-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ก.พ. *นาแล้งทำข้าวไม่ได้ อยากปลูกแคนตาลูป
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ก.พ. * นาข้าว 2 ไร่ ลงสำปะหลัง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ก.พ. * นาข้าว 2 ไร่ ลงสำปะหลัง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/02/2023 5:01 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 ก.พ. * นาข้าว 2 ไร่ ลงสำปะหลั ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 17 ก.พ.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 18 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 06 285x 791x
ข้อความ :
1. ที่นา 20 ไร่ น้ำดีตลอดปี
2. ตัดที่นาข้าว 2 ไร่ ลงสำปะหลัง
3. ตัดที่นาข้าว 2 ไร่ ลงเผือก
4. วันนี้ขอเรื่องสำปะหลัง


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ตามหอการค้าไทยไปดูแปลงสาธิต "ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ ได้ 1 แสน"
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ช่วงเวลา 4 เดือนต่อจากนี้ (1 กุมภาพันธ์-31พฤษภาคม 2555) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะเดินหน้าเปิดรับจำนำมันสำปะหลังสด โดยทุ่มเงินไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อโครงการนี้ โดยกำหนดราคาจำนำอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.75 บาท ระดับความชื้นอยู่ที่ 25%

ฟังผิวเผินเหมือนดูดี แต่ผลประโยชน์จะตกอยู่กับชาวไร่มันสำปะหลัง หรือเงินจะไหลไปสู่มือพ่อค้าลานมัน และต้องเจอกับการสวมสิทธิ์ มันสำปะหลังไหลทะลักจากประเทศเพื่อนบ้าน เหมือนกรณีจำนำข้าวหรือไม่ คนไทยต้องติดตาม

มีโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของหอการค้าไทย ที่น่าศึกษาอย่าง โครงการภูมิปัญญาไทย ‘ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน’ ที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพื่อต้องการช่วยให้เกษตรกรมีความรู้ มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกผัก มันสำปะหลัง เลี้ยงปลา เลี้ยงกบในพื้นที่เดียวกันก็เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.... นี่แค่โครงการนำร่อง ก็เห็นผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรดีขึ้น

“นายสรพงษ์ ศรีสวัสดิ์” หนึ่งในสมาชิกของโครงการฯ วัย 35 ปี เล่าถึงความพยายามในการทำไร่มันสำปะหลังตลอดชีวิต ซึ่งเขาได้ลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง เพื่อจะหาวิธีทำให้ผลผลิตดี มีต้นทุนที่ต่ำ...แต่จนแล้วจนรอด ต้นทุนกลับพุ่งสูงขึ้นทุกปีๆ

“จากประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลัง เคยทำเงินได้สูงสุด 12,400 บาทต่อไร่เท่านั้น เพราะมันสำปะหลังที่ปลูกไว้ แม้จะมีอายุถึง 6 เดือน แต่หัวยังเล็กและไม่มีเชื้อแป้ง ทำให้แต่ละปีเมื่อหักกลบลบหนี้แล้ว แทบไม่เหลือกำริกำไร"

แต่หลังจากแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ เขาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบหัวมันสำปะหลังที่มีอายุเท่ากัน ของโครงการนี้มีหัวที่ยาวและโตกว่าเดิม ดังนั้น เมื่ออายุครบ 1 ปี จึงคาดได้ว่า น่าจะมีเชื่อแป้งถึง 28% ” เขาประเมินด้วยประสบการณ์

ส่วนเคล็ดลับ ‘ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ได้เงิน 1 แสน’ ก็อยู่ที่ทางหอการค้าฯ ส่งมีผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน เช่น ต้องไถให้ลึก เพื่อช่วยให้หัวมันมีขนาดยาวขึ้น หรือวิธีการปลูกที่ต้องปลูกแบบนอน หันยอดไปทางทิศตะวันออก

นอกจากนี้ยังถูกห้ามไม่ให้ใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน เพื่อรักษาคุณภาพของดิน เป็นต้น

