-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 DEC * เพลี้ยกระโดด (1)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 DEC * เพลี้ยกระโดด (1)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 DEC * เพลี้ยกระโดด (1)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 28/12/2017 8:03 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 28 DEC * เพลี้ยกระโดด (1) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 28 DEC

AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ
ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า....

--------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************

จาก : (084) 629-15xx
ข้อความ : 1. ข่าว ทีวี. นาข้าวขอนแก่น โดนเพลี้ยกระโดดกว่า 1 พันไร่ ทำไมเกษตรช่วยไม่ได้เลย ข่าวไม่บอกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือเพลี้ยกระโดดหลังขาว ถ้าเป็นผู้พันจะจัดการเพลี้ยไม่รู้ชื่อนี้ยังไง .... ขอบคุณครับ

จาก :
(084) 629-15xx
ข้อความ : 2. ข่าว ทีวี. ช่องเดิม เกษตรบอกว่า หลังเกี่ยวข้าวแล้วให้เผาฟาง เพื่อกำจัดเพลี้ย แต่ผู้
พันบอกไม่ให้เผา แบบนี้ชาวนาควรทำอย่างไร และจะจัดการเพลี้ยยังไง .... ขอบคุณครับ

ตอบ :

- ขึ้นชื่อว่า “เพลี้ย” เพลี้ยชื่ออะไรก็สุดแท้ ต่างก็คือแมลง “แมลงปากกัดปากดูด” เหมือนกันทั้งนั้น
- แมลงปากกัดปากดูด แมลงพาหะนำเชื้อโรค ขึ้นชื้อแมลง คือ “สัตว์” เหมือนกันทั้งนั้น
- ขึ้นชื่อว่า “สัตว์” หมายรวมมาถึง “มนุษย์ พืช จุลินทรีย์” ต่างก็มีวงจรชีวิต คือ เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ และมีสัญชาติญาณในการดำรงชีวิต เหมือนกันทั้งนั้นด้วย

- ซุน วู้ บอกว่า .... รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยกับหนึ่งครั้ง....ไม่รู้เรา ไม่รู้เขา รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยกับหนึ่งครั้ง ฉันใด คิดจะสู้รบกับเพลี้ยก็ใช้หลักการนี้ ฉันนั้น

- รายการสีสันชีวิตไทย บอกว่า .... ไม่มีพืชใดในโลกที่ไม่มีศัตรูพืช วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา ไม่มีสารเคมีใด ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เสียแล้วเสียเลย .... วิธีสู้กับศัตรูพืชที่ดีที่สุด คือ “ป้องกัน” กันก่อนแก้เท่านั้น

- เนื้อที่กว่า 1 พันไร่ เพลี้ย (ชื่ออะไรก็ช่าง) เข้ามาพร้อมกัน นั่นคือจำนวนเพลี้ยนับล้านตัวแน่นอน จำนวนตัวเพลี้ยไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือ เพลี้ยเหล่านี้เกิด (เน้นย้ำ....เกิด) พร้อมกันได้ยังไง ระหว่างที่ยังไม่มาหรือยังไม่เกิด (ปีที่แล้ว ปีก่อน ปีก่อนโน้น ๆ ๆ) มันอยู่ที่ไหน เกิด/กิน/แก่/เจ็บ/ตาย/ขยายพันธุ์ ยังไง
.....................................................................................................


เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนี้ ช่วงก่อนเกิดการระบาด คือ 1 ลด - 2 งด - 3 เพิ่ม โดย

ลด. อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็น 15-20 กก./ไร่

งด. ใช้สารเคมีฆ่าแมลงในระยะข้าวอายุน้อยกว่า 40 วัน
งด. ใช้อะบาเม็กติน และไซเพอร์เมทริน ในนาข้าว

เพิ่ม. การปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน
เพิ่ม. การปลูกพืชมีดอกบนคันนาเพื่อรักษาสมดุลศัตรูข้าว
เพิ่ม. การสำรวจตรวจเยี่ยมแปลงนาสม่ำเสมอ และเพื่อให้การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ได้ผล

หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ทำการตรวจนับความหนาแน่นของประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่กำลังระบาด และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการ

ช่วงหลังปักดำหรือผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป หว่านแล้ว 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควรควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ย จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และในระยะข้าวแตกกอ (อายุ 1-40 วัน หลังหว่านข้าว)

เมื่อตรวจพบตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วัยที่ 1-2 จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่

ส่วนในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อ 1 ต้น และไม่พบมวนเขียวดูดไข่หรือพบจำนวนน้อยมาก ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่

ในระยะข้าวใกล้เก็บเกี่ยว หากพบการระบาดโดยต้นข้าวในนามีอาการแห้งเป็นหย่อมๆ หรือพบมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบินมาเล่นแสงไฟ ให้ใช้เครื่องดูดแมลงล่อทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. เพื่อลดจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะอพยพไปยังแปลงปลูกข้าวใหม่

กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมการข้าว
-------------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©