-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 25 MAY * อานิสงสปริงเกอร์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 MAY *นาข้าว-2
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 MAY *นาข้าว-2

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/05/2021 6:26 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 MAY *นาข้าว-2 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 28 MAY ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

- สังเกต....วันนี้ สปอนเซอร์ถอนตัวไป 1 งานนี้ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามา วิทยุ ปตอ. AM ระยะแพร่คลื่น 100% ได้ 20 จังหวัด แพร่คลื่นแบบกระโดดเป็นหย่อมๆ อีก 20 จังหวัด น่าจะดีกว่า FM ทั้งคลื่นหลัก คลื่นชุมชน ที่แพร่คลื่นไปได้แค่จังหวัดเดียวเท่านั้น ลองซี่ ว่างๆ วิ่งรถเดินทางไป ตจว. ถึง จว.ไหนก็ได้ ยิ่งไกลยิ่งดี เปิดวิทยุในรถระบบ AM คลื่น 594 ก็จะรู้ว่า ว่ารับได้หรือไม่ได้ รับได้ ได้แค่ไหน รับไม่ได้คือรับไม่ได้ แค่นี้ก็รู้ ลองดูซี่ ..... โฆษณาที่นี่ ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมเสริมโฆษณา (เน้นย้ำ....กิจกรรมเสริมโฆษณา) อีก ตอนนี้คิดคร่าวๆได้ราว 20 กิจกรรมเสริม อันนี้ต้องมาคุยกัน วางแผนร่วมกันว่าจะเสริมยังไง....

************************************************************
***********************************************************

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 25 MAY ....นาข้าว-2

จาก :
(097) 298-47xx
ข้อความ : ขอสูตรลุงคิม ลดปุ๋ยเคมีนาข้าว แล้วใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน

จาก : (069) 117-93xx
ข้อความ : ข้าวคุณภาพต่ำ โรงสีตัดราคา แก้ไขอย่างไร

จาก : (085) 539-31xx
ข้อความ : ข้าวปนแก้ไขอย่างไร
ตอบ :

บ่น :

* เรื่องเกษตร คำถามสั้น คำตอบยาว พูดได้เป็นวันๆไม่จบ เขียนหนังสือได้เป็นเล่ม เรียนถึงระดับดอกเตอร์

* ฟังอย่างเดียว ฟังจบก็ลืม ฟังซ้ำไม่ได้
* อ่านครั้งเดียว จำได้มากกว่าฟัง 10 ครั้ง อ่าน 10 ครั้ง อ่านในแปลงพืชที่ปลูก อ่านไปดูของจริงไป จำได้ตลอดชีวิต

* เกษตรเป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่มีตามความเหมาะสม
* ปลูกข้าวตามใจข้าว = ได้ข้าว .... ปลูกข้าวตามใจคน = ได้หนี้....
* ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม เผลอๆเสียหายมากกว่าเดิมด้วย
* ทำตามคนที่ล้มเหลว เสียหายมากกว่าเพราะใจมุ่งเอาชนะ เขาใส่ปุ๋ย 1 เราใส่ 2 เขาฉีดยา 1 เราฉีด 2

* ทำตามคนที่สำเร็จ เอาแนวทางนั้นมาต่อยอด ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง
* ต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวงอยู่ที่ “ใจ” ทั้งสิ้น เพราะใจ “ไม่เอา” เปิดมุ้งมา “ก.ไม่เชื่อ แถวนี้ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ” นี่แหละ แต่ถ้าใจ “เอา” ยากแค่ไหน ก็ขวนขวายไขว่คว้าหามาจนได้

*** NET KASETLOONGKIM.COM, วิทยุรายการสีสันชีวิตไทย, หนังสือฯ, นำเสนอเรื่อง “นาข้าว” มากที่สุด ในบรรดาพืชทั้งหมด



คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
จาก :
(089) 165-36xx
ข้อความ : ข่าว ทีวี. ปี 61 ข้าวไทยราคาแพงกว่าประเทศคู่แข่ง อยากลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยเคมี ถ้าเราไถกลบฟางแล้วจะได้ธาตุอาหารจากฟาง หรือไม่ เท่าไหร่....
ตอบ :
นาข้าว 1 ไร่ ได้ผลผลิต 100 ถัง ฟางที่เหลือเมื่อนำมาตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารแล้วพบว่ามี..... ไนโตรเจน 32 กก., ฟอสฟอรัส 22 กก., โปแตสเซียม 8 กก., แคลเซียม 14 กก., แม็กเนเซียม 6 กก., กำมะถัน 2 กก., ซิลิก้า 13 กก., ธาตุอาหารต่างๆที่กล่าวรวมกันติดไปกับเมล็ดเพียง 2 กก.เท่านั้น
(ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

