-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางวิทยุ 11 APR *สารสมุนไพร (43), ส้ม สวนท่องเที่ยว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางวิทยุ 11 APR *สารสมุนไพร (43), ส้ม สวนท่องเที่ยว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางวิทยุ 11 APR *สารสมุนไพร (43), ส้ม สวนท่องเที่ยว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2016 11:37 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางวิทยุ 11 APR *สารสมุนไพร (43), ส้ม สวนท่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 11 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




สารสมุนไพร (43)

กระเทียม สมุนไพรใกล้ตัว :

โดย จิราพร เกษรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสัตว์น้ำ กรมประมง

ถ้ามีการจัดอันดับพืชผักสมุนไพรที่เป็นเครื่องเทศใช้ประกอบอาหารและรักษาโรค ตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนเชื่อว่า “กระเทียม” คงอยู่ในความคิดของใครหลายๆ คน และอาจเป็นสมุนไพรอันดับต้นๆ ในบรรดาพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จัก ท่านทราบหรือไม่ว่า ”กระเทียม” ไม่ใช่พืชประจำถิ่นหรือมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย หรือแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แท้จริงแล้วกระเทียมมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบตอนกลางของทวีปเอเซีย ต่อมาได้แพร่หลายไปยังแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีค้นพบกระเทียมถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพอายุประมาณห้าพันกว่าปี และเชื่อว่าชาวบาบิโลน

(.... บาบิโลนหรือบาบิโลเนียน แม่น้ำยูเฟติสต์ หรือแผ่นดินอิรัคในปัจจุบัน ทำน้ำหมักชีวภาพจากปลา หลักฐานเป็นรูปสลักหินในปิรามิด เป็นรูปคนคุกเข่าถือปลา อยู่ข้างๆรูปโอ่ง ....)

เป็นชนชาติแรกที่รู้จักนำกระเทียมมาใช้ในการรักษาโรค ขณะที่ชาวอียิปต์โบราณเองก็ใช้กระ เทียมทั้งในการปรุงอาหารและรักษาโรค และเชื่อว่ากระเทียมได้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารรวมทั้งใช้ในการรักษาโรคมานานหลายพันปี อาจนับย้อนหลังไปถึงช่วงของการก่อสร้างปริมิดกีซ่าก็เป็นได้ ขณะที่ชนชาติจีนและอินเดียโบราณก็มีการใช้กระเทียมในการรักษาโรคด้วยเช่นกัน มีรายงานการใช้กระเทียมในประเทศจีนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (influenza) และฆ่าพยาธิหลายชนิด เช่น พยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย เป็นต้น สำหรับคนไทยเราเชื่อว่ากระเทียมนั้นเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพและเป็นยาอายุวัฒนะ

กระเทียม เป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn อยู่ในอันดับ Asparagales วงศ์ Amaryillidaceae เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกัน 4-15 กลีบ แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆ สีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ แต่กระเทียมบางพันธุ์มีหัวตันไม่เป็นกลีบเรียกว่า “กระเทียมโทน” กระเทียมเป็นพืชที่มีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาว และแบนสูงพ้นดินขึ้นมาประมาณ 30-45 ซม. ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อมีสีขาวแกมม่วงติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมสามารถปลูกได้ดีทั้งในเขตอบอุ่น (Temperate) และเขตร้อน (Tropical) จึงพบกระเทียมได้ทั่วไป สำหรับประเทศไทยจะถูกนำเข้ามาปลูกเมื่อใดไม่มีผู้จดบันทึกไว้ แต่คงนานมากพอที่กระเทียมได้กลายมาเป็นพืชพื้นบ้านของไทยจนเราลืมนึกไปว่าเป็นพืชต่างถิ่น เนื่องด้วยมีสายพันธุ์กระเทียมที่เกิดในท้องถิ่น โดยจะปลูกกันมากทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภาคเหนือนอกจากนั้น กระเทียมยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารและยาของไทย ดังจะเห็นได้จากการปรุงน้ำพริกตำรับต่างๆ จะมีกระเทียมเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากน้ำพริกแล้วกระเทียมยังเป็นเครื่องปรุงหลักในเครื่องแกงต่างๆ ที่จะขาดเสียมิได้

นอกเหนือจากใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารแล้ว กระเทียมยังใช้เป็นผักหรือเครื่องเคียงโดยตรงได้อีกด้วย เช่น กระเทียมดอง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และช่วยเพิ่มรสชาดในอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

สาระสำคัญที่พบในกระเทียม :

กระเทียมหนึ่งหัวประกอบด้วย น้ำประมาณ 84.09% สารอินทรีย์ประมาณ 13.38% และสารอนินทรีย์ประมาณ 1.53%

สารประกอบทางเคมีที่พบในกระเทียมมีอยู่รวมกันหลายชนิด โดยมีกำมะถันเป็นองค์ประ กอบหลัก ที่มีคุณสมบัติเด่น ได้แก่ อัลลิสแตติน (Allistatin), อัลลิซิน (Allicin), อัลลิอิน (Alliin), กาลิซิน (Garlicin, และอะโจอีน (Ajoene) ซึ่งสารประกอบเหล่านี้มีคุณสมบัติเด่นในการยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส ได้หลายชนิด รวมทั้งเป็นสารกระตุ้นอิมมูน และสารต้านการแข็งตัวของเม็ดเลือด (anti-platelet compounds) และยังช่วยปกป้องต้นกระเทียมจากหนอนและแมลง

