-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ11OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(3)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ12OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(4)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ12OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(4)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/10/2017 6:19 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ12OCT *สมุนไพรป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช(4) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 12 OCT

AM 594 เวลา 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
http://www.nimut.com/
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://www.bkgmax.com/kaset/product.html
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

* และ ชมรมสีสะนชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว ที่ (081) 913-4986 โทรศัพท์เข้ารายการคุยกันสดๆ ออกอากาศ สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน (02) 888-0881 และอินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิมดอทคอม ถาม 1 บันทัด ตอบ 1 หน้า....

--------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************

จาก : (083) 669-26xx
ข้อความ : เรียนผู้พันคิม ขอข้อมูลเรื่อง ไอพีเอ็ม. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ด้วยครับ...ขอบคุณครับ

ตอบ :
Integrated Pest Management (IPM) : การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หมายถึง การเลือกสรรวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในควบคุมศัตรูพืช ได้รับผลตอบแทนสูงสุดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสาน
การป้องกันโรคและแมลง หากกระทำในเชิงเดียวเดี่ยวๆ มักจะไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ พืชที่ถูกโรคหรือแมลงเข้าทำลายเสียหายแล้ว ก็ไม่มียาหรือวิธีการใดทำให้ส่วนที่เสียหายไปแล้วกลับคืนมาได้ดังเดิม ดังนั้นการป้องกันก่อนถูกเข้าทำลายจึงเป็นวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด เพื่อลดความเสียหาย แต่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งย่อมไม่ได้ผลดีตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการผสมผสานหลายๆรูปแบบเข้ามาจัดการ ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องเข้าใจและรู้ถึงศัตรูของพืชที่เพาะปลูกว่า มีโรคและแมลงชนิดใดเข้าทำลายบ้าง ช่วงเวลาใด ระยะการเจริญเติบโตช่วงใด

และนี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการป้องกันในหลายๆรูปแบบ ที่นำมาเผยแพร่ให้พอได้ทราบเป็นแนวทาง โดยนำเอาวิธีการปฏิบัติจากเกษตรกรที่ทำจริงและหลายๆแนวทางจากหลักวิชาการ นำมาศึกษา เช่น

เขตกรรม :
1. ไถพรวนตากหน้าดิน
ก่อนการปลูกพืช ให้แสงแดด ความร้อน ทำลายโรคพืช หรือวัชพืชให้เหลือลดน้อยลง
2. ปล่อยน้ำขังค้างท่วมแปลงก่อนการเตรียมดิน ให้แมลง ศัตรูพืชอื่นๆ และวัชพืชถูกน้ำท่วมขังตายไปก่อน
3. ปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดทำลายวงจรชีวิตของแมลง วัชพืช และป้องกั้นการสะสมของเชื้อโรคพืช
4. การปลูกพืชแซม หมายถึง การปลูกพืชรองประเภทที่มีกลิ่นที่แมลงศัตรูไม่ชอบ แทรกหรือสลับลงในพืชประธาน

5. ซ้ำที่ แต่ไม่ซ้ำดิน หมายถึง การปลูกพืช(พุ่มเตี้ย) ในถุงดินที่ผ่านการกำจัดเชื้อโรคและบ่มด้วยจุลินทรีย์มาแล้วเป็นอย่างดี แล้วบรรจุถุงหรือภาชนะปลูกที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ แล้วนำไปปลูกในแปลงตามปกติ

6. ไถพรวนหลังเก็บเกี่ยวเพื่อทำลายที่อยู่อาศัยของ หนู ปู และวัชพืชที่อาจเป็นแหล่งอาศัยขงศัตรูพืชอื่นๆ เช่น แมลง เชื้อโรคพืช

7. พันธุ์ต้านทาน หมายถึง การใช้เมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดได้
8. การอนุรักษ์แมลงธรรมชาติ หมายถึง การปล่อยให้หญ้าวัชพืชหรือพืชอื่นๆไว้ในสวนจนดูรก และงดใช้สารเคมีบริเวณนั้นอย่างเด็ดขาด เพื่อปล่อยให้แมลงธรรมชาติที่เป็นศัตรูของแมลงศัตรูพืชได้อยู่อาศัย

9. การบำรุงให้พืช มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้พืชมีมิต้านทาน มีความแข็งแรงทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช

10. การ ปรับ/เปลี่ยน/เสริม/เติม สภาพแวดล้อมแบบเดิม ให้ไม่เหมาะสมต่อศตรูพืช ทำให้วัฏจักรของศัตรูพืชเสียกระทั่งศัตรูพืชนั้นตาย

