-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 17 MAR *สารสมุนไพร (27), ทุเรียน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 17 MAR *สารสมุนไพร (27), ทุเรียน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 17 MAR *สารสมุนไพร (27), ทุเรียน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/03/2016 2:09 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 17 MAR *สารสมุนไพร (27), ทุเรียน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 17 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




** สารสมุนไพร สูตรเย้ยฟ้าท้าดิน :
หลักการและเหตุผล : (เพื่อความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยชาวบ้าน
งานวิจัย : นักวิทย์น้อยวิจัยพืชสมุนไพร สกัดสารจากใบชาต้านเชื้อราในพริก

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเพาะปลูกจึงเป็นอาชีพหลักของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่พบคือ "โรคพืช" ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลง พืชสมุนไพรของไทยหลายชนิดมีสรรพคุณในการฆ่าศัตรูพืชได้ดี และไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้าง

ชาเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะหาได้ง่ายและเป็นที่รู้จักทั่วไปโดยเฉพาะในภาคเหนือแล้ว จากการสืบค้นข้อมูลพบว่างานวิจัยเกี่ยวกับสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชด้วยสารสกัดจากใบชายังมีน้อยมาก โดยส่วนใหญ่งานวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการนำชาไปใช้ประโยชน์ในการยับยั้งเชื้อโรคในมนุษย์เสียมากกว่า

น.ส.วรรธนันทน์ จตุวิริยะพรชัย นักเรียนใน โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชั้น ม.6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง สารสกัดใบชาต่อเชื้อราที่ก่อโรคเหี่ยวในพริก Fusarium oxysporum
โดยเลือกทดลองกับชาสามชนิด ได้แก่ ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ โดยสกัดสารจากใบชาแล้วทดสอบการฆ่าเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่เป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคเหี่ยว (Wilt) ในพริก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกพริกชี้ฟ้าใน จ.เชียงใหม่ อย่างมาก

การทดลอง เริ่มจากนำใบชาน้ำหนัก 2 กรัม มาสกัดด้วยน้ำร้อนปริมาตร 100 มิลลิลิตร แล้วนำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งเป็นผงด้วยวิธีการ Freeze-dry แล้วหาปริมาณสารที่สกัดได้
จากนั้นนำผงสกัดใบชาแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์ ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราโดยพ่นโคนต้นพริกชี้ฟ้าอายุ 2 เดือน

ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา Fusarium oxysporum พบว่า สารสกัดจากใบชาเขียวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี รองลงมาคือสารสกัดจากใบชาอู่ และสารสกัดจากใบชาดำ ตามลำดับ

การการทดลองนี้เราจึงสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ในการจัดการกับโรคเหี่ยวของพริกชี้ฟ้าซึ่งเป็นปัญหาของเกษตรกรในเชียงใหม่ได้

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ว่า "ทำให้ได้ฝึกกระบวนการคิด ความช่างสังเกต อันเป็นทางไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้น อีกทั้งยังฝึกให้เราเป็นคนละเอียด รอบคอบ และอดทน"

ที่มา: http://www.matichon.co.th/khaosod
----------------------------------------------------

สารสมุนไพร (27)
สูตร 103. น้ำยาล้างจาน กำจัดเพลี้ยแป้ง :

ใช้ “น้ำยาล้างจานกลิ่นมะนาว 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มเปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ 2-3 วันติดต่อกัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
กำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย

สูตร 104. ว่านน้ำ บ่มผลไม้ :
ใช้ “ว่านน้ำ 1 กก.” บดละเอียด แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งานนำผลไม้ดิบลงล้างทำความสะอาด นำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำไปบ่มตามปกติ เมื่อผลไม้นั้นสุกจะไม่เป็นโรคจุดดำ หรือผลเน่า

