-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ทุเรียน-มังคุดร้อยปีสวนคุณไพบูลย์ (AORRAYONG)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ทุเรียน-มังคุดร้อยปีสวนคุณไพบูลย์ (AORRAYONG)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ทุเรียน-มังคุดร้อยปีสวนคุณไพบูลย์ (AORRAYONG)
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 20/07/2010 10:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชอบนามสกุล พี่สมชายจัง เปลี่ยนกลิ่นได้

"ทำให้มังคุดรสชาติหวาน แล้วเก็บเกี่ยวอย่างมีคุณภาพ ส่งตรงให้ผู้บริโภคเลย คิดซิ...."

รสชาติหวานพี่อ้อ ลุงคิม สอนไว้ แต่มีเรื่องสภาวะแวดล้อมอย่างอื่นคงต้องรอชิมว่าจะหวานมั้ย
ส่วนเรื่องตลาด ฮื้อ....

เก็บเกี่ยวอย่างมีคุณภาพ ปีหน้านี้เมย์เก็บเองแน่นอนค่ะ ถ้าแรงงานมาช่วยต้องตรวจอีกทีว่ามันช่วยให้แย่ลงรึปล่าว

ส่งตรงให้ผู้บริโภค เรื่องที่สำคัญที่สุดแต่ นึกไม่ออก ถ้าเข้ามาเองใน กทม. น่าจะได้แค่ระดับแม่ค้าขายปลีก

ถ้าผลผลิตได้คุณภาพจริงๆ ไปส่งให้สวนพี่อ้อ บ้างได้มั้ยคะ ^^ แฮ่ๆ (ใช้ความคิดมากเลยนะเอ็งเนี่ย)

ถ้าไม่ได้คุณภาพ ปีนี้ มังคุดรุ่นนิยม รุ่น 5 บาท แย่งกันขาย Sad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 20/07/2010 11:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่อ้อคะ ขอถามอีกหน่อยค่ะ จะพ่น ฮอร์โมนไข่-น้ำดำ-ยูเรก้า รวมกันเนี่ย ผสมยาฆ่าเชื้อรา ไม่แน่ใจว่าออกเสียงถูกรึปล่าวค่ะ แมนโคเซบ ใส่แล้วพ่นพร้อมกันได้มั้ยคะ

ลองกองเริ่มมีราดำขึ้นค่ะ คิดว่าไม่น่าจะผสมกันได้(นึกเอาเอง) ลองถามพี่อ้อดูดีกว่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 5:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

may-etc บันทึก:
พี่อ้อคะ ขอถามอีกหน่อยค่ะ จะพ่น ฮอร์โมนไข่-น้ำดำ-ยูเรก้า รวมกันเนี่ย ผสมยาฆ่าเชื้อรา ไม่แน่ใจว่าออกเสียงถูกรึปล่าวค่ะ แมนโคเซบ ใส่แล้วพ่นพร้อมกันได้มั้ยคะ

ลองกองเริ่มมีราดำขึ้นค่ะ คิดว่าไม่น่าจะผสมกันได้(นึกเอาเอง) ลองถามพี่อ้อดูดีกว่า


ไม่ควรผสมกัน สารเคมีป้องกันเชื้อรา ควรพ่นเดี่ยวๆ แล้วอย่าลืมปรับค่า pH ของน้ำให้เป็นกรดอ่อนๆก่อนนะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 21/07/2010 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 21/07/2010 7:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ในขณะที่ไม้ผลยังอยู่ในช่วงบำรุงต้น อีกนานกว่าจะมีผลผลิตออกมา เราสามารถปลูกไม้ชนิดอื่นๆ เป็นรายได้อีกทางไหมครับ

คุณอ้อ และน้องๆ ที่มีความพร้อม ทั้งแรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ คิดว่า พืชชนิดใดปลูกแซมในสวนและสามารถทำรายได้ให้ด้วยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 12:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใช่เลย.... คุณสมชาย กลิ่นอะไรดี

ในแนวทางที่ทำเป็นสวนท่องเที่ยว ต้องสร้างความหลากหลายในผลไม้ที่จะให้ลูกค้าได้ลิ้มลอง และจะนำไปสู่การเปิดท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

พืชที่ปลูกได้มีเยอะแยอะมากมาย ฝรั่ง ส้มโอ แก้วมังกร น้อยหน่า ฯลฯ โดยวางแผนเลือกพืชที่ให้ผลผลิตต่อเนื่องกันทั้งปี
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามาเที่ยวสวนคุณไพบูลย์ ช่วงนี้ไม่มีทุเรียน เงาะ มังคุด แต่มีน้อยหน่า ส้มโอ แก้วมังกร อะไรทำนองนั้น

ปัจจัยการผลิตคงไม่ใช่ปัญหา เพราะเราสามารถลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนต่างๆที่เราเรียนรู้กันมา

ปัญหาแรงงานนั่นหละ ลำพังที่ทำๆอยู่ ก็แทบไม่มีเวลาหายใจ แต่.......เรามีวิธีแก้ นั่นคือการลงทุนเพื่อลดต้นทุนด้วย
"ระบบสปริงเกอร์"

ส่วนน้องๆที่ยังไม่ได้เปิดสวนเป็นสวนท่องเที่ยว ก็คงต้องวางแผนปลูกพืชที่เหมาะสมกับดิน และต้องมีรายได้ตลอดปี
แต่อย่าลืม "การตลาด นำ การผลิต" ออกสำรวจตลาดก่อน ดูความต้องการของผู้บริโภคที่ใกล้ที่สุดก่อน แล้วค่อยขยับขยาย.....ว่ามั้ย?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 12:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

may-etc บันทึก:
ขอบคุณค่า


แต่วันหลัง ถ้ามีโอกาสใช้วิธีป้องกันดีกว่านะ เราถึงจะได้ เกรด เอ. จำที่ลุงสอนได้หรือเปล่า "เมื่อพืชถูกทำลายแล้ว
เราไม่สามารถเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมา" ได้เลย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Off_Chantaburi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 28

ตอบตอบ: 21/07/2010 2:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พี่อ้อคะ จากกระทู้เดิม ที่ลุงคิมโพสต์ไว้

1...สารออกฤทธิ์โดยตรง ........

- โรค (รา-แบคทีเรีย-ไวรัส) : เปลือกมังคุด. เปลือกสดต้นไม้. ใบ/ผลยอ. พริกไทย.
ดีปลี. กานพลู. ใบพลู. หมาก. ... ทำให้เชื้อโรคตายหรือไม่แพร่พันธุ์

- แล้วปกติสวนพี่อ้อ ป้องกันราดำที่ลูกลองกองยังไงบ้างคะ สวนแม่ไม่เคยป้องกันเลยค่ะ แต่ตอนนี้ลองกองเริ่มเป็นเยอะ

- แก้วมังกรที่สวนเมย์เองก็มีอาการแบบนี้ด้วยค่ะ น่าจะเกิดจากเชื้อราเหมือนกัน เป็นที่กลางกิ่งตรงหัวเสาเลยด้วย
สารสมุนไพรอุปกรณ์ยังไม่พร้อม ช่วยชี้แนะหน่อยนะคะ


(ขอยืมรูปคนอื่นมา ขอขอบคุณเจ้าของรูปด้วยค่ะ)



เมย์ค่ะ

**login ค้างนะคะ ลืม log out ค่ะ**
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 25/07/2010 10:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้ (25 ก.ค.53) คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลพบุรี ได้เดินทางมาเรียนรู้ที่สวนไพบูลย์ระยอง จึงได้เก็บภาพ
สาวสวย หนุ่มหล่อ คนรุ่นใหม่ไฟแรง อยากเป็นเกษตรกรมาให้ชมครับ



ฝากรูป


ฝากรูป



พี่อ้อกำลังพาชมต้นมังคุด 100 ปี นักศึกษาทุกคนให้ความสนใจกันมากเลยครับ





อาจารย์ที่นำนักศึกษามาครับ ต้องขออภัยไม่ได้ถามชื่อเลยครับ อาจารย์บอกว่าอยากจะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ ในเรื่องของ
การอยู่กับธรรมชาติ การทำเกษตรกรรม
ฝากรูป



นักศึกษาที่มามีความสุข และสนุกที่ได้เห็นต้นไม้ ดอกไม้ของสวนไพบูลย์ระยอง
ฝากรูป



เก็บภาพเป็นที่ระลึก ใครเป็นใครบ้างดูเอาเองนะครับ
ฝากรูป
ฝากรูป
ขอขอบคุณอาจารย์ที่เห็นคุณค่าของเกษตรกร ได้นำคนรุ่นใหม่มาเรียนรู้ในครั้งนี้ หากเราได้ร่วมมือใจกันคนละเล็กละน้อยปัญหา
เรื่อง"ทายาทเกษตร" ก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยอีกต่อไป




ภาพสุดท้ายเด็กแฝดสามสาวที่ได้ไปเยี่ยมในวันเดียวกันนี้ จากซ้ายไปขวา อุ้มบุญ อิงฟ้า รักเอย แค่ชื่อก็สุดยอดแล้วครับ
ฝากรูป
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/07/2010 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อ๊อด...เทคโนโลยีที่ยากที่สุด คือ "เทคโนโลยีการตลาด"

.... ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยซิว่า ได้ "นำเสนอ" หัวข้ออะไร ? อย่างไร ? บ้าง.....
.... บางตัวอย่างของคำถามที่เข้ามาระหว่างนำเสนอ อยากรู้เพราะคำถาม คือ "กึ๋น" .....

ลุงคิมครับผม
ปล.
ดูผ่านๆ แล้ว รู้สึกว่าระดับ นศ. ไม่ว่าจะเป็นสถาบันไหนๆ ก็คงไม่ต่างกันนัก ก็พอจะเดาๆ อะไรไม่ผิดนัก....ว่ามั้ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/08/2010 11:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตทุเรียนนอกฤดู

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะถ้ามีการผลิตทุเรียนนอกฤดูอย่างเช่นในเดือนพฤษภาคมหรือหลังมิถุนายนไปแล้วราคาจะยิ่งแพงขึ้นไปอีกและยังหารับประทานได้ยาก ด้วยเหตุนี้ชาวสวนทุเรียนจึงพยายามทำทุเรียนนอกฤดูกันขึ้น ซึ่งมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียงในขณะนี้ได้แก่ คุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ คุณโกเตียงกวง โกศัลล์วัฒนา และคุณสรรเสริญ ศรีพระยา สำหรับหลักการอย่างกว้าง ๆ ในการผลิตทุเรียนนอกฤดูของเกษตรกรทั้ง 3 ท่านนี้ก็คือ พยายามทำให้ปัจจัยภายในและภายนอก ต้นทุเรียนพร้อมจะออกดอกโดยมีการดูแลรักษาต้นทุเรียนทั้งในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย ให้น้ำ กำจัดวัชพืช และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และมีความพร้อมที่จะออกดอกเมื่อถึงเวลาอันสมควร อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการผลิตทุเรียนนอกฤดูในขณะนี้ก็คือ การที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยบางอย่างในการออกดอกได้ โดยเฉพาะในเรื่องของสภาพฟ้าอากาศและความหนาวเย็น ยกตัวอย่างเช่น ในบางครั้งที่มีการผลิตทุเรียนนอกฤดูเกษตรกรหรือชาวสวนสามารถควบคุมหรือกำหนดปัจจัยพื้นฐานในการออกได้ อาทิเช่น มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืช จนกระทั่งทุเรียนมีความสมบูรณ์แต่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยให้ โอกาสที่ทุเรียนออกดอกออกผลมีน้อยมาก ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ต้นทุเรียนพร้อมออกดอกแต่มีฝนตกลงมา แทนที่ทุเรียนจะแทงตาดอกออกมาก็จะแตกตาใบขึ้นมาแทน หรือในกรณีที่มีปัจจัยต่าง ๆ อยู่พร้อม แต่ไม่มีสภาพความแห่งแล้งและอากาศหนาวเย็น โอกาสที่ทุเรียนออกดอกจะมีน้อยมากเช่นเดียวกัน


ต่อไปนี้จะเป็นแนวคิดและวิธีปรับปัจจัยเพื่อให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดู ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ

วิธีการที่ 1 :
เป็นแนวความคิดในเรื่องของการปรับปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และพร้อมที่จะออกดอก โดยวีการดังนี้ คือ