11. การตัดแต่งกิ่ง ให้แสงแดดส่องได้ทั่วทรงพุ่ม อุณหภูมิในทรงพุ่มที่สูงขึ้นช่วย ป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชต่อพืชนั้นได้

http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/lecture/chapter12/sld036.htm

วิธีกล :
1. กับดักกาวเหนียว
คือ การใช้กาวเหนียวในการเกษตร ทาลงบนวัสดุสี เหลือง, ขาว, ฟ้า เพื่อเป็นการล่อแมลงให้เข้ามาเล่นสีแล้วติดกับกาว

2. แสงล่อ คือ การใช้แสงสว่างล่อแมลงกลางคืนเข้ามาเล่นไฟ โดยอาจจะล่อเหนือบ่อปลา หรือในนาแปลงข้าว โดยทากาวเหนียวจับแมลงไว้ใกล้ๆแสงล่อ

3. แสงไล่
คือ การใช้แสงไฟสีส้ม ติดตั้งริมแปลง โดยมีที่บังแสงด้านในสวน ให้แสงออกนอกสวนทางเดียว แมลงกลางคืนที่เห็นแสงสีส้มก็จะไม่เข้ามารบกวน

4. แสงล่อ - แสงไล่
คือ การใช้แสงทั้ง 2 ชนิด เข้าจัดการพร้อมกัน โดยแสงล่อจะใช้ภายในสวนและแสงไล่จะใช้อยู่ริมแปลงสวน

หมายเหตุ

แมลงกลางวันจะชอบเข้าเล่นวัสดุที่มีสีเหลือง เหมาะสำหรับ เพลี้ยไฟ, ไร, แมลงหวี่ขาว, และแมลงอื่นๆอีกหลายชนิด แสงสีม่วง ใช้ได้ผลดีกับ แม่ผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนกระทู้, หนอนกระทู้ดำ, หนอนกอข้าว, หนอนหงอนมันฝรั่ง, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยจักจั่นสีเขียว, แมลงหล่า, แมลงบั่ว

5. ห่อผล
คือ การใช้ถุงกระดาษหรือพลาสติกหรือถุงห่อผลไม้ เพื่อป้องกันแมลงปากกัก-ดูด เข้าทำลายผล เช่นแมลงวันทอง, แม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ หรือใช้ตาข่ายห่อผลทุเรียนเพื่อป้องกันกระรอก กระแต หรือค้างคาว

6. ควันไล่
คือ การอาศัยกลิ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยกลิ่นนั้นๆจะไปรบกวนประสาทการรับรู้ของแมลงศัตรูพืช ให้หนีไป

7. กลิ่นไล่
คือ การใช้กลิ่นระเหยที่สามารถรบกวนประสาทนำทางของแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าใกล้
8. กลิ่นล่อ
คือ การใช้กลิ่นสังเคราะห์หรือกลิ่นธรรมชาติ ล่อแมลงเข้ามาติดกับ
9. รสไล่ คือ การใช้น้ำคั้นจากพืชสมุนไพรที่มีรสขมจัด เผ็ดจัด ร้อนจัด นำไปฉีดพ่นลงในพืชที่ศัตรูชอบเข้ามากัดกิน

10. เสียงไล่
คือ การทำให้เกิดเสียงดังในรูปแบบวิธีการต่างๆ เพื่อให้สัตว์ที่เป็นศัตรูพืชตกใจและหนีไป
11. แสงไล่
คือ การใช้วัสดุสะท้อนแสงที่เคลื่อนไหวไปมาได้ เพื่อสะท้อนแสงเข้าตาสัตว์ที่จะเข้าทำลายให้ตกใจได้

12. แสงแดดกำจัดไข่และแมลงหรือหนอน
คือ การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดและอากาศผ่านเข้ามาได้โดยสะดวก

13. น้ำเปล่ากำจัดไข่แมลง
คือ การใช้น้ำเปล่ารดหรือฉีดพ่นให้เปียกทั่วทั่งในและนอกทรงพุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงหรือผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่

14. แสงแดดกำจัดรา
คือ การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องกระจายทั่วในทรงพุ่มจนเกิดความร้อน ที่สามารถกำจัดเชื้อราได้

15. การทำน้ำท่วม คือ
การปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นที่นา เพื่อเป็นเป็นการไล่หนู,ปูที่ทำรูอยู่ตามคันนา
16. น้ำมันลวงตา
คือ การฉีดพ่นสารที่เป็นน้ำมัน เช่นน้ำมันพืช ลงบนต้นพืชช่วงกลางวัน
17. กลิ่นลวง คือ การใช้กลิ่นพืชชนิดอื่น ฉีดพ่นลงบนต้นพืชเพื่อให้แมลงกลางคืนที่เดินทางโดยใช้กลิ่นนำทาง จะเกิดความเข้าใจผิด

