-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 22 มี.ค. * มะลิ หน้าหนาว-วันครู-วันแม่
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นาข้าว ยุคใหม่ ....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นาข้าว ยุคใหม่ ....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/04/2023 10:42 am    ชื่อกระทู้: * นาข้าว ยุคใหม่ .... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494
ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี ....

***********************************************************************





**** นาวข้าว ****

.... ลด-ปุ๋ยเคมี ในกระสอบ ........ เพิ่ม-ปุ๋ยอินทรีย์/เคมี ในถังหมัก ....


ถึงยุคสมัยแล้วที่ชาวนาต้องสร้างแนวคิดใหม่
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
– เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
– เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
– เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
– เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกันที่เป็นทั้งเหตุและผล


5. ความล้มเหลวที่ไม่น่าเชื่อ ว่า “คุณไม่รู้” แต่ไม่ยอมแก้ไข ไม่ปรับเปลี่ยน
– ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง ต้นข้าวโตดีกว่าขี้เทือกลึกแค่ตาตุ่ม
- ไถกลบฟางใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ทำให้ได้ดินดีกว่า นาเผาฟางไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
– ข้าวนาดำ ต้นข้าวสมบูรณ์ แข็งแรง โรคแมลงน้อย ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวนาหว่าน
- นาดำจ้างรถดำนา ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์มากกว่านาหว่าน
- ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย บังคลาเทศ อินโดเนเซีย อเมริกา ซึ่งพร้อมด้วยเครื่องทุ่นแรง (รถดำนา) ยกเว้นเขมร ลาว พม่า ที่ไม่มีเครื่องทุ่นแรง ต่างปลูกข้าวจ้าวด้วยวิธีดำด้วยเครื่องดำนา หรือดำด้วยมือแบบประณีต ..... ไทยทำนาหว่านสำรวย นาหว่าน้ำตม แม้แต่นาโยน นัยว่าง่าย สะดวก ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน แต่ประโยชน์และผลิตที่พึงได้รับต้องสูญเสียอย่างมาก ชาวนาไทยกลับไม่คิด

- ต้นข้าวขึ้นห่าง 20 x 20 ซม. ถึง 30 x 30 ซม. ต้นข้าว 1 กอ แตกกอใหม่ได้ถึง 40-50-60 ลำ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ..... ต้นข้าวขึ้นถี่ชิดกันพื้นที่ 20 x 20 ซม. มีเมล็ด 20 เมล็ด ได้ต้นข้าวขึ้น 20 กอ แต่ละต้นแตกกอไม่ได้ ลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดยาคูลท์.....ข้าวต้นใหญ่ให้ผลผลิตดีกว่าข้าวต้นเล็กชนิดเทียบกันไม่ได้เลย

- รูปแบบการทำนา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด ดังนี้...
นาหยอดเมล็ด - นาดำด้วยมือ - นาดำด้วยเครื่อง - นาโยน - นาหว่านด้วยเครื่องพ่น เมล็ด - นาหว่านด้วยมือ

- น้ำมากทำให้ข้าวสูง แตกกอน้อย สุดท้ายก็ล้ม....น้ำน้อย เจ๊าะแจ๊ะหน้าดิน ถึงแห้ง ระดับแตกระแหง ต้นข้าวไม่สูง แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม

- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

– ช่วงเวลา 7–9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 14 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น ..... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น - ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8-Cool อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10/ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0


http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6828&sid=71b5b1405b7f9f69f8840959f51ba9d2

...........................................................................................................

ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง

INSIDE ระเบิดเถิดเทิง :

สูตรระเบิดเถิดเทิง เรียกว่า "ปุ๋ย-อินทรีย์-ชีวภาพ" ได้เต็มปากเพราะ มีปริมาณปุ๋ย (ธาตุอาหาร ชนิดและปริมาณ) ตามต้องการ, เป็นอินทรีย์เพราะทำมาจากเศษซากสัตว์ล้วนๆ, และเป็นชีวภาพเพราะมีจุลินทรีย์

คุณสมบัติอื่น ได้แก่
* ผ่านการตรวจจากกรมวิชาการเกษตรมาแล้ว 3 ครั้ง
* เป็นอินทรีย์เพราะทำจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก ขี้ค้างคาว นม น้ำมะพร้าว
* เป็นอินทรีย์เพราะมีจุลินทรีย์สารพัดชนิด พิสูจน์จากส่วนผสมที่ถูกย่อยสลาย
* ในเลือดมี N. P. K. Fe.
* ในไขกระดูกมี N. P. K. Ca. S.
* ในขี้ค้างคาวมี P. K.
* ในนมมี P. K. Ca. Mg. Zn.
* ในน้ำมะพร้าวมี P. Ca. Zn. ไซโคไคนิน. กลูโคส.



น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นตอนที่ 3 :
ส่วนผสมอินทรีย์ :

น้ำหมักระเบิดฯ (ขั้น 2) .... 180 ล.
ไขกระดูก .................... 5 ล.
เลือด ......................... 5 ล.
มูลค้างคาว ................... 5 ล.
นม ............................ 5 ล.
ฮิวมิค แอซิด ................. ½ กก.

ส่วนผสมเคมี :
บี-1 .......................... ¼ กก.
ปุ๋ยธาตุหลัก (ทางราก) ..... 10-20 กก.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม .......... 2 กก.
แม็กเนเซียม ................ 10 กก.
สังกะสี ...................... 5 กก.

ใช้โมลิเน็กซ์ยักษ์ ปั่นส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันดี ได้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง อินทรีย์-เคมี" พร้อมใช้งาน อายุเก็บนานนับปี


http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7182&sid=3250ce0ddc9ef0584064e69fcd405a28







.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/04/2023 7:08 am, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/04/2023 3:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

* เปลี่ยนฟางเป็นปุ๋ย....
5. ไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์คือ การส่งฟางลงไปคลุกเคล้ากับเนื้อดินจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้จุลินทรีย์ย่อยสลายจนเปื่อยยุ่ยกลายเป็นปุ๋ยฟางที่อยู่ในแปลงนานั้นจะตากหรือไม่ตาก เกลี่ยหรือไม่เกลี่ย ย่ำหรือไม่ย่ำหมักหรือยังไม่หมัก สามารถไถกลบลงดินได้ทั้งสิ้น เพียงแต่แบบไหนจะยากง่ายกว่ากัน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้

- ไถด้วยรถไถจอบหมุนโรตารี่ เป็นรถไถขนาดกลางนั่งขับ ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยการเดินหน้าสลับกับถอยหลังเพื่อสลัดฟาง หรือยกผานขึ้น ใส่เกียร์ถอยหลังแล้วเร่งเครื่องแรงๆ ผานจะหมุนฟรีแล้วสลัดฟางออกเองได้

- ไถด้วยรถไถเดินตาม (ควายเหล็ก) ผานเดี่ยว (ผานหัวหมู) ขณะไถมักมีฟางพันผาน แก้ไขโดยต่อใบผานให้ยาวขึ้น 10-12 นิ้ว หรือมากกว่า เพื่อส่งขี้ไถและฟางให้ตกห่างจากผานมากๆ

- ย่ำด้วยลูกทุบ (อีขลุบ) ลากด้วยควายเหล็ก ลูกทุบจะย่ำฟางให้ยุบลงแนบกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดินเท่านั้นไม่ได้ลงไปคลุกหรือจมลงไปในเนื้อดิน เมื่อหว่านเมล็ดข้าวลงไป เมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งจะติดค้างอยู่บนหญ้าที่หน้าดิน ช่วงที่เมล็ดเริ่มงอก ระบบรากยังแทงไม่ทะลุกองหญ้าลงไปถึงเนื้อดินด้านล่างได้ ครั้นเมื่อปล่อยน้ำเข้าแปลง ฟางจะลอยขึ้นพร้อมกับยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมาด้วย

กรณีนี้แก้ไขโดย ปล่อยให้รากต้นข้าวเจริญยาวลงไปถึงเนื้อดินล่างดีแล้วจึงปล่อยน้ำเข้า หรือนำเส้นฟางออกเหลือแต่เหง้ากับรากต้นข้าวแล้วย่ำ....วิธีการหมักฟางนานๆจนเปื่อยยุ่ยดี แล้วย่ำด้วยอีขลุบหลายรอบ ให้มากรอบที่สุดเท่าที่จะมากได้ ฟางที่เปื่อยยุ่ยแล้วถูกย่ำด้วยล้อเหล็กจนแหลกละเอียดจะคลุกเคล้าผสมกับเนื้อดินบริเวณผิวหน้าดิน กรณีนี้แม้ต้นกล้าข้าวจะงอกบนเศษฟางเปื่อย เมื่อปล่อยน้ำเข้าก็จะไม่ยกต้นกล้าข้าวให้ลอยตามขึ้นมา นาข้าวที่ผ่านการไถกลบฟางมา 2-3 รุ่น จนขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว การทำนารุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องไถอีก แต่ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางหรือล่อให้วัชพืชขึ้นจากนั้นหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จนแน่ใจว่าฟางเปื่อยยุ่ย ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าและเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นมาจนหมดแล้วก็ให้ลงมือย่ำด้วย “อีขลุบหรือลูกทุบ” ได้เลย ทั้งนี้ลูกทุบหรืออีขลุบจะช่วยคลุกเคล้าเนื้อดินกับฟางและวัชพืชให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าไถลงได้



ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ
ไนโตรเจน (N) ................ 1.6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) ........... 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) .......... 17 กิโลกรัม
แคลเซียม (Ca) ............... 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) ............. 1.3 กิโลกรัม
ซิลิก้า (SiO2) ................. 50 กิโลกรัม

http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=7167&sid=3755331ea04ce05447a2b3a651b6a8de



* เพิ่มปุ๋ยในฟาง....
111. เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง :
- ติดตั้งถังขนาด 50 ล. หน้ารถไถ (เดินตาม/คนขับ) มีท่อที่ก้นถังยื่นออก 2 ข้าง มีก๊อกข้างละ 2 อัน ห่างกันอันละ 50 ซม. .... ท้ายรถไถมีลูกทุบหรืออีขลุบ

- ทำงาน : ย่ำเทือกรอบสุดท้าย ใส่ “น้ำ+ปุ๋ยเคมี 10 กก. +น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2 ล.” สำหรับพื้นที่ 1 ไร่....

ออกวิ่งรถย่ำเทือกเปิดก๊อกให้น้ำปุ๋ยออกมา มาก/น้อย-เร็ว/ช้า ตามความเหมาะสมของ เนื้องาน/พื้นที่งาน ....

ขณะที่น้ำปุ๋ยไหลลงมาที่ด้านหน้ารถ จะถูกลูกทุบหรืออีขลุบที่ท้ายรถตีให้น้ำปุ๋ยกระจุยกระจายสาดกระเซ็นไปทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ส่งผลให้ต้นข้าว (นาดำ/นาหว่าน/นาหยอด) ทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง....

งานนี้ได้แน่ๆ
** ใช้ปุ๋ยน้อย
** ปุ๋ยทุกเม็ดถึงข้าวทุกต้น
** ประหยัดเงินค่าปุ๋ย
** ประหยัดเวลา
** ประหยัดแรงงาน







.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/04/2023 11:35 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 23/04/2023 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
.
จาก ทฤษฎี-วิชาการ-หลักการ สู่ การปฏิบัติ :

27. ขายถูกต้อง ได้เงิน+บุญ :

ผญ.สนธิฯ อยู่บ้านภูผีโห่ เป็นผู้นำชุมชนที่มีน้ำใจ คติประจำใจว่า “ผู้ใหญ่บ้านรวย ลูกบ้านรวย” ออกเงินกู้ให้ลูกบ้านเอาไปทำการเกษตรโดยเฉพาะ คิดดอกเบี้ยถูกๆ ถูกที่สุดในบรรดาเจ้าหนี้เงินกู้ ลูกหนี้ดีๆบางครั้งไม่เอาดอกเอาแต่ต้น

ผญ.สนธิฯ รู้และเข้าใจดีว่า ต้นทุนทำการเกษตรตัวหนึ่ง ตัวสำคัญ คือ ปุ๋ย ว่าแล้ว ผญ.สนธิฯ ตัดสินใจไปเรียนที่ RKK เรียนวิธีทำปุ๋ย ไบโออิ, ยูเรก้า, ไทเป, แคลเซียม โบรอน, น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง สูตรตามชนิดพืช, เรียนแล้วกลับไป “หัดทำ-ฝึกทำ” สร้างประสบการณ์ตรง

ผญ.สนธิฯ เริ่มงานออกเงินกู้ใหม่ ใครกู้เงินแล้วซื้อปุ๋ย ผญ.ไปใช้ ไม่คิดดอกเบี้ย .... ลูกบ้านพอใจ ไม่เสียดอกเบี้ย ปุ๋ยราคาถูกมากๆ สูตรปุ๋ยมาจากผู้พันคิมในรายการวิทยุ เป็นการันตี

นารุ่นแรกได้ผลทันที แม้ผลผลิตที่ได้ไม่มากนักแต่ก็มากกว่าที่เคยทำแบบเก่า (แบบเก่า : ปุ๋ยเคมีไร่ละ 2 กส. ไม่เคยให้ทางใบ) แต่ต้นทุนค่าปุ๋ย ผญ.ต่ำกว่าปุ๋ยร้านค้ามาก ๆๆ ที่สำคัญ ได้เงินใช้หนี้โดยไม่ต้องจ่ายค่าดอก

นารุ่น 2 รุ่น 3 ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นจากรุ่นแรก ไม่ใช่แค่ตัวเองคนเดียว ลูกบ้านลูกหนี้คนอื่นๆก็เป็นเช่นนี้ ผลผลิตข้าวที่ได้เพิ่ม (ทั้งปริมาณและคุณภาพ), ต้นทุนลด (จ่ายน้อยลง 200%), อนาคตดี (โรงสีพอใจ สั่งซื้อล่วงหน้า)

ผญ.สนธิฯ แม้จะเสียรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้แต่ได้กำไรจากปุ๋ยแทน ได้มากกว่าด้วย ของแถม คือ ศรัทธา จากลูกบ้านลูกหนี้


29. ข้าว 9 เมล็ด ปลูกได้ 30 ไร่ :
"คุณบังอร" อยู่สุพรรณบุรี ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่มาจากอาจารย์ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดพันธุ์ จำนวนเพียง 9 เมล็ดเท่านั้น ด้วยความอยากได้ข้าวสายพันธุ์เป็นที่้สุด นำมาเพาะลงในแปลงที่เตรียมไว้ ประคบประหงมอย่างประณีตที่สุด ด้วยแนวทาง อินทรีน์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าว

ข้าวเปลือก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 1 กอ .... 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ .... 1 ลำได้ 100 เมล็ด.... นั่นคือจาก 1 เมล็ดปลูกแล้วได้ 50 ลำ x 100 เมล็ด = 5,000 เมล็ด

สรุป : ข้าวเปลือก 9 เมล็ด ปลูกแล้วได้ 9 เมล็ด x 50 ลำ x 100 เมล็ด = 4,500 เมล็ด
ขยายผลรุ่นแรก 4,500 ปลูกได้ 1 ไร่ .... ขยายผลรุ่น 2 จาก 1 ไร่ปลูกได้ 30 ไร่

นอกจากนี้ ในเนื้อที่ 30 ไร่ ยังได้จัดแปลงส่วนหนึ่งสำหรับทำเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะด้วยเทคนิคการบำรุง การแยกข้าวปน ทุกขั้นตอนต้องอดทนอย่างที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการทำ .....

วันนี้ คุณบังอรฯ ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณธรรม ใครๆขายข้าวปลูกไรซ์เบอร์รี่ ถังละ 1,500-1,700 แต่คุณบังอรฯ ขายถังละ 500 ก็ได้ข้าวเกวียนละ 50,000 แล้ว สบายๆๆ

ไรซ์เบอร์รี่ ล้มตอซัง ประหยัดต้นทุน :
- ทำนาแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของนาข้าว ยิ่งใช้ปุ๋ยลุงคิม ประจำหลายๆรุ่น จะยิ่งใช้น้อยลง จำนวนครั้งฉีดทางใบน้อยลง ให้ทางดินก็ใส่น้อยลงด้วย อันนี้น่ะจะเป็นเพรา “ดินดีแบบสะสม” กับต้นสมบูรณ์ที่ได้จากดิน ให้ปุ๋ยทางใบน้อยครั้งลงต้นก็ยังงามได้ ออกรวงดี น้ำหนักดี สำคัญที่สุด คือ โรคแมลงไม่วอแววี้ดว้ายกระตู้วูเลย

- ไถกลบฟาง ย่ำเทือกประณีตกำจัดวัชพืชไปในตัว เลิกยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีถอนเพราะมีไม่มาก เลิกสารเคมีฆ่าแมลงแต่ใช้สารสมุนไพรแบบเดี่ยวๆ หรือแบบผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดบ่อยๆ ฉีดล่วงหน้าก่อนศัตรูพืชมา ถือหลัก กันก่อนแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน

- หลายๆรุ่นมานี้ เฉพาะต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ลดสุดๆ ลดกว่าเดิมหลายเท่าตัวเห็นได้ชัด .... ไม่จ้างแรงงาน ทำเองสองคนผัวเมียเท่านั้น ลงแปลงเดินย่ำลงไปในนาทุกวัน .... ขยันจนน่ากลัว ขยันแล้วรวยใครจะไม่เอา ผิดกับบางคนที่ "ขี้เกียจ" อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีเวลา ยุ่งยากเสียเวลา ทำไม่เป็น ไม่มีความรู้ ไม่มีใครมาส่งเสริม แบบนี้ก็จง"จน+หนี้" ต่อไปเถอะ

- รู้ดีว่า สายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้น ทุกรุ่นทุกรอบที่ปลูก จะแยกข้าวปนโดยการเดินลุยลงไปแล้ว “ถอนทิ้งทั้งกอ” ถอนทุกอย่าง วัชพืช ข้าวสีขาวที่ติดมากับรถเกี่ยว ไรซ์เบอร์รี่เมล็ดสีขาวอมเทา อย่าเสียดาย อย่างก

- รุ่นนี้ทำนาไรซ์เบอร์รี่แบบ “ย่ำตอซัง” ได้ผลชัดเจนมากๆ ประหยัด “ค่าไถ ค่ำย่ำเทือก ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าดำ ค่าแรง ฯลฯ” ....

