-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 ม.ค. * ปุ๋ยมีหลายตัว ตัวไหนสำหรับนาข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 ม.ค. * ปุ๋ยมีหลายตัว ตัวไหนสำหรับนาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 ม.ค. * ปุ๋ยมีหลายตัว ตัวไหนสำหรับนาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/01/2023 4:17 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 ม.ค. * ปุ๋ยมีหลายตัว ตัวไหนส ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัด
วัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 4 ก.พ. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************

***********************************************************************

จาก : 08 271x 617x
ข้อความ : ขอความรู้ประสบการณ์ตรงเรื่องนาข้าว เอาไปเขียนรายงานครับ

จาก : 09 186x 023x
ข้อความ : ปุ๋ยคืออาหารของพืช ปุ๋ยมีหลายตัว ตัวไหนสำหรับนาข้าว

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

42. นา-ข้าว vs ข้าว-นา :

อ้างถึง :
ข่าว ทีวี : ส่งออกข้าวไทย ...

ยอดส่งออกข้าวไทยปี 2561 ทะลุ 11.13 ล้านตัน เป็นอันดับ 2 รองอินเดีย ส่วนปี 2562 ตั้งเป้า 10 ล้านตัน

กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2561 ไทยสามารถส่งออกข้าวคิดเป็นปริมาณ 11.13 ล้านตัน ลดลง 3.36% แต่มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 11 ล้านตัน มูลค่า 5,623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น

ปี 2562 ปริมาณส่งออกอาจปรับลดลงมาจากปี 2561 แต่ก็ยังน่าจะได้ถึง 10 ล้านตัน ซึ่งสาเหตุที่การส่งออกข้าวชะลอตัวลงมา เพราะราคา ข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก โดยข้าวหอมมะลิไทยราคาส่งออกขึ้นไปถึง 1,142 ดอลลาร์/ตัน ....


COMMENT : ข่าว คือ ข่าว มีแต่ W. ไม่มี H. ไม่ใช่แต่ข่าวเกษตรเท่านั้น รายการสารคดีเกษตรก็มีแต่ W. ไม่มี H. ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนทำรายการเกษตร ทีวี. เขาคิดยังไง คิดบ้างไหมว่า คนดู ทีวี. แล้วได้อะไร ? หรือไม่ ? แค่ไหน ?

ต้นทุนนาข้าว :
* นายกสมาคมชาวนาแห่งประเทศไทย .................... ต้นทุนไร่ละ 8,000
* ประธานสภาเกษตรกร ประพัทธ์ ปัญญาชาติรักษ์ ....... ต้นทุนไร่ละ 3,000
* ชาวนายุคใหม่ (อ่างทอง/สุพรรณบุรี/อยุธยา/ฯลฯ) ..... ต้นทุนไร่ละ 1,000
* ลุงคิม ...................................................... ต้นทุนไร่ละ 1,000 (-)


จาก : (089) 165-36xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี. ปี 61 ข้าวไทยราคาแพงกว่าประเทศคู่แข่ง อยากลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยเคมี ถ้าเราไถกลบฟางแล้วจะได้ธาตุอาหารจากฟาง หรือไม่ เท่าไร....
ตอบ :
นาข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี..... ไนโตรเจน 32 กก., ฟอสฟอรัส 22 กก., โปแตสเซียม 8 กก., แคลเซียม 14 กก., แม็กเนเซียม 6 กก., กำมะถัน 2 กก., ซิลิก้า 13 กก., ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


จาก : (068) 248-19xx
ข้อความ : กราบคุณตาผู้พัน อาจารย์เกษตรบอกว่า ปีนี้ข้าวไทยจะสู้ข้าวต่างประเทศไม่ได้ สาเหตุ ข้าวไทยต้นทุนสูง คุณภาพไม่ดี หนูอยากขอข้อมูลเกี่ยวกับธาตุอาหารสำหรับนาข้าวค่ะ จะเอาไปเขียนรายงาน .... หลานปูเป้ นครสวรรค์
ตอบ :
- ยูเรีย.
ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สม บูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว


สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ..... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก....

ยูเรียต่อต้น : ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

ยูเรียต่อเมล็ด : เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

ยูเรียต่อคุณค่าสารอาหาร : ความเข้มข้น (%) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

- มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ สะสมอยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำ ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วย แล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....

แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร (จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อ เท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ

- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....

ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....

ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....

ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว) จะมีรวงยาว....

ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....

การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ “แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วันและให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1698&page=1
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว


- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง
- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริมฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ


สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.