1. การเร่งให้ต้นทุเรียนพร้อมที่จะออกผล
การบังคับให้ทุเรียนออกผลนอกฤดูกาลนั้นจำเป็นต้องเร่งให้ทุเรียนมีความพร้อมเสียก่อน ในทางปฏิบัติจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นทุเรียน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์เร็วขึ้นและพร้อมที่จะออกดอกทันทีเมื่อกระทบอากาศเย็น การใส่ปุ๋ยให้กับต้นทุเรียนกระทำเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

ก.การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและบำรุงต้นทุเรียน
โดยให้ใส่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปุ๋ยที่ใส่ได้แก่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อต้น การใส่ปุ๋ยให้แบ่งใส่ 2 ครั้งห่างกัน 2-3 สัปดาห์ การใส่ปุ๋ยในระยะนี้จะทำให้ผลทุเรียนมีคุณภาพดีสำหรับการให้ปุ๋ยทุเรียนในสวนที่มีระบบการชลประทานดีและมีน้ำอย่างเพียงพอ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ซึ่งมีข้อดีคือจะทำให้ขั้วทะเรียนเหนียวและไม่ร่วงง่าย แต่ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนแล้วให้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็นสองเท่าและฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 20-20-20 จำนวน 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน จะทำให้ต้นทุเรียนไม่สลัดผลทิ้ง เพราะมีอาหารเพียงพอที่จะบำรุงต้นและผล ผลทุเรียนที่ได้จะมีขนาดโต

ข.การใส่ปุ๋ยหลังการตัดแต่ง
ภายหลังจากที่ได้ตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น โดยใส่ในช่วงเดือนกรกฏาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก จะทำให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและจะมีความสมบูรณ์มากขึ้น

ค.การใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งให้ทุเรียนเตรียมออกดอก
ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน ให้ใส่ปุ๋ยเม็ดเพื่อกระตุ้นให้ทุเรียนออกดอกโดยใส่ปุ๋ยสูตร 6-24-24 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น จะทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์และพร้อมที่จะออกดอก

ง.การฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนเร่งการออกดอกและผล
ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกและพื้นดินเริ่มแห้ง ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแก่ทุเรียน ปุ๋ยที่นิยมฉีดให้ต้นทุเรียนได้แก่ปุ๋ยสูตร 10-52-17 จำนวน 2-3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบน้ำมีข้อดีคือ ทำให้ต้นทุเรียนได้รับน้ำไม่มากจนเกินไปพอที่จะทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนได้ นอกจากนี้มีชาวสวนบางรายใช้ฮอร์โมน เอ็น.เอ.เอ. ที่มีชื่อการค้าว่าแพลนโนฟิกซ์ ฉีดพ่นในอัตรา 3-5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-15 วัน ซึ่งการฉีดพ่นฮอร์โมนดังกล่าวจะช่วยให้ทุเรียนมีการสะสมอาหารจำพวกแห้งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทุเรียนมีความพร้อมในการออกดอกและผลได้เร็วขึ้น

2. การปรับสภาพพื้นที่ภายในสวนให้เหมาะสมต่อการออกดอกและผล
การปรับสภาพพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยเร่งให้ทุเรียนออกดอกได้เร็วขึ้น และควรทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน ในการปรับสภาพพื้นที่ภายในสวนนั้นควรปรับให้มีสภาพดังนี้

ก. ปรับพื้นที่ให้มีการระบายน้ำดี
โดยธรรมชาติแล้วไม้ผลที่ขึ้นอยู่ในที่ดินดอนจะออกดอกได้ง่ายและเร็วกว่าต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม และต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดินทรายจะออกดอกได้ง่ายกว่าต้นที่ขึ้นในที่ดินเหนียว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับสภาพพื้นดินเพื่อให้มีการระบายน้ำดี การปรับสภาพดังกล่าวจะทำให้ทุเรียนหยุดการเจริญทางกิ่งก้านและใบเพื่อเตรียมตัวสำหรับการออกดอกและออกผลต่อไป

ข. ทำความสะอาดโคนต้นทุเรียน
การทำความสะอาดโคนต้นทุเรียนให้กระทำก่อนที่จะหมดช่วงฤดูฝน โดยเก็บเศษใบไม้ ใบหญ้าออกให้หมด ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณโคนต้นทุเรียนแห้งเร็วและมีอากาศถ่ายเทได้ดีรวมทั้งไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง

3. ตัดแต่งกิ่งที่งอกออกมาใหม่ ภายหลังจากที่ชาวสวนเก็บผลผลิตหมดแล้วช่วงนี้มักจะมีกิ่งใหม่แตกออกมาเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ชาวสวนจะต้องทำการตัดแต่งกิ่งเหล่านั้นทิ้งไปเสีย เพื่อช่วยรักษาทรงพุ่มให้โปร่งและไม่ต้องเปลืองธาตุอาหารโดยไม่จำเป็นสำหรับกิ่งที่ควรทำ


การตัดแต่งกิ่งควรมีลักษณะดังนี้
1.กิ่งที่เจริญออกจากโคนต้นจนถึงความสูง 1 เมตร ให้ตัดแต่งออกให้หมด

2.กิ่งที่เจริญออกจากลำต้นตั้งแต่ระดับความสูง 1 เมตรขึ้นไป ควรปล่อยให้มีการแตกสลับกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้กิ่งเหล่านั้นไม่บังแสงซึ่งกันและกัน และระยะห่างของกิ่งที่แตกก็ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ทุเรียนมีการแตกใบนอกทรงพุ่มเหมือนกันหมด การตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะช่วยให้แสงส่องเข้ามาในทรงพุ่มได้สะดวก ทั้งยังช่วยให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ ลดความรุนแรงของโรครากและโคนเน่าได้อันจะช่วยให้ทุเรียนออกดอกและติดผลได้เร็วกว่าฤดูปกติอีกด้วย


วิธีการที่ 2 :
เป็นแนวความคิดของคุณโกเตียงกวง โกศัลล์วัฒนา เกษตรกรชื่อดังแห่งจังหวัดจันทบุรี มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. การตัดแต่งกิ่ง
การปลูกทุเรียนเพื่อให้มีผลดกมีคุณภาพดี จำเป็นจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี โดยทำในช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวผลทุเรียนเสร็จแล้วประมาณ 15-20 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนเข้าสู่ระยะการพักตัว และจะทำการตัดแต่งเฉพาะกิ่งที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์เท่านั้นเช่น กิ่งที่เป็นโรค กิ่งแขนงหรือกิ่งที่แสงแดดส่งไม่ถึง การตัดแต่งกิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ในแง่ที่ทุเรียนได้รับธาตุอาหารอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกระจายอาหารไปยังกิ่งทุกกิ่งบนต้นรวมถึงกิ่งที่ไม่มีประโยชน์ด้วย

2. การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทุเรียนสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
ก. การใส่ปุ๋ยทางดิน เป็นการใส่เพื่อให้ทุเรียนได้ใช้ธาตุอาการอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่พอเหมาะ โดยใช้ปุ๋ยที่มีสูตรตัวหน้าต่ำเช่นสูตร 9-24-24 สำหรับเหตุผลที่ใช่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 แทนการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็เพราะถ้าใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งเป็นสูตรที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง อาจทำให้ไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินเป็นปริมาณที่มาก ซึ่งมีผลถึงช่วงที่ทุเรียนออกดอก จะทำให้มีการแตกใบอ่อนออกมาได้ในทางปฏิบัติแล้วถ้าต้องการให้ทุเรียนแตกใบอ่อน เช่น ในกรณีต้องการให้ทุเรียนแตกใบอ่อนเร็ว เพื่อให้ทุเรียนมีใบแก่และพักตัวเร็วขึ้น จะใช้วิธีฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเลย เพราะให้ผลดีกว่าและมีธาตุไนโตรเจนตกค้างอยู่ในดินในจำนวนที่น้อยมาก

ข. การให้ปุ๋ยทางใบ
การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการให้ปุ๋ยเพื่อให้ต้นทุเรียนใช้ธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติมักใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ๆ เช่นสูตร 18-18-18 หรือ 20-20-20 แล้วเพิ่มด้วยจิบเบอร์เรลลิน ในอัตราส่วน 100 มิลลิกรัม (2 หลอด) ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อต้องการเร่งให้ใบชุดแรกออกมาเร็ว ส่วนในครั้งต่อไปให้ใช้ ซีปลาสเอฟ อัตรา 30 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้อีกสูตรหนึ่งแทนก็ได้คือ

- ดีซ (อาหารเสริม) 400 ซี.ซี.
- ปุ๋ยเก็ด (10-52-17) 400 กรัม
- โปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) 600 กรัม
- น้ำสะอาด 200 ลิตร
- การให้ปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้จะให้ 2 ครั้ง โดยฉีดพ่นดังนี้

ครั้งที่ 1 ฉีดพ่นในช่วงทุเรียนเข้าสู่ระยะพักตัวไปจนกระทั่วทุเรียนออกดอกและดอกทุเรียนอยู่ในระยะไข่ปลา แล้วจึงหยุดฉีด (ควรจะฉีดครบรอบวงจรประมาณ 4-5 ครั้ง)

ครั้งที่ 2 ฉีดเมื่อทุเรียนติดผลเท่ากับไข่ไก่และจะฉีดต่อไปทุก ๆ 15-20 วัน ในแต่ละครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบอาจใส่ปุ๋ยทางใบเสริมด้วยก็ได้เพื่อให้ผลโตเร็วยิ่งขึ้น ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยสูตร 12-12-17+2

***การฉีดพ่นปุ๋ยหรืออาหารเสริมทางใบนี้ ควรจะปฏิบัติในช่วงที่ทุเรียนอยู่ในระยะใบเพสลาด ทั้งนี้เพราะทุเรียนจะปรับตัวได้ดี ทำให้มีการเก็บอาหารได้เพิ่มขึ้นและสามารถแทงตาดอกออกมาได้เร็วขึ้น ในกรณีที่ต้องการจะฉีดพ่นในช่วงใบอ่อนก็สามารถกระทำได้ แต่มีผลเสียกล่าวคือปุ๋ยที่ให้จะไปเลี้ยงใบให้เจริญมากเกินไปจนทำให้ตาดอกออกได้ช้า ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วไม่นิยมทำกัน


3. การให้น้ำ
การให้น้ำนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนกำลังติดดอก ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและพิถีพิถันโดยมีวิธีการให้น้ำดังนี้

ระยะก่อนดอกทุเรียนบาน 15 วันไปจนถึงดอกบานแล้ว 15 วัน ควรให้น้ำจากปลายพุ่มใบเข้าไปประมาณ 1 เมตร โดยให้ในปริมาณที่เท่ากับจำนวนที่เคยให้การให้น้ำวิธีนี้จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การติดดอกดีขึ้นและทุเรียนจะติดดอกที่โคนกิ่งได้มากขึ้นซึ่งทำให้ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำหรือโยงกิ่ง เหมือนกับกรณีที่ทุเรียนติดดอกบริเวณปลายกิ่งอย่างเช่นกรณีที่ให้น้ำด้วยวิธีอื่น

ระยะต่อไป ให้ทำไปจนถึงปลายพุ่มใบ สำหรับความถี่ความบ่อยครั้งของการให้น้ำนั้น ให้สังเกตจากความชื้นของดินบริเวณโคนต้นเป็นหลัก ถ้าดินมีความชื้นสูงก็ไม่ควรให้น้ำ แต่ถ้าความชื้นในดินมีน้อยหรือดินแห้งก็เริ่มให้น้ำได้ การให้น้ำควรระวังอย่าให้น้ำถูกลำต้นทุเรียนเพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย

***สำหรับอัตราการให้ปุ๋ยทางดินนี้จะขึ้นอยู่กับอายุของทุเรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ

- ทุเรียนอายุ 8-12 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 2-5 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 13-19 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อต้น
- ทุเรียนอายุ 20-30 ปี ใส่ปุ๋ยในอัตรา 4.5-5 กิโลกรัมต่อต้น
(การใส่ปุ๋ยจะใส่เพียงครั้งเดียงโดยใส่พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบครั้งแรก)


วิธีการที่ 3 :

เป็นแนวความคิดของคุณประภัทรพงษ์ เวชชาชีวะ ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงจากการผลิตทุเรียนกระดุมนอกฤดู สวนนี้เน้นในเรื่องพันธุ์และการดูแลรักษาโดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. พันธุ์
พันธุ์ที่เน้นก็คือพันธุ์เบาที่ออกลูกง่าย ติดผลง่าย เช่น พันธุ์กระดุม กบแม่เฒ่า ก้านยาว ชะนี อีลวง สาวน้อยเรือนงาม เป็นต้น

