-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ระบบน้ำโรงแรมใหญ่ กลางเมืองโคราช
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 0CT.... * สารสมุนไพร (9)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 0CT.... * สารสมุนไพร (9)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 22/10/2019 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 22 0CT.... * สารสมุนไพร (9) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 22 0CT
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม

ผลิตรายการโดย :
กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ :
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

สนับสนุนรายการโดย :
*บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช .... (02) 322-9175-6
http://www.nimut.com/

* ยิบซั่มธรรมชาติ ---- เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์แมกซ์, .... ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ .... (089) 144-1112
http://www.bkgmax.com/kaset/product.html


กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

----------------------------------------------------------------------------------


บ่น :
หลักการและเหตุผล :
เรื่องพิษภัยของสารเคมี ทุกอย่างทุกชนิดทุกรูปแบบ ผู้คนเขารู้กันดี อยากเลิกใช้แต่หาอะไรมาแทนไม่ได้ เชื่อเถอะว่า ถ้ามีอะไรมาแทนที่ใช้แล้ว ได้ผล-ราคาถูก ทุกผู้ทุกคนทุกอาชีพ ไม่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้นจะหันมาใช้ตัวนี้กัน แล้วก็ ไม่เฉพาะในประเทศเท่านั้น ต่างประเทศก็จะเอาด้วย ที่สำคัญคือ ถ้าการเกษตรประเทศไทยไม่ใช้สารเคมี เพราะมีสารอื่นที่ไม่ใช่เคมีมาแทน นั่นแหละ ต่าง ประเทศจะยินดีนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแห่งชาติ :
1. ไม่ห้าม (ซื้อ ขาย นำเข้าจาก ตปท.) แต่ไม่พูดถึง ไม่ส่งเสริม ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และห้ามโฆษณาเหมือนบุหรี่ สุรา

2. เก็บภาษีนำเข้าเพื่อให้ราคาสูงๆ แล้วเอาเงินที่ได้จากภาษีมา ส่งเสริม/สนับสนุน สารสมุน ไพร ไอพีเอ็ม.
3. ส่งเสริม/สนับสนุน ข้อมูลทางวิชาการ ว่าด้วย การผลิต/การใช้ อย่างเข้มข้น เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ
4. พูด-บอก-ออกข่าว-ปชส. ถึงโทษพิษภัยที่เคยเกิดใน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต อย่างเข้มข้น เชิงรุกมากกว่าเชิงรับ

5. ส่งเสริม ไอพีเอ็ม. (ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยเฉพาะกับดักกาวเหนียว แสงไฟล่อ) ทั่วประเทศ โดยเกษตรตำบลเป็นผู้ดำเนินการ แบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ

6. ส่งเสริมตั้ง รง.ผลิตสารสมุนไพรเพื่อการเกษตร (พืชและสัตว์) โดย ลด/งด ภาษี โรงงาน กับให้เงินสนับสนุน (โบนัส) เมื่อจำหน่ายได้มาก เพราะคุณภาพดี งานส่งเสริมดี งานโฆษณาดี

7. สร้างทัศนคติใหม่ ให้ความรู้การเกษตรผ่านสื่อทุกรูปแบบที่รัฐมี โดยเฉพาะสื่อวิทยุ และ ทีวี. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

8. ออกข่าวไปทั่วโลก ผ่านสื่อทุกรูปแบบที่รัฐมี
9. ฯลฯ



จาก : (090) 529-15xx..
ข้อความ : ชื่อสารเคมี ใช้มาก ใช้น้อย ใช้ถูก ใช้ผิด เป็นพิษต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ้น..

จาก : (098) 856-13xx
ข้อความ : ทำไมลุงคิมไม่ส่ง SMS เรื่องสารสมุนไพรแทนสารเคมีใน ทีวี.
ตอบ :

ที่นี่ส่งเสริมแบบ ไม่ W. (WHO WHAT WHEN WHERE WHY) มีแต่ H. (HOW TO) วิธีทำ .... คัดลอกจากหนังสือ “หัวใจเกษตรไท มินิ” ....

