-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 17 AUG *มะละกอ (3)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 17 AUG *มะละกอ (3)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 17 AUG *มะละกอ (3)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 17/08/2017 6:43 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 17 AUG *มะละกอ (3) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 17 AUG

AM 594 เวลา 07.35-08.00 (ทุกวัน) และ 08.15-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียว ดัก/ล่อ/ฆ่า แมลง ฟลายแอต สเปร์ย,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด, ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......


**********************************************************


สายตรง (4): (062) 183-02xx
สรุปคำถาม : บางแสน ชลบุรี สวนเกษตรส้มตำ ควรปลูกอะไร ? จัดแปลงอย่างไร ? ใช้สปริงเกอร์อย่างไร ? ส้มตำมีกี่สูตร ?

ตอบ :
"ส้มตำมีกี่สูตร ? กี่สูตร ? กี่สูตร ?" ฟังคำถามนี้แล้วให้ คิด คิด คิด และคิดคิดคิด +คิดคิดคิด
- คิด 1 : ส้มตำมีทั่วประเทศ แต่ละที่มีสูตรของตัวเอง แล้วจะรวบรวมจนครบสูตร...ทำได้ไง
- คิด 2 : ต้องสวมวิญญาณนักคิด นักค้นคว้า นักอ่าน นักถาม นักคุย....จะทำไง
- คิด 3 : จากการอ่าน อ่าน และอ่าน คิดอยู่ว่า คนเขียนมีข้อมูลมากมาย....เขาเอามาจากไหน
- คิด 4 : เขียนน่ะ ยากกว่าอ่าน ยากกว่าพูด ยากกว่าหลายร้อยเท่า .... ไม่เชื่อลอง

- คิด 5 : รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) เขียนไว้ : ผู้ชายในโลกบอกว่าชีวิตนี้ขอ มีบ้านอย่างอเมริกัน มีเมียอย่างญี่ปุ่น มีอาหารอย่างจีน .... ลุงคิมว่า แล้วคุณผู้หญิงล่ะ จะบอกยังไง

- คิด 6 : แกงกะหรี่ หลายๆประเทศบอกตัวเองเป็นเจ้าของสูตร แต่ประเทศที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสูตรบอก แกงกะหรี่ไทย อร่อยที่สุด

- คิด 7 : ผลสำรวจ อาหารไทยที่ต่างชาติยอมรับ 10 อย่าง ลำดับที่ 8 คือ ส้มตำมะกอ

- คิด 8 : รู้ส้มตำให้กะจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล....ทำขายซี่ ทำให้ได้ทุกๆ สูตร รับรองลูกค้าไม่ขาดร้าน เผลอๆสั่งทาง ปณ. จองล่วงหน้า

- คิด 9 : สังคมคนกินทุกวันนี้ ซอกแซกกิน ต้มตำอร่อยแล้ว บรรยากาศต้องแซ่บด้วย
- คิด 10 : จับหลัก ส้มตำ ซูพรียม พรีเมียม เกรด เอ. จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกทุกฤดู ปลอดสารเคมี พันธะสัญญา ลดแลกแจกแถมบริการ .... เชื่อเถอะ ไม่พอขาย

สรุป : ส้มตำอย่างเดียว คิด 10 ตลบ ได้ประมาณนี้....คิดต่อซี่ เช่น ทำกระป๋อง ส่งออก เปิดสาขา ตปท.เหมือนพิซซ่า เคเอฟซี. โฆษณาให้บ้าเลือด



- สวนส้มตำ หมายถึง แปลงปลูกพืชที่ใช้ปรุงส้มตำโดยตรง หรือโดยเฉพาะ
- ส้มตำ หมายถึง ส้มตำมะละกอ (ส้มตำไทย ส้มตำลาว ส้มตำฝรั่ง ส้มตำเขมร ส้มตำพม่า ฯลฯ)
- พืชผักหลักสำหรับส้มตำ ได้แก่ มะละกอ พริกขี้หนู มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว มะนาว
- พืชผักเสริมสำหรับส้มตำ ได้แก่ แครอท แตงร้าน ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักชีฝรั่ง ถั่วงอก ใบชะพลู กระถิน ใบมะยม

