-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาประจำวัน 8 NOV * นาข้าว ไม่เผาฟาง-ฟางซุปเปอร์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 NOV *ข้าวโพดหวาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 NOV *ข้าวโพดหวาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 04/11/2021 5:26 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 NOV *ข้าวโพดหวาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 5 NOV
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ :
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์สัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 6 พ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีปะจันต์ สุพรรณบุรี .....


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

*******************************************************
*******************************************************



จาก : (092) 820-47xx
ข้อความ : ลุงครับ ข้าวโพดหวานครับ

จาก : (062) 719-35xx
ข้อความ : ที่ 12 ไร่ 1 ปี ได้ 12 ครั้ง แบ่งทำเดือนละ 1 ไร่ เก็บผลได้ 12 รอบ ตลอดปี สนใจปลูกข้าวโพดหวานครับ
ตอบ :

บ่น :
* นานๆจะมีคำถามที่หลายคนมองข้าม อ่านเรื่องราวนี้แล้วให้น่าสนใจ ปรัชญาเกษตร ทำงานทั้งปีได้ขายหลายๆ ๆๆ รอบ ข้าวโพดก็ด้วย วางแผนปลูกวันที่ 1 ตามปฏิทิน ปลูกทุกวันที่ 1คุณจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ทุกเดือน เดือนละครั้งๆ ๆๆ เหลืออยู่แต่ว่า ทำยังไงให้ได้ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี

* ข้าวโพดในคำถาม ลึกๆจริงคือ พืชกินผล อายุสั้น ฤดูกาลเดียว
* ผลผลิตเพิ่ม ทั้งคุณภาพและปริมาณ
* ต้นทุนลด ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง ค่าที่ดิน ค่าเวลา ค่าโอกาส
* อนาคตดี ลูกค้าคนซื้อสั่งจองล่วงหน้า เพราะคุณภาพดี ปลอดสารเคมียาค่าแมลง
* ยุคนี้ คนมีเงิน ต้องการกินของดี ของปลอดภัย โดยเฉพาะปลอดภัยจากสารเคมียาฆ่าแมลง
* คนรุ่นใหม่ เข้าถึง นวตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบทำอาหารสำเร็จรูปพร้อมกิน ที่โดนตา โดนใจ คนกินคนซื้อ

* ในสีของพืชมีสารอาหารหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อคนกิน
* การตลาด นำ การผลิต ลึกๆคือ ชนิด เกรด ปริมาณ สายพันธุ์
* ผู้ให้คำตอบที่ชัวร์ที่สุด คือ คนกลาง คนรับซื้อ
* ผู้ให้คำแนะนำในการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนปลูก ระหว่างปลูก หลังปลูก ที่ชัวร์ที่สุด คือ เกษตรกรผู้ทำกับมือ + นักวิชาการ + ตัวเอง

* ผู้ไม่ไม่ให้คำแนะนำในการผลิต คือ นายกสมาคมฯ



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จาก :
(093) 820-15xx
ข้อความ : สัจจะธรรมเกษตร เนื้อที่ 1ไร่ เวลา 1ปี เก็บได้ 1ครั้ง เพราะใจอยู่ตรงนั้น วันนี้สนใจข้าวโพด เนื้อที่ 1ไร่ เวลา 1ปี เก็บได้ 4ครั้ง ทำให้ได้เกรด เอ. จัมโบ้. ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ข้าวโพดฝักสด 1 ไร่ ปลูกห่างกันรุ่นละ 4 เดือน ทำงาน 1 ปีเก็บได้ 3 ครั้ง
- ข้าวโพดฝักสด 12 ไร่ แบ่งเป็นโซน ๆละ 2 ไร่ ปลูกห่างกัน 2 เดือน ทำงาน 1 ปีเก็บได้ 6 ครั้ง
- ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี บำรุงให้ เกรด เอ. จัมโบ้. ปลอดสารเคมี 100%. สีสวยสด. รสจัดจ้าน. ผลผลิตเพิ่ม. ต้นทุนลด. อนาคตดี. เกษตรพันธะสัญญา.