LAZY ECONOMIC แปลตามตัวอักษร เศรษฐกิจแบบขี้เกียจ แปลตามความรู้สึก เศรษฐกิจแบบ เทคนิค/เทคโนฯ .... * เทคนิค คือ วิธีการ .... * เทคโนฯ คือเทคโนโลยี คือ หลักวิชาการ

หัวใจเกษตรไท ห้อง 2 “ยา”
น่าสงสัย :
อเมริกา : ซื้อลิขสิทธิ์ ราติโนน ในหนอนตายหยาก ......... เอาไปทำอะไร ?
เยอรมัน : ซื้อลิขสิทธิ์ อะแซดิแร็คติน ในสะเดา ............. เอาไปทำอะไร ?
ฝรั่งเศส : ซื้อลิขสิทธิ์ แค็ปไซซิน ในพริก ................... เอาไปทำอะไร ?

ทำไม ไทยไม่ทำ ทำใช้-ทำขาย ส่งออกทั่วโลก....

- งานวิจัยระดับโลก (Grainge and Ahmed 1988) : ในโลกมีพืชมากกว่า 2,400 ชนิด ที่มีพิษต่อแมลง ทฤษฎีนี้ คิด/วิเคราะห์/เปรียบ เทียบ แล้วรู้ว่าตัวยาหรือสารออกฤทธิ์ที่แท้จริง คือ ...

กลิ่น : แมลงเข้าหาพืชเพื่อวางไข่ หรือกัดกิน ด้วยการตามกลิ่นของพืชที่ต้องการ ถ้าพืชนั้นถูกเปลี่ยนกลิ่น หรือเอากลิ่นอื่นไปฉีดพ่นเคลือบไว้ แมลงก็จะเข้าใจผิด หลงคิดว่าไม่ใช่พืชที่ต้องการ หรือ เป็นพืชชนิดอื่น .... ** ผลรับคือ “ป้องกัน” ไม่ให้แมลงเข้าหาพืชนั้นอีก ตราบใดที่ยังมีกลิ่นนั้นอยู่..... ลงท้าย พืชรอดจากการถูกทำลาย

รส : แมลงหรือทายาท (หนอน) ของแมลง กินพืชเป็นอาหารเพราะต้องการรสชาดของพืชนั้นๆ ถ้าพืชนั้นถูกเปลี่ยนรส เพราะมีพืชอื่นไปฉีดพ่นเคลือบไว้ แมลงก็จะเข้าใจผิด หลงคิดว่าไม่ใช่พืชที่ต้องการกิน หรือเป็นพืชชนิดอื่น .... ** ผลรับคือ “ป้องกัน” เพราะ หนอน/แมลง ไม่กัดกินพืชนั้นอีก ตราบใดที่ยังมีรสชาดนั่นอยู่..... ลงท้าย พืชรอดจากการถูกทำลาย

ฤทธิ์ : คือตัวยาเฉพาะในสมุนไพรที่ แมลง/หนอน กินแล้วตาย หรือหยุดการกินแล้วรอเวลาตาย ไม่ช้าก็เร็ว หรือทำให้ “ไข่ฝ่อ” ฟักเป็นตัวหนอนไม่ได้ .... ** ผลรับคือ “กำจัด” หรือทำให้ แมลง/หนอน/ไข่ ตาย ..... ลงท้าย พืชรอดจากการถูกทำลาย

- สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร ค้นคว้าวิจัยโดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ เช่นเดียว กับสารเคมี จึงไม่มีเหตุใดที่จะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่น่าเชื่อถือ"

- ร่างกายมนุษย์มีภูมิต้านทานในร่างกายสูง กินสารเคมียาฆ่าแมลงเข้าไปยังตายได้ ใน ขณะที่ แมลง หนอน ตัวเล็ก เชื้อโรคเป็นสัตว์เซลล์เดียวแท้ๆ จะมีภูมิต้านทานในร่างกายอะไรมากนัก เมื่อสัม ผัสกับสารออกฤทธิ์ระดับ พีพีเอ็ม. (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน, ppm-part per million) ก็ตายแล้ว