สูตร 105. สารจับใบธรรมชาติ :
ใช้ “น้ำยาล้างจาน 10-20 ซีซี.” หรือ “น้ำยางสดต้นสบู่ต้น 5-10 ซีซี.” หรือ “น้ำยางสดยางพารา 1-2 ซีซี.” หรือ “เกล็ดสบู่ 200-300 กรัม.” หรือ “ผงซักฟอก 1 ช้อนโต๊ะ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมน้ำ 20 ล. ใช้แทนสารจับใบ
---------------------------------------------------


จาก :
(093)178-23xx
ข้อความ : เรียนถามผู้พันครับ ทุเรียนอายุต้น 10-15 ปี ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี ปีนี้เริ่มมีดอก ไม่อยากพบปัญหาซ้ำซาก ปีก่อนๆ หลายปี คุณภาพไม่ดี เนื้อเป็นจุด เป็นลูกแล้วแตกใบอ่อน ลูกร่วง ไม่โต โตไม่มีคุณภาพ กับอีกหลายปัญหา ผมไม่มีความรู้เรื่องการใช้ ปุ๋ย ฮอร์โมน ผู้พันช่วยแนะนำด้วยครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
ทุเรียน ปลูกเถอะ ดีแล้ว เป็นผลไม้ที่ราคาต่อ กก.แพง แพงที่สุดในบรรดาผลไม้ด้วยกัน ไม่มีความรู้ต้องหาความรู้ ไม่เคยทำต้องลองทำ ไม่มีประสบการณ์ต้องทำบ่อยๆ ตั้งเป้าหมาย ซูพรีม พรีเมียม เกรดเอ จัมโบ้ โกอินเตอร์ ขึ้นห้าง ออกนอกฤดู ปลอดสารเคมี100% คนนิยม แล้วทำให้ได้ .... ลุกขึ้นมา กำมือ ชูเหนือหัว ....

มีคนทำได้ ................ เราต้องทำได้
ทำตามคนที่ล้มเหลว ...... จะล้มเหลวยิ่งกว่า
ทำตามคนที่สำเร็จ ........ จะสำเร็จยิ่งกว่า
ทำอย่างเดิม .............. จะแย่ยิ่งกว่าเดิม
คนที่จะช่วยเราได้ คือ ..... คนในกระจก เท่านั้น

--------------------------------------------

จุดประสีขาว ที่เนื้อทุเรียน เรียกว่า อาการเนื้อแกน เกิดขึ้น เนื่องจาก อาหารในต้นทุเรียนไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเนื้อ โดยมักพบปัญหานี้ในต้นทุเรียนที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์ และมีการแตกใบอ่อนในช่วงที่ผลทุเรียนมีอายุประมาณ 8-10 สัปดาห์

แนวทางแก้ปัญหา :

สมการปุ๋ย :
ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง
ปุ๋ยถูก + ใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลังสอง

* ปุ๋ยถูก คือ ถูกสูตร ถูกประเภท ถูกอัตรา ถูกระยะพืช
* ใช้ถูก คือ ถูกวิธี ถูกปริมาณ ถูกความถี่/ห่าง ถูกปัจจัยพื้นฐานฯ


ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก :
ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค ตามความเหมาะสมของทุเรียน ศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี

ศรีสวัสดิ์ V.S. ไร่กล้อมแกล้ม กาญจนบุรีเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน เพราะ ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีโวลลุ่ม ไม่มีคันเร่ง COPYไม่ได้ แต่APPLYได้ บนพื้นฐาน หลัก การและเหตุผล

วิธีการป้องกันปัญหา :

1. บำรุงให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์สะสม ทั้งช่วงมีผลบนต้นและไม่มีผลบนต้น ทั้งทางใบและทางราก
2. จัดการใบอ่อนโด ถ้าต้นทุเรียนค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มีการแตกใบอ่อนค่อนข้างมาก ควรพ่นสารชะลอการเจริญของใบอ่อน เพื่อให้ใบอ่อนเจริญอย่างช้าๆ ในขณะเดียวกัน ก็แนะนำให้พ่นปุ๋ยทางใบเพื่อให้มีอาหารเพียงพอที่จะให้
ใบอ่อน และผลพัฒนาไปพร้อมๆ กัน กับการชะลอการแตกใบอ่อน

