-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เยือนไร่กล้อมแกล้ม เสาร์ 23 FEB
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เยือนไร่กล้อมแกล้ม เสาร์ 23 FEB
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เยือนไร่กล้อมแกล้ม เสาร์ 23 FEB

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/02/2019 4:32 pm    ชื่อกระทู้: เยือนไร่กล้อมแกล้ม เสาร์ 23 FEB ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

กด "ctrl +" เพื่อขยายขนาดภาพ....


กลุ่มเกษตรกร อ.บรรพตพิสัย นครสวรรค์ 48 คน เยือนไร่กล้อมแกล้ม เสาร์ที่ 23 ก.พ.


1.
"ไม่ต้องทั้งหมด ครึ่งหนึ่งก็ไม่ต้อง เศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ".....
พระบรมราโชวาทฯ

"ทำแล้วขาย ขายแล้วขาดทุน ทุกรุ่น รุ่นแล้วรุ่นเล่า ไม่รู้จักโตซักที" ....
นายกรัฐมนตรีฯ

"คิด วิเคราะห์"....
เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ

"คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง"....
รายการสีสันชีวิตไทยฯ




3.
ความรู้ไม่มาหาเรา อยากได้ความรู้ ต้องไปหาความรู้....
ความรู้ วิชาการ สูงเท่าเดิม อยากได้ต้องปีนขึ้นไปเอา ....
ป.ตรี เรียน 4 ปี - ป.โท ต่ออีก 3 ปี - ป.เอกต่ออีก 3 ปี ....
ความรู้ ครูสอน - ความคิด สอนตัวเอง ....
วิชาการ อยู่ในโรงเรียน - ประสบการณ์ อยู่ในแปลง .....

เรื่องเกษตรไม่ยาก แต่รายละเอียดมาก
วันนี้เพียงวันเดียว คุณได้แค่รู้ว่า ที่นี่มีอะไรเท่านั้น ไม่ถึงขึ้น ทำเป็น-ทำได้
เพราะฉะนั้น คุณต้อง หาเวลา-สร้างโอกาส มาเก็บรายละเอียดเอาใหม่



4.
ไม้ผลไร่กล้อมแกล้ม อดีต VS ปัจจุบัน 10 ปี :
* ปลูกแล้วไม่โต ยืนต้นตาย (3ปี 5ปี 7ปี 10 ปี) .... ทุเรียน. มังคุด. ลองกอง. สละ. ขนุน. องุ่น. แก้วมังกร. น้อยหน่า. ส้มเขียวหวาน. ส้มโชกุน. ส้มเช้ง. ส้มแก้ว. ส้มโอ. มะยงชิด. มะละกอ. กล้วยหอม. กล้วยไข่. มะนาว. มะกรูด. มะกอกเตี้ย. มะเฟือง. มะไฟ. พุทรา. ทับทิม. โกโก้. อาราบิก้า. โรบัสต้า. ทำมัง. มะเดื่อฝรั่ง. สะตอ. ละมุด.

* ปลูกแล้วโตดี (เลี้ยง) ............... มะม่วง ฝรั่ง ลำไย ฟ็อกเทลล์ มะพร้าว
* ปลูกแล้วโตปานกลาง (เลี้ยง) …..... ส้มโอ อินทผลัม เงาะ ลิ้นจี่
* ปลูกแล้วโตดีแต่ไม่เอา (โค่นทิ้ง) .... กระท้อน ชมพู่ ท้อ มะพูด ตะขบป่า

เคยตั้งข้อสังเกต ...
- จาก ถ.บรมราชชนนี ผ่าน ถ.เพชรเกษม นครปฐม เข้า ถ.แสงชูโต กาญจนบุรี จากกาญจนบุรีต่อไป ไทรโยค ถึงบ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ ตลอดถนนสายนี้ยาวเกือบ 200 กม. ริมถนนข้างละ 50-100 กม. ไม่มีทุเรียน. มังคุด. ลองกอง. สละ. กับอีกหลาย มะ. ....

- นครชัยศรีมีแต่ส้มโอ ทำไมไม่มีส้มเขียวหวาน. ส้มโชกุน. ....
- ดำเนินสะดวก มีส้มเขียวหวนพันธุ์ใหม่ “เขียวดำเนิน” แต่ไม่มีทุเรียน. มังคุด. ลองกอง. สละ.....
- กระทั่งถึงบ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ ถึงมีทุเรียน. มังคุด. ลองกอง. สละ. แม้แต่กาแฟก็ปลูกได้....

นี่คือ "ชุดดิน หรือ โซนภูมิศาสตร์โลก" ไง

ไม้ผลที่ปลูกได้อย่าง มะม่วง ฝรั่ง ลำไย ฟ็อกเทลล์ มะพร้าว ส้มโอ อินทผลัม เงาะ ลิ้นจี่ กระท้อน ชมพู่ ท้อ มะพูด ตะขบป่า ไม่ต้องครบทุกมะ ค้ดเอาเฉพาะมะที่ชอบ ให้ผลผลิตปีละครั้ง ผลผลิตที่ได้
เกรด เอ. เกรดฟุตบาท ปริมาณที่ได้ ราคาหน้าสวน
เบ็ดเสร็จรวมแล้วได้เท่าไหร่ ? ขายแล้วได้เท่าไหร่ ?

ที่แน่ๆ ขายได้-ได้ขาย ปีละครั้ง ครั้งเดียวแต่ทำงานทั้งปีตลอด 12 เดือน....
คำนวนรายได้ที่ได้ใน 1 ปีหารด้วย 12 = เดือนละ เท่าไหร่ ?
เดือนละที่ได้หารด้วย 30 = วันละ เท่าไหร่ ?
วันละที่ได้หารด้วยจำนวนคนในบ้าน = วันละ คนละ กี่บาทต่อวัน ?
ถามจริง ปลูกผลไม้ขายอย่างเดียว คุ้มเหรอ ???????



