-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 15 MAR *สารสมุนไพร (25), มะละกอเงินแสน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 15 MAR *สารสมุนไพร (25), มะละกอเงินแสน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 15 MAR *สารสมุนไพร (25), มะละกอเงินแสน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/03/2016 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรวิทยุ 15 MAR *สารสมุนไพร (25), มะละกอเงินแ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 15 MAR

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)

มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




** สารสมุนไพร สูตรเย้ยฟ้าท้าดิน :
หลักการและเหตุผล (เพื่อความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยชาวบ้าน

3 มหาวิทยาลัยภาคเหนือ จับมือ สสส. จัดโครงการปรับทัศนคติเชิงบวก ลดอคติ หมิ่นภูมิปัญญาบรรพชน เกี่ยวกับภูมิปัญญาดั้งเดิม พร้อมเรียนรู้เรื่องสมุนไพรท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์ และทรัพยากรป่าไม้...


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.สุธินี ชุติมากุลทวี อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดเผยว่า จากการที่มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการ "พลังปัญญาชน สร้างสรรค์ชุมชนล้านนา" ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการปะทะทางความคิดของคนรุ่นใหม่มีอคติต่อวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่ระบุว่า งมงาย ล้าหลัง นั้น ได้เปิดพื้นที่ให้เยาวชนภาคเหนือ 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่

มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แล
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง


ลงพื้นที่ชุมชนใกล้สถานศึกษาที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษ์ จำนวน 15 แห่ง

ผลการดำเนินงานจากการลงพื้นที่ชุมชน 8 เดือน พบว่า นักศึกษาคนรุ่นใหม่เข้าใจวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม และปรับทัศนคติ แนวคิด ไม่เกิดการปะทะทางความคิดและเกิดการดูหมิ่นภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนๆ ขณะเดียวกันยังได้สัมผัสและเรียนรู้ผลงานที่พัฒนาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านมากมาย เช่น

ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นถิ่น
การทำเกษตรอินทรีย์
การจัดการทรัพยากรป่า


ที่เห็นชัดเจนคือ กลุ่มเยาวชนได้รับความสุขจากการทำงานร่วมกับชาวบ้าน ได้เห็นข้อเท็จจริงทั้งแง่มุมมองวิถีชีวิต วัฒนธรรม ซึ่งเกิดผลให้มีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อวิถีดั้งเดิมที่บรรพชนได้สืบสานกันมา ขณะเดียวกัน เยาวชนเหล่านี้ได้นำภูมิปัญญาที่มีคุณค่าไปพัฒนาให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ พร้อมเป็นตัวกลางประสานความคิดจากกลุ่มคนต่างๆ ในชุมชนของตนเอง รวมถึงมีความเป็นจิตอาสา เข้าใจบริบทความเป็นจริงในท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยมุมมองที่ไม่เอนเอียง

นายวันจันทร์ ชุ่มใจเย็น ชาวบ้านวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง กล่าวว่า การทำกิจกรรมพัฒนาสมุนไพรในหมู่บ้านร่วมกับนักศึกษา ทำให้คนรุ่นเก่าได้ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญา และได้เรียนรู้แนวความคิดของคนรุ่นใหม่มาใช้ เช่น การจัดระบบรวบรวมข้อมูลสมุนไพร นักศึกษาช่วยออกแบบหีบห่อสำหรับบรรจุสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งการมีกิจกรรมเช่นนี้จะเอื้อให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญภูมิปัญญาด้านสมุนไพร และมองว่าชุมชนมีคุณค่ามากขึ้น.

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/news_detail.php?cat=L&id=203
-----------------------------------------------


สารสมุนไพร (25)
สูตร 96. มะกร่ำตาหนู ว่านน้ำ น้อยหน่า สะเดา สลอด ว่านเศรษฐี มันแกว แสลงใจ :

ใช้ “มะกร่ำตาหนู. ว่านน้ำ. น้อยหน่า. สะเดา. สลอด. ว่านเศรษฐี. มันแกว. แสลงใจ.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ ช่วงใกล้ค่ำ ทุก 5-7 วัน
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่. กำจัดหนอนกระทู้. หนอนใยผัก. หนอนคืบกะหล่ำ.