3. การพ่นสารชะลอการเจริญเติบโต เช่น สารพิควอท คลอไรด์ ความเข้มข้น 37.5 พีพีเอ็ม ให้ทั่วต้น
4. การลดความเสียหาที่เป็นผลจากการแตกใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยสูตรทางด่วน (คาร์โบไฮ เดรตสำเร็จรูป อัตรา 20 ซีซี + ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุ 60 กรัม + ฮิวมิค แอซิด 20 ซีซี ผสมรวมในน้ำ 20 ลิตร)

.... ความรู้รอบตัว (รู้ด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจบวิทยาลัย มหาลัย) ว่าด้วยสารอาหารที่จะใช้ หน้าตารูปร่างเป็นยังไง ? ที่ไหนมีขาย ? วิธีผสมต้องทำอย่างไรบ้าง ?

5. ในต้นที่สมบูรณ์น้อย แนะนำให้ปลิดใบอ่อน ด้วยการพ่นปุ๋ยโพแทสเซียม ไนเตรท (13-0-46) อัตรา 100-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในระยะหางปลา

นันทกา แสงจันทร์ เรียบเรียง
------------------------------------------------------

การเตรียมต้นเพื่อการออกดอก :

ต้นทุเรียนที่พร้อมก่อนการออกดอกคือ ต้นทุเรียนที่ผ่านการเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน สาขาโดยมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 1 ชุด มีการสังเคราะห์แสงและสะสมอาหาร ในรูปของสารประกอบคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ มีปริมาณใบมากเพียงพอ และสังเกตได้โดยเมื่อมองจากใต้ต้นขึ้นไป จะเห็นช่องว่าง ระหว่างใบในทรงพุ่มไม่เกินร้อยละ 40 ของพื้นที่ผิวทรงพุ่ม ใบส่วนมากหรือทั้งหมดเป็นใบแก่ กิ่งของแต่ละยอดเริ่มแก่ ทำให้สังเกตได้ชัดเจนว่า ยอดตั้งขึ้นเกือบทุกยอด ต้นทุเรียนที่ได้รับการจัดการดี และมีสภาพพร้อมที่จะออกดอก จึงสังเกตได้จากการที่ต้นมีปริมาณใบพอเหมาะ ใบสมบูรณ์ มีสีเขียวเข้มเป็นมันและแก่ กิ่งของยอดแก่หรือยอดตั้งได้ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการออกดอก คือ มีช่วงฝนทิ้งช่วง 10-14 วัน อุณหภูมิและความชื้นของอากาศค่อนข้างต่ำ จะทำให้ต้นทุเรียนออกดอกได้มาก และสม่ำเสมอทั่วทั้งต้น การเตรียมสภาพความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอกจะประสบความสำเร็จได้ดีนั้น ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพของต้นที่เป็น อยู่ ดังนี้

1. ต้นที่มีสภาพความสมบูรณ์ค่อนข้างพร้อม เป็นต้นที่มีลักษณะโครงสร้างของทรงพุ่มค่อนข้างดี ทรงพุ่มเป็นรูปฉัตร มีกิ่งที่ขนาดพอดีเป็นจำนวนมาก โดยกิ่งนั้นไม่ใหญ่เกินไป (เส้นผ่า ศูนย์กลางของกิ่งมากกว่า 8 นิ้ว) หรือกิ่งมีขนาดเล็กเกินไป (เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งน้อยกว่า ¾ นิ้ว) มีปริมาณใบมาก และมีใบแก่ที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ต้นประเภทนี้สามารถเตรียมความพร้อมได้ง่าย โดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและกิ่งขนาดเล็ก ออกไป ซึ่งมักเป็นกิ่งที่มีใบอยู่ด้านนอกของทรงพุ่ม และมีอยู่เป็นจำนวนมาก