6.
ถาม :
ราในนาข้าว ใช้พริกแล้วแสบตา แก้ไขยังไง ?
ตอบ : พริกใช้แล้วแสบตา ก็เปลี่ยนไปใช้สมุนไพรตัวอื่นๆ รายละเอียดมีในหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ

สมุนไพรกำจัดโรค (รา-แบคทีเรีย) :
รหัส :

บ./ใบ - ต./ต้น - ม./เมล็ด - ด./ดอก - ผ./ผล - ร./ราก - ห./หัว - ง./เหง้า - ก./กิ่ง - ถ./เถา - ย./ยาง - นม./น้ำมัน - ปผ./เปลือกผล - ปม./เปลือกเมล็ด
สมุนไพรและส่วนที่ใช้ :
ลูกใต้ใบ (ต. บ. ผ.) .... เสลดพังพอน (บ. ต. ผ.) ...... ฟ้าทะลายโจร (บ. ต.)
ว่านน้ำ (ง.) ............. ธูปฤาษี (ง.) ................... กานพลู (ต. บ. ร.)
ตะไคร้หอม (บ. ต.) ..... พริก (ม. ผ.) .................. แคกินดอก (ปต.)
ตะบูน (ผ.) .............. ครัก (ผ.) ...................... คื่นช่าย (ต. บ.)
โป๊ยกั้ก (บ. ต.) ......... สารภี (ด.) ..................... ประดู่ (ปต.)
กระดูกไก่ (บ.) .......... มะคำดีควาย (ผ.) ............... มังคุด (ปผ.)
เงาะ (ปผ.) .............. มะละกอ (บ. ต.) ................ มะม่วงหิมพานต์ (ปผ.)
งวงกล้วย (ป.) .......... เสม็ด (ผ.) ....................... เทียนหยด (ผ.)
หม่อน (ร.) ............. สาบเสือ (บ. ต.) ................. มะรุม (บ.)
มะกรูด (ปผ.) ........... ยูคาลิปตัส (บ.) .................. ข่า (ง.)
ขิง (ห.) ................. กระชาย (ห.) .................... ไพล (ห.)
หมาก (ปผ.) ............ สบู่ต้น (ผ.) ...................... พริกไทย (ผ.)
ดีปลี (ผ.) ............... ยาสูบ (ต. บ.) ................... หูเสือ (บ.)
ยี่หร่า (ม.) .............. กระเทียม (ห.) .................... หอมแดง (ห. ต.)
ชะพลู (บ. ต.) .......... ขมิ้นชัน (ง.) ...................... ไพรหญ้า (ง. ต. บ.)
งวงช้าง (ต.) ............ สำปะหลัง (บ.)

หมาก - มังคุด - แค - รากหม่อน กำจัดเชื้อรา :
ผลหมากสดแก่ หรือเปลือกมังคุดสด/แห้ง หรือเปลือกต้นแคสด หรือรากหม่อนสดแก่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อเข้มข้น 20 ซีซี. /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นตอนค่ำ ทุก 5-7 วัน

เปลือกมังคุด + ยาฉุน กำจัดเชื้อรา :
ใช้ “ยาฉุน. เปลือกมังคุด.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดละเอียด ใส่น้ำ 10 ล. เคี่ยวไฟให้เหลือ 5 ล. ทิ้งให้เย็น ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี. /น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน

มังคุดขมิ้นพะโล้
วิธีการทำ

1. เปลือกมังคุดตากแห้ง ป่นละเอียด 200 กรัม
2. ผงพะโล้ 100 กรัม
3. ขมิ้นชัน (สด) ป่นละเอียด 100 กรัม
4. แอลกอฮอล์ 70% 1 ขวด

เอาทั้ง 4 อย่างคนให้เข้ากัน ปิดฝาถัง หมักไว้ 21 วัน มีฤทธิ์เป็นหัวเชื้อในการขับไล่แมลง โดยนำเอาหัวเชื้อมากรองเอาเฉพาะน้ำ และบรรจุลงขวดปิดฝาให้สนิท

ใช้ในนาข้าว : หัวเชื้อเพียง 10 CC. ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแสงแดดรำไร หรือช่วงเย็นที่แดดไม่จ้า

ถาม : สารสมุนไพรไม่แรง แก้ไขยังไง ?
ตอบ :
ทำสูตรเฉพาะ ต้มเคี่ยว 3 รอบ ......
ใช้บ่อยๆ แบบกันก่อนแก้ .....
ใช้ยาสู้กับโรค ควบคู่ บำรุงต้นให้สมบูรณ์เป็นภูมิต้านทานสู้กับโรค .....

รัฐบาลประเทศเกษตร น่าจะ (เน้นย้ำ....น่าจะ) ส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสุนไพรเพื่อการเกษตร :
- ตั้ง ร.ง. ผลิต ไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้ราคาจำหน่ายถูกๆ....
- ยอดจำหน่ายสูงเพราะ โฆษณา ปชส.ดี มีเงินโบนัสให้อีก....
- สื่อ วิทยุ. ทีวี. สนับสนุนเพื่อประชาชน ทั้งคนกินคนปลูก คิดค่าโฆษณาถูกๆ....
- ส่งเสริม เชิงรุก (ACTIVE) มากกว่า เชิงรับ (PASSIVE)
- กำหนดเป็น วาระแห่งชาติ-วิสัยทัศน์-ยุทธศาสตร์ชาติ-ค่านิยม-วัฒนธรรม-พฤติกรรม แห่งชาติ
แบบนี้ "ผลรับ" ต่อประเทศไทย ต่อทั่วโลก จะดีมั้ย ?



