-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ก.พ. *นาแล้งทำข้าวไม่ได้ อยากปลูกแคนตาลูป
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ก.พ. *นาแล้งทำข้าวไม่ได้ อยากปลูกแคนตาลูป
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ก.พ. *นาแล้งทำข้าวไม่ได้ อยากปลูกแคนตาลูป

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/02/2023 6:11 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 16 ก.พ. *นาแล้งทำข้าวไม่ได้ อยากป ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร 16 ก.พ.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 18 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 08 462x 719x
ข้อความ : ขอเรื่องแคนตาลูปในนาข้าว ขอบคุณครับ

จาก : 06 5452x 025x
ข้อความ : นาแล้ง ทำข้าวไม่ได้ อยากปลูกแคนตาลูป

จาก : 09 281x 457x
ข้อความ : ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1หน้า ถามเรื่องแคนตาลูปเมลอนค่ะ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

เกษตรกรคนเก่ง : ทำเงินแสนจาก 'แคนตาลูป' วิถีของ 'สุชาติ นามมุงคุณ'

การจัดรูปที่ดินในพื้นที่ใต้เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีความโดดเด่นตรงที่มีรูปแบบการผลิตที่หลากหลายมากกว่าข้าวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากพืชเหล่านี้ไม่ต้องการน้ำเท่ากับข้าว จึงสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกข้าวแล้วสลับพืชฤดูแล้ง โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมของหน่วยงานรัฐ ทำให้เกษตรกรค่อยๆ เรียนรู้การผลิตแทนการผลิตข้าวนาปีอย่างเดียว

กลุ่มผลิตแคนตาลูป ต.ขมิ้น อ.เมือง จ.สกลนคร ภายใต้การนำของเกษตรกรหัวก้าวหน้าอย่าง "สุชาติ นามมุงคุณ" ในฐานะประธานกลุ่ม จึงเป็นอีกตัวอย่างความสำเร็จที่สามารถทำรายได้ให้สมาชิกกลุ่มอย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วย เนื้อที่เพียง 2-3 ไร่เท่านั้น แต่ทำรายได้ปีละ 3-4 แสนบาท โดยสุชาติ ถือเป็นเกษตรกรรายแรกที่นำแคนตาลูปมาทดลองปลูกเมื่อ 15 ปีก่อน

สุชาติบอกว่า เริ่มต้นปลูกแคนตาลูปเพื่อขายเมล็ดพันธุ์ให้บริษัทเอกชน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย จึงเบนเข็มมาปลูกเพื่อขายผลผลิตโดยตรง แคนตาลูปที่นี่มีปลูกกันหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ เจตดิว ฮันนีเวิร์ล พ็อต ออเรนจ์ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมพันธุ์เจตดิว มากถึง 50-70% เนื่องจากให้ผลผลิตดี มีคุณภาพสูงและตรงกับความต้องการของตลาด

ปัจจุบันการปลูกแคนตาลูปในพื้นที่ ต.ขมิ้น สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เพราะมีพื้นที่เหมาะสม อยู่ ที่ดอน น้ำไม่ท่วมและสามารถปลูกได้ปีละ 4 ครั้ง โดยมีราคาจำหน่ายหน้าแปลงอยู่ที่ 17-20 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตันต่อไร่ สำหรับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายยังคงมีกำไรเลี้ยงครอบครัวได้และยิ่งเมื่อผสมผสานกับนาข้าวที่มีอยู่แล้วก็พอจะทำให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สำหรับแคนตาลูป มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียแล้วนำไปปลูกที่เมืองแคนตาลูปใกล้กรุงโรม ประเทศอิตาลี จึงได้ชื่อว่าแคนตาลูปตั้งแต่บัดนั้นมา ในประเทศไทยมีการนำแคนตาลูปเข้ามาทดลองปลูกกว่า 50 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จนัก จนต้องพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และดินฟ้าอากาศ จนปัจจุบันมีการปลูกกันในหลายพื้นที่

(เกษตรกรคนเก่ง : ทำเงินแสนจาก 'แคนตาลูป' วิถีของ 'สุชาติ นามมุงคุณ' : โดย...สุรัตน์ อัตตะ)



ตอบ :
แคนตาลูป

ลักษณะทางธรรมชาติ

- เป็นพืชตระกูลเถาเลื้อยขึ้นค้างแต่ไม่มีมือเกาะ อายุสั้น (75-85 วัน) ฤดูกาลเดียว ชอบดินดำโปร่งร่วนซุยหรือดินปนทราย มีอินทรีย์วัตถุมากๆ เนื้อดินไม่อุ้มน้ำแต่ต้องไม่แห้ง ระบายน้ำดี อากาศผ่านสะดวก ต้องการแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์

- ชอบความชื้นในดินสูง ถ้าขาดน้ำหรือน้ำไม่พอและถ้าน้ำมากเกินไปหรือแฉะต้นจะชะงักการเจริญเติบโต การให้ด้วยระบบน้ำหยดซึ่งจะทำให้ดินปลูกชุ่มชื้นตลอดเวลาจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

- เทคนิคการบำรุงด้วยระบบ "น้ำหยด + ปุ๋ย" ให้ต้นได้รับสารอาหารแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชม. แล้วเสริมด้วยฮอร์โมนโดยให้ทางใบตามระยะพัฒนาการ ตั้งแต่เกิดถึงผลแก่เก็บเกี่ยวจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีมาก

- บำรุงรักษาไม่ให้ใบแรกร่วงเลยแม้แต่ใบเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผลแก่เก็บเกี่ยว จะช่วยให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก

- แคนตาลูปใบใหญ่หนาเขียวเข้ม เถาใหญ่ ช่วงระหว่างข้อยาว จะให้ผลผลิตคุณภาพดีมาก
- สันแปลงปลูกควรสูงกว่าพื้นระดับ 30-50 ซม. และร่องทางเดินระหว่างสันแปลงลึก 20-30 ซม. กว้าง 50-80 ซม. พื้นก้นร่องราบ .... ช่วงหน้าแล้งให้ใส่น้ำในร่องทางเดินเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ

- ปกติเป็นพืชเมืองร้อนแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม แต่ครั้นประเทศเขตหนาวและเขตอบอุ่นนำไปปลูกแล้วพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีขึ้นเนื่องจากตลาดให้ความนิยมสูง แคนตาลูปจึงกลายเป็นพืชเขตหนาวและเขตอบอุ่นไปโดยปริยาย จากนั้นย้อนกลับมาปลูกในเขตร้อนอีกครั้งทั้งๆที่เป็นถิ่นกำเนิดเดิมกลับไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นหากคิดจะปลูกแคนตาลูปต้องพิจารณาสายพันธุ์ด้วยว่าเป็นสายพันธุ์ที่มาจากเขตหนาว เขตอบอุ่นหรือเขตร้อน

ปัจจุบันแคนตาลูปในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนจนกระทั่งเหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อนจึงสามารถเจริญเติบโตและให้คุณภาพที่ตลาดต่างประเทศยอมรับมากขึ้น ..... สายพันธุ์ที่ผ่านการพัฒนาในประเทศไทย ถ้าปลูกในพื้นที่อากาศเย็นนานติด ต่อกัน อายุเก็บเกี่ยวจะช้ากว่าปลูกในเขตร้อนชื้น 7-10 วัน แต่คุณภาพไม่ต่างกัน

- แคนตาลูปที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศไม่สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้เพราะเป็นสายพันธุ์ไฮบริด (ลูกผสม/เป็นหมัน) แต่สายพันธุ์ในประเทศสามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อไป

- ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศและปลูกได้ทุกฤดูกาลแต่ต้องมีระบบจัดการดี
- ต้นที่ได้รับการบำรุงดี มีสารอาหารกินอย่างสม่ำเสมอตลอด 24 ชม.จนได้เถาใหญ่ ใบใหญ่หนาเขียวเข้ม และใบไม่ร่วงเลยตั้งแต่เริ่มงอกถึงเก็บเกี่ยวจะได้ผลผลิตดี

- นิสัยออกดอกง่ายและออกมากหรือเกือบทุกข้อใบ
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) ผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

- ตอบสนองต่อธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมน.ดีมาก จึงควรให้บ่อยๆ
- ห่อผลด้วยถุงยังเคราะห์หรือกระดาษถุงปูนซิเมนต์เมื่อขนาดเท่าไข่เป็ด หรืออายุผลได้ 40 วันหลังผสมติดจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช รักษาสีผิวเปลือกให้สวยนวลและเพิ่มคุณภาพ

การห่อด้วยถุงห่อขนาดเล็กจะต้องเปลี่ยนถุงห่อเมื่อขนาดผลโตคับถุง การใช้ถุงขนาดใหญ่นอกจากจะใช้ได้จนผลขนาดใหญ่โดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่แล้ว ยังทำให้ถุงไม่เสียดสีกับผิวจนทำให้ผิวเสียและอากาศถ่ายเทสะดวกซึ่งจะส่งผลดีต่อผลอีกด้วย .... พื้นที่ลมแรง อาจจะพิจารณาใช้ตาข่ายโฟมห่อผลก่อนแล้วจึงห่อซ้อนด้วยถุงอีกชั้นหนึ่งก็ได้

- ผลที่มีลักษณะขั้วใหญ่ ก้านยาว อวบอ้วน น้ำหนักดีจะมีคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส) ดี
- แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่เก็บเกี่ยวแล้วไม่ต้องบ่ม เพราะฉะนั้นจึงต้องเก็บช่วงผลแก่จัดคาต้น ผลแก่ไม่จัด เมื่อเก็บลงมาแล้วคุณภาพผลเป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้นจนกระทั่งเน่าไปเลย

- ขนาดผลเท่ากันแต่ผลที่น้ำหนักมากกว่า กลิ่นดีกว่า จะคุณภาพดีกว่าเสมอ
- ตลาดเมืองไทยนิยมผลขนาดใหญ่มากกว่าผลขนาดเล็ก

สายพันธุ์
พันธุ์ผิวลายตาข่าย :
ซันไรซ์ :
ผิวสีเหลืองอ่อน เนื้อสีส้มอ่อน ผลดก อายุเก็บเกี่ยวสั้น กลิ่นหอม
นิวเซนทูรี่ : ผิวสีเหลืองอมเขียวอ่อน เนื้อหนาสีส้มอ่อน รสหวานมาก กลิ่นหอม น้ำหนัก 1-1.5 กก.
สกายร็อกเก็ต : ผิวสีเขียว เนื้อสีเขียว อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ติดผลดก รสหวานมาก
เดลิเกต : ปลูกได้ทั้งในโรงเรือนและกลางแจ้ง เถาสั้น เนื้อหนาสีเขียว น้ำหนัก 1-1.2 กก. รสหวานจัด กลิ่นหอม
ซันไรท์ : ชอบทั้งอากาศร้อนและเย็น เนื้อหนาชุ่ม สีส้มอ่อน น้ำหนัก 1-1.5 กก. อายุเก็บเกี่ยวสั้น กลิ่นหอม
คาร์โก- 434 : ทนต่ออากาศร้อนได้ดี ผิวสีเขียว เนื้อหนา รสชาติดี กลิ่นหอม อายุเก็บเกี่ยวสั้น น้ำหนัก 1-1.5 กก.
เอ็มเมิร์ลดิง : ผิวสีเขียวอ่อน เนื้อเหลืองอ่อน รสหวาน กลิ่นหอมอ่อนๆ อายุเก็บเกี่ยวสั้น น้ำหนัก 1-1.5 กก.

