-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR *จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR *จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR *จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/04/2021 5:54 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR *จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR ...
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 1 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดพยัคฆาราม ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....

************************************************************
***********************************************************

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 30 APR

จาก :
(094) 830-15xx
ข้อความ : เรียนคุณตาผู้พัน ขอข้อมูลเรื่องจุลินทรีย์ในธรรมชาติ การเพาะเชื้อ การขยายพันธุ์ วิธีการใช้ จะเอาไปเขียนรายงานส่งครูเกษตรค่ะ ขอบพระคุณคุณตาอย่างสูง หลานเต้ย ไทรโยค

จาก : (083) 278-19xx
ข้อความ : ขอวิธีทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยค่ะ
ตอบ :
จุลินทรีย์มีหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย. เชื้อรา. แอคติโนมัยซิท. สาหร่าย. โปรโตซัว. ไมโครพลาสมา. โรติเฟอร์. และไวรัส

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรียวัตถุ และอนินทรีย์วัตถุ แล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ

6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ประโยชน์ของฮิวมัส (ซากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว) :
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง

1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ :
หลักการและเหตุผล :

- การที่จะรู้ว่าพื้นดินหรือแหล่งปลูกพืชบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทใดได้นั้น สังเกตจากการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียงเป็นหลัก ถ้าต้นพืชเจริญเติบโตดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ แต่ถ้าต้นพืชไม่เจริญเติบโต แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์

- ประเภทของจุลินทรีย์ธรรมชาติในแหล่งธรรมชาติ
*** รากหญ้าแฝก หญ้าขน หญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น มีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์
*** ปมรากถั่วลิสง มีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.
*** รากมะกอกน้ำ มีจุลินทรีย์บาซิลลัส.
*** รากกล้วย มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส.
*** รากพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น สะดา เหลียง มะขามเทศ
*** เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ ผุเปื่อย
*** ดินผิวดินที่ประวัติเคมีมีเห็ดธรรมชาติเกิดประจำ

วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ :
น้ำ (พีเอช 6.7-7.0)................... 10 ล.
กากน้ำตาล............................... 1 ล.
น้ำมะพร้าว............................... 1 ล.
วัสดุจุลินทรีย์เริ่มต้นหลายๆอย่าง........ 1-2 กก.
คนเคล้าให้เข้ากันดี
เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. ........... 7-10 วัน
ได้ "หัวเชื้อ" พร้อมใช้งาน
ใช้ "หัวเชื้อ 1 ล./น้ำ 500 ล." (1:500) ราดรดลงดิน หรือบนกองปุ๋ยอินทรีย์

หมายเหตุ :
การนำวัสดุที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ หลายๆอย่าง สับเล็ก ใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์หมักในกอง ก็จะทำให้จุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติที่ใส่ร่วมลงไปนั้นขยายเชื้อเพิ่มปริมาณได้

2. จุลินทรีย์ อีแอบ :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. ใช้ “ปลาทะเลสดยังมีชีวิตทั้งตัวบดละเอียด 1 กก. + กากน้ำตาล 50 ซีซี. + หัวกระเทียมบดละเอียด 200-300 กรัม.” ผสมนวดให้เข้ากันดี

2. นำเนื้อปลาที่นวดดีแล้วห่อด้วยใบตองหลายๆ ชั้น รัดห่อด้วยเชือกเป็นเปราะๆ เหมือนห่อหมูยอ แล้วเก็บไว้ในตู้กับข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน ช่วงอุณหภูมิอากาศปกติ หรือ 15-20 วันช่วงอุณหภูมิอากาศเย็น ได้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ." เข้มข้น พร้อมนำไปขยายเชื้อ

ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :
1. เตรียมน้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งให้เย็น 10 ล.ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ สะอาด ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ล. หรืออัตราส่วน 10 : 1 คนให้เข้ากันดี

2. นำก้อนเชื้อจุลินทรีย์ออกมาจากห่อ ใส่ลงไปในน้ำ ขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
3. ใส่ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ลงไปแล้วช่วงการหมัก 24-48 ชม.แรกให้ปิดฝาสนิท อย่าให้อากาศเข้าได้ ผ่าน 24-48 ชม.ไปแล้วคลายฝาออกปิดพอหลวม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์

4. ตรวจสอบประจำวันด้วยการสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในถังขยายเชื้อ ถ้ามีฟองผุดขึ้นมามากแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ถ้ามีฟองผุดขึ้นมาน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยให้ใส่เพิ่ม “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์” พร้อมกับเติมกากน้ำตาลอีก อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกกับน้ำมะพร้าวอ่อนเล็กน้อยลงไป คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งแล้วหมักขยายเชื้อต่อไป

- หลังจากหมดฟองแล้วได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” ให้นำออกใช้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
- ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำออกไปใช้ ให้ปฏิบัติเหมือนขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น