8.
ไบโออิ. ยูเรก้า. ไทเป. หัวโต. ใบโต. แคลเซียม โบรอน. ระเบิดเถิดเทิง สูตรอินทรีย์เพียวๆ สูตรอินทรีย์/เคมี สูตรปรับโมเลกุล. ปุ๋ยทางใบ ชนิดน้ำ .... ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก

จะบอกให้....ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำที่ขายในเมืองไทย ส่งออกด้วย ทั้งขายส่ง ขายปลีก ขายตรง ขายผ่านเน็ต ทุกสูตรทุกยี่ห้อ ทำ "ไต้ถุนบ้าน" (เน้นย้ำ....ไต้ถุนบ้าน) ทั้งนั้น

ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ ที่สัมภะเวสีผีจรจัดเร่ขาย ลิตรละ 4,000 ลิตรละ 10,000 คนซื้อซื้อไปได้ยังไง ทั้งๆที่เนื้อในก็คือ "ปุ๋ย 14 ตัว" เหมือนกัน

ไม่มีโรงเรียนเกษตรระดับไหนสอนทำ ปุ๋ย-ฮอร์โมน-ยา โดยตรงโดยเฉพาะ
คนทำปุ๋ยขายทุกวันนี้ ทำเป็น-ทำได้ ด้วย “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเองทั้งนั้น

ต้นทุนค่าปุ๋ย 20 ไร่
- ปุ๋ยลุงคิม (ระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า) ครบสูตร .......... 10,000
- ค่าปุ๋ยเสริม (16-8-8, 18-38-12, 0-52-34) ................. 5,000
** รวม 15,000 ..... หรือ 15,000 หาร 20 = ไร่ละ 750

- ปุ๋ยเคมีจากร้าน ยูเรีย+16-20-0 (40 กส. ๆละ 750) = 40x1,500 = .... 60,000 (+)
- ค่าสารเคมี ....................................................................... 10,000
** รวม 70,000 ..... หรือ 70,000 หาร 20 = ไร่ละ 3,500

ต้นทุนในการปลูกข้าวของชาวนา (ผู้จัดการนา) :
1. ค่าไถนา หรือค่าย่ำเทือก
2. ค่าลูบเทือก
3. ค่าเมล็ดพันธุ์
4. ค่าจ้างหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
5. ค่าปุ๋ยเคมี
6. ค่าจ้างหว่านปุ๋ยเคมี
7. ค่าสารเคมี
8. ค่าจ้างฉีด
9. ค่าเกี่ยวข้าว
10. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
11. ค่าเช่านา



9.
หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ (VENTURI)
หม้อปุ๋ยตัวนี้ สมช.เราทำงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยตั้งชื่อว่า "เวนจูรี่" เพราะเครื่องเวนจูรี่ทำงานแบบสุญญากาศ หม้อปุ๋ยที่นี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถ้าในหม้อปุ๋ยไม่เป็นสุญญากาศ น้ำปุ๋ยในหม้อปุ๋ยก็จะไม่ไปเหมือนกัน

ระบบการทำงานระหว่างปล่อย “ปุ๋ย-ยา” แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ไม่ลด .... แต่หม้อปุ๋ยประทับตรา MADE IN USA ทำในไทย ระบบการทำงานเวลาปล่อย “ปุ๋ย-ยา” ต้องลดเมนวาวล์เพื่อแบ่งแรงดันน้ำมาดันน้ำที่หม้อปุ๋ย ผลจากการลดเมนวาวล์ทำให้แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลงด้วย

หม้อปุ๋ย RKK ขณะปล่อย “ปุ๋ย/ยา” รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ 3 ม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ม.) เท่าเดิม หม้อปุ๋ย USA ขณะปล่อย “ปุ๋ย/ยา” รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลงจากเดิมเหลือแค่ครึ่งเดียว

ตัวนี้ลุงคิมคิดขึ้นมาเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้เลยแต่ไม่จด ขี้เกียจ ใครอยากจดก็ไปจดซี

อเมริกาทำเกษตรใช้วิธี "ให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ หรือ ให้ปุ๋ยทางท่อ" มานานกว่า 50-70 ปี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนไปเรียนที่อเมริกา เขาไปเรียนอะไรกัน ถึงไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็มีเพื่อนเป็นอเมริกาไม่ใช่เหรอ

เอาเถอะ ถึงไม่ได้ไปเรียนที่อเมริกา แต่อินเตอร์เน็ตอเมริกาในเมืองไทยก็รับได้ไม่ใช่เหรอ ....

ออกแบบเอง สร้างเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
- หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ RKK ขณะทำงานไม่ต้องลดแรงดันที่เมนวาวล์ ส่งผลให้รัศมีหรือระยะพ่นน้ำของหัวสปริงเกอร์แรงปกติทุกประการ

- ถ้าต้องการให้เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็วๆ ทำได้โดยลดแรงดันที่เมนวาวล์ (ลดเล็กน้อย) แรงดันที่เมนวาวล์เมื่อถูกลดจะเปลี่ยนมาดันออกที่หม้อปุ๋ยแทน ... เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปช้าๆ สม่ำเสมอๆ เนื้อปุ๋ยจะกระจายทั่วทุกต้น ทั่วทั้งโซนดี แต่ถ้าเนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็ว เร็วมากๆ ต้นไม้ในโซนต้นแรกๆ จะได้รับเนื้อปุ๋ยมากกว่าต้นท้ายโซน

- สปริงเกอร์-หม้อปุ๋ย "ลงทุนครั้งเดียว" ใช้งานได้ 10-20-30-ปี
ประหยัด ต้นทุน-เวลา-แรงงาน-อารมณ์..........
เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเนื้องาน........
ได้เครดิต ความน่าเชื่อถือ........................
ลูกหลานทำต่อ ขยายผล.........................
จะเอาผลผลิตเต็มที่ ต้องบำรุงเต็มที่...............
บำรุงเต็มที่ได้เพราะ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง.......