วิธีการ :
เกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้เสมอกัน แล้วใช้ล้อย่ำตอทันที
บริเวณกลางแปลงล้อย่ำทำงานเรียบร้อยดี แต่ตอข้าวริมคันนาล้อย่ำทำงานไม่สะดวก ต้องใช้เครื่องตัดหญ้าช่วยตัดตอแทน ดูแล้วเรียบร้อยดีกว่าย่ำ

(..... คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ .... ใช้เครื่องตัดหญ้าแบบเส้นเอ็นดีกว่าวิธีใช้ใบมีดเหล็กหรือวิธีใช้ล้อย่ำ ทั้งนี้ ต้นข้าวจะขาดตอเสมอกันทั่วทั้งแปลง ส่งผลให้การแทงหน่อใหม่ดี....)

หลังย่ำตอ 5-7 วัน หน่อข้าวเริ่มแทงขึ้นมาจากพื้นดิน สำรวจได้ประมาณ 75-80% ทิ้งไว้อีก 3-5 วัน ส่วนที่เหลือเริ่มงอก รวมข้าวงอกมากกว่า 95 % ที่เหลือช่วยเขาโดยแซะข้าวกอข้างเคียงมาดำเสริ

(.... ก่อนย่ำตอไม่ใส่น้ำ ปล่อยให้หน้าดินแห้งเพื่อให้ตอแหลกสลายดี แม้ผิวดินจะแห้งแต่มีน้ำอยู่ไต้ผิวดิน อันเป็นผลพวงมาจากการไถกลบฟางซ้ำหลายๆรุ่น ฟางไต้ดินจึงทำหน้าที่เสมือนฟองน้ำเก็บน้ำไว้ให้ หล่อเลี้ยงตอข้าวยามรอแตกหน่อใหม่ได้....)

- เมื่อมั่นใจ ทั้งหน่อข้าวแตกใหม่ หน่อใหม่ที่ปลูกซ่อม ยืนต้นได้แล้ว สิริรวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 10-12 วัน ใครเห็นก็คิดว่า ตอข้าวขาดน้ำนานปานนี้น่าจะตายหมดแล้ว แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นอกจากในดินมีฟองน้ำคอยอุ้มน้ำไว้ให้แล้ว ระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการบำรุงต้นข้าวส่งผลให้ตอข้าวยืนรอแตกหน่อใหม่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน จึงสูบน้ำเข้านา จากนั้นทุกอย่างทุกขั้นตอน ปฏิบัติเหมือนการทำนาปกติ

- ฟางในดินอุ้มน้ำไว้ในเนื้อดินได้นานนับเดือน เป็นน้ำระดับ "ชื้น" งานนี้นอกจากได้น้ำแล้วยังมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น +จุลืนทรีย์ที่ใส่ลงไปอีกด้วย

- แปลงข้างๆ เห็นนาแปลงนี้มาตลอด ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ข้าวปลูกมา 9 เมล็ด, การเปลี่ยนจากข้าวสีขาวมาเป็นข้าวสีดำ, การปฏิบัติบำรุง, ทุกอย่างทุกขั้นตอนประจักษ์แจ้งเห็นกับตา จับกับมือ แม้กระทั่งรายได้แต่ละรุ่นก็รู้อยู่แก่ใจ ....

งานนี้นอกจาก ไม่ใส่ใจ-ไม่คิด-ไม่วิเคราะห์-ไม่เปรียบเทียบ กับนาตัวเอง กับนาแปลงอื่นๆ แล้ว ยังค่อนขอดนาๆว่า นาอินทรีย์ไปไม่รอด ข้าวสีดำโรงสีไม่รับซื้อ มาถึงรุ่นนี้ ไรซ์เบอร์รี่ล้มตอซัง ก็ยังค่อนขอดอีกว่า ต้นข้าวไม่ใช่ต้นกล้วยถึงจะเอาหน่อได้ กระทั่งหน่อข้าวขึ้นมาเต็มแปลง เห็นเต็มตาว่านั้นคือต้นข้าว ก็ยังไม่วายสงสัยอีกว่า มันมาได้ยังไง ?

กรอบแห่งความคิด :
คุณภาพเพิ่ม :
- ไม่อยู่ในเกณฑ์ถูกตัดราคา (ปลอม ปน ป่น ไข่ เรื้อ ลีบ)
- ปริมาณเท่ากันแต่ขายได้ราคาสูงกว่า
- ผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผู้รับซื้อ (การตลาด นำการผลิต)
- แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (ขายส่ง ขายปลีก)
- ปรับ/เปลี่ยน วิธีการปฏิบัติเมื่อสภาพอากาศผิดปกติ เพื่อให้ได้ผลผลิต
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- ฯลฯ

ต้นทุนลด :
- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงิน (เช่า ไถ ย่ำ พันธุ์ หว่าน/ดำ/หยอด ฉีด ปุ๋ย ยา ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อ (ที่ดิน เวลา แรงงานตัวเอง โอกาส ฯลฯ) ขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ

อนาคตดี :
- ดิน น้ำ ดีขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อเสียง เคดิต
- รวมกลุ่มสร้างผลผลิตเพื่อผู้รับซื้อมั่นใจ
- เปิดตัวเปิดใจรับรู้ข้อมูลทางวิชาการ แล้วต่อยอดขยายผล สำหรับรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป
- ฯลฯ
**** ทฤษฎีนี้ นำไปใช้กับนาข้าวได้ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ทุกประเทศ ****


42. นา-ข้าว vs ข้าว-นา :
อ้างถึง :
ข่าว ทีวี : ส่งออกข้าวไทย ....
ยอดส่งออกข้าวไทยปี 2561 ทะลุ 11.13 ล้านตัน เป็นอันดับ 2 รองอินเดีย ส่วนปี 2562 ตั้งเป้า 10 ล้านตัน

กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2561 ไทยสามารถส่งออกข้าวคิดเป็นปริมาณ 11.13 ล้านตัน ลดลง 3.36% แต่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 11 ล้านตัน มูลค่า 5,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น

ปี 2562 ปริมาณส่งออกอาจปรับลดลงมาจากปี 2561 แต่ก็ยังน่าจะได้ถึง 10 ล้านตัน ซึ่งสาเหตุที่การส่งออกข้าวชะลอตัวลงมา เพราะราคา ข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก โดยข้าวหอมมะลิไทยราคาส่งออกขึ้นไปถึง 1,142 ดอลลาร์/ตัน ....

COMMENT : ข่าว คือ ข่าว มีแต่ W. ไม่มี H. ไม่ใช่แต่ข่าวเกษตรเท่านั้น รายการสารคดีเกษตรก็มีแต่ W. ไม่มี H. ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนทำรายการเกษตร ทีวี. เขาคิดยังไง คิดบ้างไหมว่า คนดู ทีวี. แล้วได้อะไร ? หรือไม่ ? แค่ไหน ?

