-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 21 MAY *สำ สำปะ สำปะหลัง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 MAY * นาข้าว-1
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 MAY * นาข้าว-1

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/05/2021 6:08 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 MAY * นาข้าว-1 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 MAY ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

วันนี้วันจันทร์ที่ 24 พ.ค. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย...ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 29 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 ....ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

- สังเกต....วันนี้ สปอนเซอร์ถอนตัวไป 1 งานนี้ใครสนใจก็ติดต่อเข้ามา วิทยุ ปตอ. AM ระยะแพร่คลื่น 100% ได้ 20 จังหวัด แพร่คลื่นแบบกระโดดเป็นหย่อมๆ อีก 20 จังหวัด น่าจะดีกว่า FM ทั้งคลื่นหลัก คลื่นชุมชน ที่แพร่คลื่นไปได้แค่จังหวัดเดียวเท่านั้น ลองซี่ ว่างๆ วิ่งรถเดินทางไป ตจว. ถึง จว.ไหนก็ได้ ยิ่งไกลยิ่งดี เปิดวิทยุในรถระบบ AM คลื่น 594 ก็จะรู้ว่า ว่ารับได้หรือไม่ได้ รับได้ ได้แค่ไหน รับไม่ได้คือรับไม่ได้ แค่นี้ก็รู้ ลองดูซี่ ..... โฆษณาที่นี่ ไม่ใช่พูดอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมเสริมโฆษณา (เน้นย้ำ....กิจกรรมเสริมโฆษณา) อีก ตอนนี้คิดคร่าวๆได้ราว 20 กิจกรรมเสริม อันนี้ต้องมาคุยกัน วางแผนร่วมกันว่าจะเสริมยังไง....

************************************************************
***********************************************************

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 24 MAY .... นาข้าว-1

จาก :
(098) 520-61xx
ข้อความ : ลุงผู้พันครับ ทำนาแบบไหนดีที่สุด

จาก : (060) 176-49xx
ข้อความ : นาข้าว ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ ปีนี้แล้งมาก หนี้มากด้วย

จาก : (095) 712-53xx
ข้อความ : ร.ร.สอนเด็กดำนาด้วยมือ ทำไมไม่สอนเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
5 MAR

จาก :
(094) 109-42xx
ข้อความ : นา 10 ไร่ ทำอย่างไรให้รวย
ตอบ : ....
ตั้งแต่จับภารกิจส่งเสริมการเกษตร จากปี 2537 ถึง 2564 พูดได้เต็มปากว่า กิจกรรมเกษตรที่ส่งเสริมมากที่สุด คือ “นาข้าว” โดยเฉพาะผลงานเขียน ทั้งที่เป็นหนังสือ ในอินเตอร์เน็ต KASETLOONGKIM.COM มีเรื่องนาข้าวมากที่สุด งานเขียนเกิดขึ้นได้ยังไง ทั้งๆที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องนี้มาโดยตรงโดยเฉพาะ คำคอบ คือ “อ่าน อ่าน อ่าน และอ่านอ่านอ่าน” นั่นไง ....ตัวอย่างหัวข้องานเขียน

2. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องนาข้าว
3. หลากหลายวิธีไม่เผาฟาง
4. นาข้าวแบบประณีต
5. นาข้าวแบบเหมาจ่าย

6. นาข้าวปีละ 1 รุ่น
7. นาข้าวปีละ 2 รุ่น
8. นาข้าวปีละ 3 รุ่น
9. นาข้าวปีละ 4 รุ่น
10. นาสำรวย

11. นาข้าวล้มตอซัง
12. นาข้าวแบบไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมี
13. นาข้าวไบโอไดนามิค
14. ปลูกข้าวประหยัดน้ำด้วยข้าวแอโรบิก
15. ปลูกข้าวทำพันธุ์

16. วิธีกำจัดข้าวปน
17. กำจัดวัชพืช

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10

ปรัชญาเกษตร :
* คิดใหม่ ทำใหม่ เพราะโลกวันนี้เปลี่ยนไปเยอะ...
* ทำตามคนที่สำเร็จ เอาความสำเร็จนั้นมา ต่อยอด/ขยายผล เป็นสูตรของตัวเอง...
* ฤดูฝนมาแล้ว ฤดูทำนามาแล้ว ถามตัวเองถามคนในบ้าน นาข้าวปีนี้จะทำแบบเดิม 100% หรือ เดิม 50% +ใหม่ 50% หรือ ใหม่ 100%

