-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 MAR *กล้วยไข่ แซม/ร่วม ยางพารา
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 MAR *กล้วยไข่ แซม/ร่วม ยางพารา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 MAR *กล้วยไข่ แซม/ร่วม ยางพารา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 25/03/2016 12:00 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 24 MAR *กล้วยไข่ แซม/ร่วม ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : (082) 719-25xx
ข้อความ : ผู้พันครับ ยางพาราภาคอิสานไปไม่รอดแน่ ปี 57 ปี 58 ราคาตกมาก ขาดทุนทุกสวน สวนของผม 20 ไร่ก็ขาดทุนด้วย ตัดต้นขายก็ไม่ได้ราคา เพราะต้นยังเล็ก อยากปลูกกล้วยไข่แซมยาง จะดีไหม หรือลงพืชอื่นดีกว่า ขอบคุณครับ.... ทหารเก่า
ตอบ (1) :
- น่าจะบอกมาหน่อยว่า อยู่อิสาน จังหวัดอะไร มีน้ำไหม
- อนาคตยางพาราน่าจะดีขึ้น ดีขึ้น เพราะโครงการ “แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม” ชัดเจน เช่น
- ยางพาราสร้างถนน ต้นทุนต่ำกว่ายางมะตอย อายุถนนใช้งานได้นานกว่า ต่างประเทศสนใจ
- อุตสาหกรรม ยางรถ ยางเครื่องบิน เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างและวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์ฟองนํ้า รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา บล็อกยางปูพื้น แผ่นยางปูอ่างเก็บนํ้า ฝายยาง แผ่นยางปูพื้น ฯลฯ .... อุตสาหกรรมยางพารา วิทยาการด้านนี้รู้กันมานานแล้ว ทำไมเพิ่งมาส่งเสริมเอาตอนรัฐบาล คสช. คุณสมชาย รัฐบาลเมื่อก่อนไม่รู้ ก.ไม่เชื่อ

- โรงงานยางรถยนต์ ยี่ห้อมิชเชอริน อยู่ที่หาดใหญ่ สงขลา .... เขาอยู่ได้ไง
- ที่นี่ รายการสีสันชีวิตไทย พูดเรื่อง NICK กับ NACK .... (NICK คือ อุตสาหกรรมผลิตของใช้ ส่วน NACK คือ อุตสา หกรรมการเกษตร หรือเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตของกิน)

.... บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกยางพารามากที่สุดในประเทศไทย สร้างโรงงาน ผลิตยางมอเตอร์ไซด์ ส่งเวียดนามประเทศเดียวก็คุ้มเกินคุ้ม เพราะเวียดนามมีมอเตอร์ไซด์มากกว่าประเทศไทย 200% นี่ไม่รวมมอเตอร์ไซด์ เขมรลาวพม่า รวมทั้งไทย

.... สระแก้ว อุบล ส่งเสริมตั้งโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง รับซื้อหัวมันสำปะหลังจากเขมรแล้ว แปรรูปเป็น แป้งมัน สาคู ผงชูรส อื่นๆ เรียบร้อยแล้วส่งไปขายในเขมร ลาว เวียด นาม จะดีไหม

- เกษตรกรสวนยาง รักยางพารา ถามว่า ยางพารารักเราไหม ?
- ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีกิจกรรมเกษตรให้เลือกทำมากที่สุดในโลก แต่เกษตรกรไทย ไม่รู้จะปลูกอะไร ว่าแล้วปลูกตามข้างบ้าน ปลูกตามกระแส ปลูกตามใจตัวเอง

- ในหลวงทรงสอน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรไร่นาสวนผสม เกษตรยั่งยืน เกษตรพอเพียง
- รัฐบาล ส่งเสริมเกษตรใช้น้ำน้อย
- ก.เกษตร ส่งเสริม เกษตร SMART FARMER
- บริษัทแนะนำส่งเสริม เกษตรพันธะสัญญา
- ลุงคิม ส่งเสริม เกษตรแจ๊คพ็อต

