-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 พ.ย. * อ้อย 100 ตัน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 พ.ย. * อ้อย 100 ตัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 พ.ย. * อ้อย 100 ตัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/11/2022 7:26 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 พ.ย. * อ้อย 100 ตัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 พ.ย.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494
ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 26 พ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 06 185x 976x
ข้อความ : ขอเรื่องอ้อยครับ

จาก : 08 517x 834x
ข้อความ : อ้อยวังขนาย ไร่ละ 100 ตัน น่าสน

MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

อ้อย 20 ตัน :

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุดในประเทศไทย คือ มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากถึง 7 แสนไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 9.3 ตันต่อไร่ แต่เพราะราคาอ้อยค่อนข้างต่ำ คือ 800-900 บาทต่อตัน เก็บเกี่ยวอ้อยขายส่งโรงงานน้ำตาลแต่ละปีแล้วชาวไร่อ้อยแทบจะไม่เหลือกำไร

ทั้งเกษตรกร ผู้นำชาวไร่อ้อย และวิทยาลัยเกษตรในจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้พยายามคิดหาวิธีเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เพื่อเอาชนะต้นทุนปลูกอ้อยให้ได้

และนี่คือวิธีการปลูกอ้อยให้ได้ 30 ตันต่อไร่ ที่คิดค้นวิจัยโดย คุณเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง เกษตรกรชาวไร่อ้อย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจบุรี รับประกันด้วยรางวัลเกียรติยศ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชไร่ ปี 2550 และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์ดีเด่น ปี 2561

วิธีเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตันต่อไร่ ตามวิธีการของ คุณเสถียร มาเจริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยหลักการ 4 อย่าง คือ


ปรับปรุงดินด้วยปอเทือง :
ดินที่ปลูกอ้อยติดต่อกันหลายปี โดยไม่เอาใจใส่บำรุงดินเลย ดินก็จะเสื่อม แน่น ปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้ผล การปรับปรุงดินจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 30 ตันต่อไร่

วิธีการ คือ หว่านเมล็ดปอเทืองให้ทั่ว 5 กิโลกรัมต่อไร่ ปล่อยให้ปอเทืองเจริญเติบโต ออกดอก แล้วไถกลบหลังหว่านประมาณ 150 วัน จะได้ปุ๋ยพืชสดประมาณ 2 ตันต่อไร่ ทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การเพาะปลูก และยังอุดมด้วยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทชเซียม อีกรวม 10-20 กิโลกรัมต่อไร่


ปรับเวลาปลูกเลี่ยงวัชพืช :
ปกติฤดูหีบอ้อยจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน เกษตรกรชาวไร่อ้อยควรรีบตัดอ้อยให้หมดตั้งแต่ช่วงเริ่มเปิดหีบ แล้วปลูกอ้อยให้ทันในเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ เฉพาะช่วง 3 เดือนนี้เท่านั้น เพราะเป็นช่วงปลายฝนที่ดินยังมีความชื้นอยู่ ปลูกแล้วอ้อยจะเจริญเติบโตเร็ว ขณะที่วัชพืชจะน้อยมาก เพราะกว่าวัชพืชจะทันตั้งตัวอ้อยก็โตและหน้าดินก็เริ่มแห้งเสียแล้ว เป็นสภาพที่ไม่เหมาะให้วัชพืชโตได้

ปรับวิธีปลูกด้วยระยะชิด :
การปลูกอ้อยให้ได้ผลผลิตสูงต้องเพิ่มจำนวนลำต่อไร่ โดยต้องปลูกให้ชิดขึ้นเป็นแบบ 1 ร่อง 4 แถว คือ ร่องปลูก 80 เซ็นติเมตร ให้ปลูกอ้อย 4 แถว ระยะห่างกัน 20 เซนติเมตร วิธีการปลูกให้ฝังท่อนอ้อยลงไปในดินลึก 25 เซนติเมตร แล้วใช้ลูกกลิ้งทับหน้าดินด้วย วิธีนี้ทำให้หน้าดินแน่น เมื่อโดนแดดหน้าดินก็จะแห้งไปทำให้มีวัชพืชน้อย ขณะที่ความชื้นใต้ดินยังมีอยู่เพราะถูกหน้าดินที่ถูกกลิ้งทับกักไว้ เดือนเดียวอ้อยใต้ดินก็จะงอกโตขึ้นมาได้ขณะที่วัชพืชยังไม่ทันโต และสองเดือนอ้อยจะสูงท่วมเอว วัชพืชไม่ได้แดดก็จะเฉาไปเอง ที่สำคัญ การปลูกอ้อยระยะชิดแบบนี้ต้องใช้อ้อยพันธุ์ใบตั้งเท่านั้น เช่น อู่ทอง 8 และ K92-213