ที่ RKK แปลงไม้ผลแบ่งเป็นโซน ๆละ 50 ต้น ให้ น้ำ, น้ำ+ปุ๋ย, น้ำ+ยาสมุนไพร, น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน ทำงานให้ทางใบครั้งละ 3-5 นาที ให้ทางรากครั้งละ 5-10 นาที ต่อการทำงาน 1 รอบ

ลากสายยาง 50 ต้น ๆละ 5 นาที = 250 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง
สปริงเกอร์ 50 ต้น ใช้เวลา 5 นาที = 5 นาทีไฟฟ้า/ครั้ง

สรุป : ทำงาน 5ปี 10ปี 20ปี ค่าไฟฟ้าต่างกันเท่าไหร่ ?

สปริงเกอร์ สั่งได้ :
ตี.5 : .......... ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .......... ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ......... ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ........... ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน

กลางวันฝนตก : ... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด ใบจุด
กลางวันฝนตก : ... ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน

เครดิตความน่าเชื่อถือ ..... ฉีดพ่นสารสมุนไพร วันละหลายครั้ง-ทุกวัน-วันเว้นวัน ทำได้ บำรุงต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม แรงงานคนเดียว เดี๋ยวเดียวเสร็จ มะเร็งไม่กินอารมณ์


10.
แมลงศัตรูพืช ประเภทมากลางวัน เข้าหาสีเหลือง (หลงสี)
แมลงศัตรูพืช ประเภทมากลางคืน เข้าหาแสงสว่าง (หลงแสง)
แมลงธรรมชาติ (มีประโยชน์) ไม่หลงสี ไม่หลงแสง จึงไม่เข้าหากับดัก
กรณีแมลงศัตรูพืช คิด/วิเคราะห์ ถ้าไม่มาที่กับดักก็เข้าหาพืช

จะดีมั้ย ? จะได้มั้ย ? สำหรับประเทศไทย ....
รัฐบาลกำหนดวาระแห่งชาติ "พิฆาตแมลงวันทอง" โดย....
* ให้งบประมาณ ปีละ 100 ล้าน
* ใช้สื่อ วิทยุ ทีวี. นสพ. มากช่องทางที่สุดในการ ปชส. และให้ความรู้
* มีช่องทางรับทราบข้อคิดเห็นจากเกษตรกรโดยตรง หรือผู้เกี่ยวข้อง
* ให้เงินตอบแทน (+ในราคาผลผลิต) แก่เกษตรกรผู้พิฆาตแมลงวันทอง
* ประกวดผลงานและให้รางวัลแก่เกษตรกร และผู้ส่งเสริมผู้พิฆาตแมลงวันทอง
* ส่งเสริมแนวคิด หรือนวตกรรม โครงการพิฆาตแมลงวันทอง
* ให้เกษตรตำบลเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบของตน แล้วประเมินผลงาน การแก้ปัญหาและอุปสรรค และแผนการปฏิบัติในอนาคต ปีละ 1 ครั้ง
* รัฐบาล ปชส.ให้ทั่วโลกรับทราบ (ทุกช่องทาง) เมื่อมีโอกาส
* อื่นๆ ที่จำเป็นตามสถานการณ์



11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.



31.
แพทย์ วิศวะ ช่าง บริหาร มีความรู้ตามสาขาที่เรียน แต่ไม่ได้เรียนเกษตรจึงไม่มีความรู้เรื่องเกษตร ครั้น อ่าน หนังสือเกษตรจึงมีความรู้เรื่องเกษตรได้ ....... ฉันใด

ประชาชนทั่วไป ไม่ได้เรียนเกษตร ไม่มีความรู้เรื่องการเกษตร แต่ อ่าน หนังสือเกษตร ย่อมมีความรู้ เรื่องการเกษตรได้...... ฉันนั้น

หนังสือคือ MEDIA ประเภทคงทนถาวร อยู่ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงตลอดชีวิต เนื้อหาสาระคงที่เคยยังไงก็ยังงั้น

เราว่ามันดีกว่า โซเชียล อินเตอร์เน็ต ซีดี แฟรชไดร์ เพราะนั่นต้องมีเครื่อง ตั้งอยู่ประจำที่ จะดูทีจะอ่านที ก็ต้องเปิดแล้วสไลด์เลื่อนหาข้อความ .... ผิดกับหนังสือ “นั่ง-นอน-เดิน” อ่านได้ทั้งนั้น อ่านในบ้าน อ่านในสวนไต้ต้นไม้ ในห้องน้ำ ทำได้ทั้งนั้น

ว่ามั้ย หนังสือเนี่ยเปรียบเสมือน “คัมภีร์-ตำนาน-ลายแทง” ส่งต่อถึงลูกหลานเหลนโหลนได้
ซื้อไปเล่มเดียว ระวังนะ คนยืมแล้วไม่คืน
ก็มี บางคนซื้อไป 2 เล่ม เล่มนึงเอาไว้อ่าน อีกเล่มนึงซื้อทองปิด เก็บไว้บนหิ้งบูชา





33.





