-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 DEC * เพลี้ยกระโดด (1)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29 DEC * เพลี้ยกระโดด (2)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29 DEC * เพลี้ยกระโดด (2)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 29/12/2017 6:42 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29 DEC * เพลี้ยกระโดด (2) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 29 DEC

AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ
ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า....

--------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 3 มล. กว้าง 1 มม. ลำตัวมีสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น

ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ตัวเมียชนิดปีกยาวสามารถวางไข่ได้ 100 ฟอง และตัวเมียชนิดปีกสั้นสามารถวางไข่ได้ 300 ฟอง

ในช่วงชีวิต 2 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มเรียงแถวที่เส้นกลางใบหรือกาบใบ กลุ่มละประมาณ 8-10 ฟอง ซึ่งมองเห็นเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลตรงบริเวณที่วางไข่ และไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7-9 วัน

ตัวอ่อนลอกคราบ 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 11-17 วัน เพื่อเป็นตัวเต็มวัย โดยทั่วไปแล้วตัวเมียมีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 วัน ส่วนตัวผู้มีอายุเฉลี่ยประมาณ 13 วัน

ตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้นบินไม่ได้จะอาศัยอยู่ในแปลงนาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวและขยายพันธุ์ ส่วนพวกปีกยาวสามารถบินอพยพไปยังแปลงนาอื่นได้

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางใบหลังใบข้าวโดยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองเติบโตช้า ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ทำให้ข้าวแห้งตาย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ สามารถพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและอาหาร เช่น เมื่อมีอาหารมากจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกสั้นและขยายพันธุ์ได้มาก แต่เมื่ออาหารมีน้อยจะพัฒนาตัวเองเป็นชนิดปีกยาวเพื่ออพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น

เพื่อดำเนินการควบคุมตามคำแนะนำทางวิชาการ เช่น
- ควรกำจัดตัวแก่ที่มาเล่นแสงไฟตามบ้านด้วยการใช้สวิงโฉบ
- ใช้ใบตองทาน้ำมันพืช หรือน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว หรือกาวเหนียว
- ใช้เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ
- ใช้กับดักสีเหลืองกาวเหนียว เวลากลางวัน ติดทั่วแปลง
- ใช้แสงไฟล่อ ในสระน้ำ/น้ำในกะละมังขนาดใหญ่ เวลากลางคืน ติดริมแปลง
- เปิดไฟในบ้าน (ยิ่งมากบ้านยิ่งดี) ล่อเพลี้ยจากแปลงนาเข้ามาเล่นไฟ

ทั้งนี้ควรทำโดยพร้อมเพรียงกันในแต่ละชุมชนเพื่อลดจำนวนตัวแก่ที่จะวางไข่ในนา การระบายน้ำออกจากแปลงนาเพื่อให้แปลงนาไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของเพลี้ย และมดสามารถขึ้นมากัดกินเพี้ยได้ แต่ถ้าพบมากกว่า 5 ตัวต่อจุดสำรวจ ควรฉีดพ่นด้วย “เชื้อราบิวเวอเรีย” หรือ "สารสกัดสะเดา" หากการระบาดมีความรุนแรงมากก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการควบคุมแต่ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของราชการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ในการเฝ้าระวังการระบาดในแปลงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้สารเคมีโดยไม่มีความจำเป็นเพราะจะทำให้เกิดการอพยพของเพลี้ยกระโดดสีน้ำ แพร่กระจายมากขึ้น และยังเป็นการเสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
----------------------------------------------------------------------------------

เชื้อราบิวเวอเรีย คือ อะไร :

เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่จัดเป็นพวก "เชื้อราทำลายแมลง" สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิดทำลายแมลงโดยผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช และเป็นเชื้อราที่อาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง (Saprophyte)

การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย :
1. สปอร์เชื้อราตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก

2. เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง
3. สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป

ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียเข้าทำลาย :
1. แมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว
2. สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไป ปรากฎจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
3. พบเส้ยใย และผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย

วิธีการใช้เชื้อรา บิวเวอเรีย :
1. เชื้อราบิวเวอเรีย 1-2 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร ผสมสารจับใบ (กรองเอาเฉพาะน้ำ)
2. ควรให้น้ำแปลงพืชที่จะควบคุมศัตรูพืชประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนทำการพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย
3. นำเชื้อราไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมศัตรูพืชโดยต้อง
- พ่นให้ถูกตัวแมลงและศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยให้มากที่สุด
- ช่วงเวลาพ่นควรเป็นช่วงเวลาเย็น โดยมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอกและเจริญเติบโตของเชื้อราคือ ความชื้นสูง และแดดอ่อน

4. ให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น
5. สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมายให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ

เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะสมอฝ้าย ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ส้ม เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อดี :
ในการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค ไม่มีสารพิษตกค้าง
ข้อจำกัด : ความร้อน ความชื้น มีผลต่อการอยู่รอดของเชื้อรา และประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช

ศูนย์บริหารศัตรูพืช เชียงใหม่ 053-432-981
-------------------------------------------------------------------------------------

"วิธีการที่เกษตรกรนิยมใช้กันคือนำเชื้อราบิวเวอเรียมาผสมผสมในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นนำมาฉีดพ่นในแปลงนาข้าว ในช่วงเช้าหรือเย็นในพื้นที่ที่เพลี้ยกระโดดระบาด เชื้อบิวเวอเรีย 1 กิโลฉีดพ่นนาข้าวได้ 3-4 ไร่ ถามว่าผลเป็นอย่างไร ไม่100% เพราะบางครั้งไม่โดนตัวเพลี้ยที่อาจหลบอยู่ในกอข้าว แต่ถ้าใช้วิธีกับดักแสงไฟโดยใช้แสงไฟเป็นตัวล่อเพลี้ยกระโดดออกมาเล่นไฟแล้วใช้สารบิวเวอเรียฉีดพ่นจะได้ผลมากกว่าและใช้เวลาไม่นานด้วย"

อรรถพรอธิบายหลักการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยวิธีการล่อด้วยแสงไฟในเวลากลางคืน ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการดัดแปลงมาจากการใช้กับดักด้วยแสงไฟ โดยนำแสงไฟมาล่อเพื่อให้เพลี๊ยะกระโดดสีน้ำตามาเล่นไฟในเวลากลางคืนจากนั้นก็จะมีถุงตาข่ายดักจับ ก่อนนำไปทำลายทิ้งในวันรุ่งขึ้น แต่่วิธีการนี้จะเป็นการทำลายเฉพาะเพลี๊ยะตัวที่มาเล่นไฟเท่านั้น หากแต่วิธีการใหม่นี้จะใช้เพลี๊ยะเป็นพาหะนำเชื้อบิวเวอเรียแพร่ไปสู่ตัวอื่น ๆ ในท้องทุ่งนาด้วย ถือเป็นการตัดวงจรของเพลี้ยะไปในตัว ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในพื้นที่จ.อุทัยธานีเริ่มหันมากำจัดเพลี้ยะกระโดดสีน้ำตาในนาข้าวด้วยวิธีดังกล่าวนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ หลังได้มีการออกไปรณรงค์ส่งเสริม พร้อมแนะนำข้อดี ข้อเสียจากการใช้วิธีการเดิม

สำหรับสารเชื้อราบิวเวอเรียนั้นถือเป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช สามารถทำลายแมลงทั้งระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของแมลงพวกผีเสื้อ เพลี้ย แมลงหวี่ขาว ด้วง ตั๊กแตน ปลวก มอด มดคันไฟ ด้วงเต่า แมลงปีกแข็ง และไรศัตรูพืช การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย โดยจะให้สปอร์ของเชื้อราตกลงบนผนังลำตัวของแมลง จากนั้นสปอร์ก็จะเข้าสู่ลำตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนลำตัว เมื่อมีความชื้นเหมาะสม สปอร์งอกและแทงทะลุผนังลำตัว โดยเฉพาะบริเวณผนังลำตัวที่อ่อนบาง เช่น รอยต่อระหว่างปล้องหรือรยางค์ต่างๆ เชื้อราจะเจริญสร้างเส้นใย ทำลายชั้นไขมันและกระจายไปทั่วช่องว่างภายในตัวแมลง ทำลายอวัยวะและระบบกลไกต่างๆ ในตัวแมลงเมื่อเชื้อราสร้างเส้นใย จนเต็มตัวแมลง แมลงแสดงอาการเป็นโรค เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่เคลื่อนไหว และตายในที่สุด หลังจากนั้นเชื้อราจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกมาภายนอก และสร้างสปอร์คล้ายฝุ่น สีขาวปกคลุมตัวแมลง สปอร์แพร่กระจายไปตามลม ฝน แมลงที่มาเกาะบริเวณที่มีเชื้อรา หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อราก็จะทำลายแมลงศัตรูพืชต่อไป

ในขณะที่กำนันวิเชียร กีตา เกษตรกรบ้านป่าเลา ต.เขาบางแกรก อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรแกนนำที่ใช้สารเชื้อราบิวเวอเรียกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวด้วยวิธีการใช้เป็นพาหะจาการล่อแสงไฟเพื่อนำไปทำลายตัวอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จและพร้อมขยายผลไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเขาระบุว่าตนเแงมีที่นานประมาณ 40 ไร่ปลูกข้าวกข.43 เมื่อก่อนใช้สารเคมียาฆ่าแมลงทำการฉีดพ่น ส่งผลทำให้ต้นทุนสูง แต่หลังจากมีเจ้าหน้าที่มาส่งเสริมการใช้สารบิวเวอเรียเพื่อกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้จะเห็นผลช้ากว่าก็ตาม

“เมื่อก่อนผมใช้สารเคมียาฆ่าแมลงฉีดพ่น พอมาคำนวนต้นทุนการผลิตพบว่าเฉพาะยาฆ่าแลงอยู่ที่ 5-6 หมื่นต่อฤดูกาลผลิต แต่พอหันมาใช้สารชีวภัณฑ์จำนวนไตรโคเดอม่า เชื้อราบิวเวอเรีย ต้นทุนอยู่แค่หลักร้อยหลักพันเท่านั้นเอง และยังเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยแล้วที่สำคัญสารชีวภัณฑ์เหล่านี้สามารถไปขอได้ฟรีจากสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ใกล้บ้านท่านอีกด้วย"กำนันคนเดิมกล่าวทิ้งท้าย

นับเป็นอีกก้าวของการกำจัดแมลงศัตรูพืชในนาข้าว โดยเฉพาะเพลี้ยะกระโดดสีน้ำตาล ด้วยวิธีการล่อแสงไฟเพื่อใช้เป็นพาหะนำเชื้อราบิวเวอเรียแพร่กระจายไปสู่ศัตรูพืชชนิดอื่นในท้องนา เสมือนหนึ่งยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูงนั่นเอง

เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและวิธีการใช้ได้ที่คุณอรรถพร เฉยพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการและทีมงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี โทร.08-6655-0954 ,0-5651-1116 ได้ทุกวันในเวลาราชการ
---------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©