-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 22 มี.ค. * มะลิ หน้าหนาว-วันครู-วันแม่
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 22 มี.ค. * มะลิ หน้าหนาว-วันครู-วันแม่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 22 มี.ค. * มะลิ หน้าหนาว-วันครู-วันแม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 23/03/2023 4:04 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 22 มี.ค. * มะลิ หน้าหนาว-วันครู- ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 22 มี.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า *** แจกกับดักแมลงวันทอง....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....


*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 25 มี.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน งวดนี้ “งด” ....


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 08 381x 410x
ข้อความ : มะลิร้อยมาลัยมีสารเคมี คนดมมาลัยตายแล้วขึ้นสวรรค์ คนทำมาลัยคนปลูกมะลิบาป ตายแล้วตกนรก

จาก : 09 243x 018x
ข้อความ : มะลิออกดอกได้ตลอดปี บำรุงแบบสะสม ดอกใหญ่ เกรด เอ จัมโบ้


MOTIVATION

ความหอมที่แฝงพิษร้ายของดอกมะลิ :
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ :

เมื่อเอ่ยถึงดอกมะลิทุกคนก็จะนึกถึงดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ที่มีกลิ่นหอมเยือก เย็น และยังนิยมนำมาร้อยพวงมาลัยถวายพระหรือนำมาลอยในน้ำดื่ม น้ำเชื่อมเพื่อทำให้เกิดรสชาติแห่งความหอมหวานน่ารับประทานและด้วยประโยชน์นา นับประการนี้เองที่ได้นำดอกมะลิมาเป็นสัญลักษณ์ในวันแม่แห่งชาติ ด้วยความหอมและคุณประโยชน์หลายประการ ทำให้มีผู้นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

จนกระทั่งในปัจจุบันได้มีการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เกษตรหลายท่านที่ยังเกิดความมักง่าย และรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดตามต้นและดอกมะลิ เพื่อฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูสำคัญของดอกมะลิ โดยจะฉีดแบบวันเว้นวัน หรือทุกวัน และเกษตรกรก็เก็บดอกมะลิมาชายทุกวัน ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ตามดอกมะลิที่เรานำมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการนำมาแช่น้ำ, น้ำเชื่อมจะทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในน้ำ, น้ำเชื่อมเมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดสารเคมีสะสมในร่างกายได้

แม้แต่ดอกมะลิที่เรานำมาร้อยพวงมาลัย หรือนำมาสูดกลิ่นหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่นำดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยหรือเด็กขายพวง มาลัย ซึ่งต้องสัมผัสกับดอกมะลิทุกวัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หรือบางคนที่เป็นแผลอยู่ที่มือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายตามแผลได้ แม้ว่าเราจะนำดอกมะลินั้นมาล้างน้ำก็ยังคงมีสารเคมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ดอกมะลิที่เราเคยเก็บมาดม เก็บมาลอยน้ำ หรือเก็บมาร้อยมาลัยถวายพระนั้น เคยมีแต่กลิ่นหอมบริสุทธิ์ น่าแตะต้อง แต่ในปัจจุบันเวลาท่านสูดกลิ่นหอมจากดอกมะลิเข้าไปท่านอาจจะสูดเอาสารเคมีพิษเข้าไปด้วย แม้แต่ดอกมะลิที่นำมาลอยน้ำเพื่อให้ดื่มกินด้วยความสดชื่น อาจมีสารเคมีเข้าไปด้วยโดยไม่รู้ตัว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักเลือกดอกมะลิก่อนนำมาใช้ประโยชน์ โดยจะต้องแน่ใจว่าดอกมะลินี้ซื้อมานั้นปราศจากสารเคมีพิษและไม่ควรนำดอกมะลิที่ซื้อมาจากตลาดมาลอยในน้ำดื่ม .....

