-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 ม.ค. *มะพร้าวกะทิ เทคนิค/เทคโน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 ม.ค. *มะพร้าวกะทิ เทคนิค/เทคโน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 ม.ค. *มะพร้าวกะทิ เทคนิค/เทคโน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/01/2021 6:24 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 ม.ค. *มะพร้าวกะทิ เทคนิค/เทคโน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 JAN
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

*****************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม ...

ผลิตรายการโดย....
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้สนับสนุนรายการ ....
*** ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส ธันเดอร์แคล.... ออร์เดอร์จาก ออสเตรเลีย แคนนาดา อเมริกา +Mg. Zn. เคมี, .... ออร์เดอร์จากเกาหลี ให้ +Cu เคมี อย่างละ 5% .... ยิบซั่มเพื่อการเกษตรที่ทั่วโลกยอมรับ คือ ยิบซั่มจากประเทศไทย นี่แหละ ..... (089) 144-1112

เช่นเคย รายการเรา
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

........................................................................................................
........................................................................................................


งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ไปที่วัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงวันนี้ เกษตรกรที่ไหนอยากให้งานสัญจรไปลงที่นั่น ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรปกติตามวงรอบ งวดนี้ เสาร์นี้ ตรงกับวันที่ 23 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ สมุนไพรสำหรับคน (086) 983-1966 .... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก กาญจนาภิเษก.

- งานสีสันสัญจรรอบพิเศษ เดือนนี้ ม.ค. มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ตรงกับวันที่ 30 ม.ค. สัญจรพิเศษไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา ส่งข่าวถึงเด็กที่ส่ง “กับดักแมลงวันทอง” เข้าประกวดแล้วได้รับรางวัล ขอให้เอารางวัลนั้นมาโชว์หน่อย แล้วลุงคิมจะมีรางวัลให้ด้วย ....


- งานสัญจรระยะนี้ต้องร่วมกันป้องกัน COVID หลีกเลี่ยงจับกลุ่ม คนมากๆ แนะนำ สมช. สั่งปุ๋ยลุงคิม สั่งยา อ.ณัฐ โทรติดต่อโดยตรงแล้วได้นัดหมายรับส่งของกัน รับของแล้วแยกกันเลย มีปัญหาอะไรโทรศัพท์คุยกันก็ได้....


*** สนใจอยากยลโฉมกับดักแมลงวันทองที่ขายๆในท้องตลาดอันละ 60 บาท ลุงคิมทำอันละ 60 ตังค์ อันนี้เอาไปดู ดูแล้วทำ ออกแบบใหม่ ...

*** วันนี้ เทคโนโลยี สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ไม่ใช่เครื่องมือรดน้ำธรรมดาๆ เท่านั้น แต่ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ ให้ยา (สมุนไพร/เคมี) ไปพร้อมกับน้ำ ทั้งหมดนี้มิใช่แค่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งทีละอย่าง แต่ให้ไปพร้อมกัน 2 อย่าง หรือ 3 อย่างเลยก็ได้ ทำงาน ณ เวลาที่ต้องการ ตี 5 ล้างน้ำค้าง, ตอนสายให้ปุ๋ย, ตอนเที่ยงไล่เพลี้ยไฟ, ตอนค่ำไล่แมลงฆ่าหนอน .... วางแผนจัดแปลงเป็นโซนๆ แปลงผักโซนละ 1 ไร่ ไม้ผลยืนต้นโซนละ 20-50 ต้น ใช้เวลา 5-10 นาที แรงงานคนเดียว ให้น้ำเปล่า, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยา, น้ำ+ปุ๋ย+ยา, ยาสมุนไพร-ยาเคมี ใช้ได้ทั้งนั้น ทำงานครั้งละ 3-5-10 นาที แรงงานคนเดียว ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี คุ้มเกินคุ้มนะ...