หมายเหตุ :
- ไม่ควรเก็บจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อจนเจริญดีแล้วไว้ในน้ำขยายเชื้อนานเกินไป เพราะจะทำให้จุลินทรีย์กลุ่มแรก (จุลินทรีย์ที่ต้องการ) ซึ่งเกิดก่อนต้องตายแล้วเกิดจุลินทรีย์กลุ่มใหม่ (ไม่รู้จัก) ขึ้นมาแทน ทั้งนี้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการความชื้นเพียง 30-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

- การควบคุมอุณหภูมิในถังขยายเชื้อหรือถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศาเซลเซียสอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น

* ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ. ตรวจสอบจุลินทรีย์ อีเอ็ม. ว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มไหนบ้าง จากนั้นพยายามคัดสรรสารพัดวัสดุเพื่อนำมา เพาะ/ขยายเชื้อ จนกระทั่งพบว่า ปลาทะเล. ทำให้ได้จุลินทรีย์กลุ่มเดียวกันกับ อีเอ็ม. ทันทีที่พบถึงกับอุทานว่า "แอบ" อยู่นี่เอง และนี่คือที่มาของชื่อว่า "อีแอบ" ที่ลุงคิมตั้งให้เอง

3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :

ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว

การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี

- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ในอีแอบ.มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น

จากหนังสือ “หัวใจเกษตรไท” ......
จุลินทรีย์จาวปลวก :

จาวปลวก คือ รังของปลวกสีขาวขุ่น รูปร่างคล้ายปะการัง หรือมันสมอง เป็นช่องตารางเหมือนรังผึ้ง มีแบคทีเรียกลุ่มโปรโตซัวร์ ชื่อ BACILLUS SEREUS ช่วยบำรุงราก เป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากเน่า รากขาว รากปม

ในลำไส้ปลวกมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเส้นใยของเศษซากพืช แล้วเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารอาหาร สำหรับพืชได้

ขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก :
วิธีที่ 1 :

จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวเหนียวนึ่งปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เช้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิ ห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 2 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวจ้าวสุกปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 3 :
- จาวปลวกสดใหม่ 1/2 กก. พ่นน้ำซาวข้าวพอชื้นๆ ใส่ลงในกระติกน้ำแข็ง ปิดฝาสนิท วางไว้กลางแดดวันละ 4-5 ชม. หน้าร้อน 2-3 วัน หน้าหนาว 5-7 วัน

- ครบกำหนดเปิดกระติก เส้นใยสีขาว คือ เชื้อโปรโตซัวร์ พร้อมขยายต่อ
- นำเชื้อโปรโตซัวร์. คลุกกับข้าวเหนียวนึ่งสุก 1/2 กก. (1:1) ใส่ลงภานะน้ำซาวข้าว 20 ล. ปิดฝาสนิท อุณหภูมิห้อง นาน 7-10 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 4 :
น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี เป็นน้ำขยายเชื้อ ใส่จาวปลวก สดใหม่บดละเอียด 1 กำปั้นมือ ลงในน้ำขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวม วางไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ใส่ปั๊มอ๊อกซิเจน (ปั๊มปลาตู้) เพื่อเติมออกซิเจนให้แก่จุลินทรีย์ ปล่อยไว้ 5-6-7 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ อากาศร้อนขยายพันธุ์เร็ว อากาศเย็นขยายพันธุ์ช้า

ใช้งาน :
- หัวเชื้อเข้มข้น 1-2 ล. + น้ำตามความจำเป็น ใส่นาข้าว/พืชไร่ 1 ไร่ หรือแปลงปลูกผัก 1 ไร่ หรือโคนต้นไม้ผลบริเวณทรงพุ่ม 10-20 ต้น หรือใส่ในกองปุ๋ยอินทรีย์ 1 กอง (1 ตัน) ใส่มากเกินไม่ส่งผลเสีย แต่สิ้นเปลืองเท่านั้น

- จาวปลวก สดใหม่ บดละเอียด ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในกอง หรือหว่านลงพื้นในแปลงปลูก จุลินทรีย์ในจาวปลวกก็ขยายเผ่าพันธุ์เองได้

หมายเหตุ :
- ทดสอบจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการขยายพันธุ์แล้ว ตักน้ำเลี้ยงจุลินทรีย์ใส่ขวดน้ำดื่ม ปิดฝาขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ 3-4-5 วัน แล้งสังเกตลูกโป่ง .... ลูกโป่งพองโตมากและเร็ว แสดงว่าจุลินทรีย์มาก สมบูรณ์ แข็งแรง ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ถ้าลูกโปร่งพองโตน้อยและช้า แสดงว่าจุลินทรีย์น้อย ไม่สมบูรณ์ และไม่แข็งแรง ให้ขยายเชื้อต่อไป

- วิธีการนี้นำไปทดสอบจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด

จุลินทรีย์หน่อกล้วย :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ

3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น) ที่ตัดมา อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้ เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50% ช่วยเร่งให้ ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด “ฮิวมิค แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้ .... ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก

- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน

---------------------------------------------------------------------------------------



.

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©