ต้นทุนนาข้าว :
* นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย .................... ต้นทุนไร่ละ 8,000
* ประธานสภาเกษตรกร ประพัทธ์ ปัญญาชาติรักษ์ ....... ต้นทุนไร่ละ 3,000
* ชาวนายุคใหม่ (อ่างทอง/สุพรรณบุรี/อยุธยา/ฯลฯ) ..... ต้นทุนไร่ละ 1,000
* ลุงคิม ................................................... ต้นทุนไร่ละ 1,000 (-)


จาก : (089) 165-36xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี. ปี 61 ข้าวไทยราคาแพงกว่าประเทศคู่แข่ง อยากลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยเคมี ถ้าเราไถกลบฟางแล้วจะได้ธาตุอาหารจากฟาง หรือไม่ เท่าไร....
ตอบ :
นาข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี..... ไนโตรเจน 32 กก., ฟอสฟอรัส 22 กก., โปแตสเซียม 8 กก., แคลเซียม 14 กก., แม็กเนเซียม 6 กก., กำมะถัน 2 กก., ซิลิก้า 13 กก., ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

จาก : (068) 248-19xx
ข้อความ : กราบคุณตาผู้พัน อาจารย์เกษตรบอกว่า ปีนี้ข้าวไทยจะสู้ข้าวต่างประเทศไม่ได้ สาเหตุ ข้าวไทยต้นทุนสูง คุณภาพไม่ดี หนูอยากขอข้อมูลเกี่ยวกับธาตุอาหารสำหรับนาข้าวค่ะ จะเอาไปเขียนรายงาน .... หลานปูเป้ นครสวรรค์
ตอบ :
(1)
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สม บูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8-Cool อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ..... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก....
ยูเรียต่อต้น : ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

ยูเรียต่อเมล็ด : เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

ยูเรียต่อคุณค่าสารอาหาร : ความเข้มข้น (%) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

- มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำ ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วย แล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....

แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อ เท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ

- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....

ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....

ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....

ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว) จะมีรวงยาว....

ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....

การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ “แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วันและให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว

(2)
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

-สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริมฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.


จาก : (089) 523-60xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี.เรื่องข้าวไทยปีนี้ ราคาถูกกว่าของเวียดนาม ที่จริงมันเป็นมานานแล้ว ข้าวไทยราคาแพงเพราะต้นทุนสูง นาเคมี 46-0-0, 16-20-0 ต้นทุนไร่ละ 1,800 อยากเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยไร่กล่อมแกล้ม ลุงคิมช่วยคิดต้นทุนค่าปุ๋ยให้หน่อย....ขอบคุณ
ตอบ :
ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป. หัวโต. ใบโต. แคลเซียม โบรอน. ระเบิดเถิดเทิง สูตรอินทรีย์เพียวๆสูตรอินทรีย์/เคมี สูตรปรับโมเลกุล. ปุ๋ยทางใบ ชนิดน้ำ .... ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ทำเททิ้ง

จะบอกให้....ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำที่ขายในเมืองไทย ส่งออกด้วย ทั้งขายส่ง ขายปลีก ขายตรง ขายผ่านเน็ต ทุกสูตรทุกยี่ห้อ ทำ "ไต้ถุนบ้าน" (เน้นย้ำ....ไต้ถุนบ้าน) ทั้งนั้น

ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ที่สัมภะเวสีผีจรจัดเร่ขาย ลิตรละ 4,000 ลิตรละ 10,000 ซื้อไปได้ยังไง ทั้งๆที่เนื้อในก็คือ"ปุ๋ย 14 ตัว" เหมือนกัน

คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำเป็นทำได้ด้วย “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเองทั้งนั้น

ต้นทุนค่าปุ๋ยนาข้าว 20 ไร่
- ปุ๋ยลุงคิม (ระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า) ครบสูตร ......... 10,000
- ค่าปุ๋ยเสริม (16-8-8, 18-38-12, 0-5234) ................. 5,000
** รวม 15,000 ..... หรือ 15,000 หาร 20 = ไร่ละ 750

ต้นทุนในการปลูกข้าวของชาวนา :
1. ค่าไถนา
2. ค่าย่ำเทือก
3. ค่าลูบเทือก
4. ค่าเมล็ดพันธุ์
5. ค่าจ้างหว่าน

6. ค่าปุ๋ยเคมี
7. ค่าจ้างหว่าน
7. ค่าสารเคมี
8. ค่าจ้างฉีด
10. ค่าเกี่ยว

11. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
12. ค่าเช่านา
13. ค่าภัยธรรมชาติ
14. ฯลฯ
15. ฯลฯ

**** แก้ไขโดย ตัด ลด เพิ่ม ปรับ เปลี่ยน ปล่อยตามธรรมชาติ เสริมธรรมชาติ

จาก : (095) 166-37xx
ข้อความ : ข่าวทาง ทีวี. เรื่องราคาข้าวไทยในตลาดโลกราคาต่ำกว่าประเทศอื่น แต่ต้นทุนของไทยกลับสูงกว่า แบบนี้ชาวนาไทยจะไปรอดหรือ ผู้พันครับ ทำยังไงถึงจะลดต้นทุนนาข้าวได้ครับ....
ตอบ :
คำพูดในคำถามที่ว่า “ลดต้นทุน” ลุงคิมเพิ่งได้ยินตัวเกษตรกรจริงๆพูด ชนิดเต็มคำเต็มหูครั้งนี้เป็นครั้งแรก ทั้งๆที่ตั้งสโลแกนไว้ว่า“ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ/คุณภาพ)-ต้นทุนลด-อนาคตดี” น่าจะสร้างแรงจูงใจได้มากกว่านี้ เทียบกับจากนักส่งเสริมคนอื่นๆ ตั้งแต่นักการภารโรงถึงอธิบดี ตั้งแต่ สมช.มูลนิธิถึงนายก ก็ไม่พูดเรื่อง “ต้นทุน” แบบตรงๆ ถึงพูดก็แค่เอ่ยคำนี้ออกมาพอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่มีรายละอียดที่นำไปปฏิบัตินำไปทำได้ เกือบทั้งหมดพูดแต่ “ราคาขาย ราคาขาย” ต้องแพง ๆ ๆ เท่านั้นเท่านี้ชาวนาถึงจะอยู่ได้

ว่ามั้ย วันนี้ข้าวสารพร้อมหุงราคา กก.ละ 30 นั่นจากต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 8,000 ถ้าต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 ราคาข้าวสารพร้อมหุงมิ กก.ละ 60 หรอกรึ แบบนี้ถามจริง คุณเดือด ร้อนด้วยมั้ย

เอาเป็นว่า “ต้นทุน” คือ รายจ่ายที่เราต้องจ่ายออกไป จ่ายเป็นเงิน จ่ายเป็นค่าแรง ค่าพื้นที่ ค่าเวลา ค่าโอกาส .... อย่างค่าแรง ตัวเองทำเอง ไม่ต้องจ่ายแต่ได้เนื้องาน รับจ้างไม่ได้เนื้องานของตัวเองแต่ได้เงิน กับรายจ่ายอย่างอื่นก็อีหร็อบเดียวกัน

ชาวนาหรือเกษตรกรอาชีพอื่นๆ ต่างก็ชอบ “ง่ายๆ-เร็วๆ” ดี/ไม่ดี-แพง/ไม่แพง ไม่ว่า ..

“ง่ายๆ” ง่ายน่ะดีแต่ผิด ผิดธรรมชาติความต้องการของต้นข้าว มีแต่เสียกับเสีย
“เร็วๆ” ใส่ปั๊บได้ผลทันใจ แต่ได้ผลแค่วูบเดียวแล้วกลับไปอย่างเดิม นี่ก็คือเสียกับเสีย

ปัญหา“ต้นทุน” นาข้าวที่ถามมา เอาเรื่อง “ปุ๋ย” อย่างเดียวก่อนก็แล้วกัน เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง เช่น ทำเทือก หว่านปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมียูเรีย16-20-0 ยาฆ่ายาคุมหญ้า สารเคมียาฆ่าแมลง อันนี้เคยทำหรือว่าทำอยู่ยังไงก็ทำไป

ปรับเพิ่มเป็นนาข้าวแบบ “เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน” ....
* ตอนทำเทือก ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ซัก 2 ล./ไร่
* ระยะแตกกอ ให้ทางใบด้วย ไบโออิ + สารสมุนไพร 3 รอบ
* ระยะออกรวง ให้ ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ
* ระยะน้ำนม ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 3 รอบ

แต่ละรอบๆ ที่ว่า แบ่งระยะเวลาให้ห่างกันรอบละ 7-10 วัน/ครั้ง ไหวไหม บางคนบอกถี่ไปไม่มีเวลา ก็ถ้าให้ห่างเดือนละครั้ง หรือไม่ได้ให้ทางใบเลย ให้แต่ทางดินอย่างเดียว แบบเดิมๆ แล้วมันจะดีขึ้นได้ไง

งานนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ แบบเดิมๆใส่ปุ๋ย 2 กส.ได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว ตัวหน้ากับตัวกลาง แต่ปุ๋ยที่ลุงคิมแนะนำได้ ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวท้าย ธาตุหลักครบ 3 ตัว ได้ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน จุลินทรีย์ สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ปะจำถิ่น ครบถ้วน ก็เหลือแต่ ทำเองหรือซื้อ เท่านั้นแหละ

นี่พูดเรื่องปุ๋ยอย่างเดียว ในขณะที่ข้าวซึ่งก็คือพืช พืชย่อมต้องมีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต คือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร (ปุ๋ย)-สายพันธุ์-โรค ทั้งหมดนี้ต้องไปด้วยกันพร้อมกัน เหมาะสม สมดุลซึ่งกันและกัน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งผิดเพี้ยนไป ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโตของพืชหรือต้นข้าว สุดท้ายสุทธิจริงๆ ก็คือ “ขาดทุน” นั่นแล....

