-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ26MAY *สมุนไพร (64), ทุเรียนนอกฤดู
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ26MAY *สมุนไพร (64), ทุเรียนนอกฤดู
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ26MAY *สมุนไพร (64), ทุเรียนนอกฤดู

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 26/05/2016 11:42 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ26MAY *สมุนไพร (64), ทุเรียนนอกฤดู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 26 MAY

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------



สมุนไพร (64)

การทำ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

การทำสมุนไพรสูตรรวมมิตร ป้องกันกำจัดหนอนแมลง ไล่ เห็บ หมัด :

สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ว่านน้ำ สาบเสือ น้อยหน่า หนอนตายหยาก หางไหล ละหุ่ง ขมิ้นชัน ชะพลู สบู่ต้น ขอบชะนาง ยาสูบ บอระเพ็ด ดีปลี พริกไทย ขิง ข่า กระเทียม หางจระเข้ ตะไคร้หอม แสยะ กะบูร มังคุด เงาะ แค งวงกล้วย ประทัดจีน ยี่โถ ดาวเรือง พริกสด สะเดา
การหมักสมุนไพร :
สูตร 1. หมักด้วย เอททิลแอลกอฮอล์
สูตร 2. หมักด้วย เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.
สูตร 3. หมักด้วย น้ำ 20 ลิตร + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายซู 150 ซีซี.
สูตร 4. หมักด้วย น้ำ 20 ลิตร + กากน้ำตาล 500 ซีซี. + จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
สูตร 5. หมักด้วย น้ำเปล่า
วิธีการหมัก :
1. บด สับ โขลก สมุนไพรทั้งหมด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. บรรจุภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ เติมสารหมักสมุนไพรให้ท่วม 2- 5 เท่า คนหรือเขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง กดให้จมตลอดเวลา เก็บในที่ร่ม คนหรือเขย่าบ่อยๆ หมักนาน 7-10 วัน เริ่มนำมาใช้โดยน้ำหมักที่ได้คือ หัวเชื้อ การนำไปใช้ ใช้สารจับใบ เช่น สบู่หรือน้ำยาล้างจาน ผสมขณะฉีดพ่น การใช้สมุนไพรจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ อัตราการใช้ปกติ 20- 50ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทุก 3-5 วัน หัวเชื้อใหม่ๆ มีสารออกฤทธิ์แรงมาก หากใช้อัตราเข้มข้นเกินไปอาจทำให้ใบไหม้ได้ ต้องทดลองใช้ก่อน 1-2 วัน แล้วดูอาการของพืช ในสัตว์ใช้พ่นตามตัวสัตว์ และบริเวณโรงเรือนเพื่อไล่แมลง ไร เห็บ หมัด ได้เช่นกัน


สมุนไพรที่ใช้เลี้ยงสัตว์
แก้ว :
แก้จุกเสียดแน่นท้อง เป็นยาบำรุงธาตุ และถ่าพยาธิตัวกลม
เถาคันขาว : เถา ขับเสมหะ ฟอกเลือด แก้ฟกช้ำภายใน แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด, ใบ แก้อาการอักเสบ ปิดบ่มฝีหนอง ดูดหนอง
พญายอ : ใบ แก้อาการอักเสบเฉพาะที่ ปวดบวมแดงร้อนแต่ไม่มีไข้ ปวดแสบปวดร้อนจากแมลงมีพิษกันต่อย
มะเฟือง : แก้ตาเจ็บ รักษาโรคผิวหนัง ขี้เรื้อน ปากเปื่อยเป็นแผลใช้น้ำถูบริเวณที่เป็น
น้อยหน่า : ใบ รักษาภายนอก แก้ฟกบวม ฆ่าพยาธิผิวหนัง กลากเกลื้อน และฆ่าเหา, เมล็ด รับประทานภายในเป็นยาขับพยาธิในลำใส้ ฆ่าเชื้อโรค

