-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทาง วิทยุ 7 APR *สารสมุนไพร (42), เร่งโตผักสวนครัว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทาง วิทยุ 7 APR *สารสมุนไพร (42), เร่งโตผักสวนครัว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทาง วิทยุ 7 APR *สารสมุนไพร (42), เร่งโตผักสวนครัว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/04/2016 7:26 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทาง วิทยุ 7 APR *สารสมุนไพร (42), เร่งโตผั ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 7 APR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สารสมุนไพร (42)

หางไหล พืชสมุนไพร เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช :

หางไหล หรือ โลติ้น นอกจากชื่อหางไหล หรือ โล่ติ้นแล้ว ยังมีชื่อตามท้องถิ่น เช่น อวดน้ำ ไหลน้ำ เป็นสมุนไพรปราบศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าแมลงพื้นบ้านที่รู้จักกันตั้งแต่โบราณ

วิธีใช้ :
โดยนำส่วนรากทุบ และไปแช่น้ำค้างคืน น้ำที่แช่หางไหลขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว แล้วนำไปรดสวนผัก เพื่อฆ่าหนอน หรือฆ่าแมลงที่มากัดกินผัก

การใช้รากหางไหลใช้ได้ทั้งในรูปผง และสารละลาย สามารถพ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชและเมื่อสกัดสารออกมาแล้วสมควรใช้ทันที เพราะสารในหางไหลจะสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด

สารสำคัญ :
เรียกว่า โรตีโนน (Rotenone) มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ บ้านเรามีหางไหลอยู่ 2 ชนิดที่มีสารโรตีโนนสูง คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบ ว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5% จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อปลูกเป็นการค้าศึกษาช่วงอายุที่สารสำคัญในเหง้าสูงสุด และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปสารสกัด

การปลูกหางไหล
ใช้เถาที่มีสีน้ำตาลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ตัดเฉียงเป็นท่อน ๆละ 20-30 ซม. หรือแต่ละท่อนมีข้อ 2-4 ข้อ ปักชำซึ่งจะขึ้นง่ายและโตเร็วกว่าการใช้เมล็ด ควรปักถุงก่อนลงแปลง ใช้ขี้เถ้าแกลบผสมดินอัตราส่วน 2:1 ปักชำกิ่งทำมุม 45 องศากับผิวดินภายใน 3 สัปดาห์จะมีรากงอกออกมา และมีตุ่มขึ้นตรงข้อ ซึ่งจะแตกเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตต่อไป กิ่งปักชำสามารถย้ายลงแปลงปลูกภายใน 6-9 สัปดาห์ และเนื่องจากหางไหลเป็นพืชกระกูลถั่ว การปลูกพืชชนิดนี้สามารถไถกลบเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดินและป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย

ข้อจำกัดของหางไหล
คือ เป็นพิษกับสัตว์เลือดเย็นเกษตรกรจึงต้องระมัดระวังการใช้ใกล้แหล่งน้ำ สมุนไพรที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ในภาคการเกษตรหลายชนิดมีความต้องการใช้มากขึ้นในปัจจุบันแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ สมุนไพรบางชนิดหายาก หรือขาดแคลน

ในบางแหล่งเกือบทั้งหมดเก็บจากธรรมชาติ อายุการปลูกยาวนานกว่าจะได้สำคัญ ดังนั้นการสร้างแหล่งผลิตที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถผลิตพันธุ์เพื่อใช้เอง ไม่เก็บจากธรรมชาติ สามารถหาได้ง่าย เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตรงกับศัตรูพืช และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2145
----------------------------------------------------------------------


พลังแสงอาทิตย์ สกัดสารกำจัดแมลง :