กระเทียมมีฤทธิ์เป็นทั้งยาฆ่าแมลงและสารขับไล่แมลง เราจึงปลูกกระเทียมสลับกับพืชอื่นๆ โดยที่กระเทียมจะช่วยป้องกันแมลงในแปลงปลูก

กระเทียมมาบดละลายน้ำ นำไปฉีดพ่น จะช่วยไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน แมลงกินใบ แมลงผีเสื้อ หนอนเจาะ รวมไปถึงราน้ำค้าง ราแป้งขาว ราสนิมถั่ว


นอกจากนั้นยังช่วยฆ่าลูกน้ำของยุงบางสายพันธุ์อีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าวในการทำพืชเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรไทยใช้สมุนไพรหลายชนิด รวมทั้งกระเทียมในการไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช เช่น

ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า


อย่างไรก็ตาม ปริมาณสารประกอบที่พบในกระเทียมมีปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ลักษณะดินที่ปลูก สภาพอากาศ และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว

การที่กระเทียมมีกลิ่นฉุนนั้น เกิดขึ้นเมื่อกระเทียมถูกสับ เคี้ยว หรือบด เอ็นไซม์ที่ถูกเก็บอยู่ในช่องว่างของเซลล์ ได้แก่ เอ็นไซม์อัลลิเนส (Allinase) ซึ่งจะเปลี่ยนสารประกอบเคมีธรรมชาติอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นสารประกอบกำมะถันหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น คือ อัลลิซิน (Allicin)

นอกจากจะให้กลิ่นฉุนแล้ว อัลลิซินยังเป็นสารที่ให้ความเผ็ดร้อนซึ่งรับสัมผัสได้เมื่อเราเคี้ยวกระเทียมดิบๆ แต่เมื่อนำมาปรุงอาหารอัลลิซินจะถูกทำลายทำให้ความเผ็ดร้อนของกระเทียมลดลง

อัลลิซินมีคุณสมบัติเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immune-stimulator) และสารต้านเนื้องอก (antitumor) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอะนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา สามารถใช้แก้อาการอักเสบได้ดี แต่สารดังกล่าวไม่คงตัว สลายง่าย

เมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) น้ำมันที่ได้จากการกลั่นจะมีสาร diallyl disulfide และ diallyl trisulfide เป็นองค์ประกอบหลักซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และเซลล์มะเร็ง

ขณะที่น้ำมันกระเทียมที่ได้จากการกลั่นด้วยน้ำมันหรือกระเทียมสับที่แช่ในน้ำมัน จะมีอะโจอีน และสารประกอบอื่น ที่เป็นอนุพันธุ์ของอัลลิซินเป็นองค์ประกอบหลัก มีความคงตัวมากกว่า

สารอัลลิซินในกระเทียมสด อะโจอีน มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการแข็ง ตัวของลิ่มเลือด (antithrombotic properties) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ (heart diseases) และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (stroke)

นอกจากนั้นยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัส ตลอดจนใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต (athlete’s foot)

เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสาระสำคัญจากกระเทียมในการยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัสในหลอดทดสอบพบว่าอะโจอีน มีประสิทธิภาพดีที่สุดและดีกว่า อัลลิซีน อัลลิน เมธิลไธโอซัลฟิเนต และเมธิลอัลลิน ไธโอซัลฟิเนต

http://www.aquathai.org

หมายเหตุ :

กระเทียม เป็นสมุนไพรกลุ่ม ร้อน/เย็น (ร้อนหรือเย็น ใช้ไปเถอะ เพราะมีครบทั้ง กลิ่น/รส/ฤทธิ์) เช่นเดียวกับ หอมแดง หอมหัวใหญ่ ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย พริกไทย ชะพลู ดีปลี ฯลฯ
------------------------------------------------------


ถาม : (092) 728-02xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ที่ 5 ไร่ ริมเจ้าพระยา นอกเมืองชัยนาท ถนนใหญ่ผ่านข้างที่ ตั้งใจเก็บไว้เป็นมรดกให้หลาน หลานข้าใครอย่าแตะ ผมคงรุ่นเดียวกับผู้พัน ถ้ารู้จักกันคงคุยกันมึงกูได้สนิท อยากทำสวนเกษตรท่องเที่ยว สนในมากคือ ส้มเขียวหวาน ผู้พันช่วยชี้แนะด้วยครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- การพัฒนาได้มาจาก “เรียน + รู้” ที่มาของ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ไง
.... เรียน คือ ค้นหาคำตอบด้วยการ คิด/วิเคราะห์ ในห้องเรียน ในหนังสือ จากสื่อต่างๆ
.... รู้ คือ การแปลงข้อมูลที่เรียนมาเป็นการปฏิบัติ ปฏิบัติจริง ปฏิบัติกับมือ LEARNING & DOING
.... เรียนแต่ทฤษฎี ไม่มีการปฏิบัติ นั่นแหละ ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด หรือ รู้แต่ไม่ฉลาด รู้แบบนำแก้วนกขุนทอง ฉลาดแต่ไม่เฉลียว เพราะยึดติด เคยชิน

- ส้ม ส้ม ส้ม เรื่องปลูก ตัวต้นส้มไม่ยาก ที่ยากอยู่ที่คนปลูก ปลูกส้มแทนที่จะตามใจส้มกลับตามใจคน คนที่ตามใจก็ไม่ใช่ตัวเอง แต่เป็นคนอื่นทั้งนั้น คนขายปุ๋ยขายยา คนที่ล้ม เหลวเป็นหนี้เป็นสิน .... ปลูกส้ม ตามใจส้ม ทำตามธรรมชาติของส้ม .... ปลูกกินตามใจคนในบ้าน ปลูกขายตามใจคนซื้อ