ชีววิธี
1. สัตว์กำจัดแมลง
คือ การอนุรักษ์ กบ เขียด งู ตะปาด จิ้งจก หรือสัตว์อื่นใด ที่ดำรงชีวิตด้วยการกินแมลง/สัตว์ที่เป็นศัตรูของพืช

2. กำจัดเชื้อโรคปนเปื้อน
คือ การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือเจือจาง นาน 6-12 ชม. เพื่อกำจัดโรคที่มากับเมล็ดพันธุ์

3. ตัดวงจร
คือ การเลิกหรือระงับการปลูกพืชที่เคยเกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรู
4. ตัวห้ำ-ตัวเบียน คือ แมลงหรือสัตว์ตามธรรมชาติ ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการกินไข่หรือตัวอ่อนหรือแมลงที่เป็นศัตรูพืช เป็นอาหาร

5.ชื้อโรค
คือ การใช้จุลินทรีย์ (มีประโชน์) เช่น เอ็นพีวี. บาซิลลัสส์ ซับติลิสต์, ไส้เดือนฝอย,
6. ตัวห้ำ (ห้ำหันเข่นฆ่า) เช่น นก งู กิ้งก่า กบ มวนพิฆาต มานเพชฌฆาต ด้วงเต่าลาย แมงมุม

7. ตัวเบียน (เบียดเบียนที่อยู่ที่กิน)
แมลงเบียนจะเข้าทำลายในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต เช่น ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด


วิธีกล :

1. การจับแมลงด้วยมือ หรือเขย่าต้นไม้ หรือการเก็บดักแด้ของหนอนกินใบสักที่อยู่ตามเศษใบไม้แห้งบนพื้นดิน
2. การใช้ตาข่ายคลุมแปลง (กางมุ้ง) เพื่อป้องกันแมลงจากภายนอกแปลงเข้ามาทำลายภายในแปลง
3. การใช้เครื่องยนต์ เช่น เครื่องจับตั๊กแตน หรือเครื่องดูดแมลง
4. การใช้รังสีในการปราบแมลง เช่น การฉายรังสีทำให้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน
5. การใช้เครื่องทำเสียง เพื่อไล่แมลง
6. การใช้ความร้อน เช่น การนำดินมาผ่านความร้อนเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน

ผสมผสาน :

หมายถึง การเลือกใช้วิธีควบคุมศัตรูพืชที่มีอยู่อย่างรอบคอบ แล้วนำมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชและคงไว้ซึ่งระดับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ อย่างคุ้มค่าและลดหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม IPM เน้นการปลูกพืชให้แข็งแรง ให้มีการกระทำที่อาจรบกวนระบบนิเวศเกษตรน้อยที่สุด และสนับสนุนกลไกการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช

หลักการที่สำคัญของ IPM มี 4 ประการ คือ

- ปลูกพืชให้แข็งแรง
- เข้าใจและรักษาไว้ซึ่งศัตรูธรรมชาติ
- ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการจัดการพืช
- ปลูกพืชให้แข็งแรง
- พันธุ์ต้านทาน
- เมล็ดและต้นกล้าที่แข็งแรง
- การเตรียมดิน
- การกำหนดระยะห่างที่เหมาะสม
- การให้ปุ๋ย
- การให้น้ำอย่างเป็นระบบ
- การปลูกพืชหมุนเวียน
- การเข้าใจและรักษาไว้ซึ่งศัตรูธรรมชาติ

สำรวจแมลงศัตรู :

1. ศึกษาการระบาดของแมลงระดับความเสียหายของพืชว่าอยู่ในระดับใดที่ควรจะมีการป้องกัน/กำจัดเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าหากมีความเสียหายยังไม่มากก็ยังไม่ต้องทำการป้องกัน/กำจัด เนื่องจากไม่คุ้มค่า

2. นับศัตรูพืช สำรวจการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
3. สุ่มสำรวจ 10 จุด เพื่อนับเปอร์เซ็นต์การระบาดของแมลง

วิธีอื่นๆ :

1. การปลูกพืชให้แข็งแรงเป็นหัวใจสำคัญในการทำฟาร์ม พืชที่แข็งแรงจะสามารถต้านทานศัตรูพืช และโรคได้ วิธีการจัดการพืชหลายวิธีมีผลต่อความแข็งแรงของพืช และสามารถใช้ในการจัดการ ปัญหาของพืชได้

2. มาตรการตัดวงจรชีวิต (เกิด กิน แก่ เจ็บ ตาย ขยายพันธุ์)
3.

-------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©