เขียนโดย ปริศนา มั่งคั่ง เยาวชนยุคพลังงานสะอาด
© ธัชกร กิจไชยภณ/กรีนพีซ

ที่ ต.กลันทา อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ก็ได้ร่วมกันคิดที่จะเปลี่ยนและเลิกใช้สารเคมีในการทำการ เกษตร โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ แหล่งสนับสนุนทุน และกลุ่มเครือข่ายหมอดิน ผ่านการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน จนในที่สุดก็นำมาประยุกต์ ดัดแปลงมาเป็นการใช้สารสกัดไล่แมลงจากธรรมชาติ โดยสกัดจากเครื่องมือที่ใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดการสกัด และกลั่นเอาสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อไล่แมลง

เครื่องสกัดสารไล่แมลงจากสมุนไพรเครื่องนี้ จะอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อทำให้เกิดการสกัดและกลั่นตัวออกมาเป็นสารไล่แมลง

ขั้นตอนในการผลิตก็คือ เลือกเก็บสมุนไพรมารวมกัน สับเป็นชิ้นๆ ให้ได้น้ำหนักครั้งละ 5 กก. ใส่ในถุงผ้าขาวบาง แล้วหย่อนลงไปในหม้อขนาดใหญ่ เติมน้ำลงไปในสัดส่วนพอเหมาะ จากนั้นก็อาศัยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้เกิดความร้อนภายในหม้อ เมื่อถึงจุดที่อุณหภูมิ 80 องศา ซ. จะเกิดการกลั่นตัว และก็จะได้สารสกัดไล่แมลงจากสมุนไพร

สารสกัดไล่แมลงจากพืชสมุนไพรถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกอย่างหนึ่งเมื่อนำไปใช้ในการทำการเกษตรก็จะทำให้เป็นเกษตรสีเขียวที่ปราศจากการใช้สารเคมีอย่างแท้จริงและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนเพราะสารสกัดไล่แมลงจากสมุนไพรของ ต.กลันทา เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดแมลงได้ผลเป็นอย่างดีจึงมีคนภาย นอกเข้ามาติดต่อซื้อผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันชุมชนยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดอยู่ ซึ่งในมุมมองของเกษตรกรที่นำเอาผลผลิตไปขายตามท้องตลาดมองว่า ผลิตภัณฑ์ที่มาจากแปลงผักปลอดสารพิษยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเท่ากับผลผลิตจากการผลิตที่ยังใช้สารเคมีอยู่ เพราะทัศนะของผู้บริโภคก็ยังคงมองว่าผักสวยๆ ไม่มีรอยเจาะจากแมลงหรือตัวหนอนต่างๆ ย่อมน่ากินมากกว่า เลยถอยตัวออกจากตลาดหลักมาขายในแวดวงของตลาดสีเขียวที่เป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพเท่านั้น

ผลผลิตปลอดสารพิษถึงจะดูไม่น่ากิน แต่ก็รับประทานได้อย่างสบายใจเพราะจะไม่มีสารพิษตกค้างในร่างกายอย่างแน่นอน ลองเปลี่ยนมุมมองในการบริโภคทั้งด้านพลังงานและผลผลิตสักนิดเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

ขอขอบคุณ คุณอารีย์ สิงกุรัง ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหมอดิน ต.กลันทา อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

http://www.greenpeace.org
------------------------------------------------------------------

หม้อต้มพลังแสงอาทิตย์ แผงกระจกสะท้อนแสง ที่ RKK :

- กระจกเงาแบนราบส่องหน้าธรรมดาๆ ขนาดกว้าง 1 คืบมือ ยาวครึ่งศอกแขน จำนวน 4 แผ่น เรียงต่อกันทางตั้ง เป็นแผงบนราวไม้ยาว ประมาณ 1 ม. สูงจากพื้น 1 ม. ปรับระยะห่างจากกระจก (ราว) ถึงถังต้มให้สะท้อนแสงได้พอดีเต็มพื้นที่ถังต้ม

