-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24JUN * สมุนไพร (83), C/N RATIO
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24JUN * สมุนไพร (83), C/N RATIO
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24JUN * สมุนไพร (83), C/N RATIO

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 24/06/2016 10:14 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24JUN * สมุนไพร (83), C/N RATIO ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



เล่าสู่ฟัง เรื่องยาฆ่าแมลง 7 :

ที่สุพรรณบุรี อำเภอ/ตำบล/บ้าน ไม่บอก แหล่งรับซื้อแห้วสด ปอกแห้ว ต้มแห้ว ส่งโรงงานแห้วกระป๋อง ถึงฤดูกาลจะมีแรงงานมารับจ้าง 10-20 คนประจำ ทำงานเช้าถึงค่ำ ตลอดระยะ 10-20 วัน ทำต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี

วันนั้น งานต้มแห้วหยุดลงเพราะคนงานทั้งโรงงานไปงานเผาศพเพื่อนคนงานด้วยกัน .... รู้จากเพื่อนคนงานด้วยกันที่อ้างผลชันสูตรจากหมอว่า คนตาย ตายเพราะร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน

ปีนี้ไม่ใช่ปีแรกหรือคนแรก เมื่อ 2 ปีก่อน ปีเดียว หัวปีท้ายปี ตาย 2 ศพ ผลชันสูตรจากหมอกรณีเดียวกัน คือ ร่างกายสะสมสาร “ฟูราดาน” มากเกิน กับให้เหตุผลที่ทุกฝ่ายพูดตรงกันว่า ....

หมอบอก : ร่างกายสะสมฟูราดาน จากการต้มแล้วหายใจเข้าไป
จนท. เกษตรบอก : เพราะใช้ฟูราดานมากเกิน จากการรุ่นต่อรุ่น ทุกรุ่น จนเกิดสะสม
เกษตรกรคนปลูกบอก : ถ้าไม่ใส่ฟูราดานก็จะไม่ได้กินแห้ว
คนรับจ้างปอกแห้วบอก : ถ้าไม่รับจ้างก็ไม่มีกิน
เจ้าของโรงงานต้มแห้งบอก : ทำได้แค่ช่วยงานศพ เพราะบอกให้เลิกใช้แล้วไม่เลิก



ฟูราดาน คือ อะไร ?

คำว่า “ฟูราดาน” เป็นชื่อสามัญ หรือชื่อทางการค้า คือ สารเคมีกำจัดโรคและแมลงในดินที่คนไทยรู้จัก เป็นยาเม็ดสีม่วง ที่มีคุณลักษณะดูดซึมทางรากเท่านั้น สารฟูราดานเป็นสารพิษที่ถูกใช้เหมือนยาสามัญประจำบ้าน และมีการใช้มาอย่างยาวนาน ทั้งที่ผู้ใช้อาจรู้และไม่รู้ถึงพิษภัยของสารเคมีตัวนี้เลย เพราะเป็นสารเคมีปราบศัตรูพืชชนิดแรกๆ ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย

ฟูราดานมีชื่อทางการค้ามากมายหลายชื่อ นำเข้ามาจากประเทศจีน อินโดเนียเซีย เวียดนาม เป็นหลัก นิยมใช้รองก้นหลุมในการปลูกพืช และโรยเพื่อกำจัดมดแมลง

ฟูราดานนั้นมีปริมาณการตกค้างสูงเกินกว่าสารกำจัดศัตรูพืชที่กำหนดให้มีได้ในพืชผลเกษตร ซึ่งหากได้รับสารเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดม หรือกลืนกินเข้าไป จะเกิดอาการ วิงเวียน เหงื่อแตก อาเจียน กล้ามเนื้อเกร็ง น้ำลายฟูมปาก และอาจหมดสติได้

ฟูราดาน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฟูราดาน carbofuran เป็นยาเม็ดที่ดูเหมือนเมล็ดของพืช จึงทำให้นกมาเก็บกินได้ง่าย ฟูราดาน 1 เม็ดสามารถฆ่านกได้ 1 ตัว เมื่อนกตาย สัตว์อื่นที่มากินซากนกก็จะได้รับฟูราดาน ต่อไป

http://www.manowpan.com/news209.html
----------------------------------------------------------------------


ช่างเล็ก (LSV) :

ชาวเกษตรหลายแห่ง ใช้ยาฟูราดาน โรยใต้ต้นไม้-พืชผัก เพื่อป้องกันปลวกและแมลง ที่อันตรายอย่างยิ่งก็คือตัวยาฟูราดานจะแทรกซึมไปตาม ใบ-ผล ทำให้แมลงไม่กัดกิน แต่มีฤทธิ์ตกค้างถึง 2 เดือน ...

เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา นักเคมีได้คิดยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมจากรากต้นพืชขึ้นมาสู่ ต้นใบดอกผล แล้วมีฤทธิ์อยู่ในดินนานเป็นเดือน ชื่อ “ทิมเม็ก” เขาเอาไปใช้กับไม้ดอกไม้ประดับ เท่านั้น เขามีตัวหนังสือแดงเลยว่า ห้ามใช้กับพืชที่นำมาเป็นอาหาร

ด้วยความสดวกในการใช้และฤทธิ์ที่คงทนอยู่นานจึงได้มีการนำมาใช้กับพืชที่ใช้กินมานานกว่า 40 ปีแล้ว แต่จะใช้กับนาข้าว โดยมีชื่อทางการค้าว่า “ฟูราดาน” โดยทำเป็นเม็ดคล้ายทรายหยาบ มีพิษตกค้างอยู่ในดินนานถึง 60 วัน แต่ชาวนาใช้ ฟูราดานในช่วงที่ข้าวยังเล็กและเมื่อถึงเวลาเกี่ยวข้าวก็เกิน 60 วัน ฤทธิ์ยาหมดพอดี แต่หากใช้ยาล่าใส่แล้วเวลาเหลือไม่ถึง 60 วัน พิษยายังตกค้างบนต้นข้าว คนงานที่แบกข้าวเคยล้มลงกลางนาส่งโรงพยาบาลไม่ทันเสียชีวิตเลยก็เคยมีข่าว

ต่อมาเมื่อชาวสวนเห็นชาวนาใช้ฟูราดานได้ผลดีก็เลยใช้กับไม้ผล พืชผักสวนครัว แตงโม แตงกวา โดยใช้ทั้งรองก้นหลุม และโรยบนดิน เมื่อมีปัญหา ทั้งนี้เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า ยาตัวนี้มีพิษสูงมาก และตกค้างในดินนาน แต่เดี๋ยวนี้มีคนรู้กันมากแล้วว่า ฟูราดานมีพิษมากและตกค้างนานก็ยังใช้ยานี้อีก เพราะเขาถือว่าปลูกขายให้คนอื่นกินไม่เป็นไร ผลออกมาคือหลายคนท้องเสียเมื่อกินแตงโมเลยไปถึงว่าเป็นโรคจู๋ วัวนมล้มเมื่อกินต้นข้าวโพดอ่อนที่ใช้ฟูราดานหยอดใส่ในฝักกันหนอน

สรุปว่า ยานี้มีอันตรายถ้าใช้ไม่เป็น และไม่เหมาะกับผู้ไม่รับผิดชอบสังคม

ฟูราดาน เป็นยาฆ่าแมลงชนิด คาร์บาเมท ชื่อสามัญ คาโบฟูราน มีพิษตกค้างนานถึง 60 วัน เป็นอันตรายต่อปลา ผึ้ง สัตว์ป่า วัวควายและมนุษย์ ทดลองให้หนูกินเพียง 8 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม หนูจะตายเกินครึ่งเขาเรียกว่าค่า LD50 = 8 ถือว่ามีพิษสูงมาก ค่านี่ตัวเลขน้อยถือว่ามีพิษมาก

ถ้าจะปลูกผัก เตรียมดินให้ดีต้นไม้มีสัตรูน้อยแล้ว หาต้นไม้ที่แมลงไม่กินมาบดหมักใช้เป็นยาฆ่าแมลงแทน ฟูราดาน บางยี่ห้อ ชื่อ ฟูราแคร์ ฯลฯ
----------------------------------------------------------------


แตงโมฟูราดาน ได้เวลา "แบน" ยาฆ่าแมลง

กลายเป็นเรื่องใหญ่โตขึ้นมาทันที เมื่อสหภาพยุโรป ส่งสัญญาณออกมาว่า ห้ามนำเข้าพืชผักสดแช่เย็นแช่แข็งที่ส่งออกจากประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ว่า มีสารกำจัดศัตรูพืช-ยาฆ่าแมลง-เชื้อซัลโมเนลลา ตกค้าง เจือปน ปนเปื้อน เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด

การส่งสัญญาณดังกล่าว ดำเนินมาตลอดปี 2553 ตั้งแต่การเพิ่มมาตรการเข้มงวดให้ด่านทุกด่านในสหภาพ อาทิ ด่านนำเข้าในเนเธอร์แลนด์/เบลเยียม ดำเนินมาตรการตรวจเข้มหาสารตกค้างในกลุ่มยาฆ่าแมลงในพืชผักไทย 3 กลุ่ม ทั้งกะหล่ำ-มะเขือ-ถั่วฝักยาวในปริมาณ 50% ณ ด่านนำเข้า หรือสินค้า 1 ตู้คอนเทนเนอร์ ที่บรรจุทั้งมะเขือยาว-มะเขือพวง- มะเขือเปราะจะถูกสุ่มตรวจหาสารตกค้าง 50% จากมะเขือทั้งหมด

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังขึ้นบัญชียากำจัดศัตรูพืชถึง 22 รายการที่ห้ามพบการปนเปื้อนในการนำเข้าพืชผักนำเข้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจากเดิมไม่เคยกำหนดมาก่อน ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2553 มีรายงาน การตรวจพบสารตกค้างต้องห้ามในพืชผักผ่านทางระบบ Rapid Alerts มากเป็นพิเศษ โดยหลายตัวอย่างเป็นการตรวจพบสารกำจัดศัตรูพืชที่ห้ามใช้หรือกำลังจะถูกห้ามใช้ในสหภาพยุโรป เนื่องจากมีพิษร้ายแรงต่อผู้บริโภค แต่กลับวางจำหน่ายโดยทั่วไปในประเทศไทย

ยกตัวอย่าง สารกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรงในฐานะสารก่อมะเร็งที่มีระดับพิษรุนแรงมากเป็นพิเศษ (Ia) อย่างคาร์โบฟูราน (Carbofuran) ในชื่อการค้าฟูราดาน 3% G หรือฟูราดาน หรือยิปปุราน หรือคาซาลิน หรือคาเบนฟูดาน 3 G หรือค็อกโคได ที่เกษตรกรไทยรู้จักกันดีในการฆ่าหนอนกออ้อยในอ้อย ฆ่าแมลงวันเจาะต้นถั่วในถั่วฝักยาว/ถั่วลันเตา และที่สำคัญก็คือ การฆ่าเพลี้ยไฟฝ้าย ในผลไม้จำพวก แตงโม-แตงไทยกันอย่างกว้างขวาง

จนอาจพูดได้ว่าแตงโม 1 ลูก น่าจะมีฟูราดานเจือปนเกินกว่า 50% ของมาตรฐาน เนื่องจากสารตัวนี้ถูก "หยอดหลุม" ไปข้างๆ เมล็ดแตงโมตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการปลูก เพื่อให้แตงโมดูดซึมยาฆ่าแมลงเข้าไปไว้ ใน ลำต้น-ใบ และผล มีระยะเวลาป้องกันเพลี้ยไฟและแมลงปากดูดอื่นประมาณ 15-20 วัน ที่สำคัญก็คือ ห้ามใช้เกินกว่า 1 ครั้ง

แต่สิ่งที่เกษตรกรสวนแตงโมทำอยู่ในปัจจุบันก็คือ ระยะเวลาการเก็บแตงโมนั้น เกินกว่า 15-20 วัน จึงมีการใช้ฟูราดานซ้ำสองเพื่อป้องกันผลแตงโมถูกแมลงกัดกิน ส่งผลให้เกิดการ "ตกค้าง" ของฟูราดานในผลแตงโมอย่างมหาศาล แน่นอนว่าในขณะที่พิษของฟูราดานอยู่ในระดับรุนแรงมากที่สุด เป็นสารก่อมะเร็งจนสหภาพยุโรป-สหรัฐสั่งห้ามใช้สารตัวนี้ในทุกสินค้าไปแล้ว

ที่น่าประหลาดใจที่ว่ากรมวิชาการเกษตรยังยอมให้มีการขึ้นทะเบียนและสามารถวางจำหน่ายได้อยู่ เพียงแต่ขึ้นบัญชีไว้ในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง (Watch List) 11 รายการไว้เท่านั้น

ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเองก็พึ่งจะเผยแพร่รายงานอันตรายจากการใช้สารฟูราดานผิดวิธีโดยให้รายละเอียดว่า เป็นสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม คาร์บาเมตที่เกษตรกรนิยมใช้ในการหยอดหลุมแตงโม/แตงกวา และหว่านในนาข้าว มีฤทธิ์รุนแรงต่อระบบประสาท หากได้รับปริมาณมากจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ที่สำคัญกระทรวงสาธารณสุขกำลังจัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปีนี้ด้วย