"ผมเคยเข้ารับการอบรมความรู้ในการทำเกษตรจากองค์กรหลายแห่ง แต่การปลูกมันสำปะหลังในโครงการนี้ แม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากไปสักหน่อย แต่ก็คุ้มมากหากเทียบกับสิ่งที่ได้กลับคืนมา เช่น เทคนิคในการปลูกมันฯ การส่งเสริมให้ทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชผักคั่นเวลาระหว่างรอใบมันฯ คลุมดิน ปลูกกล้วย อ้อย มะรุมรอบๆ แปลง รวมถึงขุดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มรายได้" สรพงษ์ เล่าถึงองค์ความรู้ที่ได้ ซึ่งทำให้เขาเริ่มเข้าใจ หากปลูกมันฯ อย่างเดียว รายได้ก็จะมาจากทางเดียว

เฉกเช่น นายสมาน พุทธนิมน หรือ ‘หมัน’ วัย 52 ปี ซึ่งก็ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ในโครงการปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน จนทำให้เขารู้จักการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่เน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกทั้งมันสำปะหลัง กล้วย ฟักทอง ต้นหอม ตะไคร้ มะยม มะรุม รวมถึงขุดบ่อเลี้ยงปลา น้ำในบ่อก็เอาไปรดต้นมัน ส่วนใบมัน ใบกล้วย ใบมะรุม ก็นำมาใช้เป็นอาหารของปลาได้

ถึงวันนี้ "สมาน" กับสมาชิกในครอบครัว 4 ชีวิต มีชีวิตความเป็นอยู่สบายขึ้น แถมยังมีเวลาได้พักผ่อน และได้อยู่กับธรรมชาติ

“สภาพความเป็นอยู่ขณะนี้ดีกว่าเมื่อครั้งเริ่มจับจอบจับเสียมมาก เพราะทำไร่มันมา 20 ปี ผลผลิตสูงสุดที่เคยได้อยู่ที่ 10 ตันต่อไร่ ถ้าโชคดีราคาขายหัวมันอยู่ที่กิโลกรัมละ 3 บาท ก็ได้เงินมากสุดแค่ 30,000 บาทต่อไร่เท่านั้น แต่ต่อจากนี้ไปคาดว่า ผลผลิตจะมีปริมาณสูงขึ้น จนทำให้อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ ความสุขของเกษตรกรได้”

ด้านนางวิภาดา กำเนิดทอง เกษตรกรหญิงอีกผู้หนึ่งที่เข้าร่วมโครงการฯ เล่าถึงชีวิตผันตัวเองจากการเป็นชาวนาในเมืองแปดริ้ว ย้ายภูมิลำเนามาอาศัยอยู่ที่จังหวัดระยอง และได้ปรับเปลี่ยนอาชีพมาเป็นชาวไร่มันสำปะ

ในช่วงแรกที่ยังมีพื้นที่ทำการเกษตรไม่มาก ก็ลงมือเพาะปลูกและดูแลไร่ด้วยตนเองทั้งหมด แต่เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของครอบครัว เธอจึงตัดสินใจเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก เช่าที่ดินและจ้างแรงงานเพิ่ม รวมทั้งหันมาใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการดูแลรักษา แต่ในที่สุด ช่วงที่ราคามันตกต่ำขายได้กิโลกรัมละ 0.50 สตางค์ เธอก็สุดทนจนต้องตัดใจเลิกปลูกมันสำปะหลังไปในที่สุด

แต่กับโครงการนี้ "วิภาดา" แสดงเจตจำนงเข้าร่วม หวังเข้ามาเรียนรู้การปลูกมันสำปะหลังแบบใหม่ ที่ให้ความสำคัญตั้งแต่การเตรียมดิน คัดเลือกพันธุ์ วิธีการปลูก ระยะห่างระหว่างต้น ระยะเวลาในการใส่ปุ๋ย ทำให้หัวมันมีจำนวนเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้เสี้ยวหนึ่งเธอจะกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องราคาราคาผลผลิต แต่เธอเชื่อว่า โครงการนี้น่าจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพิ่มรายได้และทำให้ชีวิตดีอยู่ของครอบครัวดีขึ้น