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=10


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

ตอบ :
จาก :
09 612x 847x
ข้อความ : ขอสูตรมะลิครบวงจร ทำตลอดปี ออกตลอดปี

จาก : 08 702x 418x
ข้อความ : ขอมะลิแจ๊คพ็อตครับ

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ปลูกมะลิ ที่กำแพงเพชร ส่งปากคลองตลาด ได้เงินล้าน

“มะลิ” เป็นต้นไม้ที่ดอกมีเสน่ห์จากสีขาวบริสุทธิ์ อีกทั้งยัง มีกลิ่นหอม และจากสี กลิ่น ที่มีความเหมาะสมดังนั้นชาวพุทธจึงใช้ดอกมะลิเพื่อบูชาพระ

การปลูกมะลิไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นไม้ดอกที่สามารถปลูกได้ทุกแห่งไม่จำกัดขนาดพื้นที่และทำเล เหตุนี้จึงทำให้มีผู้ปลูกมะลิแบบจำพวกสมัครเล่นด้วยการปลูกในกระถางขนาดไม่ใหญ่ไว้ในบริเวณบ้าน ที่อยู่อาศัย เพื่อเชยชม และคลายเหงา หรืออีกจำพวกที่ปลูกเพื่อหารายได้ทำเป็นอาชีพ


ยกเป็นร่องน้ำ :
ซึ่งการปลูกมะลิเป็นอาชีพนั้น มีพื้นที่ปลูกหลายแห่ง ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ แต่เนื่องจากการทำอาชีพนี้เงื่อนไขอย่างหนึ่งของการกำหนดราคาตัวสินค้าคือดอกมะลิจะต้องมีความสดและสมบูรณ์ ดังนั้น ปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาเป็นสำคัญคือ การขนส่ง

ฉะนั้น พื้นที่ปลูกมะลิที่สำคัญจึงมักอยู่ใกล้เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ซึ่งมีตลาดรองรับมาก การขนส่งไม่ไกลและลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหาย แต่ก็มิใช่เหตุผลเช่นนั้นเสมอไป เพราะมะลิเป็นดอกไม้มงคลที่ต้องใช้กันทั่วประเทศ จึงมีหลายจังหวัดทั่วประเทศสามารถปลูกได้ และหลายแห่งสามารถบริหารจัดการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจังหวัดที่มีการปลูกมะลิกันเป็นหลัก ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย และสมุทรสาคร เขตจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ นครปฐม ซึ่งปลูกถึง 1,964 ไร่


แปลงมะลิภายในมุ้งจะมีอุณหภูมิสูง :
มีเกษตรกรรายหนึ่ง ที่จังหวัดกำแพงเพชร ทำอาชีพปลูก-จำหน่ายดอกมะลิแล้วป้อนเข้าสู่ตลาดปากคลองตลาด ที่กรุงเทพฯ และทำมานานกว่า 30 ปี ถือว่าเป็นผู้ปลูกรายใหญ่ที่ปลูกเองแล้วยังมีลูกไร่จำนวนหนึ่งด้วย จนสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีและไม่เพียงเท่านั้นยังได้ร้อยมาลัยสำเร็จส่งไปจำหน่ายอีกด้วย กระทั่งสามารถซื้ออาคารพาณิชย์ที่ปากคลองตลาดเป็นฐานที่ตั้งต่อยอดทำธุรกิจขายดอกไม้กระจายเข้าสู่เมืองกรุงแล้วส่งลูก-หลานไปทำหน้าที่บริหารงานดูแล

เริ่มต้นเพียง 1 ไร่ไปสู่การขยายพื้นที่ปลูก :
คุณพยูร อินเทียน อยู่บ้านเลขที่ 172 หมู่ที่ 4 ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ 081-8170411 เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกมะลิว่าความจริงตัวเธอมีอาชีพปลูกพริก ขณะเดียวกันพี่ชายปลูกมะลิส่งไปขายที่ปากคลองตลาด แต่พี่ชายเห็นว่ามะลิมีรายได้ดีกว่าและตลาดมีความต้องการมาก จึงชักชวนแกมบังคับให้เธอช่วยปลูกมะลิร่วมด้วย จึงทำให้เธอต้องปลูกมะลิในเนื้อที่ จำนวน 1 ไร่

พอมาช่วงหลังกลับเห็นว่ามีรายได้ดีจริงตามที่พี่ชายบอก คุณพยูร จึงมองไปข้างหน้าว่าเส้นทางอาชีพนี้น่าจะถูกโฉลกกับเธอ เพราะยิ่งทำ ยิ่งได้ จากนั้นเธอได้วางเครือข่ายการปลูกและจำหน่ายดอกมะลิแบบที่ใช้ลูกไร่ช่วย


