-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ม.ค. * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย – ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ม.ค. * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย – ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ม.ค. * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย – ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 05/01/2023 4:11 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ม.ค. * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย – ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 6 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 7 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 472x 163x
ข้อความ :
1. น้ำหมักชีวภาพมีธาตุอาหารจาก วัสดุที่เอามาทำ วิธีการทำ
2. ปุ๋ยเคมี อินทรีย์ แห้ง น้ำ ทางใบ ทางราก ต้องมี ตัวปุ๋ย กับจุลินทรีย์ เป็นหลัก
3. ปุ๋ย ทุกตัว ทุกอย่าง ทุกประเภท พืชเอากินได้ต้องอาศัยแม่ครัวจุลินทรีย์ จริงค่ะ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ความเป็นจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คือ ในระบบราชการนั้น “นโยบาย” กับ “การปฏิบัติ” มักจะสวนทางกันอยู่เสมอ ปุ๋ยเคมีในกระสอบที่เป็นสารอาหารของต้นข้าวมีเพียง “ธาตุหลัก” เท่านั้น ในขณะที่ต้นข้าวยังต้องการ ธาตุรอง. ธาตุเสริม. และฮอร์โมน. ซึ่งปุ๋ยเคมีในกระสอบไม่มีธาตุอาหารเหล่านี้ หรือมีแต่ไม่มากเนื่องจากบริษัทผู้ผลิตใส่เติมให้แต่ก็ต้องจ่ายเงินซื้อแพงขึ้น ในต้นพืชในแปลงนา ได้แก่ ฟาง. หญ้า. วัชพืช. ซึ่งพืชเหล่านี้เคยได้อาศัยปุ๋ยของต้นข้าวไปพัฒนาตัวเอง เมื่อไถกลบแล้วเน่าสลายก็จะกลายเป็นปุ๋ย เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยพืชสด” ปุ๋ยเหล่านี้ถือเป็นสารอาหารพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อินทรีย์สาร หรือ สารอินทรีย์” ซึ่งนอกจากใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นข้าวโดยตรงได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงสภาพโครงสร้างดิน และจุลินทรีย์ อีกด้วย

นาข้าวเนื้อที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี ไนโตรเจน 32 กก. ฟอสฟอรัส 22 กก. โปแตสเซียม 8 กก. แคลเซียม 14 กก. แม็กเนเซียม 6 กก. กำมะถัน 2 กก. ซิลิก้า 13 กก. ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ในปุ๋ยน้ำชีวภาพสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน มีส่วนผสม 2 ประเภท ได้แก่ ส่วนผสมที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากกระบวรการย่อยสลาย “ปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. มูลค้างคาว. นม. น้ำมะพร้าว. ฮิวมิค แอซิด. จุลินทรีย์. อะมิโนโปรตีน. ฮอร์โมนธรรมชาติ. สารท็อกซิค.” กับส่วนผสมที่เป็นสารอาหารจากปุ๋ยเคมีประกอบด้วย “ธาตุหลัก. ธาตุรอง. ธาตุเสริม. ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์” ซึ่งได้ใส่เติมเพิ่มลงไปก่อนใช้งาน เพื่อชดเชยปริมาณสารอาหารในสารอินทรีย์ซึ่งอาจจะมีน้อยให้พอเพียงต่อความต้องการที่แท้จริงของต้นข้าว ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอื่นๆ

จากประสบการณ์ตรงที่เคยพบว่าพืชประเภทนี้ต้องการสารอาหารกลุ่มปุ๋ยเคมีเพียง 1 ใน 10 ของอัตราที่เกษตรกรนิยมใช้ ต้นข้าวก็เหมือนกับพืชทั่วๆไปที่รับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ปากใบและปลายราก การได้รับสารอาหารแบบ “ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สม่ำเสมอ” น่าจะชดเชยปริมาณปุ๋ยเคมีที่ลดลงได้ กอร์ปกับช่วงที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโตในแต่ละระยะนั้น ลักษณะทางสรีระวิทยาพืช (ต้นข้าว) จะบ่งบอกว่าปริมาณสารอาหารหรือปุ๋ยทางดินเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอก็สามารถเติมเพิ่มภายหลังได้ นาข้าวแบบนาดำด้วยรถดำนานอกจากจะให้ผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณสูงกว่านาหว่าน (หว่านด้วยมือ หรือหว่านด้วยเครื่องพ่นเมล็ด) แล้ว การปฏิบัติบำรุงและการป้องกันโรคและแมลงยังง่าย ประหยัดเวลา และแรงงานอีกด้วย



ตอบ :
จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย – ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ :

** จุลินทรีย์ชื่อ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัส ซับติลิส. บาซิลลัส ทูรินจินซิส, ฯลฯ

** ปุ๋ยชื่อ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า ฯลฯ ....

จุลินทรีย์กับปุ๋ย คือ คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน เปรียบเสมือน ปุ๋ยคือข้าวสาร จุลินทรีย์คือคนหุงข้าวสาร .... ถามว่า คุณจะกินข้าวสารที่หุงแล้ว หรือกินคนหุง

ใส่อินทรีย์วัตถุ (OM) ลงไปในดิน ถ้าไม่มีจุลินทรีย์แปรรูปอินทรีย์วัตถุนั้นก่อน ต้นพืชก็เอาไปกินไม่ได้ อย่าลืมว่า พืชกินอาหารที่เป็นของเหลว โมเลกุลเล็กระดับอะมิโน .... นี่ไง จุลินทรีย์ คือ แม่ครัว ของต้นพืช

ในโลกนี้มีจุลินทรีย์นับล้านชนิด ที่มนุษย์รู้จักและตั้งชื่อแล้วเป็นเพียงเศษเสี้ยวส่วนล้านเท่านั้น เมื่อไม่รู้จักแต่มนุษย์ก็ใช้วิธีแยกประเภท คือ ประเภทมีประโยชน์ กับประเภทมีโทษ เท่านี้ก็พอสื่อสารกันรู้เรื่อง ทั้ง 2 ประเภทแบ่งกลุ่มได้ กลุ่มต้องการอากาศ/ไม่ต้องการอากาศ, กลุ่มต้องการแสง/ไม่ต้องการแสง, กลุ่มต้องการความชื้น/ไม่ต้องการความชื้น, กลุ่มต้องการความร้อน/ไม่ต้องการความร้อน, ฯลฯ (ในเมฆบนท้องฟ้าก็มีจุลินทรีย์....NASA USA.)

12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรีย์วัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่าย เทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ .... ถ้าเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้

14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด ..... ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง

15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ .... จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง

จุลินทรีย์ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง :
หลังจากบด “กุ้งหอยปูปลาทะเล” 20 กก. ด้วยโมลิเน็กซ์ยักษ์จนละเอียดเป็นผงแล้ว ใส่น้ำหมักเก่าที่พร้อมใช้แล้ว 20 ล. ลงไป ในน้ำหมักเก่ามีจุลินทรีย์ “อีแอบ” จุลินทรีย์อีแอบ.คือจุลินทรีย์ตัวเดียวกันกับ “อีเอ็ม” (อีเอ็ม.ทำจากปลาทะเล....ดร.สุริยา ศาสนรักษ์กิจ)

แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ :
- บาซิลลัส ซับติลิส.......................... มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส.................... มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา ..... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส ............................ มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส .......................... มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย ................................. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส ....... มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก .................................. มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์.......................... มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น

- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. ……. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน

บทบาท ความสำคัญ และเกร็ดความรู้ เรื่องจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=13
...........................................................................................................


.





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 4:41 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 06/01/2023 3:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©