-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหา วิทยุ 24 FEB... *สับปะรด ใบเหี่ยว-MD2-นางแล
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหา วิทยุ 24 FEB... *สับปะรด ใบเหี่ยว-MD2-นางแล
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหา วิทยุ 24 FEB... *สับปะรด ใบเหี่ยว-MD2-นางแล

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 24/02/2016 1:36 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหา วิทยุ 24 FEB... *สับปะรด ใบเหี่ยว-MD2-นางแล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 24 FEB

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------




จาก : (082)125-31xx
ข้อความ : อยากรู้วิธีแก้ปัญหาใบสับปะรดใบเหี่ยวใบแห้งครับ กับขอข้อมูลสับปะรดพันธุ์ใหม่ เอ็มดี-2 ต่างหรือเหมือนพันธุ์นางแล ภูแล อย่างไร .... ขอบคุณครับ สวนสับปะรดประจวบ
ตอบ :
โรคเหี่ยวสัปปะรด (pineapple wilt) :

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงพวกเพลี้ยแป้งเป็นพาหะถ่ายทอดโรค
ลักษณะอาการ และการแพร่ระบาด : สับปะรดจะเริ่มแสดงอาการของโรคตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือนหลังปลูก จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยต้นสับปะรดจะแสดงอาการ ดังนี้

1. อาการเริ่มต้นของโรค จะพบอาการปลายใบไหม้แห้งเล็กน้อย (leaf tip necrosis) หรือไม่แห้งแต่จะพบอาการที่เหมือนกัน คือ พื้นใบจะมีสีม่วงแดง ลามเข้ามาจากปลายใบ เข้าสู่เนื้อใบ ขอบใบจะลู่ลงหรือม้วนเข้าหาด้านใต้ใบเล็กน้อย (ใบสลด) ใบของต้นที่แสดงอาการโรคจะดูแตกต่าง จากต้นปกติที่อยู่ข้างเคียง อย่างชัดเจน และอาการของโรคจะแตกต่างจากอาการโรคยอดเน่าของสัปปะรดที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟทอร่า (Phytophthora heart rot, and root rot) ที่มักแสดงอาการใบ เหลืองทั้งกอ และดึงใบหลุดออกจากกอได้ง่าย

2. อาการของโรคเหี่ยวในระยะต่อมา จะพบว่าใบมีลักษณะแห้งคล้ายอาการขาดน้ำ ใบแผ่แบนไม่งองุ้มเหมือนใบสับปะรดปกติ ขอบใบม้วนลงเพิ่มมากขึ้น และขอบใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขณะที่เนื้อใบมีสีม่วงแดงตลอดทั้งใบ ใบแสดงอาการสลดหรืออ่อนตัวอย่างชัดเจน

3. อาการในระยะสุดท้าย คือ ใบแห้งเหี่ยวทั้งกอและจากการศึกษาระบบรากของต้นสับปะรดที่แสดงอาการของโรค พบว่ารากมีขนาดสั้น แตกแขนงน้อย ระบบรากฝอยน้อย และรากส่วนใหญ่เน่าแห้งตาย ทำให้สามารถถอนต้นสับปะรดขึ้นจากดินได้ง่าย แตกต่างจากต้นปกติอย่างชัดเจน

การแพร่กระจายของโรค โดยทั่วไปจะสังเกตพบโรคเหี่ยวในสับปะรดที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปลูกด้วยหน่อ ซึ่งพบอาการได้เร็ว แต่ถ้าปลูกด้วยจุกจะพบอาการของโรค เมื่อสับปะรดมีอายุประมาณ 1 ปีหลังปลูก หรือพบระบาดมากขึ้นในสับปะรดที่ผ่านการบังคับให้ต้นสับปะรดออกดอกด้วยสารเคมี ถ้าอาการของโรคเกิดในช่วงระยะเริ่มติดผล มักจะทำให้ผลเล็ก แคระแกรน มีขนาดต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม หรือไม่ให้ผลผลิตเลย การแพร่กระจายของต้นสับปะรดที่เป็นโรค มักแพร่กระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ ในระยะแรกแล้วค่อยๆ ลุกลามระบาดออกเป็นวงกว้างขึ้น

แนวทางการควบคุมโรคเหี่ยว

เหตุการณ์และข้อมูลในอดีตจากแหล่งปลูกสับปะรดในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮาวายชี้ให้เห็นว่า โรคเหี่ยวของสับปะรดที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีแมลงพวกเพลี้ยแป้งเป็นพาหะถ่ายทอดโรค จนมีการขนานนามว่า โรคเหี่ยวเพลี้ยแป้งของสับปะรด (Mealybug wilt of pineapple ; MWP) นั้นนับเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อวงการปลูกสับปะรดเป็นอย่างยิ่ง