ผลผลิตต่อไร่ :
ข้าวโพดหวาน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กก./ไร่
ข้าวโพดฝักอ่อน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กก./ไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,600 กก./ไร่
ข้าวโพดเทียน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,600 กก./ไร่

แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด :
1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง

2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก

3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน

4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน

ตลาดและผลตอนแทน :
ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้วส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

ปัจจุบัน ความต้องการข้าวโพดหวานของโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผลให้ในปี ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องเป็นปริมาณ 125,308 ตัน มูลค่า 4,291.0 ล้านบาท และส่งออกข้าวโพดหวานแช่แข็งปริมาณ 4,730 ตัน มูลค่า 166.6 ล้านบาท โดยเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดหวานกระป๋องอันดับ 1ของโลก

สายพันธุ์ :
พันธุ์ข้าวก่ำหวาน, พันธุ์ข้าวเหนียวหวาน, พันธุ์สำลีอีสาน, พันธุ์ข้าวเหนียวข้าวก่ำ, พันธุ์หวานดอกคูน, พันธุ์เทียนสลับสี, พันธุ์เทียนลาย, พันธุ์เทียนเหลือง, พันธุ์เทียนขาว

พันธุ์ผสมเปิด : ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าและสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ 2-3 รุ่น ปลูกห่างจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 200 เมตร

พันธุ์ลูกผสม : นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด และเป็นที่ต้องการของตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมการแปรรูป ปัจจุบันนี้พันธุ์ที่ผลิตข้าวโพดส่งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป หรือตลาดภายในประเทศ

จาก : (087) 974-63xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ที่นา 30 ไร่ หยุดปลูกข้าว เป็นพลเมืองดีเชื่อฟัง คสช. อยากแบ่งนามาปลูกข้าวโพดหวานฝักสด 3-5 ไร่ น้ำคงมีพอสำหรับข้าวโพด อยากให้ลุงคิมแนะนำ พันธุ์ การบำรุง และอื่นๆให้ด้วยครับ .... แฟนรายการ อ่างทอง
ตอบ :
- เดือนนี้ พ.ย. ต่อด้วย ธ.ค. - ม.ค. - ก.พ. - มี.ค. - เม.ย. เท่ากับยังมีเวลา 5 เดือน สำหรับปลูกข้าวโพด 3 รุ่น สบายๆ

- ชนิดพันธุ์ .... ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน ข้าวโพดเทียนหวาน ข้าวโพดสีดำ ข้าวโพดสองสี ....

- ผลิตภัณฑ์ .... ทานฝักสด น้ำข้าวโพด
- ตลาด .... โรงเรียน ตลาดสด แหล่งท่องเที่ยว
- จัดแปลง .... แบ่งเป็นโซน ๆละ 1 ไร่ ได้ 3-5 โซน เก็บเกี่ยวเดือนละโซน

* การปลูก การบำรุง :
1. เตรียมดิน :

ไถดะไถแปร ใส่ยิบซั่มเฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ. .... ไถพรวนชักร่องเป็นร่องลูกฟูก คลุมสันแปลงด้วยแห้งหนาๆ รดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 ปล่อยไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพดิน และสร้างสารอาหารรอไว้ก่อน ... ลงทุนเรื่องดินไม่เสียหลาย ได้ข้าวโพดแล้ว ได้ดินสำหรับปลูกข้าวรุ่นหน้า รุ่นต่อๆไป หรือถ้าไม่ปลูกข้าวจะปลูกอย่างอื่น อะไรก็ได้ ดีทั้งนั้น เพราะดินดีอยู่แล้ว

2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
แช่เมล็ดพันธุ์ใน น้ำ + สังกะสี. + ไคโตซาน + โบรอน นาน 6 ชม. .... นำขี้นห่มชื้น 24-36 ชม. เมล็ดเริ่มมีรากปริ่มออกมา นำไปหยอด หลุมละ 2 เมล็ด .... ดินในหลุมปลูกคลุกด้วย ใบสาบ เสือ ใบยูคา ตากแห้งบดละเอียด ป้องกันแมลงในดินกินเมล็ด .... หยอดเมล็ดแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพตัวเดิม 1 ครั้ง เป็นการให้น้ำ ....

3. บำรุง ระยะต้นเล็ก :
รดด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรเดิม 30-10-10 (1 ล.) สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ โดยรดโคนต้น ให้ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลางวัน .... ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน .... ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

4. บำรุง ระยะก่อนออกดอกยอด :
ทางดิน :
ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรเดิม 1 ล. + 8-24-24 (1 กก.) ละลายให้เข้ากันดี สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำดีกว่าให้ตอนกลางวัน

ทางใบ : ให้ไทเป 3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน ฉีดทางใบ 1 ครั้ง

5. บำรุง ระยะเป็นฝักแล้ว :
ทางดิน :
ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล.) สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ ให้ 1 รอบ รดโคนต้น ตอนเย็นก่อนค่ำ ดีกว่าให้ตอนกลางวัน

ทางใบ : ให้ ไบโออิ + ยูเรก้า 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

หมายเหตุ :
- ระยะ 7 วันแรกหลังปลูก ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น ถ้าขาดน้ำช่วงนี้จะทำให้การงอกไม่ดี ส่งผลถึงช่วงต้นโตให้ผลผลิตลดลงไปด้วย

- ระยะออกดอก ถ้าขาดน้ำจะทำให้เกสร ไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มฝักหรือฟันหลอ

- ฮอร์โมนไข่ส่วนที่เป็นอินทรีย์ ทำจาก ไข่ นม น้ำมะพร้าว จุลินทรีย์กลุ่มยิสต์ .... ส่วนที่เป็นเคมี คือ 0-52-34, 13-0-46, แม็กเนเซียม. สังกะสี. ธาตุรอง/ธาตุเสริม เกรด อีดีทีเอ. คีเลต.

