-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ25MAY *ทุเรียนอ่อน การแก้ไข
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ25MAY *ทุเรียนอ่อน การแก้ไข
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ25MAY *ทุเรียนอ่อน การแก้ไข

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/05/2016 10:38 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ25MAY *ทุเรียนอ่อน การแก้ไข ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 25 MAY

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)


----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

------------------------------------------------------------------------


จาก : (083)230-02x
ข้อความ : ผู้พันครับ ผมซื้อทุเรียน จาก จ. .... บุรี 12 ลูก จาก จ. ..... บุรี 15 ลูก จะเอาไปฝากเพื่อนที่มาเลเซีย ซื้อมาไว้ที่บ้าน กทม. 2 วัน ยังไม่สุกแม้แต่ลูกเดียว ขนไปมาเลเซีย อยู่ที่นั่นอีก 3 วัน ก็ยังไม่สุก ผมกลับมาเมืองไทยแล้ว 3 วัน ถามไปที่มาเลเซียก็บอกว่า ยังไม่สุก ยังผ่ากินไม่ได้ ถามผู้พันว่า ผมควรทำอย่างไร .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- คำถามนี้ คนถามคงมีคำตอบแล้ว แต่ที่ถามมาเพราะต้องการระบายความในใจซะมากกว่า
- ทุเรียนไม่สุก คือ ทุเรียนดิบ กินไม่ได้ .... แก้ไข : ทำทุเรียนแกงบวด (เหมือนกล้วย บวดชี) หรือ ทำทุเรียนทอดกรอบ เท่านั้น ไม่รู้ว่าคนมาเลเซียกินแบบไหน

- เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ไต้หวันสั่งนำเข้าทุเรียนจากไทย (จังหวัดไหนไม่รู้) เวลาขาย คนขายจะแกะเนื้อให้เลย เพราะคนกินแกะไม่เป็น คนขายแกะออกมาแล้วเจอดิบ ดิบ ดิบ แกะ 5 ลูกได้ขาย 1 ลูก ทิ้ง 4 ลูก งานนั้นไต้หวันเข็ดจนวันตาย ไม่สั่งนำเข้าอีกเลย แบบนี้ไม่เรียกว่า “ทุบหม้อข้าวตัวเอง” แล้วจะเรียกว่าอะไร

- ปีนี้ ล้งจีนกว้านซื้อทุเรียนแบบเหมาสวน ที่น่าสงสัย คือ ทุเรียนในสวนเดียวกัน รุ่นปีการผลิตเดียวกัน ทุกต้นทุกลูกทุกสายพันธุ์ แก่เท่ากันแก่พร้อมกัน เลยเหรอ แล้วถ้าเอาต่างสวนมารวมด้วย ถึงสวนติดกันก็เถอะ ทุกสวนทุกต้นทุกลูก แก่เท่ากันเดี๊ยะเลยเหรอ ? .... ขอให้ตามข่าวทุเรียน LOT นี้ถึงจีนแล้วจะมีข่าวตามมา ทุเรียนอ่อน ๆๆ ๆๆ ปีหน้าล้งกดราคาระเบิดแน่

- เท่าที่เห็น ชาวสวนทุเรียนเขาจะผูกเชือกปอพลาสติกเป็นเครื่องหมายไว้ที่ลูกหรือกิ่งที่ติดเป็นลูกรุ่นเดียวกัน ในต้นมี 5 รุ่นก็ผูกเชือก 5 สี เมื่อรุ่นแรกครบอายุจะเก็บเฉพาะรุ่นแรกก่อน จากนั้นอีก 7-10 วันจึงจะเก็บรุ่น 2 และรุ่นต่อๆ มาทุก 7-10 วัน

- คุณภาพจากการบำรุง ส่วนของ “สี กลิ่น รส” ของทุเรียนที่ ได้รับ/ไม่ได้รับ ธาตุรอง ธาตุเสริม ย่อมต่างกันแน่นอน ที่เรียกว่า “รสจัดจ้าน” ประมาณนั้นนั่นแหละ