************************************************************
**********************************************************


จาก : (093) 729-18xx
ข้อความ : มะพร้าวกะทิครับ ขอบคุณครับ

จาก : (089) 629-47xx
ข้อความ: ที่ไหนจำหน่ายพันธุ์มะพร้าวกะทิครับ

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
จาก :
(094) 629-51xx
ข้อความ : ขอข้อมูลทำมะพร้าวกะทิครับ....ขอบคุณครับ
ตอบ :

ความเป็นมา
ธรรมชาติ ของ “มะพร้าวกะทิ” ทุกสายพันธุ์ เวลาติดผลในหนึ่งทะลาย จะมีผลที่กลายเป็นกะทิร่วมอยู่ด้วย 1 ผล หรือเป็นกะทิ ได้มากที่สุด ไม่เกิน 3 ผล ต่อหนึ่งทะลาย จึงเป็นสาเหตุทำให้ “มะพร้าวกะทิ” มีราคาแพงกว่ามะพร้าวแกงทั่วไปในยุคสมัยก่อน “มะพร้าวกะทิ” จะมีสายพันธุ์เดียวคือ เป็นพันธุ์ที่มีต้นสูง 10 หรือ 15 เมตร ต้องปีนขึ้นไปเก็บลำบากมาก ในยุคนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกกันด้วย จึงทำให้หารับประทานยากและมีราคาแพงตามที่กล่าวข้างต้น

ส่วนใหญ่ นิยมเอาเนื้อ “มะพร้าวกะทิ” ไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ รสชาติหวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูก “มะพร้าวกะทิ” จำนวนมากที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว มีปัญหาเมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติดผลเป็นทะลาย มีผลมากกว่า 15-20 ผล ต่อ 1 ทะลาย เมื่อปล่อยให้ผลแก่เต็มที่คาต้น ไม่สามารถแยกได้ว่าผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิ ต้องใช้วิธีปอกเปลือกทุกผล และผ่าดูเนื้อในทุกผล ทำให้เสียเวลา และผลที่ไม่ใช่ “มะพร้าวกะทิ” เสียหาย เพราะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ทันนั่นเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีวิธีพิสูจน์แบบง่ายๆ ใช้มาแต่โบราณแล้วคือ เมื่อ “มะพร้าวกะทิ” ติด ผลเป็นทะลายปล่อยให้ผลแก่คาต้นก่อน ตัดทะลายลงมา เอาผลแต่ละผลเขย่า ฟังดูว่าถ้าไม่มีเสียงน้ำในผลดังกระฉอกเลย หมายถึงมะพร้าวผลนั้นเป็น “มะพร้าวกะทิ” อย่างแน่นอน ไม่ต้องปอกเปลือก หรือทุบ ดูเนื้อในทุกผลให้เสียเวลาทำหรือฝึกบ่อยๆจึงจะชำนาญ ช่วงแรกอาจมีผิดบ้างเป็นธรรมดา คนโบราณก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน

ส่วนวิธีผ่ารับประทาน คนเฒ่าคนแก่บอกเคล็ดลับว่า ถ้าต้องการให้เนื้อในของ “มะพร้าวกะทิ” ฟู หรือเหนียวแน่น อร่อย ต้องนวดก่อน โดยเอาผลที่ปอกเปลือกแล้วกระแทกกับพื้นปูนเบาๆ รอบๆ ผลให้ทั่ว กะเวลาจนแน่ใจว่าพอแล้วจึงนำผลไปผ่าครึ่ง จะพบว่าเนื้อในฟูเป็นสีขาวคล้ายปุยฝ้าย ใช้ช้อนตักรับประทานได้เลย รสชาติหวานมันหอมอร่อยมาก

ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิ” มี 2 ชนิด พันธุ์ที่ ได้รับความนิยมรับประทานและนิยมปลูกกันแพร่หลาย ได้แก่ “มะพร้าวกะทิน้ำหอม” กับ “มะพร้าวกะทิน้ำหวาน” ซึ่งทั้ง 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน2-3 เมตร ติดผลดก 15-20 ผลต่อหนึ่งทะลาย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร โครงการ 19 แผง “ดาบสมพร” กับโครงการ 13 แผง “คุณภิญโญ” และโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.