จาก : (089) 523-60xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี.เรื่องข้าวไทยปีนี้ ราคาถูกกว่าของเวียดนาม ที่จริงมันเป็นมานานแล้ว ข้าวไทยราคาแพงเพราะต้นทุนสูง นาเคมี 46-0-0, 16-20-0 ต้นทุนไร่ละ 1,800 อยากเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยไร่กล่อมแกล้ม ลุงคิมช่วยคิดต้นทุนค่าปุ๋ยให้หน่อย....ขอบคุณ
ตอบ :
ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป. หัวโต. ใบโต. แคลเซียม โบรอน. ระเบิดเถิดเทิง สูตรอินทรีย์เพียวๆ สูตรอินทรีย์/เคมี สูตรปรับโมเลกุล. ปุ๋ยทางใบ ชนิดน้ำ .... ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ทำเททิ้ง

จะบอกให้....ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำที่ขายในเมืองไทย ส่งออกด้วย ทั้งขายส่ง ขายปลีก ขายตรง ขายผ่านเน็ต ทุกสูตรทุกยี่ห้อ ทำ "ไต้ถุนบ้าน" (เน้นย้ำ....ไต้ถุนบ้าน) ทั้งนั้น

ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ที่สัมภะเวสีผีจรจัดเร่ขาย ลิตรละ 4,000 ลิตรละ 10,000 ซื้อไปได้ยังไง ทั้งๆที่เนื้อในก็คือ"ปุ๋ย 14 ตัว" เหมือนกัน

คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำเป็นทำได้ด้วย “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเองทั้งนั้น

ต้นทุนค่าปุ๋ยนาข้าว 20 ไร่
- ปุ๋ยลุงคิม (ระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า) ครบสูตร ......... 10,000
- ค่าปุ๋ยเสริม (16-8-8, 18-38-12, 0-5234) ....................... 5,000
** รวม 15,000 ..... หรือ 15,000 หาร 20 = ไร่ละ 750

ต้นทุนในการปลูกข้าวของชาวนา :
1. ค่าไถนา
2. ค่าย่ำเทือก
3. ค่าลูบเทือก
4. ค่าเมล็ดพันธุ์
5. ค่าจ้างหว่าน

6. ค่าปุ๋ยเคมี
7. ค่าจ้างหว่าน
7. ค่าสารเคมี
8. ค่าจ้างฉีด
10. ค่าเกี่ยว

11. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
12. ค่าเช่านา
13. ค่าภัยธรรมชาติ
14. ฯลฯ
15. ฯลฯ

**** แก้ไขโดย ตัด ลด เพิ่ม ปรับ เปลี่ยน ปล่อยตามธรรมชาติ เสริมธรรมชาติ

จาก : (095) 166-37xx
ข้อความ : ข่าวทาง ทีวี. เรื่องราคาข้าวไทยในตลาดโลกราคาต่ำกว่าประเทศอื่น แต่ต้นทุนของไทยกลับสูงกว่า แบบนี้ชาวนาไทยจะไปรอดหรือ ผู้พันครับ ทำยังไงถึงจะลดต้นทุนนาข้าวได้ครับ....
ตอบ :
คำพูดในคำถามที่ว่า “ลดต้นทุน” ลุงคิมเพิ่งได้ยินตัวเกษตรกรจริงๆพูด ชนิดเต็มคำเต็มหูครั้งนี้เป็นครั้งแรก ทั้งๆที่ตั้งสโลแกนไว้ว่า“ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ/คุณภาพ)-ต้นทุนลด-อนาคตดี” น่าจะสร้างแรงจูงใจได้มากกว่านี้ เทียบกับจากนักส่งเสริมคนอื่นๆ ตั้งแต่นักการภารโรงถึงอธิบดี ตั้งแต่ สมช.มูลนิธิถึงนายก ก็ไม่พูดเรื่อง “ต้นทุน” แบบตรงๆ ถึงพูดก็แค่เอ่ยคำนี้ออกมาพอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่มีรายละอียดที่นำไปปฏิบัตินำไปทำได้ เกือบทั้งหมดพูดแต่ “ราคาขาย ราคาขาย” ต้องแพง ๆ ๆ เท่านั้นเท่านี้ชาวนาถึงจะอยู่ได้

ว่ามั้ย วันนี้ข้าวสารพร้อมหุงราคา กก.ละ 30 นั่นจากต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 8,000 ถ้าต้นทุนค่าข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 ราคาข้าวสารพร้อมหุงมิ กก.ละ 60 หรอกรึ แบบนี้ถามจริง คุณเดือด ร้อนด้วยมั้ย

เอาเป็นว่า “ต้นทุน” คือ รายจ่ายที่เราต้องจ่ายออกไป จ่ายเป็นเงิน จ่ายเป็นค่าแรง ค่าพื้นที่ ค่าเวลา ค่าโอกาส .... อย่างค่าแรง ตัวเองทำเอง ไม่ต้องจ่ายแต่ได้เนื้องาน รับจ้างไม่ได้เนื้องานของตัวเองแต่ได้เงิน กับรายจ่ายอย่างอื่นก็อีหร็อบเดียวกัน

ชาวนาหรือเกษตรกรอาชีพอื่นๆ ต่างก็ชอบ “ง่ายๆ-เร็วๆ” ดี/ไม่ดี-แพง/ไม่แพง ไม่ว่า ..

