-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 พ.ค. * จะปลูกข้าวรเกรด เอ. ซูพรีม. พรีเมียม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 พ.ค. * จะปลูกข้าวรเกรด เอ. ซูพรีม. พรีเมียม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 พ.ค. * จะปลูกข้าวรเกรด เอ. ซูพรีม. พรีเมียม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 17/05/2022 5:02 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 พ.ค. * จะปลูกข้าวรเกรด เอ. ซู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 18 พ.ค.

***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 21 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครชัยศรี นครปฐม

ทุกงานสัญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง


****************************************************************
****************************************************************

สายตรง (097) 118-93xx :

สมช. :
วัสดีครับลุง ผมบอย โทรจากวังน้อย อยุธยา อยากปรึกษาเรื่องนาข้าวหน่อยครับ
ลุงคิม : โอ.เค.นาข้าว ทำนาที่วังน้อยเลยใช่ไหม ? เนื้อที่กี่ไร่ล่ะ ? เคยทำมาก่อนไหม ? มีประสบการณ์เรื่องนาข้าวบ้างไหม ?

สมช. : ครับ ผมศิษย์เก่าโควิต แฟนรายการลุงคนนึง บริษัทปิดแล้วเปิดใหม่ จริงอย่างที่ลุงบอก คือ ไม่รับคนเก่าเข้าทำงานแต่รับคนใหม่เพราะเงินเดือนต่ำกว่าน่ะครับ .... ครับเมื่อกลับไปบริษัทบ้านเก่าไม่ได้ก็ต้องอยู่ที่บริษัทบ้านใหม่ บ้านใหม่ทำนา นาข้าว ผมจะปลูกข้าวคุณภาพสูง คุณภาพเกรด เอ. ซูพรีม. พรีเมียม.ครับ
ลุงคิม : โอ.เค. ดี ดีมาก ตั้งเป้าแบบนี้ ว่าแต่ที่นาแปลงนี้ เช่าหรือของเราเอง

สมช. : เช่าครับ แค่ 10 ไร่ ของญาติกัน เขาแบ่งให้เช่าครับ
ลุงคิม : อืมมม 10 ไร่ น้อยไปหน่อย น่าจะมาซัก 20-30 ไร่ ทำแล้วได้ข้าวเป็นกอบเป็นกำหน่อย

สมช. : ที่เขามีน้อยครับ มีแค่ 30 ไร่เท่านั้น ที่เขายอมให้เช่าเพราะพ่อกับแม่ผมเป็นคนขอให้ เขาเกรงใจเลยแบ่งให้เช่าครับ....ลุงครับ ผมอยากปลูกข้าวพันธุ์ที่ดีที่สุดที่สังคมคนกินยอมรับน่ะครับ
ลุงคิม : อืมมม คำถามนี้คุณเปิดอินเตอร์เน็ตซี่ ลุงคิมจำไม่ได้หรอก มันหลายสายพันธุ์อยู่นา....ได้ข้อมูลจากเน็ตแล้ว ผมอยากให้คุณไปเห็นของจริง สัมผัสกับมือ กินกับปากได้ยิ่งดีว่า ข้าวพันธุ์อะไร ? มันเหมือนหรือมันต่างกันยังไง ?

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : ลุงคิมว่านะ คนที่จะให้คำตอบคุณดีที่สุดคือคนรับซื้อ

สมช. : ครับ จริงครับ โรงสี ก็ใช่ว่าทุกโรงสีจะรับซื้อทุกพันธุ์เหมือนกันหมด โรงสีบางโรงอาจจะไม่รับบางพันธุ์ก็ได้
ลุงคิม : ช่ายยย อันนี้ต้องถามหลายๆ โรงสี

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ที่สำคัญอย่าลืมหลักหัวใจเกษตร ปุ๋ย ยา เทคนิค เทคโน โอกาส ตลาด ต้นทุน .... ผลผลิตเพิ่ม ทั้งปริมาณต่อไร่ คุณภาพตามสเป็คคนรับซื้อ .... ต้นทุนลด ซื้อครึ่งนึง ทำเองครึ่งนึง .... อนาคตดี คนซื้อสั่งจองล่วงหน้า ....

ว่าจริงๆแล้ว พืชตระกูลข้าว อายุสั้นฤดูกาลเดียว เขาใช้ปุ๋ยไม่มากอย่างที่ใช้ๆใส่ๆกันหรอก โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ชาวนายึดติดแบบเดิมๆ ใส่ลงไปไร่ละตั้ง 100 กิโล 2 กระสอบ ทั้งๆที่ต้นข้าวกินปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจริงๆแค่ไร่ละ 10 กิโลเท่านั้น เนื้อปุ๋ยแค่นี้ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว กับปุ๋ยทางใบใน ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ก็มีอีก ลุงว่าน่าจะเกินพอแล้วนะ ....