สูตร 97. น้อยหน่า มันแกว สลอด แสลงใจ กำจัดแมลงวันผลไม้ :
ใช้ “น้อยหน่า. มันแกว. สลอด. แสลงใจ.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เน้นที่ผลแก่มากๆ ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือฉีดพ่นวันละ 2 รอบ ช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “กำจัด” (เป็นพิษ) แมลงวันผลไม้ทั่วๆ ไป

สูตร 98. สมุนไพร กำจัดแมลงวันทอง :
ใช้ “ข่าเล็ก. น้อยหน่า. หมาก. โกฏจุฬาลัมภา. ส้ม. สลอด. มะริดไม้. พญาไร้ใบ. เลี่ยน. เงาะ. ยาสูบ. มหาประสาน. พริกไทย. หนอนตายหยาก. บัวตอง. ขิง. ช้างคลาน. พระตะบะ.” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้ม ข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เน้นที่ผลแก่มากๆ ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือ ฉีดพ่นวันละ 2 รอบช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “กำจัด” (เป็นพิษ) แมลงวันทอง

99. 20 สมุนไพร ล่อแมลงวันทอง :
ใช้ “คำแสด. พลับพลึง. ว่านชักมดลูก. ตะไคร้หอม. ลำโพง. เขียวหมื่นปี. ซือแซ. เสน่ห์จันทร์โกเมน. เลี่ยน. มะระ. พลูฉีก. แก้ว. ยี่โถ. กะเพราช้าง/ขาว/แดง. เล็บมือนาง. หางนกยูงไทย. ต้อยติ่ง. ต๋อก๋ง. เดหลี” อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 1 กก. บดหรือโขลกพอแหลก แช่น้ำ 20 ล. นาน 24 ชม. ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ใช้ “หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ บริเวณที่ห่างไกลจากต้นไม้ผลประธาน ช่วงสายๆ แสงแดดเริ่มส่องดี ฉีดพ่นวันเว้นวันช่วงที่ระบาดไม่มาก หรือ ฉีดพ่นวันละ 2 รอบช่วงที่ระบาดอย่างหนัก
ศัตรูพืชเป้าหมาย :
ช่วย “ล่อ” แมลงวันทองให้เข้าไปหา
-----------------------------------------------

จาก : (062) 783-01xx
ข้อความ : ผู้พันครับ สู้ภัยแล้งปีนี้ ผมลงมะละกอฮอลแลนด์ แขกดำ อย่างละ 4 ไร่ เริ่มลงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว หลังรู้ว่าปีนี้แล้งแน่ ทั้งสองพันธุ์เริ่มให้ผลผลิตแล้ว วิธีบำรุงเอาแบบผู้พัน บำรุงทางใบทางราก ยาสมุนไพร ติดสปริงเกอร์กะเหรี่ยงตามแบบไร่กล้อมแกล้ม ไม่ใช้หม้อปุ๋ยหน้าโซน แต่ใช้หม้อปุ๋ยที่ปั๊ม ไม่มีบ่อบาดาลแต่ซื้อน้ำใส่แทงค์ไว้ 2-3 เดือนครั้ง ก็พอใช้ อยากให้ผู้พันเอาเรื่องของคนปลูกมะละกอประสบความสำเร็จมาเล่าให้ฟังบ้างครับ .... ขอบคุณครับ โคกสำโรง ลพบุรี
ตอบ :
ที่มาของมะละกอฮอลแลนด์ :

"ฮอลแลนด์" คือประเทศเนเธอร์แลนด์ ดินแดนเลื่องลือเรื่องไม้ดอก โดยเฉพาะ "ทิวลิป" ซึ่งถือว่ามีมาก และดีที่สุดในโลก