2. การดูแลรักษา
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1.การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งทุเรียนจะทำภายหลังจากที่ทุเรียนให้ผลและเก็บผลไปแล้ว โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งคือ กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่แสงแดดส่องไม่ถึงกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่อ่อนแอหรือกิ่งที่ใกล้จะตาย และโดยเฉพาะกิ่งน้ำค้างนั้นเป็นกิ่งที่มีการเจริญเติบโตได้เร็ว และคอยแย่งน้ำ และอาหารจากลำต้น จึงจำเป็นต้องติดแต่งทิ้งทันที

2.การใส่ปุ๋ย
หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวผลไปแล้วให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเนื่องจากผลทุเรียนที่ตัดไปนั้น มีแป้งเป็นองค์ประกอบ และแป้งเหล่านั้นก็ได้มาจากอาหารพวกไนโตรเจน ดังนั้นเมื่อทุเรียนสูญเสียแป้งไปมาก ก็ต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเสริมเข้าไป ปุ๋ยที่ใส่เช่นสูตร 14-14-14 , 15-15-15, 16-16-16 หรือ 20-10-10 ก็ได้ จากนั้นก็ควรฉีดปุ๋ยยูเรียทางใบหรือทางราก เสริมอีกครั้งหนึ่ง

***เมื่อถึงช่วงปลายฤดูฝนระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พอฝนเริ่มทิ้งช่วงก็ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ก่อนที่ทุเรียนจะออกดอก โดยใส่ปุ๋ยสูตรตัวหน้าต่ำเช่น สูตร 6-24-24 , 9-24-24 ซึ่งใช้กับดินทราย แต่ถ้าเป็นดินเหนียว ซึ่งมีโปแตสเซี่ยมสูงอยู่แล้ว ก็ใช้สูตร 1 : 2 : 1 เช่น 12-24-12 เพื่อให้ทุเรียนเตรียมพร้อมสำหรับการออกดอกต่อไป


3.การให้น้ำ
การให้น้ำทุเรียนจะให้หลังจากที่ฝนทิ้งช่วงในระหว่างปลายฤดู คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ทุเรียนมีการพักตัวและมีสภาพพื้นดินแห้งแล้ง อาจจะเป็น 10-18 วันก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ เช่น ถ้าพื้นที่มีความสูงมาก การให้น้ำก็จะเร็วขึ้น เมื่อเห็นว่าพื้นดินแห้ง ก็เริ่มให้น้ำ เพื่อกระตุ้นให้ทุเรียนเกิดตาดอก หลังจากให้น้ำไปแล้วต้องคอยสังเกตดูว่าทุเรียนแตกตาดอกหรือยัง ถ้ามีการแตกตาดอกแล้ว และเห็นว่าปริมาณดอกมีน้อยอยู่ก็ให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในปริมาณน้อย ๆ ประมาณ 3-4 วันหลังจากนั้นก็จะเห็นดอกทุเรียนเพิ่มมากขึ้น

***เมื่อเห็นว่าดอกทุเรียนมีปริมาณเพียงพอแล้วก็ให้น้ำเต็มที่ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณดอกทุเรียนจะมีมากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้น การสะสมอาหาร การให้ปุ๋ย การปราบวัชพืชและการตัดแต่งกิ่งด้วย สำหรับวิธีการให้น้ำแก่ต้นทุเรียนนั้น อาจให้แบบสปริงเกลอร์ หรือใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่โคนต้นก็ได้ ถ้าให้แบบสปริงเกลอร์ อาจจะให้วันเว้นวัน หรือทุกวันก็ได้ แต่ถ้าให้วันเว้นวัน ก็ควรให้ในปริมาณที่มากต่อครั้งหนึ่ง ๆ ถ้าให้แบบใช้สายพลาสติกปล่อยน้ำไปที่โคนต้นทุเรียน ก็ควรให้ประมาณ 5-6 วันต่อครั้ง

4. การฉีดยาป้องกันโรคแมลง
โรคและแมลงนับว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกนอกฤดูกาล ทั้งนี้เพราะในกรณีที่มีการใส่ปุ๋ยไปแล้ว ทุเรียนจะเกิดใบอ่อนและในช่วงนี้จะมีแมลงมากัดกินเสมอ ดังนั้นปุ๋ยที่ใส่ให้ทุเรียนก็จะถูกแมลงเหล่านี้กินทางอ้อม ต้นทุเรียนก็ขาดความสมบูรณ์ ซึ่งจะมีผลไปถึงการออกดอกและติดผลต่อไป สำหรับโรคนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันคือ ในช่วงฤดูฝนในสภาวะที่มีอากาศชื้น ความชื้นสัมพันธ์สูงนั้น มักจะเกิดโรคระบาดในทุเรียนเสมอ โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฉีดยาป้องกันและกำจัดอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์และเตรียมพร้อมที่จะให้ดอกและติดผลต่อไป

วิธีการที่ 4 :
เป็นแนวความคิดของคุณสรรเสริญ ศรีพระยา ซึ่งเป็นเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีเช่นเดียวกัน สวนนี้จะเน้นในเรื่องการสร้างพื้นฐานทางดินและการใส่ปุ๋ยก่อน แล้วจึงเข้าไปสู่สรีระวิทยาของทุเรียนและมีสภาพฟ้าอากาศเป็นส่วนประกอบกล่าว คือ


การใส่ปุ๋ย
ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโต ช่วงออกดอกหรือหลังเก็บเกี่ยว แต่ชนิดของปุ๋ยที่ทุเรียนต้องการจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาว่า แต่ละช่วงทุเรียนต้องการปุ๋ยอะไร และให้ปุ๋ยเสริมจนเพียงพอที่จะออกดอก สำหรับชนิดของปุ๋ยที่ใช้ในสวนทุเรียนนั้นได้แก่ ปุ๋ยสูตร9-24-24 และอาหารเสริมทางใบ พอทุเรียนเริ่มออกดอกก็ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 พร้อมอาหารเสริมทางใบและปุ๋ยทางใบสูตร 10-52-17 การให้อาหารเสริมในช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอกและติดผลนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะมีผลถึงการติดผลและการขยายขนาดของผลหรือความสมบูรณ์ของผล

วิธีการที่ 5 :
ป็นการใช้สารเคมีเร่งดอกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลทุเรียนก่อนฤดูหรือต้นฤดู ดังนั้นหากมีการผลิตทุเรียนออกมาจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ก็จะจำหน่ายได้ในราคาสูงมาก สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเร่งดอกทุเรียนก็ คือ

สารพาโคลบิวทราโซล แต่วิธีการใช้สารที่เหมาะสมกับทุเรียนจะแตกต่างจากมะม่วงและมะนาว จากงานทดลองต่าง ๆ ของนักวิชาการสรุปได้ว่าการใช้สารพาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 1,000 พีพีเอ็ม พ่นต้นในระยะใบอ่อน จะทำให้ทุเรียนออกดอกได้ภายใน 2 เดือนหลังจากการพ่นสาร อย่างไรก็ตามในกรณีของทุเรียนนี้เรื่องความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าต้นไม่สมบูรณ์เพียงพอก็จะไม่ตอบสนองต่อสารนี้ เท่าที่มีการศึกษาเรื่องนี้ในปัจจุบัน พอสรุปได้ว่าพันธุ์ที่เติบสนองต่อสารได้ดี คือ พันธุ์ชะนี ส่วนพันธุ์อื่นยังไม่มีข้อมูลที่เด่นชัด จึงยังไม่สามารถแนะนำให้ใช้กับพันธุ์อื่น



nongdook.moobanthai.com/2010/06/07/การผลิตทุเรียนนอกฤดูกา/ -


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 10/08/2010 7:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 10/08/2010 6:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=222876

บริหารสวนผลไม้ (เกษตรสร้างสรรค์)

ผมไปสวนผลไม้คุณไพบูลย์ที่ ต.นาตาขวัญ อ.เมือง จ.ระยอง อีกครั้ง ยามนี้ไม่มีผลไม้เหลือสักต้น ยกเว้นทุเรียนกวนจากพันธุ์นกกระจิบ ลองเอาไปแช่เย็น รสชาติชั้นหนึ่งจริงๆ

ถาม คุณสุภาภรณ์ อรัญนารถ หัวเรือใหญ่ของครอบครัวนี้ว่า ผลผลิตมีขายเพียงช่วง 2 เดือนเศษก็หมด แล้วอีก 9-10 เดือนที่เหลือจะอยู่กันอย่างไร ไม่ได้เจาะจงถามเฉพาะสวนผลไม้คุณไพบูลย์ ซึ่งน่าจะอยู่ได้ เพราะสามารถกำหนดตลาดได้พอสมควร

คุณสุภาภรณ์ รับว่า ใช่ และต้องพยายามหาทางออก ปัญหาคือ จะกระจายผลผลิตผลไม้ในฤดูกาลที่ประดังออกมาพร้อมกัน และส่งผลให้ราคาตกได้อย่างไร

ฤดูผลไม้ของภาคตะวันออกอยู่ในช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ในช่วงนั้นผลไม้ภาคใต้ก็ยังไม่ออก ฉะนั้นแหล่งผลิตก็จำกัดที่ภาคตะวันออก ซึ่งยังไงๆ ก็ไม่พอกับความต้องการของตลาดทั้งประเทศ หากแต่กระบวนการจัดการไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้พ่อค้าคนกลางกดราคาชาวสวนได้เต็มที่ ประเภทผีถึงป่าช้าไม่เผาก็ต้องฝัง

ฤดูผลไม้ที่ผ่านมา ขนาดที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อย่างคุณอลงกรณ์ พลบุตร ให้พ่อค้าเซ็น เอ็มโอยู รับซื้อมังคุดจากสหกรณ์การเกษตร ถึงเวลาพ่อค้าก็เบี้ยวกลับไปรับซื้อมังคุดจากที่อื่นที่กดราคาได้มากกว่า มังคุดระยองจึงแห้วขายกันราคาไม่ถึงกิโลละ 10 บาท รมช.อลงกรณ์ เองก็คงไม่รู้ว่า ถูกหลอก

แนวทางของคุณสุภาภรณ์ วางไว้ 2-3 อย่าง

ประการแรก ....หาตลาดนอกพื้นที่โดยอาศัยพันธมิตร ซึ่งไปสำรวจพื้นที่ตัวเองแล้วพบว่า ช่วงที่ผลไม้ระยองออกกันมากๆกลับไม่มีผลไม้ในพื้นที่ขาย เช่น นครสวรรค์ ตรัง เชียงราย เป็นต้น นี่คือ ช่องทางตลาด

ประการที่สอง ...เมื่อมีช่องทางตลาดก็ต้องกลับมาสำรวจปริมาณผลผลิตในสวน ลำพังสวนคุณไพบูลย์ไม่พอขายอยู่แล้ว ต้องหาพันธมิตรเสริมในการผลิตผลไม้ ซึ่งก็ได้สวนผลไม้ในระยอง 4-5 ราย ร่วมกันผลิตผลไม้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องได้คุณภาพตามที่กำหนด ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การรักษาผลผลิต ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อทุกคนรับกติกาได้ก็มองเห็นความเป็นไปได้

ประการที่สาม ....ในเมื่อเป็นพันธมิตรก็ต้องเกื้อกูลกัน พันธมิตรนอกพื้นที่รับผลไม้จากระยองไปขาย สวนผลไม้ระยองก็จะนำผลผลิตของพันธมิตรกลับมาขายที่ระยองเช่นเดียวกัน อีกทั้งเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสินค้านอกเหนือจากผลไม้อย่างเดียว


แนวคิดของคุณสุภาภรณ์ สะท้อนให้เห็นว่า กระทรวงพาณิชย์ไร้น้ำยาจริงๆ ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า มูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นมหาศาลเป็นฝีมือกระทรวงพาณิชย์จริงหรือ? ผมแอบตอบว่า ไม่จริงเลย ถ้าภาคเอกชนไม่ตะลุยหาตลาดด้วยตัวเอง แต่กระทรวงพาณิชย์ทำไม่รู้ไม่ชี้ตีขลุมเป็นผลงานของตัวเองเอาหน้าไป นี่ต่างหากเป็นงานถนัด

เดี๋ยวจะหาว่าโจมตีโดยไม่มีข้อมูล วันพรุ่งนี้ผมจะลองเอาปัญหาการบริหารจัดการผลไม้ของกระทรวงพาณิชย์มาถกกัน หน่อย