ดอกแบบนี้อีกไม่นานเก็บได้แล้ว :
“เมื่อหลายปีก่อน ปลูกเองในที่นา และรับมาจากลูกไร่ด้วย ซึ่งต่อมาทำเอง ส่งขายเอง โดยมีการเช่าแผงไว้ที่ปากคลองตลาด มีการขยายลูกไร่ออกไปที่ละราย จนกระทั่งมีจำนวนลูกไร่กว่า 50 คน แต่ในปัจจุบันจำนวนลูกไร่ลดลงเหลือ 30 คน เหตุผลเพราะคนที่เคยทำพอเก่งแล้วพวกเขาเหล่านั้นจะแยกไปทำเอง”

คุณพยูร บอกว่า มะลิพันธุ์ที่ใช้ปลูกตั้งแต่แรกชื่อมะลิพันธุ์เพชร ไปซื้อเป็นกิ่งพันธุ์มาจากนครนายก ราคากิ่งละ 2-3 บาท ข้อดีของพันธุ์นี้คือมีข้อถี่ สวย ดก และดอกแหลม

สำหรับแปลงปลูกมะลิของคุณพยูรใช้ที่นาปลูกเองประมาณ 10 ไร่ แต่ถ้ารวมของลูกไร่ด้วยจะมีจำนวน 50-60 ไร่ เธอบอกว่า เนื้อที่ 1 ไร่ สามารถปลูกมะลิได้ถึง 4,000-5,000 ต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปลูกถี่หรือห่าง ส่วนงบลงทุนนั้นใช้ต้นทุนต่อไร่ในการลงทุนครั้งแรกไม่เกิน 3 หมื่นบาท อันนี้เป็นค่าต้นพันธุ์, ค่าปุ๋ย และค่าปรับปรุงดิน หลังจากนั้นมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นบ้างเป็นระยะ


มะลิ ชอบน้ำแต่ต้องไม่มากเกินไป :
เจ้าของสวนมะลิอธิบายถึงขั้นตอนปลูกว่าจะต้องเตรียมดินด้วยการไถ ชักร่อง แบบเดียวกับการเตรียมปลูกอ้อย เธอบอกว่ามะลิปลูกได้ทุกสภาพดิน แต่ต้องชักร่อง และไม่ควรให้น้ำขัง ตอนแรกต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อต้องการเร่งให้ต้นมะลิโตเร็ว จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 และควรรดน้ำเสมออย่าให้ดินแห้งมาก แต่ห้ามให้น้ำมากเกินไป

บางส่วนดอกรักที่ปลูกไว้ใช้ร้อยมาลัย :
การให้น้ำ ต้นมะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนานๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้

“ในระยะเวลาที่ต้นยังมีขนาดเล็กต้องหมั่นดูแลอย่าให้มีวัชพืช แล้วให้ใส่ปุ๋ยแล้วดึงน้ำมารด พร้อมกับฉีดยาเพื่อป้องกันแมลงมารบกวน ปุ๋ยที่ใช้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ต้น พร้อมกับฉีดยาเร่งให้แตกดอก อีกทั้งต้องฉีดฮอร์โมนอาทิตย์ละครั้ง”

การปลูกมะลิโดยทั่วไปนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม มะลิเป็นไม้ที่ชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาว ด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่นๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิลงปลูก ควรจะ: ปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ


ทดลองกางมุ้งในแปลงมะลิ :
ทางด้านการดูแลรักษา คุณพยูร บอกว่า ต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลกำจัดวัชพืช อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย นอกจากนั้น ควรมีการตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนานๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง ทำให้มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ปลูกมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย

สำหรับโรคและศัตรูพืชที่มักต้องเจอ อาทิ โรครากเน่า จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อรา จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยว และทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่า รากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน

การป้องกันกำจัด เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน


ปลูกในกระถางไว้หน้าบ้านพักอาศัย :
แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่หนอนเจาะดอก มักระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง จะพบการทำลายของหนอนเจาะดอกนี้มากกว่าแมลงตัวอื่นๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก

การป้องกันที่ดีและเหมาะสมนั้นควรกำจัดเก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวแก่ได้ การใช้กับดักแสงไฟ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการทำลายของหนอนเจาะดอกมะลิ และช่วยลดปริมาณการพ่นสารเคมีอีกด้วย พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แต่หากไม่สามารถทำได้และอยู่ในขั้นรุนแรงให้ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนท


ชอบอากาศร้อน ทำให้ดอกดก ไม่ชอบอากาศเย็น เพราะดอกหาย :
คุณพยูร บอกถึงการนับระยะเวลาจากนำต้นลงดินจนเป็นทรงพุ่ม ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่มีบางรายถ้าดูแลบริหารจัดการไม่ดีอาจนานไปถึง 4-5 เดือน และช่วงดังกล่าวนี้ต้นจะเจริญเติบโตเป็นทรงพุ่ม แต่ยังไม่มีดอก ซึ่งดอกจะเริ่มมีประมาณช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เพราะดอกมะลิมักจะออกในช่วงหน้าร้อน และยิ่งร้อนยิ่งชอบ และจะมีดอกให้เก็บเรื่อยไปตลอด ครั้นพอถึงในช่วงหนาวดอกมักไม่ค่อยออก เพราะไม่ชอบความเย็น

อากาศเย็นจะสร้างปัญหาต่อผลผลิตดอกมะลิทำให้ในช่วงฤดูหนาวดอกมะลิจะออกน้อยและช้ากว่าช่วงอื่น จึงทำให้ลูกเขยของเธอทดลองหาวิธีแก้ไขด้วยการนำมุ้งมากางครอบแปลงปลูกมะลิในพื้นที่ 1 ร่องปลูก เพราะเมื่อกางมุ้งไว้แล้วจะทำให้อากาศเย็นไม่เข้า ขณะเดียวกันภายในมุ้งจะเกิดความร้อนขึ้นอันเป็นผลดี ทำให้ต้นมะลิสามารถออกดอกได้เร็ว ปรากฏว่าหนาวนี้อากาศไม่เย็นตามคาดจึงไม่เห็นผล กระนั้นก็ตามเธอบอกว่าคงต้องทำไว้ก่อนเพราะในช่วงหนาวหน้าอาจพบอากาศเย็น อีกทั้งยังเห็นว่าช่วงนี้อากาศแปรปวน

“เก็บผลผลิตได้ทั้งปี พอเริ่มมีดอกจะเก็บได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด ยิ่งหากดูแลเอาใจใส่อย่างดีด้วยการปรับปรุงจะมีดอกออกตลอดและมีความสมบูรณ์มาก อายุขัยของต้นมะลิกว่า 10 ปี เก็บได้ครั้งละจำนวนเกือบ 5 กิโลกรัมต่อไร่ อันนี้ต้องอยู่ที่การดูแลให้ดีนะ แต่ถ้าทำไม่ดีคงได้แค่ไม่เกิน 3 กิโลกรัม ต่อไร่”

ด้วยเนื้อที่ปลูกของตัวเองที่มีอยู่จำนวนกว่า 10 ไร่ การเก็บดอกมะลิของเธอใช้วิธีจ้างคนงานเก็บ โดยช่วงเวลาที่เก็บดอกมะลิในแต่ละวัน จะเริ่มเก็บประมาณ 8 โมงเช้า ถ้าเป็นช่วงที่มะลิมีราคาดี ค่าจ้างเก็บ กิโลกรัมละ 100 บาท แต่ช่วงไหนถ้าราคาตกหน่อยค่าจ้างเก็บจะเหลือกิโลกรัมละ 50-60 บาท ทั้งนี้ไม่ได้ให้เก็บดอกมะลิอย่างเดียวจะต้องมีงานอย่างอื่นทำในแปลงปลูกด้วยเช่นการให้ปุ๋ยหรือการจัดการในสวน

เธอบอกว่า 1 กิโลกรัม ที่จ้างคนงานเก็บนั้น ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นภายใน 1 วัน คนหนึ่งจะเก็บได้ถึง 10 กิโลกรัม ถ้าคิดเป็นเงินน่าจะได้พันกว่าบาท และบอกว่าถ้าหากคนไหนเก็บเก่งภายในหนึ่งวิก (1 สัปดาห์) สามารถได้เงินเป็นหมื่น


ร้อยพวงมาลัยขาย สร้างรายได้ ครบวงจร :
นอกจากขายเฉพาะดอกมะลิแล้ว คุณพยูร มองว่าหากจะทำให้ครบวงจร ควรร้อยมาลัยไปและส่งไปขายพร้อมกัน ซึ่งเป็นพวงมาลัยสำเร็จโดยผลิตเป็นพวงเล็กและพวงใหญ่ ดังนั้น ในแปลงมะลิของเธอจึงปลูกต้นดอกรัก จำปี ดอกพุด ไว้ด้วย เพราะไม้เหล่านี้เธอต้องใช้สำหรับร้อยพวงมาลัยจำนวนมากเพื่อนำไปขายที่ปากคลองตลาดด้วย