(*แทรก 1 : ทิวลิปที่ฮอลแลนด์ เขาปลูกจากต้นเพาะเนื้อเยื่อ ทุกต้น ทั้งแปลง จึงได้ดอกรุ่นเดียวกัน ไซส์เดียวกัน สีเดียวกัน ไม่สงสัย .... * แทรก 2 : ไต้หวัน โซนภูมิศาสตร์เดียวกันกับเกาหลี ญี่ปุ่น หิมะลงปีละ 4 เดือน ไต้หวันมีมะม่วงสายพันธุ์ของตัวเอง ในขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลี ปลูกมะม่วงไม่ได้.... สงสัย ? ? )

ประเทศฮอลแลนด์หรือเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศหนาว ติดขั้วโลกเหนือ หิมะตกปีละ 8 เดือน ปลูกไม้ผลยืนต้นอย่างมะละกอไม่ได้ พูดง่ายๆก็คือ ประเทศฮอลแลนด์ไม่มีมะละกอ แล้วคำว่า "มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์” มาจากไหน ?

เรื่องของเรื่องก็คือ....

ผู้ใหญ่บ้าน "ผู้ใหญ่สุธรรม จันทร์อ่อน" อยู่ ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม เล่าให้ฟังว่า ได้มะละกอจากประเทศเม็กซิโกชื่อพันธุ์ "เรด มาร์ทาดอร์ (Red Matador)" จากนักธุรกิจไทยที่มาซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากศูนย์การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ฯ นักธุร กิจท่านนั้นมีโอกาสไปเที่ยวประเทศฮอลแลนด์ แล้วได้ซื้อมะละกอพันธุ์ “เรด มาร์ทาดอร์” (นักสู้วัวกระทิง ?) จากซุปเปอร์ มาร์เก็ต ในประเทศฮอลแลนด์มาทาน โดยที่มะละกอพันธุ์นี้นำเข้าจากประเทศเม็กซิโก

เมื่อได้เมล็ดมะละกอพันธ์เรด มาร์ทาดอร์ ประมาณ 30-40 เมล็ดมาแล้ว ผู้ใหญ่สุธรรม ก็ลองปลูก ครั้งแรกปลูกไม่ขึ้นเลย แล้วก็เหลือเมล็ดพันธ์อีกแค่ 2 เมล็ด เท่านั้น

ผู้ใหญ่ฯ ก็ลองนำเมล็ดพันธ์ 2 เมล็ดนี้ไปใส่ในช่อง Freeze ของตู้เย็น เก็บไว้ประมาณ 2-3 วัน จากนั้นลองนำไปปลูกใหม่ ปรากฎว่าคราวนี้ประสบความสำเร็จ เมล็ดมะละกอพันธ์เรด มาร์ทาดอร์สามารถปลูกขึ้นทั้ง 2 ต้น

เพราะผู้ใหญ่ฯ ชอบทางด้านการเกษตรอยู่แล้ว เมื่อต้นมะละกอโตขึ้น จึงได้ลองนำเกสรของมะละกอพันธุ์เรด มาร์ทาดอร์ 2 ต้น ไปผสมข้ามสายพันธ์ (เกสร + เกสร) กับมะละกอพันธุ์ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย คือพันธุ์ “แขกดำ" ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอีก ได้พันธ์มะละกอใหม่ขึ้นมา รูปร่างกระทัดรัด ไม่ยาวเหมือนแขกดำ แต่มีความหวานและอร่อยเหมือนพันธ์เรด มาร์ทาดอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใหญ่ฯ ยังปลูกแบบเกษตรอินทรีย์อีกด้วย จึงทำให้มีความมั่นใจว่า เป็นมะละกอที่ปลูกไม่ใช้สารเคมี ปลอดภัยกับผู้บริโภค