ปุ๋ยเคมีกับนาข้าว งานนี้จะบำรุงด้วย “สูตรเหมาจ่าย หรือ สูตรประณีต” ก็ได้ อย่าไปทุ่มเทกับปุ๋ยเคมีมากนักเลย เพราะยังไงๆ ปุ๋ยทางใบทุก 7 วันที่ให้แก้ปัญหาปุ๋ยใส่น้อยนี้ได้อยู่แล้ว ....

พูดถึงปุ๋ยแล้ว ปุ๋ยเคมี 14 ตัว ตัวที่มีผลโดยตรงต่อพืชตระกูลข้าว คือ แม็กเนเซียม. ตัวนี้สร้างคลอโรฟีลด์ ใบเขียวถึงวันเกี่ยว....สังกะสี.ตัวนี้สร้างแป้ง เนื้อในเมล็ดข้าวคือแป้ง....ขอให้ไปอ่านรายละเอียดเรื่องปุ๋ย ระหว่าง ข้อดี-ข้อเสีย ในปุ๋ยแต่ละตัวทุกตัวให้ดีๆ.... นอกจากนี้ ปุ๋ยตัวสร้างต้น สร้างรวง สร้างเมล็ด ไม่ใช่ปุ๋ยตัวที่ชาวนาใช้สืบต่อๆ ๆๆ กันมาเลย ....

ที่สำคัญชาวนาข้าว ใส่ปุ๋ยด้วยการเดินหว่าน ๆๆ หว่านด้วยมือ เคยสังเกตุไหมว่า เม็ดปุ๋ยลงไปที่กอข้าวทุกกอ กอละเท่าๆกัน ไหม กอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียว กอไหนไม่ได้ก็ไม่เขียว ชาวนาหาว่าอ่อนปุ๋ยปุ๋ยน้อย ว่าแล้วหว่านเพิ่มอีกลูกนึง อันนี้อยู่ที่ เทคนิค-เทคโน การใส่ปุ๋ย คือ เครื่องมือนั่นเอง

ทำใจเถอะ เอาน่า ถ้าไม่ได้ผลก็ว่า ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ถึงจะได้น้อยแต่ไม่ขาดทุนเพราะต้นทุน ที่จ่ายเป็นเงินจริงๆน้อย ถ้านารุ่นนี้ได้ข้าวน้อยลุงว่ารุ่นหน้าจะดีขึ้น เพราะปัจจัยพื้นฐานอะไรๆต่อพืชตระกูลข้าวเริ่มกลับมา จบจากข้าวเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นก็ได้อีก เพราะปัจจัยพื้นฐานตัวเดียวกัน....

สมช. : ครับ จริงครับ ผมเตรียมแก้ปัญหาเรื่องนี้ไว้แล้ว
ลุงคิม : ว่ากันจริงๆแล้ว นาข้าวนี่มีแต่ปุ๋ยกับยาเท่านั้นแหละ ปุ๋ยก็ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก ทุกครั้งที่ให้ปุ๋ยทางใบถือโอกาส +ยาสมุนไพรไปด้วยเลย อย่างอื่นไม่ค่อยจำเป็นนัก

สมช. งานนี้ ผมกะลงมือเองทุกอย่างทุกขั้นตอน ไม่จ้างแรงงาน ตั้งแต่เริ่มทำจนถึงเอาไปขายเลยครับ
ลุงคิม : ก็ดี นี่แหละสโลแกน ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง....

สมช. : ครับลุง
ลุงคิม : งานนี้ขอให้ตามไปอ่านเรื่องข้าวมากๆหน่อย ไม่พอ อ่านแล้วต้องถามด้วย อ่าน/ถามแล้ว ทั้งในหนังสือที่ลุงคิมเขียน หนังสือที่คนอื่นเขียน อ่านในเน็ต อ่านแล้วต้องดูของจริงอีก....

อืมมม ลุงคิมว่าคุณน่าจะใจเย็นกว่านี้นิดนึง ได้ข้อมูลเรื่องข้าวมาแล้ว ได้เมล็ดพันธุ์มาแล้ว คุณน่าจะลอง เน้นย้ำ...ลองนะ ลองปลูกข้าวซักพันธุ์ละตารางวาง ปลูกห่างกันกอละ เมล็ดละ 1 ศอกแขน ว่าตั้งแต่เริ่มต้น เตรียมดิน. เตรียมแปลง. ลงมือปลูก. บำรุง. จนถึงเกี่ยว. อย่างน้อยซัก 1 ข็อป....

สมช. : ครับลุง อย่างที่ลุงบอก รู้เรื่องข้าวรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม ทำตามคนที่ล้มเหลวจะล้มเหลวยิ่งกว่า
ลุงคิม : อืมมม คุณนี่นักฟังจริงๆนะเนี่ย

สมช. : ครับฟัง ต่อไปจะเป็นนักทำครับ
ลุงคิม : โอ.เค. ลุยยยย.....