พอใจ สะพรั่งเนตร
วันที่ 10/8/2010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/09/2010 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เยี่ยมสวนทุเรียนนอกฤดูใหญ่ที่สุดของเมืองชุมพร ของยายสังวาลย์ พิมาน พร้อมวิธีทำหมอนทองนอกฤดู สู้พายุซีต้า

วารสารชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ขั้นตอนการทำทุเรียนนอกฤดูของ คุณยายสังวาลย์ พิมาน

เตรียมต้นตั้งแต่ลูกหมด ปี 39 ประมาณเดือนตุลาคม ทำการตัดแต่งกิ่ง ทางดิน หว่านปูนโปรแตสไฮ (0-0-30) ต้นละ 5 -6 กิโลกรัม บริเวณทรงพุ่ม หลังจากนั้นฉีดสารฟอส ฟอริคแอซิดเข้าลำต้น เพื่อช่วยกระตุ้นระบบรากและสร้างภูมิต้านทานให้กับต้นทุเรียน ซึ่งถือว่าเป็นสูตรสำคัญที่ช่วยให้ทุเรียนปราศจากโรครากเน่าโคนเน่า

จากนั้นปิดโคนและรอบ บริเวณทรงพุ่มสูตรเสมอ 15-15-15 ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม ให้น้ำสม่ำเสมอวันเว้นวัน ที่สวนของคุณยายสังวาลย์ให้น้ำด้วยระบบมินิสปริงเกอร์ ระยะแรกให้น้ำพอดินชุ่ม จากนั้นก็ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อย

ทางใบฉีดพ่นปุ๋ยสูตรดึงยอดอ่อนชุดแรก โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10 ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน , ยาฆ่าแมลงดูดซึม , สารฮิวมิค , แอซิด ,ยาป้องกันกำจัด เชื้อราฉีด 2 ครั้ง

หลังจากแตกยอดอ่อนก็จะฉีดพ่นทางใบอีกโดยเปลี่ยนจากปุ๋ยสูตร 30-20-10 มาใช้น้ำตาลทางด่วนแทน ถ้าสังเกตเห็นมีแมลง , รา ร่วมด้วยทุกครั้ง ฉีดน้ำตาลทางด่วน เพียงหนึ่งครั้ง ใบทุเรียนรุ่นแรกจะแก่ในเดือนธันวาคม

จากนั้นก็จะกระตุ้นให้แตกใบอ่อน ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเดิมและเปลี่ยนมาใช้น้ำตาลทางด่วน เพื่อทำใบแก่เหมือนชุดแรกจนถึง ประมาณปลายเดือนเมษายน คุณยายสังวาลย์จะใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 0-25-25 ต้นละ 3-4 กก. โดยจะใส่ในช่วงใบเพสลาดและจะฉีดพ่นสารสะกัดจากสาหร่ายทะเลด้วย เพื่อเพิ่มความ สมบูรณ์ พร้อมกับฉีดพ่นสารพาโคลบิวทาโซล ชนิดผงทางใบ อัตรา 2 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร

ระยะนี้ยังให้น้ำสม่ำเสมอจนใบแก่จัด ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม จึงฉีดพ่นสารกระตุ้น ตาดอก โดยใช้สูตรปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 ผสมสาหร่ายสะกัดและอาหารเสริมจุลธาตุ ฉีดเพียง ครั้งเดียว ทุเรียนเริ่มแทงช่อดอก ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม

ปรากฎว่าทุเรียนไม่ออกดอกทุกต้น เนื่องจากทุเรียนใบแก่ไม่พอ ต้นที่ออกไม่เต็มที่ประมาณร้อยต้นเศษ คุณยาย สังวาลย์ จะทำการรูดดอกทิ้งไปใช้ สารหยุดยอดฉีดเข้าทางลำต้น เนื่องจากว่าระยะนั้นฝนตก ชุกมาก ทิ้งไว้ระยะหนึ่งทุเรียนก็แทงช่อดอกตามออกมา

พอได้ระยะขาเขียดก็จะใช้สาร จิบเบอเรลลิน ร่วมกับ แคลเซียม โบรอน วิตามิน อี ฉีดพ่น ดึงดอกให้สม่ำเสมอ พร้อมกับ ใส่ปุ๋ยทางดินสูตรเสมออีกทางใบ ฉีดพ่นสารจิบเบอเรลลินอีกครั้งเพื่อให้ใบอ่อนชิงแตกออกมาก่อนที่ดอกจะบาน เพราะถ้าหากปล่อยให้แตกใบอ่อนออกมาปกติจะอยู่ในระยะช่วงดอกบานพอดี จะทำให้ติดลูกน้อยและลูกร่วง หรือลูกร่วง หรือลูกบิดเบี้ยว เนื่องจากอาหาร ส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปใช้เลี้ยงใบอ่อน

การชิงให้แตกใบอ่อนก่อนถึงระยะที่ดอกบาน ใบจะอยู่ในช่วงใบเพสลาดพอดี จะไม่มีปัญหาเรื่องของการหลุดร่วง หลังจากลูกทุเรียนอายุได้ ประมาณ 45 วัน ทุเรียนก็มักจะแตกยอดอ่อนมาอีกครั้ง ก็จะใช้ สารคุมยอดฉีดพ่นอีกโดยใช้เมวินฟอสคลอไรด์ ร่วมกับ 0-52-34 อาหารเสริมที่มีแมกนีเซียมสูง ฉีดประมาณ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 5 วัน เพราะถ้าปล่อยให้แตกยอดอ่อนอีก จะทำให้ลูกร่วงมากในช่วงคุมใบอ่อนครั้งที่สอง ลูกทุเรียนมีอายุได้ประมาณ 2 เดือน เริ่มที่จะสร้างเมล็ดได้ในช่วงนี้ ลูกไม่ร่วง เนื่องจากขาดอาหารสามารถปล่อยให้แตกยอดอ่อนได้ตามปกติ


http://it.doa.go.th/durian/detail.php?id=242&PHPSESSID=c77c619ed61c8b06b6e4de6c00b1b188

t.doa.go.th/durian/detail.php?id=242&PHPSESSID... -



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/09/2010 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/09/2010 10:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลดความอ้วนด้วย..............ทุเรียน!!!!!!

ถ้ากินตามเทคนิคของปู่ย่าตายายที่ตกทอดกันมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาล่ะก็รับรองผอมแน่คะ!

นั่นคือให้กินทุเรียนแบบถือว่าเป็นยาถ่ายพยาธิ ไม่ใช่กินเอาอร่อยอย่าที่เรากินๆ กัน ตื่นนอนให้เช้าๆ หน่อย

- สักประมาณตี 5(เป็นเวลาที่ธาตุของเราเริ่มทำงาน)
- หลังจากแปรงฟันล้างหน้าแล้วก็ทานทุเรียนได้เลยจะเลือกพันธุ์ไหนก็ได้ตามรสนิยม ให้ทานได้ประมาณครึ่งลูก คนอ้วนจะทานได้มากกว่านี้นิดหน่อย
- หลังจากทานแล้วดื่มน้ำอุ่นๆตามลงไปด้วยหลังจากทานทุเรียนแล้ว
- ควรงดอาหารเช้าของวันนั้น ทานติดต่อกัน 2 วัน
- เส้นใยและความร้อนจากสารกำมะถันในทุเรียนจะไปชะล้างพยาธิและสิ่งสกปรกต่างๆ ในลำไส้ออกมาจนหมด ทำให้คุณผอมลง ร่างกายแข็งแรงสดชื่นด้วย

ทุเรียนมีดีรอบด้าน ถึงกินแล้วจะร้อนในไปหน่อยแต่ความดีอย่างอื่นของทุเรียนก็ยังมี แถมมีตั่งแต่ต้นจรดรากซะด้วยสิ!...เนื้อ:

เนื้อทุเรียนมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ร้อนแต่ความร้อนนี้ล่ะจะช่วยแก้โรคผิวหนังได้ ทำให้ฝีหนองแห้งเร็วและมีฤทธิ์ขับพยาธิได้ด้วย

เปลือก : ถ้าเอาเปลือกแหลมๆ ไปสับแช่ในน้ำปูนใสแล้วเอามาล้างแผลพุพอง แผลน้ำเหลืองเสีย แผลจะหายเร็วหรือถ้าหากมีเด็กในบ้านเป็นคางทูม คนสมัยก่อนเขาก็จะเอาเปลือกทุเรียนไปเผาแล้วบดเป็นผงเอมาผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วเอามาพองที่คาง คางทูมก็จะยุบ

ใบทุเรียน : เอาใบทุเรียนไปต้มกับน้ำแล้วเอาน้ำนั้นมาอาบ ความร้อนจะช่วยให้หายไข้และโรคดีซ่านได้ ราก:ตัดเป็นข้อๆ ใส่หม้อต้มให้เดือด นำมาดื่มบรรเทาอาการไข้และรักษาอาการท้องร่วงได้ดี แต่ที่สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามแล้วละก็คุณอาจจะไม่เคยคิดเลยว่า ทุเรียนจะสามารถทำให้คุณสวยได้ ...

วิธีการ
ไม่ยากเลยเพียงแค่....
- นำเนื้อทุเรียนสุกพอห่ามๆ ไม่ต้องสุกมากมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สักกำมือหนึ่ง ปั่นรวมกับดินสอพอง 1/4 ช้อนโต๊ะ จนเป็นเนื้อข้นๆ
- ทาไปเลยทั่วผิว เว้นรอบดวงตาและปาก หรือบริเวณที่เป็นสิว ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จึงล้างออก ธาตุกำมะถันในทุเรียนจะทำให้สิวแห้งเร็วขึ้น สรรพคุณมากมายอย่างนี้

สาวๆที่ไม่ชอบทุเรียนอาจจะต้องหันกลับมาสนใจทุเรียนมากขึ้นแล้วละ เพราะทุเรียนมีดีกว่าที่คิด จริงไหม!!!....


http://www.adeq.or.th/web/webboard/index.php?topic=110.0
www.adeq.or.th/web/webboard/index.php?topic=110.0 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/09/2010 7:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำแนะนำการปฏิบัติในระยะเตรียมสภาพต้นให้พร้อม
เพื่อการออกดอกของทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง


ความสำคัญของการเตรียมสภาพต้น ให้พร้อมสำหรับการออกดอก ประเด็นสำคัญประการหนึ่งในการจัดการผลิตไม้ผลเมืองร้อนให้มีคุณภาพ ได้แก่การชักนำให้ออกดอกในเวลาและปริมาณที่ต้องการ และการที่จะสามารถควบคุมกระบวนการออกดอกของไม้ผลได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่มีส่วนสำคัญในกระบวน การออกดอก เพื่อให้สามารถกำหนดเป็นวิธีการจัดการที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละช่วงของการพัฒนาการของพืช ในสภาพการปลูกไม้ผลโดยทั่วไปจะพบว่า สภาพของต้นที่ได้รับการ บำรุงรักษาเป็นอย่างดี มีใบสมบูรณ์ในปริมาณ หนาแน่นพอสมควร จะออกดอกได้มากและสม่ำเสมอกว่าต้นที่มีความสมบูรณ์น้อย และยังพบอีกว่าก่อนที่ไม้ผลจะออกดอกนั้น จะต้องมีการพักตัวในช่วงแล้งมาระยะหนึ่งเมื่อมีการจัดการน้ำที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ออกดอกได้ โดยต้นที่มีความสมบูรณ์มากกว่า ก็จะตอบสนองต่อการจัดการน้ำได้ดีกว่าด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก ของไม้ผลที่สำคัญ ได้แก่

1. ความสมบูรณ์ต้น หมายถึงต้นต้องมีใบสมบูรณ์ ปริมาณหนาแน่นพอควร สีเขียวสดใส เป็นมัน เป็นใบแก่ทั้งต้น ไม่มีการเข้าทำลายของโรคและแมลง หรือมีน้อย ใบแก่ที่สมบูรณ์เหล่านี้จะเป็นแหล่งสังเคราะห์และสะสมอาหารที่สำคัญของไม้ผล นอกเหนือจากลำต้นและราก สำหรับใช้ในกระบวนการออกดอก การพัฒนาการของดอก ผล และใบอ่อน ต่อไป โดยปกติแล้วต้นไม้ผลจะมีการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง การแตกใบอ่อนชุดที่สองจะมีปริมาณใบมากกว่าชุดแรกประมาณ 10–15% และใบอ่อน จะใช้เวลาประมาณ 35–45 วัน ในการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จะสังเกตพบว่าต้นที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าสู่ กระบวนการออกดอกหลังจากใบอ่อนชุดที่ 2 พัฒนาเป็นใบแก่ได้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่รากมีการพัฒนาสูงสุด และมีความสมบูรณ์เต็มที่