ผู้ใหญ่สุธรรม ได้ตั้งชื่อมะละกอพันธ์ใหม่นี้ตามวัดชื่อ "วัดปลักไม้ลาย" ที่ท่านได้อาศัยอยู่ใกล้ๆ จึงเรียกพันธุ์มะละกอใหม่นี้ว่าพันธุ์ “ปลักไม้ลาย" และได้จดอนุสิทธิบัตรแล้ว

นอกจากนี้ผู้ใหญ่สุธรรม ได้นำมะละกอให้คนรู้จักทาน ต่างก็ชื่นชอบเพราะมีความหวานและอร่อย คนรู้จักจึงถามว่าเป็นพันธุ์อะไร ผู้ใหญ่ฯ บอกว่าเป็นพันธุ์ปลักไม้ลาย คนเหล่านั้น บอกว่า "ทำไม ? ? ตั้งชื่อว่า "พันธุ์ปลักไม้ลาย .... เชยจังเลย"

ผู้ใหญ่สุธรรม ก็เลยมานั่งคิดว่า จะเปลี่ยนเป็นชื่ออะไรดี ? เอาอย่างนี้ล่ะกัน เพื่อไม่ให้ชื่อเชยเกินไป จึงขอเรียกตามแหล่งที่เมล็ดพันธุ์ได้เดินทางมา คือ ประเทศฮอลแลนด์ ดังนั้นมะละกอพันธุ์ “ปลักไม้ลาย" จึงเปลี่ยนชื่อ แล้วคนก็ยอมรับ เรียกติดปากมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พันธุ์ฮอลแลนด์"

นี่คือเหตุผลว่า ทำไม ? ทั้งๆที่ประเทศฮอลแลนด์ไม่มีมะละกอสักต้น จึงมี "มะละกอพันธุ์ฮอล แลนด์" จนมาปลูกในประเทศไทยได้

http://www.oknation.net/blog/jarinasa/2012/02/28/entry-1
-----------------------------------------------------

@@ บำรุงมะละกอ :
- ทางใบ :

- ให้ ไบโออิ + ไทเป + ยูเรก้า + สารสมุนไพร” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ให้ “น้ำตาลทางด่วน” (กลูโคส น้ำมะพร้าวแก่) 1-2 เดือนต่อครั้ง
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ เพื่อกันก่อนแก้

- ทางราก :
ใส่ยิบซั่ม ธันเดอร์พลัสส์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ ปีละ 2 ครั้ง, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) +เพิ่ม 8-24-24 (2 กก.) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) +เพิ่ม 21-7-14 (2 กก.) ต่อไร่

หมายเหตุ :

- ติดสปริงเกอร์เหนือยอด หม้อปุ๋ยหน้าโซน/ถังปุ๋ยที่ปั๊ม แยกวาวล์ทางใบกับทางราก (ให้ทางใบเปิดทางใบปิดทางราก ให้ทางรากเปิดทางรากปิดทางใบ) ระบบกะเหรี่ยงแบบไร่กล้อมแกล้ม 1 โซนได้ 1 ไร่ รัศมีพ่นน้ำ 4 ม. แรงงานคนเดียว ใช้เวลา 10 นาที ทำงานได้ตามเวลาต้องการ เช้ามืด สายๆ เที่ยงๆ บ่ายๆ ค่ำๆ ติดตั้งครั้งเดียวอยู่ได้ 10-20-30 ปี อนาคตอยากเลิกมะละกอ ลงมะเขือ พริก มะม่วง ลำไย แทน ได้ทั้งนั้น

- มะละกอไม่ถูกกับยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด โดยยาฆ่าหญ้าแก้ไขด้วย “ไบโออิ + ยูเรีย จี. + กลูโคส” ให้ทันทีเมื่อรู้ ให้ติดต่อกัน 3 รอบ ห่างกันวันเว้นวัน