* ผลผลิตเพิ่ม (ปริมาณต่อไร่ 100 ถังขึ้น คุณภาพไม่มีรายการโรงสีตัดราคา) ต้นทุนลด (ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง จ่ายหรือทำเอง) อนาคตดี (ร้านขายข้าวปลูกสนใจสั่งจองล่วงหน้า)

* งานวิจัยการเกษตรไทย พบว่า เกษตรกรนิยมเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่ แต่ไม่สนใจใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี ในการเพิ่มผลผลิต

* งานวิจัยระดับโลก บอกว่า ทุกอย่างในโลกจะพัฒนาก้าวหน้าได้ด้วยเทคโนโลยี
* การทำแบบเดิมๆ หยุดอยู่กับที่ คือถอยหลัง เพราะคนอื่นก้าวไปข้างหน้า
* ขยันแต่ทำผิด = ไม่ได้อะไร หรือเสียหายมากกว่าไม่ได้ทำ
**


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ชาวนามือใหม่ สิงห์บุรี :
หญ้าขี่ข้าว :
แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลัก บำรุงทั้งสองอย่างไปเลย โตทั้งสองอย่างก็ช่างมัน เพราะถ้ามัวแต่กลัวหญ้าโตเลยไม่ให้ ต้นข้าวก็เลยอดด้วย เอาเถอะ ให้ปุ๋ยทางใบแล้ว ใบหญ้าไม่โน้มใบมาแย่งอาหารต้นข้าวที่ใบข้าวหรอก แต่ถ้าให้ปุ๋ยทางราก อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่า ต้นหญ้าหาอาหารเก่งกว่าต้นข้าว ใส่ปุ๋ยลงไป 10 ส่วน หญ้าเอาไปกิน 8 ส่วน ต้นข้าวได้แค่ 2 ส่วนเท่านั้น

* ทำไงได้ นาข้าวรุ่นนี้ ต้องเลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน รุ่นหน้าเอาใหม่ เกี่ยวข้าวแล้วเอาปุ๋ยที่หญ้าเอาไปนั้นกลับคืนมาโดยการไถกลบ หมักฟาง

* ประสบการณ์ตรง นาข้าวริมถนนสายบายพาส สิงห์บุรี ข้าวครึ่งหญ้าครึ่ง บำรุงทางใบทุก 7 วัน ไม่ให้ปุ๋ยทางดิน ยังได้ข้าวตั้ง 120 ถัง

นาข้าวแบบเหมาจ่าย :
แนวทางปฏิบัติ :

การเตรียมแปลง - การเตรียมเทือก - การเตรียมเมล็ดพันธุ์......ปฏิบัติเหมือนการทำนาแบบประณีต ทุกประการ

การบำรุงต่อต้นข้าว : หลังจากต้นข้าวงอกขึ้นมาแล้วให้บำรุงด้วย ธาตุรอง-ธาตุเสริม เป็นหลักเพียงอย่างเดียว โดยฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบหรือให้โชกลงดินบ้างเล็กน้อยทุก 7-10 วัน

นอกจากนี้ ช่วงระยะพัฒนาการที่สำคัญอาจจะบำรุงเสริมด้วย ฮอร์โมน (ทำเอง) บ้าง 1-2 ครั้ง ก็ถือว่าพอเพียงแล้ว

เตรียมดิน :
เป็นแปลงนาที่มีประวัติดินผ่านการทำนาข้าวแบบประณีตมาแล้ว 2-3 รุ่น ในเนื้อดินไม่เคยสะสมสารพิษ (ยาฆ่าหอยเชอรี่-ปู-หนู ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าหญ้า) แต่ได้สะสมทั้งจุลินทรีย์ธรรมชาติ (ประจำถิ่น) และจุลินทรีย์ที่ผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

ทำเทือก :
1. ปล่อยน้ำเข้าแปลง ลึก 15-20 ซม.
2. ใช้น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2-3 ล. + 16-8-8 (10 กก.) + น้ำ (ตามความเหมาะสม) /1 ไร่ สาดให้ทั่วแปลง

3. ย่ำฟางเพื่อทำเทือกและกำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1
4. หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน ทำเทือกเพื่อย่ำฟางและกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 แล้วเตรียมหว่านหรือดำ

บำรุง :
1. ระยะกล้า บำรุงด้วย แคลเซียม โบรอน โดยฉีดพ่นพอเปียกใบ 1 รอบ ก่อนถอนกล้า 5-7 วัน
2. ระยะแตกกอ บำรุงด้วย ไบโออิ + 18-38-12 เมื่อข้าวอายุ 20 - 30 และ 40 วัน รวม 3 ครั้ง ด้วยการฉีดพ่น