2. สภาวะเครียดเนื่องจากขาดน้ำ ต้นไม้ผลต้องการช่วงแล้งที่ต่อเนื่องกันนานประมาณ 15–30 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ต้นเกิดความเครียด เนื่องจากการขาดน้ำ และกระตุ้นให้เกิด การสังเคราะห์สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทำให้สัดส่วนของสารควบคุมฯภายในพืชเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในระดับ ที่พอเหมาะต่อกระบวนการออกดอก

ดังนั้น จึงพอจะสรุปคำแนะนำการปฏิบัติในระยะเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการออกดอกในแต่ละชนิดพืช ได้ ดังนี้คือ


ทุเรียน

1. ตัดแต่งกิ่งทันทีภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต

2. ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 อัตรา 250-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตรและปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร

3. ดึงใบอ่อนชุดที่ 1 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน จะช่วยให้ทุเรียนออกใบอ่อนพร้อมกันและเร็วขึ้น

4. ป้องกันและรักษาใบอ่อนชุดที่ 1 ไม่ให้แมลงและโรคเข้าทำลายด้วยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

5. ดึงใบอ่อนชุดที่ 2 และ 3 โดยการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 46-0-0 หรือ 30-20-10 จำนวน 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร และรักษาใบอ่อนชุดที่ 2 และ 3 ให้สมบูรณ์ไม่ให้มีโรคและแมลงเข้าทำลาย

6. ในระยะใบเพสลาดของใบชุดที่ 3 หรือก่อนออกดอก 30-45 วันใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 14-7-28 หรือ 15-5-20 อัตรา 200-250 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่ม ที่ ไม่ถูกแสงแดดออก

7. เมื่อใบทุเรียนแก่จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็ว สังเกตอาการของใบ เมื่อใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะหนาเป็นมัน ปลายยอดตั้งชันขึ้น หยุดการให้น้ำเพื่อให้ต้นทุเรียนผ่านสภาพแล้ง แต่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของใบและสภาพภูมิอากาศ ถ้าอากาศแห้งแล้งและร้อนจัดมาก ใบเริ่มแสดงอาการขาดน้ำ ควรให้น้ำได้บ้างในปริมาณน้อย

9. เมื่ออากาศเย็นและผ่านช่วงแล้งต่อเนื่องกันนาน 10-15 วันต้นทุเรียนจะออกดอกได้มากและเป็นรุ่นเดียวกันแต่ถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่เหมาะสม ทุเรียนจะออกดอกน้อยและมีดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกันทำให้ยุ่งยากในการจัดการ


เงาะ
1. ใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน หลังเก็บเกี่ยวภายใน 2 สัปดาห์หลังเก็บเกี่ยวเงาะเสร็จสิ้น ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7 ,20-10-10 อัตรา 250-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 4-5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร

2. ตัดแต่งกิ่ง ภายใน 3-4 สัปดาห์หลังจากเก็บเกี่ยวเงาะเสร็จสิ้น ให้ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และกิ่งที่ซ้อนทับกัน เพื่อให้แสงแดดส่องผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้ ตัดแต่งปลายพุ่มเพื่อลดรอยแผลจากการเก็บเกี่ยว รวมถึงการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมขนาดของทรงพุ่ม หากพบมีกิ่งน้ำค้าง กิ่งกระโดง หรือกิ่งแขนงที่แตกออกมาใหม่ หลังการตัดแต่งกิ่งครั้งแรกและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ต้องตัดแต่งอีกครั้งหนึ่ง

3. ชักนำให้แตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งสวน โดยการฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 46-0-0 จำนวน 100-200 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน กระตุ้นให้ต้นเงาะแตกใบอ่อนให้ได้ 2-3 ชุดใบ

4. ป้องกันและรักษาใบอ่อน ให้พัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ ไม่ให้แมลงและโรคเข้า ทำลาย

5. ในช่วงปลายฤดูฝน เมื่อพบว่าใบชุดใหม่พัฒนาเป็นใบแก่ทั้งต้น ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 14-7-28 หรือ 15-5-20 อัตรา 200-300 กรัม ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล

6. เมื่อใบแก่ทั้งต้น จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็ว เมื่อต้นเงาะผ่านช่วงแล้ง อย่างน้อย 25-30 วันโดยสังเกตใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้นพร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้า และตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อสังเกตพบอาการเช่นนี้ ก็จัดการให้น้ำต้นเงาะในประมาณมากทันทีในอัตรา 30-35 มิลลิลิตร หรือประมาณ 1,000 ลิตร/ต้น สำหรับต้นเงาะที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 6 เมตร เพียง 1 ครั้ง แล้วหยุดเพื่อรอดูอาการภายใน 7-10 วัน หากตายอดมีการพัฒนาและสีของตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตราเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด ทำให้เกิดเป็นระยะไข่ได้เร็ว ถ้ามีลดพัดแรงในช่วงนี้ก็ควรเพิ่มปริมาณการให้น้ำขึ้นอีกเล็กน้อย เพื่อป้องกันมิให้ต้นเงาะขาดน้ำและใบร่วงเมื่อตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอกแล้ว ก็ให้น้ำตามปกติ จนกระทั่งดอกบาน แต่ถ้าให้น้ำปริมาณมากในครั้งแรกแล้ว ตายอดมีการพัฒนาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเขียว หรือสีเขียวปนน้ำตาล แสดงว่าให้น้ำมากเกินพอสำหรับกระตุ้นการพัฒนาการของตาดอกจึงทำให้ตายอดกพัฒนาเป็นตาใบแทน ต้องหยุดให้น้ำและปล่อยให้ต้นเงาะกระทบแล้งอีกครั้งหนึ่ง จนสังเกตพบว่าตายอดเปลี่ยนกลับมาเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งหนี่งในปริมาณครึ่งหนึ่งของการให้น้ำครั้งแรก และเมื่อตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอกก็ให้น้ำตามปกติ


มังคุด
1.ใส่ปุ๋ยทางดิน หลังเก็บเกี่ยวภายใน 2 สัปดาห์หลังเก็บเกี่ยวมังคุดเสร็จสิ้น โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 25-7-7, 20-10-10 อัตรา 250-350 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร และปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 4-5 กิโลกรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร

2. ตัดแต่งกิ่ง ภายใน 3-4 สัปดาห์หลังจากเก็บเกี่ยวมังคุดเสร็จสิ้นให้ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และกิ่งที่ซ้อนทับกัน เพื่อให้แสงแดดส่องผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้ และจะทำให้มีกิ่งแขนงในทรงพุ่มเกิดขึ้น ทั้งนี้การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยกระตุ้นให้มังคุดแตกใบอ่อนได้เช่นกัน

3. การชักนำให้แตกใบอ่อน ควรชักนำให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งสวนในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยกำหนดเวลาให้ตายอดมีอายุประมาณ 9-12 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง โดยการฉีดพ่นปุ๋ย สูตร 46-0-0 จำนวน 100-200 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน

4. ในช่วงปลายฤดูฝนเมื่อพบว่าใบชุดใหม่พัฒนาเป็นใบแก่ทั้งต้นให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 14-7-28 หรือ 15-5-20 อัตรา 200-300 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร เพื่อหยุดการพัฒนาการของตาใบ และให้ใบสะสมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล

5. เมื่อตายอดของมังคุดมีอายุ 9-12 สัปดาห์จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็วขึ้น เมื่อมังคุดผ่านช่วงแล้งอย่างน้อย 21-30 วันจนปล้องสุดท้ายของยอดแสดงอาการเหี่ยวอย่างชัดเจนและใบคู่สุดท้ายเริ่มมีอาการตก จึงให้น้ำครั้งแรกในปริมาณ35-40 ลิตรต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร และให้น้ำครั้งต่อมาทุก 7-10 วัน ในปริมาณครึ่งหนึ่งของครั้งแรก จนกว่าต้นมังคุด จะออกดอกเท่ากับ 15% ของจำนวนยอดทั้งหมด โดยปกติต้นมังคุดที่สมบูรณ์ และอายุของตายอดเหมาะสม จะเริ่มเห็นตาดอกหลังจากการให้น้ ำครั้งที่ 2 ประมาณ 2 สัปดาห์

ลองกอง
1. การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาโครงสร้างที่ดีของต้นไว้ ควบคุมทรงพุ่มให้มีขนาดพอเหมาะ และปรับประมาณแสงภายในทรงพุ่มให้ใบทุกใบมีโอกาสได้รับแสงอย่างทั่วถึง ควรรีบปฏิบัติทันทีหลังการเก็บเกี่ยว โดยเลือกตัดกิ่งแห้ง กิ่งแขนง และกิ่งที่เป็นโรค

2. การใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่กับการใส่ปุ๋ยคอก โดยใส่ปุ๋ยเคมี เช่นสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี หรือตามความเหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ของต้น เมื่อพบว่าใบชุดใหม่พัฒนาเป็นใบเพสลาดทั้งต้น ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 14-7-28 หรือ 15-5-20 อัตรา 200-250 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ควรให้น้ำให้ดินชื้นตลอดเวลา

3. การอารักขาพืช ในช่วงการเตรียมต้นนี้มักพบอาการของโรคราสีชมพูซึ่งเกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor เข้าทำลายที่กิ่งและลำต้นของลองกองเริ่มแรกจะเห็นเส้นใยสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ และแผ่ประสานกันเป็นวงหรือเป็นแผ่นสีชมพูหนาติดกับผิวเปลือกและจะลุกลามขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนรอบกิ่งทำให้เนื้อไม้เน่าเป็นสีน้ำตาล ถ้าอาการรุนแรงมาก ใบจะเหลือง ร่วง และกิ่งแห้งตาย ต้นลองกองที่มีทรงพุ่มหนาทึบมีโอกาสจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าต้นที่มีทรงต้นโปร่ง เมื่อตรวจพบอาการเพียงเล็กน้อยบนกิ่งเล็ก ให้ตัดทิ้งและเผาทำลายเสีย แต่ถ้าอาการรุนแรงมาก ให้ฉีดพ่นสารเคมีชนิดคอบเปอร์อ็อกซีคลอไรด์ หรือ คิวปรัสอ็อกไซด์ (คอปเปอร์แดง) อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรคำนึงเสมอว่า การจัดการสวนลองกองที่ถูกต้องเหมาะสมและการดูแลรักษาต้นลองกองให้มีสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยทำให้ต้นลองกองมีความต้านทานต่อการเกิดโรคและการทำลายของหนอนชอนใต้ผิวเปลือกได้

4. ชักนำและกระตุ้นการออกดอกและการส่งเสริมการพัฒนาการของช่อดอก
1. เมื่อใบของลองกองแก่ทั้งต้น จัดการให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งเร็วขึ้น ควรงดน้ำทางดินทำโคนให้สะอาด ไม่ควรมีวัชพืชใต้ต้นลองกอง ในขณะที่ต้นลองกองพร้อมที่จะออกดอก เพื่อช่วยให้การถ่ายเทอากาศตรงโคนต้นดีขึ้น ดินมีโอกาสแห้งเร็วขึ้น

2. รอดูอาการจนกระทั่งต้นลองกองแสดงอาการขาดน้ำ และพร้อมที่จะออกดอก คือใบสลดและใบตกในเวลาเช้า และตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ใบบริเวณส่วนยอดเริ่มร่วง เมื่อสังเกตพบอาการเช่นนี้ ก็จัดการเพื่อกระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำปริมาณมากทันที เพื่อกระตุ้นการพัฒนาการระยะแรกของตาดอก โดยให้น้ำในปริมาณ 30-35 มิลลิลิตร หรือประมาณ 850-1000 ลิตร/ต้น เพียง 1 ครั้ง แล้วหยุด เพื่อรอดูอาการของต้นลองกองภายใน 7-10 วัน หากตาดอกมีการพัฒนา และเริ่มยืดตัวเป็นช่อดอกขนาดสั้นอย่างสม่ำเสมอ ตามกิ่งและลำต้น ก็เริ่มให้น้ำตามปกติเพื่อกระตุ้นการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของช่อดอก แต่เมื่อจัดการให้น้ำในปริมาณมากเช่นนี้แล้วไม่พบการพัฒนาของตาดอกตามกิ่งและลำต้นต้องหยุดการให้น้ำทันที และปล่อยให้ต้นลองกองกระทบแล้ง จนกว่าต้นจะแสดงอาการขาดน้ำ อีกครั้งหนึ่ง คือ ใบสลดและใบตก ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้ง ในปริมาณเท่าเดิม และเมื่อตาดอกเริ่มมีการพัฒนาก็ให้น้ำตามปกติ