จาก : (068) 248-19xx
ข้อความ : กราบคุณตาผู้พัน อาจารย์เกษตรบอกว่า ปีนี้ข้าวไทยจะสู้ข้าวต่างประเทศไม่ได้ สาเหตุ ข้าวไทยต้นทุนสูง คุณภาพไม่ดี หนูอยากขอข้อมูลเกี่ยวกับธาตุอาหารสำหรับนาข้าวค่ะ จะเอาไปเขียนรายงาน .... หลานปูเป้ นครสวรรค์
ตอบ :
(1)
- ยูเรีย. ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี. สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป : ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต ..... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก....
ยูเรียต่อต้น : ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

ยูเรียต่อเมล็ด : เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

ยูเรียต่อคุณค่าสารอาหาร : ความเข้มข้น (%) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน) ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ

ถ้าได้ไถกลบเศษซากต้นถั่วเหลือง (เมล็ดพันธุ์ 12 กก./ไร่) ลงไปอีกก็จะได้ ไนโตรเจน 45 กก. เมื่อรวมฟางกับต้นถั่วเหลืองแล้วจะทำให้ได้ปุ๋ยสำหรับต้นข้าวมากมาย

ดินที่สภาพโครงสร้างดีตามมาตรฐานกรมพัฒนาที่ดินระบุว่า เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปแต่ละครั้งต้นพืชได้นำไปใช้จริงเพียง 4 ส่วน แล้วเหลือตกค้างอยู่ในดิน 6 ส่วนเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี 1-2 รุ่นแล้วเว้น 1 รุ่น ก็จะยังคงมีปุ๋ยเคมีเหลือตกค้างจากการใส่แต่ละรุ่นที่ผ่านมาบำรุงต้นข้าวรุ่นปัจจุบันได้อย่างเพียงพอ

- มาตรการบำรุงดินโดยปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงบำรุงดิน และจุลินทรีย์ อย่างสม่ำเสมอ-ต่อเนื่อง-รุ่นต่อรุ่น-หลายๆรุ่น-หลายๆปี จะทำให้เกิดการ “สะสม” (เน้นย้ำ “สะสม”) อยู่ในเนื้อดิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพโครงสร้างของดิน ดีขึ้น ดีขึ้นและดีขึ้น ตามลำดับ

- ไม่ควรปลูกข้าวอย่างเดียวแบบต่อเนื่อง รุ่นต่อรุ่น หลายๆรุ่น หลายๆปี แต่ควรเว้นรุ่นทำนา 2-3รุ่นแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว 1 รุ่น นอกจากจะได้เศษซากพืชตระกูลถั่วไถกลบปรับปรุงบำรุงดินแล้วยังเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง และเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

- นาหว่านที่หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกร่วมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ต้นข้าวจะงอกและโตพร้อมๆกับต้นถั่วเขียว เลี้ยงต้นกล้าข้าวให้นานที่สุดเท่าๆกับได้ต้นถั่วสูงสุด จากนั้น จึงปล่อยน้ำเข้าท่วมนาจะทำให้ต้นถั่วตายแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน/จุลินทรีย์) สำหรับต้นข้าว

- นาดำหลังจากปักดำ ใส่แหนแดงหรือแหนเขียว 2-3 ปุ้งกี๋/ไร่ ปล่อยไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แหนจะแพร่ขยายพันธุ์จนเต็มกระทง ระดับน้ำที่เคยมีเมื่อตอนดำนาก็จะลดลงจนถึงผิวหน้าดินพร้อมๆกับแหนลงไปอยู่ที่ผิวดินด้วย แล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย (ไนโตรเจน) พืชสดสำหรับต้นข้าว

- ดินที่อุดมสมบูรณ์ดี (ตามหลักวิชาการ) เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีลงไปจะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตทางใบ (บ้าใบ/เฝือใบ) ดีมาก แต่ผลผลิตกลับลดลง....แปลงนาข้าวที่มีอินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดินมากจะให้ผลผลิตดีมากไม่เฝือใบ ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า ต้นข้าวงามใบ (บ้าใบ) แก้ไขโดยการให้ “โมลิบดินั่ม +แคลเซียม โบรอน” 1 ครั้ง

- สภาพดินเหนียว ดินทราย ดินดำ ดินร่วน ฯลฯ ในดินแต่ละประเภทต่างก็มีสารอาหารพืชและปริมาณแตกต่างกัน สารอาหารพืชเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามกลไกทางธรรมชาติหรือ เกิดจากกระบวนการสารพัดจุลินทรีย์ย่อยสลายสารพัดอินทรีย์วัตถุ