- ทำแผงกระจก (4 แผ่น) บนราวไม้ คือ 1 ราว .... ทำซ้ำอีก 3 ราว เป็น 4 ราว หรือ 1 แผง เรียงลำดับ บน-ล่าง ห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือ

แผงกระจกด้านตะวันตกของหม้อต้ม เพื่อรับแสงแดดช่วงเช้า :

- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 1 (ล่างสุด) ให้กระจกทั้ง 4 แผ่น สะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 08.30-09.30 .... ก่อน 08.30 แสงแดดไม่มีความร้อน
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 2 ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 09.30-10.30
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 3 ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 10.30-11.30
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 4 (บนสุด) ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 11.30-12.00

แผงกระจกด้านตะวันออกของหม้อต้ม เพื่อรับแสงแดดช่วงบ่าย :

- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 1 (ล่างสุด) ให้กระจกทั้ง 4 แผ่น สะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 12.30-13.30
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 2 ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 13.30-14.30
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 3 ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 14.30-15.30
- ปรับมุมสะท้อนกระจกราวที่ 4 (บนสุด) ให้กระจกทุกแผ่นสะท้อนแสงลงจุดเดียวกัน ช่วงเวลา 15.30-16.30 .... 17.00 ไปแล้ว แสงแดดไม่มีความร้อน

หมายเหตุ :

- หม้อต้มทำจากปี๊บ ใส่น้ำเต็มปี๊บ กับใส่สมุนไพรพอท่วมน้ำ
- แผ่นกระจกเงา กว้าง 1 คืบมือ ยาวครึ่งศอกแขน หรือ 20 x 30 ซม. ปรับระยะห่างให้แสงสะท้อนจากทั้ง 4 แผ่น ไปรวมกันเป็นจุดเดียว (จุดรวมแสงสะท้อน) คลุมพื้นที่ด้านกว้างของปี๊บพอดี .... ถังต้มวางสูงจากพื้น 30 ซม.

- ถังต้ม (ปี๊บ) ใส่เครื่องต้มแล้ว ปล่อยสะท้อนแสงไว้ 3 ชม. น้ำจะมีไอกรุ่นๆ ขึ้นมา วัดอุณห ภูมิในน้ำต้มได้ 72 องศา ซ. ถือว่าพอเพียงสำหรับการต้มสมุนไพร

- การปรับมุมสะท้อนแสงของกระจกแต่ละแผงๆ ทำตามเวลาในนาฬิกา นั่นคือ ปรับมุมสะท้อนแสงครั้งเดียวใช้งานได้ตอดปี หรือปรับใหม่เมื่อเกิดตะวันอ้อมข้าว

- ต้มนานกี่วัน ว่ากันตามอัทยาศัย
- ตอนเที่ยงวัน 12.00-13.00 ปรับมุมกระจกไม่ได้
- กระจกเงาแบนราบส่องหน้าธรรมดาๆ (20 x 30 ซม.) ซื้อที่ร้านตัดกระจกแผ่นละ 8 บาท ....กระจกนูนสร้างจุดรวมแสง 1 แผ่น อาจให้ความร้อนสูงกว่ากระจกแบน 4 แผ่น แต่ราคากระจกนูนแพงกว่ามาก และหาแห่งซื้อยาก

- เตาพลังแสงอาทิตย์ กระจกสะท้อนแสงแบบนี้ ที่ร้านขายไก่ย่างย่านมีนบุรี ให้ความร้อนจนไก่ควันโก๋ ลุกเป็นเปลวไฟขึ้นมาได้
-------------------------------------------------------------------------

สายตรงจาก : สมช. เยือน RKK
สรุปปัญหา : ผักกาดขาวปลี ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดแก้ว ผักชี ผักบุ้งจีน สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ฉีดพ่นด้วยถังสะพายลากสายยาง ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ไม่เคยใช้สารสมุน ไพร วันนี้ผักอายุ 22 วัน อยากให้ผักทุกตัวมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่านี้ ต้องใช้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนตัวไหน ....
ตอบ : ....
ถามไง ตอบงั้น .... :