การทำมะพร้าวกะทิ
วิธีที่ 1 :
ทำมะพร้าวจากมะพร้าวพันธุ์อะไรก็ได้ ถ้าต้องการให้ลูกออกมาเป็นมะพร้าวกะทิ ก็เอาถุงพลาสติกหุ้มจั่น จั่นก็คือดอกมะพร้าว 1 จั่นคือ 1 ทะลาย จั่นไหนถูกห่อด้วยพลาสติก จั่นนั้นหรือทลายดอกนั้นมันจะพิการ ทั้งนี้จะต้องห่อตั่งแต่กลีบจั่นเริ่มแย้มบาน ห่อไปจนกระทั่งมีลูกขนาดลูกหมากจึงค่อยเอาออก โดยทั่วไปมะพร้าวในทะลายที่ห่อจั่นประมาณ 80-90% จะเป็นมะพร้าวกะทิ วิธีนี้เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบชั่วคราว มะพร้าวในทะลายอื่นๆ ที่ไม่ได้ห่อจั่นจะไม่เป็นมะพร้าวกะทิ

วิธีที่ 2 : เป็นการทำมะพร้าวกะทิแบบถาวร วิธีนี้ให้นำมะพร้าวที่เพาะไว้ ที่มีหน่อเหนือเปลือกขึ้นมาราว 30 ซม. แล้วใช้มีดตัดส่วนปลายตรงข้ามกับหน่อให้กะลาขาด จนเห็นเนื้อสีขาวและจาวสีเหลือง ภายในกะลามะพร้าวจากนั้นคว้านเอาจาวที่อยู่กลางกะลาออก เอาดินเหนียวอัดลงไปในกะลาแทนจาวจนเต็มและแน่นพอประมาณ สามารถนำไปปลูกได้ นายมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า มะพร้าวที่ทำวิธีนี้จะเป็นมะพร้าวกะทิประมาณ 50% หากจะเพิ่มปริมาณก็สามารถทำได้โดยให้เอาผลมะพร้าวที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิมาเพาะแล้วทำวิธีการเดียวกับที่กล่าวมานี้ ก็จะทำให้มะพร้าวในต้นใหม่เป็นมะพร้าวกะทิถึง 80-90% ทีเดียว มะพร้าวทุกพันธุ์สามารถทำมะพร้าวกะทิได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าใช้มะพร้าวน้ำหอม ทำมะพร้าวกะทิไม่ดีเพราะมีกลิ่นเหม็นหืน มะพร้าวที่ดีที่สุดในการทำมะพร้าวกะทิ คือ มะพร้าวกลาง

http://postnoname.com/how-to-make-coconut-milk-trick/


ปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ
มะพร้าวกะทิที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่ ซึ่งเป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง ที่มีช่วงการบานของดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ไม่คาบเกี่ยวกัน เนื่องจากต้นมะพร้าวที่ให้ผลมะพร้าวกะทิอยู่ในสภาพฮีทธีโรไซโกต (Heterozygote) หรือพันธุ์ทาง โอกาสจะเกิดมะพร้าวกะทิบางผลในมะพร้าวต้นนั้นจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1. มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่เพียงต้นเดียวท่ามกลางมะพร้าวที่ให้ผลปกติ การจะเกิดมะพร้าวกะทิได้จะต้องเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเกสรตัวเมียของจั่นพี่กับเกสรตัวผู้ของจั่นน้องภายในต้นเดียวกัน

2. มะพร้าวที่ให้ผลกะทิ ปลูกอยู่หลายต้นในบริเวณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน การเกิดมะพร้าวกะทิจะเกิดจากการผสมข้ามต้น หรือผสมภายในต้นเดียวกันแต่คนละจั่น

นอกจากพบมะพร้าวกะทิ ในมะพร้าวพันธุ์ต้นสูงแล้วยังพบมะพร้าวกะทิในพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม หรือหมูสีเขียว ซึ่งเป็นพันธุ์เตี้ย โอกาสที่จะพบมะพร้าวกะทิในมะพร้าวน้ำหอมมีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะเก็บผลอ่อนขาย จะพบได้ในกรณีที่เจ้าของสวนเก็บผลไว้ทำพันธุ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์มะพร้าวกะทิน้ำหอมต้นเตี้ยพันธุ์แท้ต่อไป