มาตรการในการควบคุมโรคเหี่ยว คือ กำจัดมดที่เป็นพาหะนำพาเพลี้ยแป้ง

ในขณะนี้แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาวิธีการควบคุมโรคเหี่ยวของสับปะรดในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็ได้มีการเสนอมาตรการในการควบคุม การแพร่ระบาด ของโรคเหี่ยวในสับปะรดไว้ดังนี้
1. หลังเก็บเกี่ยวควรทำความสะอาดแปลงปลูก โดยไถกลบเศษซากสับปะรดให้หมดโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าปล่อยทิ้งไว้

2. รักษาความสะอาดแปลงปลูก โดยติดตามดูหน่อพันธุ์ที่แสดงอาการโรคแล้วเก็บทำลายทันทีและต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดไป

3. กำจัดวัชพืชและพืชแปลกปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรดที่งอกจากตอเดิม เพราะอาจเป็นแหล่งอาศัยของพาหะและเชื้อโรค ควรทำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก

4. ดำเนินการด้านการกักกันโดยเพิ่มความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายคนงาน เครื่องมืออุปกรณ์จากแปลงเป็นโรคไปสู่แปลงที่ปลอดโรค

5. ระงับการใช้หรือขายหน่อพันธุ์ จากแปลงเป็นโรคให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ถึงแม้หน่อพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น เนื่องจากเป็นการช่วยเร่งให้โรคแพร่ระบาดออกไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระดับเศรษฐกิจได้

6. กำหนดแผนการใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด โดยให้มีการทำลายแมลงพาหะได้มากที่สุด และทำอันตรายต่อศัตรูธรรมชาติของพาหะน้อยที่สุด รวมทั้งคำนึงถึงการลดพิษตกค้างในผลผลิตอีกด้วย การติดตามและสังเกตปริมาณพาหะของโรคอย่างใกล้ชิดช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน เป็นสิ่งจำเป็นก่อนการวางแผน

(ข้อมูลจาก เอกสิทธิ์ วิริยะกิจนุกูล, 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)

จะว่าไปแล้วสับปะรดเป็นพืชเกิดโรคได้ยาก เป็นพืชที่มีต้นตะกุลเดียวกับกระบองเพชร จึงทนแล้งที่สุด สามารถวางตากแดดได้นานเป็นเดือน โดยไม่เสียหาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องการน้ำ จริงๆแล้วสับปะรดต้องการน้ำมากกว่าพืชหลายชนิดด้วยซ้ำไป เนื่องจากต้องการน้ำไปเก็บไว้ในหัวเพราะเป็นที่ช่ำน้ำ ส่วนประกอบหลักของมันคือ น้ำ แต่ถ้าน้ำมากไปก็ไม่เจริญเติบโตได้

นอกจากน้ำ แสงแดดก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสับปะรด ยิ่งช่วงมีหัวต้องการมากแต่ถ้าแรงเกินไปก็อาจเกิดอาการหัวไหม้ได้ จึงต้องคุมหัวป้องกันแสงแดดช่วยเสมอ

โรคสับปะรด :

1. โรคเกิดจากเชื้อโรค เช่น เน่าแห้งเกิดจากเชื้อไวรัส เน่าช้ำน้ำเกิดจากเชื้อแบคทีเลีย
2. โรคเกิดจากธรรมชาติทำลาย เช่น หัวไหม้ เกิดจากแสงแดดที่ร้อนเกิน
3. โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร
4. โรคที่เกิดจากศัตรูพืชทำลาย

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรักษาต้องดูให้แน่ก่อนว่าอาการที่สับปะรดเป็นเกิดจากอะไร

แต่ส่วนใหญ่ที่พบว่าสับปะรดเป็นมากที่สุดคือ เน่าแห้ง เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทำลาย ทำให้รากหยุดการเจริญเติบโต เมื่อรากเริ่มเน่าจะไปแสดงอาการที่ใบ คือ โรคเอ๋อ โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่หายต้องใช้สารกำจัดเชื้อรา ผสมสารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค ถือว่าเป็นโรคที่สำคัญอันดับที่หนึ่งก็ว่าได้

สารเคมีที่แนะนำคือ ฟอสฟอรัส แอซิด 40% อัตราการใช้ 2,000 ซีซี. หรือ 2 ลิตรผสมน้ำ 1,000 ลิตร (ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ลิตรละ 290-350 บาท)

เพื่อความประหยัดค่าแรงฉีดพ่น ผสมสารทั้งสองฉีดพ่นพร้อมกันได้ ที่สำคัญขณะเกิดโรคไม่ควรใส่ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน เพราะจะไปทำให้โรคระบาดได้ง่ายขึ้น

