-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 9 JUN *สมุนไพร(72) GMOs ข้อดี-ข้อเสีย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 9 JUN *สมุนไพร(72) GMOs ข้อดี-ข้อเสีย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 9 JUN *สมุนไพร(72) GMOs ข้อดี-ข้อเสีย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/06/2016 11:10 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 9 JUN *สมุนไพร(72) GMOs ข้อดี-ข้อเสีย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 9 JUN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


สมุนไพร (72) :
การทำสารสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยง :

สูตรของ สมพรฯ พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา

ถาม :
ผมทำไร่นาสวนผสม 20 ไร่ มีปัญหาแมลงศัตรูพืชมาก โดยเฉพาะพวกเพลี้ย พวกหนอน ใช้ยาฆ่าแมลงก็เอาไม่อยู่ แถมมันยังแพงขึ้นเรื่อยๆ เคยได้ฟังปราชญ์ชาวบ้านทางวิทยุท้องถิ่น แนะนำให้ใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร ฉีดพ่นฆ่าแมลง แทนการใช้สารเคมีเกษตรได้ผลดี ขอวิธีการทำ การใช้ ด้วยครับ

ตอบ :
พืชผลสมุนไพร ถ้าเราสกัดสารละลายออกมา สามารถนำไปใช้ในการควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืช เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สั่งสมกันมาช้านานแล้ว ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กระบวนการสกัดสารละลายจากพืชสมุนไพร ให้ออกมาได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย

กรมพัฒนาที่ดิน ได้คิดค้นและผลิตสารเร่ง พด.7 (แจกฟรีให้เกษตรกรและผู้สนใจ) เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ใช้หมักพืชสมุนไพร แล้วได้สารควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืช โดยใช้พืชสมุนไพรจำพวก ใบยาสูบ ผลดีปลี รากหางไหล หัวกลอย พริก เหง้าว่านน้ำ เมล็ดสะเดา เมล็ดมันแกว เหง้าหนอนตายหยาก เหง้าขมิ้นชัน ให้เลือกชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดผสมกันก็ได้ เอาประเภทที่หาง่ายในท้องถิ่น ใช้ได้ทั้งแบบสดและแห้ง

วิธีการผลิตสารควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืช ที่ทางการแนะนำ เริ่มจากเตรียมวัสดุผลิตสาร ได้แก่

พืชสมุนไพรแบบสด 30 กก.
กากน้ำตาล 10 กก.,
รำข้าว 100 กรัม,
น้ำ 30 ล.,
สารเร่ง พด.7-1 ซอง

กรณีใช้พืชสมุนไพรแบบแห้ง ให้ใช้
พืชสมุนไพร 10 กก.
กากน้ำตาล 20 กก.
รำข้าว 100 กรัม
น้ำ 60 ล. และ
สารเร่ง พด.7-1 ซอง

อย่างแรกเลย สับพืชสมุนไพร ถ้าเป็นเมล็ดให้ทุบหรือตำให้แตก ผสมกับรำข้าว ใส่ลงในถังหมัก ละลายกากน้ำตาลในน้ำ (ในถังน้ำที่แยกมา) แล้วใส่สารเร่ง พด.7 ผสมคนให้เข้ากันนาน 5 นาที แล้วเทสารละลายลงถังหมัก ทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาถัง ตั้งไว้ในที่ร่ม และคนทุกวัน 21 วัน ก็เป็นอันเสร็จกระบวนการผลิตสารควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืช สารที่ได้ ก่อนใช้จะต้องละลายน้ำให้เจือจางก่อน

วิธีนำไปใช้กับพืชผลเกษตร ให้ละลายสารควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืชกับน้ำ สัดส่วน 1 : 100 ฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน ตามใบ ลำต้น หรือบริเวณที่มีหนอนหรือเพลี้ยอาศัยอยู่ ฉีดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ครั้ง ใช้กับพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก ให้ฉีดสาร ละลายที่เจือจางแล้ว อัตรา 50 ล./ไร่ ส่วนไม้ผล อัตรา 100 ล./ไร่

