-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เก็บตกงานสัญจรวัดท่าตำหนักนครปฐม(๑) * ข้าวโพดหวาน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เก็บตกงานสัญจรวัดท่าตำหนักนครปฐม(๑) * ข้าวโพดหวาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เก็บตกงานสัญจรวัดท่าตำหนักนครปฐม(๑) * ข้าวโพดหวาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 18/09/2022 5:06 pm    ชื่อกระทู้: เก็บตกงานสัญจรวัดท่าตำหนักนครปฐม(๑) * ข้าวโพดหวาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 19 ก.ย.

***********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้าถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 19 ก.ย. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 24 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก.... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


*****************************************************************************
*****************************************************************************

เก็บตกงานสัญจรวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษตร นครชัยศรี นครปฐม 17 ก.ย. (๑)

สมช. :
ลุงครับ สนใจปลูกข้าวโพด ลุงแนะนำด้วยครับ
ลุงคิม. : ข้าวโพด....โพดเลี้ยงสัตว์ โพดเลี้ยงคน เลือกอันไหน ?

สมช. : ขอโทษครับ....ข้าวโพดหวานเลี้ยงคนครับ ข้าวโพดเทียนด้วย ได้ไหมครับ ?
ลุงคิม. : โพดหวาน ยังแยกเป็นพันธุ์ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว สีเหลือง สีแดง สีดำ อีกนะ

สมช. : เอาหมดเลยครับ
ลุงคิม. : จะเอาพันธุ์เดียวหรือทั้งหมด รวมไปถึงโพดเลี้ยงสัตว์ด้วย ข้าวโพดคือข้าวโพด การปลูก การบำรุง ทุกอย่างเหมือนกันหมด

สมช. : โอ้โฮ....ดีซิครับ งั้นผมมาที่นี่ วันนี้ไม่ผิดหวังซิครับ
ลุงคิม. : อืมมม ผิดหวังสมหวัง มาจากใจทั้งนั้น งานเกษตรด้านพืช ใจไม่เอาใจไม่เปิดมีแต่ล้มเหลว ตรงกันข้าม ปลูกข้าวโพด รู้ข้าวโพดรู้กระจ่าง เปิดใจรับรู้เรื่องข้าวโพดที่เขาสำเร็จ เอาแนวเขามาต่อยอด แบบนี้มีแต่สำเร็จ

สมช. : จริงครับลุง ผมจะเอาตามแบบลุงนี่แหละครับ ปุ๋ยยาทุกตัวทุกสูตรซื้อที่นี่นี่แหละครับ
ลุงคิม. : ใจเย็นๆ เรื่องปุ๋ยเรื่องยาเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ส่วนเล็กๆเท่านั้น ยังมีส่วนอื่นที่จำเป็นยังมีอีกตั้งหลายส่วน

สมช. : ครับ จริงครับลุง
ลุงคิม. : ข้าวโพดทำขายไม่ใช่ทำกิน เพราะฉะนั้นต้องวางแผนการการผลิต เมื่อข้าวโพดเป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ให้ผลผลิตครั้งเดียว การจัดแปลงปลูก 12 แปลง แล้วปลูกทีละแปลงทุกวันที่ 1 ของเดือน ก็จะเก็บผลผลิตได้เดือนละ 1 ละแปลง นั่นคือเท่ากับมีผลผลิตตลอดปี ไงล่ะ

สมช. : ครับ จริงครับลุง
ลุงคิม. : การบำรุงก็ทำแบบเดียวกัน ปุ๋ยยาตัวเดียวกัน ทุกแปลง

สมช. : ครับ เตรียมแปลง เตรียมดิน เตรียมปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ชนิดน้ำ ชนิดแห้ง ยาเคมี ยาสมุนไพร .... อืมมม เมื่อวันก่อนได้ยินลุงพูดถึง ไอพีเอ็ม. ไอพีเอ็ม. กับดักกาวเหนียว อันนี้ก็จำเป็นนะครับ
ลุงคิม. : อีกอันนึงนะ เครื่องทุ่นแรง สปริงเกอร์หม้อปุ๋ย ตัวนี้ช่วยงานได้มากเลย