พันธุ์ผิวเรียบ :
สโนว์ชาร์ม :
ชอบอากาศเย็น ผิวสีเหลืองครีม เนื้อหนาสีส้มอ่อนอมชมพู กรอบอ่อนนุ่ม น้ำหนัก 1-1.5 กก. อายุเก็บเกี่ยวสั้น ติดผลดก รสหวานจัด กลิ่นหอม
ซันเลดี้ : ปลูกง่าย ผิวขาวครีม ติดผลดก เนื้อหนานุ่มสีส้ม รสหวานจัด กลิ่นหอม
เรดควีน : เถาสั้น สีผิวเหลืองครีม รสหวานจัด อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง กลิ่นหอม น้ำหนัก 1 กก.
เจดดิว : สีผิวเขียวอมเหลือง อายุเก็บเกี่ยวสั้น เนื้อหนาสีเขียว น้ำหนักผล 1-1.5 กก. รสชาติดีมากหวานจัด กลิ่นหอม
สวอน : ปลูกง่ายอายุเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลดก 7-8 ผล/ต้น น้ำหนัก 700-800 กรัม เนื้อสีขาว รสหวาน กลิ่นหอม
ซิลเวอร์ สตาร์ : สีผิวครีมอ่อน อายุเก็บเกี่ยวสั้นมาก น้ำหนัก 1.5-2 กก. เนื้อสีเขียวอมขาว รสชาติดีหวานจัด กลิ่นหอม
ซิลเวอร์ ไรท์ : อายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนต่ออากาศร้อนดี น้ำหนัก 400-500 กรัม เนื้อสีเขียวอ่อน รสหวานปานกลาง กลิ่นหอม
ซัน บิวตี้ : ชอบอากาศเย็น สีผิวเขียวอมเหลือง เนื้อสีขาวอมเหลือง น้ำหนัก 1-1.2 กก. รสชาติดีหวานจัด กลิ่นหอม
ซูการ์บอลล์ : อายุเก็บเกี่ยวสั้น สีผิวครีมอ่อน สีเนื้อเขียวหยก น้ำหนัก 800-900 กรัม รสชาติดีมากหวานจัด กลิ่นหอม
ฟาร์เมอริส นัมเบอร์ทรู : ทนต่ออากาศร้อนดี อายุเก็บเกี่ยวสั้น สีผิวเหลืองสดใส เนื้อขาวหนาปานกลาง
เจด : นิยมปลูก ปลูกง่าย ผลดก สีผิวเขียวอมเหลือง น้ำหนัก 500-700 กรัม เนื้อสีเขียวอ่อนหนาปานกลาง รสหวานจัด กลิ่นหอม

พันธุ์ที่ส่งเสริม :
พันธุ์เนื้อสีเขียวหรือขาว :
พันธุ์ไข่มุกลาย, ฮันนี่ดิว ( Honey dew ), เจดดิว ( Jaed dew )
พันธุ์เนื้อสีส้ม : ซันเลดี้, ทอปมารค์, นิวเซนจูรี
หมายเหตุ :
ในญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวปลูกแคนตาลูปมากกว่า 50 สายพันธุ์ ทุกสายพันธุ์ต่างก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์)
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- ตรวจสอบวันหมดอายุและภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดพันธุ์ลงแช่ในน้ำเกลือเจือจาง คัดเมล็ดลอยทิ้งเพราะเสื่อมสภาพ เลือกใช้เฉพาะเมล็ดจมน้ำ
- ใช้กรรไกตัดเล็บ ตัดปลายเมล็ดเพื่อเปิดช่องให้รากแทงออกมาเมื่อเมล็ดงอก
- แช่เมล็ดใน “น้ำ 50 องศา 1 ล.+ไบโออิ 1 ซีซี.+ยูเรก้า 1 ซีซี.+แคลเซียม โบ รอน 1 ซีซี.” นาน 4-6 ชม. น้ำขึ้นห่มความชื้นต่อ 24-36-48 ชม. ในร่ม อุณหภูมิห้อง

- ระหว่างห่มให้แง้มผ้าคลุมดู เมล็ดไหนเริ่มมีตุ่มรากออกมาให้นำไปเพาะได้

เพาะเมล็ด :
- วัสดุเพาะ ขุยมะพร้าว แกลบดำ ดินป่นละเอียด อย่างละเท่ากัน ใส่ลงในช่องถาดเพาะเมล็ด เต็มช่อง กดให้แน่น รดด้วย “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 40 ซีซี.” บ่มทิ้งไว้ 15-20 วัน พร้อมหยอดเมล็ด

- วางเมล็ดที่ห่มจนเริ่มมีตุ่มรากออกมาแล้วบนวัสดุเพาะ ช่องละ 1 เมล็ด กลบทับด้วยวัสดุเพาะ รดด้วย “น้ำ 20 ล. + น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 40 ซีซี.” ให้ครั้งเดียวถึงถอนแยก ระหว่างรอถอนแยกให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

- เลี้ยงต้นกล้าในกระบะเพาะจนกระทั่งต้นกล้าได้ 2-3 ใบ
- ก่อนถอนแยกไปปลูกในแปลงจริง ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ แล้วนำออกแดดเพื่อฝึกให้คุ้นเคยต่อแสงแดด

เตรียมดิน ปลูกในถุง :
- เลือกดินขุยไผ่ มีเศษซาก ใบ/ราก/แห้ง/เก่า ผสมคลุกกับ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบแกลบดำ ให้เข้ากันดี รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ให้ได้ความชื้น 50% ทำกอง อัดแน่น คลุมด้วยพลาสติกเพื่ออบความร้อน