ประโยชน์ของส้มตำ:

- มีเส้นใยอาหารสูง ในส้มตำมะละกอมีเส้นใยอาหารถึง 2.7%
- ไขมัน ต่ำ
- ให้พลังงานต่ำ เหมาะกับคนลดความอ้วน
- วิตามิน และ แร่ธาตุ จากตัวส้มตำเอง และจากผักสดที่กินคู่กับส้มตำ
- ได้รับประโยชน์ทางยาจากพืชสมุนไพรที่กินกับส้มตำ เช่น บัวบก ผักพื้นบ้าน ฯลฯ

อันตรายจากส้มตำ :
- ยาฆ่าแมลง :
พบการตกค้างในผักที่จะนำมาปรุงส้มตำ และเป็นเครื่องเคียง
- สารฟอร์มาลิน : เป็นน้ำยาใช้ดองศพ มีพ่อค้า แม่ค้าส้มตำบางรายนำมาชุบมะละกอสับเพื่อไม่ให้บูด
- สารอัลฟาทอกซิน : เป็นสารพิษที่เกิดจากราสีดำ สร้างและทิ้งไว้ในอาหาร ราชนิดนี้ชอบอากาศร้อน ซึ่งมีอยู่ในพื้นดินและอากาศ
- สีในกุ้งแห้ง : เป็นสิ่งที่ใช้เติมแต่งสีให้ดูสวยงาม
- สารฟอกขาว : ถูกนำมาใช้ในอาหารหลายประเภท เพื่อฟอกสีที่ไม่สวยหรือดำให้ดูขาวสะอาด

http://yoke-sirilak.blogspot.com/2010/01/blog-post.html


ประเภทส้มตำ :
ตำปลาร้า :
คือส้มตำที่ใส่ปลาร้าหรืออีสานเรียกว่าปลาแดกหรือปลาร้าเป็นหลัก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและประเทศลาว และถือเป็นตำไทยอีสานอย่างหนึ่ง

ตำปู : คือส้มตำที่ใส่ปูเค็มหรือปูดองแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ บางแห่งนิยมปูดิบ บางแห่งนิยมปูสุก บางแห่งนิยมปูนา หรือปูทะเล

ตำปูปลาร้า : คือส้มตำที่ใส่ทั้งปูและปลาร้าลงไป
ตำไทย : คือส้มตำที่ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู

ตำลาว : คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาวที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไทยซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาแดกและมะละกอดิบเป็นหลัก บางครั้งเรียกว่า "ตำปาแดก" ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เดิมแล้วเรียกตำลาวว่า "ตำหมากหุ่ง"

ตำซั่ว : คือส้มตำที่ใส่ทั้งเส้นเข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ ผักดอง น้ำผักดอง ข้าวคั่ว หอย ถั่วงอก นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน

ตำมั่ว : คือตำซั่ว ที่ใส่เครื่องให้มากขึ้น เช่น กุ้งแห้ง ลูกชิ้น หอมบั่ว (ต้นหอม) หอมเป (ผักชีฝรั่ง) ตลอดจนปลาแห้ง ปลากรอบ หมูยอ หรือหมูหยอง เป็นต้น

ตำป่า : คือส้มตำที่ใส่เครื่องและผักหลายชนิด เช่น หน่อไม้ ผักกะเสด (ผักกระเฉด) ผักกาดดอง ปลากรอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ เป็นต้น จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน มีชื่อเสียงที่สุดคือ ตำป่าจากจังหวัดมหาสารคาม เรียกติดปากว่า "ตำป่าสารคาม"

ตำไข่เค็ม : คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยกับไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด

ตำหมูยอ : คือส้มตำที่ใส่หมูยอกับเส้นมะละกอดิบ
ตำปลากรอบ : คือส้มตำที่ใส่ปลารอบรสหวานกับเส้นมะละกอดิบ
ตำปลาแห้ง : คือส้มตำที่ใส่ปลาแห้งชนิดใดชนิดหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ
ตำหมากหอย (ตำหอย) : คือส้มตำที่ใส่หัวหอยเชอรี่ต้มหรือลวกให้สุกกับเส้นมะละกอดิบ
ซกเล็ก : คือตำซั่วชนิดหนึ่งของชาวอีสานตอนกลาง เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ เป็นต้น นิยมใส่เส้นขนมจีนเป็นหลักและมีสูตรแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น

ตำถาด : คือส้มตำทั่วไปที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคอีสานของไทย เนื่องจากชาวไทยอีสานนั้น เมื่อมีการจัดงามมงคลหรืออวมงคลของหมู่บ้าน ตลอดจนงานเทศกาลสำคัญทางศาสนา ประชาชนนิยมทำส้มตำรับประทานกันเป็นหมู่คณะ จึงตำเป็นจำนวนมาก ๆ แล้วเทใส่ถาด หรือภาชนะขนาดใหญ่ เพื่อจะได้รับประทานกันอย่างทั่วถึงและแสดงความใกล้ชิดกัน ต่อมาชาวอีสานในภาคกลางของประเทศไทยและชาวไทยที่ประกอบอาชีพขายส้มตำบางกลุ่ม จึงนำมาประยุกต์ตามร้านอาหารในเมือง ตำถาดนั้นนิยมใส่ส้มตำไว้กลางถาด และวางเครื่องเคียงอื่น ๆ ลงไปให้รายรอบถาด เช่น หมูยอ แหนม ปลากรอบ หอยเชอรี่ หอยแครง ไข่ต้ม ไข่เค็ม ผัดหมี่โคราช เส้นหมี่ลวก เส้นเล็กลวกโรยด้วยกระเทียมเจียว เส้นขนมจีน ถั่วงอก ผักดอง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้งต้น ผักบุ้งซอย ผักลวก เป็นต้น

ตำถาดกระบี่ :
ตำแคบหมู :
คือ ส้มตำที่ใส่แคบหมูลงไป
ตำคอหมูย่าง (ตำหมูตกครก) : คือส้มตำที่ใส่คอหมูย่างลงไป
ตำกุ้งเต้น : คือส้มตำที่ใส่กุ้งเต้นลงไป แต่ไม่ปรุงรสแบบลาบหรือก้อย
ตำปลาดุกย่าง (ปลาดุกตกครก) : คือส้มตำที่ใส่ปลาดุกย่างลงไป
ตำตีน (ตำเท้าโคขุน) : คือส้มตำที่ใส่เท้าโคขุนต้มเปื่อยลงไป เป็นที่นิยมในจังหวัดสกลนคร


ประเภทส้มตำเส้น :

คือส้มตำที่ใส่อาหารจำพวกเส้นลงไป เช่น เส้นเล็ก เส้นใหญ่ วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นหมี่โคราช เส้นข้าวเปียก (เส้นก๋วยจั๊บญวน) หรือเส้นเซี่ยงไฮ้ อย่างใดอย่างหนึ่งกับเส้นมะละกอดิบ
ตำเข้าปุ้น (ตำขนมจีน) : คือส้มตำที่ใส่เส้นขนมจีนกับเส้นมะละกอดิบ บางครั้งก็ไม่ใส่เส้นมะละกอ

ตำมาม่า : คือส้มตำที่ใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อต่าง ๆ เช่น มาม่า ไวไว นำไปลวกน้ำร้อนตำกับเส้นมะละกอดิบ

