-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 16 OCT... * ศัตรูมะพร้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 16 OCT... * ศัตรูมะพร้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 16 OCT... * ศัตรูมะพร้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/10/2018 7:37 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 16 OCT... * ศัตรูมะพร้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 16 OCT
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***************************************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ
ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศรัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU....

------------------------------------------------------------------------------------

จาก : (084) 839-14xx
ข้อความ : สนใจอยากรู้เรื่องจุลินทรีย์กำจัดโรคมะพร้าว มีจุลินทรีย์อะไรบ้าง มีเทคนิควิธีการใช้อย่างไร ให้ได้ผลสูงสุด ....
ตอบ :
คิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ฟันธง :

ไม่มีพืชใดในโลก ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูล ประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา ....ศัตรูพืชเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง เกิดกินแก่เจ็บตายขยายพันธุ์ เหมือนสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นๆ กำเนิดมาแล้วนับล้านปี หรือเกิดมาคู่กับพืชนั่นแหละ

ไม่มีสารเคมี สารสมุนไพรใดๆในโลกนี้ สมารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายเสียหายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย ประมาณนั้น

การต่อสู้กับศัตรูพืช ใช้วิธีป้องกัน แทนการกำจัด
การต่อสู้หรือกำจัดมีเพียง “สารเคมี” เท่านั้นหรือ.... สรรพคุณ กลิ่น-รส-ฤทธิ์ ในสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชได้

พืชตระกูลมะพร้าว อายุนับ 100 ปี ต้นสูง สูงมาก การทำงานต้องมีเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง
มาตรการ “ป้องกัน+กำจัด+บำรุง” ในครั้งเดียวกัน ได้ทั้ง ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ลดต้นทุน ประหยัด เวลา/แรงงาน/อารมณ์ ได้เครดิตความน่าเชื่อถือ

ทำมะพร้าวเป็นอาชีพ อาชีพทำมะพร้าว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี ข้อมูล/ความรู้ ทั้งทางวิชาการ ประสบการณ์ แผนการ เกี่ยวกับมะพร้าว


คำถามเก่า คนถามใหม่ ย้อนไปดูคำตอบเก่าเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว คำตอบนั้นยังใช้ได้ เพราะศัตรูพืชยังเหมือนเดิมๆ
เมื่อเร็วๆนี้ สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดสัมมนาเรื่อง สถานการณ์มะพร้าวขาดแคลน .... จากวิกฤติสู่โอกาส ณ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของมะพร้าว” โดย ดร.อัมพร วิโนทัย นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ดร.อัมพร วิโนทัย กล่าวว่า ศัตรูมะพร้าวสำคัญที่ส่งผลให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมี 4 ชนิด คือ ด้วงแรดมะพร้าว. ด้วงงวงมะพร้าว. หนอนหัวดำ. และแมลงดำหนาม. ซึ่งการป้องกันกำจัดไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี แต่ให้เลือกใช้วิธีเขตกรรม และศัตรูธรรมชาติของแมลงทั้ง 4 ชนิดแทน ดังนี้ ....

1. ด้วงแรดมะพร้าว (ไม่ได้ถามแต่เขียนให้ ตามสไตล์ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า) :
มักระบาดในสวนที่ปล่อยให้รก มีกองเศษพืช กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ดังนั้นชาวสวนควรหมั่นทำความสะอาดแปลงอยู่เสมอ หากพบด้วงแรดให้จับไปทำลายทิ้ง หรือใช้เชื้อราเขียว เมตาไรเซียม ควบคุม ทำได้โดยการคลุกเชื้อราในแหล่งที่พบการระบาดเพื่อทำลายตัวหนอนในดิน หรือทำกองล่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ขุยมะพร้าว ขี้วัว แกลบ เศษหญ้า ในส่วนผสมเท่าๆ กัน รดน้ำให้ชุ่ม และคลุกเชื้อราเขียว เมตาไรเซียม ลงในกองล่อ เมื่อเชื้อราสัมผัสตัวหนอนจะเจริญเติบโตในตัวหนอนจนตัวหนอนตายในที่สุด

2. ด้วงงวงมะพร้าว (ไม่ได้ถามแต่เขียนให้ ตามสไตล์ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า) :
มักทำลายในส่วนของลำต้น และยอดบริเวณคอมะพร้าว โดยการเจาะเข้าไปจนเป็นโพรง วิธีการป้องกันกำจัด คือ หมั่นทำความสะอาดแปลง ตรวจดูการเข้าทำลาย และการระบาดอย่างสม่ำเสมอ

3. หนอนหัวดำมะพร้าว (ไม่ได้ถามแต่เขียนให้ ตามสไตล์ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า) :[/color] เป็นศัตรูพืชที่พบระบาดมาก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มระบาดจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ สาเหตุเกิดจากต้นมะพร้าวทรุดโทรมจากภาวะภัยแล้ง โดยตัวหนอนจะกัดแทะผิวใบแก่ และสร้างเส้นใยถักพัน แล้วใช้มูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นทำอุโมงค์ หากระบาดอย่างรุนแรงจะทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลงมากกว่า 50 % วิธีการป้องกันกำจัด คือ การใช้เชื้อ บีที. อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วตั้งต้นและใบ ต้นละ 5-10 ลิตร ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ควบคู่กับการตัดใบมะพร้าวที่ถูกทำลายและนำไปฝังหรือเผาทำลายทิ้ง