เลิกเผาใบอ้อย :
ปัญหาการเผาในที่โล่งแจ้งเป็นสาเหตุของฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกษตรกรจึงไม่ควรเผา โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่มักเผาใบอ้อยก่อนตัดควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย คือ ไม่เผาใบอ้อย แต่ใช้วิธีพรวนระหว่างแถวเพื่อสับใบอ้อยกลับคืนลงไปในดิน วิธีนี้จะช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้ และช่วยให้ดินได้รับปุ๋ยพืชสดเพิ่มขึ้นด้วยไร่ละหลายตัน ไม่ต้องปลูกปอเทืองไปอีกหลายปี

ปลูกอ้อย 30 ตันต่อไร่ ทำได้จริง :
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี ได้นำวิธีการนี้เข้ากระบวนการวัดผลตามรูปแบบของงานวิจัย ในพื้นที่ 7.54 ไร่ ปลูกอ้อย 18,757 ลำต่อไร่ หรือ 12 ลำต่อตารางเมตร พบว่าได้ผลผลิตอ้อยถึง 30.95 ตันต่อไร่ และได้ความหวานถึง 9.96 องศาบริกซ์ จึงได้เผยแพร่ผลงานและจัดฝึกอบรมเกษตรกรให้หันมาปลูกอ้อยด้วยวิธีการนี้มาตั้งแต่ปี 2555

นับว่าเป็นวิธีเพิ่มผลผลิตอ้อยแบบง่ายๆ แต่ได้ผลคุ้มค่าจริงๆ มีบางคนนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ ปลูกอ้อยให้แน่นมากขึ้นกว่านี้ บำรุงดินดี ใส่ปุ๋ยดี และเพิ่มระบบน้ำหยดเข้าไปอีก จนปลูกอ้อยได้ถึง 40-60 ตันต่อไร่ แต่มีปัญหาตอนเก็บเกี่ยว คือ หาคนรับจ้างตัดยากเพราะอ้อยแน่นเกินไป ก็ต้องเลือกเอาว่าจะเอาแค่ 30 ตันต่อไร่ หรือจะเอา 40-60 ตันต่อไร่ไปเลย


ปลูกอ้อย 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ตัน :
นวัตกรรมใหม่ล่าสุดกลุ่มวังขนาย ที่ผ่านมาการทำไร่อ้อยของเกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 10-12 ตันต่อ 1 ฤดูกาล ล่าสุดกลุ่มวังขนายผู้ผลิตน้ำตาล “วังขนาย” ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยที่ได้ผลผลิตสูงถึง 10 เท่า ชนิดที่ไม่มีประเทศไหนทำได้มาก่อน ที่สำคัญคุณสมบัติพิเศษสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทุกจังหวัด จากความสำเร็จ ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย

กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับกลุ่มดำเนิน “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” และเร่งผลักดันให้เกษตรกรได้เพาะปลูก เนื่องจากทำรายได้ที่คุ้มค่า

ธิป โรจนกิจ ผอ.อาวุโสกลุ่มวังขนาย บอกว่า การที่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้ผลผลิตน้อยประมาณอยู่ที่ไร่ละ 10-12 ตันนั้น เพราะใช้ประสบการณ์การปลูกอ้อยแบบดั้งเดิม ส่งผลให้มีต้นทุนในการปลูกสูง ดังนั้น กลุ่มจึงค้นคว้าและศึกษาการปลูกอ้อยด้วยวิธีใหม่ มีเป้าหมายให้ได้ผลผลิตไร่ละ 100 ตัน โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินงานภายใต้ “โครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่” ขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่า เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อยไม่มากนัก และสามารถดูแลได้ทั่วถึง