- ระหว่างอบความร้อน .... ถ้าร้อน 40-60 องศา = ดี จุลินทรีย์มีประโยชนเจริญดี .... ถ้าร้อนน้อยกว่า หรือไม่ร้อนให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +ยูเรีย เพื่อเร่งกระบวนการจุลิน ทรีย์.... ถ้าร้อนเกิน 60 องศา = ไม่ดี จุลินทรีย์มีประโยชน์ตาย แก้ไขด้วยการกลับพลิกกอง แล้ว หมักต่อไป

- ระหว่างการหมักแล้วเกิดความร้อน มีควันลอยขึ้นมา ตรวจสอบระดับอุณหภูมิ แล้วกลับกองเพื่อระบายความร้อนและให้อากาศแก่จุลินทรีย์ กลับกอง/กดแน่น/คลุมกอง แล้วร้อน ให้กลับกองระบายความร้อนอีก ทำซ้ำทุกครั้ง จนในกองไม่มีความร้อน ใช้มือล้วงเข้าไปในกองแล้วรู้สึกเย็น นั่นคือ “ดินปลูก” พร้อมใช้งาน

- ข้อดีของการปลูกในถุง :
* ปลูกหน้าฝนหรือน้ำท่วมได้ โดยยกถุงขึ้นที่สูงหนีน้ำ
* ควบคุม ชนิด/ปริมาณ สารอาหารและน้ำได้เต็มที่
* ถุงไหนเป็นโรคทางดิน จะเสียหายเฉพาะ ถุง/ต้น นั้น ไม่ลามไปหาต้นอื่น
* ใช้งานปลูกรุ่นนี้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เทดินปลูกออก ตากแดดฆ่าเชื้อโรค แล้วปรับปรุงใหม่ ใช้งานใหม่ได้อีก

เตรียมดินปลูกบนแปลง :
- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15-20 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม่
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ ขุยมะพร้าวสับเล็ก ใบก้ามปูแห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่าแกลบดำ ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวนดีป่นดินให้ละเอียดมากๆ ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 20-30 วัน
(....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ดินดี =ได้แล้วกว่าครึ่ง.... ดินไม่ดี = เสียแล้วกว่าครึ่ง...)

หมายเหตุ :
- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 20-30 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้าง คาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วน ผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน

- อย่ากังวลว่าไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นแคนตาลูปจะไม่โต สาเหตุที่ไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” ยังไม่พร้อมจริง .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละกระสอบ สองสามกระสอบ ใส่ไร่ละตันต้นแคนตาลูปก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

- เกษตรกรอิสราเอล ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี กับอีกหลายประเทศที่มีเทคโนโลยีการ เกษตรสูงและมีความเข้าใจเรื่องพืชอย่างแท้จริง ปลูกไม้ผลตระกูลเถาอายุสั้นฤดูกาลเดียว เช่น แคนตาลูป แตงโม แตงกวา ฯลฯ ในถุง (ภาชนะปลูก) ด้วยดิน (วัสดุปลูก) ที่สามารถควบคุมชนิด/ปริมาณสารอาหาร/น้ำได้ และปลูกในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ (อิสราเอลร้อน-แล้ง...ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี หนาว)

เกษตรกรไทยไม่มีปัญหา ร้อน-หนาว-แล้ง จึงเหลือเพียงปัญหา “ดินหรือวัสดุปลูกและสารอาหาร” เท่านั้น การนำแนวทางบางอย่างของเกษตรกรในกลุ่มประเทศดังกล่าวมาประ ยุกต์ใช้บ้าง จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ระบบให้น้ำ :
1. ติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับให้น้ำและสารอาหารทางราก
2. ติดตั้งระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นสำหรับให้สารอาหารและสารสกัดสมุนไพรทางใบ
หมายเหตุ :
- กรณีปลูกในแปลงแล้วไม่มีระบบน้ำหยด เมื่อต้องการให้น้ำหรือสารอาหารทางรากสามารถทำได้โดยการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแปลงปลูก แล้วเพิ่มเติมด้วยน้ำพ่นฝอยจากสปริงเกอร์เหนือต้นฉีดพ่นน้ำลงพื้นเพื่อสร้างความชื้นหน้าดิน

- กรณีปลูกในถุงไม่มีทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยสปริงเกอร์เท่านั้น แม้แต่สปริงเกอร์แบบพ่นฝอยเหนือต้นก็ไม่เหมาะสม เพราะน้ำที่ผ่านปากถุงลงไปถึงดินปลูกไม่เพียงพอ ต้องใช้สปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้น 1 หัว แล้วติดหัวสปริงเกอร์ที่ปากถุงอีกถุงละ 1 หัวเท่านั้น

เตรียมหลักค้าง :
- แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ การปลูกแบบให้เลื้อยขึ้นหลักเถา (ต้น) ละ 1 หลัก ระยะห่างระหว่างหลักเท่ากับระยะปลูก

- กรณีปลูกในแปลงยกร่องให้กำหนดจุดที่จะปลูกจริงแล้วปักหลัก ณ จุดนั้น ส่วนการปลูกในถุงให้ปักลงกลางปากถุงทะลุลงดินลึกพอประมาณเพื่อให้หลักมั่นคง

- ปักหลักแบบตั้งฉากกับพื้นหรือเอียงเล็กน้อยให้พิจารณาตามความเหมาะสมหรือความสะดวกในการเข้าไปทำงานที่สำคัญก็คือหลักนั้นต้องปักแน่นมั่นคง