เขียนโดย มนัส ชุมทอง
---------------------------------------------------------------------


การนําสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์

การใช้สมุนไพรนอกจากใช้เป็นยารักษาโรคในคนแล้ว ยังมีการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคในสัตว์ ทั้งสัตว์บก เช่น ช้าง สุกร สัตว์ปีก เช่น ไก่ และสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง เป็นต้น

ข้อดีของการใช้ยาสมุนไพร คือ ราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตสัตว์ในเชิงธุรกิจ และยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น Kanamycin ซึ่งใช้รักษาโรคลําไส้อักเสบ ลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคบิดมูกเลือดในลูกสุกร โรคติดเชื้อในลำไส้ไก่ เมื่อใช้กับสัตว์ที่ใช้เนื้อเป็นอาหาร ยาส่วนที่ตกค้างจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ยาอีกชนิดหนึ่งคือ chloram phenical เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แต่ทําให้เกิดพิษต่อระบบการสร้างเม็ดเลือด โดยกดไขกระดูก จึงไม่ควรใช้กับสัตว์เศรษฐกิจ เพราะมีพิษตกค้างต่อผู้บริโภคเช่นกัน

การเกิดโรคในสัตว์โดยทั่วไปเกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว อีกสาเหตุคือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่การจัดการที่ไม่ดีและการได้รับอาหารไม่เพียงพอ การใช้สมุนไพรจะนิยมใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาบํารุงอีกด้วย

สมุนไพรที่นิยมใช้ :
ขมิ้นชัน :
มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เหง้าขมิ้นตํ าผสมกับพลูคลุกกับปูนกินหมาก ใช้รักษาแผลให้ช้างทั้งแผลสด แผลมีหนอง และกันแมลงบริเวณแผล ผู้เลี้ยงไก่ชนใช้ขมิ้นกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ส่วนผสมของสมุนไพรที่ใช้ต้มเป็นนํ้ ายาสมุนไพรอาบให้ไก่ชนประกอบด้วย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ไม้ฤาษีผสม ใบคุระ ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ไม้กระดูกไก่ เปลือกไม้โอน ต้มรวมกันในนํ้าเดือด นํานํ้าที่ต้มได้มาอาบให้ไก่ชน เพื่อให้ไก่มีหนังเหนียว ไม่ฉีกง่ายเวลาโดนจิกหรือตี หรือสูตรแก้ไก่เป็นหวัด บิด ท้องเสีย จะใช้ขมิ้นชัน 7 กรัม ผสมฟ้าทะลายโจร 144 กรัม ไพล 29 กรัม บดผสมอาหารลูกไก่ 100 กิโลกรัม

ฟ้าทะลายโจร :
แก้หวัด ทอนซิลอักเสบ มีการทดลองนํ าฟ้าทะลายโจร ขมิ้น และไพลมาผสมอาหารให้ไก่กินในอัตราส่วน 50-75 กรัมต่ออาหาร 3 กิโลกรัม พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคต่างๆในสัตว์

ไพล :
มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้ภายนอกเป็นยาประคบร้อน พอกแก้ฟกช้ำ บวม ลดการอักเสบ ทําให้ประสาทชาช่วยลดอาการปวดได้ ควาญช้างในภาคเหนือใช้หัวไพลเป็นยาบำรุงแก้อาการช้างเหนื่อยจากการทำงานหนัก

บอระเพ็ด :
ต้นและเถาเป็นยาบํารุงกําลัง ลดไข้ ลดการอักเสบ กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ ไล่แมลง ควาญช้างภาคเหนือใช้เถาบอระเพ็ดบำรุงแก้ช้างเหนื่อย เป็นยาเจริญอาหาร แก้อาการท้องผูกโดยใช้ร่วมกับมะขามเปียกและเกลือ ผู้เลี้ยงไก่ชนนำเถามาแช่ให้ไก่กิน เพื่อให้มีเนื้อแข็ง เรี่ยวแรงดี และเจริญอาหาร