- นึกถึงภาพตัวเอง นั่งหน้าจอ ทีวี. สายตากำลังจ้องตามข่าวคลิปข่มขืนอยู่หน้าจอ ฉับพลันให้เกิดอารมย์อยากกินส้มขึ้นมาปุบปับ เผลอเอื้อมมือไปหยิบส้มขึ้นมาจากตะกร้าผลไม้ ใช้ปลายเล็บนิ้วก้อยแกะเปลือกส้ม แล้วแกะกลีบส้มใส่ปากเคี้ยว โดยไม่ต้องเหลือบสายตามอง งานนี้ ได้ทั้งดูข่าว ได้ทั้งกินของว่าง ไปพร้อมๆกัน

คิดดู .... ถ้าต้องการบรรยากาศแบบนี้ ลองเปรียบเทียบระหว่าง ส้มเขียวหวาน/ส้มโชกุน ส้มโอ ส้มเช้ง อย่างไหนกินง่ายกว่ากัน คำตอบ คือ “ส้มเขียวหวาน/ส้มโชกุน” อย่างแน่นอน นอกจากบรรยากาศในการกินแล้ว คุณค่าสารอาหารก็ไม่ได้ต่างกันอีกด้วย

ว่าแล้ว .... ซื้อส้มเขียวหวาน/ส้มโชกุน 2 กก., ส้มโอ 1 ลูก, ส้มเช้ง 1 กก. ตามลำดับของความยากง่ายในการกิน

คำตอบสุดท้าย .... ระหว่างส้ม 3 อย่าง เลือกปลูกขายอะไร ? ปลูกกินอะไร ?

- เรารักส้ม ส้มไม่รักเรา แก้ลำส้มโดย ....
1. ขายส้มครบวงจร ต้นน้ำ/กลางน้ำ/ปลายน้ำ ขายทุกอย่างที่ส้มสร้างเงินสร้างทองได้ เช่น ขายผลส้ม (ขายส่ง/ขายปลีก), ขายน้ำส้มคั้น (ขายส่ง/ขายปลีก), ขายกิ่งพันธุ์,

2. มีตัวตายตัวแทน วันที่ไม่มีส้มขาย ให้ขายอย่างอื่นแทน เช่น จัดโซนเอาผลผลิตก่อน/หลัง, ปลูกพืช แซม/แทรก (บนพื้น/ไฮโดรโปรนิกส์....ขายส่ง/ขายปลีก)

* แปลงส้ม :

- แปลง ส้มเขียวหวาน/ส้มโชกุน ระยะชิด
- จัดแปลงแบบ ยกร่องแห้งลูกฟูก ให้คนเดินเที่ยวชมได้
- ออกแบบ ทำสวนส้มเพื่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ โดยตรง

* กิจกรรมเกษตร :

- ซุ้มพักผ่อน เป็นซุ้มกาแฟ
- ขายกาแฟสำเร็จรูป 3 อิน 1, เอสเปรสโซ, อเมริกาโน, จิบกาแฟไต้ร่มกาแฟ
- บู๊ธขายของที่ระลึก
- บู๊ธขายปุ๋ยชีวภาพ/สารสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช

* ระบบน้ำ :

- บาดาล ดึงน้ำจากบ่อบาดาลส่งตรงไปสปริงเกอร์ (ไม่ต้องผ่านบ่อพัก)
- สปริงเกอร์
- หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม (โชว์ ขาย)

* เสน่ห์ :

- ไม่ใช้สารเคมียาฆ่าแมลงทุกชนิดเด็ดขาด
- โชว์/สาธิต การใช้สารสมุนไพร
- ผลผลิตทุกอย่าง รสจัดจ้าน
---------------------------------------------------------------


ความรู้รอบตัวเรื่องธรรมชาติของส้มเขียวหวาน :

* เป็นไม้ผลยืนต้นประเภทอายุหลายสิบปี เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายหรือดินดำร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมากๆ

* ในอดีตแปลงปลูกส้มเขียวหวาย่านแขวงบางมด เขตบางขุนเทียน กทม. มีน้ำทะเลขึ้นถึง พื้นที่บริเวณนั้นจึงเป็นพื้นที่ลักจืดลักเค็ม ทำให้ส้มเขียวหวานเจริญเติบโตดีมาก ครั้นถึงช่วงหนึ่งของฤดูกาลเมื่อสภาพอากาศเหมาะสมก็จะมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาดเข้าทำลายผลส้มทำให้ผิวส้มหยาบกร้าน จากนั้นชาวสวนจะใช้สารเคมีกำจัด หลังจากเพลี้ยไก่แจ้ถูกทำลายไปแล้วผิวเปลือกก็ยังคงหยาบกร้านเหมือนเดิมและจะเป็นอย่างนั้นจนเก็บเกี่ยว เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายเซลล์ใต้เปลือก ทำให้เปลือกไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารส่งให้ผลได้ ขณะที่ผลกำลังเจริญพัฒนาต้องรับสารอาหารจากรากเท่านั้น จึงทำให้คุณภาพของผลที่เซลล์เปลือกถูกทำลายดีกว่าผลที่ไม่ทำลายและผลส้มเขียวหวานที่หยาบกร้านนี้คือที่มาของคำว่า ส้มบางมด จนถึงปัจจุบัน