- ค้างราวตากผ้า ใช้ลวดเบอร์ใหญ่ขึงหัวท้ายแปลงปลูก เสาแข็งแรง เสากลางแปลงรับตกท้องช้าง เหนือแถวปลูก ตรงหรือเฉียงข้าง ใช้เชือกปอพลาสติกผูกที่ลวด ปลายอีกข้างหนึ่งผูกปลายไม้ปักลงข้างต้น ระยะแรกช่วยจัดเถาเลื้อยขึ้นเชือกปอ เลื้อยไปเรื่อยๆจนถึงลวด เมื่อถึงลวดแล้วเถาจะยึดลวดประคองตัวเองได้ .... ใช้เชือกปออีกเส้นหนึ่ง ผูกตาข่ายสวมผลแคนตาลูปแล้วผูกปลายอีกด้านหนึ่งไว้กับลวด สำหรับรับน้ำหนัก .... เหนือราวตากผ้า มีสปริงเกอร์ ท่อ พีอี. (ราคาถูก) แบบกะเหรี่ยงลอยฟ้า ฉีดพ่นทางใบ

ระยะปลูก :
- ปลูกลงแปลง ปลูกริมแปลงทั้ง 2 ด้านสลับฟันปลา ห่างจากขอบริมแปลง 20-30 ซม. ระยะห่างระหว่างต้น (หลุม) 50-75 ซม.ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

- ปลูกในถุง วางถุงห่างกัน 50-75 ซม. หรือตำแหน่งที่เหมาะสมตามความต้องการ


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแคนตาลูป
1. ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ช่วงกล้าปลูกใหม่ตั้งแต่เริ่มงอก ถึง ได้ใบ 4-5 คู่ ยังไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางราก ปล่อย ให้ต้นรับสารอาหารจากดินปลูกที่เตรียมไว้ก็พอ
- แปลงในแปลง หลุมที่หยอด 2 เมล็ด ถ้างอกเป็นต้นทั้ง 2 เมล็ดให้ตัดออก 1 ต้น โดยใช้กรรไกตัดโคนต้น ไม่ควรถอนเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนรากของต้นที่เหลือ

- เริ่มให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบหลังจากต้นโตได้ใบ 4-5 คู่แล้ว
- แคนตาลูปเป็นพืชเลื้อยไม่มีมือเกาะ เมื่อเถาเริ่มยาว (สูง) ขึ้นให้ใช้เชือกผูกเข้ากับหลักหรือไม้ค้าง พร้อมกับใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งผูกหลวมๆที่ยอดแล้วยกขึ้นเพื่อนำยอดขึ้นสูง

เมื่อเถายาวขึ้นก็ให้ยกยอดสูงตามขึ้นไปเรื่อยๆ พยายามรักษาให้เถาตรงอยู่เสมอ
- ผลจาการเตรียมดินดีทำให้ได้ใบและเถาขนาดใหญ่ ซึ่งจะส่งผลไปถึงผลผลิตที่คุณภาพดีอีกด้วย

การตัดยอดเพื่อเอาผล :
ปลูกขึ้นค้างแบบ 2 กิ่งแขนง :

- หลังจากต้นกล้าโตได้ใบ 5-7 ใบแล้วให้เด็ดยอดเหนือข้อของใบสูงสุดประมาณ ½ ซม. ทาแผลรอยด้วยปูนกินหมากเพื่อป้องกันเชื้อโรค

- หลังจากตัดยอดแล้วให้ปุ๋ยทางราก 25-7-7 อัตรา 1-2 ช้อนชา/ต้น โดยละลายน้ำรดหรือโรยแล้วรดน้ำตามโชกๆเพื่อละลายปุ๋ยก็ได้ .... จากนั้นต้นจะแตกยอดใหม่จากข้อใต้รอยตัด 2-3 ยอด เรียกว่า “ยอดแขนง”

- พิจารณาตัดทิ้งยอดแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกแล้วเก็บยอดแขนงที่สมบูรณ์ไว้ 2 ยอด ซึ่งยอดแขนงนี้ คือ ยอดที่จะเอาผลในอนาคต เริ่มจัดระเบียบยอดแขนงให้เลื้อยไปในทิศทางที่จะไม่ชิดกับกิ่งแขนงข้างเคียงจนผลเบียดกัน และเพื่อให้ใบทุกใบได้รับแสงแดดด้วย

- เมื่อยอดแขนงทั้งสองโตจะแตกยอดพร้อมกับดอกออกมาใหม่ตามข้อ (ที่ข้อมีใบ) ทุกข้อ ให้เด็ดยอดและดอกตั้งแต่แรกล่างสุด ถึงยอดที่ 9 ทิ้งทั้งหมด แต่ให้คงเหลือใบไว้ วิธีเด็ดยอดและดอกทิ้งเหลือแต่ใบนี้ วัตถุประสงค์หลัก คือ การไว้เถาและใบสำหรับเลี้ยงผลนั่นเอง

- หลังจากเด็ดยอดครบทั้ง 9 ยอดแล้ว ให้เก็บดอกระหว่างข้อที่ 10 ถึงข้อที่ 13 ไว้ รอจนกระทั่งดอกพัฒนาเป็นผลจึงพิจารณาตัดทิ้งผลไม่สมบูรณ์ออก 2 ผล แล้วเก็บผลที่สมบูรณ์ไว้เพียง 1 ผล .... จากเถาต้นตอ 1 เถาหรือ 1 ต้นแล้วแตกแขนงเป็น 2 แขนง ใน 1 แขนงไว้ผล 1 ผล จึงเท่ากับเถาต้นตอ 1 ต้นหรือ 1 เถาได้ผล 2 ผลนั่นเอง

ปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง :
- การบำรุงระยะกล้า. การเด็ดยอดกับดอก. การไว้ผล. ปฏิบัติเหมือนการปลูกแบบขึ้นค้าง
- ระยะที่เถาเจริญเติบโตเลื้อยไปกับพื้นนั้น ให้จัดระเบียบเถาไม่ให้ทับซ้อนกัน
- แคนตาลูปพันธุ์เบา (ซันเลดี้. เรดควีน.) ไว้ผลกิ่งแขนงละ 2 ผลได้ โดยให้แต่ละผลห่างกัน 8-10 ข้อใบ