อาการปวดแก่ไก่ชนหลังการต่อสู้ :
พญายอ :
สารสกัดพญายอสามารถป้องกันเชื้อไวรัส (Yellow Head Baculovirus) ที่ทําให้เกิดโรคหัวเหลืองในกุ้งกุลาดําได้อย่างดีและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังกระตุ้นขบวนการทําลายเชื้อโรคให้เพิ่มขึ้น

ส้มป่อย :
นำมาต้มอาบให้ไก่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนและเชื้อรา น้ำต้มใบส้มป่อยและฝักใช้หยอดให้ไก่กินช่วยขับเสมหะ เมล็ดนํามาตําหรือบดให้ละเอียดผสมนํ้าผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนให้ไก่กินเป็นยาถ่ายได้ นอกจากนี้ใบส้มป่อยยังใช้ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิให้ช้าง

กระเทียม :
แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อขับลม ขับลมเสมหะนํ้าลายเหนียวและรักษาอาการบวมชํ้าภายในของไก่ชน

ใบมะขาม :
ต้มรวมกับตะไคร้ ใบส้มป่อย ทําให้ไก่คึกคัก สบายตัว แก้หวัดทําให้หายใจคล่อง รูขนเปิด

กวาวเครือ :
มีการศึกษาการใช้กวาวเครือในสุกร โดยนำกวาวเครือบดแห้งมาผสมอาหารในอัตราส่วน 20 กรัมต่ออาหาร 100 กก. ให้สุกรนํ้ าหนัก 30-100 กก. กินนาน 2.5-3 เดือน พบว่าสุกรทั้งเพศผู้และเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีขึ้น สุกรที่กินกวาวเครือมีการกินอาหารได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินและช่วยชะลอการเป็นสัด เมื่อหยุดให้กวาวเครือ 1.5-2 เดือน สุกรตัวเมียกลับมาเป็นสัดตามปกติและสามารถผสมพันธ์ให้ลูกได้ การทดลองในสุกรเพศผู้เมื่อให้กินกวาวเครือผสมอาหารขนาด 20 กรัมต่ออาหาร 100 กก. ปรากฏว่าให้เนื้อแดงสูง มีการเจริญเติบโตดีขึ้น
----------------------------------------------------------------------

จาก : (081) 728-45x
ข้อความ : ทุเรียนปลูกใหม่ หมอนทอง ก้านยาว ชะนี อายุต้น 8 ปี ให้ผลแล้ว 3 ปี สภาพต้นสมบูรณ์ดี อยากทำนอกฤดู ต้องใช้สารบังคับตัวไหน ใช้อย่างไร ช่วยแนะนำด้วย ....ขอบคุณครับ จากทุเรียนมือใหม่ ศรีสวัสด์ กาญจนบุรี
ตอบ :
- บำรุงแบบสร้าง “ความสมบูรณ์สะสม” ทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น ทั้งทางใบ และทางราก
1. เรียกใบอ่อน
2. สะสมตาดอก
3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
4. เปิดตาดอก
5. บำรุงดอก
6. บำรุงผลเล็ก
7. บำรุงผลกลาง
8. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

- เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง ที่ช่วยให้ประสิทธิภาพประสิทธิในการทำงานสูงสุด คือ “สปริงเกอร์ + หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม” .... ทางใบ : เปิดทางใบ ปิดทางราก .... ทางราก : เปิดทางราก ปิดทางใบ-สปริงเกอร์

- มีการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ถูกต้อง สม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมกับทุเรียน อ.ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี

- หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม ให้ ปุ๋ย+ยาสมุนไพร ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ด้วยแรง งานคนเดียว

- มีความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ตรง ทั้งของตัวเอง ของคนอื่น นำมา คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ว่า ผลงานที่ปฏิบัติต่อต้นทุเรียนในแต่ละระยะพัฒนาการนั้น ใช่/ไม่ใช่ เพราะอะไร ? หรือต้องแก้ไขอย่างไร ?
-----------------------------------------------------------------------


กรณีศึกษา :
เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู
การจัดการน้ำ

ตามที่กล่าวมาแล้ว ความแห้งแล้งและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ เป็นปัจจัยสาคัญหนึ่งต่อ
กระบวนการออกดอกและการพัฒนาการของผลทุเรียน การจัดการน้าสวนนี้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

1. ช่วงหลังหมดฝน (ประมาณกันยายน) หลังจากฝนหยุดตก 3 วัน จึงเริ่มให้น้าเพื่อเร่งกระบวนการสร้างอาหารให้ต้นมีความสมบูรณ์ โดยจะให้ประมาณ 3 วัน/ครั้ง แต่ละครั้งให้นานประมาณ 30 - 60 นาที (ตามความแห้งของดิน) โดยใน 1 ต้น จะมีหัวน้ำแบบสปริงเกอร์ ประมาณ 2 หัวห่างจากโคนต้นประมาณ 50 ซม. จนกระทั่งต้นมีความสมบูรณ์พร้อมออกดอก จึงงดน้ำเพื่อกระตุ้นการออกดอก ช่วงนี้สาคัญที่สุดถ้าทุเรียนได้รับน้ำจากน้ำธรรมชาติ (ฝนตก) ทุเรียนจะไม่ออกดอกแต่จะแตกเป็นกิ่ง/ใบแทน และเมื่อปริมาณดอกตามต้องการแล้วจึงให้น้าตามปกติ

2. หลังจากติดขนาดเท่ากับกระป๋องนม หรือประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 - 3.5 นิ้ว ให้น้าประมาณ 2 วัน/ครั้ง อัตราเดิม (เป็นช่วงที่ต้องการน้ำสูงเพื่อบำรุงผล) และเริ่มลดปริมาณให้น้ำลงช่วงเริ่มเก็บเกี่ยว

การจัดการปุ๋ยและธาตุอาหาร

- หลังเก็บเกี่ยวใส่ปุ๋ยมูลวัวประมาณ 40-80 กิโลกรัม/ต้น โดยหว่านรอบทรงพุ่ม ให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร
- หลังตัดแต่งกิ่ง (เดือนกรกฎาคม) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น
- หลังจากให้ปุ๋ยครั้งแรก 1 เดือนหว่านปุ๋ย 16-16-16 อัตราเดิม
- เดือนกันยายนกระตุ้นการออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น
- เดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น

- หลังติดผล 2 เดือนเพื่อการขยายผลให้ฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบสูตรทางด่วนหรือสาหร่าย ,ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-15-15 , 7-13-34 ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน

บทสรุป

การทาทุเรียนนอกฤดู เป็นเรื่องที่ยากสาหรับสภาวะฟ้าอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง ฤดูกาลที่แปรเปลี่ยน ฝนตกนอกฤดูมากขึ้น เป็นปัจจัยสาคัญต่อความเสี่ยงในการทานอกฤดู จึงเน้นที่การก่อนฤดูแทนที่ ไม่ต้องใช้สารเคมีบังคับการออกดอก เพียงแต่การจัดการที่ถูกต้องเท่านั้น และใช่ว่าจะได้ผลดีทุกครั้ง แต่มีน้อยครั้งที่ไม่ให้ผลเท่าที่ควร การทาทุเรียนก่อนฤดูแรงจูงใจสาคัญคือราคาทุเรียนฤดูสูงมากเพราะเป็นช่วงต้นฤดูกาล

สนใจติดต่อข้อมูลเพิ่มได้ที่สานักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี หรือสานักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง 038-615118,611578 ได้ทุกวันในเวลาราชการ