* ส้มเขียวหวานคุณภาพดีมิใช่เกิดจากสภาพพื้นที่ลักจืดลักเต็มเป็นหลักแต่เป็นผลงานทางธรรมชาติของเพลี้ยไก่แจ้ นั่นคือ เมื่อผลอายุ 7-8 เดือน (ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน) แล้วมีเพลี้ยไก่แจ้ระบาด ปล่อยให้เพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายผลส้มไปก่อน 3-4 วัน แล้วจึงใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดสารออกฤทธิ์รุนแรงเฉียบพลัน (เทียบเท่ายาน็อก) ฉีดทำลายล้างเพลี้ยไก้แจ้เสีย จากนั้นบำรุงต่อไปตามปกติ ผิวเปลือกส้มเขียวหวานก็จะกร้านพร้อมกับคุณภาพรสชาติดีเยี่ยมเหมือนส้มบางมดได้เช่นกัน

* ออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น หรือทุกฤดูกาล และทุกสภาพอากาศ ตราบเท่าที่ต้นได้รับการปฏิบัติบำรุงจนมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ

* ออกดอกติดผลจากซอกใบปลายกิ่งที่เกิดใหม่ในรุ่นนั้น ให้ผลดกเป็นช่อและมีความดกมากกว่าส้มอื่นๆทุกชนิด ออกดอกติดผลที่ชายพุ่มด้านข้างมากกว่าชายพุ่มด้านบนและไม่ออกดอกติดผลจากกิ่งในทรงพุ่ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ผสมกันเอง หรือต่างดอกในต้นเดียวกัน หรือต่างดอกต่างต้นได้ดี

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมน หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* อายุดอกจากเริ่มออกถึงดอกบาน 20-25 วัน ระยะดอกบานผสมติดถึงผลแก่เก็บเกี่ยว 8 เดือน
* ผลที่ติดเป็นพวงสามารถเก็บไว้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องซอยผลออก จากนั้นบำรุงทั้งทางใบและทางรากให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ผลคุณภาพดีทั้งพวงและทุกพวงภายในต้น

* ระหว่างมีดอกผลอยู่บนต้นจะมียอดอ่อนแทงออกมาใหม่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ยอดใหม่เจริญเติบโตจนเป็นกิ่งขนาดใหญ่โดยเฉพาะยอดใหม่ในทรงพุ่มเพราะจะทำให้ทรงพุ่มแน่นทึบ แต่ให้เด็ดทิ้งตั้งแต่เริ่มแทงออกมาใหม่ๆลักษณะยังเป็นยอดผักหวาน ส่วนยอดแตกใหม่ที่ชายพุ่มอาจจะพิจารณาเก็บไว้บ้างก็ได้สำหรับให้ช่วยสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ช่วงติดผลหากได้รับไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้เปลือกหนา จุกสูง รกมาก กากมาก เป็นผลที่ด้อยคุณภาพ

* อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นหรือเป็นต้นสาวแล้วจะให้ผลผลิตดี
* ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม. จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้น หรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆ ตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

* ส้มเขียวหวานเสียบยอดบนตอมะกรูด. มะขวิด. หรือส้มจากต่างประเทศทุกสายพันธุ์ เมื่อต้นโตขึ้นส่วนตอจะใหญ่แต่ส่วนต้นเขียวหวานจะไม่โตตาม ทำให้เกิดอาการ "ตีนช้าง" (ตอใหญ่-ต้นเล็ก) ซึ่งต้นส้มเขียวหวานที่เสียบบนตอไม้ดังกล่าวจะให้ผลผลิตดีเพียง 3-5 ปีแรก หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตลดลงทั้งความดกและคุณภาพ

สายพันธุ์ :

บางมด (พันธุ์ดั้งเดิม). เขียวดำเนิน (กลายพันธุ์มาจากบางมด).

ส้มเขียวหวานแจ็คพ็อต :

แม้ว่าส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้ที่ผู้คนนิยมบริโภคกันตลอดทั้งปีก็ตาม แต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์ ส้มเขียวหวานจะเป็นผลไม้เพื่อการบริโภคแล้วยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้อีกด้วย ส่งผลให้ส้มเขียวหวานมีราคาแพงขึ้นไปอีก ชาวสวนส้มหลายรายแบ่งพื้นที่ (โซน) สวนส้มออกเป็น 4 แปลง แล้วบำรุงส้มเขียวหวานให้ออกเฉพาะตรงกับเทศกาลเท่านั้น โดยไม่สนใจช่วงใดๆ ของปีทั้งสิ้น การบำรุงให้ต้นส้มเขียวหวานออกดอกติดผลแล้วแก่เก็บเกี่ยวได้ ณ ช่วงเวลาตามต้องการนั้น ผู้ปลูกต้องเข้าใจช่วงพัฒนาการของต้นอย่างลึกซึ้ง การให้สารอาหารแต่ละชนิดต้องถูกต้องตรงตามความต้องการของต้นส้มอย่างแท้จริงไม่ใช่ตรงตามความต้องการของคน