- หลังจากติดเป็นผลแล้ว ให้จัดหาวัสดุรองรับผลไม่ให้ผิวสัมผัสพื้นโดยตรง พร้อมกับห่อผลเพื่อรักษาสีผิวให้สวย

ปลูกขึ้นค้างแบบ 3 กิ่งแขนง :
- การปฏิบัติเหมือนการปลูกให้เลื้อยไปกับพื้นแบบ 2 กิ่งแขนง ต่างกันที่ให้ไว้กิ่งแขนงที่เกิดจากการตัดยอดครั้งแรก 3 กิ่ง

- ไว้ผลจากกิ่งแขนงทั้ง 3 นี้ ณ ข้อใบที่ 13-14 กิ่งแขนงละ 1 ผล เท่ากับเถาต้นตอ 1 เถาได้ 3 ผล
หมายเหตุ :
- สายพันธุ์ติดผลดกสามารถไว้ผลมากกว่า 1 ผล/1 กิ่งแขนงได้ โดยไว้ผลที่ 2 สูงหรือห่างจากผลแรก 8-10 ข้อใบ ทั้งนี้จะต้องเลี้ยงเถาให้มีความยาวรอไว้ก่อน

- หลังจากได้จำนวนผลไว้ตามต้องการแล้ว ให้หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากข้อที่อยู่สูงกว่าผลขึ้นไปทุกยอด เพื่อไม่ให้เกิดดอกจนเป็นผลซ้อนขึ้นมาอีก และเมื่อเถาโตจนถึงใบที่ 24-25 ก็ให้ตัดยอดเพื่อหยุดการเติบโตของเถา และเพื่อบังคับให้ต้นส่งธาตุอาหารไปเลี้ยงผลที่ไว้อย่างเต็มที่

- แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น การให้สารอาหารต่างๆ ผ่านทางใบนั้นให้ได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่พอเพียง แนวทางแก้ไขคือ เตรียมสารอาหารต่างๆให้พร้อมไว้ในดินหรือวัสดุปลูกก่อนลงมือปลูก ทั้งนี้สารอาหารที่แคนตาลูปต้องใช้จริงจำนวน 3 ใน 4 ส่วนได้จากดินหรือวัสดุปลูก กับ 1 ใน 4 ส่วนได้จากทางใบ

การปฏิบัติอื่นๆ
1. การเด็ดตาข้าง จะปล่อยให้แตงเลื้อยเฉพาะเถาหลัก จะเด็ดตั้งแต่ข้อที่ 1-7 สำหรับทุกพันธุ์ เพื่อไม่ให้แตกแขนง

2. การเด็ดยอด เมื่อเถายาวประมาณ 170 เซนติเมตร หรือมีใบประมาณ 25-26 ใบ

3. ระยะออกดอก
ทางใบ :

- ให้ 15-30-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ
- ให้ เอ็นเอเอ. 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 3 วัน
ทางราก :
-ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) + 25-7-7 (1-2 กก.) ละลายน้ำให้เข้ากันดี ให้โคนต้น ให้ครั้งเดียวถึงระยะสะสมตาดอก
- ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
หมายเหตุ :
- ธรรมชาติของแคนตาลูปออกดอกเองเมื่อโตได้อายุโดยไม่ต้องเปิดตาดอก ก่อนถึงช่วงออกดอก 7-10 วัน ถ้าได้รับสารอาหารทางใบกลุ่มสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (0-42-56 หรือกลูโคส อย่างใดอย่างหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม เพียง 1 รอบเท่านั้นก็จะช่วยให้ดอกที่ออกมาสมบูรณ์ดีกว่าไม่ได้ให้เสียเลยหรือปล่อยให้ออกแบบตามมีตามเกิด นอกจากนี้ต้น (เถา) ยังเขียวเข้มอวบอ้วนและเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเข้าไปทำงานอีกด้วย

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้ว หรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ด้วยวิธีให้เดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้

- การช่วยผสมเกสรด้วยมือโดยเด็ดดอกตัวผู้ ตัดกลีบดอกออกทิ้งเหลือแต่ก้านเกสรตัวผู้ นำไปผสมกับเกสรตัวเมียของดอกที่คงไว้จะช่วยให้ดอกนั้นพัฒนาเป็นผลคุณภาพดี

4. ระยะผลเล็ก-กลาง :
ทางใบ :

ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นพอปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ปลูกในแปลง ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) +21-7-14 (1-2 กก.) ละลายเข้ากันดี ให้โคนต้น ด้วยระบบให้น้ำที่ใช้
หมายเหตุ :
- ให้ปุ๋ยอินทรีย์ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำตาลทางด่วน ช่วงผลเล็ก 1-2 ครั้ง เมื่อผลใหญ่ขึ้นจะมีคุณภาพดี

5. ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ 0-21-74 + สารสมุนไพร 1 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ให้อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนเก็บ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้น
- ให้ 13-13-21 ละลายน้ำแล้วผ่านไปกับระบบน้ำที่ใช้งาน
หมายเหตุ :
- ถ้าการบำรุงดีถูกต้องสมบูรณ์แบบจริงๆ อายุผลตามสายพันธุ์ของแคนตาลูปจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นั่นคือ สามารถเก็บเกี่ยว ณ วันครบอายุได้เลย

- มาตรการงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อคุณภาพ (เนื้อ กลิ่น รส) ของแคนตาลูป กรณีที่ให้น้ำผ่านระบบน้ำหยดจะต้องหยุดให้ก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วัน ขั้นตอนนี้อาจเปิดหน้าดินโคนต้นเสริมด้วย