ร้อยมะลิเป็นพวงไว้ส่งขาย :
“เฉพาะร้อยมาลัยช่วงตรุษจีน มีรายได้เกือบแสนบาทแล้ว ร้อยเป็นพวงแล้วจับรวมเป็นพวงขนาดใหญ่แล้วจับใส่กล่องโฟมส่งเข้าที่ปากคลองตลาดเที่ยวละเกือบ 40 กล่อง”

เธอบอกว่า ในช่วง 20-30 ปี ที่ผ่านมา ของการทำอาชีพปลูกมะลิขาย ถือว่าเป็นไม้ดอกที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากเทียบกับการทำนาที่เธอมีอยู่ 100 กว่าไร่แล้ว จะมีรายได้ที่เป็นเงินก้อนนานๆ ครั้ง แต่การประกอบอาชีพทำมะลิมีเงินตลอดทุกวัน ยิ่งถ้าดูแลดี ยิ่งทำให้มีรายได้ดี เพราะมีตลาดรองรับตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่สำคัญต่างๆ ราคาจะดีมาก

“ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ดอกมะลิจะได้ราคาดีมากและถีบขึ้นสูงอีกทั้งยังขาดตลาด ราคาดอกมะลิ อาจจะสูงถึงกิโลกรัมละ 800-1,500 บาท”

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562
สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิงก์ https://shorturl.asia/0zJwQ– Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_78220


ปลูก “มะลิ” พืชเศรษฐกิจรายได้มั่นคง สร้างเงินแสนได้ไม่ยาก :
ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าจึงนิยมนำมาจัดตกแต่งบนพานพุ่มหรือร้อยเป็นมาลัยนำไปกราบแม่เพื่อขอรับพรที่เป็นมงคลชีวิต หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ด้วย การปลูกผลิตดอกมะลิขายในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจึงเป็นทางเลือกสร้างเสริมรายได้ให้ครอบครัวมีวิถีมั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง มะลิ…ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ของชาวสวน มาบอกเล่าสู่กัน

คุณสมชาย ทองชื่น เกษตรอำเภอธัญบุรี เล่าให้ฟังว่า มะลิเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ปลูกง่าย มีความสูง 1-2 เมตร ลำต้น เล็กกลม แตกกิ่งก้านสาขารอบลำต้น ลำต้นสีขาวนวล ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ตามกิ่งก้าน ใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ใบกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ขนาดเล็กสีขาวนวล มี 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่พันธุ์ ดอกบานเต็มที่ 2-3 เซนติเมตร ผล เป็นรูปกลมรีเล็ก สุกมีสีดำ ภายในมีเมล็ด

เพื่อยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความมั่นคง จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตในแบบผสมผสาน หรือผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพปลอดภัยตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้ปลูกและผลิตเพื่อได้ทำกิจกรรมร่วมกันและมีอำนาจต่อรองด้านการตลาด

คุณลุงศักดิ์ชาย กล่อมเสนาะ เกษตรกรปลูกมะลิ เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนหน้านี้ปลูกส้มเขียวหวาน ผ่านไปได้ระยะหนึ่งมีโรคและศัตรูพืชเข้าทำลายทำให้ไม่ได้รับผลผลิต จึงได้พิจารณาข้อมูลต่างๆ ร่วมกันในครอบครัว และตัดสินใจปรับพื้นที่ปลูกมะลิ 5 ไร่ เพื่อทดแทนการปลูกส้มเขียวหวาน

การเตรียมดิน บนพื้นที่แปลงปลูกส้มเขียวหวาน ได้ทำการไถพรวนดิน ตาก 5-7 แดด เพื่อกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคแมลงศัตรูพืชให้หมดไป

พันธุ์ปลูก ได้เลือกปลูกมะลิพันธุ์เพชรบุรี นครสวรรค์ และราชบูรณะ เพราะเป็นชนิดพันธุ์ที่ปลูกง่าย ให้ดอกดก และตลาดต้องการ โดยได้ปลูกมะลิแบบวิธีผสมผสาน ทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา

การเตรียมกิ่งพันธุ์ ได้ซื้อกิ่งพันธุ์จากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เป็นกิ่งปักชำ ได้เลือกกิ่งพันธุ์ที่มีความสูง 30 เซนติเมตรขึ้นไป จะทำให้ปลูกง่าย เจริญเติบโตสมบูรณ์ไว และติดดอกดก