จึงน่าที่จะถึงเวลาที่กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทบทวนสารเคมีเกษตรอันตรายทั้ง 11 รายการที่บรรจุ ไว้ใน Watch List ได้เสียที

http://elib.fda.moph.go.th/2008/default.asp?page2=subdetail&id=28049
------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (83) :

การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง

ตะไคร้หอม :

การใช้ตะไคร้หอม กำจัดและขับไล่แมลง
วิธีใช้ตะไคร้หอมกำจัดแมลง :
วิธีที่ 1 :
น้ำมันของต้นตะไคร้หอม ใช้ผสมกับน้ำมันอื่นๆ ฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช

วิธีที่ 2 :
ใช้ใบสดที่แก่จัดผสมกับหัวข่าสด และใบสะเดาสด จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด ใช้ในอัตรา 4:4:4 กก. แช่ในน้ำ 2 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจะนำมาใช้ ให้ใช้หัวเชื้อที่หมักได้ ในอัตรา 10 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นกำจัดแมลงในพืชผัก ข้าว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น ส้มเขียวหวาน ได้ผลดี

วิธีที่ 3 :
นำใบแห้ง มาใช้รองพื้นยุ้งฉาง จะช่วยลดการเข้าทำลายของมอดข้าวเปลือก หรือรองไว้ในรังไก่ จะช่วยทำให้ไม่มีไรไก่มารบกวน

วิธีที่ 4 :
โดยปลูกตะไคร้หอมใต้ต้นไม้ผล หรือในแปลงผักเป็นระยะ ๆ เมื่อถึงช่วงมืดค่ำก็ใช้ ไม้ฟาดที่ต้นตะไคร้หอม เพื่อให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา กลิ่นจะฟุ้งกระจายไป ในอากาศ ช่วยขับไล่ผีเสื้อกลางคืน ไม่ให้มาวางไข่

วิธีที่ 5 :
สูตรกำจัดหนอน นำเหง้าและใบตะไคร้หอม มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดประมาณ 5 ขีด นำไปผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นกำจัดหนอนที่รบกวนในแปลงพืช ก่อนนำไปใช้ให้ผสกับสารจับใบ เช่น สบู่ แชมพู เป็นต้น
---------------------------------------------------------------

“ขอบชะนาง”

วิธีการใช้ขอบชะนาง กำจัดแมลง:
1. นำขอบชะนาง (ใช้ได้ทั้งแดงและขาว) มาโขลกให้ละอียด (ใช้ได้ทั้งต้น) หรือจะนำทั้งต้นมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปวางบนปากไหปลาร้า จะสามารถฆ่าแมลงและตัวหนอนที่รบกวนปลาร้าได้ดี

2. นำต้นขอบชะนางทั้งต้นมาสับหรือโขลก จำนวน 2 กิโลกรัม มาต้มในน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) เคี่ยวให้สารในขอบชะนางออกมานานประมาณ 15-20 นาที จากนั้นนำน้ำขอบชะนางที่ได้ไปผสมน้ำสะอาดให้ได้ความเข้มข้นปานกลาง ฉีดพ่นแมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ และตัวหนอนแมลงศัตรูพืชได้ดี (ควรฉีดซ้ำทุกๆ 3 วัน)

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม :

- สารอินทรีย์จะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด ควรใช้ในขณะที่ไม่มีแดด เช่น ช่วงเช้ามืด หรือ ช่วงเย็น

- การกำจัดแมลง ควรเริ่มในช่วงเช้า ขณะที่ไม่มีแดด และอากาศยังเย็นอยู่ เนื่องจากแมลงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวขณะอากาศเย็น จึงจัดการกับแมลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะแมลงที่มีปีก

- การใช้สารกำจัดแมลงควรฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ด้านบนใบและด้านล่างใบ เพราะแมลงชอบหลบซ่อนอบยู่ตามใต้ใบ

- สารอินทรีย์หรือสารที่สกัดจากพืชจะใช้ได้ผลดีสุด เมื่อคั้นสดแล้วนำไปใช้เลย
- ควรสลับสับเปลี่ยนพืชสมุนไพรให้บ่อยครั้ง เพื่อป้องกันแมลงสร้างภูมิต้าน ทานพืชสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่ง

- ควรฉีดพ่นสมุนไพรกำจัดแมลงทุกๆ 3 วัน/ครั้ง เพราะสารในสมุนไพรนั้นมีความเข้มข้นน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัด แมลง) จึงไม่สามารถจัดการกับแมลงได้ทันทีทันใด
---------------------------------------------------------------------