- แคนตาลูปไม่ใช่ผลไม้รสหวานจัด ดังนั้นการให้ปุ๋ยเพื่อเร่งหวานทั้งทางใบและทางรากจะช่วยให้รสหวานจัดขึ้น

- พิสูจน์คุณภาพผลด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหอมแสดงว่าดี ถ้าไม่มีกลิ่นหอมแม้จะเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันก็ไม่กลิ่น

- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

การเก็บเกี่ยว :
ผลสุกแก่ :
พันธุ์ผิวร่างแห จะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสี และอ่อนนุ่น และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอม เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว

การเก็บเกี่ยว : ต้องเก็บเกี่ยวในระยะที่พอดี หากเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปจะได้ผลอ่อน รสชาดยังไม่หวาน และน้ำหนักน้อย .... หากเก็บเกี่ยวช้า ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่ม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมขึ้นกับสายพันธุ์ คือ

พันธุ์เบา : อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วัน หลังดอกบาน,
พันธุ์ปานกลาง : อายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40-45 วัน หลังดอกบาน
พันธุ์หนัก : อายุเก็บเกี่ยวเกิน 80-85 วัน หลังเพาะเมล็ดหรือ 50-55 วัน หลังดอกบาน

- “ทำแคนตาลูปต้นละ 2 ลูก 3 ลูก” .... เลือกพันธุ์ ซันเลดี้. หรือ เรดควีน. โดยการบำรุงระยะกล้า. การเด็ดยอดกับดอก. การไว้ผล. ปฏิบัติเหมือนการปลูกต้นละ 1 ลูก ดังนี้

วิธีที่ 1 (1 ต้น = 2 ยอด ๆละ 1 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงให้ต้น (เถา) โตตามปกติ ให้ตัดเถาที่ข้อใบที่ 8-10 แล้วบำรุงต่อไป เถานี้จะแตกยอดใหม่หลายยอด ให้เลือกยอดแตกใหม่ไว้เพียง 2 ยอด ซ้าย-ขวา บำรุงยอดที่แตกใหม่ต่อไปให้โต กลายเป็นแคลตาลูป 2 ต้น (2 ยอดใน 1 ต้น) ให้บำรุงตามปกติจนมีดอก เมื่อมีดอกให้เลือกเก็บดอกข้อที่ 8-12 ไว้

วิธีที่ 2 (1 ต้น = 2 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงเลี้ยงตามปกติจนกระทั่งออกดอก เด็ดดอกทิ้งทั้งหมด ให้เหลือดอก ณ ข้อใบที่ 8-10 ไว้สำหรับเป็นผล บำรุงต่อไปให้ออกดอกมาอีก จนได้ดอก ณ ข้อใบที่ 16-18 เหนือดอกแรก ให้เก็บไว้สำหรับเป็นผลที่ 2 ของต้น ส่วนดอกที่อยู่ต่ำกว่าดอกที่ 2 ลงมากับดอกที่เหนือดอกที่ 2 ขึ้นไป ให้เด็ดทิ้งทั้งหมด จากนั้นก็ให้บำรุงต่อไปตามสูตรบำรุงผล

วิธีที่ 3 (1 ต้น = 3 ยอด ๆละ 1 ลูก) : หลังจากปลูกลงไปแล้ว บำรุงเลี้ยงตามปกติจนกระทั่งออกดอก เด็ดดอกทิ้งทั้งหมดแล้วตัดยอด ณ ข้อใบที่ 13-14 บำรุงต่อไป เมื่อมียอดแตกใหม่เป็นกิ่งแขนง เลี้ยงกิ่งแขนงจนออดอก เก็บดอก ณ ข้อใบที่ 13-14 ไว้ แขนงละดอก แล้วเด็ดดอกล่างกับดอกบนเหนือดอกที่เอาไว้ออกให้หมด บำรุงต่อไปด้วยสูตรบำรุงผลขยายขนาด

หมายเหตุ :
- เลือกสายพันธุ์ที่ติดผลดกได้ตามธรรมชาติสายพันธุ์ สามารถไว้ผลมากกว่า
- หลังจากปลูกลงไปแล้วต้องบำรุงให้ต้นสมบูรณ์ที่สุด
- หลังจากได้จำนวนผลตามต้องการแล้ว หมั่นเด็ดยอดแตกใหม่จากทุกข้อ
- เถาแคนตาลูปจะหยุดโตต่อเมื่อถึงข้อใบที่ 24-25
- แคนตาลูปมีช่วงพัฒนาการทุกช่วงค่อนข้างสั้น การให้สารอาหารต่างๆ ผ่านทางใบและทางราก อย่างเพียงพอ

ปลูกโดยไม่แคนตาลูปไม่ใช้ดิน :
งานวิจัยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ได้เริ่มมานานแล้วในภาควิชาปฐพีวิทยา ตั้งแต่อยู่ที่วิทยาเขตบางเขน และในปี พ.ศ. 2513 Dr.C.J. Asher จากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มาช่วยงานที่ภาควิชาฯ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในฐานะ Visiting Professor ของ SEATO ก็นำวิธีการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารมาแนะนำให้ผู้ที่เรียนวิชา Plant Nutrition ในขณะนั้นใช้เป็นวิธีการที่ทำให้รู้จักและคุ้นเคยกับอาการขาดธาตุอาหารพืชธาตุต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดมีกลุ่มอาจารย์จำนวนหนึ่งได้นำเทคนิคดังกล่าวมาดัดแปลงให้มีความเหมาะสมที่ใช้เป็นเกษตรทางเลือก และได้นำออกไปปฏิบัติจริงในลักษณะของการสาธิตในพื้นที่เกษตรกรหลายตำบล ภายใต้โครงการอีสานเขียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 และต่อมาก็ได้มีการจัดทำรายงานที่แสดงให้เห็นว่า การปลูกโดยวิธีดังกล่าวนี้ สามารถนำไป ใช้ได้ในเชิงการค้าอีกด้วย