การปลูก ได้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง 3-5 กำมือ นำกิ่งพันธุ์มะลิไปล้างน้ำเอาวัสดุเพาะออกให้เห็นรากสีขาว พูนโคนที่ก้นหลุมปลูก วางให้รากต้นกล้าพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์กระจายจะช่วยให้รากเดินและหาอาหารได้ดี เกลี่ยดินกลบ แล้วให้น้ำแต่พอชุ่ม

มะลิปลูกใหม่ได้ให้น้ำทุกวันในตอนเช้าหรือได้รับน้ำอย่างพอเพียง การปลูกต้นฤดูฝนก็ให้ได้รับน้ำจากน้ำฝน จัดการแปลงปลูกให้ระบายน้ำได้ดี ไม่ให้น้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้ต้นมะลิใบเหลือง ต้นแคระแกร็นและตาย เมื่อต้นมะลิเจริญเติบโตดี ได้ให้น้ำวันละครั้ง หรือ 2 วัน ต่อครั้ง หรือดูความชุ่มชื้นในดินก่อนให้น้ำ

คุณลุงศักดิ์ชาย เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า หลังจากปลูก 10 วัน ได้ใส่ปุ๋ยยูเรีย ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น โดยหว่านให้กระจายรอบทรงพุ่ม พรวนหรือเกลี่ยดินกลบ หลังจากปลูก 30 วัน ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น โดยหว่านให้กระจายรอบทรงพุ่ม พรวนหรือเกลี่ยดินกลบ และหลังจากนั้นอีกราว 40 วัน ได้ใส่ปุ๋ยคอกแห้งหรือปุ๋ยหมัก 1/2 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านให้กระจายรอบทรงพุ่ม พรวนหรือเกลี่ยดินกลบ จากนั้นได้ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง ทุกครั้งหลังการใส่ปุ๋ยได้ให้น้ำแต่พอชุ่ม ต้นมะลิก็จะเจริญเติบโตได้ดี

ศัตรูพืช ถ้าตรวจพบว่ามีเพลี้ยไฟ ตั๊กแตน หรือหนอนเจาะดอกมะลิ เข้าทำลายไม่มากก็จับหรือตัดกิ่งออกไปทำลายทิ้ง หรือถ้าจำเป็นก็ฉีดพ่นสารสะเดาป้องกันกำจัด เป็นวิธีที่ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและไม่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในดอกมะลิ ทำให้ผู้ปลูกและผู้บริโภคได้ใช้ประโยชน์จากดอกมะลิมีคุณภาพปลอดภัย

การเก็บเกี่ยว เมื่อปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาได้ดี ต้นมะลิก็เจริญเติบโตสมบูรณ์ หลังจากปลูกในราว 6 เดือนขึ้นไป ก็เริ่มเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บได้เก็บเวลาเช้า แดดไม่ร้อน ดอกไม่ช้ำ ด้วยการใช้นิ้วมือเด็ดดอกตูมโตเต็มที่ สีขาวนวลที่ตรงบริเวณก้านดอกใต้กลีบเลี้ยงให้ขาดออกมาวางใส่ในถุงผ้าย่าม นำไปรวบรวมใส่ถุงพลาสติกสะอาด ถ้าเก็บในกล่องโฟมที่มีน้ำแข็งเกล็ดรองพื้นและโรยปิดทับจะช่วยให้ดอกมะลิมีความสดได้นานก่อนนำส่งขาย

มะลิ 100 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย ดังนี้ การเก็บดอกครั้งแรก จะได้ดอกมะลิราว 5 ลิตร เมื่อเก็บครั้งที่ 2 จะได้ราว 10 ลิตร เก็บในครั้งที่ 3 จะได้ผลผลิต 20 ลิตร จากนั้นจะทำการพักต้นด้วยการตัดแต่งและบำรุงให้ต้นมะลิแตกกิ่งใหม่และได้ทรงพุ่มโปร่ง เมื่อต้นเจริญเติบโตสมบูรณ์จะเก็บดอกมะลิได้ในราว 20 ลิตร

ตลาด ดอกมะลิที่รวบรวมไว้ได้นำไปขายที่ตลาดใกล้บ้าน ราคาขายส่ง ดอกมะลิในฤดูแล้งขาย 40-60 บาท ต่อลิตร ดอกมะลิในฤดูฝนขาย 150-250 บาท ต่อลิตร และดอกมะลิในฤดูหนาวขาย 500-2,000 บาท ต่อลิตร ราคาซื้อขายนี้ขึ้นอยู่กับตลาดและฤดูกาล การปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกมะลิพืชเศรษฐกิจสำคัญทำให้มีรายได้เงินแสนบาท ครอบครัวดำรงชีพได้แบบพอเพียงมั่นคง และมีพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบแม่ ในวันแม่แห่งชาติด้วย