ส่วนนางเรณู คล้ายสุบรรรณ ชาวไร่เกษตรอินทรีย์มาบยางพรอีกคน ซึ่งทำอาชีพปลูกมันสำปะหลังมา 20 กว่าปี มีแปลงมันฯ 30 ไร่ ใช้วิธีปลูกแบบปัก ดูแลด้วยปุ๋ยเคมีและกำจัดวัชพืชโดยสารเคมีทั้งหมด ผลผลิตที่ได้ คือ หัวมันสำปะหลังไม่ใหญ่ ผลผลิตได้น้อย แถมสภาพดินยังเสียอีก

แต่เมื่อเธอเข้าร่วม ‘ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน’ ทำการทดลองปลูกตามโครงการฯ ไป 1 ไร่ ระยะเวลา 4 เดือน เมื่อลองถอนมาตรวจวัดปริมาณแป้งได้ 24% "เรณู" จึงคาดว่า อีก 8 เดือนข้างหน้าจะสามารถขายได้ปริมาณแป้งถึงเกณฑ์ 30% และจะได้ราคาดีที่สุดอย่างแน่นอน

"เมื่อการปลูกมันสำปะหลังมีแบบแผนมากขึ้น ระยะการปลูกห่างขึ้น ทำให้รากมันขยายได้มากกว่า แม้จะปลูกเพียงแค่ 1 ไร่ ก็ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น น้ำหนักมากขึ้น ขายได้ราคาเป็นที่พอใจ จากเมื่อก่อนที่คุณภาพไม่ดี มีปริมาณแป้งเพียง 27-28% เท่านั้น"

ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยผลการดำเนินโครงการนี้ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินไว้ว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แบบเต็มรูปแบบ ปลูกมันสำปะหลัง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกพืชเสริม รวมทั้งปลูกพืชในพื้นที่ว่าง มีรายได้เพิ่มขึ้น ในส่วนของมันสำปะหลังเมื่อปลูกครบ 1 ปีจะมีรายได้ขั้นต่ำเฉลี่ย 43,000 บาท หากรวมกับรายได้จากการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์แล้ว ประมาณการณ์ว่า เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 120,000 บาท ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 22,700 บาทเท่านั้น

"มันสำปะหลังอายุ 6 เดือน จะมีต้นสูง 3 เมตร มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 7,832 กิโลกรัมต่อไร่ และมีเชื้อแป้งเฉลี่ยอยู่ที่ 24.05% ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลผลผลิตมาตรฐานมันสำปะหลังต่อไร่ ที่เก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบกำหนด 12 เดือน ของสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 4,713.50 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่า ผลผลิตโดยเฉลี่ยของผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทางจังหวัด"

ยิ่งหากประมาณการผลผลิตมันสำปะหลังไปจนถึงครบกำหนด 12 เดือนด้วยแล้ว โดยใช้หลักการอ้างอิงของผู้เชี่ยวชาญด้านมันสำปะหลังที่ระบุว่า ตามปกติการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจาก 6 เดือนไปถึง 12 เดือนอยู่ในช่วงระหว่าง 1-2 เท่า ก็จะพบว่า กรณีที่มันสำปะหลัง มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเป็น 1 เท่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,664 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนกรณีที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 19,580 กิโลกรัมต่อไร่ และหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 23,496 กิโลกรัมต่อไร่"

และแม้การเพาะปลูกมันฯ จะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่หัวหน้าทีมวิจัยฯ ก็เชื่อว่า กำไรที่เกษตรกรจะได้นั้น สูงกว่าต้นทุนถึง 1 เท่าตัว หรือมากกว่านั้นอย่างแน่นอน....
https://www.isranews.org


ตอบ :
จากหนังสือ "หัวใจเกษตรไท ห้อง 3 เทคโน"

สำปะหลัง
เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ แบบ 1 แถว
นายประสาท แสงพันธุ์ตา กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม 0 2579 2757, 0 2940 5583