การเพิ่มประชากรมะพร้าวกะทิ :
จากปรากฏการณ์การเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ สามารถที่จะนำความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมาพัฒนาเพื่อสร้างสายพันธุ์ที่ให้มะพร้าวกะทิที่มีคุณภาพ และ มีปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ และนำไปสู่การส่งออกตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปเนื้อสดและแปรรูป

กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ :
ตามที่แนะนำไปแล้ว เรื่องการทำมะพร้าวให้ได้กะทิ 25 เปอร์เซ็นต์/ต้น/ปี เขาใช้วิธีการผสมพันธุ์ ต้นใหม่ที่ได้ มาจากการเพาะเมล็ดหรือนำผลมะพร้าวไปเพาะ

แต่มีแปลงปลูกมะพร้าวกะทิพันธุ์แท้ 100 เปอร์เซ็นต์ อยู่จำนวนหนึ่ง ที่เขาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคุณปริญดา หรูนหีม ผู้รับผิดชอบโครงการภาคสนาม เล่าว่า เมื่อมีการวิจัยจนได้ผลมะพร้าวกะทิ จากพันธุ์ลูกผสมแล้ว ทางทีมงานวิจัยได้นำคัพภะหรือต้นอ่อน จากผลมะพร้าวที่เป็นกะทิมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งผลการเพาะเลี้ยงทำได้ยาก จึงได้ต้นพันธุ์จำนวนไม่มาก

ปัจจุบัน ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ที่นำลงปลูกเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผู้วิจัยกำลังคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี โดยดูข้อของลำต้น ใบ และการให้ผลผลิต

จากการนำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูก ลักษณะของต้นและผลแตกต่างกันออกไปมาก บางต้นไม่สามารถที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ได้เลย

ผลผลิตที่ได้จากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลผลิตไม่ดก ทั้งนี้ เกิดจากการคลุมช่อดอก เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นอื่นมาผสมนั่นเอง

คุณสมชาย บอกว่า การนำต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ปลูกเพื่อให้ได้กะทิ 100เปอร์เซ็นต์ มีทำแล้วที่เกาะกลางเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี แต่หากปลูกโดยทั่วไป ต้องปลูกห่างจากมะพร้าวอื่น 5 กิโล เมตร หรือรอบๆ แปลงมะพร้าวมีไม้ชนิดอื่นขึ้นล้อมรอบอยู่ แต่เปอร์เซ็นต์กะทิอาจจะไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

เรื่องราวงานวิจัยมะพร้าวกะทิ มี 2 ประเด็น หรือ 2 แนวทาง ด้วยกัน
หนึ่งเขาผสมพันธุ์มะพร้าว โดยใช้เกสรมะพร้าวกะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ จากเกาะที่เขื่อนเขาแหลม ผสมเข้าไปในมะพร้าวมลายูต้นเตี้ยและมะพร้าวน้ำหอม นำผลที่ได้ไปเพาะ แล้วนำไปปลูก ลูกที่ออกมาจะเป็นกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งปี

สองนักวิจัยเอาต้นอ่อนจากผลมะพร้าวกะทิเท่านั้น ไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นำต้นที่ได้ไปปลูก เมื่อมีดอก ต้องคลุมถุงเพื่อไม่ให้เกสรต้นอื่นมาผสม จะได้กะทิ 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันพบต้นที่มีลักษณะดีแล้วหลายต้น

ผลกะทิ ที่นำต้นอ่อนมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ไม่จำเป็นต้องนำมาจากลูกผสม 2 สายพันธุ์ แต่นำมาจากที่ไหนก็ได้ ถือว่าเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อวงการเกษตรไทยอย่างยิ่ง

ผู้สนใจสอบถามได้ที่ คุณสมชาย วัฒนโยธิน โทร. (02) 940-5484 ต่อ118 หรือ คุณปริญดา หรูนหีม โทร. (081) 472-2647 และ (086) 657-4517

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05030011153&srcday=&search=no

----------------------------------------------------------------------------------


.




กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©