อ้างอิง นางสาววรนุช สีแดง นักวิชาการเกษตรช้านาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ส้านักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง

http://luckkaset.igetweb.com
------------------------------------------------------------------------

การใช้สารพาโคบูตราโซล (paclobutrazol) ความเข้มข้น 0, 250, 500 และ 750 ppm. ฉีดพ่นให้ทางใบแก่ทุเรียนพันธุ์ชะนี อายุ 7-8 ปี ที่ตำบลซึ้งล่าง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ได้ทำการฉีดพ่นให้แก่ทุเรียน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เพื่อชักนำให้ทุเรียนออกดอกก่อนฤดูปกติ เมื่อทุเรียนแทงช่อดอกอยู่ในระยะเหยียดตีนหนู หรือระยะตาปู ทำการฉีดพ่นจิบเบอเรลลิค แอซิค (GA) ความเข้มข้น 5 ppm. ให้กับต้นทุเรียนที่ได้รับการฉีดพ่นสารพาโคบูตราโซลทุกต้น ผลปรากฏว่าพาโคบูตราโซลที่ความเข้มข้น 750 ppm. ตามด้วยการฉีดพ่นจิบเบอเรลลินความเข้มข้น 5 ppm. สามารถชักนำให้ทุเรียนพันธุ์ชะนี ออกดอกก่อนฤดู 72 วัน มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกก่อนฤดู 93 เปอร์เซ็นต์ ดอกและผลมีการพัฒนาอย่างปกติ ให้ผลผลิตก่อนฤดูสูงสุด (97.60 กิโลกรัมต่อต้น) โดยมีคุณภาพผลผลิตไม่เปลี่ยนแปลง และมีรายได้สุทธิต่อต้นสูงที่สุด (4,626.69 บาทต่อต้น)
http://kucon.lib.ku.ac.th
------------------------------------------------------------


มือทุเรียนหมอนทอง ก่อนฤดู สุดชายแดนบูรพา

วรนุช สีแดง
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ เรื่อง / รูป

คุณสุริยา กล่อมสังข์ เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวนของจังหวัดตราด ด้วยความโดดเด่นของการเป็นนักคิด นักจัดการทุเรียนก่อนฤดู และมีความเสียสละ จึงทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรตัวอย่างของจังหวัดตราด

อยู่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 1 ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีการปลูกทุเรียนหมอนทองทั้งสิ้นจำนวน 800 ต้น อายุทุเรียนเฉลี่ยประมาณ 6-7 ปี ให้ผลผลิต 80-90 ตัน หรือเฉลี่ยประมาณ 115 กิโลกรัม/ต้น ต้นทุนการผลิตประมาณ 1,000,000 บาท/ปี/800 ต้น โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียน ประมาณ 6,000,000 บาท จะเห็นได้ว่าเป็นข้อมูลที่น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง แต่กว่าจะมีวันนี้ได้ ก็ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์มา ณ ระยะเวลาหนึ่ง มีปริมาณผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ราคาขายโดยเฉลี่ย 55-60 บาท/กิโลกรัม จากการทำทุเรียนก่อนฤดูที่ผ่านมา คุณสุริยา มีหัวใจหลักหรือแนวทางในการทำงาน ใหญ่ๆ ดังนี้

1. รู้และเข้าใจพืช
2. การจัดการพืช
3. การตลาดและการจำหน่าย

“ที่สวนจะทำทุเรียนก่อนฤดูทุกปี ไม่มีว่างเว้น ข้อเสียส่วนใหญ่ของการทำทุเรียนนอกฤดูคือ โรคโคนเน่า (Phytophthora spp.) ซึ่งเป็นโรคที่รักษาค่อนข้างยาก หรือแทบไม่คุ้มกับการรักษา ซึ่งที่สวนเจอกับปัญหานี้ประจำ ทุเรียนจะค่อยๆ ทยอยตาย แต่สำหรับผม การทำทุเรียนก่อนฤดูเป็นการทำเพื่อธุรกิจการค้าเป็นหลัก หากมีทุเรียนตายก็ปลูกใหม่ ผมมีการวางแผนการปลูกชดเชยต่อเนื่องตลอด หลังจากปลูกประมาณ 3-4 ปี ก็เริ่มทำสารใหม่ได้อีก นับว่าคุ้มค่ามากกว่า”