36.
แรงบันดาลใจ :
- สำปะหลัง “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” อู่ทอง สุพรรณบุรี ........ ได้ 60 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-เทวดาเลี้ยง” ............... ได้ 4 ตัน /ไร่
- สำปะหลังแบบเดิม “ต้นเดี่ยว-คนเลี้ยง” ................... ได้ 10 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-เทวดาเลี้ยง” ............. ได้ 8 ตัน /ไร่
- สำปะหลัง แบบก้าวหน้า “ต้นคู่-คนเลี้ยง” ................ ได้ 20 ตัน /ไร่ ่

คิด วิเคระห์ เปรียบเทียบ ฟันธง.... เนื้อที่ 1 ไร่ : 1 ไร่ :
สำปะหลังเผือกกระชายตะไคร้ปีละรุ่น กับ นาข้าวปีละ 3 รุ่น อย่างไหนทำเงินได้มากกว่ากัน
ถั่วลิสงปีละ 2 รุ่น กับ นาข้าวปีละ 3 รุ่น อย่างไหนทำเงินได้มากกว่ากัน
งาขาวปีละ 2 รุ่น กับ นาข้าวปีละ 3 รุ่น อย่างไหนทำเงินได้มากกว่ากัน





40.
กลุ่มเกษตรกรจาก อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา นำโดย จนท.เกษตรอำเภอบางบาล จำนวน 30 คน มาเรียนรู้เรื่องการทำนาข้าว แบบ “อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสมโดยเฉพาะ” กับเรื่องสปริงเกอร์ ที่ไร่กล้อมแกล้ม เมื่อ 20 มี.ค. 56

เลิก....มุ่งแต่เอาปริมาณผลผลิตให้ได้มากๆ แต่ให้ระวังต้นทุน ลดต้นทุนให้ได้ทุกรูปแบบ
เลิก....ทุ่มทุนซื้อทุกอย่าง แต่ให้ทำเองทั้งหมด หรือทำเองครึ่งหนึ่ง ซื้อครึ่งหนึ่ง
เลิก....กะรวยคนเดียว แต่ให้กะรวยด้วยกันทั้งกลุ่ม ทั้งหมู่บ้าน
เลิก....คิดคนเดียว ทำคนเดียว แต่จงระดมแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
เลิก....ทำแบบเดิมๆ แต่จงเปลี่ยนมาทำตามแบบคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วต่อยอด
เลิก....ทำตามคนที่ล้มเหลว แต่จงเป็นตัวของตัวเอง ด้วยความมั่นใจ มีหลักวิชาการ
เลิก....กลัวเสียเหลี่ยม เลิกมิจฉาทิฐิ แต่จงยอมรับความจริง แล้วแก้ไข ปรับเปลี่ยนประยุกต์
เลิก....ปิดกั้นตัวเอง แต่จงเปิดโลก รับรู้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ
เลิก....ตามใจคน แต่จงตามใจข้าว ข้าวต้องการอะไรให้อันนั้น ต้องการเท่าไหร่ให้เท่านั้น
เลิก....ปล่อยวิถีชีวิตไปวันๆ แต่จงมุ่งรุ่นหน้าต้องดีกว่า ยิ่งทำยิ่งดีขึ้น ดีขึ้น และดีขึ้น
เลิก....ทำตามประเพณี ทำตามกระแส แต่จง แม่นสูตร-แม่นหลักการ
เลิก....เชื่อคนขายปุ๋ย-ขายยา แต่จงเชื่อซึ่งกันและกันที่เป็นทั้งเหตุและผล

*** รวยกระจุก ..... รวยเพราะ เปิดใจรับเทคโนโลยี
*** จนกระจาย ..... จนเพราะ ปิดใจรับเทคโนโลยี

เทคโนโลยีคือการนำ “แนวทาง/ความคิด/ความรู้/หลักการ/วิชาการ/วิธีการ/กระบวนการ” ที่เป็นวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้ มาใช้ในการทำงาน

เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรด้านพืช :
* ปัจจัยพื้นฐาน : ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์/โรค ....
* ปัจจัยสำคัญ : ปุ๋ย-ยา-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน-บริหาร-จัดการ-คุณภาพ-ปริมาณ-ปชส.
* ซูพรีม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง นอกฤดู สีสวยสด รสจัดจ้าน ปลอดสารเคมี เครดิตสูง แปรรูป คนนิยม ส่งออก

* เกรดฟุตบาท
* ทำอย่างเดิม แย่กว่าเดิม เพราะสภาพแวดล้อม และสังคมเปลี่ยนแปลง
* ทำตามคนที่ล้มเหลว ล้มเหลวยิ่งกว่า เพราะอยากเอาชนะ เขาใส่ปุ๋ย 1 เราใส่ 2 เขาฉีดยา 1,000 เราฉีด 2,000

* ทำตามคนที่สำเร็จ สำเร็จยิ่งกว่า เพราะเอาของเขามาต่อยอดขยายผล
* กะรวยกว่า กะรวยคนเดียว ไม่รวย แต่กะรวยด้วยกัน รวยทุกคน



42.
- ยูเรีย ทำให้ข้าวเขียวตองอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ต้นหลวม อ่อนแอ โรคแมลงมาก เมล็ดลีบมาก เป็นท้องปลาซิวมาก ข้าวป่นมาก น้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ข้าวปลูกไม่ดี

- แม็กเนเซียม สร้างคลอโรฟีลด์ ทำให้ข้าวเขียวทน ใบเขียวถึงวันเกี่ยว ใบหนา สังเคราะห์แสงดี สมบูรณ์ แข็งแรง ต้นไม่ล้ม โรคแมลงน้อย