- มะละกอใบด่าง เป็นเชื้อไวรัส มีไม่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะ ไม่มีสารเคมีหรือสารสมุน ไพรใดในโลกนี้แก้ได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียมะละกอไปตลอดชีวิต แก้ไขไม่ได้ต้องป้องกันเท่านั้น ให้ฉีดพ่น “น้ำเปล่า” หรือ “น้ำเปล่า + สมุนไพรเผ็ดจัด” มีข้อแม้ ต้องฉีดตอนเที่ยงป้องกันเพลี้ยไฟ .... บำรุงต้นให้ “สะสมความสมบูรณ์” อยู่เสมอ ช่วยสร้างภูมิต้าน ทานในต้นให้สู้กับเชื้อโรคตัวนี้กับเชื้อโรคตัวอื่นๆ ได้แล้ว ยังส่งผลให้ต้นสร้างผลผลิตดีทั้งคุณภาพ ปริมาณอีก และอายุต้นยืนนานอีกด้วย

- ภารกิจฉีดพ่นทางใบจะสำเร็จด้วยดีได้ ต้องพึ่งพาเครื่องทุ่นแรงอย่างสปริงเกอร์เท่านั้น
- เพาะกล้าในถุงเพาะชำ ถุงละ 4 เมล็ด เพื่อให้ได้กล้า 4 ต้น กล้าโตแล้วเอาไปลงแปลงปลูก หลุมละ 1 ถุงหรือ 4 ต้น เมื่อต้นโตขึ้นจะเอนออกข้างเองเพื่อรับแสงแดด ได้มาแล้ว 4 ต้น โตขึ้นต้นตัวผู้ตัดทิ้งหรือเปลี่ยนยอด ต้นตัวเมียเอาไว้หรือเปลี่ยนยอด เอาแต่ต้นกระเทย
---------------------------------------------

เคล็ดลับ ปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ลูกดก 8 ไร่ ได้ 4 ตัน

มะละกอลูกดก‬ จากฝีมือคนรุ่นใหม่ที่หันเหมาเอาดีด้านการเกษตร เปลี่ยนพื้นที่จากไร่อ้อยมาเป็นสวนมะละกอ‬ ใช้พื้นที่เพียง 8 ไร่ ได้ผลผลิตรอบละ 4 ตัน ผ่านไป 4 เดือนร่วมล้านบาท เขาทำได้อย่างไร ?

ตัวอย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่หมั่นศึกษาหาวิชาความรู้และลงมือปฏิบัติจริง จนสำเร็จ ในการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ จนได้ผลผลิตท่วมท้น ช่วยครอบครัวปลดหนี้ปลดสินได้ แม้ว่าตนเองจะไม่ได้จบทางด้านเกษตรโดยตรงก็ตาม

ปลูกมะละกอ 8 ไร่ ครั้งละ 4 ตัน รับเงินกว่า 2.5 แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน

เปิดเทคนิคการปลูกมะละกอให้ดกแบบคุณภาพของสวนปรีชา 8 ไร่ เก็บครั้งละ 3-4 ตัน ฟันเงินกว่า 2.5 แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน เก็บ 4 เดือน ฟันเกือบล้าน


เรียกว่าสร้างความฮือฮาแบบไลท์ถล่มทลายในกลุ่มเกษตรก้าวใหม่ หลังจากที่ได้เห็นความดกแบบอลังการของมะละกอสวนนี้ ทำให้หลายคนอยากรู้เทคนิคการทำมะละกอให้ติดดกแบบคุณภาพ เพราะนั่นหมายถึงปริมาณผลผลิตที่สูงมากๆ แม้ราคามะละกอในช่วงนี้อาจไม่สูงมากนักแต่จากผลผลิตที่ดกเต็มคอและคงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไปได้อีกยาวนานก็คงจะทำเงินให้กับสวนนี้ได้อีกไม่น้อยทีเดียว ขนาดมะละกอราคาไม่ค่อยดีแต่เพียงระยะเวลา 2 เดือนกว่าที่เก็บผลผลิตก็สามารถทำเงินได้มากกว่า 2.5 แสนบาท หากราคามะละกอสูงกว่านี้ คงฟันเงินไปมากกว่านี้อย่างแน่นอน