ข่าว ทีวี. สำปะหลัง อู่ทอง สุพรรณบุรี ทำได้ 60 ตัน/ไร่ ในข่าวไม่มีรายละเอียดว่า พันธุ์อะไร ? ให้ปุ๋ยยังไง ? ให้น้ำหรือเปล่า ? แต่เท่าที่สังเกตจากภาพในจอ ทีวี. เห็นชัด ใบดกตั้งแต่ยอดถึงดิน ใบใหญ่เท่าฝ่ามือ ดินร่วน ตัดต้นเหลือตอสูงจากพื้นครึ่งศอกแขนแล้วใช้มือถอนสำปะหลังขึ้นมาทั้งกอได้ .... งานนี้เราเอาแค่ 30 ตัน/ไร่ ก็น่าจะพอ เพราะที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แค่ 3-5 ตัน/ไร่ เท่านั้น

สำปะหลัง 60 ตัน เอาแค่ 30 ตัน :
เตรียมท่อนพันธุ์ :

- เตรียมถังขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 100 ล. + ไบโออิ 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ยูเรก้า 100 ซีซี. .... สังกะสี ในไบโออิ, โบรอน ในแคลเซียม โบรอน ส่งเสริมการงอกของรากของท่อนพันธุ์, ไคโตซาน ในยูเรก้า ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับท่อนพันธุ์

- ตัดท่อนพันธุ์ตั้งฉาก ท่อนพันธุ์ยาว 1 ศอกแขน ตัดแล้วร่วงลงน้ำทันที
- แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำ 5-6 ชม. นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปปลูก
- ปลูกแบบปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งฉากกับพื้น ลึกลงดิน 3 ใน 4 ส่วนของความยาว (ความยาว 1/2 ศอกแขน)

บำรุง
ทางใบ :
น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 5-10-40 (200 ซีซี.) + สารสมุนไพร 1 ล. ให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบ ทุก 15 วัน

ทางราก : ให้น้ำตามความเหมาะสมเป็นการให้น้ำไปในตัว +น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 (2 ล./ไร่) เดือนละครั้ง

หมายเหตุ :
- บำรุงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงขุด
- การให้ น้ำ + ปุ๋ย “ทางใบ” เป็นการสร้างความชื้นโดยตรง กับการให้ น้ำ+ ปุ๋ย หรือน้ำ เปล่า “ทางราก” น้ำที่ระเหยจากดินขึ้นไปบนอากาศจะเป็นการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งนอกจากช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังสร้างความสมบูรณ์ของต้น ส่งผลให้ผลผลิตดีอีกด้วย

- สำปะหลังที่ไม่มีการให้น้ำ ต้นเรียวเล็ก-ใบเล็ก-จำนวนใบน้อย ที่ปลายยอด นอกจากผลผลิตได้น้อย โรคมากแล้ว เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อก็ไม่ดี ผิดกับสำปะหลังที่ได้ “น้ำ+ปุ๋ย” ทั้งทางใบทางราก มีใบมาก สังเคราะห์อาหารได้มาก ผลผลิตมาก โรคน้อย ต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้หรือจำหน่ายต้นพันธุ์ได้ราคาอีกด้วย

สำปะหลังแบบก้าวหน้า :
1. ปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 1” ยาวตามร่องปลูกแบบเดิม สำปะหลัง 1 กอจะให้หัว 1 พวง ถ้าปรับใหม่เป็นปลูกแบบ “แถวตอนเรียง 2” ยาวตามร่องปลูกเดิม เป็นสำปะหลัง 2 กอ เท่ากับได้หัวสำปะหลัง 2 พวง บนพื้นที่เท่าเดิม .... ติดสปริงเกอร์ ให้น้ำ ให้ปุ๋ยทั้งทางใบทางราก รุ่นเดียวที่ได้ทุนคืน ถ้าไม่มีสปริงเกอร์จะลากสายยางก็ได้ ที่สำคัญขอให้สำปะ หลังได้น้ำได้ปุ๋ยก็แล้วกัน

2. ปลูกสำปะหลังแบบแถวตอนเรียง 2 แต่ละกอทำเป็น “สำปะหลังคอนโด” โดย 1 กอให้ 2-3 พวง บำรุงเต็มที่ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง จะได้หัวสำปะหลังมากกว่า 2 พวง/กอ บนพื้นที่เท่าเดิม .... จากสำปะหลัง 1 กอได้หัว 1 พวง ถ้าสำปะหลัง 2 กอ 3 กอ 4 กอ ได้หัวกอละ 1 พวง บนเนื้อเท่าเดิมจะได้ไหม ?