- วงรอบชีวิตของแมลง ประกอบด้วย “แมลง-ไข่-ดักแด้-หนอน” หากช่วงใดช่วง หนึ่งถูกตัดลง วงจรชีวิตของหนอนและแมลงก็จะหมดไปเอง เพราะฉะนั้น ถึงจะทำลายช่วงไหนของมันก็ได้เหมือนกัน ไม่ใช่มุ่งเอาแต่หนอนหรือแมลงเท่านั้น

- ใช้สารสมุนไพรมาก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญพัฒนาของแมลงศัตรูพืช แต่เหมาะ สมต่อแมลงธรรมชาติ ทำให้มีแมลงธรรมชาติช่วยผสมเกสรอีกด้วย นอกจากนี้สารสมุน ไพรยังเป็นการส่ง เสริมหรือดึงดูดแมลงธรรมชาติอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

- ผลเสียจากสารเคมี เงินเสีย, ดินเสีย, น้ำเสีย, อากาศเสีย, เวลาเสีย, แรงงานเสีย, สภาพ แวดล้อมเสีย, สุขภาพคนฉีดเสีย, ตลาดในประเทศต่างประเทศเสีย

- เลือกพืชสมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เผ็ด. ร้อน. เย็น. ขม. ฝาด. เบื่อเมา. หรือ กลิ่น. รส. ฤทธิ์. แรงจัดๆ

- น้ำพริกเครื่องแกงเผ็ด/แกงป่า ปกติมี พริก. มะกรูด. ตะไคร้. พัฒนาให้เป็นสารสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์แรงขึ้น โดยเติม ข่า. ขิง. ขมิ้น. ไพล. ฯลฯ .... ปรุงขึ้นมาโดยเฉพาะทั้ง เผ็ดจัด/ร้อนจัด/เย็นจัด เพื่อใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มิใช่เพื่อให้คนกิน

- พืชปลูกบางชนิดเมื่อสัมผัสกับแอลกอฮอร์แล้วเกิดอาการใบกร้าน ให้เลิกใช้แอลกอฮอร์แต่ให้ใช้เหล้าขาวแทน

- ปุ๋ยทางใบที่มีกากน้ำตาล. หรือกลูโคส. เป็นส่วนผสม เนื่องจากความหวานของสารดังกล่าวอาจเป็นตัวเรียกเชื้อราเข้ามาได้ แก้ไขโดย ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบช่วงกลางวัน แล้วฉีดพ่นสารสมุนไพรกำ จัดเชื้อราในช่วงเย็นหรือค่ำของวันเดียวกัน หรือเลิกใช้สารรสหวานร่วมกับสารสมุนไพร

- สูตรการทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชจาก องค์การเภสัชกรรม, ร.พ.อภัยภูเบศร์, ซินแสแพทย์แผนโบราณ และที่นี่ สีสันชีวิตไทย ไม่แนะนำให้ใส่ กากน้ำตาล-น้ำตาลทรายแดง-จุลิน ทรีย์ ใดๆทั้งสิ้น

- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตัว ดังนั้น มาตรการเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ "ป้องกันก่อนกำจัด หรือ กันก่อนแก้" เท่านั้น

- สภาพแวดล้อม คือ ความหลากหลาย วิธีต่อสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ วิธีป้องกัน/กำจัดแบบผสมผสาน (I.P.M.) เท่านั้น