การควบคุมและไล่แมลงศัตรูพืช โดยวิธีการนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ผลไม่เท่ากับการใช้สารเคมีเกษตร แต่ผลดีที่เกิดขึ้นคือ ลดต้นทุนยาฆ่าแมลงได้มาก คนฉีดพ่นยาสุขอนามัยดีขึ้น ผู้บริโภคก็ปลอดภัย

http://www.naewna.com/local/85909
-----------------------------------------------------------------------


พืชสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง

พริก :

ผลสุก : มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง ส่วนเมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา
ใบและดอก : มีสารยับยั้งการขยายตัวของเชื้อไวรัส พริกจึงเป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ขัดขวางการดูดกินของศัตรูพืชหลายชนิด เช่น มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อ ด้วงเต่าโคโลราโด หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ด้วงงวงช้าง แมลงศัตรูในโรงเก็บ ไวรัส โรคใบด่างของแตง ไวรัสโรคใบหดของยาสูบ ไวรัสโรคใบจุดวงแหวนของยาสูบ

วิธีเตรียมและการใช้ ป้องกันกำจัดศัตรูพืช :
วิธีที่ 1 :
นำพริกแห้งที่ป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง
หลังจากนั้นนำน้ำพริกนี้ 1 ส่วนผสมกับน้ำสบู่ 5 ส่วน ซึ่งการผสมน้ำสบู่จะช่วยให้จับเกาะใบพืชได้ดีขึ้น ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

ในการนำไปใช้ ควรทดลองแต่น้อยๆ ก่อน เพราะสารละลายที่เข้มข้นเกินไปจะทำให้ใบไหม้ หากพืชเกิดอาการดังกล่าวให้ผสมน้ำเพื่อให้เจือจางและควรใช้อย่างระมัดระวัง อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้

วิธีที่ 2 :
สำหรับการใช้เพื่อยับยั้งเชื้อไวรัส โดยใช้น้ำคั้นจากใบและดอกของพริก ไปฉีดพ่นก่อนการระบาดของเชื้อไวรัส สามารถป้องกันต้นพืชจากไวรัสได้ดีกว่านำไปฉีดเมื่อพืชเกิดโรคแล้ว
------------------------------------------------------------------------

แสยก :

การใช้แสยกป้องกันกำจัด หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ และแมลงในโรงเก็บ น้ำยางสีขาวและเมล็ดของแสยกจะออกฤทธิ์เป็นพิษต่อแมลงศัตรูพืชหลายชนิด โดยจะมีฤทธิ์ทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ของแมลงอักเสบ ช่วยยับยั้งการเข้ามาวางไข่ของด้วงถั่วเขียวในโรงเก็บและการฟักไข่ของด้วงทั่วไปได้ด้วย

** ในสมัยก่อน ชาวบ้านตามชนบทนิยมเอาต้นแสยกแบบสดทั้งต้น กะจำนวนตามต้องการ ทุบพอแตก ไปแช่น้ำตามหนองบึง หรือบ่อ ที่มีปลาอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้าบ่อหรือหนองไม่กว้างนัก ปลาที่อยู่ในน้ำจะเกิดอาการเมาหรือตาย สามารถจับหรือช้อนขึ้นมาได้อย่างสบาย มีฤทธิ์เหมือนกับต้นหางไหลหรือต้นโล่ติ้นของชาวจีน ยางของแสยกมีพิษแรงมาก ขนาดนำเอาทั้งต้นทุบพอแตก ใส่ลงในวังน้ำหรือลำธารที่มีจระเข้อาศัยอยู่ มันจะหนีไปที่อื่นจนหมด

ประสาน (ปราณบุรี) (ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, นายเกษตร )