จาก : (092) 829-76xx
ข้อความ : ได้ยินลุงคิมพูด ซี เอ็น เรโช ทุเรียน ผมปลูกมะม่วง อยากให้พูด ซี เอ็น เรโช มะม่วงบ้าง ว่าเหมือนหรือไม่เหมือนกันอย่างไร ? ซี เอ็น เรโช คืออะไร ? พืชอย่างอื่นมีไหม ?
ตอบ :
ปรับ ซี/เอ็น เรโช คือ ขั้นตอน 1 ในจำนวน 8 ขั้นตอน ของการปฏิบัติบำรุงต่อไม้ผล คือ เรียกใบอ่อน, สะสมตาดอก, ปรับ ซี/เอ็น เรโช, ปิดตาดอก, บำรุงดอก, บำรุงผลเล็ก, บำรุงผลกลาง, บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว, โดยเฉพาะ “สารอาหาร หรือ ปุ๋ย” ที่ให้ ทั้งทางใบ ทางราก และอื่นๆ

ซี. ย่อมาจากคำว่า คาร์บอน, เอ็น. ย่อมาจากคำว่า ไนโตรเจน, เรโช แปลตรงตัวว่า อัตรา ส่วน .... สรุป : ซี เอ็น เรโช แปลว่า “อัตราส่วน” คืออัตาราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. นั่นเอง เช่น ซี3 เอ็น1 คือ 3 ต่อ 1 (3:1) หรือ ซี1 เอ็น3 (1:3)

อัตราส่วนจะเป็นอย่างไร มีผลต่อต้นพืชอย่างไร คนต้องปฏิบัติอย่างไร จะว่าให้ฟัง

ปรับ ซี/เอ็น เรโชแล้ว เปิดตาดอก ได้/ไม่ได้ สำเร็จ/ไม่สำเร็จ มาจาก ความสมบูรณ์สะ สม ๆ ๆๆ ๆๆ


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม .....

จาก :
(083) 811-34xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ซี/เอ็น เรโช ได้ยินผู้พันพูดหลายวันแล้ว มันคืออะไร เป็นปุ๋ยหรือฮอร์โมน มีความสำคัญต่อพืชอย่างไร .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
@@ ความรู้เรื่อง ซี. กับ เอ็น. :

- ปกติ ซี. หมายถึง คาร์บอน. ซึ่งเป็นก๊าซตัวหนึ่ง เมื่อเข้ามาเกี่ยวกับพืช ซี.นอกจากจะหมายถึงคาร์บอน. แล้ว ยังเกี่ยวโยงไปถึงคาร์โบไฮเดรต. อีกด้วย .... คาร์โบไฮเดรต. คือ แป้ง

.... ต้นไม้ผลจะออกดอกได้ต้องมี “แป้งและน้ำตาล” สะสมไว้มากๆ
.... ภาษาชาวสวนเรียกว่า “สะสมตาดอก” ในขณะที่ภาษาวิชาการเรียกว่า “สะสมแป้งและน้ำตาล”
- ในการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจะเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี บางส่วนถูกใช้ไป บางส่วนถูกเก็บสะสมในรูปคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร

- เอ็น. คือ ไนโตรเจน ซึ่งมีอยู่ในน้ำเป็นหลัก กับอีกส่วนหนึ่งมีอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
- นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์ บอน ไดออกไซด์. มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็วและออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้

@@ หลักการและเหตุผล :

- จากหลักการที่ว่า จะเปิดตาดอกในไม้ผลยืนต้นให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ไม้ผลต้นนั้นจะต้องได้รับการบำรุงทั้งสารอาหารกลุ่ม ซี. (กลุ่มสร้างดอก-ผล) และสารอาหารกลุ่ม เอ็น. (กลุ่มสร้างใบ-ต้น) ทั้งสองกลุ่มเท่าๆ กัน ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อน ทั้งนี้สังเกตุจากสภาพความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก (ต้นไม้ต้นพืช พูดด้วยใบ-บอกด้วยราก)

- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก ไม่มีใบ .... ซี. มากกว่า เอ็น = ดอก

- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วน ซี. น้อยกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ ไม่มีดอก .... ซี. น้อยกว่า เอ็น = ใบ
- ไม้ผลต้นที่สะสมสารอาหารทั้งกลุ่ม ซี. และกลุ่ม เอ็น. ไว้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ หรือใบแซมดอก .... ซี. เท่ากับ เอ็น = ใบ หรือ ดอกแซมใบ

- ดังนั้น เพื่อความมั่นใจก่อนลงมือเปิดตาดอก หรือเมื่อให้ปุ๋ยสูตรเปิดตาดอกแล้ว ไม้ผลต้นนั้นจะต้องออกดอก จึงต้องมีวิธีการจัดการเพื่อปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. อย่างถูก ต้องนั่นคือ ปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น.