สมช. : ครับ จริงครับลุง
ลุงคิม. : ที่จริง เรื่องข้าวโพดนี่ ถ้าเราทำตามหลักวิชาการของข้าวโพดได้จริงๆ ผลผลิตที่ได้น่ะ คุ้มเกินคุ้ม นะ อั้ยที่ทำๆกันน่ะ แบบเดิมๆ แถวนี้ทำอย่างนี้ กับอีกเรื่องนึง เครื่องทุ่นแรง เอาแต่ทำด้วยมือ ใช้แรงงานจ้างทำเอง แบบนี้นอกจากไม่ได้เนื้องานแล้วยังเสียเวลาอีกด้วย

สมช. : ครับ จริงครับลุง เสียอารมย์ด้วย
ลุงคิม. : ช่วยยยย งานนี้คุณต้องคิดเอง ตัดสินใจเอง บางอย่างทำเอง บางอย่างจ้าง คำนวณเศรษฐศาสตร์การลงทุนซิ ได้กับเสียอย่างไหน มาก/น้อย กว่ากันยังไง ?

สมช. : ครับ จริงครับลุง
ลุงคิม. : โดยเฉพาะข้อมูลทางวิชการเรื่องข้าวโพด อย่างที่บอก รู้ข้าวโพดรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล รู้. รู้แล้วติดตัวไปตลอดชีวิต ต่อยอดขยายผลได้ ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้

สมช. : ครับ จริงครับลุง
ลุงคิม. : เอาวะ โอ.เค. เชียร์

บ่น :
35. แพ้/ชนะ ที่โอกาส :
การเกษตรไทยวันนี้ รัฐบาลช่วย + ตัวเองช่วย = ได้ 2 เด้ง
* รัฐบาลช่วย ให้เงิน * ก.เกษตรช่วย ให้ความรู้ แต่เกษตรกรรับเงินอย่างเดียว
ความรู้มาจากใจ เริ่มจาก สุ. จ. ปุ. ลิ. .... อ่าน. ดู. ทำ. ใช้. .... คิด. วิเคราะห์. เปรียบเทียบ. ต่อยอด. ขยายผล. ฟันธง.

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม …. รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล รู้แล้วติดตัวไปตลอดชีวิต ทำเองได้ ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ สอนคนอื่นได้....ความรู้คือศักดิ์ศรี

** ความรู้มาจากการเรียน เรียนในสถานศึกษา เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน เรียนในแปลง
** เกษตรเรียนในสถานศึกษา เรียนเรื่องเดียวจากครูสอนคนเดียว จากหนังสือเล่มเดียว ได้รู้แค่นั้น

** เรียนด้วยตัวเองที่บ้าน เรียนเรื่องเดียวกัน จากหนังสือหลายเล่ม ได้รู้มากกว่า
** ความเก่งที่พระเจ้าประทานให้ทุกคนมีเท่าๆกัน แต่ “แพ้/ชนะ” กันที่โอกาส
** เรียนจบมัธยม แต่อ่านหนังสือที่ปริญญาเอกเรียน ย่อมมีความรู้เหมือนปริญญาเอกได้

IQ คือ ฉลาดเฉลียว มาจากสายเลือด มีใน DNA
EQ คือ มนุษย์สัมพันธ์ มาจากความมีน้ำใจอัจฉริยะ

อัจฉริยะ คือ ความคิดริเริ่ม ความเฉลียวฉลาด
อัจฉริยะสร้างเองได้ มาจาก “แรงบันดาลใจ 99% + ความมุ่งมั่น 1%” นั่นคือ ใครๆก็อัจฉริยะได้

EQนำ + IQเสริม ประสบความสำเร็จมากกว่า IQนำ + EQเสริม
“อัจฉริยะ - IQ - EQ” .... เกิดใน “ใจ” มาจาก “ใจ”
พรสวรรค์ 1 พรแสวง 99 ..... เฮง 1 เก่ง 99 IQ EQ”
พรสวรรค์ พรแสวง - เฮง เก่ง ..... ไม่มีขาย



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จาก :
(093) 820-15xx
ข้อความ : สัจจะธรรมเกษตร เนื้อที่ 1ไร่ เวลา 1ปี เก็บได้ 1ครั้ง เพราะใจอยู่ตรงนั้น วันนี้สนใจข้าวโพด เนื้อที่ 1ไร่ เวลา 1ปี เก็บได้ 4ครั้ง ทำให้ได้เกรด เอ. จัมโบ้. ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ข้าวโพดฝักสด 1 ไร่ ปลูกห่างกันรุ่นละ 4 เดือน ทำงาน 1 ปีเก็บได้ 3 ครั้ง
- ข้าวโพดฝักสด 12 ไร่ แบ่งเป็นโซน ๆละ 2 ไร่ ปลูกห่างกัน 2 เดือน ทำงาน 1 ปีเก็บได้ 6 ครั้ง
- ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี บำรุงให้ เกรด เอ. จัมโบ้. ปลอดสารเคมี 100%. สีสวยสด. รสจัดจ้าน. ผลผลิตเพิ่ม. ต้นทุนลด. อนาคตดี. เกษตรพันธะสัญญา.

แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด :
1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง

2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก

3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน

4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน

ตลาดและผลตอนแทน :
ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้วส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

ปัจจุบัน ความต้องการข้าวโพดหวานของโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผลให้ในปี ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องเป็นปริมาณ 125,308 ตัน มูลค่า 4,291.0 ล้านบาท และส่งออกข้าวโพดหวานแช่แข็งปริมาณ 4,730 ตัน มูลค่า 166.6 ล้านบาท โดยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องอันดับ 1 ของโลก

สายพันธุ์ :
พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว : พันธุ์ข้าวก่ำหวาน, พันธุ์ข้าวเหนียวหวาน, พันธุ์สำลีอีสาน, พันธุ์ข้าวเหนียวข้าวก่ำ, พันธุ์หวานดอกคูน, พันธุ์เทียนสลับสี, พันธุ์เทียนลาย, พันธุ์เทียนเหลือง, พันธุ์เทียนขาว

ลักษณะทางธรรมชาติ :
* เป็นพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียว ต้องการน้ำสม่ำเสมอเหมือนผักสวนครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้น้ำ ทุก 2-3 วัน ซึ่งต่างจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ต้องการน้ำน้อยพอน้าดินชื้นเท่านั้น

* ดอกตัวผู้ของข้าวโพด เรียกว่า ดอกยอด อยู่ที่ปลายยอดของต้น ส่วนดอกตัวเมี เรียกว่า "ไหม" อยู่ที่ปลายฝักของแต่ละฝัก.... ดอกตัวผู้เกิดก่อนดอกตัวเมีย 7-10 วัน

* แช่เมล็ดพันธุ์ใน "โบรอน" เมื่อนำไปปลูกจะให้ "ดอกยอด" มากกว่าปกติ 2-3 เท่า
* จังหวะที่เกสรดอกตัวผู้พร้อมผสมมักตรงหรือใกล้เคียงกับเกสรตัวเมียของฝักแรก กับช่วงต้นๆของฝักที่ 2 เท่านั้น ครั้นดอกตัวเมียของฝักที่ 3 หรือ 4 ออกมาจึงไม่มีละอองเกสรตัวผู้เข้าผสม ทำให้ฝักที่ 3 หรือ 4 ไม่ติดเป็นฝัก

* แนวทางแก้ไข คือ หลังจากหยอดเมล็ดข้าวโพดรุ่นแรกไปแล้ว 10-15 วัน ให้หยอดเมล็ดรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 อีกรุ่นก็ได้ โดยให้แต่ละรุ่นห่างกัน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่ออาศัยเกสรตัวผู้ของต้นรุ่นหลังไปผสมด้วยมือให้แก่ฝักที่ 2-3-4 ของต้นรุ่นแรกนั่นเอง

ปลูกข้าวโพดรุ่น 2-3 เพื่อเอาเกสรตัวผู้นี้ ใช้วิธีปลูกแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก กระจายทั่วแปลงปลูกโดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่ออาศัยสายลมช่วยพัดละอองเกสรส่วนหนึ่ง กับช่วยผสมด้วยมืออีกส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ต้นรุ่น 2-3 ก็สามารถเอาฝักได้เพราะมี ฝัก+ เกสรตัวเมีย เช่นกัน สำคัญแต่ว่าจะหาละอองเกสรตัวผู้จากที่ไหนมาช่วยผสมด้วยมือให้เท่านั้น

กรณีที่ไม่ได้ปลูกต้นข้าวโพดต่างรุ่นไว้ในแปลงปลูกของตนเอง ก็อาจจะขอแบ่งปันจากแปลงข้างเคียงก็ได้แต่ต้องเป็นข้าวโพดสายพันธุ์เดียวกันมาใช้ช่วยผสมด้วยมือแทนก็ได้

* ตรวจสอบลักษณะเกสรตัวผู้ที่พร้อมผสมโดยเคาะเบาๆใส่แผ่นกระดาษแล้วมีละอองเกสรร่วงลงมา และตรวจสอบลักษณะเกสรตัวเมียที่พร้อมผสมโดยสัมผัสเบาๆด้วยปลายนิ้วมือ ถ้าเป็นยางเหนียวติดปลายนิ้วแสดงว่าพร้อมผสมแล้ว