วันนี้ สารอาหารธรรมชาติในดินหมดไป หรือเหลือน้อยมากจนไม่พอพียงต่อความต้องการของพืชเพื่อการพัฒนาเจริญเติบโต สาเหตุหลักเกิดจากการปลูกพืชแบบซ้ำรุ่น ต่อเนื่อง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งพืชคือผู้นำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ สาเหตุรองลงมา คือ เกิดจากมนุษย์ทำลายวงจรการเกิดใหม่ของสารอาหารตามธรรมชาติ และทำลายผู้ผลิตสารอาหาร(จุลินทรีย์) นั่นเอง ดังนั้นจากคำกล่าวที่ว่า ดินมีสารอาหารพืช ต้องเปลี่ยนใหม่เป็นพูดว่าดินเคยมีสารอาหารจึงจะถูกต้องตามข้อ เท็จจริง

แนวทางแก้ไข คือ จัดการให้มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดสารอาหารพืช และ ส่งเสริมผู้ผลิตสารอาหารพืช ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด แล้วดินจะกลับคืนมาเป็นดินดี เหมือนป่าเปิดใหม่อีกครั้ง และจะเป็นดินดีตลอดไปอย่างยั่งยืนตราบเท่าที่ได้จัดการและส่งเสริมอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์เป็นเมล็ดลีบสูง แก้ไขด้วยการให้ธาตุสังกะสี สายพันธุ์ที่มีอัตราการแตกกอน้อย แก้ไขด้วยการธาตุอาหาร P และ K สูง ในช่วงแตกกอ เป็นต้น การเน้นสารอาหารเพื่อให้พืชได้รับมากเป็นกรณีพิเศษ ควรให้ทางรากโดยใส่ไว้ในเนื้อดินตั้งแต่ตอนทำเทือก หลังจากนั้นจึงให้เสริมทางใบเป็นระยะ สม่ำเสมอ

- การลดความสูงต้นของต้นข้าว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นแข็งแรงไม่ล้มหักง่ายและโรคแมลงเข้ารบกวนน้อยอีกด้วย....

ลำต้นสูงมากๆ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยงไปสร้างลำต้น จึงทำให้มีสารอาหารเหลือไปเลี้ยงรวงน้อย หรือ ฟางมากเมล็ดน้อย-ฟางน้อยเมล็ดมาก....

ต้นข้าวในน้ำที่ระดับพอเปียกหน้าดิน (ดินแฉะเล็กน้อย) จะแตกกอได้จำนวนมากกว่าต้นข้าวที่ปลูกในน้ำขังค้าง หรือท่วมโคน....

ข้าวลำต้นสูง (น้ำมาก ไนโตรเจนมาก) จะมีรวงสั้น แต่ข้าวลำต้นสั้น (น้ำพอแฉะหน้าดิน สารอาหารสมดุลทุกตัว)จะมีรวงยาว....

ต้นข้าวช่วงระยะกล้าที่ไม่ได้ให้ 46-0-0 แต่ให้ 16-8-8 แทน ควบคู่กับช่วงตั้งท้องแต่งตัวให้ 0-42-56 โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ จะช่วยให้ต้นข้าวไม่สูงแต่กลับเจริญเติบโตข้างอวบอ้วน เหมือนต้นไม้ผลมีอาการอั้นตาดอก....

การตัดใบยอดช่วงตั้งท้องแต่งตัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ต้นข้าวไม่สูงต่อ แล้วอวบ อ้วนเหมือนอั้นตาดอกได้เช่นกัน

- อากาศหนาว (15-20 องศา ซ./ภาคเหนือเกิดน้ำค้างแข็ง) ติดต่อกัน 10 วัน มีผลต่อต้นข้าวหลายอย่าง เช่น เมล็ดไม่งอก ต้นกล้าโตช้า ต้นแคระแกร็นใบเหลือง ออกดอกช้า และช่วงออกดอกเป็นช่อดอกอ่อนเกสรจะฝ่อ ผสมไม่ติด หรือผสมติดก็เป็นเมล็ดลีบ แก้ไขโดยให้ “แม็กเนเซียม+ สังกะสี + กลูโคส หรือฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนหนาว 2-3 วัน และให้ระหว่างอากาศหนาว ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศหายหนาว

- อากาศร้อน (สูงกว่า 35 องศา ซ.) ช่วงข้าวหลังผสมเกสรติดหรือเริ่มเป็นน้ำนมจะกลายเป็นข้าวลีบมาก แก้ไขโดยการให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.+ ฮอร์โมนทางด่วน” ล่วงหน้าก่อนอากาศร้อน 2-3 วันและให้ระหว่างอากาศร้อน ทุก 2-3 วัน จนกว่าอากาศจะปกติ

- สายลมแรงมากทำให้ต้นข้าวเครียด เนื่องจากต้องคายน้ำมาก มีผลทำให้เมล็ดข้าวลีบ รวงจะเป็นสีขาวคล้ายถูกหนอนกอทำลาย วิธีแก้ไขเหมือนช่วงอากาศร้อนจัด

วิธีกำจัดข้าวปน
ข้าวปน คือ ข้าวต่างสายพันธุ์ มีทั้งต่างสายพันธุ์โดยกำเนิดและต่างสายพันธุ์ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในแปลงปลูก ไม่ว่าสายพันธุ์จะมีความเป็นมาอย่างไร เมื่อปลูกไปแล้วผลผลิตที่ได้คุณภาพ และราคาย่อมแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตข้าวทั้งหมดตรงตามสายพันธุ์อย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องป้องกันและกำจัดข้าวปน ดังนี้....