2. ต้นที่มีสภาพค่อนข้างโทรม เป็นต้นที่มีโครงสร้างของทรงพุ่มไม่ค่อยดี มีสัดส่วน ของใบต่อกิ่งน้อยกว่าต้นประเภทแรก คือ มีปริมาณน้อย ใบมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีไม่เขียวเข้ม โดยปกติต้นประเภทนี้มักเป็นต้นที่มีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 15 ปี) การใส่ปุ๋ย ให้น้ำ หรือการจัดการด้านอารักขาพืช ในฤดูการผลิตที่ผ่านมาไม่เหมาะสม และมีการไว้ผลมากจนต้นมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เกิดผลกระทบต่อระบบราก ทำให้ระบบรากไม่สมบูรณ์ การจัดการเพื่อเตรียมสภาพความพร้อมของต้นจึงต้องมีการกระตุ้น พัฒนาการของระบบรากเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อทำให้ระบบรากฟื้นตัวมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้ในการดูดซับธาตุอาหารและน้ำ การกระตุ้นพัฒนาการของระบบรากนี้จะต้องกระทำก่อนการใส่ปุ๋ยและให้น้ำ

3. ต้นที่มีใบเหลืองเฉพาะบางกิ่ง เป็นลักษณะอาการเฉพาะ ต้นที่มีใบเหลืองเฉพาะบางกิ่งจะมีสภาพทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ต้นทุเรียนจะแสดงอาการขาดน้ำ สังเกตได้จากใบทุเรียนจะมีอาการสลดและใบตก ตั้งแต่ช่วงสายๆ หรือตอนบ่าย ซึ่งบ่งชี้ถึงการเข้าทำลาย ของโรครากเน่าและต้นเน่า เนื่องจากเชื้อราไฟทอปเทอรา ดังนั้น การเตรียมสภาพความพร้อมของต้นประเภทนี้จะต้องดำเนินการ ต่างจากต้น 2 ประเภทแรก คือ

- การรักษาโรค โดยวิธีการตรวจหาตำแหน่งที่เป็นโรค ด้วยการสังเกตจากสีเปลือกลำต้นหรือกิ่ง โดยตำแหน่งที่เป็นโรคนั้น เปลือกจะมีสีคล้ำกว่าสีเปลือกปกติ และสังเกตเห็นคราบน้ำเป็นวง หรือไหลเป็นทางลงด้านล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้า ที่มีอากาศชุ่มชื้น อาจเห็นเป็นหยดน้ำปุดออกมาจากบริเวณแผลที่มีสีน้ำตาลปนแดง การรักษาโรคกิ่งและต้นเน่านี้ ทำได้โดยใช้มีดหรือสิ่งมีคมถากเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออกบางๆ เพื่อให้ทราบขอบเขตของแผลที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายอย่างชัดเจน แล้วใช้สารเมทาแลกซิล (Metalaxyl) ชนิดผงร้อยละ 25 อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือสารฟอสเอทิลอะลูมินัม (Phosethyl aluminum) ชนิดผงร้อยละ 30 ในอัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร ทาตรงบริเวณที่ถากออกให้ทั่ว และตรวจสอบแผลที่ทาไว้หลังจากการทาด้วยสารเคมีครั้งแรก 15 วัน หากรอยแผลยังไม่แห้ง มีลักษณะฉ่ำน้ำ ให้ทาซ้ำ ด้วยสารเคมีชนิดเดิมจนกว่าแผลจะแห้ง