จากเรื่อง มะลิ…ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ของชาวสวน ทำให้ผู้ปลูกมะลิมีรายได้มั่นคง ประชาชนมีดอกมะลิสีขาวนวล กลิ่นหอม ไปกราบแม่เพื่อการเชิดชูและเคารพต่อผู้มีพระคุณ ก็จะได้รับพรที่เป็นมงคลชีวิต สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณลุงศักดิ์ชาย กล่อมเสนาะ 72/1 หมู่ที่ 4 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โทร. (096) 260-5463 หรือที่ คุณตราพฤกษ์ ธัญญเกษตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอธัญบุรี โทร. (02) 577-1986 ก็ได้นะครับ

https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_2099



ตอบ :
มะลิหน้าหนาว :
เตรียมดิน เตรียมแปลง :

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

.......................................................................................................................
ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า
........................................................................................................................

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

สายพันธุ์ :
มะลิลา, มะลิลาซ้อน, มะลิถอด, มะลิซ้อน, มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร, มะลิทะเล, มะลิพวง, มะลิเลื้อย, มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว), มะลิฝรั่ง , มะลิเถื่อน ฯลฯ

พันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ พันธุ์แม่กลอง, พันธุ์ราษฎร์บูรณะ, พันธุ์ชุมพร

การขยายพันธุ์ :
การขยายพันธุ์ มะลินิยมทำกันมากที่สุด คือ “ปักชำ” เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว นิยมทำเป็นเชิงการค้า

บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ (แม็กเนเซียม + สังกะสี + ธาตุรอง/ธาตุเสริม) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียมโบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน

ทางราก : ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ หญ้าแห้งคลุมโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (อินทรีย์ : กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม น้ำมะพร้าว ขี้ค้างคาว หมักข้ามปี .... เคมี : แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮิวมิกแอซิด ธาตุหลัก) 1 ล. +เพิ่มปุ๋ยเคมี (ธาตุหลัก) ตามระยะ 2 กก./ไร่/เดือน

ปฏิบัติการแจ็คพ็อต :
- มะลิแจ๊คพ็อต หมายถึง มะลิออกดอกช่วงหน้าหนาว, วันครู, วันแม่
- มะลิดอกสีม่วง เกิดจากขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม โดยเฉพาะ แคลเซียม โบรอน
- มะลิร้อยมาลัย บำรุงถึงแคลเซียม โบรอน ก้านดอกแข็ง แทงเข็มไม่ฉีกขาด
- มะลิดอกใหญ่ จำนวนกลีบเท่าเดิม แต่ขนาดดอกใหญ่ขึ้น
- มะลิร้อยมาลัยคู่กับ จำปี พุด กุหลาบหนู รัก

ตัดแต่งกิ่ง :
- ต้นใหญ่ตัดออกยาวเหลือกิ่งติดต้นสั้น ต้นเล็กตัดออกสั้น (ตัดที่รอยแก่ต่ออ่อน) เหลือกิ่งติด ต้นยาว
- จากวันตัดแต่งกิ่งแล้วเปิดตาดอก อีก 6 อาทิตย์ มะลิจะมีดอกให้เก็บ
- ติดทิ้งกิ่งแก่หมดอายุแล้ว

ทางใบ :
- ใช้ ไทเป + ไธโอยูเรีย + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุนไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ในรอบ 1 เดือน หาโอกาสให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) เดี่ยวๆ หรือถือโอกาสให้ร่วมกับแคลเซียม โบรอนก็ได้ 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกำจัด และป้องกันล่วงหน้า

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, พรวนดิน พูนดินโคนต้น หญ้าแห้งคลุมโคนต้น, ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1 ล.) +8-24-24 (2 กก.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว

- ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น

บำรุงมะลิ ออกดอกแล้ว :
ทางใบ :

- ให้สูตรสหประชาชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

ทางราก :
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (1-2 กก.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, พรวนดินพูนดิน มีหญ้าแห้งคลุมโคนต้น

- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นสม่ำเสมอ

-----------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©