นาข้าวอยากรวย ต้องทำ “นาข้าวแบบประณีต” ได้ ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ) ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ) อนาคตดี (ทำตามพันธะสัญญา)

* ข้าวไรซ์เบอรี่พร้อมหุง กก.ละ 150 นี่คือ เกวียนละ 150,000 เราเอาแค่ กก.ละ 50 = 50,000 กก.ละ 30 = 30,000 ก็พอ ว่ามั้ย.... ไม่เอาข้าวสีดำ ข้าวสีขาวก็เป็นอีกทางเลือก มีคนทำได้ ....

* ข้าว กข. (กู ขอ) 500 ขายเป็นข้าวเปลือก โรงสีให้เกวียนละ 8,000 ขณะที่รัฐบาลประกันเกวียนละ 12,000 แต่ถูกตัดราคาค่าคุณภาพ ....

* ขายได้เท่าเดิม ขายได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนต่ำกว่า ย่อมได้กำไรมากกว่า....
* ซื้อทุกอย่าง แพงก็ซื้อ ผิดก็ซื้อ ใช้แล้วทำแล้วไม่มีอะไรดีขึ้นก็ยังทำ....


จาก : (090) 823-71xx
ข้อความ : ข่าวราคาข้าวไทยในตลาดโลก เห็นแล้วน่าเป็นห่วง ถ้าต้นทุนไม่ลด คุณภาพไม่ดี ไม่ใช่ตลาดต่างประเทศเท่านั้น ตลาดในประเทศก็อยู่ไม่ได้ นาข้าวใส่ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า เผาฟาง นาหว่านแบบเดิมทุกรายการ วันนี้วัชพืชกำลังแซงข้าว ทำยังไงดีครับ....
ตอบ :
นาข้าวสูตร"เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน"
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + 46-0-0 จี. 200 กรัม + สารสกัดสมุนไพรสูตรรวมมิตร 200 ซีซี." 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร"สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน

- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา



52. แนวทางลดต้นทุน (นาข้าว) :
** ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ........... เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสีสันชีวิตไทยแนะนำ
** ต้นทุนค่าสารเคมี .......... ใช้สารสมุนไพร+ปุ๋ยทางใบ
** ต้นทุนค่ายาฆ่าหญ้า ....... ใช้เครื่อง ตัด/พรวน, ไถพรวนด้วยโรตารี่, ย่ำเทือกประณีต
** ต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ……... ทำนาหยอด, ทำนาดำเครื่อง, ทำนาแบบล้มตอซัง
** ข้าวคุณภาพต่ำ ........... เลิก/เปลี่ยน วิธีเดิมมาเป็นแบบสันชีวิตไทยแนะนำ
** ข้าวราคาต่ำ ............... แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม, ขายแบบพันธะสัญญา
** ต้นทุนค่าเช่าที่ ............. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายแบบพันธะสัญญา
** ต้นทุนค่าแรง ............... ใช้เครื่องทุ่นแรง, จ้างประจำ
** ต้นทุนสูง กำไรน้อย ........ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ/ปริมาณ

- ต้นทุนค่ายาฆ่าแมลง ใช้วิธี ลด/ละ/เลิก สารเคมี, ป้องกัน/กำจัด, ใช้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ, IPM
- จับหลัก "หัวใจเกษตรไท" *ปุ๋ย *ยา *เทคนิค *เทคโนฯ *โอกาส *ตลาด *ต้นทุน แล้วปรับทัศนคติ/ทัศนคติ/ค่านิยม/วัฒนธรรม/ประเพณี จากที่เคยทำแบบเดิมๆ มาสู่การทำแบบใหม่ ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน

- อาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพอื่นใดก็สุดแท้ วันนี้ถึงยุคที่ต้อง “คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ” แล้วว่า ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปในทาง “ลบ” เช่น ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลง ปัจจัยพื้นฐานฯ

- เขียนรายการต้นทุนที่เป็นเงินขึ้นมาก่อน ทุกรายการ เพื่อเตือนสติ
- เขียนรายการต้นทุนที่ไม่ได้ซื้อขึ้นมาก่อน ทุกรายการ
- ประมาณการตลาดล่วงหน้าราคาขายว่า ขายแล้วจะได้เท่าไหร่
- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ต้นทุนระหว่างทำเอง 100% กับ ทำเองครึ่งนึ่งซื้อครึ่งนึง
- ลงทุนแก้ปัญหาครั้งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว
- ใช้ เทคโนโลยีวิชาการ ผสมผสาน เทคโนโลยีชาวบ้าน
- ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดวางแผน ฉลาดทำ เพื่อต้นทุนที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเหนือกว่า
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน
- ฯลฯ


59. นาข้าว :
- หอมมะลิ ทุ่งกุลาฯ ได้ 35-40 ถัง/ไร่ เกวียนละ 15,000 .... 3 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 5,000
- หอมมะลิที่ ลำพูน พิจิตร นครชัยศรี ได้ 80 ถัง/ไร่ ............ 1 ไร่ ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 15,000

ข้าวอย่างอื่นเกวียนละ 10,000 .... 1 ไร่ได้ 1 เกวียน = ได้ไร่ละ 10,000
ข้าวเปลือกขายที่โรงสี ได้เกวียนละ 12,000 (-)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้อง ขายได้เกวียนละ 30,000-50,000 (+)
ข้าวเปลือกสีเป็นข้าวกล้องกาบา ขายได้เกวียนละ 100,000 (+)
ข้าวเปลือก 1 เกวียน ทำจมูกข้าวแค็ปซูล น้ำมันรำแค็ปซูล ขายได้ราคาหลายๆ แสน

ต้นทุน 195,000 VS 45,000 :
พ่อ ลูกชาย ลูกสะใภ้ จากฉะเชิงเทรา ด้วยปิ๊คอั๊พ 2 ตอน รุ่นล่าสุด มาที่ไร่กล้อมแกล้ม.... หลังทักทายกันตามวัฒนธรรมเรียบร้อย บทสนทนาก็เริ่มขึ้น

ลุงคิม : ตอนนี้ทำเกษตร ปลูกอะไรอยู่ล่ะ ?
สมช. : ทำนาข้าว 130 ไร่ ทำตามแนวลุงคิม ทำมา 3 รุ่นแล้ว รุ่นนี้ รุ่นที่ 4

ลุงคิม : อืมมม แนวลุงคิม แนวลุงคิม แนวลุงคิมไม่มีหรอกนะ มีแต่แนวธรรมชาติของต้นข้าว
สมช. : แต่ผมทำตามที่ลุงคิมบอก แม้แต่ปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยของลุง

ลุงคิม : ใช้ปุ๋ยลุงคิม คุณเอามาจากไหน ?
สมช. : (หัวเราะ....) สั่งซื้อจากร้านลูกสาว ร้านคุณน้ำส้ม

ลุงคิม : สั่งซื้อที่ร้านน้ำส้ม สั่งยังไง ?
สมช. : สั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ นารุ่นนึงสั่ง 3 ครั้ง ครั้งละ 15,000

ลุงคิม : (พูดในลำคอ) ครั้งละ15,000 .... 3 ครั้งเป็นเงิน 45,000 .... นาข้าว 130 ไร่ ต้นทุนค่าปุ๋ย แค่ 45,000 ใครจะเชื่อ....

คิดในใจ....
นาข้าว 1 ไร่ ใช้ยูเรีย 1 กส. ๆละ 750, 16-20-0 (1 กส.) กส.ละ 750 = ใช้ปุ๋ย 2 กส. ราคา 1,500
นา 130 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีเพียวๆ เป็นเงิน 130 ไร่ x 1,500 บาท = 195,000 บาท

เปรียบเทียบ :
ปุ๋ยเคมีเพียวๆ รุ่นละ 195,000 .... ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี รุ่นละ 45,000



60. ชาวนา คิดใหม่ทำใหม่ :
ผลผลิตเพิ่ม :
ให้ปุ๋ยถูกสูตร ทางดินให้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ทางใบให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. ยืนพื้น ....ปุ๋ยแต่ละสูตรที่ว่ามีผลต่อต้นข้าวโดยตรงยังไง บอกไว้ครบ....

ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี ให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ให้ได้คุณภาพสูงสุด ไม่มีข้าวลีบ ไม่มีท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี ความชื้นน้อย ใช้ทำพันธุ์ได้ ....