@@ สรุป :

- ในจำนวนสารอาหารทั้ง 14 ตัว แยกเป็น ซี. ได้แก่ P. K. (ในธาตุหลัก), Ca. Mg. S. (ในธาตุรอง), Fe. Cu. Zn. Mn. Mo. Si. Na (ในธาตุเสริม) ในขณะที่ เอ็น. ได้แก่ N. (ในธาตุหลัก เพียงตัวเดียว)

@@ การปฏิบัติดังนี้

- เปิดหน้าดินโคนต้นจนถึงพื้นให้แสงแดดส่องทั่วบริเวณทรงพุ่ม
- ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ใส่ไว้ก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อน) จึงให้ใส่แต่ปุ๋ยทางราก 8-24-24 (2 กก.) /ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำราดรดบริเวณชายพุ่มพอหน้าดินชื้น จากนั้นงดให้น้ำเด็ดขาด .... สวนยกร่องน้ำหล่อ ต้องสูบน้ำออกจงถึงพื้นก้นร่อง นานนับเดือนก่อนเริ่มลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช

- ให้ปุ๋ยทางใบสูตร "0-42-56 (400-500 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม (100 ซีซี.) + น้ำ 100 ล." สลับครั้งกับ "นมสด หรือ กลูโคส" (นมสด ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39 : 1 .... กลูโคส คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) แต่ละครั้งห่างกัน 5-7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นพอเปียกใบ ไม่ควรให้ลงถึงพื้นโคนต้นเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ

- เทคนิตการรมควันโคนต้นช่วงหลังค่ำระหว่างเวลา 19.00-20.00 ครั้งละ 10-15 นาที รวม 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-3 วัน ก็เป็นการเสริม ซี. อีกทางหนึ่ง

- ลักษณะอาการของต้นไม้ผลที่แสดงว่าการปรับเพิ่ม ซี. และปรับลด เอ็น. ได้ผลก็คือ ใบยอดคู่สุดท้ายที่ปลายกิ่งแก่จัด เขียวเข้ม ใบแก่โคนกิ่งเส้นใบหนานูน เนื้อใบหนาส่องแดดไม่ทะลุ หูใบอวบอ้วน ข้อระหว่างใบสั้น กิ่งเปราะ

.... ด้วยมาตรการงดน้ำเด็ดขาดนี้ จะให้ต้นเกิดอาการใบสลด ให้สังเกตุอาการใบสลด ถ้าใบเริ่มสลดเมื่อเวลาประมาณ 11.00-12.00 น. แล้วเริ่มชูตั้งตรงอย่างเดิมราว 16.00 น. ติดต่อกัน 3 วัน ให้ลงมือเปิดตาดอกด้วยสูตรเปิดตาดอก (ให้ทั้งทางใบและทางราก) ได้ทันที

.... แต่ถ้าใบสลดช่วงประมาณบ่ายโมงแล้วกลับชูตั้งตรงอย่างเดิมก่อน 16.00 น. ถือว่ายังไม่พร้อมจริง ให้งดน้ำควบคู่กับให้ทางใบต่อไป

.... ปัญหาการงดน้ำไม่ได้ผลประการหนึ่ง คือ น้ำใต้ดินโคนต้นโดยเฉพาะสวนยกร่องน้ำหล่อ ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันหรือควบคุมให้ได้
--------------------------------------------------------------