การปฏิบัติบำรุงต่อส้มเขียวหวานแจ็คพอต

- เดือน พ.ย.- ธ.ค. ล้างต้น ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน
- เดือน ม.ค.- ก.พ. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
- เดือน มี.ค. (ต้นเดือน) ปรับ ซี/เอ็น เรโช
- เดือน มี.ค. (ปลายเดือน) เปิดตาดอก
- เดือน เม.ย. บำรุงดอก
- เดือน พ.ค.-มิ.ย. บำรุงผลเล็ก
- เดือน ก.ค.-ต.ค. บำรุงผลกลาง
- เดือน พ.ย.. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว
- เดือน ธ.ค.-ม.ค. (ต้นเดือน) เก็บเกี่ยว
หรือ ....
- ล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน 2 เดือน
- สะสมอาหารเพื่อการออกดอก 2 เดือน
- ปรับ ซี/เอ็น เรโช 15 วัน
- เปิดตาดอก 15 วัน
- บำรุงดอก (ตูม-บาน) 1 เดือน
- บำรุงผลเล็ก 2 เดือน
- บำรุงผลกลาง 5 เดือน
- บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน

หมายเหตุ :

- เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนใด ให้นับเวลาย้อนหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวมาถึงวันล้างต้น-ตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อน โดยทำเครื่องหมายบนปฏิทินเลยก็ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาปฏิบัติบำรุงรวมทั้งสิ้น 13-14 เดือน/ 1 รุ่นการผลิต

- ในระบบธรรมชาติไม่สามารถกำหนดจำนวนวัน/เดือน หรือตัวเลขแบบตายตัวลงไปได้ เนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวเลขทุกอย่างเป็นไปในลักษณะโดยประมาณเท่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้ด้วยทุกครั้ง และอย่าตั้งความหวังว่าทุกอย่างที่วางแผนไว้จะต้องดำเนินไปอย่างราบรื่นความสำเร็จทุกขั้นตอนเสมอไป

- เทคนิคการบำรุงต้นแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่อง จนถึงปีที่ 3 ต้นส้มจะมีความสมบูรณ์อย่างมาก จะส่งผลให้ต้นตอบสนองต่อการบำรุงต้นในช่วงต่างๆดีและแน่นอน

- ช่วงเวลาต้นเดือนหรือปลายเดือนให้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยมีอายุผลตั้งแต่ผลติดถึงเก็บเกี่ยว (8 เดือน) เป็นตัวกำหนด

- หากต้องการให้ส้มเขียวหวานออกช่วงเทศกาลอื่น (สารทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์) ก็ให้คำนวณในลักษณะเดียวกันโดยการนับถอยหลังจากเดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตมาถึงวันเริ่มล้างต้น ตัดแต่งกิ่งและเรียกใบอ่อน (12-13 เดือน) แล้วลงมือปฏิบัติด้วยหลักการเดียวกัน .... หรือเริ่มลงมือตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนเดือนใดของปีนี้ ก็จะได้ผลแก่เก็บเกี่ยวในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นนั่นเอง

- วิธีบำรุงให้ “ผลแก่ก่อนกำหนด” หรือ “ผลแก่ช้ากว่ากำหนด” 20-30 วัน ก็ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

- ข้อยุ่งยากก็คือช่วงปรับ ซี/เอ็น เรโช ซึ่งจะต้องงดการให้น้ำเด็ดขาดนั้น
หากตรงกับช่วงหน้าฝนจะทำให้การปฏิบัติยุ่งยากมากหรือทำการงดน้ำไม่ได้เลย
----------------------------------------------------------------

วิธีการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดูกาล :

- ปกติแล้วส้มเขียวหวานที่ปลูกกันโดยทั่วไปนั้นจะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม และผลแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ระยะเวลานับจากออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 9 เดือน แต่ถ้าจะนับจากเริ่มมีการกักน้ำจนเก็บผลผลิตก็ตกประมาณ 10 เดือนเต็ม

หากคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกนอกฤดู จะเห็นได้ว่าส้มเขียวหวานที่ปลูกแบบยกร่องสามารถทำให้ออกดอกตามเวลาที่ต้องการได้ เนื่องจากสามารถควบคุมระดับน้ำได้ง่ายนั่นเอง แต่ถ้าเป็นส้มที่ปลูกในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง เช่น จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมักจะมีปัญหาในเรื่องการให้น้ำเป็นประจำก็ต้องปล่อยให้มีการออกดอกติดผลตามฤดูปกติ และนับว่าธรรมชาติได้เป็นใจที่ให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือออกดอกช้ากว่าส้มที่ปลูกในภาคกลาง คือ จะเริ่มมีการออกดอกในช่วงเดือน เม.ย.ถึง พ.ค. และจะเก็บผลได้ในเดือน ม.ค. ถึง ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงที่ส้มในภาคกลางกำลังจะหมดไปจากตลาดพอดี มีผลทำให้ส้มที่ปลูกในภาคเหนือจำหน่ายได้ในราคาที่ดีพอสมควร

- การบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกนอกฤดู จะนิยมทำกับสวนที่ปลูกแบบยกร่องเพราะสามารถทำได้ง่าย กล่าวคือ ถ้าต้องการจะให้ผลส้มแก่ในช่วงไหนก็ต้องนับย้อนหลังไปประมาณ 10 เดือน แล้วเริ่มทำการงดให้น้ำ (การงดน้ำนี้จะเป็นกระตุ้นให้ต้นส้ม มีการสะสมสารประกอบประเภทแป้งและน้ำตาลภายในต้นให้สูงขึ้นจนทำให้อัตราส่วนระหว่างแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าเดิม ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นปัจจัยทำให้ส้มเขียวหวานสามารถออกดอกได้) ในขณะที่ทำการงดน้ำนั้นจะต้องสังเกตว่าส้มเขียวหวานไม่มีใบอ่อน หากมีใบอ่อนจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยเร่งใบเพื่อให้มีใบแก่ตลอดทั้งต้น ปุ๋ยที่ใช้เร่งใบได้แก่ปุ๋ยสูตร 1:3:3 เช่น สูตร 8-24-24 และเมื่อใบแก่แล้วจึงค่อยทำการงดน้ำต่อไป สำหรับเหตุผลที่ไม่ทำการงดน้ำในช่วงที่ส้มยังมีใบอ่อนก็คือจะทำให้ต้นโทรมมากและระบบรากก็จะเสียไป ทั้งนี้เพราะรากจะต้องดูดน้ำและธาตุอาหารอย่างมากเพื่อเลี้ยงใบอ่อนที่กำลังเจริญ เติบโต