ต้นทุนลด :
"ลดค่าไถ" .... ไถดะไถแปรไถพรวนตัดออกให้หมด ข้ามขั้นไปทำเทือกเลย ทำเทือกแบบประณีต ตีเทือกครั้งสุดท้าย ติดตั้งถังบรรจุปุ๋ย อินทรีย์น้ำ+เคมี ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ปริมาณสำหรับ 1 ไร่ ..

ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 คนให้ละลายเข้ากันดี ติดก๊อกที่ก้นถัง เริ่มวิ่งรถย่ำเทือก เปิดก๊อกที่ก้นถังปุ๋ยที่หน้ารถ รถไถวิ่งไป น้ำผสมปุ๋ยหยดลงข้างหน้า ลูกทุบอีขลุบที่ท้ายรถจะกวาดละเลงเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลงนาทุกตารางนิ้วเอง แบบนี้จะช่วยให้ข้าวทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง

ทั้งนี้ ปุ๋ยที่หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยลงไปที่กอข้าวไม่เสมอกัน ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียว กอที่ไมได้ปุ๋ยก็ไม่เขียว ชาวนาบอกก็ว่าอ่อนปุ๋ย ว่าแล้วหว่านยูเรียซ้ำอีก กส. นั่นเท่ากับหว่านยูเรีย 2 กส. 16-20-0 อีก 1 กส. รวมเป็นใส่ปุ๋ย 3 กส./ไร่ ถึงจะหว่านซ้ำแล้วก็ยังได้ไม่ทั่วแปลง บางกอได้ปุ๋ย บางกอไม่ได้ปุ๋ย สภาพต้นข้าวยังเหมือนเดิม

คิดดู ข้าวกอที่ได้ปุ๋ยกับกอที่ไม่ได้ ผลออกมาจะต่างกันยังไง....ชัดเจน ย่ำเทือกใช้น้ำมันน้อยกว่าไถ

"ลดยาฆ่าหญ้า" .... กำจัดหญ้าวัชพืช ย่ำเทือกแบบประณีต 4 รอบ :
รอบแรก ย่ำวันที่ 1 ในปฏิทิน
รอบสอง ย่ำวันที่ 10 ในปฏิทิน
รอบสาม ย่ำวันที่ 20 ในปฏิทิน
รอบสี่รอบสุดท้าย ย่ำวันที่ 30 ในปฏิทิน

ก่อนลงมือย่ำรอบแรกสังเกตปริมาณหญ้าวัชพืชว่ามีเท่าไหร่ ก่อนลงมือย่ำรอบสอง-สาม-สี่ ก่อนย่ำสังเกตว่าหญ้าวัชพืชลดลงเท่าไหร่แล้ว ถ้าจุดไหนยังมีหญ้าวัชพืชหลงเหลืออยู่หรือลดลงน้อยให้ย่ำซ้ำ

หญ้าวัชพืชงอกจาก“ไหล/หัว/เหง้า” ถ้าไม่มีใบก็จะกินอาหารที่สะสมไว้ใน “ไหล/หัว/เหง้า” เมื่อใบถูกทำลายซ้ำ ๆๆ ก็ต้องกินอาหารที่สะสมจนหมด เมื่อไม่มีอาหารสะสมต้นก็ตายสนิทไปเอง ลงท้ายเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์

ผานอัจฉริยะ .... ออกแบบสร้างผานโรตารี่สำหรับใช้กับรถไถใหญ่คนนั่งขับ ไม่ใช่เดินตาม รูปแบบ-ทำงาน เหมือนผานธรรมดาๆนี่แหละ แต่มีผานโรตารี่ 3 อันหมุนพร้อมกัน อันแรกกับอันที่สามหมุนไปข้างหน้าตามรถไถ อันกลางหมุนย้อนกลับหลัง

คิดดู.... ผานโรตารี่ 3 อัน สองอัน “หน้า-หลัง” หมุนไปหน้า หนึ่งอันกลาง “หมุนย้อน” แบบนี้ทั้งหญ้า วัชพืช ดิน จะป่นละเอียดสุดๆ ผานสามอันทำงานวิ่งรอบเดียวเท่ากับผานเดี่ยววิ่ง 3 รอบ

นี่คือ ประหยัดเวลา แรงงาน น้ำมันรถไถ อารมณ์...

"จุลินทรีย์ดี" ....ใช้ยาฆ่าหญ้า หญ้าไม่ตายแค่ใบไหม้ เดี๋ยวก็งอกใหม่งามกว่าเก่า นั่นคือ หญ้าไม่ตายแต่จุลินทรีย์ตาย

เลิกใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ฆ่าหญ้าด้วยวิธี “ย่ำ-ไถกลบ-หมัก” หญ้าตาย ตายสนิท ไม่งอกใหม่ แถมจุลินทรีย์ทั้งเก่าและใหม่ ไม่ตาย

เชื่อหรือไม่ จุลินทรีย์ คือ แม่ครัวของพืช จุลินทรีย์ช่วยสร้างสารอาหารให้พืช จุลินทรีย์ช่วยกำจัดเชื้อโรคพืช จุลินทรีย์ช่วยปรับ กรด/ด่าง ให้กับดิน


61. ปุ๋ยนาข้าว :
ยูเรีย : ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

แม็กเนเซียม : สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดีสมบูรณ์ แข็งแรง ต้นแข็ง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

สังกะสี : สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

*** คนเดียว “ซื้อ+ทำเอง” = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่ม
*** รวมกลุ่ม “ซื้อ+ทำเอง” = ต้นทุนลด ขายได้เท่าเดิม นั่นคือ กำไรเพิ่มเพิ่ม
*** ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ โอกาส คือ หัวใจ ของหัวใจ ของการเกษตร ของชีวิตของชีวิต

เปรียบเทียบปริมาณผลผลิต นาดำ VS นาหว่าน :
* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาดำ : ข้าว 1 เมล็ด = 1 กอ แตกกอได้ 50 ลำ ลำใหญ่เท่าหลอดดูดเฉาก๊วย .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 1 กอ 50 ลำ/รวง = 5,000 เมล็ด.

ต้นทุน.... นาดำ ๆด้วยรถดำนา (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง).... นาหยอด ๆด้วยเครื่องหยอด (เมล็ดพันธุ์, กล้า, ค่าจ้าง) ต้นทุนต่ำกว่านาหว่าน

* พื้นที่ 1 ตร.ศอกแขน .... นาหว่าน : ข้าว 10 เมล็ด = 10 กอ ไม่แตกกอได้ 10 ลำเท่าเดิม ลำใหญ่เท่าหลอดดูดยาคูลท์ .... 1 ลำ = 1 รวง, 1 รวง = 100 เมล็ด, .... 10 เมล็ด 10 ลำ/รวง = 1,000 เมล็ด

ต้นทุน .... นาหว่าน (มือ เครื่อง) เมล็ดพันธุ์, ค่าจ้าง สูงกว่านำดำ นาหยอด

- ช่วงเวลา 9 โมงเช้า ใบธงอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วย เช่น ....
.... ปล่อยน้ำท่วม หรือปล่อยหน้าดินแห้ง กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล,
.... เลี้ยงหญ้าบนคันนา ให้แมลงธรรมชาติอาศัยแล้วไปทำลายแมลงศัตรูพืช
.... ใช้แสงไฟล่อแมลงให้ตกลงไปในน้ำ หรือเข้ามาติดกับดักกาวเหนียว
.... บำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เกิดเป็นภูมิต้านทานสู้กับศัตรูพืชในตัวเองได้
.... งดใช้ “ยูเรีย” เด็ดขาด เพราะยูเรียทำให้ต้นข้าวอวบ ล่อเพลี้ยกระโดดเข้ามาหา
.... งดใช้สารเคมี เพราะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ ประเภท “ตัวห้ำ-ตัวเบียน”
.... ไถกลบฟาง ได้ซิลิก้า (หินภูเขาไฟ) ช่วยใช้ผนังเซลล์ต้นข้าวแข็ง แมลง เพลี้ยกัดไม่เข้า



62. ข้าวหอมพันธุ์พื้นบ้าน :
หอมหาง. หอมเศรษฐี. หอมนายพล. หอมแดงน้อย. หอมลาย. หอมนางมล. หอมพวง. หอมเม็ดเล็ก. หอมเขมร. หอมทุเรียน. หอมมาล่า. หอมไผ่. หอมครัว. หอมใบ. หอมโพ. หอมบาว.หอมนางนวล. หอมนวล. หอมสวน. หอมอุดม. หอมแพ. พะโล้. หอมดอ. หอมหวน. หน่วยเขือ. เล้าแตก. ก่ำเปลือก. ดำช่อขิง. มันเป็ด. ปะกาอำปึล. หอมทุ่ง. ป้องแอ๊ว. หอมมะลิหรือขาวดอกมะลิ. หอมปทุมธานี. หอมคลองหลวง. หอมสุพรรณ. หอมพิษณุโลก. หอมกุหลาบแดง. หอมนิล.