จาก :
(085) 829-41xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ซี เอ็น เรโช คืออะไร เกี่ยวข้องกับการออกดอกของต้นไม้ผลอย่างไร ขอความรู้ด้วยครับ .... สวนไทรโยค
ตอบ :
- จำได้ว่า เคยสอนเรื่องนี้แก่ นศ.วิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี นศ.บอกว่า เป็นวิชาการที่สูงมาก ลุงคิมตอบว่า “วิชาการสูงเท่าเดิม แต่คนรียนต่ำกว่าเอง ต่อไปเมื่อเธอเรียนสูงขึ้นก็จะรู้และเข้าใจเอง....” อ.เอกชัยฯ อาจารย์ปกครองมาด้วย เสริมว่า “เรื่องนี้ เมื่อเธอกลับไปวิทยาลัยต้องได้เรียน มีอาจารย์สอนเรื่องนี้ 2 คน วันนี้เธอเรียนรู้แบบประสบการณ์ก่อน กลับไปจึงเรียน วิชาการ ...” นศ. ถึงกับตกใจ “โอ้โฮ อาจารย์สอนตั้ง 2 คน แสดงว่าต้องยากมากน่ะซี ครับ/คะ ....” ลุงคิมเสริมว่า “กลัวทำไมกับความยาก ในเมื่อคนอื่นเขาเรียนได้ เราก็ต้องเรียนได้ด้วยซี่ อย่ายอมแพ้ตั้งแต่ยังอยู่ในมุ้ง ยากตรงไหนง่ายตรงไหน ตีโจทย์ให้ออก วิเคราะห์ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ? เกี่ยวข้องกับพืชอย่างไร ? เรียนทั้งวิชาการ ประสบการณ์ สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งหก เดี๋ยวก็รู้เอง .... อยากเรียนเก่ง อ่านหนังสือข้ามช็อตซิ่ วิชาอะไร เธอเรียนระดับปริญญาตรี แล้วอ่านตำราปริญญาโท ในห้องเรียนอ่านตำราที่อาจารย์สอน นอกห้องอ่านตำราอื่น แต่วิชาเดียวกันนะ .... ลองซี่ ได้ผลมาหลายคนแล้ว”

- ซี. ได้แก่ P. K. .... Ca. Mg. S. .... Fe. Cu. Zn. Mn. Mo. B. Si. Na.
- เอ็น. ได้แก่ N. เพียงตัวเดียวเท่านั้น
- ซี. คือ คาร์บอน. เป็นสารอาหารกลุ่มสร้างดอก
- เอ็น. คือ ไนโตรเจน. เป็นสารอาหารกลุ่มสร้างใบ

- เรโช. เป็นภาษาอังกฤษ แปลว่า อัตราส่วน .... สรุป ซี. เอ็น. เรโช แปลว่า อัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ตรงตัว

- การปฏิบัติต่อพืชประเภทไม้ผล อายุยืนนาน เพื่อให้ออกดอก คือ ต้องปรับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. ภายในต้น โดยบำรุงให้มีปริมาณ ซี. มากกว่า เอ็น. ให้ได้ นั่นเอง

- การปรับ ซี/เอ็น เรโช จะได้ผลในต้นไม้ผลที่แตกใบใหม่ของรุ่นการผลิตปีนั้น มากกว่าต้นที่มีใบเก่า อายุข้ามปี หมายความว่า ต้องปรับ ซี/เอ็น เรโช เมื่อใบระยะเพสลาดหรือกลางอ่อนกลางแก่

- โดยหลักทางวิชาการบอกว่า ซี. มากกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกดอก....ซี. น้อยกว่า เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ .... ซี. เท่ากับ เอ็น. เมื่อเปิดตาดอกจะออกเป็นใบ หรือใบแซมดอก ทั้งๆที่เปิดตาดอกด้วยปุ๋ยหรือฮอร์โมนสูตรเดียวกันแท้.... อัตราส่วนที่ต่างกันมากๆ เรียกว่า เรโช กว้าง, อัตราส่วนที่ต่างกันน้อยๆ เรียกว่า เรโช แคบ

- กรณีต้นไม้ผลพันธุ์หนัก อัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. มีความจำเป็นอย่างมาก ถ้าอัตราส่วน ซี. กับ เอ็น. ไม่ได้ จะไม่ออกดอกเอง หรือเปิดตาดอกไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกจังหวะ ก็จะไม่ออกดอกแหมือนกัน

- กรณีต้นไม้ผลพันธุ์เบา อัตราส่วนระหว่าง เอ็น. กับ ซี. อาจไม่จำเป็นมากนัก แค่ต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถออกดอกเองได้ แต่หากมีการปรับอัตราส่วนบ้าง ก็จะออกดอกดีขึ้น ไม้ผลพันธุ์เบาบางชนิดไม่ต้องปรับอัตราส่วนระหว่า ซี. กับ เอ็น. เลยก็ออกได้ มีให้เห็นทั่วไป

- อุณหภูมิหนาว มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราส่วนระหว่าง ซี. กับ เอ็น. โดยตรงและอย่างมากด้วย นั่นคือ ในความหนาวมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศน้อย ช่วงนี้ต้นไม้จะคายไนโตรเจน ทำให้ไนโตรเจนลดปริมาณลงเรื่อยๆ ในขณะที่ ซี. หรือ คาร์บอน. ไม่ได้คายออกไปด้วย จึงเป็นผลให้ปริมาณ เอ็น. หรือ ไนโตรเจน. ลดลง กระทั่งมีน้อยกว่า ซี. หรือคาาร์บอน. โดยอัตโนมัติ