“ง่ายๆ” ง่ายน่ะดีแต่ผิด ผิดธรรมชาติความต้องการของต้นข้าว มีแต่เสียกับเสีย
“เร็วๆ” ใส่ปั๊บได้ผลทันใจ แต่ได้ผลแค่วูบเดียวแล้วกลับไปอย่างเดิม นี่ก็คือเสียกับเสีย

ปัญหา“ต้นทุน” นาข้าวที่ถามมา เอาเรื่อง “ปุ๋ย” อย่างเดียวก่อนก็แล้วกัน เรื่องอื่นว่ากันทีหลัง เช่น ทำเทือก หว่านปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมียูเรีย16-20-0 ยาฆ่ายาคุมหญ้า สารเคมียาฆ่าแมลง อันนี้เคยทำหรือว่าทำอยู่ยังไงก็ทำไป

ปรับเพิ่มเป็นนาข้าวแบบ “เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน” ....
* ตอนทำเทือก ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 ซัก 2 ล./ไร่
* ระยะแตกกอ ให้ทางใบด้วย ไบโออิ + สารสมุนไพร 3 รอบ
* ระยะออกรวง ให้ ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ
* ระยะน้ำนม ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 3 รอบ

แต่ละรอบๆ ที่ว่า แบ่งระยะเวลาให้ห่างกันรอบละ 7-10 วัน/ครั้ง ไหวไหม บางคนบอกถี่ไปไม่มีเวลา ก็ถ้าให้ห่างเดือนละครั้ง หรือไม่ได้ให้ทางใบเลย ให้แต่ทางดินอย่างเดียว แบบเดิมๆ แล้วมันจะดีขึ้นได้ไง

งานนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ แบบเดิมๆใส่ปุ๋ย 2 กส.ได้ปุ๋ยแค่ 2 ตัว ตัวหน้ากับตัวกลาง แต่ปุ๋ยที่ลุงคิมแนะนำได้ ตัวหน้า ตัวกลาง ตัวท้าย ธาตุหลักครบ 3 ตัว ได้ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน จุลินทรีย์ สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ปะจำถิ่น ครบถ้วน ก็เหลือแต่ ทำเองหรือซื้อ เท่านั้นแหละ

นี่พูดเรื่องปุ๋ยอย่างเดียว ในขณะที่ข้าวซึ่งก็คือพืช พืชย่อมต้องมีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต คือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร (ปุ๋ย)-สายพันธุ์-โรค ทั้งหมดนี้ต้องไปด้วยกันพร้อมกัน เหมาะสม สมดุลซึ่งกันและกัน หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งผิดเพี้ยนไป ย่อมส่งผลถึงการเจริญเติบโตของพืชหรือต้นข้าว สุดท้ายสุทธิจริงๆ ก็คือ “ขาดทุน” นั่นแล....

นาข้าวอยากรวย ต้องทำ “นาข้าวแบบประณีต” ได้ ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณ คุณภาพ) ต้นทุนลด (ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโนฯ) อนาคตดี (ทำตามพันธะสัญญา)

* ข้าวไรซ์เบอรี่พร้อมหุง กก.ละ 150 นี่คือ เกวียนละ 150,000 เราเอาแค่ กก.ละ 50 = 50,000 กก.ละ 30 = 30,000 ก็พอ ว่ามั้ย.... ไม่เอาข้าวสีดำ ข้าวสีขาวก็เป็นอีกทางเลือก มีคนทำได้ ....

* ข้าว กข. (กู ขอ) 500 ขายเป็นข้าวเปลือก โรงสีให้เกวียนละ 8,000 ขณะที่รัฐบาลประกันเกวียนละ 12,000 แต่ถูกตัดราคาค่าคุณภาพ ....

* ขายได้เท่าเดิม ขายได้เท่าข้างบ้าน แต่ต้นทุนต่ำกว่า ย่อมได้กำไรมากกว่า....
* ซื้อทุกอย่าง แพงก็ซื้อ ผิดก็ซื้อ ใช้แล้วทำแล้วไม่มีอะไรดีขึ้นก็ยังทำ....


จาก : (090) 823-71xx
ข้อความ : ข่าวราคาข้าวไทยในตลาดโลก เห็นแล้วน่าเป็นห่วง ถ้าต้นทุนไม่ลด คุณภาพไม่ดี ไม่ใช่ตลาดต่างประเทศเท่านั้น ตลาดในประเทศก็อยู่ไม่ได้ นาข้าวใส่ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า เผาฟาง นาหว่านแบบเดิมทุกรายการ วันนี้วัชพืชกำลังแซงข้าว ทำยังไงดีครับ....
ตอบ :
นาข้าวสูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน"
นาข้าวที่กำจัดวัชพืชไม่หมด ต้นข้าวโตขึ้นมาแล้วมีต้นข้าวกับต้นวัชพืช "ครึ่ง : ครึ่ง" จนเต็มนา แนะนำให้ใช้สูตร "เลยตามเลย หรือ ไหนไหนก็ไหนไหน" เพราะกำจัดวัชพืชไม่ได้แล้ว โดยเน้นบำรุงทางใบเป็นหลัก.....ดังนี้

ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ฮอร์โมนไข่ไทเป 100 ซีซี. + 46-0-0 จี. 200 กรัม + สารสกัดสมุนไพรสูตรรวมมิตร 200 ซีซี." 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร"สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น"น้ำ 100 ล. (พีเอช 6.0) + ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี." ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน

- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

-----------------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©