-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 15 OCT... * ไวรัสในบวบ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 15 OCT... * ไวรัสในบวบ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 15 OCT... * ไวรัสในบวบ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 16/10/2018 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 15 OCT... * ไวรัสในบวบ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 15 OCT
AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
***************************************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ
ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศรัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU....

------------------------------------------------------------------------------------

จาก : (094) 416-02xx
ข้อความ : บวบใบเหลือง ผิวใบย่น ต้องถอนทิ้ง มีคนบอกว่าไม่มีทางรักษา จริงหรือครับ ช่วยหน่อยครับ บวบบางลูกขม แก้ไขอย่างไรครับ .... เกษตรกรชัยภูมิ
ตอบ :
คำถามเก่า คนถามใหม่ คำตอบ ย้อนไปดูคำตอบเก่าเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว คำตอบนั้นยังใช้ได้ เพราะศัตรูพืชยังเหมือนเดิมๆ


- จริง ! .... ปัจจุบันยังไม่มี “สารเคมี หรือ สารสมุนไพร” ยี่ห้อใด ชนิดใดในโลกนี้กำจัดเชื้อไวรัสโรคพืชได้ (กรณีเชื้อไวรัสโรคไก่ ใช้น้ำต้มสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ลูกไต้ใบ เสลดพังพอน บอระเพ็ด ผสมน้ำจางๆ ให้ไก่กินแทนน้ำตั้งแต่เกิดช่วยป้องกันโรคนี้ได้...

อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ) ในพืชที่มักพบเจอเสมอ เช่น ข้าว อ้อย กระเจี๊ยบเขียว แตง (บวบเป็นพืชตระกูลแตง) เมื่อเป็นแล้วเป็นเลย แก้ไขกำจัดไม่ได้ เชื้อไวรัสพวกนี้มาโดยแมลงปากกัดปากดูดเป็นพาหะ เพราะฉะนั้นต้อง “ป้องกัน” ที่ตัวแมลงพาหะ กับบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานสู้กับเชื้อโรคได้ด้วยตัวของต้นพืชเอง เท่านั้น

- เมื่อก่อนนี้ก็ว่า เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นพาหะ แต่ปัจจุบัน แมลงปากกัดปากดูดทุกแมลงเป็นพาหะได้ทั้งนั้น แสดงว่าไวรัสก็มีพัฒนาการ อาศัยไปกับพาหนะได้ทุกชนิดเหมือนคนเดินทาง ประมาณนี้

- วิธีสู้กับเชื้อไวรัสที่ได้ผลที่สุด คือ ภูมิต้านทานในต้นพืชเอง นั่นคือ บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
- สารคดีดิสคัพเวอร์รี่บอกว่า ศัตรูพืช (โรค แมลง หนอน) ชอบเข้าหาพืชที่อ่อนแอมากกว่าพืชที่สมบูรณ์แข็งแรง และศัตรูพืชในต้นที่อ่อนแอจะแพร่ขยายพันธุ์ได้มาก เร็ว และรุนแรงกว่าต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ....

สรุป :

- ความสมบูรณ์ของต้นมาจาก “ปัจจัยพื้นฐาน” คือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ทุกปัจจัยต้องไปพร้อมๆกัน

- สมการเกษตร ....
ยาถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

- ที่จริงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเมืองไทยเรา ครั้งแรกมาจากอเมริกา สืบเนื่องมาจากเกษตรกรอเมริกาทำการเกษตรแบบแปลงขนาดใหญ่ แปลงละเป็นพันเป็นหมื่นไร่ เมื่อมีศัตรูพืชระบาดก็ต้องใช้ตัวยาครั้งละมากๆ นักวิยาศาสตร์เขาก็เลยศึกษาวิเคราะห์หาอะไรก็ได้ที่เป็นพิษต่อแมลงศัตรูพืช อย่าง ดีดีที. สร้างมาครั้งแรกสำหรับสังหารข้าศึกในสนามรบ ด้วยความบังเอิญได้เอา ดีดีที.ฉีดใส่แปลงพืช ปรากฏว่า หนอน-แมลง ตายเรียบ ตั้งแต่นั้นมา ดีดีที.เลยกลายเป็นสารเคมีกำจัดหนอน-แมลงไป ....

ต่อมาได้มีการศึกษาวิเคราะห์โครง สร้างโมเลกุลของสมุนไพร เมื่อรู้ว่าโครงสร้างทางโมเลกุลในสมุนไพรเป็นอย่างไร ก็ทำสาร เคมีให้มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนสมุนไพร ปรากฏว่าใช้แทนสารสมุนไพรได้ เป็นเพราะการที่สมุนไพรหายาก ในแปลงขนาดใหญ่ๆ ต้องใช้ครั้งละมากๆ ต้นทุนจึงสูง ส่วนต้นทุนในการสังเคราะห์สารเคมีต่ำกว่า เกษตรกรจึงหันไปใช้สารเคมี ....

การศึกษาเกี่ยวกับสารเคมี แรกๆก็ดูแต่ผลทางบวก คือ กำจัดศัตรูพืชได้ โดยไม่ได้ดูผลทางลบ คือ เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต มนุษย์ สัตว์บนดินไต้ดิน สภาพแวดล้อม อากาศ น้ำ ดิน ....