- วิธีการงดน้ำที่ชาวสวนกระทำกันทั่วไป โดยการสูบน้ำออกจากร่องสวนให้หมด ต่อมาอีกประมาณ 15-20 วัน จะเห็นส้มแสดงอาการขาดน้ำโดยใบจะเริ่มห่อเข้าหากัน ต่อ จากนั้นควรให้น้ำอย่างเต็มที่ โดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงจนถึงโคนต้นประมาณ 10-20 ซม. แล้วจึงลดระดับน้ำลงอยู่ในระดับปกติเหมือนกับระดับก่อนที่จะทำการงดน้ำ แต่ถ้าเป็นส้มเขียวหวานที่มีใบแก่ แต่ยังไม่มีการใส่ปุ๋ยเร่งใบมาก่อน พอถึงช่วงนี้ควรให้น้ำอย่างเต็มที่โดยการรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน จะเริ่มมีการแทงตาดอกออกมาให้เห็น เมื่อมี
ดอกออกมาแล้วก็ให้น้ำตามปกติประมาณ 30 วัน

ต่อมาดอกจะบานและมีการติดผลในช่วงนี้ควรมีการฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วย และเมื่อผลโตได้ขนาดเท่าหัวแม่มือให้ใส่ปุ๋ยเกรด 1:1:1 (16-16-16) เพื่อบำรุงผลให้มีการเจริญอย่างเต็มที่ จนเมื่อส้มเขียวหวานมีอายุผลได้ประมาณ 5 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังสูง เช่น สูตร 13-13-21 เพื่อทำให้คุณภาพของส้มดีขึ้น และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับผลส้มด้วย และก่อนเก็บเกี่ยวผลประมาณ 10 วันควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ผลส้มมีรสชาติเข้มข้น เนื้อจะไม่ฉ่ำน้ำและสามารถเก็บรักษาผลส้มไว้ได้นานกว่าแบบที่ไม่งดน้ำในช่วงนี้

จะเห็นได้ว่าการบังคับส้มเขียวหวานให้ออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ เป็นการกระทำที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและมีผลดี คือสามารถกำหนดวันที่จะจำหน่ายผลผลิตได้แน่นอน และผลผลิตที่ได้จะออกมาพร้อมกันและมีปริมาณมากในครั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งทำให้สะดวกในการขายผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามการบังคับให้ส้มเขียวหวานออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยวิธีการกักน้ำนี้ย่อมจะมีข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือจะทำให้ต้นส้มโทรมเร็วกว่าการปล่อยให้ออกดอกติดผลตามฤดูปกติ แต่เมื่อคำนึงถึงรายได้และราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติ ย่อมคุ้มค่ากับการที่ท่านจะยอมเสี่ยงมิใช่หรือ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ โทร. 0 5387 3938-9

ocals.in.th/index.php?topic=9030.0 –
-------------------------------------------------------------------------


ส้มโชกุน
ลักษณะทางธรรมชาติ

* กำเนิดที่ จ.ยะลา กลายพันธุ์มาจากส้มจีนเพาะเมล็ด ปลูกได้ทุกพื้นที่และทุกภูมิภาคของประเทศ ชอบดินดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน

* จากแหล่งกำเนิดให้ชื่อว่า “โชกุน” ต่อมาแพร่หลายไปต่างพื้นที่ บางสวนตั้งชื่อใหม่ตามความพอใจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

* มีระบบรากค่อนข้างอ่อนแอกว่าส้มสายพันธุ์อื่น จึงต้องพยายามรักษาระดับน้ำใต้ดินโคนต้นให้พอดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงออกดอกถ้านำอินทรีย์วัตถุคลุมโคนต้นออกก่อนเพื่อเปิดหน้าดินให้แสงแดดช่วยให้ในดินระเหยออกไปบ้างก็จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ติดเป็นผลมากขึ้นได้

* ปลูกในเขตฝน (ภาคใต้) ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวสีเปลือกยังคงเป็นสีเขียว ส่วนที่ปลูกในเขตหนาว (ภาคเหนือ) ช่วงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวสีเปลือกจะเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลืองทอง แต่คุณภาพของเนื้อในไม่ต่างกันหรือขึ้นอยู่กับการบำรุงเป็นหลัก

* เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2-2 ปีครึ่งหลังปลูกขึ้นอยู่กับการปฏิบัติบำรุง
* ต้นโตเป็นสาวเต็มที่ 5 ปีขึ้นไป การออกดอกแต่ละรุ่นที่เป็นส้มปีจะทยอยออกหลายชุด ทำให้ได้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ปีละ 3 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค.- ก.พ.