โดย นายสุชาติ จันทร์เหลือง
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว

http://www.chanthaburi.doae.go.th/new_information/prepare%20stem.htm
www.chanthaburi.doae.go.th/new.../prepare%20stem.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 11/09/2010 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://share.psu.ac.th/blog/marky12/16014

ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนด้วยฟ้าทะลายโจร

ทุเรียน (Durian; Durio Zlbethinus L.) เป็นพืชเศรษฐกิจชนิด หนึ่งใน Product champion ที่มีมูลค่าส่งออกหลายพันล้านบาท มีถิ่น กำเนิดบริเวณหมู่เกาะอินเดีย ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ผลที่มีขนาดผลใหญ่ รสชาติหวานมัน ได้ ชื่อว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) มี ราคาสูง ชาวสวนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมีการผลิตเพื่อการ บริโภคในประเทศและการส่งออกผลสดและแปรรูปในรูปแบบต่างๆ แต่ เนื่องจากทุเรียนเป็นไม้ผลที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดย เฉพาะการเข้าทำลายของโรคและแมลง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอ ทุกปี ดังนั้นเกษตรกรที่ทำสวนทุเรียนควรได้รู้จักโรคทุเรียน และป้องกันกำจัดโรคชนิดต่างๆให้ถูกต้อง เพื่อให้ ทุเรียนที่ผลิตได้มีคุณภาพดี

โรครากเน่าโคนเน่าจัดเป็นโรคหนึ่งที่ สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนเป็นอย่างมาก สาเหตุ ของโรคเกิดจากเชื้อราเจริญเติบโตเข้าไปทำลายทุเรียนทั้งที่โคนต้น กิ่ง และราก ต้นที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการใบด้าน ไม่ เป็นมัน สีค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น ต้น เน่าและใบเหี่ยว แผลที่ต้นหรือกิ่งจะเน่าเป็นจุดฉ่ำน้ำ เปลือกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลและมีเมือกไหลออกมา ต้น ทุเรียนยืนต้นตาย โดยจะสังเกตได้ในเวลาเช้าหรือช่วงที่มี อากาศชื้น การป้องกันกำจัดทำได้โดยวิธีกล เช่น การตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ดูแลอย่าให้น้ำขัง บริเวณโคนต้น ควบคุมด้วยวิธีการเขตกรรมเช่น การ เสริมราก ใช้พันธุ์ต้านทานเป็นต้นตอ การควบคุม โดยใช้สารเคมีพวกเมทาแลกซิล หรือการใช้สารสกัดจากสมุนไพรฟ้า ทะลายโจร ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Phytophthora สาเหตุของโรค ซึ่งพบระบาดรุนแรงในแหล่งปลูก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย

ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Wall.ex Nees) เป็นพืชล้มลุก ปลูกง่าย ขยายพัรธุ์ง่าย สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร เจริญได้ง่ายและรวดเร็วในเขตร้อน ขยาย พันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถใช้เป็นยาได้ทั้งต้น มี รสขม รักษาโรคท้องร่วงและท้องเสียฉับพลันได้ ลด อาการไข้ และเจ็บคอ สารออกฤทธิ์ที่พบเป็น สารกลุ่ม Lactones ได้แก่ Andrographolide, deoxyandrographolide, dehydroandrgrapholide และ neoandrographolide สำหรับการศึกษาทดลองนำสมุนไพรฟ้าทะลายโจร มาใช้ในการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนนั้น ผู้วิจัย ได้ทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา P. palmivora โดยการปลูกเลี้ยงเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อรา carrot agar ร่วมกับสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่สกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ที่ความ เข้มข้น 48-25,000 ppm. บ่มเลี้ยงที่ อุณหภูมิ 28 ± 1 องศาเซลเซียส และตรวจสอบการเจริญของเชื้อ พบว่าการใช้สารสกัด ฟ้าทะลายโจรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์โดยไม่ผ่านการหมุนเหวี่ยงที่ความเข้มข้น 25,000 ppm. มีประสิทธิภาพการ ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ รวมทั้งยับยั้งการสร้าง สปอร์แรงเจียม และการปลดปล่อยซูโอสปอร์ของเชื้อได้

จากผลการทดลองดังกล่าวเป็นตัวชี้นำได้ว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมี ประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา Phytophthora และ เป็นหน้าที่ของนักวิจัยที่ต้องมีการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับรูปแบบการนำไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เทคนิคที่ใช้ในการสกัดสารออกฤทธิ์ จากฟ้าทะลายโจรพบว่าการสกัดด้วยแอลกอฮอล์โดยไม่ผ่านการหมุนเหวี่ยงมี ประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อได้ดีที่สุด ทั้ง นี้เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีสารออกฤทธิ์อยู่ในกลุ่ม lactones ซึ่งมีคุณสมบัติละลายในแอลกอฮอล์ได้ดีกว่าน้ำ ซึ่งในทางปฏิบัติ หากจะนำไปใช้สามารถที่จะปรับความเข้มข้นของสารสกัดให้มีความเข้มข้นสูงขึ้น ได้ สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์จริงระหว่างที่ยังไม่มีการคิด ค้นสารสกัดสำเร็จรูปที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ในทางปฏิบัติ เกษตรกรคงทำไม่ได้ในเรื่องของการสกัดสารออกฤทธิ์มาใช้ประโยชน์ จึง แนะนำให้มีการปลูกฟ้าทะลายโจรร่วมด้วยในสวนทุเรียน เมื่อต้น ฟ้าทะลายโจรโตเต็มที่แล้วให้ตัดแล้วปล่อยให้ส่วนต่างๆย่อยสลายไปตามธรรมชาติ และปลดปล่อยสารยับยั้งการเจริญของเชื้อราในแปลงก็จะเป็นการลดปริมาณ ของเชื้อตามธรรมชาติและลดความรุนแรงของโรคลงได้ในระดับหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง:
เสมอใจ ชื่น จิตต์. 2548. ฤทธิ์ต้านราของฟ้าทะลายโจร Andrographis paniculata Wall ex Nees ต่อ รา Phytophthora สาเหตุโรครากเน่าโคน เน่าทุเรียน. ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/09/2010 6:58 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรครากและโคนเน่าทุเรียน

เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนควรระมัดระวังโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน มักระบาดในช่วงฝนตกชุกหรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง เชื้อจะเข้าทำลายระบบรากทำให้รากเน่า เป็นสีน้ำตาล เมื่อรากเน่ามากใบทุเรียนที่อยู่ปลายกิ่งจะแสดงอาการซีดเหลือง ชะงักการเจริญเติบโตและต่อมาจะร่วง ปลายรากฝอยเน่าเปื่อยและถอดปลอก รากแขนงมีอาการเน่า ส่วนอาการที่โคนจะปรากฎจุดฉ่ำน้ำและมักมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อเยื่อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม อาการจะลุกลามเน่า รอบโคนต้นทำให้ใบร่วงหมดต้น ยืนต้นแห้งตายในเวลาต่อมา สำหรับในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี มีน้ำขัง เชื้อราจะแพร่ระบาดไปสู่ใบ กิ่ง และส่วนอื่น ๆ ได้อีกด้วยศัตรูธรรมชาติ......เชื้อจุลินทรีย์ : เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า


กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำการป้องกันกำจัดดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์โรครากเน่าโคนเน่า โดยสำรวจทุกต้น 7 วันต่อครั้ง

2. ตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี และปูนขาว (ตามอัตราคำแนะนำหลังจากการตรวจวิเคราะห์ดิน) เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นดินดีทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี (ดินควรมี pH ประมาณ 6.5)

3. จัดทำร่องระบายน้ำในบริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำเพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง

4. ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

5. เก็บรวบรวม ใบที่เป็นโรคและร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปเผาทำลาย

6. ลดปริมาณของเชื้อราที่อยู่ในดินโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ที่ผลิตจากเมล็ดข้าวฟ่าง จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมกับรำข้าว 4 กิโลกรัมและปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม ให้เข้ากัน แล้วนำไปหว่านบริเวณทรงพุ่มรอบทรงต้นที่มี รากฝอยอยู่ ในอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร

7. พบอาการของโรคเพียงเล็กน้อยที่ลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่ ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกและ นำไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยปูนแดง

8. พบอาการของโรครุนแรงที่ราก ลำต้น หรือกิ่งแขนงใหญ่ ให้ใช้ฟอสฟอรัส แอซิด 40% ใส่กระบอกฉีด โดยผสมน้ำสะอาดอัตรา 1:1 หรือไม่ผสมน้ำ ฉีดเข้าที่ลำต้นหรือกิ่ง ในบริเวณตรงข้ามหรือใกล้บริเวณส่วนที่เป็นโรค (บริเวณที่เป็นเนื้อไม้ดี) เพื่อปรับสภาพเซลล์ของเนื้อไม้ให้มีความทนทานต่อเชื้อราไฟทอปธอร่า ในอัตรา 20 ซีซี.ต่อต้น

9. ใช้สารเคมี
- อาการเน่าที่โคนหรือกิ่ง :
ขูดเปลือกลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่บริเวณที่เป็นโรคออกและเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยสารเคมีเมตาแลกซิล 25% ดับบลิวพี หรือ 35% เอสดี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

- อาการรากเน่า :
พบอาการของโรคที่บริเวณรากฝอยซึ่งจะเป็นสีน้ำตาลดำและใบสีเหลือง ให้ใช้สารเคมีเมตาแลกซิล 25% ดับบลิวพี อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากใหม่ โดยใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-20-30 หรือ 15-30-15 หรือ 20-20-20 อัตรา 60 กรัม ผสมรวมกับกรดฮิวมิค 100 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วทรงพุ่ม แล้วใช้เศษพืชคลุมโคนต้นไว้ ให้น้ำสม่ำเสมอให้ชื้นตลอดเวลา ปฏิบัติเช่นนี้สัปดาห์ละครั้งรวม 2-3 ครั้งติดต่อกัน

- อาการที่ใบ :
ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เมตาแลกซิล 25% ดับบลิวพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือกรดฟอสฟอรัส อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่ม


ข้อควรระวัง :
ห้ามนำกิ่ง ใบ ดอก และผลที่เป็นโรคไปทิ้งลงในแม่น้ำ ลำคลอง เพราะจะทำให้เชื้อไฟท๊อปธอร่า กระจายออกไปในพื้นที่กว้างขวางควรนำมาเผาทำลายให้หมด

http://agriqua.doae.go.th/forecast/week/week52/010652durianstemrot/durianstemrot010652.html

agriqua.doae.go.th/forecast/.../durianstemrot010652.html -

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/09/2010 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคแมลงศัตรูทุเรียน และการป้องกัน

ไรแดงทุเรียน
ไรแดงมีการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวหรือตอนฝนทิ้งช่วง ซึ่ง มีอากาศแห้งแล้งและลมแรง โดยไรแดงจะดูดน้ำเลี้ยง อยู่บริเวณหน้าใบ ของทุเรียน โดยเฉพาะตามแนวเส้นกลางใบ เห็นคราบไรเป็นสีขาวเกาะ ติดบนใบเป็นผงสีขาวคล้ายนุ่นจับ และจะทำให้ใบร่วง หลังจากนั้น ทุเรียนจะแตกใบใหม่

ซึ่งจะตรงกับช่วงดอกบานหรือเริ่มติดผล ทำให้ ดอกและผลร่วงเสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงผลอ่อนแล้ว จะทำให้ผลบิดเบี้ยว ทรงไม่ดี นอกจากนั้นแล้ว ไรแดงยังดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนของผลอ่อน ใบอ่อน กิ่งอ่อน ได้อีกด้วย