- ชะลอการหลุดร่วงของใบ ต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่า ต้นเน่านี้ ใบจะมีอาการเหลืองและหลุดร่วงไป เนื่องจากโรคทำให้เกิดการขัดขวางการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร หรือสารประกอบคาร์โบไฮเดรตภายในท่อน้ำ และท่ออาหาร จนต้นเกิดอาการทรุดโทรม โดยปกติ การฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ของต้นหลังจากเกิดโรคทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และมักไม่ทันต่อการผลิตในฤดูการผลิต ถัดไป แต่ถ้าดำเนินการรักษาโรคและหยุดการลุกลามของโรคได้อย่างรวดเร็ว และชะลอการหลุดร่วงของใบ โดยฉีดพ่นต้นด้วย สารประกอบกึ่งสำเร็จรูปที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นองค์ประกอบหลัก (สูตรทางด่วน) หรือฉีดพ่นต้นด้วยสารเคมีที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง กัน จะช่วยให้ต้นทุเรียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

- การจัดการอื่นๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ และการอารักขาพืช ให้ดำเนินการเช่นเดียวกันกับการเตรียมสภาพความพร้อมของต้นทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวถึงแล้ว

- ต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุเหล็กและธาตุแมกนีเซียม โดยทั่วไปในส่วนอื่นของลำต้นจะมีสีเขียวและลักษณะเป็นปกติ แต่จะพบอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาด ถ้าเป็นใบอ่อน ใบจะ มีขนาดเล็กกว่าปกติ แผ่นใบและเส้นกลาง ใบจะเหลืองซีดทั้งแผ่น ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก ถ้าเป็นใบเพสลาด อาการเหลืองจะเป็นที่แผ่นใบ แต่เส้นกลางใบจะเป็นสีเขียวลักษณะคล้ายใบหอก คือ แถบกว้างจาก ขั้วใบ แล้วเรียวแหลมลงไปจนถึงปลายใบ ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุแมกนีเซียม อาจพบอาการทั้ง 2 ประเภทผสมผสานกันอยู่ในต้นเดียวกัน โดยมากจะพบในต้นทุเรียนที่ปลูกในดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ที่มีธาตุ แมกนีเซียมและธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำ ต้นทุเรียนที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาดข้างต้น เกิดจากการจัดการบางอย่างผิดพลาด คือ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย เร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านสาขาโดยไม่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยที่มีธาตุรอง หรือธาตุปริมาณน้อยร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้พัฒนาการของยอดเกิดขึ้นมาก ธาตุไนโตรเจนที่มีมากเกินไปจะลดอัตราการดูดซับธาตุแมกนีเซียมลง และเมื่อต้นทุเรียนขาดธาตุแมกนีเซียมก็จะมีผลทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ลดลงด้วย จึงทำให้ต้น ทุเรียนแสดงอาการขาดทั้งธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กไปพร้อมๆกัน ในกรณีที่เกิดอาการใบเหลืองดังกล่าวแล้ว อาการใบเหลือง จะสามารถหายได้เองเมื่อใบแก่ขึ้น แต่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน อาจทำให้เกิดปัญหา ในการเตรียมความพร้อมของต้นให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการออก ดอกได้ จึงจำเป็นต้องแก้ไขโดยการฉีดพ่นด้วยปุ๋ยทางใบที่มีธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม ปัญหาต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาด ควรแก้ปัญหาโดยวิธีการป้องกันจะเหมาะสมกว่า กล่าวคือ ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กับปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ

- ต้นที่มีอาการใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด สาเหตุเกิดจากการใช้สาร เคมีกำจัดวัชพืชไม่ถูกวิธี คือ การที่เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เช่น กลุ่มพาราควอต กลุ่มไกลโฟเซต หรือกลุ่มอื่น ในอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ ฉีดพ่นเพื่อกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของทุเรียน ปริมาณสารเคมีส่วนเกินสัมผัสกับรากทุเรียนที่กำลังพัฒนาอยู่ใกล้กับผิวดินและรากบางส่วน ทำให้แห้งตาย อาการใบเหลืองดังกล่าวจะพบ หลังจากการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ดังนั้น การจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ระบบรากของทุเรียนมีพัฒนาการก่อน ดังรายละเอียดที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วตามด้วยการจัดการ อื่น เช่น การตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ และการอารักขาพืช