* ต้นที่ได้รับการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปี โชกุนจะออกดอกติดผลตลอดปี หรือทุกครั้งที่แตกใบอ่อนออกมา

* ระยะดอกบานให้จิ๊บเบอเรลลิน. 1-2 รอบ จะช่วยให้ติดผลดกขึ้น เนื่องจากดอกมีความสมบูรณ์พัฒนาเป็นผลได้มากขึ้นนั่นเอง

* ระยะผลเล็กเท่าขนาดมะนาวให้ เอ็นเอเอ. หรือ จิ๊เบอเรลลิน. อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเพียง 1 ครั้งจะช่วยลดอาการผลแตกผลร่วงเมื่อผลโตขึ้นได้ดี

* ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ไบโออิ) กับ แคลเซียม โบรอน 2 เดือน/ครั้ง จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ติดผลดกและคุณภาพดี

* ให้ธาตุรอง/ธาตุเสริม สม่ำเสมอหรือเดือนละ 21 ครั้ง จะช่วยบำรุงให้คุณภาพดี เปลือกบาง รกน้อย กากน้อย

* อายุต้น 2-5 ปีแรกที่เริ่มให้ผลผลิตอาจจะไม่ดีนัก แต่เมื่อต้นอายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตดี
* ลำต้นเปล้าเดี่ยวๆ หรือกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้น 50-80 ซม.จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ลำเปล้าสั้นหรือกิ่งง่ามแรกอยู่ต่ำ แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งจัดรูปทรงพุ่มให้มีลำเปล้าสูงๆตั้งแต่ต้นเริ่มให้ผลผลิตปีแรกๆ รูปทรงต้นก็อยู่อย่างนั้นตลอดไป

* ขนาดผลใหญ่ ตัวกุ้งใหญ่ใหญ่ เนื้อชุ่มน้ำและกลิ่นหอมกว่าเขียวหวาน
* ติดผลดกน้อยกว่าเขียวหวาน
* การเก็บเกี่ยวต้องใช้กรรไกคมๆตัดขั้วให้ติดใบ 1-2 ใบร่วมมาด้วย

ประวัติส้มโชกุน

คุณสมชาย รุจิระไพบูลย์ เจ้าของสวนส้มโชกุนจังหวัดยะลา เดิมเคยปลูกส้มเขียวหวานพันธุ์บางมด ต่อมามีเพื่อนมาจากประเทศจีนมาเยี่ยมชมสวน และได้นำส้มจากประเทศจีนมาฝาก เมื่อรับประทานแล้วรู้สึกว่ามีรสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้เพาะเมล็ดเอาไว้ ต่อมามีการผสมพันธุ์โดยธรรมชาติเป็นส้มพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี รสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้ขยายใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี รสชาติอร่อย หอมหวาน จึงได้ขยายพันธุ์นำไปปลูกอย่างแพร่หลาย
---------------------------------------------------------------------


ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงส้ม (ทุกสายพันธุ์) ให้ได้ผลผลิตรุ่นเดียวกันทั้งต้น

1. เรียกใบอ่อน
ทางใบ

- ให้ไบโออิ + จิ๊บเบอเรลลิน + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก
- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ,
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ 25-7-7 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า 50% ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นและเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก... แนวทางแก้ไขคือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- ส้ม (ทุกสายพันธ์) ต้องการใบอ่อน 3 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้เลย ใบชุด 2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ

2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + 0-21-74 หรือ 0-39-39 สูตรใดสูตรหนึ่ง + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำตามปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
- การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเร่งระยะเวลาสู่การพัฒนาขั้นต่อไปให้เร็วขึ้น หรือเพื่อให้รอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช
- ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
ทางใบ

- ให้ไบโออิ + 0-42-56 (2 รอบ) สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน หลายๆรอบจนกว่าต้นจะมีอาการอั้นตาดอกดี
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก
- ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ 8-24-24 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำเปล่าปกติ ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มปฏิบัติหลังจากใบอ่อนชุดสุดท้ายเพสลาด
- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุด ควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2 เดือน
- ในรอบ 1-2 เดือน หาโอกาสให้นำตาลทางด่วน 1 รอบ เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และกลุ่มสร้างใบ
- บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
- ปริมาณ 8-24-24 หรือ 9-26-26 ใส่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลในรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมาก ผลผลิตมีคุณภาพดีมาก ให้ใส่ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกน้อยหรือไม่ติดผลเลย ให้ใส่ในปริมาณปานกลาง
- การเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้น หมายถึง การให้อัตราเดิมแต่ระยะเวลาให้ถี่ขึ้น เช่น จากเคยให้ 15 วัน/ครั้งก็ให้เปลี่ยนเป็น 10 วัน/ครั้ง
- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรก จากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช
ทางใบ

- ให้ไบโออิ + 0-42-56 (2 รอบ) สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง
- งดการให้น้ำเด็ดขาด
- ทำร่องหรือทางระบายน้ำหากมีฝนตก
หมายเหตุ
- เริ่มให้เมื่อต้นเริ่มมีอาการอั้นตาดอก
- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องให้น้ำตาลทางด่วนอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำตาลทางด่วนทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน

- วัตถุประสงค์เพื่อปรับเพิ่มปริมาณสารอาหารกลุ่ม ซี. พร้อมกับปรับลดสารอาหารกลุ่ม เอ็น.
- ขั้นตอนการปรับ ซี/เอ็น เรโช นี้หากมีฝนตกจะต้องงดการปรับทันทีแต่ให้บำรุงด้วยสูตรสะสมอาหารต่อไปจนกว่าจะหมดฝนแล้ว 10-15 วันจึงลงมือเริ่มต้นปรับ ซี/เอ็น เรโช ใหม่ ....ช่วงนี้ถ้ามีฝนตกลงมา ต้นอาจจะแตกใบอ่อนได้ นั่นหมายความว่าจะต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกใหม่และการบำรุงส้มเขียวหวานให้ได้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงตรุษจีนก็ต้องล้มเหลวด้วย ดังนั้น การบำรุงด้วยสูตร “สะสมอาหาร” เพียงสูตรเดียวอาจจะไม่พอจึงควรให้สารอาหารสูตร “กดใบอ่อนสู้ฝน” (มะนาว : กดใบอ่อนสู้ฝน-มะนาวหน้าแล้ง) สลับด้วยทุกครั้งก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุดโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและช่วงเวลาให้