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมไรแดง ได้แก่ ไรตัวห้ำ ด้วงเต่า แมลงวันขายาว แมงมุม
2. ถ้าสำรวจพบไรแดงกระจายทั่วทั้งสวน ให้ฉีดน้ำให้ทั่วในทรงพุ่ม ของต้นเพื่อลดปริมาณไรแดงลง
3. เมื่อพบว่าไรแดงเพิ่มปริมาณสูงขึ้นให้ตรวจนับปริมาณไรแดง บนใบ ถ้าพบไรแดงปริมาณเฉลี่ย 10 ตัวต่อใบ ให้ใช้สารเคมีกำจัดไร คือ
- โปรพาร์ไกท์ 30 % อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เฮกซีไธอะซ็อก 2 % อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร (ใช้หลังจากฉีดพ่น โปร์พาร์ไกท์ แล้ว 5-7 วัน เมื่อยังพบไข่และตัวอ่อน ไรแดง)



เพลี้ยไก่แจ้
ตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อใบพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 วง หลังจากนั้น ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ขนาดประมาณ 3 มิลลิลิตร และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลำตัว มีปุยขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก้แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า"

เมื่อแมลงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิลิตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ค่อยบินนอกจากถูกกระทบกระเทือน แมลงชนิดนี้มีระบาด อยู่ในบริเวณที่ปลูกทุเรียนทั่ว ๆ ไป ระยะเวลาการระบาดคือ ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน ระหว่างกลางเดือน พฤษภาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ทำความเสียหายให้กับทุเรียนอย่างมาก ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอแห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่มีสารสีขาว

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ ตามธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่าปีกลายหยัก ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงเต่าลายสมอ แมลงช้าง ต่อต่าง ๆ แมงมุม
2. การกระตุ้นให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการใส่ปุ๋ย ยูเรีย (46-0-0) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น จะช่วยลดช่วงเวลาการเข้า ทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง และจะทำการควบคุมได้ในเวลาพร้อมกัน
3. สำรวจยอดอ่อนและใบอ่อนทุเรียน เมื่อพบเพลี้ยไก่แจ้ให้ใช้ กับดักสารเหนียวสีเหลือง ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือฉีดพ่นน้ำบนใบอ่อน ที่คลี่แล้ว เพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้ และเมื่อสำรวจพบจำนวนยอด ทุเรียนที่ถูกทำลายจำนวน 4 ยอดต่อต้น ให้ใช้สารเคมี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
- ไซฮาโลธริน แอล 25 % อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เอนโดซัลแฟน 35% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร



หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน ปีกสีน้ำตาลเข้ม มีจุดสีเหลือง หรือเหลืองปนขาวข้างละ 3 จุด มักพบตัวเต็มวัยอยู่ในสวนเมื่อผล ทุเรียนมีอายุประมาณ 2 เดือน ตัวเต็มวัยจะวางไข่บนผล ทุเรียนใกล้ ๆ ขั้ว เป็นฟองเดี่ยว ๆ ต่อมา หนอนจะไชเข้าไปภายในและกัดกินเมล็ด โดยไม่ทำลาย เนื้อทุเรียนเลย ยกเว้นจะมีทางเดินเล็ก ๆ ระหว่างเนื้อและ ผิวเปลือกด้านในซึ่งจะมีรอยเป็นเส้น เมล็ดที่ถูกทำลายส่วนใหญ่จะอยู่ ในระยะที่เมล็ดในแข็งแล้ว โดยหนอนจะใช้เวลา เจริญเติบโต อยู่ภายใน เมล็ดประมาณ 30 วัน

การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนนั้น หนอนชนิดนี้จะ เจาะไชเข้าไปภายใน เมล็ดกัดกินและขับถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียน เปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนโตเต็มที่มี ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หนอนโตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ ก็จะเจาะออกจากผล เป็นรูและทิ้งตัว เข้าดักแด้ในดินซึ่งเข้าใจว่า จะออกจากดักแด้ในฤดูถัดไปทุเรียนที่ถูก ทำลายและมีรูที่หนอน เจาะออกมานี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. ใช้กับดักแสงไฟ เพื่อล่อดักทำลายผีเสื้อ ซึ่งจะทำให้ลด ปริมาณการระบาดลงได้ และผลจากการติดตั้งกับดักแสงไฟจะทำให้ ทราบว่า เริ่มมีผีเสื้อในช่วงไหน เพื่อจะทำให้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงได้ถูก ช่วงเวลา
2. ใช้สารเคมี เช่น คาร์บาริล. เอ็นโดซัลแฟน. หรือเมทามิโดฟอส. พ่นหลังจากพบผีเสื้อ ในกับดักแสงไฟครั้งแรก
3. การขนเมล็ดทุเรียน จากแหล่งที่มีการระบาดของหนอน เจาะเมล็ดเพื่อนำไปเพาะเป็นต้นตอ ในการขยายพันธุ์ ควรมีการแช่ด้วย สารเคมี เช่น คาร์บาริล ก่อนการขนย้ายเพื่อจะช่วยฆ่าหนอน ซึ่งติดมากับเมล็ดได้
4. รักษาสวนให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นตรวจสวนหลังจากทุเรียน ติดผลแล้ว เมื่อพบผลที่ถูกทำลาย หรือผลร่วงในสวนที่มีการระบาดของ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ควรเก็บผลร่วงไปเผาทำลายทิ้งทุกวัน เพราะหลังจากทุเรียนร่วงไม่นาน ถ้ามีหนอนอยู่ภายในหนอนจะเจาะรูออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน



หนอนเจาะผล
เป็นหนอนของผีเสื้อขนาดเล็กปีกสีเหลืองมีจุดสีดำ เข้าทำลาย ผลทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก จนกระทั่งผลโต โดยตัวแก่จะวางไข่ภายนอก ผลทุเรียน ในระยะแรกที่หนอนฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะแทะกินอยู่ตาม ผิวเปลือกผลทุเรียนก่อนเมื่อโตขึ้นจึงจะเจาะกินเข้าไปภายใน ถ้าหาก เจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อทุเรียนจะทำให้เนื้อบริเวณที่หนอนเจาะนี้เน่า เมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะเห็นมูลของหนอนได้อย่างชัดเจน และมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่จัด หนอนจะเข้าทำลายผลที่อยู่ติดกัน มากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะหนอนที่เพิ่งจะฟัก จากไข่ชอบอาศัยอยู่ ที่รอยสัมผัสนี้

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนเจาะขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต แมงมุม แมลงวันเบียน แตนเบียน
2. ใช้หลอดแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ในกับดักแสงไฟครั้งแรก
3. ตัดแต่งผลทุเรียนไม่ให้มีมากหรือติดกันเกินไป หรืออาจใช้ วัสดุ เช่น กาบมะพร้าว หรือเศษไม้กั้นระหว่างผลเพื่อป้องกันไม่ให้ ตัวเต็มวัยวางไข่ หรือตัวหนอนหลบอาศัยอยู่
4. หลังตัดแต่งผลครั้งที่ 3 เมื่อตรวจพบผลถูกทำลาย ให้ฉีดพ่นสารเคมีเฉพาะต้น ที่ถูกทำลายชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
- ไซฮาโลธริน แอล 2.5% อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- คาร์โบซัลแฟน 20%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- คลอร์ไพริฟอส 40%อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
5. ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงควรเก็บทำลายโดยเผาไฟหรือฝังเสีย



หนอนกินขั้วผล
หนอนกินขั้วผลจะไชชอนและกินอยู่ที่บริเวณขั้วผล หรือต่ำกว่า ขั้วผลลงมาเล็กน้อย ถ้ามีหนอนเข้าทำลายมากจะทำให้ผลหลุดออกจาก ขั้วและร่วง พบเข้าทำลายในระยะผลอ่อน

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนกินขั้วผลตามธรรมชาติ ได้แก่ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต ต่อห้ำ แตนเบียน
2. ใช้หลอดไฟแบล็คบลูไลท์ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
3. หลังจากตัดแต่งผลครั้งที่ 3 แล้วตรวจพบผลทุเรียนถูก ทำลายจำนวนตั้งแต่ 4 ผลต่อต้นขึ้นไป ให้ฉีดพ่นสารเคมีเฉพาะต้น ที่ถูกทำลายโดยใช้ เมทธามิโดฟอส 60% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร



โรครากเน่าและโคนเน่า
เป็นโรคที่สำคัญสำหรับทุเรียน ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ ชาวสวนทุเรียนอย่างมาก ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดในที่สุด ใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ ให้สำรวจโคนต้น กิ่งหรือรากบริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้ม คล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางไหลลงด้านล่าง หรือเป็นหยดน้ำตรงบริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง หรือมีรอยแตกของแผลและมีน้ำยาง ไหลออกมาในต้นที่เป็นโรครุนแรง ถ้าหากเป็นโรคที่ส่วนราก จะสังเกตเห็นใบมีอาการเหลืองซีด รากส่วนที่เน่ามีสีดำ เปื่อย และขาดง่าย เชื้อราไฟทอปโธรา สาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายโดยทาง ลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคและการเข้าทำลายต้นทุเรียน

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
1. อนุรักษ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นเชื้อราพาราสิต หรือเป็นศัตรูธรรมชาติ ของเชื้อราไฟทอปโธรา ในดินโดยการปรับปรุงดินให้เป็น กรดด่าง 6.5 ซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเชื้อราไตรโคเดอมาเพื่อช่วย ควบคุมเชื้อราไฟทอปโธราในดินตามธรรมชาติ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาจากการผลิตขยาย โดยการผสมเชื้อรากับรำ และปุ๋ยคอก อัตรา 1:25:25 ส่วน นำส่วนผสมนี้ไปรองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 1 กิโลกรัมต่อหลุม หรือนำไปโรยรอบ ๆ โคนต้นทุเรียนที่โตแล้ว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้น แล้วรดน้ำพอชุ่มเพื่อช่วยควบคุมเชื้อราไฟทอปโธราในดิน
2. วิธีเขตกรรม เมื่อพบอาการเริ่มแรกเพียงเล็กน้อย ให้ถากเอาส่วนที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยปูนแดง
3. สารเคมี เมื่อพบอาการรุนแรง ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณแผล ออก แล้วทาด้วยสารเคมี เมตาแลกซิล 50% อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ในกรณีที่พบอาการรุนแรงที่ส่วนราก หรือส่วนที่อยู่ตำแหน่งสูง ๆ ขึ้นไป ให้ใช้ สารฟอสฟอรัสแอซิด อัตรา 10 ซีซี.ต่อน้ำสะอาด 10 ซีซี. ผสมใส่กระบอกฉีดยาแล้วนำไปฉีดเข้าในส่วนที่เป็นโรค เนื่องจากเชื้อราสาเหตุ ของโรครากเน่าโคนเน่า จะระบาดเมื่อดิน มีความชื้นสูง อากาศชื้นมีฝนตก จึงควรมีการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อสร้างสวนทุเรียน โดยเลือกพื้นที่ปลูกที่ระบายน้ำได้ดี มีการตัดแต่ง กิ่งทุเรียนให้โปร่งอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง มีการพูนดินที่โคนต้นทุเรียน ในลักษณะหลังเต่า เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแฉะบริเวณโคนต้นทุเรียน



โรคใบติด
โรคใบติดเป็นโรคที่พบเห็นเสมอ และนับว่าเป็นโรคที่ค่อนข้าง ร้ายแรงโรคหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงกับทำให้ต้นทุเรียนตายโดยตรงแต่ก็ เป็นโรคที่ทำให้ต้นทุเรียน ทรุดโทรมและเสียทรงต้นได้ ทำให้กิ่งใหญ่ แห้งตาย พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง และต้นทุเรียนมีทรงพุ่ม แน่นทึบ ลักษณะอาการ เชื้อราเข้าทำลายใบอ่อนได้ดีในช่วงฤดูฝน ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้คล้ายน้ำร้อนลวกและจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ ใบที่เป็นโรคนั้นจะหลุดร่วงห้อยติดอยู่โดยมี เส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุม ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับ ใบที่ปกติที่อยู่ใกล้เคียงก็จะทำให้เกิดเป็นโรคราตามไปด้วย

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้พอเหมาะ อย่าให้ทึบหรือโปร่งเกินไป และ ในช่วงฤดูฝนในขณะที่ทุเรียนแตก ใบอ่อน ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น คาร์เบ็นดาซิม ไธอะเบนดาโซล หรือคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ พ่นทุก 5-7 วันต่อครั้ง ส่วนเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น ควรจะ รวบรวมนำมาเผา ทำลายเสีย เพื่อลดการสะสมของเชื้อราและจะทำให้ การระบาดของโรคในปีต่อไปลดน้อยลง