“ใช้ปุ๋ยตัวไหน”
.... ใช้ปุ๋ยธาตุหลักตัวหน้าสูง ตัวกลางต่ำ ตัวท้ายต่ำหรือกลาง เมื่อเทียบกับตัวหน้า นั่นคือ ทางดิน : 25-7-7, 16-8-8, 46-0-0+16-16-16 (1:1) .... ทางใบ : 30-10-10, 25-5-5

“ใช้ฮอร์โมนตัวไหน”
.... ไคโตซาน, นมสด, น้ำมะพร้าวแก่,
“สวนยกร่องน้ำหล่อ” .... เอาน้ำออก ได้เนื้อที่เพิ่ม, เหลือร่องแรกติดแหล่งน้ำธรรมชาติ ดัดแปลงโดยกั้นหัวท้ายก็กลายเป็นสระ .... ติดสปริงเกอร์ หม้อปุ๋ย ติดตั้งครั้งเดียวใช้งานได้ 10-20-30 ปี แค่รุ่นแรกก็ได้ทุนคืน .... ได้เนื้องานมากกว่าลากสายยาง แล่นเรือปากเป็ด .... ได้เครดิตความน่าเชื่อถือจากคนรับซื้อ,

“รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด”
.... ต้นทุน : น้ำมัน-เวลา-ค่าแรง .... ผลรับ : ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน,
“ฉีดพ่นด้วยถังสะพายลากสายยาง”.... ต้องแรงงาน 2 คน ถือหัวฉีดคน โรยสายคน เปลี่ยน เป็นถังสะพายใช้แบตเตอรี่ ไม่ต้อยสายยาง ทำงานเดินหน้าลูกเดียว .... ทำไม ภาคเกษตรถึงปฏิเสธเทคโนโลยีเครื่องทุนแรง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม เขาพยายามค้นหาเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงใหม่ๆ ตลอดเวลา

“ใช้สารเคมียาฆ่าแมลง”
.... ลงทุนเท่าไหร่ ? แล้วได้อะไร ? ได้เท่าไหร่ ? สังคมรังเกียจ ตลาดปฏิเสธ
“ไม่เคยใช้สารสมุนไพร” .... ปัญหานี้อยู่ที่ “ใจ” ใจไม่เอาเพราะยึดติด ทิฐิ ทิฐิแปลว่าอะไร ถามพระทุกศาสนา

--------------------------------------------------------------------
- ไม่ได้บอกมาว่า ต้องการทำ ผักอินทรีย์เพียวๆ หรือ อินทรีย์เคมี ถ้างั้นงานนี้เอา อินทรีย์นำเคมีเสริม หรือ อินทรีย์เคมีผสมผสาน ที่แน่ๆ “ไม่สารเคมียาฆ่าแมลง” เด็ดขาด เพราะ สิ้นเปลือง ตัวเองตาย คนกินแช่ง
---------------------------------------------------------------------

เตรียมดิน เตรียมแปลง :

- ไถดิน ขี้ไถขนาดใหญ่ ตากแดดจัด 15 แดด ถ้าฝนตกให้ไถใหม่เริ่มนับ 1 ตากแดดใหม
- ตากแดดดินครบกำหนด ใส่อินทรีย์วัตถุ "ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น. ขี้วัวขี้ไก่แกลบเก่า" ผสมเข้ากันแล้วหว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวน ปรับสันแปลงให้เป็นหลังเต่า คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหนาๆ

- คลุมหน้าแปลงแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 แล้วทิ้งไว้ 10-20 วัน จึงลงมือปลูก (หว่านเมล็ด ปลูกกล้า)

(....ไม่ต้องปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระแทก-กระทุ้ง เพราะในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงมีแล้ว อนาคตยังมีทางใบ ทั้งปุ๋ยเคมี และฮอร์โมนธรรมชาติ ให้อีก ที่สำคัญ ผักสวนครัว กินใบ อายุสั้น กินปุ๋ยเคมีแค่นี้ .... ดินดี ได้แล้วกว่าครึ่ง ดินไม่ดี เสียแล้วกว่าครึ่ง .... เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จ่ายน้อยกว่า แต่ประโยชน์ต่อพืชมากกว่า....)