- งดน้ำจนกว่าต้นจะเกิดอาการใบสลด 3 วัน ตั้งแต่เวลา 12.00-15.00 น. ติดต่อกัน และไม่ควรนานเกิน 3 วันเพราะอาจทำให้ต้นโทรมได้ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มงดน้ำจนถึงใบสลดจะนานมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำใต้ดินโคนต้น

5. เปิดตาดอก
ทางใบ

- ให้ไทเป + สารสกัดสมุนไพร (2 รอบ) สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (½ กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต่นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำให้โคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 2-3 วัน
- ยังไม่นำอินทรีย์วัตถุเข้าคลุมโคนต้น
หมายเหตุ :
- หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอสาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้นให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

6. บำรุงดอก
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + 15-45-15 + เอ็นเอเอ. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วยแคล เซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (½ กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต่นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำให้โคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 2-3 วัน
- ยังไม่นำอินทรีย์วัตถุเข้าคลุมโคนต้น
หมายเหตุ :
- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม
- การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดินในทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

7. บำรุงผลเล็ก
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + 30-10-10 + สารสมุนไพร 2 รอบ สบลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ 25-7-7 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

- นำอินทรีย์วัตถุที่นำออกกลับเข้าคลุมโคนต้นอย่างเดิม พร้อมกับใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับคาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ เป็นการใส่ครั้งที่สอง

- ให้น้ำสม่ำเสมอทุก 2-3 วัน และค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อให้ต้นรู้ตัวจนกระทั่งให้เต็มที่ได้
- ช่วงที่ผลกำลังพัฒนาแล้วมีฝนตกชุกควรให้แคลเซียม โบรอน.บ่อยขึ้นเพื่อป้องกันผลแตกผลร่วง แต่การให้แคลเซียม โบรอน.ต้องระวังเพราะถ้าต้นได้รับมากเกินไปจะทำให้จุกหรือเปลือกบริเวณขั้วสูง
- เทคนิคการให้จิ๊บเบอเรลลินช่วงผลเล็กจะช่วยบำรุงผลร่วงผลแตกเมื่อผลมีขนาดโตใกล้เก็บเกี่ยวได้

8. บำรุงผลกลาง
ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ 21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำสม่ำเสมอทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มลงมือบำรุงเมื่อเมล็ดเริ่มเข้าไคล การที่จะรู้ว่าผลเริ่มเข้าไคลแล้วจะต้องใช้วิธีสุ่มเก็บผลมาผ่าดูเมล็ดภายใน

- อายุผลของส้มเขียวหวานนานมาก (ตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวนาน 8 เดือน) การให้ปุ๋ยทางรากด้วยสูตร 21-7-14 สองรอบแล้วสลับด้วย 18-18-18 หนึ่งรอบจะช่วยให้พัฒนาการของผลดีกว่าการใส่สูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว

- ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 ครั้ง/เดือนตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก

9. บำรุงผลแก่
ทางใบ :

- ให้ไบโออิน้ำ 100 ล. + 0-21-74 + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 2 รอบ สลับด้วยแคลเซีบยม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 13-13-21 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ 13-13-21 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม
- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง
- งดน้ำเด็ดขาดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว
หมายเหตุ :
- เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวทางรากด้วย 13-13-21 จะทำให้ต้นโทรม หลังเก็บเกี่ยวผลสุดท้ายไปจากต้นแล้วต้องเร่งบำรุงเพื่อฟื้นฟูสภาพต้นเรียกความสมบูรณ์กลับคืนมาทันที
- การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกัน ซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อได้ และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปได้อีกด้วย
---------------------------------------------------------------------


บำรุงส้ม (ทุกสายพันธุ์) ให้ออกดอกติดผลตลอดปี

ส้มทุกสายพันธุ์ที่อายุต้นโตให้ผลผลิตแล้วได้รับการบำรุงตามปกติสามารถออกดอกติดผลตลอดปีได้ไม่ยาก เพียงแต่บางช่วงอาจจะมีผลดก บางช่วงอาจจะมีผลน้อย ขึ้นอยู่กับการบำรุงและสภาพอากาศ หากบำรุงต้นแบบให้มีธาตุอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องทั้งปีติดต่อกันหลายๆปี ส้มก็จะออกดอกติดผลดกถึงดกมากได้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

ทางใบ :

- ให้ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับด้เวยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นพอเปียกใบ
- ในรอบ 1 เดือน ให้น้ำตาลทางด่วน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ทุก 4 เดือน
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลง ทุกตาราง นิ้ว
- ให้ปุ๋ยทางรากสูตร 8-24-24 (½ กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต่นใหญ่) /ต้น ละลายน้ำให้โคนต้น บริเวณทรงพุ่ม
- ให้น้ำพอหน้าดินชื้นทุก 2-3 วัน
- หญ้าแห้งคลุมโคนต้น

หมายเหตุ :

-

---------------------------------------------------------------------




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©