* วิธีช่วยผสมด้วยมือ ให้ตัดก้านดอกยอดเบาๆ นำไปป้ายเบาๆใส่ให้กับไหมที่ปลายฝัก 2-3 รอบ (เหมือนผสมเกสรสละ) หรือเคาะละอองเกสรตัวใส่กระบอกพลาสติกแห้งสะอาด ผสมกับแป้งทาตัวเด็ก อัตราส่วน 1: 1 แล้วใส่ในกระบอกฉีดพ่นเกสร (เครื่องฉีดละอองเกสรทุเรียน) นำไปฉีดพ่นใส่ไหมที่ปลายฝักก็ได้ ทั้งนี้ไหมของฝักใดได้รับละอองเกสรดอกยอดก็จะติดเป็นฝักสมบูรณ์และไม่เป็นข้าวโพดฟันหลอได้ทุกฝัก

* ข้าวโพดมีเมล็ดไม่เต็มฝัก เรียกว่า "ฟันหลอ" เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น เกสรตัวเมียกับเกสรตัวผู้ (ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย) ไม่สมบูรณ์แข็งแรงแล้วผสมกัน หรือเกสรตัวผู้หมดอายุ หรือสภาพอากาศไม่เหมาะสม (ร้อน/ชื้น) หรือขาดสารอหาร

* ธรรมชาติชาติข้าวโพดทุกสายพันธุ์ออก ฝัก + ดอก ได้ต้นละหลายๆฝัก ตราบเท่าที่ได้รับสารอาหารกลุ่ม สร้างดอก-บำรุงผล อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ก่อนฝักแรกจนถึงฝักสุดท้าย

* แปลงปลูกที่ผ่านการเตรีมดินมาอย่างดี ปฏิบัติต่อเนื่องมาหลายๆรุ่นปลูก กับต้นข้าวโพดที่ได้รับการบำรุงด้วยธาตุอาหารครบถ้วนสม่ำเสมอ เมื่อต้นนั้นโตขึ้นจะมีกิ่งแขนงงอกออกมาตามข้อ แต่ละกิ่งแขนงสามารถออกดอกแล้วติดเป็นฝักคุณภาพดีได้

* การจัดระยะปลูกห่าง ลมพัดผ่านเข้าไปในใจกลางแปลงได้ทั่วถึง ใบไม่เกยทับซ้อนกันและรับแสงแดดได้เต็มที่ จะได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าแปลงที่ปลูกชิดกันมาก

* ข้าวโพดหวานที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในพื้นที่หนึ่ง เมื่อนำไปปลูกในอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งภูมิอากาศค่อนข้างแตกต่างกัน คุณภาพผลผลิตมักจะแตกต่างกันด้วย ดังนั้น จึงควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกิดจาการผสมพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือแหล่งสร้างเมล็ดพันธุ์ที่มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกัน

* เก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นแล้วนำไปนึ่งทันทีจะได้รสชาติของข้าวโพดหวานดีมาก หากต้องการเก็บไว้นานหลังเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วควรเก็บในที่เย็น (ตู้เย็น) ซึ่งความหวานจะลดลงน้อยกว่าการเก็บในที่แจ้ง......ข้าวโพดหวานนึ่งให้รสชาติดีกว่าการต้ม

* เมื่อต้นโตได้ความสูงประมาณ 1 ม. หรือเริ่มมีรากเหนือพื้นดินงอกออกมาจากข้อเหนือพื้นดิน ให้ เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ระบบรากเหนือพื้นดินจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ดีมาก

นอกจากนี้ยังทำให้ข้าวโพดต้นนั้นแตกยอกจากข้อแล้ว พัฒนาเป็นกิ่ง ซึ่งกิ่งนี้สามารถออกฝักได้เหมือนลำต้นประธาน และเมื่อบำรุงดี ฝักจากกิ่งนี้ก็จะเจริญพัฒนาเป็นฝักสมบูรณ์ได้เช่นกัน

เตรียมดิน :
1. เริ่มจากไถดินตากแดดจัด 15-20 แดดเพื่อกำจัดเชื้อโรคและวัชพืช ระหว่างตากแดด ถ้ามีฝนตกต้องไถดินใหม่และเริ่มตากแดดใหม่