ไม่น่าเชื่อว่า มะละกอคุณภาพขนาดนี้จะเป็นการทำสวนมะละกอครั้งแรกของเด็กหนุ่มไฟแรงมากความสามารถที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ไม่กี่ปี คุณปรีชา กาละวัย เจ้าของสวนมะละกอปรีชา บอกกับเราว่า นี่เป็นสวนมะละกอแปลงแรกของเขา เพราะอาชีพดั่งเดิมของครอบครัวก็คือการทำอ้อยและรับโควตาซื้ออ้อยเข้าโรงงานปีหนึ่งกว่า 4-5 พันตัน หรือคิดเป็นปริมาณพื้นที่ปลูกก็ร่วม 500 กว่าไร่ แต่ในช่วงปีหลังๆมานี้ ธุรกิจอ้อยที่เคยเป็นรายได้หลักของครอบครัวและเป็นรายได้ที่สร้างฐานะให้กับครอบครัว กลับกลายเป็นพืชที่สร้างหนี้ก้อนโต สะสมขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งสภาวะฝนแล้ง อ้อยขาดน้ำ ผลผลิตเสียหาย ราคาอ้อยที่ตกต่ำ ขาดทุนต่อเนื่องและสะสมมาตลอดหลายปี ยิ่งทำมากยิ่งขาดทุนมาก คุณปรีชาเองเรียนจบด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และมาทำงานกับบริษัทเอกชนในกรุงเทพฯ ในตำแหน่ง System Engineer บริษัท แวลู เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ก่อนหน้านี้เขาบอกว่าไม่เคยรับรู้ปัญหาของทางบ้าน แต่เมื่อได้รับรู้เขาจึงคิดโจทย์ใหญ่ที่จะมาแก้วิกฤตินี้ให้ได้ เขาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้านเกษตรจากหลายช่องทางทั้งอินเตอร์เน็ต หนังสือเกษตรรวมทั้งการเดินทางไปดูสวนจริง จนในที่สุดเขาตัดสินใจเลือกมะละกอพืชที่เขามองว่าปลูกไม่ยาก ดูแลไม่มาก ช่วงวันธรรมดาก็ให้ครอบครัวดูแลได้ แต่เสาร์-อาทิตย์เขาก็กลับมาช่วยดูแลได้ อีกทั้งเป็นพืชที่มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี ผลตอบแทนสูง ที่สำคัญ กาญจนบุรีเป็นแหล่งใหญ่ของการปลูกมะละกออยู่แล้ว การหาแม่ค้ารับซื้อผลผลิตในวันเก็บเกี่ยวจึงไม่น่าจะใช่เรื่องยาก

พื้นฐานดินที่ดี สมบูรณ์ คือส่วนสำคัญของผลผลิตที่ดี :

หลังจากที่ตัดสินใจแล้วคุณปรีชาก็เตรียมแปลงโดยเลือกพื้นที่ใกล้บ้านจำนวน 8 ไร่ มาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ซึ่งความได้เปรียบของที่ดินแปลงนี้ก็คือ การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอจากบ่อบาดาล อยู่ใกล้บ้าน การดูแลสะดวก ที่สำคัญสภาพพื้นดินสมบูรณ์มากๆ จากการที่ที่ดินแปลงนี้เคยปลูกอ้อยมาก่อนและมีการบำรุงดินอย่างดีในช่วงที่ปลูกอ้อยซึ่งจะมีการใส่ปุ๋ยขี้ไก่อยู่ตลอดทุก 2-3 เดือน ทำให้สภาพโครงสร้างของดินที่นี่จัดว่าดีเลยทีเดียว ดินร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหาร เมื่อสภาพโครงสร้างพื้นฐานของดินที่ดีเมื่อใส่ปุ๋ยเคมี ต้นพืชก็ดูดปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้กระนั้นก่อนปลูกเขาก็ยังรองพื้นขี้ไก่ไปอีกหลายร้อยกระสอบ