- สังกะสี สร้างแป้ง ช่วยให้ข้าวไม่เป็นเมล็ดลีบ ไม่เป็นท้องไข่ปลาซิว เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี บดแล้วไม่ป่น ทำพันธุ์ข้าวปลูกดี

- ช่วงเวลา 7-9 โมงเช้า ใบธงจะอ่อนลู่ลง แสดงว่ายูเรียเกิน แต่ขาด ธาตุรอง/ธาตุเสริม อย่างรุนแรง

- ข้าวต้องการสารอาหารทั้งสิ้น 16 ตัว (หลัก/รอง/เสริม) การใส่ยูเรีย 1 กส. (50 กก.) หรือ 2 กส. (100) /ไร่ เท่ากับได้สารอาหาร N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น .... นาข้าวบางแปลงใส่ยูเรีย 2 กส. (100 กก.) + 16-20-0 อีก 1 กส. (50 กก.) รวมใส่ปุ๋ย 150 กก./ไร่ แต่ข้าวได้ปุ๋ยเพียง 2 ตัว คือ N. กับ P. เท่านั้น

- ข้าวต้องการปุ๋ยครบสูตร (N-P-K) อัตราส่วน 3 : 1 : 1 (30-10-10) 2 : 1 : 1 (16-8- 8 ) อัตรา 10-20 กก./ไร่/รุ่น แล้วต้องการ ธาตุรอง/ธาตุเสริม
ฮอร์โมน

- ข้าวต้องการและตอบสนองต่อปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางรากเท่าๆกัน นั่นคือ ควรให้ปุ๋ยทางใบมากครั้ง หรือ 7-10 ครั้ง จะได้ผลดีกว่าการใส่ปุ๋ยทางรากอย่างเดียว

สรุป :
ลดปุ๋ยทางราก เพิ่มปุ๋ยทางใบ – ลดปุ๋ยธาตุหลัก เพิ่มปุ๋ยธาตุรอง/ธาตุเสริม และฮอร์โมน....ต้นทุนลดลง แต่ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ยูเรีย + 16-20-0

อ้างอิง : บรรยายพิเศษ กลุ่มเกษตรกร อ.บางบาล จ. อยุธยา เรียนรู้ นาข้าว-สปริงเกอร์.

- ข้อเสียของยูเรีย ที่ชาวนาไม่เคยถาม ไม่เคยสังเกต... คนขาย นักวิชาการเชิงพานิชไม่เคยพูด ไม่เคยบอก

- ยูเรียต่อต้น....ทำให้ต้นข้าวเขียวอ่อน เขียวไม่ทน ใบบาง ใบอ่อน ต้นสูง ต้นล้ม ต้นหลวม ผนังเซลล์อ่อนแอ โรคมาก .... ฉายา ยูเรียล่อเพลี้ยกระโดด

- ยูเรียต่อเมล็ด .... เมล็ดไม่แกร่ง เมล็ดไม่ใส เมล็ดลีบมาก เป็นท้องไข่มาก ข้าวป่นมากน้ำหนักไม่ดี ทำพันธุ์ไม่ดี ถูกตัดราคา

- ต่อสารอาหาร...ความเข้มข้น (เปอร์เซ็นต์) ของสารอาหารในเมล็ดข้าวน้อยกว่าที่ระบุในงานวิจัย เพราะต้นข้าวได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

- ใส่ปุ๋ยเคมีแก่ต้นข้าวให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 2 ช่วงเท่านั้น คือ ช่วงทำเทือก (เตรียมดิน) กับช่วงตั้งท้อง-แต่งตัว การใส่ปุ๋ยในช่วงอื่นๆ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

- การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า หรือใส่ปุ๋ยทันทีหลังปักดำ (นาดำ) หรือเมล็ดพันธุ์เริ่มงอก (นาหว่าน)ไม่เกิดประโยชน์ เพราะต้นกล้ายังไม่พร้อมรับและยังไม่มีความจำเป็นต้องให้ ทั้งนี้ระยะที่ต้นกล้างอกใหม่ๆ จะใช้สารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดตัวเอง (แป้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน ฯลฯ) เป็นหลัก

- การใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วนไนโตรเจน.สูง ฟอสฟอรัส. และโปแตสเซียม.ต่ำ เช่น 16-8-8 หรือ 25-7-7 หรือ 46-0-0 + 16-16-16 อัตรา 1:1 จะช่วยให้ต้นข้าวแตกหน่อดีกว่าการใส่ไนโตรเจน. เดี่ยวๆ


IPM (ป้องกัน/กำจัด แบบผสมผสาน) :
กับดักสีเหลือง ..... เพลี้ยไฟ แมลงกลางวัน
กาวเหนียว ......... คอสฟิกซ์
แสงไฟล่อ .......... แสงไฟสีขาว
แสงไฟไล่ ........... แสงไฟสีส้ม สีเหลือง
กลิ่นล่อ ............ ฟลายแอต (แมลงวันทอง)
กลิ่นไล่ ............. ข่า ตะไคร้ ผกากรอง ยูคาลิปตัส น้ำหมักชีวภาพ
สัตว์ศัตรู ........... มดแดงกำจัดหนอน, นกฮูกกำจัดหนู, เป็ดกำจัดหอยเชอรี่
พืชศัตรู ............ ดาวเรือง ตระไคร้ ผักกาดแก้ว
แสงแดด ........... โรค หนอน แมลง อยู่ไม่ได้
เชื้อปฏิปักษ์ ........ ไตรโคเดอร์ม่า, บีเอส., บีที., เอ็นพีวี.
อื่นๆ ................ น้ำปูนใส กำจัด แคงเคอร์, น้ำส้มสายชู+เหล้าขาว กำจัด เพลี้ยอ่อน, น้ำเปล่ากำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง ราน้ำค้าง ราสนิม ราแอนแทร็คโนส ,