- ต้นที่มีใบเหลืองทั้งต้น ต้นทุเรียนประเภทนี้จะมีใบที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ใบมีลักษณะด้าน ไม่สดใสเป็นมัน ใบเหลืองทั้งแผ่นใบและเส้นกลางใบ อาจมีลักษณะการขาดน้ำเกิดร่วมด้วย ต้นทุเรียนที่มีอาการประเภทนี้จะพบมากในต้นที่ปลูกจากต้นกล้า ที่รากงอหรือรากขด ปลูกลึก มักมีน้ำขังอยู่ที่โคนต้น หรืออาจมีการถมดินบริเวณโคนต้น ค่อนข้างสูง และมีการระบายน้ำไม่ดี ต้นทุเรียนที่มีสภาพแบบนี้ หากมีการไว้ผลมากในฤดูการผลิตที่ผ่านมา อาการใบเหลืองจะเกิดรุนแรงมากขึ้นในฤดูการผลิตต่อมา ซึ่งสาเหตุหลักของอาการประเภทนี้มักเกิดจากมีโรครากเน่าเข้าทำลายตรงบริเวณรากที่งอหรือขด ซึ่งรากจะเบียดชิดกัน จนเกิดรอยแผล เชื้อราไฟทอปเทอราจะเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้ เกิดอาการรากเน่า และมีการขยายขนาดของแผลเน่าอยู่เสมอ ส่งผลให้รากฝอยบางส่วนแห้ง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดน้ำและธาตุอาหารลดลง ดังนั้น การจัดการเพื่อเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องรักษาโรครากเน่าไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นพัฒนาการของระบบรากให้สำเร็จ ก่อนการจัดการอื่นๆ

การจัดการเพื่อส่งเสริมการออกดอก :

ต้นทุเรียนที่สมบูรณ์และมีสภาพความพร้อมดี เมื่อผ่านช่วงฝนแล้งที่ต่อเนื่องนานเกิน 10 วัน ต้นทุเรียนจะออกดอกในปริมาณมากและเป็นดอกรุ่นเดียว กัน ซึ่งจะสะดวกและง่ายต่อการจัดการเพื่อให้มีการติดผล การตัดแต่งผล การไว้ผลเพื่อ เพิ่มปริมาณผลผลิต และการปรับปรุงคุณภาพ ผลผลิต แต่ถ้าต้นทุเรียนมีสภาพความพร้อมไม่ดีพอในขณะที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม หรือต้นทุเรียนมีสภาพความพร้อมดีมาก แต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีความ เหมาะสมน้อย ต้นทุเรียนก็จะออกดอกในปริมาณน้อย และเป็นดอกหลายรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นทุเรียนที่มีอายุมาก กิ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้เป็นปัญหาในด้านการจัดการ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเสริม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต้นทุเรียนออกดอกในปริมาณมาก และเป็นดอกรุ่นเดียวกัน

การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล :

การติดผลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการกำหนดปริมาณผลผลิตต่อต้น ดังนั้น หากต้องการที่จะเพิ่มปริมาณผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

- ตัดแต่งดอกให้เป็นดอกรุ่นเดียวกัน ตัดแต่งดอกรุ่นที่มีปริมาณน้อยออกให้เหลือดอกเพียงรุ่นเดียวในแต่ละกิ่ง หรือเป็นดอกรุ่นเดียวกันทั้งต้น ในกรณีที่ดอกมีปริมาณมาก ให้ตัดแต่งและเหลือดอกไว้เป็นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน ๒๐ ดอก แต่ละกลุ่มห่างกันพอเหมาะตามตำแหน่งที่คาดว่าจะไว้ผล ในกรณีที่มีดอกหลายรุ่น และแต่ละรุ่นมีปริมาณ ดอกจำนวนใกล้เคียงกัน ให้พิจารณาตัดแต่งให้เหลือเป็นดอกรุ่นเดียวกันในแต่ละกิ่ง โดยกระจายปริมาณของดอกทั่วต้นให้เหลือจำนวนพอประมาณ การตัดแต่งดอกควรดำเนินการ ในระยะมะเขือพวง (ประมาณ 30 วัน หลังจากเกิดดอกในระยะไข่ปลา)