อีกโรคหนึ่ง ที่พบมากก็คือ ผลแกรน มักจะเกิดช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ออกจำหน่ายไม่ได้ โรคเกิดจาก สภาพอากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็นจนสับปะรดปรับตัวไม่ทัน เช่น อากาศแล้งแล้วเกิดฝนตกอย่างมาก ทำให้เชื้อราเข้าทำลายซึ่งจะมีอยู่สองชนิด ทำให้สับปะรด มีอาการเป็นจุดสีน้ำตาลจนถึงดำที่เนื้อสับปะรด

โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่ได้ และไม่ต้องใช้สารกำจัดเชื้อราฉีดพ่นแต่ประการได เพียงแต่อย่าให้สับปะรดขาดน้ำนานๆ บำรุงให้สับปะรดสมบูรณ์อยู่เสมอเท่านั้น โดยการฉีดพ่นอาหารเสริมและปุ๋ยเคมีที่เป็นสูตรเสมอเช่น 21-21-21, 20-20-20, (ต้องเป็นปุ๋ยชนิดเกร็ดเท่านั้น หรือชนิดน้ำเพื่อป้องการสารตกค้างในสับปะรด) ผสมธาตุแคลเซียม โบรอน และจูลธาตุ ฉีดพ่นทุก 20 วันเท่านั้นก็พอ

อีกอาการหนึ่งที่ไม่ใช้โรคแต่ก็เหมือนเป็นโรค คือ หัวไม่เจริญเติมโต หรือโตช้า ต้นใหญ่แต่หัวเล็ก ถึงแม้มีจำนวนตามากก็ไม่เจริญเติบโตใหญ่เท่าที่ควร

อาการนี้เกิดจากการพ่นสารที่ต้นเพื่อบังคับออกดอก แล้วมีสับปะรดจำนวนหนึ่งกำลังจะออกหัวพอดีเมื่อโดนสารบังคับออกหัว ทำให้สับปะรดมีอาการแก่ทันที

การป้องกันคือต้องสำรวจแปลงก่อนบังคับออกดอก ถ้ามีสับปะรดออกปีหรือออกเองจำนวนหนึ่ง ไม่ควรบังคับออกดอกโดยวิธีพ่นสารทับทั้งแปลง ควรเปลี่ยนเป็นตักหยอดที่หัวแทนเพื่อป้องกันต้นที่กำลังออกปีเสียหายจากสาร อีทีฟอน

อาการโรคที่พบมากก็มีเพียง สามอาการเท่านั้นส่วนอื่นๆนั้นไม่คอยพบ ส่วนเน่าทั้งต้นนั้นมักพบช่วงปลูกใหม่ เกิดจากการเก็บรักษาต้นไม่ดีเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เชื้อแบคทีเลียเข้าทำลายได้ เมื่อฝนตกมากก็ทำให้เน่าทั้งต้นเป็นปกติ จึงควรลีกเลี่ยงไม่ปลูกในฤดูฝน ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกคือ ธันวาคมถึงเมษายน และไม่ควรไถแปลงปลูกในฤดูฝน นอกจากสับปะรดไม่งามแล้วทำให้ดินอมโรคแม้เป็นดินใหม่ก็ตาม ควรไถแปลงช่วงแล้งเพราะมีแสงแดดมากซึ้งจะช่วยทำลายเชื้อโรคด้วย การไถแปลงในฤดูแล้งดินจะโปรง ระบายน้ำได้ดีจึงทำให้สับปะรดสมบูรณ์และต้านทานโรคด้วย

เขียนจากประสบการณ์ล้วนๆ
http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_4188.html
------------------------------------------------

สับปะรด เอ็มดี 2 :

โดย...ธานี กุลแพทย์

ด้วยคุณสมบัติเด่นของสับปะรด เอ็มดี 2 (MD 2) ที่รสชาติหวานหอมอมเปรี้ยว เนื้อตัน แน่น มีวิตามิน ซี.สูงถึง 4 เท่า เก็บเกี่ยวผลผลิตเร็วกว่าพันธุ์อื่น ภายหลังทดลองปลูกของสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ พร้อมสนับสนุนเกษตรกรปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่รับความต้องการของตลาด

สับปะรดพันธุ์นี้พัฒนาขึ้นที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา มีลักษณะโดดเด่น คือ เมื่อแก่จะมีสีเหลืองทองทั้งผล ใบมีหนามน้อยหรือไม่มีเลย รสชาติหวานหอมอมเปรี้ยว เนื้อตัน แน่น มีวิตามิน ซี.สูงถึง 4 เท่าของพันธุ์อื่น ที่สำคัญเมื่อรับประทานแล้วไม่กัดลิ้น เป็นที่นิยมของตลาดต่างแดนทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลี และฝั่งประเทศแถบยุโรป