2. ใส่อินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดิน (ยิบซั่มธรรมชาติ. ปุ๋ยคอก. เศษพืชแห้ง.)
3. ไถด้วยโรตารี่คลุกอินทรีย์วัตถุกับเนื้อดินให้เข้ากันดี
4. คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางหนาๆ
5. บ่มดินโดยรดด้วยน้ำจุลินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ทุก 15 วัน ติดต่อกันนาน 1-2 เดือน

เตรียมแปลง :
- ยกร่องแห้งลูกฟูก สันร่องสูง 30-50 ซม.โค้งหลังเต่า กว้าง 1-1.20 ม. ร่องระหว่างสันแปลงกว้าง 1 ม. ลึกจากพื้นระดับ 25-30 ซม. ก้นสอบ

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- เมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารเคมีกำจัดโรคให้ล้างน้ำจนสารเคมีนั้นออกให้หมดก่อน ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบสารเคมีไว้ก่อนให้ดำเนินการได้เลย

- นำเมล็ดแช่ในน้ำเปล่า คัดทิ้งเมล็ดลอย เก็บไว้เฉพาะเมล็ดจม
- นำเมล็ดจมที่เลือกได้ลงแช่ใน น้ำ + โบรอน (10 PPM) นาน 6-12 ชม. นำขึ้นผึ่งลมจนแห้ง แล้วจึงนำไปหยอดในแปลงจริง เมื่อโตขึ้นจะมีเกสรตัวผู้เพิ่มขึ้น 100-200 % เหมาะสำหรับแปลงปลูกเพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์

ระยะปลูก :
- ระยะปกติ 75 X 75 ซม.
- ระยะชิด 50 X 75 ซม.

วิธีปลูก :
- หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด หลังจากต้นกล้าได้ 2-3 ใบ ถอนแยกต้นไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้ 1-2 ต้น การเหลือต้นสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น/1 หลุมให้พิจารณาระยะห่างจากต้นข้างเคียง ถ้ามีพื้นที่ว่างระหว่างต้นพอก็ให้ไว้ 2 ต้นได้

- รองก้นหลุมด้วย กากสะเดาแห้ง หรือใบสาบเสือแห้ง หรือใบยูคาแห้ง บดละเอียดหลุมละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับดินก้นหลุม เพื่อป้องกันแมลงกัดกันเมล็ดพันธุ์

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อข้าวโพด (ทุกสายพันธุ์) :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ + ยาน็อค 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
ทางราก : ให้น้ำพอหน้าดินชื้น ทุก 2-3 วัน

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้ไทเป + ยาน็อค ทุก 5 วัน ฉีดพ่นตอนสายๆ
ทางราก : ให้สูตรเดิมเหมือนช่วงต้นเล็ก
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนออกดอกยอด 5-7 วัน กระทั่งดอกยอดออกแล้ว เริ่มมีฝักแล้ว ยังให้ต่อ ทุก 5-7 วัน จะได้จำนวนฝักเพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 2-3 ฝัก

ระยะติดฝัก :
ทางใบ :
ให้ ยูเรก้า + ไบโออิ + ยาน็อค 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นตอนสายๆ
ทางราก : ให้สูตรเดิมเหมือนช่วงออกดอก
หมายเหตุ :
- ไบโออิ เริ่มให้ต้นแต่ระยะต้นเล็ก ช่วยบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์สูง ส่งผลให้การออกดอกติดฝักดี
- ยูเรก้า บำรุงขยายขนาดฝัก เมื่อฝักโตเต็มที่จะเห็นเนื้อใหญ่ทะลุเปลือกออกมาให้เห็น
- แคลเซียม โบรอน ช่วยให้ฐานเมล็ดฝักสูง ใช้มีดเฉือนเนื้อข้าวโพดจะไม่มีเนื้อเหลือติดที่ฝัก ทำให้ได้ปริมาณเนื้อเมล็ดข้าวโพดมากกว่าเดิม 10-15% กับทั้ง กลิ่น/รส ข้าวโพดดีกว่าเดิมด้วย

- ยาน็อค สารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช ทั้งป้องกันก่อนเข้ามา และกำจัดเมื่อเข้ามาแล้ว
- แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. ฮอร์โมน. ในปุ๋ยที่ให้ทางใบกับในปุ๋ยระเบิดเถิดเทิงให้ทางดิน ช่วยสร้างภูมิต้นทานสู้กับศัตรูพืชได้ทุกรูปแบบ

------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©