4. แมลงดำหนามมะพร้าว (ไม่ได้ถามแต่เขียนให้ ตามสไตล์ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า) :
จะเข้าทำลายในส่วนยอดอ่อนของมะพร้าวเป็นหลัก โดยใช้เวลาพียง 5 วัน สามารถทำให้ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต เมื่อระบาดรุนแรงจะมองเห็นใบบนต้นมะพร้าวเป็นสีขาวโพลน หรือที่เรียกว่า “โรคหัวหงอก” การป้องกันกำจัดทำได้โดยการนำแตนเบียนหนอน หรือเชื้อราเขียว เมตาไรเซียม กำจัดระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย จับตัวหนอนหรือตัวแมลงดำหนามไปเผาทำลาย หรือตัดมะพร้าวที่ถูกทำลายจนตาย และเผาทิ้ง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดร.อัมพร วิโนทัย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-7580 ต่อ 135


จุลินทรีย์กำจัดโรคพืช (ยาเชื้อ) :

- จุลินทรีย์ หรือเชื้อกำจัดโรคพืชและศัตรูพืชที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ เมตาไรเซียม. บาซิลลัส ซับติลิส (บีเอส), บาซิลลัส ทูรินจินซิส (บีที), เอ็นพีวี. เป็นจุลินทรีย์กลุ่มมีประโยชน์ หรือเป็นเชื้อโรคของศัตรูพืช ที่เกษตรกรเรียกว่า “ยาเชื้อ” นั่นเอง

- เนื่องจากยาเชื้อเหล่านี้การจัดเก็บทำแบบ “สต๊อป หรือ เชื้อแห้ง” ก่อนใช้งานจริงจะต้องทำให้ฟื้นขึ้นมาก่อน โดยการแช่ใน “น้ำ 20 ล. + กากน้ำตาล 200 ซีซี. + หัวเชื้อ 100 กรัม” คนเคล้าให้เข้ากันดี เติมออกซิเจนตู้ปลา 36 ชม. (ไม่ควรขาด ไม่ควรเกิน) พร้อมใช้งาน.... ใช้ “เชื้อฟื้นแล้ว 20 ล. + น้ำ 100 ล.” ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทั้งไต้ใบบนใบ

- จุลินทรีย์กลุ่มยาเชื้อ ไม่สู้รังสีอุลตร้า ไวโอเลต (แสงอาทิตย์) การใช้งานจึงไม่ควรให้สัมผัสแสงแดดหรือฉีดพ่นตอนกลางวัน นั่นคือ ฉีดพ่นตอนกลางคืน

- จุลินทรีย์กลุ่มยาเชื้อ ไม่สู้ความแห้ง ก่อนฉีดพ่นควรฉีดพ่นน้ำเปล่าไปก่อน หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นยาเชื้อตาม

- ยาเชื้อ คือ จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมียาฆ่าแมลง และสารสกัดสมุนไพรใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งน้ำที่ใช้ผสมต้องเป็นกลาง พีเอช 7.0 +/- ได้ 1

- ยาเชื้อ บีที. บีเอส. เอ็นพีวี. เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการกำจัดศัตรูประเภทหนอนและแมลง เกษตรกรหลายคนนำไปใช้แล้วไม่ได้ผลเพราะ ไม่เข้าใจสมการยาเชื้อ “ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง” หมายถึง

.... ยาเชื้อผิด เพราะ ไม่ได้ปลุกให้ฟื้นตื่นจากสต๊อปก่อน
.... ใช้ผิด เพราะ ไม่ได้ฉีดพ่นน้ำเปล่านำร่องก่อน ฉีดพ่นแล้วโดนแสง

ประสบการณ์ตรง :
- ย้อนมาเรื่องมะพะร้าว .... คุณสมัคร สภาโจ๊ก ทีวี.ช่องจำไม่ได้ ทำสวนมะพร้าวแกงอยู่บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ มาคุยกันหลายครั้งที่ชมรมใหญ่ ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี ได้แนะนำให้ใส่ทางดินด้วย ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่ ปีละ 1 ครั้ง หว่านทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว, ให้ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 อย่างเดียวเดี่ยวๆ 2 ล. /ไร่ /เดือน ต่อเนื่องกันนาน 1 ปี ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มแม้แต่เม็ดเดียว ปรากฏว่า 1 ปี ผ่านไป มะพร้าวแกงดกขึ้นจากที่เคยได้ทะลายละ 7-8 ลูก เพิ่มเป็น 11-12 ลูก ลูกเคยเล็กก็ใหญ่ขึ้น รถที่มาบรรทุกเคยรับๆได้ 1,000 ลูก ลดเหลือแต่ 800 ลูก เนื้อหนาขึ้นอีกด้วย ....

เหตุผลเพราะ สารอาหารอินทรีย์จาก สัตว์ทะเล (กุ้งหอยปูปลา) +แม็กเนเซียม. สังกะสี. เป็นสารอาหารสำหรับมะพร้าว หรือพืชตระกูลปาล์มโดยตรงอยู่แล้ว .... วันนี้ในแปลงมะพร้าว พื้นที่ว่างที่พอมีแสงแดดบ้าง คุณสมัคร สภาโจ๊ก ปลูกสารพัดที่ปลูกได้ เสริม/แซม/แทรก ลงไปจนเต็มทั้งแปลง เงินทั้งนั้น

--------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©