63. ข้าวพันธุ์ GI :
ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง. ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้. ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้. ข้าวหอมมะลิสุรินทร์. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์. ข้าวก่ำล้านนา. ข้าวลืมผัว


70. นา 2 รุ่น ล้างหนี้ 1 ล้าน เหลือ 2 ล้าน :
นาข้าว 200 ไร่ ของชาวนาย่านบ้านแพรก อยุธยา วันนั้นในปี 51 มีหนี้ในธนาคารอยู่ 1 ล้าน ด้วยคำพูดในรายวิทยุเพียงคำเดียว “ต้นทุนท่วมราคาขาย” ทำให้ต้องคิดหนัก ค้นหาแนวทางใหม่ เพราะที่ทำมา ทั้งของตัวเองและของเพื่อนบ้านข้างเคียงว่า “มันไม่ใช่-มันไม่ใช่” ตัดสินใจสั่งซื้อปุ๋ยจากบริษัทร่มทอง ที่โฆษณาใน รายการวิทยุ ซื้อทุกตัวแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมดินจนถึงวันเกี่ยว

ปีนั้นแม้จะเป็นปีแรก ที่เปลี่ยนวิธีการทำนาข้าวจากแบบเคมีเพียวๆ ทั้งหว่านทั้งฉีดมาเป็น
อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหาะสมของต้นข้าว
ลดการหว่านปุ๋ยทางดิน มาเป็นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ

ผลที่ออกมาเห็นชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100 (+) ถัง/ไร่ เหนืออื่นใด
ผลผลิตที่ได้ ....... เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และคุณภาพ
กับต้นทุน ......... ลดต่ำกว่าเดิม 50-70%
ไม่น่าเชื่อ ......... นาข้าว 2 รุ่น สามารถ ล้างหนี้ธนาคาร 1 ล้าน ได้

จากรุ่นแรกเมื่อเริ่มอ่าน LINE ของนาข้าวออก นาข้าวปี 53 ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100(+) ถัง/ไร่ กับต้นทุนต่ำจากเดิมมาอีกด้วย

นาข้าว 2 รุ่น/ปี ตัวเลขเงินฝากในธนาคารเปลี่ยนจากตัวแดงเป็นตัวดำด้วยเงินกว่า 1 ล้าน....
ปี 54 เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ นาข้าวแปลงนี้หยุดสนิท ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น นอนกินมาม่าด้วยความสบายใจ ....
ปี 55 เริ่มใหม่อีกครั้งด้วยความมั่นใจสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่ม-ต้นทุนลด-อนาคตดี วันนี้ครอบครัวนี้มีเงินสดในธนาคารกว่า 2 ล้าน ..... ล้านแล้วจ้าาาา



87. ขายข้าว 1 แสน เหลือเงิน 40 บาท :
“ทิดมั่น” คทาชายนายหนุ่มใหญ่ อายุ 50 ขึ้น นิวาสสถานไม่ห่างจากไร่กล้อมแกล้มมากนัก ยึดอาชีพทำนาข้าว 15 ไร่ บนที่เช่ามาตั้งแต่กำเนิด ทำนาอย่างเดียว ปีละ 2 รุ่น มีหนี้ในบ้านเท่าไร ไม่รู้

รู้แต่ว่า ตะวันโพล้เพล้วันนั้น ทิดมั่นส่งเสียงดังโขมงโฉงเฉงตั้งแต่หน้าวัดได้ยินกันทั่ว แต่ไม่มีใครสนใจ กระทั่งทิดมั่นเข้าบ้าน เสียงทิดมั่นเงียบไป แต่เสียง “ยัยแม้น” ผู้เป็นเมียดังขึ้นมาแทน ถึงไม่ถามก็รู้ว่า ยัยแม้นโกรธจัด แล้วที่ต้องออกมาด่าผัวนอกบ้านก็เพราะโนผัวเตะนั่นเอง ..... เสียงยัยแม้นร้องด่าง ใครๆ ก็ได้ยิน

“อั้ยชิบหาย ขายข้าวได้ตั้งแสน เหลือเงินมาให้กูแค่ 40 บาท แล้วทีนี้จะเอาอะไรแดกกัน....”

เหตุผลก็คือ ทิดมั่นต้องเอาเงินที่ขายข้าวได้ไปจ่ายค่าเครดิต ปุ๋ย-ยา ให้เถ้าแก่เส็ง ร้านหน้าวัด ไม่งั้นรุ่นหน้าจะไปเครดิตอีกไม่ได้นั่นเอง.....งานนี้ ยัยแม้น กลับเข้าบ้านตอนไหน แหล่งข่าวไม่ได้แจ้ง


174. อนุรักษ์ VS ส่งเสริม :
นิยาม :
“อนุรักษ์” คือ การ “ทำ/รักษา” ให้คงอยู่ด้วยสภาพเดิมมากที่สุด
“ส่งเสริม” คือ การสนับสนุน หรือ นวัตกรรม (สิ่งที่ประดิษฐ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังผลให้ “ประสิทธิภพประสิทธิผล” เหนือกว่าแบบเดิม

ที่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร โรงเรียนเกษตร โรงเรียนชาวนา ฯลฯ ทั้งของราชการและของเอกชนจิตอาสา จัดโครงการส่งเสริมการทำนาข้าวแบบ “อนุรักษ์” ในงาน สาธิต/โชว์ ด้วยของจริง
* ไถนาด้วยควาย
* ดำนาด้วยมือ
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ
* ใช้ยาฆ่าหญ้า
* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง

บนความเป็นจริง :
* ไถนาด้วยแรงงานสัตว์ ... ด้วยควาย ใช้ควาย 1 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ด้วยวัว ใช้วัว 2 ตัว ไถนาได้วันละไม่เกิน 1 ไร่ .... ต้องเลี้ยง ควาย/วัว ไว้ทำนา เลี้ยงกี่ตัว ? เลี้ยงที่ไหน ? เลี้ยงยังไง ? คนเลี้ยงเอาที่ไหน ? ฯลฯ ? ...กะเหรี่ยงปะกากะญอ ใช้ช้างไถนา .... ติมอร์ ใช้ช้างไถนา.... อเมริกา ใช้ ม้า/ลา ไถนา....

* ดำนาด้วยมือ ... ในงานใช้คน 20-30 คน (จัดฉาก) .... นาส่วนตัว คนเดียว ทำไม่ได้
* หว่านปุ๋ยด้วยมือ ..... เม็ดปุ๋ยไม่ได้ลงที่โคนกอข้าวสม่ำเสมอเท่ากันทุกกอ ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียวงาม กอไหนไม่ได้กอนั้นไม่เขียวไม่งาม ชาวนาบอกอ่อนปุ๋ยว่าแล้วหว่านเพิ่ม ผลคือ จ่ายเพิ่ม ดินเสีย

* ให้ปุ๋ย 2 ตัว .... ใช้ปุ๋ย 2 กส. (46-0-0+16-20-0 = 100 กก.) /ไร่ ต้นข้าวได้ปุ๋ยแค่ 2 ตั้ว คือ N. P. เท่านั้น ทั้งๆที่ต้นข้าว (พืชทุกชนิด) ต้องการปุ๋ย (ธาตุ/ธาตุอาหาร/สารอาหาร) 16 ตัว ....

ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี ให้ยูเรียวันนี้ เขียวได้ใน 2-3 วัน

แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน (ใบเขียวถึงวันเกี่ยว) ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง)
* นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 20-30 กก. .... ต้นทุน กก.ละ 30 บาท
* ใช้ยาฆ่าหญ้า .... หญ้าไม่ตาย แค่ใบไหม้ แล้วงอกใหม่.... หญ้าถูกตัดงอกใหมได้ โตกว่าเก่าเพราะ เหง้า/หัว/ไหล ยังอยู่แถมใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

* ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง .... จ่ายแพง ฆ่าแมลงได้แต่ต้นข้าวเสียแล้วเสียเลย

ทุกอย่างแสดงแบบโบราณเรียกว่า “อนุรักษ์นิยม” น่าจะแถมเพิ่มการไถนาด้วยช้าง ด้วยวัว ด้วยควาย ด้วยม้า จึงจะถือว่าสมบูรณ์แบบ

เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก การทำนายุคปัจจุบัน เพื่อ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้วนำไปใช้ไปปฏิบัติ:
* ไถนาโดยการย่ำเทือกประณีตด้วยรถไถเดินตาม หรือรถไถนั่งขับ
* ติดตั้งถังขนาด 80-100 ล. ที่หน้ารถไถ ใส่ “น้ำ +ปุ๋ยนาข้าว +น้ำหมักชีวภาพ” ติดก๊อกที่ก้นถัง 2 ก๊อก ซ้าย-ขวา ท้ายรถไถติดตั้ง อีขลุบ/ลูกทุบ .... วิ่งรถไถ ไขก๊อกถังปุ๋ย ปล่อยน้ำปุ๋ยให้ไหลลง มาก/น้อย-ช้า/เร็ว ตามความเหมาะสมจำเป็น เมื่อรถไถออกวิ่งจะลาก อีขลุบ/ลูกทุบ นอกจากช่วย ย่ำ/บด ขี้เทือกแล้ว ยังช่วยกระจายน้ำปุ๋ยทั่วแปลงทุกตารางนิ้วด้วย

* ย่ำเทือกประณีต (รุ่นแรก) โดยย่ำ 2-3-4 รอบ ช่วยกำจัด “หญ้า/วัชพืช” ให้ตายได้แน่นอน (ยาฆ่าหญ้าทำได้เพียงใบไหม้ ไม่นานก็งอกใหม่) ระหว่างต้นข้าวโต ให้ถอนแยก “หญ้า/วัชพืช/ข้าวปน” แบบนี้งานย่ำเทือกประณีตสำหรับนารอบต่อไปจะน้อยรอบลง

* ทำนาหยอด ด้วยเครื่องหยอดไทยประดิษฐ์ ใช้เมล็ดพันธุ์ 2-3 กก./ไร่
* เครื่องหยอดเมAล็ดแบบ “คนลาก/รถไถเล็กลาก” ทำงานได้วันละไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ด้วยแรงงานเพียงคนเดียว MADE IN THAILAND

* บำรุงต้นข้าวให้ปุ๋ยทางราก (หว่านลงดิน) 10 กก./ไร่ ให้ปุ๋ยทางใบ +สารสมุนไพร 7-10 วัน
* ฉีดพ่นสารสมุนไพรล่วงหน้า “กันก่อนแก้” ก่อนศัตรูพืชเข้ามา
* แก้ปัญหาทุกรายการที่ “โรงสีหรือผู้ซื้อ” ตัดราคา
* ผลิตข้าวตามตลาดต้องการ เช่น ข้าวปลูก แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม
* ทำ “ปุ๋ย-ยา-เมล็ดพันธุ์” ใช้เองเพื่อลดต้นทุน
หมายเหตุ :
- ใช้ผานโรตารี่ แทนผานจาน
- ทำเทือกนาแบบไม่ต้องไถ แต่ใช้วิธีย่ำเทือกประณีต
- ออกแบบสร้าง อีขลุบ/ลูกทุบ/โรตารี่ 3 ล้อ ล้อแรกกับล้อท้ายหมุนทางเดียวกัน ล้อกลางหมุนย้อน การหมุนสวนกันจะช่วยงานตีเทือกทำได้ดีขึ้น มากกว่าการหมุนตามกัน หรือมีเพียงล้อเดียวหลายเท่า

- ติดสปริงเกอร์แบบโอเวอร์เฮด ที่มุมคันนา ใช้ถัง 200 ล.บรรจุ “น้ำ+ปุ๋ย+ยา” ฉีดพ่นได้ครั้งละ 4 ไร่ (4 มุม)
- ลดปุ๋ยทางราก แล้วใช้ “ปุ๋ย+ยาสมุนไพร” ทางใบแทน
- สร้างแปลงแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ

เปรียบเทียบ นาดำมือ นาดำเครื่อง นาหยอด นาหว่าน :
นาดำมือ : เตรียมกล้า, ใช้แรงงานมาก
นาดำเครื่อง : เตรียมกล้า, หาเครื่องดำยาก, เครื่องดำราคาแพง, ซื้อต่างประเทศ
นาหยอด : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้แรงงานน้อย, หาเครื่องหยอดยาก, เครื่องหยอดราคาถูก, ไทยทำ
นาหว่าน : ไม่ต้องเตรียมกล้า, ใช้เมล็ดพันธุ์มาก, ใช้แรงงานมาก,



178. นาข้าวไบโอไดนามิก :
ประวัติดิน :
เคยทำนาแบบไถกลบฟาง งดใช้สารกำจัดวัชพืช-หอยเชอรี่-ปูนา-หนูนา และ สารเคมีกำจัดโรคและแมลงติดต่อกันมาก่อน 1-2 ปี หรือ 2-4 รุ่นนาข้าว เคยได้ผลผลิต 100 ถัง/ไร่

1.เตรียมสารอาหาร :
ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8 (10 กก./ไร่ สาดให้ทั่วแปลงระดับน้ำลึก 1คืบมือ ทิ้งไว้ 10-20 วัน

2. ทำเทือก :
ย่ำเทือกพร้อมฟาง (ย่ำกลบฟาง) ด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ แล้วปรับเรียบหน้าเทือกให้เสมอกันทั่วแปลง ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้ง

3. ปลูก :
ปักดำต้นกล้าด้วยมือ หรือปักดำต้นกล้าด้วยเครื่อง(รถ)ดำนา หรือหยอดเมล็ดด้วยเครื่องหยอดเมล็ด ทั้งนี้ นาข้าวแบบดำให้ผลผลิต (คุณภาพและปริมาณ)– ต้นสมบูรณ์-แข็งแรง-แตกกอ-ออกรวง-ลดค่าใช้จ่าย มากกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด)

4. บำรุง :
- ระยะกล้า
เริ่มให้เมื่ออายุข้าวได้ 20-30 วัน ให้ฮอร์โมนน้ำดำ อัตรา 1 ล./ไร่ โดยฉีดพ่นให้โชกผ่าน
ต้นและใบลงถึงพื้น ให้ 2-3 รอบ แบ่งให้รอบละเท่าๆกัน ให้ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

- ระยะแตกกอ :
สังเกตถ้าลำต้น กลมแข็ง -ใบเขียวเข้ม ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี แต่ถ้าลำต้น แบนนิ่ม ใบเขียว
อ่อน ให้ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (เน้น...มูลค้างคาวหมัก) 2 ล.+ 16-8-8 (10
กก.)/ไร่ โดยละลายน้ำฉีดพ่นให้โชกผ่านต้นและใบลงถึงพื้น

หมายเหตุ :
ระยะนี้ถ้าต้นสูง ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-65 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วัน จากนั้นจึงเริ่มลงมือให้ฮอร์โมนไข่ไทเป

ระยะตั้งท้อง : ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป อัตรา 1 ล./ไร่ ละลายน้ำฉีดพ่นให้โชกผ่านต้นและใบลงถึงพื้น ให้ 2 รอบ แบ่งให้รอบละเท่าๆ กัน ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

ระยะออกรวง : เมื่อต้นข้าวเริ่มออกรวงยาวประมาณ 1-2 ซม.(หางแย้) เนื้อที่ประมาณ 1 ใน4 ของทั้งแปลง ให้น้ำ 100 ล.+ เอ็นเอเอ 100 ซีซี. 1 รอบ ฉีดพ่นพอสัมผัสใบ จะช่วยให้การผสมติดของเกสรดีขึ้น

ระยะน้ำนม : ให้ฮอร์โมนน้ำดำ 2 ล./ไร่ โดยฉีดให้โชกพ่นผ่านต้นและใบ ลงถึงพื้น ให้ 4 รอบแบ่งให้รอบละเท่าๆ กัน ห่างกันรอบละ 7-10 วัน.....ระยะนี้ถ้าให้ แคลเซี่ยม โบรอน + ไคโตซาน. 1 รอบ ช่วงเริ่มเป็นน้ำนมใหม่ๆ จะช่วยให้ต้นไม่โทรม ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณ ทั้งนี้ธาตุแม็กเนเซียมช่วยสร้างคลอโรฟิลด์ สังกะสีช่วยสร้างแป้ง และแคลเซียมช่วยสร้างคุณภาพเมล็ด

ป้องกันโรคและแมลง :
ฉีดพ่น สารสกัดสมุนไพรทำเอง (เลือกสูตรที่ตรงกับโรคและแมลง) ทุก 5 วัน (ช่วงที่ยังไม่มีการระบาดเพื่อป้องกัน) หรือฉีดพ่นทุก 3 วัน (ช่วงที่แปลงข้างเคียงกำลังเกิดการระบาดอย่างหนักเพื่อป้องกัน)

ระดับน้ำ :
ควบคุมระดับน้ำให้พอเฉอะแฉะหน้าดิน ตั้งแต่ระยะแตกกอ ถึง เก็บเกี่ยว



175. ชาวนายุคใหม่ :
- เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
- เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
- เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
- เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
- เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
- เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
- เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
- เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
- เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
- เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
- เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
- เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกัน



ต้นเหตุของดินเสื่อม
http://www.vigotech.in.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539815951&Ntype=8





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©