45.
- ทดสอบด้วยตัวเองได้ หว่านเมล็ดปุ๋ยลงบนพื้นคอนกรีต หว่านค่อยหรือแรงตามต้องการ แล้วสำรวจเม็ดปุ๋ยแต่ละเม็ดที่ตกลงพื้น
แต่ละเม็ดห่างกันเท่าไร ?
ทุกจุดที่ตกลงจำนวนเม็ดปุ๋ยเท่ากันไหม ?
นั่นหมายความว่า พืชบางต้นได้ปุ๋ย บางต้นไม่ได้รับ

- กรณีนาข้าว หว่านปุ๋ยแรงๆ ให้เม็ดปุ๋ยกระจายมากๆ นัยว่าจะได้ไม่สิ้นเปลือง เคยเฉลียวใจไหมว่า เม็ดปุ๋ยที่ตกลงที่โคนกอข้าว ตกลงทุกกอ กอละ 1-2-3 เม็ดเท่ากันเป๊ะๆ หรือไม่ ? ....

ให้ปุ๋ยไปแล้ว 1 กส. ต้นที่ได้รับก็เขียวสด ต้นที่ไม่ได้รับก็เหลืองซีด คนใส่ปุ๋ยบอกว่าปุ๋ยไม่พอ ว่าแล้วก็ให้อีก 1 กส. หว่านกระจายเหมือนเดิม มันก็อีหร็อบเดิม ต้นที่ได้รับเขียวสด ต้นไม่ได้รับก็เหลืองซีด ครั้นจะหว่านปุ๋ยอีกเป็น กส.ที่ 3 คราวนี้ชักลังเลๆ เพราะหมดเงิน ไม่มีใครทำ พ่อแม่ไม่เคยนำทำ

** ง่ายที่สุด ประยัดที่สุด ได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลที่สุด คือ
1. ตอนทำเทือกให้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ + ปุ๋ยเคมี) 2-3 ล. + 16-8-8 (10 กก.) + น้ำตามความจำเป็นสำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ แล้ว "เดินสาด" ให้ทั่วแปลง จากนั้นย่ำเทือก ลูกทุบหรืออีขลุบจะละเลงทุกอย่างแล้วกวาดให้กระจายไปจนทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ให้เอง

2. ตอนทำเทือกให้ ติดตั้งถังหน้ารถไถ มีก๊อก 2 ข้างซ้ายขวา ในถังใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ + ปุ๋ยเคมี) 2-3 ล. + 16-8-8 (10 กก.) + น้ำตามความจำเป็นสำหรับเนื้อที่ 1 ไร่ เปิดก๊อกให้น้ำปุ๋ยไหล เร็ว/ช้า ตามต้องการ จากนั้นย่ำเทือก ลูกทุบหรืออีขลุบจะละเลงทุกอย่างแล้วกวาดให้กระจายไปจนทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ให้เอง

หมายเหตุ :
- เนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ต้นข้าวได้รับเท่ากันทุกต้น
- ประหยัดค่าปุ๋ยเพราะใช้แค่ 10 กก./ไร่ (งานวิจัย อีรี)
- ประหยัดค่าแรงหว่านปุ๋ย
- ประหยัดเวลา
- ประหยัดอารมณ์
- สวมวิญญาณวิศวะ ทำผานโรตารี 3 อัน แต่ละอันหมุน พร้อมกัน-ย้อนกัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพการตีป่นสูง สูงมาก ทำงานรอบเดียวจบได้


46.
สมการปุ๋ยเคมี :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

“ปุ๋ยถูก” หมายถึง ถูกสูตร-ถูกประเภท-ถูก พีเอช.-ถูกปริมาณ-ถูกทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวปุ๋ย
“ใช้ถูก” หมายถึง ถูกพืช-ถูกดิน-ถูกน้ำ-ถูกอุณหภูมิ-ถูกเครื่องมือ-ถูกทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวพืช

สมการปุ๋ยอินทรีย์ :
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล
วัสดุหลักผิด+วัสดุเสริมผิด+จุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า
วัสดุหลักถูก+วัสดุเสริมถูก+จุลินทรีย์ถูก+วิธีทำถูก+อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถูก = ได้ผล ยกกำลังห้า

- ทุกหัวข้อต้อง “ถูก” เท่านั้น จึงจะ = ได้ผล
- หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเพียงหัวข้อเดียว “ผิด” = ไม่ได้ผลทันที

สมการสารสมุนไพร :
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + ระยะใช้ถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด +ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + ระยะใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรผิด+ตัวศัตรูพืชผิด+วิธีทำผิด+ชนิดพืชผิด+ระยะใช้ผิด+วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6
ตัวสมุนไพรถูก+ตัวศัตรูพืชถูก+วิธีทำถูก+ชนิดพืชถูก+ระยะใช้ถูก+วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลัง 6

เปรียบเทียบกับยาคน :
ตัวสมุนไพรผิด + ตัวโรคผิด + วิธีทำผิด + เวลาใช้ + ระยะเวลาใช้ผิด + วิธีใช้ผิด =ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวโรคถูก + วิธีทำถูก + เวลาใช้ + ระยะเวลาใช้ถูก + วิธีทำถูก = ได้ผล