- มองอีกมุมหนึ่ง คือ เมื่อในต้นมีไนโตรเจน.น้อย ต้นจะทิ้งใบ เมื่อต้นไม้ไม่มีใบก็คือจะตายนั่นเอง ธรรมชาติสอนต้นไม้ว่า ก่อนตายต้องแพร่พันธุ์ นั่นคือ ต้นไม้จะออกดอกเพื่อให้เป็นผลสำหรับแพร่เผ่าพันธุ์ตัวเอง นั่นเอง .... จากหลักการตามคำสอนของธรรมชาตินี้เอง คนจึงงดการให้น้ำในช่วงปรับ ซี. เอ็น. เรโช. เพื่อให้ออกดอก กระทั่งไม้ต้นนั้นออกดอกติดผลมาแล้ว จึงหันมาบำรุงให้น้ำตามปกติ

@@ การบำรุงเพื่อปรับ ซี/เอ็น เรโช :
ทางใบ :

- ให้ 0-42-56 ให้ 2 ครั้ง สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้โชกจนตกลงถึงพื้น

- ในรอบเดือน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด้วย 1 รอบ เพื่อเสริมน้ำตาล (ปัจจัยพื้นฐานต่อการออกดอก)
ทางราก :
- เปิดหน้าดินโคนต้นโดยนำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออก ให้แดดส่องได้ทั่วพื้นดินทรงพุ่ม
- งดให้น้ำเด็ดขาด กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด
หมายเหตุ :
- วัตถุประสงค์เพื่อ “เพิ่ม” ปริมาณ ซี. และ “ลด” ปริมาณ เอ็น.
- ลักษณะต้นที่ ซี. มากกว่า เอ็น. แล้ว สังเกตุได้จากใบคู่สุดท้ายปลายกิ่งแก่จัด เนื้อใบกรอบ ข้อระหว่างใบสั้น หูใบอ้วน มีตุ่มตาปรากฏให้เห็น

- ก่อนลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช ต้องติดnตามข่าวพยากรณ์อากาศให้มั่นใจว่า ต้องไม่มีฝน ในช่วงนั้น เพราะถ้ามีฝนมาตรการงดน้ำจะล้มเหลว

- เมื่องดน้ำหรือไม่ให้น้ำแล้ว จำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้นไม่ให้มากเกินไป โดยทำร่องระบายน้ำใต้ดิน หรือทำร่องสะเด็ดน้ำด้วย

- กรณีสวนยกร่องน้ำหล่อต้องใช้ระยะเวลาในการงดน้ำนานมากกว่าสวนพื้นราบยกร่องแห้งจึงจะทำให้ใบสลดได้ อาจส่งผลให้แผนการผลิตที่กำหนดไว้คลาดเคลื่อน ดังนี้จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกตั้งแต่ก่อนปรับ ซี/เอ็น เรโช โดยกะคะเนให้ดินโคนต้นแห้งถึงขนาดแตกระแหง มีความชื้นไม่เกิน 10% ตรงกับช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช พอดีให้

- มาตรการเสริมด้วยการ “รมควัน” ในทรง พุ่มช่วงหลังค่ำ ครั้งละ 10-15 นาที 3-5 รอบห่างกันรอบละ 2-3 วัน จะช่วยให้การปรับ ซี/เอ็น เรโช สำเร็จเร็วขึ้น .... การควั่นกิ่ง, การรัดกิ่ง, การสับเปลือกที่กิ่ง, หรือเปลือกลำต้น ก็เป็นการตัด N ที่ขึ้นจากรากไปสู่ต้นได้ ทำให้ N น้อยลงโดยอัตโนมัติ

- น้ำตาล คือ น้ำตาล เพื่อสะสมแป้งและน้ำตาล น้ำตาลทางด่วนโมเลกุลเดี่ยวผ่านปากใบได้
- นมสดมี ซี/เอ็น เรโช เท่ากับ 39 : 1 (ข้อมูล : สถานีวิจัยและพัฒนาที่ 5 ชัยนาท)

- ภาษาชาวบ้านที่เรียกว่า “สะสมตาดอก” นั้น ภาษาวิชาการเรียกว่า “สะสมแป้งและน้ำ ตาล” นั่นคือการให้ สังกะสี-กลูโคส ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งในการสร้างสารอาหารกุ่ม ซี. เพื่อการออกดอกโดยตรง

-----------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©