- เกษตรกรรม ไม่ใช่ อุตสาหกรรม .... ทุเรียนในต้นเดียวกัน แต่ละผลทุกผลต้องมีความต่างกันบ้าง ไม่มากก็น้อย เพราะเกษตรกรรม ไม่มีบล็อค ไม่มีเครื่องวัด ต่างกับอุตสาหกรรมที่ผลผลิตทุกชิ้นมีบล็อค มีเครื่องวัด

- พยายามติดตามข่าว เครื่องฉายรังสี วัดความแก่ของทุเรียน ที่หลายมหาลัยทำขึ้นมา วันนี้เครื่องมือตัวนี้ยังทำไม่สำเร็จ ใครทำได้รับรอง รวย .... ไม่เฉพาะเครื่องมือวัดทุเรียนอย่างเดียว เครื่องวัดผลไม้อื่นๆ ก็ด้วย เช่น วัดความแก่ วัดความหวาน หรือวัดค่าที่ต้องการ

- แปลก ประเทศไทยเมืองเกษตร แต่ไม่มีเทคโนโลยีตัวนี้ ทั้งๆที่นักวิทยาศาสตร์เต็มบ้านเต็มเมือง เดินชนกันตาย ทำขึ้นมาได้ จดทะเบียนลิขสิทธิ์โลก จำหน่ายทั่วโลก มิดีเหรอ ?
-----------------------------------------------------------------------


http://www.lib.ku.ac.th/KUCONF/2555/KC4911017.pdf
เครื่องวัดความสุกแก่ของทุเรียนพันธุ์หนอนทองโดยน้ำหนักแห้ง

http://www.lib.buu.ac.th/st/Engineering/Electrical/2551/EE-51-16.pdf
เครื่องวัดความสุกของผลไม้แบบไม่ทำลายโดยใช้การประมวลผลสัญญาณเสียงเคาะ

http://www.dailynews.co.th/article/399038
เครื่องวัดความอ่อนแก่ทุเรียน คว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์โลก

http://www.kmutt.ac.th/rippc/mast_47.htm
เครื่องต้นแบบสำหรับตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียน แบบไม่ทำลายด้วยการใช้อุลตร้าโซนิกส์

http://www.thairath.co.th/content/507735
สจล. คิดค้นเครื่องวัดคุณภาพทุเรียน อ่อน-แก่ นำร่องใช้ที่ ชุมพร

----------------------------------------------------------------------


สาเหตุทุเรียนไม่สุก :

1. ทุเรียนอ่อน อายุผลยังไม่ถึง/ไม่ครบอายุ ชิงเก็บก่อนเพื่อชิงตลาด .... แก้ไข : รอให้ครบอายุอย่างแท้จริง เรื่องทุเรียน แก่/ไม่แก่ ชาวสวนรู้ดี ปัญหานี้อยู่เจตนาของชาวสวน

กรณีศึกษา :
จ่าสมพงษ์ สกุลดิษฐ์ อดีตพลขับรถ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีสวนทุเรียนย่านบางกรวย เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษราว 20 ไร่ ยกให้สร้างทางถนนวงแหวน 2 ไร่ ที่เหลือมีนักการเมืองใหญ่จาก จ.พิจิตร ขอซื้อไร่ละ 20 ล้าน .... จ่าสมพงษ์ฯ ไม่ขายจนกระทั่งทุกวันนี้ ที่ดินตรงนี้ราคาไร่ละ 30 ล้าน

ทุเรียนในสวนเป็นทุเรียนโบราณ "ลวง - ก้านยาว - ชะนี - หมอนทอง" ราคาหน้าสวน จองล่วงหน้าข้ามปี ผลละ 1,300 - 2,500 บาท ทุกปีไม่พอขาย .... เทคนิคทำให้ทุเรียนอร่อยแบบทุเรียน ไม่ใช่ทุเรศ ง่ายๆ คือ ไม่ต้องทำอะไรเลย....