ศัตรูพืช :
- ชนิดศัตรูพืช .... หนอน, แมลง (ปากกัดปากดูด แมลงวางไข่), โรคมีเชื้อ (รา แบคทีเรีย ไวรัส), โรคไม่มีเชื้อ (ขาดสารอาหาร, ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล),
- ชนิดพืชเป้าหมาย (แหล่งอาหารของศัตรูพืช)
- วงจรชีวิต (เกิด กิน แก่ เจ็บ ตาย ขยายพันธุ์)
- พาหะ (ไป/มาเอง ผู้อื่นนำพา)
- ฤดูกาล (ร้อน หนาว ฝน ชื้น แห้ง)
- เวลาระบาด (ระยะพืช สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม)




48.
คิดใหม่ ทำใหม่ :
* เทคนิคการผลิต
- รอบแรกทำนาดำเครื่อง รอบ 2 รอบ 3 ทำนาล้มตอซัง
-
* เทคนิคบำรุง
- แบบประณีต
- แบบ กึ่งเลยตามเลย กึ่งประณีต
- แบบ นาหยอด-เปียกสลับแห้ง-ล้มตอซัง-ประณีต
-
* เทคนิค ปุ๋ย/ยา
- ทำเอง 100% ทำเองครึ่ง ซื้อครึ่ง ซื้อ 100%
- สมการปุ๋ย
- สมการยา
- สมการลงทุน
-
***

กรอบความคิด :
1. ทำนาปลูกข้าวแบบ “สมัยเก่า + สมัยใหม่”
2. เชครายการต้นทุน ต้นทุนที่ซื้อทั้งหมด ซื้อครึ่งนึง ทำเองครึ่งนึง
3. เชครายการต้นทุนค่าจ้าง จ้างแล้วได้เนื้องานคุ้มค่าจ้าง
4. วันนี้ แก้ไขสถานการณ์ ใช้สูตรเลยตามเลย
5. สร้างแรงบันดาลใจ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี
6. ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจ
7. ปัญหาเดิมๆ เกิดได้ยังไง แก้ไขยังไง
8. บัญชีข้างฝา เตือนสติ
9. นาข้าวแบบ "นาหยอด-เปียกสลับแห้ง-ล้มตอซัง-ประณีต" ดีทีสุด




51.
ฟัง 100 ครั้ง ไม่เท่าอ่าน 1 ครั้ง ...........
อ่าน 100 ครั้ง ไม่เท่าทำเอง 1 ครั้ง ........
ทำ 100 ครั้ง ไม่เท่าขาย 1 ครั้ง ...........
ขาย 100 ครั้ง ไม่เท่าแจก 1 ครั้ง ..........

อยากรู้จริงๆว่า คนทำเกษตร ไม่ได้เรียนสาขาเกษตร แล้วไม่ได้อ่านหนังสือเกษตร จะมีควมรู้เรื่องเกษตรได้ไง....

รู้แล้วทำ ทำอย่างคนมีความรู้ นอกจากสิ่งที่ทำอยู่ ณ วันนี้จะดีขึ้นแล้ว ยังต่อยอดขยายผลได้อีกด้วย ความรู้ รู้แล้วติดตัวไปตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้

คนอ่านหนังสือคือปัญญาชนที่แท้จริง เพราะคนอ่านหนังสือรู้จริง รู้อย่างมีเหตุมีผล ปลุกระดมไม่ขึ้น โฆษณาชวนเชื่อไม่สำเร็จ ...(ทมยันตี)

การมีความรู้ในสาขาอาชีพ คือ "ศักดิ์ศรี" ที่แท้จริง

ประโยชน์จากการอ่าน :
* การอ่านหนังสือทำให้ฉลาด และมีความรู้
* การอ่านหนังสือเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
* การอ่านหนังสือทำให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น
* การอ่านหนังสือเป็นการเสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสัน
https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/00067e.pdf


• การอ่านหนังสือจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนาเรื่องการจำ รวมถึงชะลอและป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
• ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น
• มีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป
• หนังสือบางประเภทช่วยให้เราสามารถฝึกฝนทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ได้
https://www.jobthai.com/REACH/lifestyle/ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ.html

1. เพื่อการเรียนรู้ ศึกษาด้วยตัวเอง
2. เพื่อช่วยการเพิ่มพูน
3. เปลี่ยนทัศนคติและมุมมอง
4. เพื่อความบันเทิง หนีไปจากโลกปัจจุบัน
5. เพื่อค้นหาความเป็นตัวของตัวเอง
6. เพื่อให้ทันโลก
http://oknation.nationtv.tv/blog/yamkrub/2009/09/05/entry-1

วันนี้ ถึงยุคถึงสมัยถึงเวลา สร้างความ “ไม่รู้” ของตัวเองให้เป็น “รู้” ด้วยตัวเอง โดยการ “อ่านๆๆ ดูๆๆ ทำๆๆ ใช้ๆๆ ขายๆๆ แจกๆๆ ทิ้งๆๆ .... นั่นคือ อ่านในหนังสือ เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเองก่อนแล้วอ่านเรื่องที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันเกี่ยวก้อยทีหลัง เชื่อเถอะ ปีเดียว รอบเดียว รุ่นเดียว รู้เรื่อง ถึงเวลานั้น บอกใครคุยกับใครพูดกับใคร เสียงดังได้ เฮ่ยยยย ก.ทำกับมือ ม.อย่าเถียง...


อาชีพ "ดาวร่วง" ปี 2562 อันดับ 3 คือ "สิ่งตีพิมพ์ วารสาร" ....
ช่างเถอะ เกษตรกร 22,000,000 คน ขอคนอ่านหนังสือเกษตรแค่ 2,000 คนก็พอ


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/03/2020 8:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©