การนำไปใช้ทางการเกษตร :
วิธีที่ 1 :
ใช้ลำต้นของแสยกประมาณ 1 กิโลกรัม นำมาบดหรือทุบให้พอแตก จากนั้นนำไปแช่ในน้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้นาน 1 คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำหมักที่ได้ ไปฉีดพ่นในแปลงพืชผัก จะช่วยป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้และหนอนใยผักได้ดี

วิธีที่ 2 :
ใช้ส่วนของลำต้นแสยกจำนวน 2 ขีด ทุบหรือตำให้ละเอียด แล้วนำไปคลุกเคล้าให้เข้ากับเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 1 กิโลกรัม จะสามารถยับยั้งการวางไข่และการฟักตัวของด้วงถั่วเขียวได้

http://www.kasetintree.com
-------------------------------------------------------------------

จาก : (094) 261-72xx
ข้อความ : ผู้พันครับ จีเอ็มโอ คืออะไรครับ ฟังรายการเกษตรจากสถานีวิทยุ....เขาส่งเสริมให้ปลูกพืช จีเอ็มโอ แบบเต็มตัวเลย จีเอ็มโอ ดีหรือไม่ดี ผมไม่รู้ แต่ผมไม่เคยได้ยินผู้พันพูดถึงข้อดีของ จีเอ็มโอ เลย ถ้าดีจริงผู้พันคงพูดส่งเสริมแล้ว ใช่ไหมครับ .... แฟนสีสันชีวิตไทย 20 ปี
ตอบ :
จีเอ็มโอ ในประเทศไทย โดยนักวิชาการไทย มีทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเอง แต่ดูเหมือนว่า แต่ละเหตุผลที่แต่ละฝ่ายนำเสนอออกมานั้น น้ำหนักแผ่วเบามากๆ คือ พูดได้ไม่เต็มปากนั่นเอง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เป็นเพราะอะไร

ที่นี่ไม่ได้พูดถึงข้อดี ข้อเสียก็ไม่ได้พูด สรุปรวม คือ ไม่ได้พูด

ต่างประเทศต่อ จีเอ็มโอ :
สหรัฐ อเมริกา :
แม้จะไม่ยอมรับแต่ก็ไม่ห้าม ผลิตออกมาแล้วถ้าเป็นพืช จีเอ็มโอ ต้องระบุในบรรจุภัณท์ด้วยว่า “จีเอ็มโอ” เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอาเอง

จีน :
ยืนยันผลการทดลองว่าข้าวและข้าวโพด จีเอ็มโอ มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับข้าวและข้าวโพดทั่วไป

อินเดีย :
มีพื้นที่ปลูกพืช จีเอ็มโอ เพิ่มขึ้น 192% หรือเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านเฮกตาร์ อยู่ที่ 3.8 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกต้า = 6.25 ไร่) และทำให้ขยับมาอยู่ในฐานะผู้ผลิตพืช จีเอ็มโอ รายใหญ่สุดอันดับ 5 ของโลก

แอฟริกาใต้ :
พื้นที่ปลูกพืช จีเอ็มโอ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆ ในแถบนี้หันมาปลูกพืช จีเอ็มโอ อาทิ อิยิปต์ เบอร์กินาฟาโซ และเคนยา

ยุโรป :
มีพื้นที่ปลูกพืช จีเอ็มโอ เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสโลวาเกียเป็นประเทศใหม่ที่ปลูกพืชชนิดนี้
อียู : มีการปลูกพืช จีเอ็มโอ โดยสเปนเป็นผู้นำที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด
ไนจีเรีย : จะพัฒนาการเพาะปลูกข้าว จีเอ็มโอ เพื่อลดการนำเข้าข้าวจากไทยให้ได้ในอนาคต
พม่า : ปลูกข้าวโพด จีเอ็มโอ แล้ว
เวียดนาม กับ อินโดเนเซีย : จะปลูก จีเอ็มโอ ในอีกสองปี
ฟิลิปปินส์ : ศาลสูงสั่งห้าม จีเอ็มโอ อย่างถาวร และให้ยุติการอนุมัติแผนงานต่างๆ ในการใช้ นำเข้า จำหน่าย และแพร่กระจายของพืช จีเอ็มโอ รวมทั้งนำเข้าผลิตภัณฑ์ จีเอ็มโอ ทุกชนิด แต่ฟิลิป ปินส์อาจอนุมัติให้ปลูกข้าวตัดแต่งพันธุกรรมหรือ จีเอ็มโอ สายพันธุ์แรกที่จะวางขายเชิงพาณิชย์ภาย ใน 2-3 ปีนี้ แม้จะมีกระแสต้าน