3. ระยะยังไม่ลงหัว บำรุงต้นให้ลำต้น “สูง-ใหญ่-ใบมาก” เมื่อถึงระยะเริ่มลงหัวให้ตัดต้นไปขายก่อน เหลือตอแล้วบำรุงตอสร้างต้นใหม่ ซึ่งการบำรุงตอสร้างต้นใหม่นี้ จะไม่ส่งผลเสียต่อการสร้างหัวแต่อย่างใด

ปรัชญาเกษตร พื้นที่ไร่ต่อไร่:
ผลผลิตเพิ่ม .... ปริมาณมากกว่า คุณภาพเหนือกว่า
ต้นทุนลด ....... ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง
อนาคตดี ........ คนซื้อจองล่วงหน้า
ฯลฯ ............. *


สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง :
- สำปะหลัง “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” อู่ทอง สุพรรณบุรี .......... ได้ 60 ตัน /ไร่

- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” ................. ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ..................... ได้ 10 ตัน /ไร่

- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” ................ ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................... ได้ 20 ตัน /ไร่

4. ปลูกสำปะหลังแบบก้าวหน้า 10 ไร่ ลงทุนให้น้ำกับผลผลิตที่ได้ คุ้มเกินคุ้ม
5. ออกแบบสร้างอีแต๋นอีต๊อกบรรทุกน้ำ มีอุปกรณ์เครื่องมือให้น้ำ แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า หรือน้ำ + ปุ๋ย ใช้ในแปลงตัวเองแล้ว รับจ้างแปลงข้างๆเป็นรายได้ กะรวยด้วยกัน

6. ได้ดินดี เลิกสำปะหลัง จะปลูกอะไรก็ได้ .... ได้อีแต๋น บรรทุกน้ำไว้ใช้งาน ให้น้ำกับพืชอะไรก็ได้
7. อายุสำปะหลัง ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินเตรียมแปลง ปลูกถึงขุด รวมเวลา 8 เดือน ติดสปริงเกอร์แบบถอดประกอบได้ ติดตั้งก่อนปลูก ก่อนขุดก็ถอดเก็บ ทำสำปะหลังก้าว หน้า รุ่นเดียวได้ทุนคืน ได้กำไรด้วย

หมายเหตุ :
- ช่วงหน้าแล้ง สปริงเกอร์ฉีดพ่นน้ำจากใบลงถึงราก นอกจาก ช่วยป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู (เพลี้ยตัวนี้มาช่วงหน้าแล้ง) แล้ว ยังช่วยบำรุงต้นสำปะหลังตาม ปกติ และบำรุงสำปะหลังช่วงแล้ง ป้องกันอาการกินตัวเองของสำปะหลังได้อีกด้วย

- สำปะหลังที่บำรุงเต็มที่ ได้ลำต้นสมบูรณ์ ใหญ่ยาว ขายเป็นต้นพันธุ์ดี
- สู้กับเพลี้ยแป้งสำปะหลังให้ได้ทั้ง ป้องกัน/ฆ่าเพลี้ย แถมบำรุงสำปะหลังด้วย “น้ำ” เท่านั้น ประหยัดและประโยชน์สูงสุด น้ำเปล่าๆ หรือ “น้ำ + สารสมุนไพร” หรือ “น้ำ + สมุนไพร + ปุ๋ย” .... สมุนไพรก็ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เมล็ดน้อยหน้า หัวกลอย สะเดา เมล็ดมันแกว .... ปุ๋ยก็ แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40 (ไบโออิ) ยืนพื้น .... ทุกครั้งที่ใช้ให้ +น้ำยาล้างจาน +ไบโอเจ๊ต ฉีดพ่นให้เปียกโชกเพื่อน้ำยาล้างจานซึมทะลุแป้งเข้าถึงตัวเพลี้ยที่อยู่ข้างใน ช่วงระบาดหนักให้ฉีดพ่นแบบวันเว้นวัน ช่วงยังไม่ระบาดอาจจะห่างหน่อยตามความเหมาะสม

- ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสำปะหลังชอบมากๆกับ “ความแห้งแล้ง” แล้งเมื่อไรมาเมื่อนั้น ออกลูกออกหลานขยายพันธุ์เต็มไร่ .... ในทางกลับกันเพลี้ยแป้งสำปะหลังไม่ชอบเอามากๆ กับ “ความชื้น” ฝนตก ให้น้ำ สร้างความชื้นขึ้นมา เพลี้ยแป้งในแปลงตาย แถมแปลงข้างเคียงก็ไม่เข้ามาอีกด้วย เมื่อรู้นิสัยเพลี้ยแป้งว่าไม่ชอบน้ำก็ให้น้ำซี่ นอกจากช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งได้แล้วยังมีผลดีต่อต้นสำปะหลังอีกด้วย

- ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ สำปะหลังต้องการน้ำระดับ “ชื้น” จากปริมาณน้ำ ชื้น/ชุ่ม/โชก/แฉะ/แช่ .... สังเกตุ : ฝนดี-ฝนพอดี-ฝนสม่ำเสมอ สำปะหลังแตกใบใหม่ เพลี้ยแป้งไม่มี เมื่อรู้ว่า สำปะหลังชอบฝนแต่เพลี้ยแป้งไม่ชอบฝน ถ้าฝนไม่ตกคนก็ทำเป็นฝนตกซะเอง โดยการฉีดพ่นน้ำเข้าไป ก็ได้ .... ความแห้งแล้งเป็นภาวะจำยอมโดยธรรมชาติ แม้จะต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาให้แก่สำปะหลังก็ต้องยอม มิเช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลย แต่หากได้ให้น้ำ นอกจากสู้กับเพลี้ยแป้งได้แล้ว ยังได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย .... นี่แหละการเกษตรที่ น้ำต้องมาก่อนน้ำต้องมาก่อนและน้ำต้องมาก่อน ....... (ย้ำจัง ! )

- การลงทุนติดสปริงเกอร์แบบหัวพ่นสูงเหนือยอด (สูง 1.5 ม.) ถอดประกอบได้ แบ่งเป็นโซนๆ มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หลังจากทำแปลงชักร่องเสร็จก็เริ่มให้น้ำได้ และให้ “น้ำ + ปุ๋ย” บำรุงต้นตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงขุด ก่อนขุดก็ให้ถอดปสริงเกอร์ออกไว้ใช้งานใหม่ได้ .... หากไม่ใช้ระบบสปริงเกอร์ก็ต้องมีเครื่องมือในการให้น้ำแบบอื่นที่เหมาะสม เครื่องมืออะไรก็ได้ที่สามารถส่งน้ำไปให้สำปะหลัง ณ เวลาที่ต้องการและจำเป็น

- การปลูกสำปะหลังแบบเดิม (เตรียมดิน เตรียมแปลง เตรียมท่อนพันธุ์ การใส่ปุ๋ย ไม่มีการให้น้ำ) ปีไหนฝนดี ได้ผลผลิต 4-6 ตัน/ไร่ ถ้าฝนไม่ดี ได้ผลผลิต 2-4 ตัน/ไร่

สำปะหลังกับระบบน้ำ :
ระบบน้ำหยด :

- ระบบน้ำหยด หมายถึง น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ตามท่อไปถึงหัวน้ำหยด กรณีนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่หัวต้นทางต้องหยด (ไหล) แรงกว่าหัวปลายทางแน่ นั่นคือ ปริมาณน้ำที่พืชแต่ละต้นได้รับไม่เท่ากัน โดยต้นแรกได้รับมากกว่าต้นท้ายปลายทาง