หมายเหตุ :

- ระยะเวลาจากให้น้ำหมักฯ 10-20 วัน เป็นการบ่มดิน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์เข้าทำการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปรับสภาพดิน

- น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีส่วนผสม "ปลาทะเล. กากน้ำตาล. เลือด. ขี้ค้างคาว. ไขกระดูก. นม. น้ำมะพร้าว." หมักนานข้าม 1-2-3 ปี จากส่วนผสมทุกอย่างเป็น "อินทรีย์" แท้ๆ .... เมื่อเติม 30-0-0, แม็กเนเซียม, สังกะสี, ธาตุรอง/ธาตุเสริม ลงไปเป็น “เคมี” นี่คือ อินทรีย์เคมี ผสมผสาน .... ชัวร์ เพราะทุกอย่าง ทำกับมือ ใส่กับมือ

- อย่ากังวลว่า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี รองพื้น-แต่งหน้า-กระทุ้ง-กระแทก แล้วต้นผักจะไม่โต สาเหตุที่ผักไม่โตไม่ใช่เพราะปุ๋ยน้อย แต่เป็นเพราะ “ดิน” .... ตราบใดที่ดินไม่ดี ดินไม่สมบูรณ์ ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ ดินไม่มีจุลินทรีย์ ดินเป็นกรด ต่อให้ใส่ปุ๋ยไร่ละ กระสอบ สองสามกระ สอบ ใส่ไร่ละตันต้นผักก็ไม่โต ตรงกันข้าม จะเล็กลงๆ ๆๆ เพราะ “ปุ๋ยเป็นพิษ-ดินไม่กินปุ๋ย”

เตรียมเมล็ดพันธุ์ :

- แช่เมล็ดพันธุ์ในไคโตซาน. สังกะสี. โบรอน. (ยูเรก้า. แคลเซียม โบรอน) 3-6 ชม. แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แห้งแล้วนำไปหว่านในแปลงเพาะกล้าได้เลย

- กรณีเมล็ดผักชีแช่ไคโตซาน. สังกะสี. โบรอน. แล้วห่อด้วยผ้าชื้น นำไปแช่ในตู้เย็น (ช่องเย็นธรรมดา) 36-48 ชม. ระหว่างนี้ให้แหวกห่อผ้าออกดู ถ้าเมล็ดเริ่มแทงรากออกมาแล้วให้นำลงปลูกในแปลงจริงได้เลย หรือจะเพาะในแปลงเพาะกล้าก่อนก็ได้

- หว่านเมล็ดในแปลงจริงทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ เพราะเมื่องอกขึ้นมาแล้วต้องถอนแยกบางต้นที่เบียดกันออก แต่ถ้าเพาะเมล็ดในกระบะเพราะเมล็ด (1 ช่อง : 1 เมล็ด) เป็นกล้าก่อน เมื่อต้นกล้าโตได้ 2-3 ใบจึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง นอกจากไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์แล้ว ยังได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงดีอีก

บำรุง (ทุกผักที่ถาม) :

- ให้ “น้ำ 100 ล. +ไบโออิ 50 ซีซี. + ยูเรก้า 50 ซีซี. + นมสด 100 ซีซี. + สารสมุนไพร 2 ล.” ทุก 5 วัน .... ไบโออิ ยูเรก้า นมสด ห้ามเกินแต่ลดได้ ถ้าเกินต้นจะเอ๋อ บิดเบี้ยวคดงอ ชะงักการเจริญเติบโตระยะแรกๆ พอตั้งตัวได้จะโตพรวดเลย
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉาะ ทุกวันเว้นวัน

