-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29JUN *สมุนไพร (86)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29JUN *สมุนไพร (86)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29JUN *สมุนไพร (86)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/06/2016 11:55 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 29JUN *สมุนไพร (86) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 29 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 10 :

ผลกระทบจากสารเคมีที่มีต่อสุขภาพของคนใช้ :


ปัจจัยที่ทำให้สารเคมี มีผลต่อสุขภาพของคน จากการศึกษาของ Dr.Helen Marphy ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิษวิทยา จากโครงการ Community IPM จาก FAO ประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ปัจจัยที่มีความเสี่ยงของสุขภาพของคน อันดับต้นๆ คือ

1. เกษตรกรใช้สารเคมีชนิดที่องค์การ WHO จำแนกไว้ในกลุ่ม 1a และ 1b คือ ที่มีพิษร้ายแรงยิ่ง (Extremely toxic) และมีพิษร้ายแรงมาก (Very Highly toxic) ตามลำดับ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงทำให้เกิดการเจ็บป่วยแก่เกษตรกรที่ใช้สารพิษ โดยเฉพาะสารทั้งสองกลุ่ม ดังกล่าว

2. การผสมสารเคมีหลายชนิดฉีดพ่นในครั้งเดียว ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้เกิดความเข้ม ข้นสูง ทำให้เกิดการแปรสภาพโครงสร้างของสารเคมี เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแพทย์ไม่สามารถรักษาคนไข้ได้ เนื่องจากไม่มียารักษาโดยตรง จึงทำให้คนไข้มีโอกาสเสียชีวิตสูง

3. ความถี่ของการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งหมายถึงจำนวนครั้งที่เกษตรกรฉีดพ่น เมื่อฉีดพ่นบ่อยโอกาสที่จะสัมผัสสารเคมีก็เป็นไปตามจำนวนครั้งที่ฉีดพ่น ทำให้ผู้ฉีดพ่นได้รับสารเคมีในปริมาณที่มาก สะสมในร่างกาย และในผลผลิต

4. การสัมผัสสารเคมีของร่างกายผู้ฉีดพ่น บริเวณผิวหนังเป็นพื้นที่ ๆมากที่สุดของร่างกาย หากผู้ฉีดพ่นสารเคมีไม่มีการป้องกัน หรือเสื้อผ้าที่เปียกสารเคมี โดยเฉพาะบริเวณที่มือและขาของผู้ฉีดพ่น ทำให้มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้เพราะสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชถูกผลิตมาให้ทำลายแมลงโดยการทะลุทะลวง หรือดูดซึมเข้าทางผิวหนังของแมลง รวมทั้งให้แมลงกินแล้วตาย ดังนั้น ผิวหนังของคนที่มีความอ่อนนุ่มกว่าผิวหนังของแมลงง่ายต่อการดูดซึมเข้าไปทางต่อมเหงื่อ นอกเหนือจากการสูดละอองเข้าทางจมูกโดยตรง จึงทำให้มีความเสี่ยงอันตรายมากกว่าแมลงมากมาย

5. พฤติกรรมการเก็บสารเคมี และทำลายภาชนะบรรจุไม่ถูกต้อง ทำให้อันตรายต่อผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะเด็กๆ และสัตว์เลี้ยง

องค์การอนามัยโลกได้จัดลำดับความรุนแรงของสารเคมีในรูปของการจัดค่า LD50 ซึ่งค่า LD50 นี้หมายถึง ระดับความเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ โดยคำนวณบนฐานของการทดลองกับหนู ซึ่งจะคิดจากปริมาณของสารเคมีเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนูเป็นกิโลกรัม ที่สามารถมีผลต่อการฆ่าหนูจำนวน 50% ของหนูทดลองทั้งหมด

ระดับความรุนแรงจากพิษของสารเคมีในแต่ละระดับ สามารถมองรายละเอียดในรูปของปริมาณของสารเคมี ซึ่งมีผลต่อการทดลองในหนู ตามรายละเอียดในตารางต่อไปนี้


สัมผัสกับผิวหนัง หรือดวงตา :

การสัมผัสกับผิวหนัง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการได้รับอันตรายจากสารเคมี ที่พบได้อยู่เสมอในอัตราที่ค่อนข้างสูงในระหว่างการปฏิบัติงาน สารเคมีหลายชนิดสามารถทำให้เกิดอันตรายกับผิวหนังได้โดยตรง เช่น

- ทำให้เกิดความระคายเคือง ไปจนถึงอาการแพ้
- สารกัดกร่อนทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังในบริเวณที่สัมผัส และ
- สารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต

การเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส อาจเกิดผ่านช่องทางต่างๆ อาทิเช่น รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และผิวหนังชั้นนอก เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้การเข้าสู่ร่างกายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมีความว่องไวหรือความรุนแรงในการทำปฏิกิริยาเคมีของสารเคมี ความสามารถในการละลายน้ำ สภาพและลักษณะความหนาบางของผิวหนังบริเวณที่ได้รับการสัมผัส และระยะเวลาที่สัมผัส

การสัมผัสบริเวณดวงตาเป็นเรื่องอันตรายที่รุนแรงที่สุด เนื่องจากดวงตาเป็นส่วนของร่างกายที่ละเอียดอ่อนมากที่สุดส่วนหนึ่ง ดวงตาเป็นส่วนที่มีเส้นประสาท และเส้นโลหิตฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมาย จึงเป็นแหล่งที่จะดูดซับสารพิษต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สารเคมีส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อดวงตา ตั้งแต่ทำให้เกิดการระคายเคือง สร้างความเจ็บปวด สูญเสียความ สามารถในการมองเห็น ไปจนถึงทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้ พบว่ามีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา

อ้างอิง : กระทรวงวิทยาศาสตร์
------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (86) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง

“สะเดา”

การใช้ “สะเดา” กำจัดตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนใยผัก หนอนกอเจาะสมอฝ้าย หนอนบุ้งปอแก้ว แมลงในโรงเก็บ ไส้เดือนฝอย

สารสกัดสะเดาที่มีอยู่ ในเมล็ดและใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ป้องกันและกำจัดแมลงได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยกระ โดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนใยผัก หนอนกอเจาะ สมอฝ้าย หนอนบุ้งปอแก้ว แมลงในโรงเก็บ ไส้เดือนฝอย และ ด้วงหมัด เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอ หนอนกอสีครีม ด้วงเต่าฝักทอง หนอนชอนใบส้ม ผีเสื้อมวนหวาน หนอนม้วนใบข้าว แมลงหวี่ขาวฝ้าย ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หนอนกระทู้กัดต้น หนอนบุ้งปอแก้ว หนอนเจาะลำต้นลายจุดในข้าวโพด และข้าวฟ่าง

การใช้สารสะกัดจากใบหรือกิ่งสะเดา :
วิธีทำ

- ตัดกิ่งหรือใบสะเดา ให้เป็นท่อนๆ ขนาด 5 เซนติเมตร ในอัตราส่วนตามต้องการ
- ตัดต้นตะไคร้หอม ให้เป็นท่อนๆ ขนาด 5 เซนติเมตร ในอัตราส่วนตามต้องการ โดยเทียบใช้ในอัตราเดียวกันกับสะเดา

++ ผสมสะเดาเข้ากับตะไคร้หอม ในสัดส่วที่เท่ากัน จากนั้นนำไปต้มกับน้ำ โดยใส่น้ำใหท่วมส่วนผสม แล้วเคี่ยวนาน ครึ่งชั่วโมง-1 ชั่วโมง ก็จะได้สารละลายสีเขียวคล้ำ นำไปใช้กำจัดแมลงได้ผลดี ใช้ฉีดพ่นบนพืช เช้า-เย็น วิธีนี้จะสามารถไล่แมลง ยับยั้งการเติบโตของแมลง ซึ่งใช้ไดกับหอนชอนใบส้ม หนอนใยผัก เพลี้ยอ่อน
วิธีใช้
นำสารละลายที่ได้ 1 ส่วน ผสมเข้ากับน้ำ 1 ส่วน แล้วเติมสารจับใบเช่น สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เล็กน้อย

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1
โรยเมล็ดสะเดาบดตามแปลงผักเพื่อปรับสภาพดิน
วิธีที่ 2 นำเมล็ดสะเดา 1 กก. บดให้ละเอียด ห่อผ้าแช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น

วิธีที่ 3
นำเมล็ดและใบสะเดา เหง้าข่าแก่ ตะไคร้หอม อย่างละ 2 กก. สับให้ละเอียด แล้วตำหรือบดรวมกัน แช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองเอาหัวเชื้อที่ได้ ผสมน้ำเปล่า 1 ปี๊บ ต่อน้ำยา 0.5 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น

วิธีที่ 4
นำเมล็ดสะเดาแห้ง ที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด และเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด แล้วนำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำ ในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุงผ้าขาวบาง แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วัน ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อให้สาร อะซาดิแรคติน ที่อยู่ในผลสะเดา สลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก บีบถุงให้น้ำในผงสะเดาออกมาให้หมด ก่อนใช้นำน้ำที่ได้ผสมน้ำสบู่หรือแชมพู แล้วนำไปฉีดพ่น

----------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©