ตำด้องแด้ง (ตำหัวไก่) : คือส้มตำลาวที่ใส่เข้าปุ้นหรือเส้นขนมจีนขนาดใหญ่เท่านิ้วก้อย เรียกว่า เส้นหัวไก่ ลงไป เป็นตำที่อร่อย มีเอกลักษณ์ และหารับประทานได้ยากมาก


ประเภทส้มตำพืชผัก :
ตำหมากแตง (ตำแตง) :
คือส้มตำที่ใส่แตงกวาแทนมะละกอดิบ
ตำแตงไข่เค็ม : คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและไข่เค็มแทนมะละกอดิบ
ตำแตงหมูยอ : คือส้มตำที่ใส่แตงกวาและหมูยอแทนมะละกอดิบ
ตำหมากถั่ว (ตำถั่ว) : คือส้มตำที่ใส่ถั่วฝักยาวแทนมะละกอดิบ
ตำข่า : คือส้มตำที่ใส่ลำต้นข่าแทนมะละกอดิบ
ตำหัวซิงไค (ตำตะไคร้) : คือส้มตำที่ใส่ลำและหัวตะไคร้แทนมะละกอดิบ
ตำหมากสาลี (ตำข้าวโพด) : คือส้มตำที่ใส่ข้าวโพดแทนมะละกอดิบ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว
ตำแคร์รอต : คือส้มตำที่ใส่แคร์รอตดิบเป็นส่วนผสมหลักร่วมกับมะละกอ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว

ตำแก่นตะวัน : คือส้มตำที่ใส่แก่นตะวัน (ทานตะวันหัวหรือแห้วบัวตอง) แทนมะละกอดิบ ถือเป็นส้นตำชนิดใหม่ที่ไม่นิยมทานกันนัก และไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวอีสานและชาวลาว แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเนื่องจากเป็นพืชที่มีแคลอรีต่ำ ไม่เป็นที่นิยมในชาวอีสานและชาวลาว


ประเภทส้มตำผลไม้ :
ตำหมากไม้ (ตำผลไม้รวม) :
คือส้มตำที่ใส่ผลไม้หลาย ๆ ชนิดลงไป เช่น มะละกอ แอปเปิล สับปะรด องุ่น ชมพู่ แตงโม .... ล่าสุด คือ ส้มตำทุเรียน” เป็นต้น

ตำหมากม่วง (ตำมะม่วง) : คือส้มตำที่ใส่มะม่วงดิบแทนมะละกอดิบ
ตำหมากขาม (ตำมะขาม) : คือส้มตำที่ใส่มะขามดิบแทนมะละกอดิบ ใส่ได้ทั้งมะขามขนาดเล็กที่ไม่มีเมล็ดและมะขามขนาดใหญ่ที่มีเมล็ดแล้ว แต่เอาเมล็ดออก

ตำหมากกล้วย (ตำกล้วย) : คือส้มตำที่ใส่กล้วยดิบแทนมะละกอดิบ
ตำหมากยอ (ตำลูกยอ) : คือส้มตำที่ใส่ลูกยอดิบแทนมะละกอดิบ
ตำหมากต้อง (ตำกระท้อน) : คือส้มตำลาวที่ใส่ลูกกระท้อนลงไป ไม่นิยมใส่เส้นมะละกอดิบ
ตำหมากเดื่อ (ตำลูกมะเดื่อ) : คือส้มตำที่ใส่ผลมะเดื่อแทนมะละกอดิบ ไม่นิยมใส่มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว เส้นมะละกอลงไป แต่นิยมปลาร้า พริก กระเทียมลงไป

ตำสับปะรด : คือส้มตำที่ใส่สับปะรดสุกแทนมะละกอดิบ


ประเภทส้มตำประจำท้องถิ่น :
ตำโคราช :
คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า ใส่เส้นขนมจีน ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน

ตำเวียง (ตำเวียงจันทน์) : คือส้มตำลาวที่มีอิทธิพลมาจากประเทศไทย บางกลุ่มนิยมใส่กะปิแทนปาแดก (ปลาร้า) และนิยมใส่เม็ดกระถินลงไปด้วย เพราะกะปิต้องทำมาจากกุ้งแดงในทะเล ประเทศลาวไม่ติดทะเล ตำเวียงจึงเป็นอาหารลาวที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศไทย

ตำเชียงใหม่ (ตำเชียงใหม่) : คือส้มตำลาวที่ใส่หอยเชอรี่และหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ลงไป อย่างไรก็ตาม ตำเชียงใหม่ไม่ได้กำเนิดที่เชียงใหม่ แต่กำเนิดที่อีสาน

ตำพม่า : คือส้มตำของชาวพม่า ในประเทศพม่า
ตำเขมร : คือส้มตำของชาวเขมร ในประเทศกัมพูชา
ตำไทเหนือ : คือส้มตำที่ชาวไทยทางภาคเหนือหรือชาวล้านนาไปตำรับประทานกัน ส้มตำของชาวล้านนามักมีรสหวานจัด ไม่เผ็ดมาก และหน้าโรยด้วยถั่วลิสง บางแห่งใส่ปลาร้าดิบเป็นตัว หรือใส่ปลาร้าที่ไม่ปรุงรส ปลาร้าบางแห่งเต็มไปด้วยข้าวคั่วและรำข้าว ปลาร้าบางแห่งมีรสจืดชืด ไร้กลิ่น ชาวเหนือนิยมใส่มะเขือเทศลูกใหญ่ลงในส้มตำ ทำให้น้ำส้มตำมีรสคาว

ตำบูดู : คือส้มตำที่ใส่น้ำบูดูของชาวไทยภาคใต้

ตำน้ำปู :
คือส้มตำที่ใส่น้ำปูของชาวไทยภาคเหนือ


ประเภททะเล :
ตำปูม้า :
คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่ปูม้าดิบลงไปด้วย ปรุงรสแบบส้มตำไทย
ตำหอยดอง : คือส้มตำของชาวไทยที่ใส่หอยดองลงไปด้วย ได้รสชาติความอร่อยที่แปลกไป ไม่เป็นที่นิยมในชาวลาวและชาวอีสาน

ตำทะเล (ตำทะเลรวม) : คือส้มตำที่ใส่อาหารทะเลลงไปด้วย เช่น กุ้งสด กุ้งแห้ง ปลาหมึกสด ปลาหมึกแห้ง ลูกชิ้นปลา ปูนึ่ง เป็นต้น
ตำหอยแครง : คือส้มตำที่ใส่หอยแครงลวกลงไป
ตำปลาหมึกแห้ง : คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกแห้งฉีกหรือสับลงไป
ตำปลาหมึก (ตำปลาหมึกสด) : คือส้มตำที่ใส่ปลาหมึกสดลวกลงไป
ตำกุ้งแห้ง : คือส้มตำที่ใส่กุ้งแห้งลงไป
ตำกุ้งสด : คือส้มตำที่ใส่กุ้งสดลงไป


การปรับปรุงส้มตำตามยุคสมัย :

ปัจจุบันมีการนำส้มตำไปเป็นอาหารหลากหลายโดยยังคงส่วนประกอบหลัก แต่เปลี่ยนแปลงหน้าตาเช่น นำมะละกอไปทอด หรือผักอื่นไปทอด แล้วนำมาทำเป็นส้มตำ โดยราดน้ำยำแบบส้มตำพร้อมผัก จนกลายเป็นอาหารชนิดใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “ส้มตำกรอบ” หรือนำส้มตำไปใช้ราดแทนน้ำยำตามปกติ แต่ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใดก็ตาม หากยังคงรสชาติและวัตถุดิบในการทำก็ยังคงมีการใช้คำว่า “ส้มตำ” อยู่เสมอ

https://th.wikipedia.org

-------------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©