วันนี้ ทุกอย่างประจักษ์ชัดแล้วว่า สารเคมีกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช มีผลเสียมากกว่าผลดี กับประจักษ์ชัดอีกว่า สารสมุนไพรใช้แทนสารเคมีได้

- เทคนิคการทำสารสมุนไพร ประเภท ขม-เผ็ด ใช้วิธีต้ม ต้มหลายๆรอบให้ได้รสขมจัด/เผ็ดจัด จริงๆ, ประเภท ฝาด ใช้วิธีหมัก หมักซ้ำหลายๆรอบ ให้ได้รสฝาดจัดจริงๆ , ประ เภท กลิ่น ใช้วิธีกลั่น น้ำที่กลั่นออกมาได้แช่สมุนไพรชนิดเดียวกันอีก กลิ่นจะแรงขึ้น ....

ใช้สมุนไพรหลายๆอย่างที่มีสรรพคุณในการกำจัดศัตรูพืชชนิดเดียวกัน ....

ใช่บ่อยๆ ทั้งแบบ ป้องกันและกำจัด ควบคู่กับการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน (ไอพีเอ็ม) จึงจะได้ผลสูงสุด
---------------------------------------------------------


คำตอบเก่า ย้อนไปดูคำตอบเก่าเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว คำตอบนั้นยังใช้ได้ เพราะศัตรูพืชยังเหมือนเดิมๆ
จาก :
(081) 103-26xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ บวบที่เราปลูกไว้ ลูกทำไมจึงมีรสขมครับ (อ๋องมืองกาญน์)
ตอบ :
ความขมเกิดขึ้นมาจากสาร cucurbitacin (เป็นสารประกอบ terpenoid) 2 ตัว ซึ่งมีผลทำให้เกิดรสขมในต้นอ่อน ราก ลำต้น ใบ และผล การควบคุมรสขมในพืชตระกูลแตง (บอกอย่างนี้ดีกว่า เพราะไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในแตงกวา) มาจากยีน 2 ตัว ถ้า ยีนนี้เป็นยีนเด่นมันก็จะผลิตรสขมออกมา แต่ถ้าเป็นยีนด้อยมันก็จะไปห้ามการสร้างสาร cucurbitacin ซึ่งทำให้เกิดรสขมในผลและใบ โดยเอนไซม์ที่ชื่อ elaterase จะไปทำปฏิกิริยาดึงน้ำออกจนได้สารประกอบที่มีรสขม การทำงานของเอนไซม์นี้ขึ้นอยู่กับยีนสองตัวที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม สาร cucurbitacin จะสะสมมากในปลายทั้งสองข้างของผล และสะสมในผลข้างเคียงด้วย (เหมือนโรคระบาดจริงๆ เลย) การเกิดรสขมนี้อาจจะเกิดมาจากการสร้างเอ็นไซม์ elaterase ยับยั้งจากสภาพสิ่งแวดล้อม (พืชเกิดภาวะเครียดนั่นเอง) ก็ได้

อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ การโดนแสงน้อย (อยู่ในร่ม) ระยะห่างระหว่างต้นน้อยเกินไป การให้น้ำที่น้อย มีโรคทางใบ ใส่ปุ๋ยน้อย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรสขมในพืชตระกูลแตงครับ

ถ้าคุณเป็นผู้ปลูก ควรหมั่นระมัดระวังเรื่องพวกนี้ และเลือกสายพันธุ์ลูกผสมที่ดีด้วย เพื่อทำให้ผลผลิตมีปริมาณมาก และมีคุณภาพ

ถ้าคุณเป็นผู้บริโภค ถ้าคุณเจอแตงกวาขม ... ก็ถือว่าเป็นบุญแล้วกัน เพราะนานๆ จะได้กินที
-------------------------------------------------------------------------------

ความขมของแตงกวา แตงล้าน และบวบ เกิดจากสารในผลแตง ผลบวบที่มีชื่อว่า Cucurbitacin ค่ะ ซึ่งเจ้าสารตัวนี้ ส่งผลทำให้เกิดรสขมในต้นอ่อน ราก ลำต้น ใบ และผล ของพืชตระกูลแตงทั้งหลายค่ะ

ในพืชตระกูลแตงทั้งหลาย ไม่ว่าจะแตงล้าน แตงกวา บวบ ... จะมีสารตัวนึงซึ่งชื่อว่า Cucurbitacin ที่เกิดจากยีน 2 ตัว ..... ช่วยควบคุมรสขมอยู่ค่ะ แล้วเจ้ายีน 2 ตัวนี้เนี่ย ถ้ามันเป็นยีนเด่นมันก็จะควบคุมทำให้แตงไม่เกิดรสขม แต่ถ้าเกิดว่ามันเป็นยีนด้อย (เกิดจากสายพันธุ์) มันก็จะไปห้ามการสร้างสาร CuCurbitacin ซึ่งเมื่อสาร cucurbitacin ไม่ถูกสร้างขึ้นมา ก็จะส่งผลให้เอนไซน์ที่ชื่อว่า Elaterase ไปทำปฏิกิริยาดึงน้ำจากผลออก จนทำให้พืชตระกูลแตงมีรสขม โดยรสขมจะมีมากในปลายผลทั้งสองด้าน (ตรงกลางจะไม่ค่อยขม) และยังระบาดหรือส่งผลไปยังผลแตง ผลบวบที่อยู่ข้างเคียงอีกด้วย

นอกจากนี้... อุณหภูมิที่สูงเกินไป ความชื้นที่ต่ำเกินไป หรือว่าโดนแสงน้อยไป ระยะห่างระหว่างต้นน้อยเกินไป ใส่ปุ๋ยน้อยไป หรือการที่มีโรคทางใบ ก็เป็นอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดรสขมในพืชตระกูลแตงได้อ่ะค่ะ

ถ้าหากเป็นแถวบ้านแก้มใส แตงขม คือ แตงที่ขาดน้ำค่ะ
https://www.pim.in.th/others/196-bitter-cucumber.html
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=22930ebbcf8650f8


---------------------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©