สวนนี้ ไม่ปุ๋ยเคมี - ไม่ฮอร์โมน - ไม่ปุ๋ยคอก - ไม่ปุ๋ยชีวภาพ - ไม่ยาฆ่าหญ้า - ไม่สารเคมีฆ่าแมลง - ไม่ตัดหญ้าถ้าไม่เกะกะขวางทางเดิน - ไม่ตัดแต่งกิ่ง - ไม่ตัดแต่งช่อดอก - ไม่ผสมดอก - ไม่ซอยผล - ห่อผลด้วยตาข่ายลวดป้องกันกระรอก - เก็บผลเก่าที่ร่วงออก

ทุเรียนสวนนี้ไม่เคยนับอายุผล เพราะไม่รู้จะเริ่มนับ 1 วันใด ทุกวัน เช้า - สาย - บ่าย - ค่ำ จ่าสมพงษ์ฯ จะเดินเข้าไปในสวนให้ทุเรียนเห็นหน้า (จ่า.พูดตลก) ก็ได้แต่มองดู ไม่ได้ทำอะไร

ช่วงที่ทุเรียนเริ่มแก่ (กะด้วยสายตาระดับเซียน...) สำรวจตามพื้นดินโคนต้น พบลูกไหนร่วง หยิบขึ้นมาผ่าพิสูจน์ ลูกนี้เพิ่งร่วงเมื่อเช้า เมื่อสาย เมื่อบ่าย หรือเมื่อคืนนี้เอง เก็บขึ้นมาแล้วสังเกตุด้วยสายตาก็รู้ เพื่อความแน่ใจต้องผ่าดูข้างใน นั่นแหละทุเรียนแก่ "ใช่เลย" ยกโทร. แจ้งลูกค้าได้เลย

นั่นคือ สัญญานบอกว่า ทุเรียนบนต้น "แก่แล้ว" จึงเริ่มลงมือเก็บผลชุดแรก จากนั้นอีก 7 วันลงมือเก็บชุดที่ 2 และอีก 7 วันต่อมาก็ลงมือเก็บผลชุดที่ 3 ส่วนใหญ่ปีหนึ่งๆ จะได้ 3 ชุด เพียงบางปีเท่านั้นที่ได้ 4 ชุด

สรุป :

จ่าสมพงษ์ฯ ไม่ได้ดูทุเรียนแก่ด้วยการเคาะผล หรือดูสี. หนาม. ปลิง. แต่ปล่อยให้ลูกแก่จัดคาต้น จนกระทั่งลูกแรกร่วงลงมาจากต้นเอง เหมือนเป็นส่วนล่วงหน้าลงมาแจ้งข่าวว่าทุเรียนต้นนี้แก่แล้ว .... ไม่ใช่ท่านในโกฐบอกนะ

ทุรียนนนท์หลายสวน (ที่เคยสัมผัสพูดคุยกัน กว่า 10 สวน) ที่มีลูกค้าจองล่วงหน้าข้ามปี สนนราคาประมาณของจ่าสมพงษ์ฯ นี่แหละ

2. ทุเรียนแก่ อายุผลครบ อีก 1 อาทิตย์จะเก็บ แล้วเจอฝน .... แก้ไข :

- ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน ชาวสวนทุเรียนทำทุเรียนมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ แล้วไม่รู้ธรรมชาตินิสัยของทุเรียน เป็นไปไม่ได้ หรือรู้ทั้งรู้แต่เก็บมาขายเพราะต้องการ “ชิงตลาด” กะขายก่อนจะได้ราคาดีๆ ทุเรียนก็เลยกลายเป็นทุเรศ คนกินซื้อทุเรียนแบบยกลูกโอกาสเสี่ยงไม่ได้กินสูง 3 ใน 4 ถ้าซื้อทุเรียนแกะใส่โฟมก็ยังเสี่ยงไม่ได้กิน 1 ใน 4 ว่ามั้ย ....

ถึงหน้าทุเรียนออกตลาดที รถปิ๊คอั้พวิ่งเร่ขาย ดั๊มราคาลงแข่งกัน ราคาถูกแค่ไหนก็ต้องขาย ไม่ขายก็ไม่ได้เพราะอายุหลังเก็บเกี่ยวหมดแล้ว ....