ญี่ปุ่น :
ยังไม่ยอมรับการปลูกแบบ จีเอ็มโอ
------------------------------------------------------------------------

อะไรคือ GMO ?

GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organism คือ สิ่งมีชีวิตที่มีการ “ปรับปรุง-เปลี่ยน แปลง” รหัสพันธุกรรม โดยกระบวนการ Genetic Engineering Techniques ต่างๆ ซึ่งทำได้ทั้งในสัตว์ และพืช GMO เลยเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

ทั้งนี้ ก็ด้วยหวังดีของนักวิทยาศาสตร์ที่อยากเห็นพืชทนต่อโรค ทนต่อศัตรูพืชต่างๆ ได้ปศุสัตว์ที่แข็งแรงทนต่อโรค เติบโตได้ผลผลิตที่แข็งแรงในปริมาณมาก โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ต้องใช้ปุ๋ย ไม่ต้องใช้เคมีเกษตรต่างๆ แต่ใช้การตัดต่อยีนในตัวพืช และ/หรือ สัตว์แทน
-------------------------------------------------------

ข้อดีและข้อเสียของ GMOs :
ข้อดีของ GMOs :

GMOs คือ ผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะ “พันธุวิศวกรรมศาสตร์” ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุนวิจัยจำนวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข

ความสำเร็จแห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มีรูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยุ่ทุกวันนี้ และในภาวะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้งเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรมคือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า genomic revolution

GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมา ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่

ประโยชน์ต่อเกษตรกร :

1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น agronomic traits

2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOs ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ในจำพวก ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ที่กล่าวมานี้

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค :

3. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามิน ซี.เพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)

4. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน

GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมาในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจำหน่าย เป็นสินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ข้อ 1-4 นี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว ทำให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทำ GMOs ทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก

ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม :

5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน

6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว

7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น

ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม :

8. ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทำให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณมาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่อาจมีโอกาสทำให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบวัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)

9. หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติเด่น ได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลาก หลายสายพันธุ์มากขึ้น

ข้อเสียของ GMOs :

เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้น ข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและความซับซ้อนในการบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี

ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค :

1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจากกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย

2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น

3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็น ต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย

4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ ? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือ มีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า เชื้อจุลินทรีย์และพืช

6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา กล่าวคือ เนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ดังนั้น จึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย ทำให้มีคำถามว่า

6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้านทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้

6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate) เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก แต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสารต่อต้านปฏิชีวนะ หรือบางกรณีก็สามารถนำยีนส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร

7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน 35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด

8. อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป

ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม :

9. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ เช่น ผลการทดลองของ Losey แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยาย ความ

10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้

ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม :

11. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน

แม้ว่าจะมีความกังวลอยู่ แต่ควรทราบว่า GMOs เป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง เท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมา ในประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัย (biosafety guidelines) ทุกขั้นตอน ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาค สนามเพื่อให้การวิจัยและ พัฒนา GMOs มีความปลอดภัยสูงสุด และเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการ ประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุด

อย่างไรก็ดี กรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ ของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล มิใช่เป็นไปโดยความ ตื่นกลัว หรือการตามกระแส

โดย มธุรา สิริจันทรัตน์
http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html

----------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©