สายพันธุ์ประเภทของข้าว :
ประเภทของข้าว :
1. ข้าวหอมมะลิ 105 :

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่อื่นได้ไม่ดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีต้นกำเนิดจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุงข้าว กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก

2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา :
เป็นข้าวพันธุ์ที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม

3. ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 :
ข้าวพันธุ์มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมีคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี เป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4. ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ :
เป็นข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโท และตำบลหนองห้าง) และกิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคูและตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อย ส่งผลให้ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์มีความนุ่มและหอมมาก เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ และข้าวที่นึ่งแล้วเมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมง จนข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้

5. ข้าวเหนียวเขี้ยวงู :
เป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว และทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี เมื่อนำมาหุงให้สุกเม็ดข้าวที่ได้จะเหนียวนุ่ม เรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวในลักษณะเลื่อมเป็นมันและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำข้าวเหนียวมูน เป็นข้าวที่ปลูกในทางภาคเหนือ นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเชียงราย

6. ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ :
เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเมล็ดค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมนำมาทำเป็นขนมหวานมากกว่าข้าวอื่น ๆ และเป็นข้าวที่ชาวนายกย่องให้เป็นพญาข้าวเหนือข้าวพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งชาวนามีความเชื่อว่าข้าวก่ำจะปกป้องคุ้มครองข้าวพันธุ์อื่นที่อยู่ในท้องนาไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล และยับยั้งการเจริญเติบโตของโรคมะเร็ง

7. ข้าวเหลืองประทิวชุมพร :
เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในฤดูนาปี เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม มีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และปลูกในที่ที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี อีกทั้งยังทนต่อโรคของแมลงได้ด้วย ลักษณะเมล็ดมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว มีน้ำหนักเมล็ดที่ดี เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวขึ้นหม้อ จึงเป็นข้าวที่ชาวนาชุมพรมักนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ได้ผลผลิตที่ดี เหมาะกับพื้นที่และสภาพอากาศ

8. ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ :
พันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่มาของชื่อมาจากชื่อผู้นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ คือพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ “เจ๊กเชย” ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี

9. ข้าวกล้อง :
ข้าวกล้อง หรือที่บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วยเสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3 - 7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้เส้นใยไปพร้อม ๆ กับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสารพัดชนิด และเส้นใยในข้าวกล้องยังทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวขาวและไม่อยากกินจุบจิก

10. ข้าวไรซ์เบอร์รี :
เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รีที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

11. ข้าวมันปู :
เป็นข้าวที่ชาวจีนเรียกว่า ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมืองเรียกว่า อั้งคั่ก มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าวเป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณสองเท่า มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ในร่างกายสูงกว่าข้าวขัดสี เมื่อหุงสุกแล้วเนื้อข้าวจะเป็นสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะ ดูน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด ข้าวอบต่าง ๆ หรือเคี่ยวเป็นโจ๊ก

12. ข้าวสังข์หยดพัทลุง :
ข้าวที่มีกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง

สนใจข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่…
1. วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมดอกฮัง จ.สกลนคร ติดต่อ บำเพ็ญ ไชยรักษ์ 089-6643012
2. วิสาหกิจผู้ผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อสังคม จ.ยโสธร ติดต่อ บุญส่ง มาตขาว 081-3000165
3. ร้านข้าวหอม organic จ.สุรินทร์ ติดต่อ ลัดดาวัลย์ หอมเนียม 094-4840192, 044-515857

4. วิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า จ.นครปฐม ติดต่อ นันทา ประสารวงษ์ 087-5522262

5. กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ติดต่อ โอเล่ 086-0107212, 095-7294745
6. มูลนิธิจัดการความรู้เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ติดต่อ นพดล 081-6884443

7. กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านตำบลสายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ติดต่อ คนึงนิจ พลขยัน 094-2730444

8.สหกรณ์กรีนเนท จำกัด ติดต่อ 02-2779380
9. กลุ่มสภาองค์กรชุมชนบ้านเพ็กใหญ่ อ.พล จ.ขอนแก่น ติดต่อ นายทองม้วน โลกาวี 0810473209

10. แหล่งเรียนแสงตะวัน มหาวิทยาลัยชาวนา ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ติดต่อ พณ 0925465949

อ้างอิง :
- Uriceโกดังข้าวอุดมพืชผล. ข้าวมีกี่ชนิด?. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560, จาก http://u-rice.com
- กรมการค้าภายใน. 18 พันธุ์ข้าวคุณค่าโภชนาการสูง. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.thaismescenter.com

- ตลาดวิธีผู้ไทชาวเขาวง. ประวัติข้าวเหนียวเขาวง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://rice.khaowongshop.com/history

- ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น. พันธุ์ข้าว. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560, จาก http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/index.php/e-library/varieties อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand?ref=ct


บำรุงต้นข้าวสูตรแบบประณีต :
ระยะกล้า :

- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย

- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©