ที่น่าสงสัยอย่างมากๆ ก็คือ “ทุเรียนนอกฤดู” ทำไมไม่ทำกัน โดยเฉพาะหมอนทองตอบสนองต่อพาโคลบิวทาโซลดีมากอยู่แล้ว ส่วนพันธุ์อื่นที่ไม่ตอบสนองต่อพาโคลบิวทาโซลก็ว่ากันไป ถึงวันนี้แล้วยังมีชาวสวนทุเรียนที่ไม่รู้ว่าทุเรียนทำนอกฤดูได้อีกหรือ ....

ราชาแห่งผลไม้ระดับทุเรียน มีตลาดของตัวเองมันอยู่แล้ว แพงแค่ไหนคนรวยก็ยอมซื้อกิน สำคัญแต่ว่า อร่อยจริงไหม เท่านั้น ไม่ใช่ขนาดเจ้าของยังไม่กินก็ไม่ต้องพูดกัน

@@ ธรรมชาตินิสัยทุเรียน :

- อายุผลตั้งแต่เริ่มติดหรือกลีบดอกร่วงถึงเก็บเกี่ยว .... กระดุม 90-100 วัน.... ก้านยาว 120-135 วัน.... ชะนี 110-120 วัน.... หมอนทอง 140-150 วัน.... ทั้งนี้ช่วง 20-30 วันสุดท้ายของอายุผลนั้นสภาพอากาศจะต้องแห้งแล้งหรือไม่มีฝน หากมีฝนหรือต้นได้รับน้ำมากอายุผลจะยืดยาวออกไปอย่างไม่มีกำหนดหรือจนกว่าจะกระทบแล้ง

- ฝนชุกช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทำให้ผลทุเรียน แก่ช้า เปลือกหนา เนื้อเป็นเต่าเผา ไส้ล้ม สีไม่ออก กลิ่นไม่ออก ผลแตก และผลร่วง สาเหตุเป็นเพราะต้นได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนมากเกินไป

@@ แนวทางแก้ไข :

- ตามปกติช่วงผลแก่ใกล้เก็บมักใส่ปุ๋ยทางรากสูตร “8-24-24” หรือ “9-26-26” ควบคู่กับการให้ปุ๋ยทางใบสูตร “0-0-50 หรือ 0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าจะมีฝนแล้วก็ควรให้ล่วงหน้าเป็นการเตรียมตัวไว้ก่อนจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าฝนตกแล้วจึงให้

- ผลแก่ใกล้เก็บแล้วได้รับน้ำจากฝนทำให้ผลแก่ช้า อายุผลที่ควรแก่จัดตามกำหนดจึงต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด การปฏิบัติสำหรับขั้นตอนนี้ คือ ให้ปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบสูตรดังกล่าวไปเรื่อยๆ พร้อมกับเปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินมากๆ เมื่อมีแสงแดดหรือฟ้าเปิด ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำขังค้างโคนต้น หลังจากฝนหมดแล้วให้บำรุงด้วยสูตรเดิมทั้งทางใบและทางรากต่อไปอีกพร้อมกับงดน้ำ 15-20 วัน ระหว่างนี้ให้สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของผล แล้วสุ่มเก็บมาผ่าดูภายในก็จะเห็นและรู้ว่าสมควรต้องยืดอายุผลออกไปอีกนานเท่าไรผลจึงจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้

@@ แนวทางแก้ปัญหาเรื่องผลแก่ตรงกับฝนชุก คือ วางแผนกะเวลาบำรุงต้นล่วงหน้าให้ได้ผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง

- วิธีเก็บเกี่ยวทุเรียนของชาวสวนทุเรียนเมืองนนทบุรี “ไม่ใช้” วิธีนับอายุผล เพราะรู้ว่าเอาแน่นอนไม่ได้ เนื่องจากน้ำใต้ดินโคนต้นหรืออาจจะมีฝนตก แต่ใช้วิธีปล่อยให้ผลใดผลหนึ่งร่วงจากต้นลงมาเองก่อน 1 ผล แล้วเก็บผลร่วงนั้นมาผ่าดูภายในก็จะเห็นชัดว่าทุเรียนแก่สมควรเก็บเกี่ยวได้หรือยัง เมื่อเห็นว่าแก่จัดเก็บเกี่ยวได้แล้วจะลงมือเก็บผลที่เป็นรุ่นเดียวกันนั้นก่อน จากนั้นอีก 7 วันจะลงมือเก็บรุ่นสอง และรุ่นสามไปเรื่อยๆ แต่ละรุ่นห่างกัน 5-7 วัน จนกระทั่งหมดทั้งต้น