1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ว่า มีมาตรการป้องกันข้าวปนอย่างไร เช่น ความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การป้องกันกำจัดวัชพืช การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวทุกระยะตั้งแต่ ก่อนปลูก ระหว่างปลูก จนถึงหลังเก็บเกี่ยว เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกติดต่อกันมาแล้ว 3 รุ่น เมื่อนำมาปลูกเป็นรุ่นที่ 4 มักจะกลายพันธุ์หรือได้คุณภาพไม่ตรงกับสายพันธุ์เดิมที่ปลูกรุ่นแรกๆ

2. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่รูปทรงลักษณะ (ขนาด รูปทรง สี ฯลฯ) ผิดเพี้ยนไปจากเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ทิ้งไป

3. ตรวจลักษณะต้นกล้าในแปลงตกกล้าก่อนถอนกล้าไปดำ (ด้วยมือ) ในแปลงจริงโดยพิจารณาถอนทิ้งต้นที่ขนาดและรูปทรง (โตกว่า/เล็กกว่า/อ้วน/ผอม) ผิดปกติจากต้นกล้าส่วนใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ส่วนนาดำด้วยรถดำนาซึ่งต้องตกกล้าในกระบะ อาจจะไม่สะดวกต่อการตรวจสอบขนาดและรูปต้นกล้าก็ให้อนุโลมผ่านไปก่อน

4. ปลังจากดำแล้วให้ตรวจสอบลักษณะต้นข้าวในแปลง ทุก20-30 วัน โดยพิจารณาลักษณะต่างๆ ดังนี้

อัตราการเจริญเติบโต .... เร็ว/ช้า
แตกกอ ................... มาก/น้อย
ลำต้น ..................... อ้วน/ผอม...สูง/ต่ำ......ปล้องยาว/สั้น
ใบ ........................ ยาว/สั้น....กว้าง/แคบ....สีเข้ม/จาง
กาบใบ .................... แน่น/หลวม
ดอก ...................... ออกเร็ว/ช้า...ออกแล้วพุ่ง/ไม่พุ่ง....ตั้งตรง/ตั้งเอียง
รวง ....................... ความยาว/สั้น..เมล็ดดก/ไม่ดก......โค้งงอลงมาก/น้อย
เมล็ด ..................... ขนาดใหญ่/เล็ก..ยาว/สั้น...กลม/แบน...สีเข้ม/จาง
อายุ ....................... แก่ก่อน/หลัง....แก่พร้อมกัน/ไม่พร้อมกัน

การวิเคราะห์สาเหตุจากลักษณะทุกอย่างดังกล่าวหรืออื่นๆ ที่ปรากฏเด่นชัดให้ถูกต้องนั้น จะต้องพิจารณาลักษณะแปลงปลูกที่เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านการเพาะปลูก(ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างละเอียดประกอบด้วย เพราะบางครั้งลักษณะอาการของต้นข้าวที่ผิดเพี้ยนไปนั้นเกิดจากปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่ลักษณะอาการของสายพันธุ์โดยแท้ เช่น ที่ลุ่ม/ที่ดอน ร่มเงา/แสงแดด ดินเก่า/ใหม่ ร้อน/หนาว/ฝน สารเคมี (ยาฆ่าแมลง/ยาฆ่า
หญ้า) จากแปลงข้างเคียง และอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวแต่ละระยะระหว่างตรวจแปลง

ถ้ามั่นใจว่าลักษณะของต้นข้าวบางต้นที่ต่างไปจากต้นอื่นส่วนใหญ่ทั้งแปลงนั้น เกิดจากลักษณะทางสายพันธุ์ไม่ใช่จากสภาพแวดล้อม และการปฏิบัติบำรุงแน่ ก็ให้ถอนทิ้งต้นนั้นไป

5. ก่อนลงมือหว่านหรือดำเพื่อทำนารุ่นใหม่ด้วยสายพันธุ์ใหม่ ควรกำจัดตอซังของนาข้าวรุ่นก่อนหน้าให้หมดสิ้น เพื่อไม่ให้เกิดหน่อใหม่งอกขึ้นมาจากตอซัง ซึ่งหน่อใหม่นี้จะโตจนเป็นต้นข้าวแล้วให้ผลผลิตหรือเมล็ดข้าวที่ต่างจากสายพันธุ์ใหม่

----------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©