จึงซื้อผลและเก็บจุกกลับมา โดยนำจุกไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและนำมาปลูก ระยะแรกพบว่ายังมีความแปรปรวนอยู่บ้างในเรื่องของใบ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ มีหนามกับไม่มีหนาม จึงคัดเลือกต้นที่ไม่มีหนามเอาไว้ทำพันธุ์ จนปัจจุบันสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ตัดจุก และชำเหง้าได้แล้ว อีกทั้งยังบังคับให้ออกดอกได้ง่ายและมีอายุการเก็บเกี่ยวที่เร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ จึงนำมาทดลองปลูกในแปลงของนายเสถียร เสือขวัญ ประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ 1 ต.ตาสิทธิ์ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรในพื้นที่นำไปปลูก รองรับกับความต้องการของตลาด โดยมุ่งเน้นลดต้นทุน ผลผลิตมีคุณภาพ และการตลาดที่ยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ผลผลิตสับปะรดพันธุ์ MD 2 เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่การผลิตในประเทศยังมีอยู่น้อย ฉะนั้นจึงต้องเร่งขยายพันธุ์ให้มากขึ้น และเกษตรกรหากท่านใดสนใจ ติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอปลวกแดง หรือ โทร. 0-3865-3072 ในวันเวลา
ราชการ

http://www.komchadluek.net/detail/20151125/217430.html
------------------------------------------------------------------------

สับปะรดนางแล :

สับปะรดภูแลเชียงราย หรือในชื่อเรียก สับปะรดภูแล เป็นสับปะรดสายพันธุ์ในกลุ่มควีน ลูกเล็ก ปลูกได้ตลอดปี ผลขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนกรอบ รับประทานได้ รสชาติหวานปานกลาง แหล่งกำเนิดอยู่ที่ ต.นางแล ต.ท่าสุด และ ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย
ประวัติ :
เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อยู่ที่ ต.นางแล เป็นผู้นำพันธุ์มาจาก จ.ภูเก็ต มาปลูกใน ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย และได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกให้เหมาะ สมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ โดยไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ แล้วตั้ง ชื่อว่า “พันธ์ภูแล” นั่นเอง
https://th.wikipedia.org
--------------------------------------------------------------

สับปะรดนางแลอร่อยแน่ๆ ต้องที่เชียงราย

สับปะรดนางแล เชียงราย มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสับปะรดทั่วไป คือ เนื้อแน่น ไม่มีเสี้ยน รสหวานฉ่ำ สีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง บางครั้งเรียกว่า สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง

ลักษณะผลโดยทั่วไปมีรูปทรงกระบอก ผิวสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเขียวปนเหลือง ตาโปน ทำให้ปอกง่ายไม่เสียเวลา ขนาดผลเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยหนัก 1 – 1.5 กิโลกรัม

สับปะรดนางแล ของจังหวัดเชียงราย เป็นสับปะรดพันธุ์ รสชาดอร่อยที่สุดในประเทศไทย ซึ่งทุกปีจังหวัดเชียงรายจะจัดงานวันสับปะรดนางแลในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยมีผลผลิตออก จำหน่ายในช่วงเดือน เม.ย. – ก.ค. โดยหาซื้อได้ที่ ต.นางแล อ.เมือง หรือตลอดเส้นทางถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงราย – อำเภอแม่จัน

การปลูกและดูแลรักษา เลือกพื้นที่เป็นเนิน น้ำไม่ท่วมขัง ดินระบายน้ำดี มีธาตุเหล็กค่อน ข้างสูง ปลูกเป็นแถวคู่ ระยะ 50 ×50 ซม. ระยะแปลง 1×5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 5,000 ต้น

เทคนิคการบังคับให้ออกผล เมื่ออายุ 1 ปี -1 ปีครึ่ง ให้ใช้สารเอทีฟอสผสมปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 -15 ซีซี. ต่อยูเรีย 3 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือหยอดเพื่อเร่งให้เกิดตาดอกหลังจากนั้น 1 เดือน ให้หักจุก และรวบรวมเปลือกหุ้มผลไว้ เพื่อให้ผลมีความอุดมสมบูรณ์ สีสวย จนกระทั่งเริ่มเก็บเกี่ยว ผลผลิต เมื่ออายุได้ 1 ปี 6 เดือน ขึ้นไป

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/188948
https://www.gotoknow.org/posts/188948

สรุป :

นางแล ภูแล ตัวเดียวกัน .... นางแล อยู่ ต.นางแล เชียงราย น่าจะเรียก เชียงแล .... ภูแล อยู่ จ.ภูเก็ต

-----------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©