หมายเหตุ :

- ฮอร์โมนธรรมชาติในแปลง ได้แก่ น้ำมะพร้าวแก่+อ่อน, น้ำคั้นไชเท้า+น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก, น้ำคั้นผักคะน้า ให้คะน้า, น้ำคั้นผักชี ให้ผักชี

- ฮอร์โมนธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ น้ำเต้าหู้. น้ำมูลวัว/หมูตั้งท้องสดใหม่. น้ำล้างเขียงทำปลา. เลือดสด. น้ำนึ่งปลาทะเล. น้ำหอยเผา. น้ำคั้นผล/เมล็ดอ่อน.

- จุดอ่อนของฮอร์โมนธรรมชาติ คือ ใช้แล้วผลโต แต่เนื้อฟ่าม น้ำหนักไม่ดี แก้ไขด้วยการ +มัลติแชมป์ ธาตุรอง/ธาตุเสริม หรือแคลเซียม โบรอน
----------------------------------------------

เคล็ด (ไม่) ลับ :
“ผักกาดขาวปลี” :

- ให้โมลิบดินั่ม ช่วยให้ปลีแน่น
- ให้น้ำวันละ 2 รอบ เช้า-เย็น
---------------------------------------------------------

“ผักคะน้า” :

- ให้แคลเซียม โบรอน ช่วยให้ต้นไม่มีเสี้ยน
- ให้น้ำวันละ 2 รอบ เช้า-เย็น หรือ 3 รอบช่วงอากาศร้อนจัดๆ
-----------------------------------

“ผักกาดแก้ว” :

- ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. (ในไบโออิ) ตอนบ่าย ใบไม่ตกปรกดิน
- หน้าร้อน ช่วงบ่ายแดดจัด ให้น้ำวันละ 4 รอบ สาย-เที่ยง-บ่าย-เย็น
-----------------------------------------------

“ผักชี” :

- ให้ 12-60-0 หรือ ขี้ค้างคาวหมักข้ามปี อาทิตย์ละครั้ง ช่วยให้รากใหญ่
- ผักชีไทย (ใบฝอย) ให้มีฟางแห้ง แข็ง คลุมหน้าปลง หมั่นยกฟางให้ฟูขึ้น ก้านฟางจะช่วยรองรับก้านใบผักชีไม่ให้ลู่เอนลง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรสูตรรวมมิตร หรือสูตรเฉาะ ทุกวันเว้นวัน
- ให้น้ำวันละ 3 รอบ เช้าบ่ายเย็น หรือ 4 รอบช่วงอากาศร้อนจัดๆ
- น้ำรดให้ผักชีต้องปรับเป็นฝอยละเอียด ถ้าเม็ดน้ำใหญ่จะทำให้ก้านใบผักชีลู่เอนลง อาจทำให้กาบใบที่โคนก้านฉีก เป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าได้
- ผักชีไม่ถูกกับฝน เพราะเม็ดน้ำฝนจะกระแทกใบ ทำให้ใบหนักแล้วลู่เอนลง เมื่อรู้ว่าฝนจะตกควรทำแผงกันฝน
- ผักชีแจ็คพ็อต ไร่ละแสนหย่อน
------------------------------------------------------------

“ผักบุ้งจีน” :

- ให้แคลเซียม โบรอน + นมสด ต้นอ่อนถึงโคน รากอ่อนนิ่มกินได้
- หน้าร้อน ช่วงบ่ายแดดจัด ให้น้ำวันละ 4 รอบ สาย-เที่ยง-บ่าย-เย็น
ป้องกันศัตรูพืช :
- ศึกษาเรื่องศัตรูพืชประจำผักแต่ละชนิดให้ละเอียดลึกซึ้ง
- ไอพีเอ็ม (กับดักกาวเหนียวเดี่ยวๆ แมลงกลางวัน, กับดักกาวเหนียว-แสงไฟ แมลงกลางคืน)
- ฉีดพ่นสมุนไพร สูตรรวมมิตรมิตร เพื่อป้องกัน....สูตรยาน็อค เพื่อกำจัด
- ฉีดพ่นสมุนไพรบ่อยๆ วันละครั้ง วันเว้นวัน วันเว้นสองวัน
- ยึดหลัก “สมการสารสมุนไพร”
---------------------------------------------------------------------