ขั้นตอนและวิธีการทำทุเรียนนอกฤดู ตามแบบของคุณสุริยา
กระตุ้นราก :
หลังเก็บเกี่ยว (ต้นเมษายน) ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน (ประมาณปลายเดือนเมษายน) โดยใช้กรดฮิวมิก + อะมิโนแอซิด อัตรา 100 ซีซี/ต้น ผสมน้ำรดอัตรา 70-100 มิลลิลิตร/ต้น ทิ้งไว้ 1 เดือน ใบอ่อนเริ่มแตก (ชุดที่ 1) ใบอ่อนเริ่มคลี่ (เดือนพฤษภาคม) บำรุงต้น ใบ และราก ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และปุ๋ยมูลค้างคาวสลับกับปุ๋ยกระดูกป่น อัตรา 0.5 : 0.5 กิโลกรัม โรยรอบโคน อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น

ใบอ่อนแตกเต็มที่ :
หลังจากใส่ปุ๋ย 15 วัน ใช้สาหร่ายไซโตคินิน เพื่อทำลายการพักตัวและกระตุ้นให้แตกใบอ่อนพร้อมกันชุดเดียว (ชุดที่ 2) ร่วมกับปุ๋ยเกล็ดทางด่วน สูตร 13-0-46 หรือ 13-5-30 (โพแทสเซียมไนเตรต) อัตรา 300 กรัม/ต้น เพื่อบำรุงต้นและใบ

ทำสาร :
หลังจากแตกใบอ่อนชุดที่ 2 และสภาพอากาศแล้ง (ต้องแล้งก่อนทำสาร 1 ชั่วโมง) ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นพอเปียก (หลังจากทำสารประมาณ 1 เดือน ถึง 1 เดือนครึ่ง ทุเรียนเริ่มออกดอก)

บ่มใบ/เร่งการสะสมอาหารและเร่งให้ใบเขียวเข้มเร็วขึ้น :
หลังจากทำสาร 7 วัน ใส่ปุ๋ยเกล็ด 6-12-36 อัตรา 300 กรัม ร่วมกับปุ๋ยแมกนีเซียม (เดี่ยวๆ) อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นในวันที่ฟ้าโปร่งและฝนแล้ง ฉีดพ่นติดต่อกันประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7-10 วัน (รวมเวลาประมาณ 1 เดือน)

เริ่มออกดอกให้เห็นระยะไข่ปลา :
ช่วงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ปล่อยให้กระทบแล้งประมาณ 3-4 วัน จนเห็นดอกทุเรียนพ้นจากระยะไข่ปลาเป็นลักษณะแหลมๆ ให้กระตุ้นน้ำหรือขึ้นน้ำ เพื่อกระตุ้นให้การไหลเวียนของจิบเบอเรลลินและออกซิน เพื่อให้มีการออกดอกตามมา โดยให้ที่รากแก้ว จุดที่ให้น้ำห่างโคนต้นทุเรียนประมาณ 50 เซนติเมตร ให้เพียงแค่พออยู่ได้ และต้องไม่มากเกินไป หลังจากขึ้นน้ำทุเรียนจะทยอยออกดอกเป็นระยะไข่ปลามากขึ้น

ทำลายการพักตัว :
โดยใช้โบรอนเดี่ยว (โบรอนโกลด์) 100 ซีซี + อะมิโนแอซิด (อมินอล) 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นโดยให้เน้นที่ใต้ท้องกิ่งที่อยู่ในระยะไข่ปลา จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน

ดอกระยะตาปู :
ใช้จิบเบอเรลลินชนิดเม็ด อัตรา 2 เม็ด/น้ำ 200 ลิตร เพื่อยืดขั้วดอก/ผล ฉีดพ่นที่กลุ่มดอกทุเรียน จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3-5 วัน

ดอกระยะเหยียดตีนหนู :
ฉีดพ่นด้วยแคลเซียมและโบรอน (แคล 40 + โบรอนเดี่ยว) อัตรา 100 + 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อให้ดอกสมบูรณ์และยาวขึ้น ฉีดพ่นที่กลุ่มดอก จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5 วัน (จนกระทั่งดอกบาน)ก่อนดอกบาน ให้แต่งดอกทุเรียน โดยให้เลือกดอกที่เป็นรุ่นเดียว/ต้นไว้

ระยะไข่ปลา-ดอกบาน :
ใช้เวลาประมาณ 45-50 วัน (ไข่ปลา-ตาปู 10 วัน, ตาปู-เหยียดตีนหนู 7 วัน, เหยียดตีนหนู-มะเขือพวงเล็ก 15 วัน, มะเขือพวงเล็ก-หัวกำไล 10 วัน,หัวกำไล-ดอกบาน 7-10 วัน)

การช่วยผสมเกสรดอกทุเรียน :
ใช้แปรงขนกระต่าย ปัดกลับไปกลับมาที่ดอก ระยะดอกบานในช่วงเวลา 19.00-21.00 น. ทำติดต่อกัน 3 คืน

การแต่งผล แต่งผลทุเรียน จำนวน 4 ครั้ง คือ

1. ผลขนาดลูกหมาก (อายุผลหลังดอกบาน 3 สัปดาห์)
2. ผลขนาดผลส้ม (อายุผลหลังดอกบาน 5 สัปดาห์)
3. ผลขนาดกระป๋องนมข้น
4. ผลอายุหลังดอกบาน 2 เดือน (น้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัม/ผล) โดยคัดเอาเฉพาะผลรูปทรงสวย และตามปริมาณการติดผลของต้น (ถ้าไว้ผลมาก ทุเรียนจะสลัดผลที่ดีๆ ทิ้ง)

การเก็บเกี่ยว :
เก็บเกี่ยวทุเรียนที่ระยะความแก่ 80-90% (ประมาณ 93-95 วัน หลังดอกบาน) เจาะดูเนื้อทุเรียนเหลืองและเรียบเนียน

การตลาดและจำหน่าย :
ส่งออก 100%

เทคนิคการแก้ปัญหาทุเรียนแตกใบอ่อนระยะติดผล :

คุณสุริยา กล่าวว่า หากทุเรียนอยู่ในระยะติดผลแล้วมีการแตกใบอ่อนพร้อมกันทั้งต้น ทำให้มีการแย่งอาหารกันระหว่างใบและผล ซึ่งผลที่ได้รับตามมาคือ ผลทุเรียนจะเสียหายเรื่องคุณภาพและมีการสลัดผลทิ้ง แต่ถ้าหากมีการแตกใบอ่อนแบบทยอยแตก จะส่งผลดีต่อคุณภาพทุเรียน ดังนั้น วิธีการแก้ไขคือ จะทำอย่างไร ให้ทุเรียนค่อยๆ ทยอยแตกใบอ่อน ที่สวนจะใช้เทคนิคโดยการให้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-7+2 (เพื่อลดการควบคุมความอวบอ้วนของหนามทุเรียน และถ้าสังเกตเห็นหนามทุเรียนบวมและโตเร็ว ให้เปลี่ยนเป็นสูตร 8-24-24 แทน) และปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 0.5 : 1 กิโลกรัม ใส่หลังดอกบานจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ประมาณ 15-20 วัน/ครั้ง

การจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนเป็นโรคโคนเน่า :