**** เกษตรกรไทย ไม่เอาซักอย่าง
-------------------------------------------------

สายตรง :
(065) 718-36xx, (095) 184-27xx
สรุปปัญหา :
1. ขับแท็กซี่ กทม. ภูมิลำเนาอยู่หนองคาย ปลูกยางพารา 40 ไร่
2. ขับสิบล้อ กำลังวิ่งอยู่กบินทร์บุรี ภูมิลำเนาอยู่เชียงราย ปลูกยางพารา 120 ไร่ พรุ่ง นี้จะจอดรถฟัง
ตอบ (2) :

ทำไมมองแต่กล้วยไข่อย่างเดียว ในเมื่อกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหักมุก ก็น่าสนใจ โดยเฉพาะกล้วยหอมแจ๊คพ็อต ตรุษจีน สาร์ทจีน เชงเม้ง ไหว้พระจันทร์

พืชร่วมยาง
... หลากหลายรายได้ในสวนยาง :
การปลูกพืชร่วมยาง เป็นการปลูกพืชควบคู่กับการปลูกยางพาราเพื่อเสริมรายได้ โดยพืชที่ปลูกต้องสามารถเจริญเติบโตร่วมกับต้นยางพาราได้ และไม่ทำให้ผลผลิตน้ำยางลดลง พืชร่วมยางที่สำคัญและนิยมปลูกกัน อาทิ ระกำหวาน, สละ, หวาย, กระวาน, หน้าวัว และเปลวเทียน หรือไม้ป่าบางชนิด เช่น ตะเคียนทอง, กฤษณา

พืชร่วมยาง ต้องพิจารณาหลักการ ดังต่อไปนี้ :

• ผลตอบแทนจากการปลูกพืชร่วมยางแต่ละชนิด
• ควรเป็นพืชร่วมยางที่เกษตรกรชาวสวนยางคุ้นเคยกับการดูแลบำรุงรักษามาก่อนบ้าง
• พืชร่วมยางที่ปลูกต้องไม่กระทบกระเทือนในการปฏิบัติงานในสวนยางพารา, ต้องไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา และต้องไม่ทำให้ผลผลิตน้ำยางลดลง

พืชเสริมรายได้ในสวนยาง :

พืชเสริมรายได้ หมายถึง พืชที่นำมาปลูกในระหว่างแถวยางแล้วทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ พืชแซมยาง และพืชร่วมยาง

พืชแซมยาง
หมายถึง พืชที่ปลูกในแถวยาง ในขณะที่ต้นยางอายุไม่เกิน 3 ปี สามารถปลูกจนถึงต้นยางอายุไม่เกิน 4 ปี พื้นที่ระหว่างแถวยางจะต้องมีปริมาณแสงแดดมากกว่า 50% ของปริมาณแสงแดดทั้งหมด พืชแซมยางที่ปลูกควรเป็นพืชที่ตลาดต้องการสูง ราคาดี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ดูแลรักษาง่าย การปลูกแบ่งตามอายุ คือ

1. อายุน้อยกว่า 1 ปี เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ผักชนิดต่าง ๆ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงโม เป็นต้น
2. อายุมากกว่า 1 ปี เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด หวายตัดหน่อ เป็นต้น

การปลูกและดูแลรักษาพืชแซมยาง :

1. พื้นที่สวนยางที่ปลูกพืชแซมยางดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร เมื่อมีการปลูกพืชแซม ควรใส่ปุ๋ยให้กับพืชแซมยางด้วย

2. การปลูกพืชแซมยาง ควรปลูกในสวนยางที่ระยะระหว่างแถวยางกว้าง 7 หรือ 8 เมตร เป็นสวนยางที่ปลูกยางแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อให้พืชแซมยางได้รับแสงแดดเต็มที่ ถ้าแถวยางแคบกว่านี้จะปลูกพืชแซมได้ไม่เกิน 2 ปี

3. ระยะปลูกพืชแซมต้องปลูกห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่า 1 เมตร บวกด้วยครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างแถวของพืชแซมนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงร่มเงา และการแย่งปุ๋ยจากยาง
4. การดูแลรักษา ควรกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยางและแถวพืชแซม การใส่ปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเปลี่ยนวัชพืชเป็นปุ๋ย

5. แรงงานควรใช้แรงงานภายในครอบครัว และใช้เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน

ประโยชน์ของพืชแซมยาง :

1. ใช้บริโภคและเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิต
2. ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าปล่อยพื้นที่ให้ว่าง
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายการควบคุมวัชพืช
4. ใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

พืชร่วมยาง
หมายถึง พืชที่สามารถปลูกร่วมกับยางได้นานและให้ผลผลิตควบคู่กันไปพืชร่วมยางที่ปลูกควรเป็นพืชยืนต้นหรือล้มลุกที่มีอายุยาว พืชดังกล่าวบางชนิดต้องการแสงแดดในช่วงปีที่ 1-2 บางชนิดอาจต้องการร่มเงาของสวนบาง ดังนั้น พืชที่จะปลูกต้องทนทานต่อโรคที่เกิดกับยางพารา เช่น โรครากขาว โรคเส้นดำ โรคเปลือกดำ และโรคใบจุดก้างปลา เป็นต้น

ชนิดของพืชร่วมยาง :

1. ไม้ป่าเศรษฐกิจ เช่น เทียม
2. ไม้ผล เช่น มังคุด ลองกอง ขนุน จำปาดะ ระกำ
3. ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ เนียง เหมียง หวาย
4. พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระวาน ขิง
5. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาหลา หน้าวัว จั๋ง หมากแดง

การปลูกและการดูแลรักษาพืชร่วมยาง

1. สภาพพื้นที่ปลูกสวนยางที่ปลูกพืชร่วมยาง ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึก
2. อายุของสวนยาง ไม้ยืนต้นสามารถปลูกพร้อมกับการปลูกยางในระยะแรกควรปลูกกล้วย
3. ระยะปลูกของพืชร่วมยางส่วนใหญ่ปลูกเป็นแถวเดี่ยว อยู่กึ่งกลางระหว่างแถว ยางบางชนิดอาจปลูกแถวคู่ แต่ต้องปลูกห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่าข้างละ 2 เมตร

4. การดูแลรักษาพืชร่วมยาง หลังปลูกควรใส่ปุ๋ยตามอัตราคำแนะนำ ตลอดจนการกำจัดวัชพืช การให้น้ำ
5. แรงงาน ควรใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อลดต้นทุนการผลิต

ประโยชน์ของพืชร่วมยาง :

1. เพิ่มรายได้เนื่องจากผลตอบแทนจากยางอย่างเดียวไม่เพียงพอ
2. ต้องการผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน
3. ลดความเสี่ยงด้านการตลาดในช่วงราคายางตกต่ำ
4. ใช้พื้นที่ว่างระหว่างแถวยางให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. ทำให้มีรายได้ในช่วงวันฝนตก ซึ่งไม่สามารถกรีดยางได้
6. ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พืชร่วมยางที่นำมาปลูกนั้นมีหลายชนิดและอยู่ในระหว่างการศึกษา ทดสอบ ได้แก่ ลองกอง มังคุด หวายข้อดำ สำหรับพืชร่วมยางที่ส่งเสริมให้ปลูก คือ เหมียง ซึ่งเป็นพืชผักสำหรับบริโภคใบอ่อน

ที่มา
http://www.monmai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A3…/

https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/877377488966512
-----------------------------------------------------------

“กล้วยไข่” แซมสวนยาง โกยรายได้ เดือนละ 3 หมื่น :

เจ้าของสวนไม้ผลผสมผสานรายนี้ ชื่อว่า คุณภู จันทรวงศ์ อายุ 53 ปี บ้านเลขที่ 148 หมู่ที่ 10 บ้านมหาราช ต.จานใหญ่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พี่ภูเล่าให้ฟังว่า ครอบครัวเธอมีที่ดินทำกิน 14 ไร่ ปลูกข้าวโพดไร่เป็นรายได้หลัก หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายจะมีรายได้ ประมาณ 200,000 บาท แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงมาก หลังหักต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าน้ำมัน สำหรับไถเตรียมดินแล้ว เหลือรายได้ติดกระเป๋าเพียงแค่ 30,000 บาท ทำแล้วขาดทุน ไม่คุ้มค่ากับความเหนื่อย