- จัดการน้ำเพื่อช่วยการติดผลและขึ้นลูก การจัดการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำในช่วงพัฒนาการต่างๆของดอกและผลอ่อน มีบทบาทสูงในการช่วยลด ปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนได้เป็นอย่างดี และเพิ่มการติดผลและขึ้นลูกของทุเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ดอกทุเรียนในระยะเหยียดตีนหนูต้องให้น้ำในปริมาณสูง แต่ลดปริมาณน้ำลงประมาณร้อยละ 40 ในช่วงระยะดอกขาวจนถึงระยะผลอ่อนอายุ 1 สัปดาห์ หลังดอกบาน รักษาปริมาณความชื้นในดินให้สม่ำเสมอโดยให้น้ำครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้ง และเมื่อปลายยอดเกสรตัวเมียที่ติดอยู่กับผลอ่อนเริ่มไหม้และแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ จึงเริ่มเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้ขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงเน้นการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผลอ่อนมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์หลังดอกบาน และปลายยอดเกสรตัวเมียที่ติดอยู่กับผลอ่อนมีลักษณะแห้งเป็นสีดำ จึงเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้มากขึ้นตามคำแนะนำ และรักษาสภาพความชื้นในดินให้สม่ำเสมอไปจนผลอ่อนมีอายุ 5 สัปดาห์หลังดอกบาน ในกรณีที่มีฝนตกปริมาณมาก ในช่วงเวลาใกล้ดอกบาน ให้พยายามรักษาสภาพความชื้นในดินและความชื้นบรรยากาศ ภายใต้ทรงพุ่มให้สม่ำเสมอ โดยการให้น้ำทุกๆ วัน แต่ในปริมาณวันละไม่มากนัก กวาดเศษซากของดอกที่ร่วงออกให้หมดจาก บริเวณผิวดินใต้ทรงพุ่ม เพื่อช่วยในการถ่ายเท อากาศตรงบริเวณผิวดินให้ดีขึ้น จะช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนได้ในระดับหนึ่ง

- การช่วยผสมเกสร การติดผลน้อยของทุเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุเรียนพันธุ์ชะนี เป็นปัญหาที่สำคัญ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรจากทุเรียนต่างพันธุ์จึงเป็น การช่วยทำให้กระบวนการถ่ายละอองเกสรประสบความสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิสนธิ ปริมาณการติดผลจึงเพิ่มขึ้น ผลทุเรียนที่เกิดจากการช่วยผสมเกสร จะมีการเจริญเติบโตเร็ว รูปทรงดี พูเต็ม คุณภาพเนื้อดี สีเนื้อ และรสชาติไม่แตกต่างจากพันธุ์แม่ ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ต่อผลเพิ่มขึ้น

- ฉีดพ่นด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต การช่วยผสมเกสรเป็นสิ่งจำเป็น การปฏิบัติต้องใช้เวลาและแรงงาน จึงจะทำให้การผสมเกสรนั้นได้ผลดีตามต้องการ ในกรณีเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนตั้งแต่ 3-15 ไร่ การช่วยผสมเกสร สามารถปฏิบัติได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ ก็จะมีปัญหาในด้านการปฏิบัติ จำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการอื่น พบว่า การฉีดพ่นใบทั่วทั้งต้นด้วยสารแพกโคลบิวทราโซล ในอัตรา 500 ส่วนต่อล้านส่วน ในช่วงที่ดอกทุเรียน อยู่ในระยะกระดุมหรือหัวกำไล จะช่วยทำให้ มีการติดผลได้ในปริมาณสูงเช่นเดียวกับการ ช่วยผสมเกสร และคุณภาพของผลผลิตไม่แตกต่างกัน

การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต

หลักการสำคัญคือการจัดการให้ผลอ่อน มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการชะงัก หรือชะลอการพัฒนาอันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การส่งธาตุอาหารในรูปของสารประกอบคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งผลิตในต้นไปเลี้ยงผลอ่อนไม่เพียงพอ การขาดน้ำ หรือสาเหตุอื่นๆ โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้

- การตัดแต่งผล ต้องทำอย่างน้อย 3 ครั้ง เริ่มจากตัดแต่งผลอ่อนที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ขนาดเล็ก หรือต่างรุ่นออก เหลือแต่ผลอ่อนที่มีลักษณะรูปทรงสมบูรณ์ ขั้วผล ใหญ่ การตัดแต่งผลอ่อนครั้งแรก ต้องทำให้ เสร็จภายในสัปดาห์ที่ หลังดอกบาน 4โดยปริมาณผลที่เก็บไว้ควรมีมากกว่าจำนวนผลที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณร้อยละ 20

- การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมสอดคล้องกับช่วงพัฒนาการของผลจะช่วยเพิ่ม ผลผลิตและเพิ่มคุณภาพได้ ช่วงแรกใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17+2 เมื่อผลอ่อนมีอายุระหว่าง 5-6 สัปดาห์ หลังดอกบาน และใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-50 เมื่อผลอ่อนมีอายุระหว่าง 7-8 สัปดาห์ หลังดอกบาน การใส่ ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรในช่วงที่กำหนดนี้ จะช่วยเพิ่มขนาดผลเนื้อมีการพัฒนาได้ดี และสุกแก่ (เข้าสี) ได้เร็วขึ้น

- การจัดการเสริมด้วยปุ๋ย “สูตรทางด่วน” ช่วยให้ผลอ่อนของทุเรียนเจริญเติบโตดี ผลแก่เร็ว มีคุณภาพสูง ควรฉีด “สูตรทางด่วน” ติดต่อกันทุกสัปดาห์จำนวน 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 5 สัปดาห์หลังดอกบานเป็นต้นไป

- การป้องกันการแตกใบอ่อน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างพัฒนาการของผลอ่อนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากมีการแตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนาก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของ ผลติดตามมา

- การโยงผลทุเรียน วิธีการโยงผลทุเรียนที่ถูกต้องสามารถลดการร่วงของผล และกิ่งหักหรือกิ่งฉีกเนื่องจากลมแรงได้ การโยงผลทุเรียนต้องผูกเชือกโยงกับกิ่งทุเรียนให้เลยตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างขั้วผลกับกิ่งไปทางด้านปลายยอดของกิ่ง โดยพยายามสอดดึงเชือกโยงเหนือกิ่งทำมุมกว้างในแนวขนานกับกิ่งนั้น แล้วดึงปลายเชือกผูกรั้งกับต้นให้ตึงพอประมาณ สังเกตได้จากกิ่งนั้นยกระดับสูงขึ้นเล็กน้อย และสามารถเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างเป็นอิสระ เชือกโยงกิ่งหรือผลทุเรียนต้องเป็นวัสดุที่ทนทานต่อแรงดึงค่อนข้างสูง ควรใช้เชือกโยงหลายสีในกรณีที่มีผลทุเรียนหลายรุ่นในต้นเดียวกัน

- การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระหว่าง ที่ผลอ่อนกำลังพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็น หากละเลยจะทำให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลทุเรียนลดลง โรคและแมลงที่สำคัญ ได้แก่ โรคผลเน่า หนอนเจาะผล ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย

http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/controller/01-09.php

------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©