- การ "สกัด" สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรให้ออกมาได้ปริมาณมากที่สุด เข้มข้นที่สุดนั้น กรรมวิธี หรือ วิธีการ สกัดถือว่ามีความสำคัญไม่ใช่น้อย หากสกัดผิดวิธีนอกจากจะได้สารออกฤทธิ์น้อยหรือไม่ได้เลยแล้ว เมื่อนำไปใช้อาจจะเป็นพิษต่อพืช คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ก็ได้ และวิธี การสกัดในแต่ละวิธีก็ต้องมีเทคนิคเฉพาะ แหล่งข้อมูลเรื่องเทคนิคเฉพาะสามารถสอบถามได้ที่องค์การเภสัชกรรม หรือหน่วยงานแพทย์แผนไทยชื่อของพืชสมุนไพรต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือที่จะกล่าวต่อไป เป็นชื่อที่ใช้ในหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่ชื่อพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การที่จะรู้ว่าพืชสมุนไพรตัวใดมีชื่อทางวิชาการว่าอย่างไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบจากรูปถ่ายของจริง หรือสอบถามจากผู้รู้จริงเท่านั้น

(เมื่อครั้ง สนง.เกษตรสุพรรณบุรี จัดสัมมนาเรื่อง “สารสกัดสะเดา” ได้ทำตัวอย่างให้ชม คือ “ถัง 200 ล. + เมล็ดสะเดา 20 กก. + น้ำเปล่า เต็มถัง หมักนาน 24 ชม. ขึ้นไป ได้ “หัวเชื้อ” เข้มข้นพร้อมใช้งาน ใช้ “หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล.” .... ประเด็นของเรื่องคือ นี่คือการ “แช่” ธรรมดาๆ ใส่น้ำแล้วใช้ไม้พายคนเท่านั้น แบบนี้ชาวบ้านทำได้ แต่การ “สกัด” ที่แท้จริง ต้องใช้สารหรือตัวทำละลายเอา “อะแซดิแร็คติน” ชนิด 100% ในเมล็ดเดาโดยเฉพาะ)

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำจัดหนอนไม่อาจทำให้หนอนตายอย่างเฉียบพลันได้เหมือนสารเคมีประเภทยาน็อค แต่ทำให้หนอนเกิดอาการทุรนทุรายจนต้องออกมาจากที่หลบซ่อน ไม่ลอกคราบและไม่กินอาหาร (ทำลายพืช)ไม่ช้าไม่นานหนอนตัวนั้นก็จะตายไปเอง .... มาตรการขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ หรือการทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนไม่อาจฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้สำเร็จก็ถือว่าเป็นการกำจัดหนอนได้อีกวิธีหนึ่ง

สารสมุนไพรที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ใบพืชไหม้หรือกร้านได้ ทั้งนี้สารออกฤทธิ์ที่ได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิด จากแต่ละแหล่ง แต่ละฤดูกาล แต่ละอายุ แต่ละส่วนที่ใช้ แต่ละวิธีในการสกัด และแต่ละครั้ง จะมีความเข้มข้นและปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนใช้งานจริงจำเป็นต้องทดสอบอัตราใช้สูตรของตนเองก่อนว่า ใช้อัตราเท่าใดจึงจะทำให้ใบพืชไหม้หรือหยาบกร้าน จาก นั้นจึงยึดถืออัตราใช้นั้นประจำต่อไป

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรรส ฝาด/เผ็ด/ร้อน/ขม และกลิ่นจัด มีประสิทธิภาพทำให้แมลง ปากกัด/ปากดูด เช่น เพลี้ย ไร ไม่เข้ากัดกินพืช และจากกลิ่นจัดของสมุนไพรนี้ยังทำให้แมลงประเภทผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วย

สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรประเภทรสฝาดจัด ในความฝาดมีสาร “เทนนิน” ที่สามารถทำให้ รา แบค ทีเรีย ไวรัส ตายได้

- สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรไม่ต้านทานต่อแสงแดด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หรือฉีดพ่นช่วงไม่มีแสง แดด หรืออากาศไม่ร้อนที่ทำให้สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรสลายตัวเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องฉีดพ่นบ่อยๆกรณีน้ำสารสมุนไพรที่ไหลอาบลำต้นผ่านลงถึงพื้นดินโคนต้นกระจายทั่วบริเวณทรงพุ่มนั้น นอกจากช่วยกำจัดหนอนที่พื้นดินโคนต้นโดยตรงแล้ว ยังทำให้ไข่ของแมลงแม่ผีเสื้อฝ่อและสภาพแวดล้อมบริเวณโคนต้นเปลี่ยน แปลงไปจากสภาพปกติ จนเป็นเหตุให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่ได้ ส่วนตัวแมลงแม่ผีเสื้อที่หลบอาศัยอยู่ก็จะหนีไปอีกด้วย