พี่ภูตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนผลไม้ โดยเน้นปลูกเงาะและทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นหลัก ต่อมาเจอปัญหาเงาะล้นตลาด ขายผลผลิตได้ในราคาถูกมาก แค่ กก. ละ 7 บาท ทำแล้วขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา พี่ภูจึงโค่นต้นเงาะทิ้งทั้งหมด เหลือแค่ต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และนำไม้ผลอื่นๆ มาปลูกแซม เช่น ลองกอง ส้มโอพันธุ์ทองดี ส้มเขียวหวาน มังคุด และกล้วยไข่

พี่ภูพาเดินชมสวนไปเรื่อยๆ ไปเจอต้นทุเรียนกำลังออกดอกพราวเต็มต้น ขณะที่ต้นถัดไปมีลูกทุเรียนหมอนทองขนาดผลย่อมๆ ที่รอเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ใกล้ๆ กันเป็นต้นลองกองและต้นกล้วยไข่ที่กำลังออกเครือใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในไม่ช้า

การบำรุงดูแลสวนไม้ผลผสมผสานแห่งนี้พี่ภูจะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ครั้งละประ มาณ 1 กำมือ หว่านรอบโคนต้นไม้ผล ทุกๆ 3 เดือน สำหรับพื้นที่ 14 ไร่ จะใช้ปุ๋ยเคมีประมาณ 3 กระสอบ พร้อมติดตั้งหัวสปริงเกลอร์ให้น้ำทุกๆ 4-5 เมตร เปิดให้น้ำทุก 1-2 วัน ต่อครั้ง เมื่อถึงช่วงฤดู พ่อค้าจะหาแรงงานมาเก็บผลผลิตเอง ปีที่ผ่านมาเก็บลองกองออกขายได้ ประมาณ 1 ตัน ขายส่งในราคาหน้าสวน อยู่ที่ กก. ละ 20 บาท ส่วนทุเรียน ราคาขายหน้าสวน อยู่ที่ กก. ละ 30 บาท

ทุกวันนี้ กล้วยไข่ กลายเป็นสินค้าหลักที่สร้างรายได้ก้อนโต ถึงเดือนละ 30,000 บาท พี่ภูบอกว่า กล้วยไข่ เป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ลงทุนปลูกแค่ครั้งเดียวอยู่ได้เป็น 10 ปี พี่ภูหาซื้อพันธุ์กล้วยไข่จากเพื่อนบ้านนำมาปลูก ปลูกในระยะ 2x2 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 350-400 หน่อ ปลูกแค่ 8 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ เก็บกล้วยไข่ออกขายทุกๆ 15 วัน โดยจะมีพ่อค้าขาประจำเข้ามารับซื้อกล้วยไข่ถึงสวน ในราคา กก. ละ 11 บาท หากตรงกับช่วงฤดูเงาะ ราคากล้วยไข่ก็จะถูกลง เหลือเพียง กก. ละ 9 บาท ก็ยังมีผลกำไรมากพอที่จะอยู่ได้อย่างสบาย

“ปลูกยางพารา” เพิ่มรายได้ : [color=red]

ปี 2554 ยางพารา ขายได้ราคาดี รัฐบาลจึงมอบหมายให้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดรับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 ตาม พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ เพื่อส่งเสริมช่วย เหลือเกษตรกรให้ปลูกยางพันธุ์ดี ในเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสม รายละ 2-15 ไร่ พี่ภูจึงสมัครเข้าร่วมโครงการ

สกย. จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนปัจจัยการผลิตในระยะ 3 ปีแรก เป็นเงินรวม 3,529 บาท ต่อไร่ โดยแบ่งจ่ายเป็นงวดตามหลักเกณฑ์ที่ สกย. กำหนด ซึ่งประกอบด้วยค่าพันธุ์ยาง ปุ๋ย และเมล็ดพืชคลุมดิน ส่วนที่เหลือปีที่ 4-7 เกษตรกรต้องใช้ทุนเอง หรือขอเข้าร่วมโครงการกับ ธ.ก.ส. โดยได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำสวนยางอย่างถูกหลักวิชาการจาก สกย. ตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการ

พี่ภูสามารถปลูกยางพาราแซมกับไม้ผลที่อยู่เดิม ในพื้นที่ 14 ไร่ ได้โดยไม่ตัดไม้ยืนต้นเดิมที่มีอยู่ในสวนสักต้นเดียว เพราะไม้ยืนต้นในสวนแห่งนี้ ปลูกในระยะห่าง 8 x 8 ม. ระยะ 9 x 9 ม. และระยะ และ พันธุ์ 600 มาปลูกแซมในสวนไม้ผล ในระยะ 3 x 7 ม. ได้อย่างสบายๆ โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกยางได้ จำนวน 76 ต้น ปัจจุบัน ต้นยางในสวนแห่งนี้อายุ 3 ปีกว่า จะเปิดกรีดได้เมื่อต้นยางอายุครบ 7 ปี

การบำรุงดูแลรักษาสวนยางพารา นับจากวันแรกจนถึงวันที่เปิดกรีดได้ ต้องใช้เวลา 6-7 ปี ซึ่งนับว่านานพอสมควร ระหว่างที่รอเปิดกรีดนี้ เป็นช่วงที่มีแต่รายจ่าย แต่พี่ภูรับมือกับปัญหานี้ได้สบายมาก เพราะมีรายได้เสริมจากไม้ที่ปลูกไว้เต็มพื้นที่ 14 ไร่ แห่งนี้

“เลี้ยงจิ้งหรีด” เพิ่มผลกำไน : [color=red]

พี่ภูเป็นคนขยันขันแข็งในการทำงานมาก เนื่องจากเธอยังเหลือเวลาว่างหลังจากการดูแลสวนยางและไม้ผล จึงลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัวอีกทางหนึ่ง โดยลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีด ครั้งละ 5 กล่อง ใช้เงินทุนต่ำ ใช้พื้นที่ไม่มาก สามารถเลี้ยงในบริเวณบ้านได้ การเลี้ยงจิ้งหรีดแต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน ช่วงอากาศร้อนจิ้งหรีดโตเร็ว ใช้เวลาเลี้ยงแค่ 35-40 วัน ช่วงหน้าหนาวจะใช้เวลาเลี้ยงนานหน่อย ประมาณ 50-60 วัน

การเลี้ยงจิ้งหรีดทำได้ไม่ยาก เริ่มจากการทำกล่องเลี้ยง ใช้ถาดไข่เป็นรังในการเลี้ยง กล่องหนึ่งใช้ 30 ถาด ลงทุนไข่จิ้งหรีด ถาดละ 150 บาท มีตัวประมาณ 3-4 กก. ต่อถาด เลี้ยงโดยให้อาหารจิ้งหรีดคือ หัวอาหารจิ้งหรีด ใบมันสำปะหลัง และเศษอาหารอื่นๆ เช่น ฟักทอง เศษผัก ฯลฯ เมื่อคำนวณต้นทุนค่าไข่จิ้งหรีดบวกกับต้นทุนค่าอาหาร จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย กล่องละ 1,000 กว่าบาท เมื่อขายจะมีรายได้ ประมาณ 20,000 บาท ต่อรุ่น ถือว่า ได้กำไรก้อนโต หายเหนื่อยกันเลยทีเดียว

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์หารายได้เสริมระหว่างที่ราคายางตกต่ำทาง สกย. ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้เกษตรกรกู้ยืมไปใช้ลงทุน เฉลี่ยรายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน ร้อยละ 2 บาท ต่อปี การอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดังกล่าว จะพิจารณาจากความพร้อมของตัวเกษตรกร สภาพพื้นที่ รวมทั้งการนำเงินไปใช้ลงทุน ว่ามีศักยภาพแค่ไหน ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ขณะนี้ สกย. จังหวัดศรีสะเกษ กำลังเร่งประชาสัมพันธ์การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวให้เกษตรกรชาวสวนยางที่สนใจเข้ามาขอใช้บริการมากขึ้น

นอกจากนี้ สกย. พยายามช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต โดยสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการ เรื่องการผลิตปุ๋ยสั่งตัด เพื่อให้เกษตรกรเลือกใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนยางให้น้อยลง เพื่อจะเหลือผลกำไรเข้ากระเป๋าได้มากที่สุด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427529350

--------------------------------------------------------

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©