- นำผลทุเรียนแก่ที่เก็บเกี่ยวลงมาแล้วแช่ใน "อีเทฟอน 50 ซีซี.+ น้ำ 100 ล." จนมิดทั้งผล นาน 2 นาที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำไปบ่มตามปกติ ผลทุเรียนจะสุกภายใน 3 วัน .... วิธีนี้ใช้กับผลที่แก่ไม่จัดก็ได้ หลังจากผลได้รับ อีเทฟอน ไปแล้วเนื้อจะอ่อนนุ่มเหมือนทุเรียนสุกทุกประการ แต่รสและกลิ่นไม่ดี

@@ หลักการสังเกตทุเรียนแก่ :

จากหนังสือสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน

1. สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนยืดหยุ่นมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน

2. สังเกตหนาม ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ายืดหยุ่น

3. สังเกตรอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่จัดจะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัด เจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว

4. การชิมปลิง ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะพบน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน

5. การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม เมื่อเคาะเปลือก ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกกับเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน

6. การปล่อยให้ทุเรียนร่วง ปกติดอกทุเรียนแต่ละรุ่นในแต่ละต้นจะบานไม่พร้อมกัน และมีช่วงต่างกันไม่เกิน 10 วัน ดังนั้น เมื่อมีผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่ สุกและร่วง ก็เป็นสัญญาณเตือนว่า ผลทุเรียนที่เหลือในรุ่นนั้นแก่แล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้

7. การนับอายุ โดยนับอายุผลเป็นจำนวนวันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 100-105 วัน เป็นต้น การนับวันหรืออายุของผลจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละปี และในแต่ละท้อง ถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น ถ้าปีใดมีอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างสูง ผลทุเรียนจะแก่เร็วกว่าปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า

ข้อมูลงานวิจัยโดย สุพิทย์ มะระยงค์, ดร.หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, ศิวพร จินตนาวงศ์, ศิริพร วรกุลดำรงชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

www.chrc.ob.tc/history_durian.html -
------------------------------------------------------------------------


แจ้งตำรวจ ฟ้องศาล ข้อหาหลวกลวง :

กรณีนี้คงทำไม่ได้ เพราะไม่มี “ของกลาง” กับองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง เรียกค่าเสียหาย .... แต่มีกรณีศึกษาให้คิด


ศาลจันทบุรี ตัดสินจำคุก 2 เดือน ปรับ 3,000 บาท คดีขายทุเรียนอ่อนให้ลูกค้า

ศาลจังหวัดจันทบุรีตัดสินคดีตัวอย่างพ่อค้าขายทุเรียนอ่อน ปรับ 3,000 บาท จำคุก 2 เดือน ถือเป็นคดีที่ทำให้พ่อค้าแม่ค้าขายทุเรียนเมืองจันท์ตระหนักถึงความเสียหายมากขึ้น ก่อนนี้ปี 2557 จำคุกพ่อค้าทุเรียนระยองมาแล้วไม่รอลงอาญา

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่ากรณีที่มีนักท่องเที่ยวซื้อทุเรียนจากแผงขายผลไม้ตลาดปากแซง ต.พลับพลา อ.เมือง จ.จันทบุรี จากนายวสันต์ เกษี อายุ 48 ปี พ่อค้าทุเรียนที่ขายทุเรียนอ่อนให้ จนทำให้นักท่องเที่ยวหอบทุเรียนเข้าแจ้งความต่อ สภ.เมือง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 จนทางจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาตรวจสอบ พบว่านายวสันต์ ขายทุเรียนอ่อนให้แก่นักท่องเที่ยวจริง ทำให้ทางจังหวัดต้องจับและส่งฟ้องศาลเพื่อเป็นคดีตัวอย่าง ไม่ให้พ่อค้าแม่ค้านำทุเรียนอ่อนมาขายให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวอีก

ล่าสุดศาลจังหวัดจันทบุรี ตัดสินคดีแล้ว โดยสั่งปรับนายวสันต์ 3,000 บาท จำคุก 2 เดือน โทษจำคุกให้รอลงอาญา และหลังจากคดีนี้ตัดสินออกมาทำให้พ่อคาแม่ค้าที่ขายทุเรียนใน จ.จันทบุรี เกิดความตระหนักมากขึ้นและไม่กล้าที่จะนำทุเรียนอ่อนมาขายให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวอีก

อีกทั้งนายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดก็เอาจริงต่อเรื่องนี้ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สุ่มตรวจแผงขายผลไม้อย่างต่อเนื่องซึ่งหากพบก็จะจับ และดำเนินคดีตามกฎหมายทันที โดยไม่มีการละเว้น เพราะเป็นการเอาเปรียบต่อผู้บริโภค และทำลายชื่อเสียงของจังหวัด

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายทุเรียนอ่อนจะมีฐานความผิด คือ การซื้อขายทุเรียนอ่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2552 มาตรา 47 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 28 เมษายน 2558 ที่ สภ.เมืองจันทบุรี นายธนวัสน์ ฉายะจินดา อายุ 30 ปี พนักงานปฏิบัติการระดับกลาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 5 (กสทช.เขต 5 จันทบุรี) ได้พาครอบครัว พร้อมด้วยลูกทุเรียนอ่อน เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.นิรัญ มีศิริ ร้อยเวร สภ.เมืองจันทบุรี เพื่อให้ดำเนินคดีกับพ่อค้า-แม่ค้า แผงผลไม้แห่งหนึ่งริมถนนสุขุมวิท ที่ลักลอบจำหน่ายทุเรียนอ่อนหรือทุเรียนด้อยคุณภาพ


ทุเรียนอ่อน หรือทุเรียนด้อยคุณภาพ นำมาจำหน่าย ผิด พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค

โดยมีนายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตร จ.จันทบุรี ตลอดจน เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจปราบปรามทุเรียน เข้าร่วมสอบถามข้อมูล

นายธนวัสน์ผู้เสียหายกล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณเที่ยงของวันเสาร์ที่ 25 เมษายน ได้แวะซื้อทุเรียนจากแผงผลไม้แห่งหนึ่งใกล้กับร้านขายของฝาก บริเวณตลาดปากแซง ริมถนนสุขุมวิท ขามุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ ต.พลับพลา อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยบอกกับแม่ค้า เอาทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ต้องการกินเย็นวันนี้เลย แต่ดูว่าอ่อน-แก่ ไม่เป็น

ขณะนั้นแม่ค้าคนดังกล่าว ติดขายทุเรียนให้กับลูกค้าอีกเจ้าหนึ่ง จึงให้แฟนมาทำการเลือกทุเรียนให้ 1 ลูกน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม ซึ่งตนบอกกับพ่อค้าว่า ขอดูเนื้อในก่อน แต่พ่อค้ากลับตอบกลับมาว่าถ้าแกะดูจะทำให้อากาศเข้าไปในผลทุเรียน พ่อค้าคนดังกล่าวยังพูดจาหว่านล้อม บอกเป็นทุเรียนเกรดส่งออก ปกติขายกิโลกรัมละ 120 บาท แต่วันนี้คิดราคาให้เป็นพิเศษกิโลกรัมละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 450 บาทจึงตกลงซื้อ

จากนั้นตนมุ่งหน้ามาหาภรรยาและญาติ ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรีถึงบ้านเวลาประมาณ 19.00 น. จึงนำทุเรียนมาแกะ ปรากฏว่ากลับกลายเป็นทุเรียนอ่อน จนวันรุ่งขึ้นวันที่ 26 เมษายน 2558 ตนเพร้อมด้วยภรรยา เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องมาแจ้งท้องที่ที่ซื้อทุเรียนมา