- น้ำสารสมุนไพรที่ได้จากการหมักครั้งแรก เรียกว่า "น้ำแรก หรือ น้ำหนึ่ง" ให้ใช้ในอัตราใช้ปกติ เมื่อใช้น้ำแรกหมดแล้วเหลือกาก สามารถหมักต่อด้วยวิธีการเดิมเป็น "น้ำสอง" ได้ กรณีน้ำสองเมื่อจะใช้ แนะนำให้เพิ่มอัตราการใช้หรือใช้เข้มข้นขึ้น .... อย่างไรก็ตาม น้ำสอง มีสารออกฤทธิ์น้อยกว่า น้ำหนึ่ง ทางเลือกที่ดีก็คือ ใช้น้ำหนึ่งหมดแล้วให้ทิ้งไปหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ไม่ควรหมักเป็นน้ำสองแล้วใช้อีก เพราะจะไม่ได้ผล

ไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวเดี่ยวๆ ประจำๆ ติดต่อกันหลายๆ รอบ เพราะจะทำให้ แมลง/หนอน ปรับตัวเป็นดื้อยาได้ ควรเปลี่ยนหรือสลับใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดอื่นๆ บ่อยๆ หรือใช้ "สูตรเฉพาะ" แต่ละตัวสลับกันไปเรื่อยๆ หรือสลับกับสูตรอื่นๆ (สูตรรวมมิตร สูตรข้างทาง สูตรเหมาจ่าย สูตรสหประชาชาติ สูตรผีบอก) ก็ได้

สารสกัดสมุนไพรที่ได้ หรือผ่านกรรมวิธีสกัดมาแล้ว มีกลิ่นและรสจัดรุนแรงมากๆ ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพ หรือสรรพคุณของสารสมุนไพรนั้น

- สารสมุนไพรทุกสูตร สามารถใช้ร่วมกับ ปุ๋ย ฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และสารเคมีทุกชนิด
- ไม่ควรใช้สารสมุนไพรร่วมกับ จุลินทรีย์ทุกชนิด เชื้อโรคของศัตรูพืช เช่น บีที. บีซี. บีเอส. เอ็นพีวี. ฯลฯ เพราะสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้

- พืชสมุนไพรประเภทหัว มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เมื่อนำมาหมักมักเกิดอาการบูดเน่า กลิ่นเหม็นรุน แรง วิธีการแก้ไข คือ เพิ่มอัตราส่วนแอลกอฮอร์ให้มากขึ้น 2-3 เท่าจากอัตราปกติ และอาจจะเพิ่มได้อีกในระหว่างการหมักเมื่อเห็นว่าลักษณะไม่ค่อยน่าพึงพอใจ

- สารสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" ใช้สลับกันบ่อยๆ ได้ผลสูงกว่า "สูตรรวมมิตร" หรือเพื่อความแน่นอนควรใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน

- พืชสมุนไพรที่ให้สารออกฤทธิ์รุนแรงเทียบเท่ายาน็อคสารเคมี คือ หัวกลอย. เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า. เปลือกต้นซาก. มะลินรก. ซึ่งให้สารออกฤทธิ์ทั้งในรูปของ "กลิ่นไล่" และสารออกฤทธิ์ประเภท "กินตาย ไม่ลอกคราบ"

- สารออกฤทธิ์ในบอระเพ็ดเป็น "สารดูดซึม" เมื่อฉีดพ่นให้แก่พืชแล้วสารออกฤทธิ์จะซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช ทำให้เกิดรสขมอยู่นาน 7-10 วัน จึงไม่ควรให้แก่พืชประเภทกินสด เช่น ผักสวนครัวผลไม้ใกล้เก็บเกี่ยว .... สารออกฤทธิ์ใน "ลางจืด" สามารถถอนฤทธิ์รสขมในบอระเพ็ดได้

