        ใช้  "น้ำ + กากน้ำตาลเปล่าๆ หรือ ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักใหม่ๆ มีส่วนผสมของกากน้ำตาลเข้มข้น + สารเร่งการดูดซึม"(ยูเรีย)เล็กน้อย  ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบช่วงแดดจัด  ไม่ช้าใบหญ้าจะสลด  เหี่ยว  แล้วเหลืองแห้ง  หรือเรียกว่า  "ใบไหม้".....ยาฆ่าหญ้าจริงๆ ไม่ได้ทำให้ต้นหญ้าตาย  เพราะหลังจากไม่นานหญ้าก็นั้นงอกใหม่  แสดงว่ายาฆ่าหญ้ามีฤทธิ์เพียงทำให้ใบไหม้เท่านั้น  นอกจากนี้ยาฆ่าหญ้ายังมีสถานะเป็น  "กรดจัด"  ตัวยาที่สะสมอยู่ในเนื้อหญ้า  เมื่อเนื้อหญ้าเน่าสลาย  ยาฆ่าหญ้านั้นก็จะออกมาปนเปื้อนอยู่ในเนื้อดิน      


    22.สูตรปรับดิน : 
       กากมันสำปะหลังที่เหลือจากการทำกลูโคส  ตากแห้ง + ดินเหลือง (เยลโลเค้ก) + 35-0-0 (แอมโมเนียมไนเตรท)  คลุกเคล้าให้เข้ากันดี  แล้วปั้นเม็ด  ตากแดดให้แห้ง  พร้อมใช้งาน 
     - ดินเหลืองเหนียวกว่าดินดำ  นิยมใช้ดินเหลืองปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ 
     - ใช้ขี้เค้กโรงงานน้ำตาลแทนกากมันสำปะหลังได้ 
     

   23. ยูเรียต่ออ้อย  ผลเสียมากกว่าผลดี :  
       ไนโตรเจน (46-0-0) ที่ได้จากยูเรีย  ราคาแพง  เห็นผลเร็วเพราะพืชสามารถดูดซับเข้าสู่ต้นได้ทันทีเนื่องจากเป็นไนโตรเจนที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนรูปอีก  แต่ก็ระเหยออกจากต้นได้เร็วเช่นกัน  อ้อยที่ใช้ยูเรียลำต้นจะอวบอ้วน  น้ำหนักดี เพราะมียูเรียอยู่ในต้น  หลังจากตัดมาแล้ว 6-12 ชม.ยูเรียระเหยออกจากต้น  น้ำหนักจะลดลงมาก  ลำต้นเหี่ยว   15-0-0  หรือ 21-0-0  ราคาถูกกว่ายูเรีย  ให้ไนโตรเจนเหมือนกันแต่ยังอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้  ต้องรอให้จุลินทรีย์เปลี่ยนรูปเสียก่อนพืชจึงจะนำไปใช้ได้ 
    

   24. ฮิวมิค แอซิด : 
       ใช้ถ่านหินชั้นแกรไฟต์ 60 ส่วน + ด่างทับทิม 40 ส่วน  (6 : 4) ต้มน้ำให้ละลายดี กรองกากออก นำน้ำที่ได้เข้าเครื่องโซเวนท์เพื่อไล่น้ำออกจนเหลือแต่ตะกอน
นำตะกอนมาบดละเอียดก็จะได้ "ฮิวมิค แอซิด" ชนิดผงเข้มข้น พร้อมใช้งาน 
     

    25.โซดาปรับ  เพิ่ม ซี.- ลด เอ็น. : 
       ตอนกลางวันพืชหายใจดูดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เข้าสู่ต้นสำหรับใช้สังเคราะห์อาหารแล้วคายอ๊อกซิเจนออกมา  ส่วนตอนกลางคืนพืชหายใจดูดออกซิเจนเข้าไปสำหรับใช้ปรุงอาหารที่สะสมไว้ตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วคายคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมา 
       ในน้ำโซดามีคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์แก่พืชเพื่อใช้ในในการสะสมอาหารสำหรับการออกดอก แนะนำให้ใช้ "น้ำ 100 ล. โซดาเปิดใหม่ยังไม่หมดฟอง 200-300 ซีซี.(เปิดนานไม่เกิน 2-3 นาที)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารอาหารอื่นๆตามความเหมาะสม" ฉีดพ่นในช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช. ที่สภาพอากาศปกติ หรือหลังฝนเมื่อใบแห้ง นอกจากเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สำหรับสังเคราะห์อาหารได้มากขึ้นแล้วยังช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน (กดใบอ่อน) ได้อีกด้วย 

 




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©