จากนั้นจึงเดินทางกลับมาที่ จ.จันทบุรี พร้อมกับโทรศัพท์ประสานทางจังหวัด เพื่อแสดงตัวขอเข้าแจ้งความ สภ.เมืองจันทบุรี ให้ดำเนินคดีกับพ่อค้า-แม่ค้า ที่หลอกขายทุเรียนให้กับตนเอง ถึงที่สุด


ทุเรียนอ่อน ศาลระยองเคยสั่งจำคุก ปี 2557
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ช่วงเดือนเม
ษายนถึงพฤษภาคมของทุกปี จะเป็นช่วงที่ผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออกให้ผลผลิตสู่ตลาด คือ ทุเรียน เงาะ มังคุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้ออกตรวจและจับกุมพ่อค้าที่จงใจขายทุเรียนอ่อนให้กับผู้บริโภค โดยการร่วมมือกับผู้ว่าราชการ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วยระยอง จันทบุรี และตราด จัดชุดร่วมออกตรวจตามล้งและสถานที่จำหน่ายทุเรียน ในพื้นที่ 3 จังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนเป็นอันดับต้นๆของประเทศ พร้อมออกประกาศให้เจ้าของสวนและพ่อค้าทุเรียนปฏิบัติตาม

แต่ปรากฏว่ายังมีชาวสวนหลายรายฝ่าฝืน จึงมีการจับกุมเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ล่าสุดซึ่งเป็นที่ฮือฮามากและถือเป็นคดีตัวอย่างคือได้มีชาวบ้านซื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีจากพ่อค้าที่จังหวัดระยองไป แล้วกินไม่ได้เพราะเป็นทุเรียนอ่อน จึงเข้าแจ้งความดำเนินคดีเจ้าของสวน กระทั่งตำรวจสั่งฟ้องและศาลจังหวัดระยองตัดสินจำคุกพ่อค้าทุเรียนเป็นเวลา 15 วัน โดยไม่มีการรอลงอาญา เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างในการทำลายภาคการเกษตรและการส่งออกของไทย

คดีสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 นายโบว์แดง ราชสิงห์ อายุ 53 ปี และภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 326/86 ต.ในคลองบางปลาดุก อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เดินทางมาเที่ยวที่จังหวัดระยองและไปซื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีจำนวน 20 ลูก จากนายวิมล ศรีวิชัย เจ้าของสวนชาว อ.แกลง จ.ระยอง เมื่อฉีกทุเรียนที่ซื้อไปจะกิน ปรากฏว่าทุเรียนกินไม่ได้เพราะเป็นทุเรียนอ่อน จึงเข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ท.ไพรฑูรย์ ตั้งความเพียร สว.สอบสวน สภ.แกลง

หลังจากที่ไปร้องเรียนยังที่ว่าการอำเภอแกลง นายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน อำเภอแกลง จึงให้นายทรงธรรม ชำนาญ เกษตรอำเภอแกลง มาตรวจสอบพบว่าทุเรียนพันธุ์ชะนีที่นายโบว์แดงซื้อไปทั้งหมด 20 ลูก คิดเป็นน้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม และซื้อไปในราคา กก.ละ 25 บาท อ่อนทั้งหมด จึงแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว

ขณะที่นายทรงธรรม ชำนาญ เกษตรอำเภอแกลง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เมื่อคนซื้อซื้อไปแล้วกินไม่ได้ จึงนำทุเรียนมาคืนแล้วไปแจ้งความไว้ เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อชาวสวน การที่ตัดทุเรียนอ่อนออกมาขายถือว่าผิดกฎหมายผู้บริโภค เข้าข่ายหลอกลวง มีโทษปรับและจำ และจะทำราคาทุเรียนตกต่ำ ถ้าชาวสวนเองทำแบบนี้ก็ให้ดำเนินคดีโดยเด็ดขาด

กระทั่งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 ศาลจังหวัดระยองมีคำสั่งสิ้นสุดให้ดำเนินคดีกับนายวิมล ในข้อหาขายของโดยการหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุก 15 วัน โดยไม่รอลงอาญา

http://thaitribune.org/contents/detail/330?content_id=11194

------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©