- ใช้สารสมุนไพรอย่างทันเวลา เช่น ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดของคืนที่น้ำค้างลงแรงๆ ฉีดพ่นก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง หรือฉีดพ่นเพื่อล้างน้ำค้างออกจากต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรค ที่มากับน้ำค้าง เช่น ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม ได้ดี หรือฉีดพ่นหลังฝนหยุดช่วงกลางวันเพื่อล้างน้ำฝนออกจากส่วนต่างๆ ของต้นก่อนที่น้ำฝนนั้นจะแห้งคาต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน เช่น ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด โรคแอนแทร็คโนส ได้ดี

หมายเหตุ :
- ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม เกิดจากพื้นดินแล้วล่องลอยปลิวไปตามอากาศ เมื่อพบหยดน้ำค้างก็จะแฝงตัวเข้าไปอาศัยอยู่ในหยดน้ำค้างนั้น เมื่อน้ำค้างแห้ง ราเหล่านี้ก็จะซึมแทรกเข้าไปสู่ภายในของพืชแล้วแพร่ขยาย พันธุ์ต่อไป ....

- ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด ก็มีพฤติกรรมเหมือนราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม แต่เข้าไปแฝงตัวอาศัยในหยดน้ำฝน เมื่อนำฝนแห้งก็จะซึมแทรกเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืช

- กรณีราที่มากับน้ำฝน หากฝนตกช่วงกลางคืน ก็ควรฉีดพ่นตอนเช้าตรู่ เป็นการฉีดล้างก่อนที่หยดน้ำฝนจะแห้ง

- หลักนิยมของเกษตรกรในการกำจัดเชื้อโรคราดังกล่าว มักใช้สารเคมีประเภท "ดูดซึม" บางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็สูญเปล่า แม้ว่าจะได้ผลสามารถเข่นฆ่าเชื้อราเหล่านั้นให้ด่าวดิ้นสิ้นใจไปได้ แต่ส่วนของพืชที่ถูกซึมแทรกเข้าไปก็ถูกทำลายไปแล้ว ไม่อาจทำให้ดีคืนเหมือนเดิมได้ นั่นเท่ากับเสียทั้งเงินและเสียทั้งพืช

- ไม่มี "สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร" ใดๆ และไม่มี "สารออกฤทธิ์ในสารเคมี” ใด อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเดี่ยว สามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืชอย่างได้ผล วิธีการที่ได้ผลที่สุด คือ ไอพีเอ็ม

- เมื่อพบลักษณะหรืออาการผิดปกติในพืช อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่านั่นเป็นสาเหตุเกิดจาก "โรค" โดย เฉพาะ ในบางครั้งลักษณะอาการนั้นอาจจะเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร หรือ "ปัจจัย พื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ไม่ถูกต้องก็ได้ .... แนวทางแก้ปัญหา คือ ให้ทั้ง "ยา" และ "อาหาร" ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกันเลย

- สารออกฤทธิ์ในสารสมุนไพรสามารถเป็นพิษแก่คนฉีดพ่นได้ ดังนั้น การใช้ทุกครั้งจึงต้องระมัดระวังเหมือนการใช้สารเคมี

- ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันว่า ในน้ำหมักชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้ มีสารใดที่เป็นต่อแมลง จึงใช้ ป้องกัน/กำจัด แมลงได้ จากการ คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ แล้ว พอสรุปได้ว่า เพราะ “กลิ่น” ในน้ำหมักชีวภาพ หรือในน้ำส้มควันไม้ เป็นเหตุให้แมลงไม่เข้าหาพืชเป้าหมายเอง ซึ่งก็ถือว่า ได้ผลระดับหนึ่ง นั่นเอง

--------------------------------------------------------------------------------



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©