** สมการสารสมุนไพร (ย่อ) :

ยาถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ยาผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ยาถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง
---------------------------------------------------------------------

สมการ สารสมุนไพร (พิสดาร) :

ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสาม
ตัวสมุนไพรผิด + ตัวศัตรูพืชผิด + วิธีทำผิด + ชนิดพืชผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังห้า
ตัวสมุนไพรถูก + ตัวศัตรูพืชถูก + วิธีทำถูก + ชนิดพืชถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังห้า

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5169
------------------------------------------------------------------------

สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ถังปุ๋ยที่ปั๊ม :
- เกมส์นี้ สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ยหน้าโซน คือ ตัวช่วยที่ดีที่สุด สปริงเกอร์ก็คือเครื่องมือฉีดพ่นธรรมดาๆตัวหนึ่ง แต่ที่ไม่ธรรมดาก็เพราะสามารถทำงานได้ทุกเวลา เช่น

** เช้ามืด ....... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างน้ำค้างกำจัดราน้ำค้าง
** สาย .......... 10 โมงเช้า ให้ปุ๋ย/ฮอร์โมน +ยาสมุนไพร
** เที่ยง ......... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร กำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง
** บ่าย .......... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร วันฝนตกต่อแดด ให้ปุ๋ยกดใบอ่อนสู้ฝน
** ค่ำ ........... ฉีด น้ำเปล่าหรือสารสมุนไพร ล้างช่อกำจัดราดำ กำจัดเพลี้ยจั๊กจั่น
** มืด ........... ฉีด สารสมุนไพร กำจัดแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่

**** กรณีสปริงเกอร์หม้อปุ๋ยหน้าโซน ฉีดพ่นบ่อยๆ ฉีดประจำๆ ลำพังศัตรูพืชตัวเล็กแค่ปลายไม้จิ้มฟัน จะมีภูมิต้านทานอะไรนักหนา โดนสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรเข้าไป 2-3-4 ครั้ง ก็อยู่ไม่ได้แล้ว ปัญหาก็คือ ฉีดบ่อยๆ ฉีดประจำๆ ชนิดวันต่อวันหรือวันเว้นวัน ต้องใช้เครื่องมืออะไร แบบไหน ลองเปรียบเทียบระหว่าง เครื่องฉีดพ่นที่เป็นสปริงเกอร์ กับ เครื่องฉีดพ่นแบบลากสายยาง หรือแบบอื่นๆ อย่างไหน ประหยัด (เวลา แรงงาน) ประสิทธิภาพประสิทธิผล มากกว่ากัน ....

แม้ว่าสปริงเกอร์จะทำงานได้ระดับนี้ก็ไม่ใช่ได้ผล 100% บางสถานการณ์โรคบางชนิด แมลงศัตรูพืชบางอย่าง อาจจะแทรกเข้ามาได้ เพราะฉะนั้นจึงควรใช้วิธี ไอพีเอ็ม. หรือการป้องกันกำจัดแบบผสม ผสาน คือ ใช้หลายอย่างร่วมกัน เช่น กับดักกาวเหนียว, แสงไฟล่อ, แสงไฟไล่, กลิ่นล่อ, กลิ่นไล่, รวมไปถึงแมลงธรรมชาติ เช่น มดแดงกำจัดหนอน แมลงตัวห้ำตัวเบียน และบำรุงพืชให้สมบูรณ์แข็งแรง เป็นภูมิต้านทานในตัวของต้นพืชเอง ****

------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©