- เริ่มให้ตั้งแต่ก่อนออกดอกยอด 7 วัน ให้ไปเรื่อยๆ 7 วันต่อครั้ง กระทั่งมีดอกยอดแล้วมีฝักแรกออกมา กระนั้นก็ยังให้ต่อไปอีกจะได้ฝักที่สอง ฝักที่สาม และอาจะแถมฝักที่สี่ด้วย ถ้าปัจจัย พื้นฐานพร้อม

- การให้ทางดินตอนเย็นได้ผลดีกว่าให้ตอนกลางวัน เพราะต้นพืชดูดสารอาหารจากรากขึ้นสู่ต้น (ล่างขึ้นบน) ไปไว้ที่ใบตอนกลางคืน เพื่อรอสังเคราะห์แสงตอนกลางวันในวันรุ่งขึ้น

- การให้ทางใบตอนกลางวัน แดด 100% ได้ผลดี เพราะต้นพืชจะสังเคราะห์อาหารที่สะสมไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืน แล้วส่งลงไปให้ส่วนต่างๆ ของต้น (บนลงล่าง) ในตอนกลางวัน

- น้ำหมักชีวภาพควรมีสารอาหารอินทรีย์ ฯลฯ, สารอาหารเคมี ธาตุหลัก (สูตรตามระยะพัฒนาการ) แม็กเนเซียม สังกะสี ธาตุรอง/ธาตุเสริม เป็นแบบ อินทรีย์-เคมี ผสมผสานกัน หรือ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของต้นข้าวโพด....น้ำหมักชีวภาพให้ทางใบพืชรับไม่ได้ เพราะโมเลกุลใหญ่ผ่านปากใบไม่ได้

- ธาตุหลัก (สูตรตามระยะพัฒนาการ) บำรุงต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง
- สังกะสี. โบรอน. บำรุงให้ออกดอกดี ทั้งดอกยอด (ดอกตัวผู้) และไหมที่ฝัก (ดอกตัวเมีย)
- สังกะสี. ช่วยสร้างแป้งและน้ำตาลโดยตรง ช่วยทำให้คุณภาพของข้าวโพดดี
- แมกเนเซียม. ช่วยสร้างคลอโรฟีลด์ ใบข้าวโพดจะเขียวสังเคราะห์อาหารได้จนถึงวันเก็บเกี่ยว
- การให้ 21-7-14 (สูตรขยายขนาดผล) ทั้งทางใบทางราก เท่ากับให้ 2 เด้ง ช่วยให้ได้ฝักขนาดใหญ่

- การให้แคลเซียม โบรอน ทำให้คุณภาพดี เนื้อมาก เปลือกหุ้มเมล็ดบางและนิ่ม เวลาทาน ไม่ติดฟัน

- ข้าวโพดฝักสดต้องให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น แยกให้ออกระหว่าง ชื้น-ชุ่ม-โชก-แฉะ-แช่ ตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว

- ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้มีแต่เรื่องสารอาหาร (ปุ๋ย) เพราะทัศนคติของเกษตรกรไทยคิดว่าปุ๋ยคือสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกพืช ในคำตอบนี้ไม่มีเรื่องยาป้องกันกำจัดโรคและแมลงเลย เพราะไม่ได้ถาม

จึงอยากถามย้อนว่า การเกษตรเนี่ยมันง่ายนักเหรอ ความจริงไม่ยากแต่รายละเอียดขั้นตอนมันมาก เพราะฉะนั้นต้องเตรียมการแล้วปฏิบัติให้ครบทุกขั้นตอน อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมของข้าวโพดอย่างแท้จริง จึงจะได้ผล

- สาเหตุที่เป็นฟันหลอเพราะเกสรไม่ได้รับการผสม ต้นตอของสาเหตุอาจมาจาก การมีฝนตกบ่อยทำให้เกสรเปียก แมลงธรรมชาติไม่ออกหากิน จึงไม่มีผู้ช่วยผสมเกสร