ในด้านของการผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่นั้น เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้ถูกนำไปใช้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในระดับปริญญาโทอีกหลายคนเช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอในที่ประชุมสัมมนาระหว่างชาติที่ประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2533 รวมทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ (พ.ศ. 2546) ยังมีผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดินและปุ๋ยอีกจำนวน 2 เรื่องด้วยกัน

สำหรับข้อเขียนที่นำเสนอในครั้งนี้ มีความประสงค์ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปลูกแตงเทศโดยไม่ใช้ดิน เพื่อเป็นเกษตรทางเลือกแก่ผู้สนใจที่อยากทำการเกษตร แต่มีพื้นที่จำกัด หรือมีพื้นที่ที่ดินมีปัญหา หากจะทำการปรับปรุงแก้ไขต้องใช้เงินลงทุนสูง

วิธีการปลูก
การเตรียมกล้า :

นำเมล็ดแคนตาลูปคลุกกับยากันเชื้อราแล้วนำไปบ่มในถาดเพาะเมล็ดนาน 36 ชั่วโมง คัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่มีรากงอกยาว 0.2 ซม. ปลูกในถ้วยเพาะที่บรรจุขุยมะพร้าว รดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นเพียงครึ่งหนึ่งของความเข้มข้นที่แสดงไว้ในข้อ 2 หลังการหยอดเมล็ดแล้ว 14 วัน จะได้กล้าของแตงเทศที่พร้อมจะย้ายปลูกต่อไป

การเพาะกล้าแคนตาลูปในถาดเพาะเมล็ด
การย้ายปลูก :

นำกล้าแคนตาลูป (ข้อ 1) ย้ายลงปลูกในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของขุยมะพร้าวและแกลบสด อัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร ที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกขนาดความจุ 15 ลิตร ถุงละ 1 ต้น ให้สารละลายธาตุอาหารพืชที่มีความเข้มข้นของแต่ละธาตุดังนี้ คือ (มก. ต่อลิตร) N 168, P 24.8, K 172, Ca 160, Mg 38, M S 52, Fe 7, Mn 1.1, Zn 0.4, Cu 0.2, B 0.4 และ Mo 0.04 ตามลำดับ (Asher, 1975) สาร ละลายธาตุอาหารพืชดังกล่าวจะบรรจุในถังพลาสติกขนาดจุ 100 ลิตร ที่วางอยู่สูงจากพื้น 2 ม. และจะถูกปล่อยให้กับต้นพืชแต่ละต้น โดยระบบน้ำหยดที่ควบคุมด้วยประตู เปิด-ปิด ที่ถังสารละลาย ร่วมกับหัวน้ำหยด ดังแสดงในภาพที่ 1 และ 2

การให้สารละลายดังกล่าวจะกระทำในช่วงเวลาประมาณ 8.00-17.00 น. ของทุกวัน ตลอดฤดูปลูกโดยมีปริมาณที่ให้เฉลี่ยแต่ละวันเท่ากับ 1 ล./ต้น

ถังใส่สารละลายธาตุอาหาร :
ผลการทดลอง :

1. การเจริญเติบโต หลังการย้ายปลูก แคนตาลูปมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มออกดอกตัวผู้ดอกแรกที่อายุ 17 วัน และสามารถช่วยผสมเกสรให้ดอกตัวเมียดอกแรกที่ 27 วันหลังย้ายปลูก การเก็บเกี่ยวผลสามารถกระทำได้ภายใน 31-39 วันหลังการผสม

2. ผลผลิตและคุณภาพ น้ำหนักของผลแคนตาลูป ที่เก็บเกี่ยวได้มีค่าความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 908-1391 กรัมต่อผล โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1162 กรัมต่อผล ในขณะที่ค่าความหวานวัดเป็นองศา Brix มีค่าอยู่ระหว่าง 9.8-13.0 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.7 องศา Brix

3. การแต่งเถาและไว้ลูก ตัดแต่งเถาตามวิธีมาตรฐานสำหรับแคนตาลูป แต่ละต้นไว้ลูกเพียง 1 ลูก ในตำแหน่งของข้อที่อยู่ระหว่างข้อที่ 12 ถึงข้อที่ 15

มูลค่าการผลิต (1 ต้นต่อฤดูปลูก) :
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชที่แต่ละต้นใช้ตลอดฤดูปลูก ปรากฏว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70.7 ลิตรต่อต้น ดังนั้น หากจะเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ของวิธีการปลูก โดยใช้ข้อมูลของสุรเดชและคณะที่รายงานไว้เมื่อปี 2535 ที่เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชดังกล่าวจำนวน 100 ลิตร โดยนำปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ดังนี้คือ 12-60-0, 13-0-46, 15-0-0, 21-0-0, 46-0-0, unilate Fe (ธาตุเหล็ก สำหรับการทำนา สวนผลไม้ ทำไร่ ปลูกพืชไม่ใช้ดิน), combined unilate (ผสมกัน) และดีเกลือ (Na2SO4 หรือโซเดียม ซัลเฟต) มาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรากฏว่าต้นทุนเฉพาะปุ๋ยเคมีมีมูลค่าเพียง 5.66 บาท ฉะนั้นต้นทุนปุ๋ยสำหรับแตงเทศ 1 ต้นในการทดลองครั้งนี้จะมีมูลค่าเพียง 4.00 บาทเท่านั้น

www.ku.ac.th/e-magazine/january48/agri/melons.html -
http://www.ku.ac.th/e-magazine/january48/agri/melons.html

----------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©