โรคผลเน่า
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโธรา เป็นเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิด โรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งในแหล่งที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า จะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าได้มาก ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลาย ทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว โดยจะเห็นอาการเป็นจุดสีน้ำตาลจาง ๆ ปน เทาบนเปลือก แล้วขยายตัวลุกลามไปเป็นวงใหญ่ทำให้เปลือกแตกตาม รอยแตกของพูทุเรียน ผลที่ถูกทำลายในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นมากจะร่วงหล่น ก่อนกำหนด สำหรับผลที่ได้รับเชื้อจากในแปลงปลูกและไปแสดงอาการ ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน แต่มักจะพบอาการ ผลเน่าจากบริเวณส่วนปลายของผล

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคผลเน่า เช่น โฟซีธิลอลูมิเนียม แคพ-ตาโฟลหรือเมตาแลกซิล ในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน และเพื่อเป็นการป้องกันโรคผลเน่า ที่จะเกิดภายหลัง การเก็บเกี่ยว ให้ เก็บเกี่ยวผลทุเรียนอย่างระมัดระวังและไม่ควรวางผลลงบนดินโดยตรง เพราะเชื้อโรคที่อยู่ในดินอาจติดไปกับหนามทุเรียนทำความเสียหายแก่ ทุเรียนในระหว่างการขนส่ง และรอการจำหน่ายได้ และถ้าสวนไหนมี การระบาดมาก ๆ ผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่นอยู่ในสวน จะเป็นแหล่งสะสมโรค ทำให้เกิดการระบาดของโรคโคนเน่าต่อไป ดังนั้นจึงควรเก็บเผา ทำลายให้หมด



โรคราแป้ง
ที่ผลอ่อนจะมีผงสีขาวๆ คล้ายแป้งติดอยู่ ถ้าเป็นมากๆ จะเห็นเป็นสีขาวทั้งหมด ทำให้ผลหลุดร่วง สำหรับผลที่เป็นไม่มากนัก หรือเป็นเมื่อผลมีขนาดค่อนข้างโตเท่ากำปั้นผลอาจเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่ผิวเปลือกจะมีลักษณะด้านๆ ไม่สวย และมีหนามทู่ กว่าปกติ

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
- เก็บผลที่เป็นโรคที่ร่วงหล่นเผาทำลาย
- ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจำพวก ไดโนแคพ. เบโนบิล. หรือคาร์เบนดาซิม.



โรคจุดสนิม
โรคนี้เกิดจากสาหร่ายซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่ง ทำความเสียหาย ในแหล่งปลูก ที่มีความชื้นสูง พบทั้งที่ใบและกิ่ง ที่ใบปรากฎอาการเป็น จุดหรือดวงสีเทาอ่อนปนเขียว ขนาด 0.3-1 เซนติเมตร แล้วจะเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิม ทำให้ใบสังเคราะห์แสงได้น้อย แต่ถ้า สาหร่ายนี้เข้าทำลายตามกิ่งของทุเรียนจะเห็นลักษณะคล้ายกำมะหยี่ สีน้ำตาลแดงขึ้นเป็นหย่อม ๆ ตามกิ่งก้านของทุเรียน ต่อมาเปลือก ทุเรียนจะแห้งและแตก ทำให้ยอดหรือปลายกิ่งเหนือแผล จะชะงัก การเจริญเติบโต และทำให้กิ่งนั้นแห้งตายได้

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
โรคนี้จะพบในฤดูฝน ซึ่งมีความชุ่มชื้นสูง และพบในสวนทุเรียน ที่ไม่เคยฉีดสารเคมีป้องกัน และกำจัดโรคทางใบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในช่วงต้นฤดูฝน หรือในขณะที่เชื้อสาหร่ายอยู่ในช่วง เป็นขุยแดง ๆ ควร ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน เช่น คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์


โรคราสีชมพู
โรคนี้พบมากในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง และต้นทุเรียนมีทรงพุ่ม หนาทึบ จะพบอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อม ๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้ง และใบร่วงที่เกิดจากโรคโคนเน่า แต่ถ้าสังเกตดูที่กิ่งทุเรียนจะเห็นลักษณะ คล้ายขุยสีชมพูปกคลุมอยู่ และทำให้เปลือกของกิ่งที่เป็นโรคปริแตก และล่อนจากเนื้อไม้ ถ้าเกิดรอบกิ่งจะทำให้กิ่งทุเรียนแห้งตายไปในที่สุด

วิธีการควบคุมแบบผสมผสาน
- ถ้าเชื้อราเริ่มเข้าทำลายให้ถากบริเวณที่เชื้อเข้าทำลายออก เผาให้หมด แล้วทาแผล ด้วยสารพวกคอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์หรือ ปูนแดง แต่ถ้ากิ่งถูกทำลาย ทั้งกิ่งให้ตัดทิ้ง แล้วนำมาเผาทำลาย และทารอยแผลที่ตัดด้วยสารพวกคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์หรือปูนแดง แล้วให้ฉีดพ่นตามกิ่งที่อยู่ใกล้เคียงด้วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
- ควรจะมีการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวทุกครั้ง เพื่อกำจัด กิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทิ้ง ต้นทุเรียนจะโปร่งได้รับแสงแดดทั่วถึงและ อากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งจะช่วยลดการระบาย ของโรคได้อีกทางหนึ่ง



http://ait.nisit.kps.ku.ac.th/ple1/Durian/du7.php
ait.nisit.kps.ku.ac.th/ple1/Durian/du7.php -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/09/2010 7:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ทุเรียน
ชะนี
- ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
- ออกดอกดก แต่ติดผลยาก
- ออกดอกง่าย
- เป็นไส้ซึมง่าย
- เนื้อแห้ง รสดี สีสวย
- อ่อนแอต่อ โรคใบติด


หมองทอง
- ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
- อ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
- ติดผลดีมาก น้ำหนักผลดี
- เนื้อมากเมล็ดลีบ มีกลิ่นน้อยเนื้อละเอียดแห้ง ไม่เละผลสุกแล้วเก็บไว้ได้นาน
- ไม่ค่อยเป็นไส้ซึม


ก้านยาว
- ติดผลดี
- ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่า
- น้ำหนักผลดี
- เนื้อน้อย
- เป็นไส้ซึมค่อนข้างง่าย
- ผลสุกเก็บไว้ได้ไม่นาน ก้นผลแตกง่าย
- อายุการให้ผลช้า


กระดุม
- ไม่มีปัญหาไส้ซึม เพราะเป็นพันธุ์เบาเก็บเกี่ยวก่อนฝนตกชุก
- อ่อนแอต่อโรครากเน่า โคนเน่า
- ออกดอกเร็วผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีในช่วงต้นฤดู
- ผลดก ติดผลง่าย
- อายุการให้ผลเร็ว

http://www.infoforthai.com/forum/index.php?topic=4534.0



สังเกตลักษณะภายนอกด้วยตา
1. สังเกตกลางพู สีบริเวณร่องฐานหนามของพูจะเป็นสีน้ำตาล
2. สังเกตหนาม ปลายหนามจะแห้งและมีสีน้ำตาลลึกลงมาที่โคนหนามมากกว่า
ทุเรียน ที่ยังไม่แก่ หนามกลางออก ร่องหนามค่อนข้างห่างเมี่อบีบปลายหนามเข้าหากัน
เวลาปล่อยออกปลายหนามจะดีดตัวออกจากกันคล้ายมีสปริง ในขณะที่ทุเรียนอ่อนหนาม
จะแข็งและไม่สามารถบีบเข้าหากันได้
3. สังเกตผิว ผลทุเรียนแก่จะมีสีผิวค่อนข้างแห้งและกร้าน มีรอยตกเป็นสะเก็ดสี
น้ำตาล กระจายบริเวณโคนหนาม สีผิวทุเรียนแก่จะไม่เขียวสดใส ในพันธุ์ก้านยาวจะมีตุ่ม
เล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป
4. สังเกตก้านผล เมื่อผลทุเรียนแก่ ก้านผลจะแข็งแรงและมีสีเข้มขึ้น เมื่อแก่วง
ก้านผลจะพบว่าแข็งต้านมือ ไม่อ่อนโค้งงอง่ายเหมือน ทุเรียนอ่อน เนื่องจากแกนใน ของ
ก้านเริ่มเปลี่ยนเป็นเนื้อไม้ นอกจากนั้นแล้ว สีของก้านผลจะเริ่มเข้มขึ้น เมื่อสัมผัสจะรู้สึก
สากมือ บริเวณปากปลิงจะบวมโต เนื่องจากก้านผลที่ติดกับผลจะยุบตัวเล็กน้อย

5. สังเกตด้วยการเคาะฟังเสียง (ดีด) เมื่อเคาะฟังเสียง ทุเรียนอ่อนเสียงจะดังแน่ทึบ
ส่วนผลทุเรียนแก่จะมีเสียงดังโปร่งๆ คล้ายเป็นโพรง เนื่องจากเนื้อเปลือกเริ่มแยกตัวออกจากกัน

6. สังเกตด้วยการชิมปลิงทุเรียน ทุเรียนแก่ถ้าเราดูดปลิงจะมีรสหวาน

http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=13585.60
www.navy22.com/smf/index.php?topic=13585.60
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/09/2010 7:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แถบตรวจวัดระดับการสุกของทุเรียน

ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ฯที่มีคุณสมบัติตรวจวัดระดับการสุกของผลไม้เศรษฐกิจอย่างทุเรียนได้

นวัตกรรมดังกล่าวนี้พัฒนาแถบตรวจวัดระดับการสุกของทุเรียนในรูปแบบสติ๊กเกอร์เปลี่ยนสี โดยอาศัยหลักการทำงานของปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารเปลี่ยนสีที่เคลือบบนสติ๊กเกอร์ซึ่งสามารถตรวจวัดปริมาณก๊าซเอทิลีนหรือฮอร์โมนกระตุ้นการสุกที่หลั่งจากผลไม้(Ripening Hormone ) ได้และมองเห็นด้วยตาเปล่า
{mosimage}

ต้นแบบสติ๊กเกอร์เปลี่ยนสีนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ สารเคมีเปลี่ยนสีและวัสดุรองรับพร้อมสติ๊กเกอร์ใส

การตรวจวัดด้วยวิธีนี้สามารถบ่งชี้ระดับการสุกในช่วงพร้อมจะเก็บเกี่ยวได้โดยการสังเกตจากภายนอก ไม่เป็นการทำลายตัวอย่างของผลไม้ ง่ายต่อการใช้งาน เชื่อถือได้ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

นวพร ศรีนวกุล หนึ่งในทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ผู้คิดค้นนวัตกรรมนี้ อธิบายว่า แถบตรวจวัดระดับการสุกของทุเรียนแบบทั้งผล สามารถตรวจวัดระดับการสุกได้ 3 ระดับ คือ ดิบ. สุกกรอบ. สุกนิ่ม. ซึ่งแปรผันตามระดับการผลิตก๊าซเอทิลีน คือ 0-1.5, 1.5-3.0 และ 3.0-8.0 PPM เอทิลีนต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง (ระดับของทุเรียนที่มีความสุกมากค่าการผลิตก๊าซเอทิลีน มากกว่า 8.0 PPM เอทิลีนต่อชั่วโมง และมีเนื้อนิ่ม) โดยการแปรผลนี้จะสอดคล้องกับการเปลี่ยนสีของสติ๊กเกอร์ คือ ขาว. ฟ้า. และน้ำเงิน. ตามลำดับ

นวพร กล่าวว่า แถบตรวจวัดระดับการสุกของทุเรียนไม่เพียงบ่งชี้ระดับการสุกเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างตราสินค้าและรับประกันถึงคุณภาพทุเรียน สร้างประโยชน์ต่อผู้ส่งออกทุเรียน ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคให้สามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้แถบตรวจวัดระดับทุเรียนกำลังอยู่ระหว่างจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์และพัฒนาประยุกต์เพื่อใช้กับทุเรียนตัดแต่ง พร้อมบริโภคบรรจุในถาดบรรจุภัณฑ์ แว่วมาว่าในอนาคตสามารถประยุกต์ใช้กับผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นๆอีก เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นต้น

“อย่างไรก็ตามคุณภาพทุเรียนที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว 115-120 วันหลังดอกบาน จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของสติ๊กเกอร์สูงสุด” หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวเสริม


http://www.community.isranews.org/news/1-lasted-news/226-3.html
www.community.isranews.org/news/1-lasted-news/226-3.html -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5
หน้า 5 จากทั้งหมด 5

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©