3. ระยะตั้งท้อง บำรุงด้วยน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 2-3 ล. + 16-8-8 (10 กก.) / ไร่
4. ระยะออกรวง บำรุงด้วย ไทเป โดยฉีดพ่นไปเปียกใบ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
5. ระยะน้ำนม บำรุงด้วย ไบโออิ + ยูเรก้า 3-4 ครั้ง ด้วยการฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 7-10 วัน จนกระทั่งเกี่ยว

หมายเหตุ :
ผลจากการให้ไบโออิ. ซึ่งมีส่วนผสมของ แม็กเนเซียม-สังกะสี เป็นหลัก จะช่วยทำให้ใบธงต้นข้าวยังคงเป็นสีเขียวสดจนกระทั่งถึงวันเกี่ยว (พลับพลึง) แล้ว ระยะเวลาเกี่ยวยังนานกว่าปกติ 7-10 วันอีก ด้วย การที่ระยะเวลาเกี่ยวนานกว่าปกติ 7-10 วันนี้ช่วยให้ได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-15%

นาข้าวล้มตอซัง :
หลักการและเหตุผล :

ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกันคือ หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบโตจนออกดอกติดผลได้ โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูกใหม่แต่อย่างใด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ ลดต้นทุนค่าไถ ทำเทือก หมักฟาง หว่าน/ดำ เมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ

แนวทางปฏิบัติ :
1. หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำนาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าวคือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนังสติ๊กได้พอดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอดใหม่จากตอซังนั่นเอง

2. ผลสำรวจความชื้นน้าดิน ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยวพ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้มทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง

3. ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียกว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดินตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่กระจายออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้นเพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป

วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้

ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัวไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและน้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย

4. หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมีความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด

หมายเหตุ :
- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถเกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตกยอดใหม่ได้

- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย

5. หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นแล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็นต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วมคอต้นกล้าใหม่

หมายเหตุ :
- แปลงนาที่ผ่านการ “เตรียมแปลง” โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้งแปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้แปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่บางส่วนดอน (สูง) บางส่วนลุ่ม (ต่ำ) จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย

- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณในอนาคตแต่อย่างใด

บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดินบริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่ได้นั่นเอง วิธีแก้ไขคือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมาบ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่

- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก กล่าวคือ ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี ข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 แตกกอดีพอประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี

- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่ หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะสมแล้วใส่ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8 (5 กก.) /1 ไร่ โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

6. หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าวร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีตต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว

ข่าวเกษตร คมชัดลึก : ส.ป.ก.จับมือไต้หวันถ่ายทอดและพัฒนาระบบการปลูกข้าวไทยแบบใหม่ เปิดพื้นที่นำร่องใน 5 จังหวัดภาคกลางทำเป็นแปลงสาธิตไว้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมดำเนินการเดือน ก.พ. นี้

นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของไทยยังประสบปัญหาด้านผลผลิตข้าวต่อไร่ต่ำ นอกจากนั้นในแต่ละรอบการปลูกข้าวยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ส่งผลให้มีรายได้น้อยจนกลายเป็นปัญหาความยากจนเรื้อรังมานาน ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ให้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกข้าวที่ดี ส.ป.ก.จึงได้ร่วมมือกับนักวิชาการเกษตรชาวไต้หวัน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวรูปแบบใหม่ และการบริหารจัดการแปลงนาเพื่อให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินแถบภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งปลูกขนาดใหญ่ของไทย ได้แก่ สุพรรณบุรี. นครปฐม. นครนายก. ปทุมธานี. และฉะเชิงเทรา.

สำหรับรูปแบบการดำเนินการจะจัดทำเป็นแปลงสาธิต โดยคัดเลือกพื้นที่แปลงนาจังหวัดละ 1,000 ไร่ เพื่อทดลองปลูกข้าวตามรูปแบบของไต้หวัน ที่ให้ผลผลิตสูงในขณะที่ใช้พื้นที่การปลูกน้อย ด้วยการปลูกข้าวเป็นกอ แทนการหว่านเมล็ด และผสมผสานการจัดการแปลงอย่างเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะให้ผลผลิตต่อไร่สูงแล้ว ยังลดการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวได้เป็นอย่างดีจากเดิมที่เคยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 15 กก./ไร่ เหลือเพียง 8 กก./ไร่ อีกทั้งลดการปลอมปนของพันธุ์ข้าวได้ผลเป็นอย่างดี โดยแปลงปลูกดังกล่าว จะเป็นต้นแบบสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป

http://www.komchadluek.net

----------------------------------------------------------------------------------


.


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©