เทคนิคการทำให้มะละกอติดดก คุณภาพดี:

หลังจากเตรียมดินดีแล้ว ก็มาเตรียมต้นกล้าที่ดีพร้อมปลูก โดยเลือกซื้อเมล็ดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีเทคนิคการทำให้ต้นกล้างอกดี งอกสม่ำเสมอด้วยการนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่น 1 คืน และบ่มเมล็ดด้วยการห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 คืน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกจึงนำมาเพาะในถุงดำ ต้นละ 3 เมล็ด แล้วคลุมพลาสติกดำไว้อีก 5 วัน เมื่อเปิดพลาสติกดำออกมาต้นกล้าจะงอกอย่างสวยงามเลยทีเดียว เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วันจึงนำไปปลูกลงแปลง คุณปรีชาบอกว่า มะละกอแปลงนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 ต้น ใช้ระยะปลูก 2.7×3 เมตร เมื่อต้นมะละกอออกดอกอายุ 2-3 เดือน จึงคัดเพศ เลือกต้นกระเทยไว้ ตามหลักการปลูกมะละกอทั่วไป

สำหรับการใส่ปุ๋ยช่วงแรกใส่ปุ๋ยขี้ไก่รองพื้นก่อนปลูก จากนั้นก็ให้ 15-0-0 ทุก 15 วัน หลังคัดเพศ อายุประมาณ 3 เดือน เปลี่ยนมาใส่ 8-24-24 สลับกับ 14-7-35 หรือ 15-5-20 ทุก 15 วัน ปริมาณปุ๋ยที่ให้ไม่มาก 8 ไร่ ใส่เพียง 100 กก. หรือ ปุ๋ย 2 กระสอบ นั่นเพราะสภาพโครงสร้างของดินที่ดีตั้งแต่ก่อนปลูก และเขาให้ความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างดินที่ร่วนซุย ด้วยการใส่ขี้ไก่ทุก 2 เดือนต้นละ 2 กก./ครั้ง ซึ่งที่นี่ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีฟาร์มเลี้ยงไก่เยอะ คุณปรีชาจะไปเหมาเล้าเลย เล้าละ 5-6 พันบาท กรอกถุงได้ประมาณ 800-900 ถุงปุ๋ย ส่วนทางใบพ่นปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สลับกับปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 พ่นทุก 7 วัน ร่วมกับธาตุอาหารเสริมแคลเซียม-โบรอน ที่ให้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าไม่มีคนปลูกมะละกอคนไหนให้ปุ๋ยมากขนาดนี้อย่างแน่นอนค่ะ แต่นี่คือการลงทุนที่เกินคุ้มค่ะ

คุณปรีชาบอกว่า มะละกอเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูง ขนาดเขาให้ปุ๋ยและพ่นยาอย่างเต็มที่ เมื่อเทียบกับบางแปลงที่แทบไม่ได้ใส่ปุ๋ยหรือพ่นยาเลย มะละกอ 8 ไร่นี้ยังหมดค่าปุ๋ย ค่ายาเพียงเดือนละ 10,000-12,000 บาท รวมค่าแรงแล้วเท่ากับเก็บมะละกอเพียงรอบเดียวก็คืนทุนแล้ว แต่เดือนหนึ่งเขาเก็บมะละกอตั้ง 8-10 ครั้ง โดยต้นทุนตั้งแต่ปลูกจนถึงตอนนี้ 10 กว่าเดือนเขาลงทุนไปแค่ 1 แสนบาท แต่เก็บมะละกอขายมาแล้วกว่า 2.5 แสนบาท

ความได้เปรียบของตลาดและการขายผลผลิต :