- น้ำที่ออกมาจากหัวน้ำหยด 1 หัว ลงพื้นได้เนื้อที่กว้างราว 30 x 30 ซม. กรณีพื้นที่สำปะหลัง 1 กอ หรือ 1 หัว กว้างราว 50 x 50 (ขนาดกลาง) ถึง 80 x 80 ซม. (ขนาดใหญ่) ปริมาณน้ำที่หยดลงมาจึงไม่ทั่วทรงพุ่ม กรณีนี้ต้องเพิ่มจำนวนหัวต่อต้นให้มากขึ้นจนเต็มพื้นที่

- ระบบน้ำหยดลงไปเฉพาะที่พื้นดิน ช่วงหน้าแล้งที่เพลี้ยแป้งสีชมพูระบาดทางใบ ต้องใช้เครื่องมือฉีดพ่นโดยเฉพาะ ..... ธรรมชาติของเพลี้ยแป้งสีชมพู ชอบความแห้งแล้งแต่ไม่ชอบความชื้น แต่น้ำจากหัวน้ำหยดที่พื้นดินไม่สามารถส่งความชื้นขึ้นไปบนต้นสำปะหลังได้ จึง ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพูไม่ได้

- ระบบน้ำหยด ไม่สามารถส่ง ปุ๋ย/ยา ไปกับระบบน้ำหรือทางท่อได้

สรุป :
- ระบบน้ำหยดได้ประสิทธิภาพเพียงให้น้ำทางรากเท่านั้น
- น้ำที่ไหลไปตามท่อ จากที่สูงลงไปที่ต่ำ จำนวนหัวน้ำหยดมาก ต้องใช้ เวลา/แรงงาน มาก ในการตรวจว่า หัวไหนอุดตันหรือไม่

ระบบหัวพ่นน้ำ :
- ติดสปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ถอด/ประกอบ ได้ นั่นคือ หลังเตรียมดิน
- เตรียมแปลงเสร็จให้ประกอบ ติดสปริงเกอร์แต่ละครั้งใช้งานนาน 8-9 เดือน ..... แปลงผักบางที่ ถอด/ประกอบ สปริงเกอร์ครั้งละ 3 เดือน (เตรียมแปลง ถึง เก็บเกี่ยว)

- หัวพ่นน้ำรัศมี 4 ม. พ่นน้ำออกไปโดนใบแล้วตกลงดิน เท่ากับเป็นการให้น้ำทางรากไปในตัว
- สปริงเกอร์มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆได้อีกด้วย-

ระบบโอเวอร์เฮด :
- ใช้แบบเคลื่อนที่ เข้า-ออก แปลงได้ทุกเวลาที่ต้องการ
- รัศมีพ่นน้ำอยู่ที่รุ่นหรือแบบ
- มีหม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ปุ๋ยสูตรสำปะหลังโดนใบ ผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ตกลงดิน รากดูดเข้าสู่ต้น เท่ากับได้ 2 เด้ง

- น้ำเปล่า หรือ น้ำ+ปุ๋ย สร้างความชื้นทั่วแปลง ช่วย ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยแป้งสีชมพู และศัตรูพืชอื่นๆ ได้อีกด้วย เหมือนสปริงเกอร์แบบหัวพ่น

หมายเหตุ :
- ระบบน้ำหยดเหมาะสำหรับพืชในถุง หรือภาชนะปลูก เพราะสามารถควบคุมปริมาณน้ำทั้งหมดให้อยู่ในพื้นที่ๆต้องการได้ และระบบรากอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงรับน้ำได้

- ข้ออ้างที่ว่า น้ำหยดเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัด ในความเป็นจริงนั้น ต้นพืชไม่รู้จักประหยัด เขาใช้เท่าที่ใช้จริงกินจริงเท่านั้น หากต้องการให้เขาโตก็ต้องให้เขา

--------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©