"นวัตกรรมใหม่ของเราแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เป็นนวัตกรรมที่วังขนายคิดค้นขึ้นจากจิตสำนึกที่เคารพความเป็นธรรมชาติอย่างรอบคอบและรอบด้าน ทุกกระบวนการทางความคิดทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กรรมวิธีเพาะปลูก และดูแลทุกขั้นตอน ถูกคิดค้นและควบคุมให้อยู่ในวงจรบริสุทธิ์ของธรรมชาติ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปลูกอ้อยธรรมชาติ ส่งผลให้ทุกวันนี้วังขนายสามารถปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ได้ผลสมบูรณ์แบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน" ธิปกล่าว

สำหรับหัวใจหลักของการปลูกอ้อยอินทรีย์สูตร 100 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับดิน พันธุ์อ้อย น้ำ และปุ๋ย แปลงอ้อยควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งก่อให้เกิดมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมี กล่าวคือดินต้องดี มีคุณสมบัติครบ 4 ประการ คือ น้ำ อากาศ อินทรีย์วัตถุ และแร่ธาตุ ส่วนพันธุ์อ้อยก็มีความสำคัญ ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความต้านทานต่อศัตรูอ้อย ห้ามใช้พันธุ์อ้อยที่ได้จากการตัดต่อสายพันธุกรรมเด็ดขาด และสุดท้ายคือน้ำและปุ๋ย ต้องมีแหล่งน้ำที่เป็นธรรมชาติ สะอาด ปลอดสารพิษเจือปน ควรปล่อยปลาอาศัยชุกชุม เพื่อรักษาวงจรชีวภาพในแหล่งน้ำให้คงอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามก่อนเริ่มกระบวนการเพาะปลูกปัจจัยแรกสุดที่ต้องให้ความสำคัญและคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน คือพื้นที่เพาะปลูก จะต้องมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี ห่างจากมลพิษทั้งหลายด้วย

ด้าน สุรพล ถ้ำกระแสร์ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 จ.กาญจนบุรี บอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกอ้อยที่ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานส่งผลทำให้มีรายได้น้อย และมีฐานะยากจน ทางสำนักงานจึงมีนโยบายที่จะหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ จึงขอความร่วมมือกับทางกลุ่มวังขนายในการคิดค้นหาวิธีการ จนมาประสบความสำเร็จในโครงการปลูกอ้อย 100 ตันต่อไร่ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของการเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี พร้อมขยายความรู้แก่เกษตรกรปลูกอ้อยตามโครงการดังกล่าว

นับเป็นอีกทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาความรอบคอบด้วย

ที่มา : คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net



8. ประสบการณ์ตรง :
- อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่องมีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใย อ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อยเหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี

- อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูกปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-20 ตัน/ไร่)

- ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่งร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหารได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน..... แปลงอ้อยที่ จ.กำแพงเพชร เตรียมดินด้วย "ปุ๋ยอินทรีย์ ขี่วัวขี้ไก่แกลบดิบ" โดยการไถกลบลงดินลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้นมีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.

- ชาตรี คงอยู่ (081) 841-9874 สมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทย ปลูกอ้อยโรงงานที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เนื้อที่ 20 ไร่ ปรับปรุงบำรุงดินด้วย "ปุ๋ยอินทรีย์ ขี่วัวขี้ไก่แกลบดิบ" ให้น้ำโดยฉีดพ่นสูงข้ามหัว ด้วยเครื่องสูบกำลังสูงเดือนละ 1 ครั้ง ผลรับ อ้อยตอ 8ได้ผลผลิต 14 ตัน สิ้นเปลืองปุ๋ยเคมี 8-24-24 ไม่ถึง 1 กส./20 ไร่/รุ่น

- อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1 ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4 ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่

- อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว

- อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอดชงักการเจริญเติบโต

- อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรงจะแตก "ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง

-------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©