ความได้เปรียบด้านตลาดของที่นี่ก็คือ กาญจนบุรีเป็นแหล่งปลูกมะละกอแหล่งใหญ่อยู่แล้ว ชาวบ้านที่นี่มีการปลูกมะละกอกันอย่างมากมาย มีคนเก่าเลิกไปก็มีคนใหม่เข้ามาปลูกแทน เป็นเช่นนี้อยู่ตลอด จึงทำให้มะละกอที่นี่มีผลผลิตต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีผู้รับซื้อหรือรวบรวมในพื้นที่ยักษ์ใหญ่อย่าง นพยุทธ เจ้าพ่อมะละกอเมืองกาญจน์รับซื้อผลผลิตตลอดอยู่แล้ว คุณปรีชาจึงไม่ห่วงเรื่องตลาดตั้งแต่แรก ประกอบกับเชื่อมั่นว่า หากผลผลิตมีคุณภาพแม่ค้าคนไหนก็อยากซื้อ จึงทำให้มะละกอสวนปรีชามีแต่แม่ค้าเข้ามาขอซื้อผลผลิตอยู่ตลอด

การนำผลผลิตส่งตลาดหรือทำเพียงเก็บผลผลิตเสร็จก็นำบรรทุกใส่รถไปยังจุดรับซื้อ ทางจุดรับซื้อจะนำไปห่อกระดาษหนังสือพิมพ์และนำส่งลูกค้าอีกที โดยที่สวนจะเก็บมะละกอทุก 3-4 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยประมาณ เดือนละ 8 ครั้ง ครั้งหนึ่งก็ประมาณ 3-4 ตัน หรือมากกว่านี้ โดยมะละกอแปลงนี้เริ่มปลูกเดือนมกราคม เริ่มเก็บผลผลิตปลายเดือนตุลาคม ช่วงแรกที่เก็บเจอราคาสูงไป 2-3 รอบ ยังได้ราคา 27-30 บาท/กก.อยู่ แต่หลังจากนั้นราคามะละกอก็ขยับลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25 20 15 12 10 บาท/กก.

หลังจากเห็นผลตอบแทนจากมะละกอแปลงนี้คุณปรีชาก็ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอีก 16 ไร่ ตอนนี้อายุ 3 เดือนกว่าแล้ว และกำลังเพาะเมล็ดเตรียมปลูกเพิ่มอีก 20 ไร่ ด้วยความมั่นใจว่า พืชชนิดนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้ในอนาคตแม้วันนี้ราคามะละกอจะถูกกว่าทุกปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่เขายังเชื่อมั่นว่ามะละกอคือพืชทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา เพราะมะละกอ 8 ไร่ ที่เขาปลูกลงทุนไปเพียงแสนกว่าบาท และเก็บมะละกอในช่วงที่ราคาผลผลิตไม่ดีนักแต่ในระยะ 2 เดือนกว่า มะละกอ 1,500 ต้นก็ทำรายได้ให้กับเขามากกว่า 2.5 แสนบาท ถ้าราคามะละกอดีกว่านี้เขาเชื่อว่าระยะเวลา 2 เดือนมะละกอ 8 ไร่ จะทำรายได้ให้เขาไม่ต่ำกว่า 3 แสนกว่าบาทแน่นอน และด้วยความได้เปรียบของการเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เพราะช่วงที่ไม่ได้เก็บมะละกอเขาก็ดูแลเองในครอบครัวเพียง 2-3 คน ช่วงเก็บผลผลิตก็จ้างแรงงานเพิ่มอีกเพียง 2-3 คน จึงเป็นพืชที่ลงทุนไม่สูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น เขาบอกว่า เขาตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกเดินหน้ากับ มะละกอ

สวนปรีชา 456 ม.5 ต.หนองกร่าง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 087-165-8993

ที่มา: thaiinfonet.com
http://www.dokmy.com/2015/03/preecha-holland-papaya-farm.html

-------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©