- เกสรข้าวโพดผสมตอนกลางวัน แดดจัด ช่วง 9 โมงเช้าถึงเที่ยง หน้านี้ฝนชุกแม้แต่เช้าที่ไม่มีฝน แต่มีแดด แมลงธรรมชาติ โดยเฉพาะผึ้งไม่ออกหากิน ส่วนแมลงผีเสื้ออย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง ไม่มาแน่ๆ เพราะฉะนั้น แนวทางแก้ปัญหาไม่มีแมลงช่วยผสมเกสรแบบนี้ น่าจะมีทางเดียวเท่านั้น คือ ช่วยผสมเกสรด้วยมือ.... ดังนี้ :

- รอจังหวะเวลา (9 โมงเช้าถึงเที่ยง / มีแดด) ที่เกสรพร้อมรับการผสมให้เหมาะสม
- เลือกตัดเกสรดอกยอด (ตัวผู้) ที่พร้อมผสมลงมา 1 ช่อ
- เลือกไหมปลายฝัก (เกสรตัวเมีย) ที่พร้อมรับการผสม ลักษณะเหนียว เป็นมันวาวเมื่อกระทบแสง
- นำเกสรดอกยอด เคาะใส่ไหมที่ปลายฝัก 2-3 ครั้ง ต่อฝัก
- ทำซ้ำได้ 2-3-4-5 ดอก เท่าที่ยังมีละอองเกสรดอกยอดเหลืออยู่
- ไม่มีปุ๋ยหรือฮอร์โมนตัวไหนแก้ปัญหา ฝนตกเกสรเปียกแล้วยังผสมได้ แม้จะได้บำรุงล่วงหน้าให้ต้นมีความสมบูรณ์สะสมเต็มที่แล้วก็ตาม งานนี้ขึ้นอยู่กับดวงเท่านั้น

- เอาเท่าที่ได้ ข้าวโพดต้นไหนโชคช่วย เทวดาเข้าข้าง คนช่วยผสมเกสรให้ได้กลาย เป็นฝักขึ้นมา มุ่งบำรุงให้เกรด เอ. จัมโบ้. ไปเลย

- จังหวะที่เกสรดอกตัวผู้พร้อมผสมมักตรงหรือใกล้เคียงกับเกสรตัวเมียของฝักแรก กับช่วงต้นๆ ของฝักที่ 2 เท่านั้น ครั้นดอกตัวเมียของฝักที่ 3 หรือ 4 ออกมาจึงไม่มีละอองเกสรตัวผู้เข้าผสม ทำให้ฝักที่ 3 หรือ 4 ไม่ติดเป็นฝัก

แนวทางแก้ไข คือ หลังจากหยอดเมล็ดข้าวโพดรุ่นแรกไปแล้ว 10-15 วัน ให้หยอดเมล็ดรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 อีกรุ่นก็ได้ โดยให้แต่ละรุ่นห่างกัน 7-10 วัน ทั้งนี้เพื่ออาศัยเกสรตัวผู้ของต้นรุ่นหลังไปผสมด้วยมือให้แก่ฝักที่ 2-3-4 ของต้นรุ่นแรกนั่นเอง

- ปลูกข้าวโพดรุ่น 2-3 เพื่อเอาเกสรตัวผู้นี้ ใช้วิธีปลูกแซมแทรกระหว่างต้นรุ่นแรก กระจายทั่วแปลงปลูกโดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่ออาศัยสายลมช่วยพัดละอองเกสรส่วนหนึ่ง กับช่วยผสมด้วยมืออีกส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ต้นรุ่น 2-3 ก็สามารถเอาฝักได้เพราะมี ฝัก + เกสรตัวเมีย เช่นกัน สำคัญแต่ว่าจะหาละอองเกสรตัวผู้จากที่ไหนมาช่วยผสมด้วยมือให้เท่านั้น

- กรณีที่ไม่ได้ปลูกต้นข้าวโพดต่างรุ่นไว้ในแปลงปลูกของตนเอง ก็อาจจะขอแบ่งปันจากแปลงข้างเคียงก็ได้แต่ต้องเป็นข้าวโพดสายพันธุ์เดียวกันมาใช้ช่วยผสมด้วยมือแทนก็ได้

- เก็บข้าวโพดตอน ตี.5 เก็บจากต้นมาแล้วเก็บในที่อุณหภูมิเย็น จะช่วยรักษาความหวานให้อยู่ได้นาน .... ทำข้าวโพดฝักสด ลอกเปลือกให้เหลือติดฝัก 1-2 ชั้นแล้วนึ่ง จะได้รสชาดดีกว่า

-------------------------------------------------------------------------------



.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©