คุณสุริยา กล่าวเพิ่มเติมว่า การเป็นโรคโคนเน่าของทุเรียน จะเกิดเฉพาะต้น ไม่ได้เกิดกันทั้งแปลง สาเหตุของปัญหาเกิดจากการดูแลไม่ทั่วถึงของเจ้าของสวนเอง เช่น การระบายน้ำไม่ดี มีการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลติดต่อกัน ต้นทุเรียนงามเกินไป เป็นต้น

แนวทางที่สวนปฏิบัติอยู่ คือ

1. ระยะสั้น ถ้าหากมีการเป็นโรคเกิน 50% จะโค่นต้นทิ้ง เพราะไม่คุ้มค่าการรักษา
2. ระยะยาว มีรายงานทางวิชาการระบุว่าต้นตอทุเรียนที่ทนทานต่อโรคโคนเน่ามากที่สุดคือ ทุเรียนนก และพวงมณี รองลงมา ที่สวนคุณสุริยาได้ปลูกทุเรียนเพิ่มเติมใหม่จากแปลงเดิม โดยใช้ต้นตอเป็นพันธุ์ทุเรียนนกทั้งหมด

การขยายผลและการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำทุเรียนก่อนฤดู :

คุณพิศิษ กัณฑิโกวิท เกษตรอำเภอคลองใหญ่ ได้กล่าวกับผู้เขียนว่า จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของอำเภอคลองใหญ่เป็นพื้นที่ที่ได้เปรียบของการทำทุเรียนก่อนฤดู ประกอบกับปัจจุบันมีการขยายพื้นที่การปลูกทุเรียนในอำเภอเริ่มมากขึ้น แนวทางการเตรียมการระยะยาวคือ การสร้างและรวมกันเป็นกลุ่มผลิตทุเรียนก่อนฤดูอำเภอคลองใหญ่ เพื่อช่วยกันตั้งแต่การจัดการผลิต ตลอดจนการบริหารจัดการทางการตลาด เพื่อให้กลุ่มเข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองให้มากยิ่งขึ้น โดยให้คุณสุริยา ที่เต็มใจและพร้อมที่จะเป็นแกนหลักการวางแผนการผลิตทุเรียนก่อนฤดู โดยมีสำนักงานเกษตรอำเภอคลองใหญ่และสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด เป็นพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนในการดำเนินการดังกล่าว

บทสรุป :

คุณวิชิตร ช่วยพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง กล่าวถึงการผลิตและการตลาดทุเรียนของภาคตะวันออกว่า ไม่มีปัญหารุนแรงมาหลายปีแล้ว เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีและการขนส่งมีบทบาทช่วยให้เรามีการส่งออกทุเรียนได้มากขึ้น ภาคตะวันออกแต่ละปีมีผลผลิตทุเรียนออกมามากกว่า 300,000 ตัน แต่ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผมได้เข้ามาดูแล ปัญหาที่เราพบจากทุเรียนมีเพียงอย่างเดียวก็คือ ทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือทุเรียนอ่อน ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับอนาคตและทิศทางการตลาดของทุเรียนบ้านเรา การตัดทุเรียนอ่อนเกิดจากการที่ทั้งเกษตรกรและพ่อค้า ไม่มีจิตสำนึกตระหนักถึงผลเสียหายในระยะยาว เป็นการทำลายตลาดและราคาทุเรียน ดังนั้น สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือ ทุเรียนอ่อนแม้ว่าจะขายได้ราคา แต่ในวันข้างหน้า เราเจอตลาดคู่แข่งทางการค้า ปัญหาราคาทุเรียนตกต่ำจะกลับมาเหมือนผลไม้หรือสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ที่เราเห็นเป็นประจำทุกๆ ปี


ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578
สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด (039) 511-008
สำนักงานเกษตรอำเภอคลองใหญ่ (039) 581-355 หรือ (081) 762-7687
คุณสุริยา กล่อมสังข์ (081) 865-5924

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366093178

----------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©