-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหารายการวิทยุ 14 JAN *ฟักทอง-มะขามเทศ
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหา วิทยุ 15 JAN ...... *สนใจแอ๊ปเปิ้ล, นาข้าวต้นเดียว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหา วิทยุ 15 JAN ...... *สนใจแอ๊ปเปิ้ล, นาข้าวต้นเดียว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/01/2016 11:51 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหา วิทยุ 15 JAN ...... *สนใจแอ๊ปเปิ้ล, นาข้าวต้นเด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 15 JAN

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



สายตรง : (093) 782-03xx, (082) 294-05xx
สรุปปัญหา :
- เกษตรกรบ้านจัดสรร อยู่เชียงใหม่ ปลูกลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ได้ผลดี สนใจปลูกแอ๊ปเปิล
- เกษตรกรบ้านจัดสรร อยู่ชัยนาท จะเปลี่ยนนาข้าวบางส่วนมาทำสวนไม้ผล สนใจแอ๊ปเปิ้ล
ตอบ :
*** เล่าสู่กันฟัง....
- ที่เพาะแล้ว ส้ม-พลับ จากจีน .... ส้ม O.K. ….พลับ ยังไม่ O.K. …. แอ๊ปเปิ้ล ยังไม่ได้ลอง

การปลูกแอปเปิ้ลในไทย

การปลูกแอปเปิ้ลในไทยเริ่ม มีมาไม่นานมานี้เอง พื้นที่ที่สามารถปลูกแอปเปิ้ลในไทยได้นั้นจะเป็นทางภาคเหนือของเมืองไทย เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้เมืองหนาวประเภทผลัดใบ ต้นกำเนิดของแอปเปิ้ลนั้นมาจากทางทวีปยุโรป จากนั้นก็มีการนำไปปลูกยังภูมิภาคต่างๆ แหล่งปลูกแอปเปิ้ลที่สำคัญๆ ตอนนี้ จะอยู่ที่ทวีปอเมริกา และยุโรปกลาง ทางเอเซียเอง ก็มีการนำมาปลูก เช่น โซเวียต จีน ญี่ปุ่นรวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรที่สูง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำข้อมูลออกมาในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ข้อมูลการปลูกแอปเปิ้ลในไทย เพื่อสนับสนุน และให้ความรู้ รวมถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกแอปเปิ้ลในเมืองไทย

ลักษณะทั่วไปของแอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลลักษณะของต้นและใบเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ละสายพันธุ์ก็จะมีรูปร่างต่างกันไป ต้นแอปเปิ้ลโดยทั่วๆไป มีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม บางสายพันธุ์สูง บางพันธุ์เป็นพุ่ม แอปเปิลเป็นพืชในสกุล Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malus domestica

สายพันธุ์แอ๊ปเปิ้ล

พันธุ์แอปเปิลมีประมาณ 2,000 พันธุ์ แต่ที่ดีและนิยมปลูกมีเพียง 4 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์แอนนา : เป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาในประเทศอิสราเอลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองสดขนาดใหญ่ปานกลาง รูปผลค่อนข้างยาว

2. พันธุ์ เอน เชเมอ : ผลค่อนข้างกลมขนาดเล็กว่า แอนนา เล็กน้อย สีเหลืองจัด ทั้ง 2 พันธุ์นี้ปลูกที่ดอยอ่างขางเริ่มจะให้ผลแล้ว

3. พันธุ์ โรม บิวตี้ : เป็นพันธุ์ที่ปล่อยละอองเรณูหลังจากที่ออกช่อดอกเร็วที่จะสามารถรับเชื้อได้ ดังนั้น พันธุ์นี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้เป็นตัวถ่ายละอองเรณูแก่พันธุ์อื่น ๆ ได

4. พันธุ์ แกลนด์ อเลกเซนเตอร์ :

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์แอปเปิลทำได้หลายวิธี เช่น การติดตา ตัดกิ่ง

การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งจะนิยมทำกันในช่วงที่ต้นแอปเปิลพักตัว คือ ในฤดูหนาว ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่แอปเปิลทิ้งใบ จะสะดวกในการตัดแต่งกิ่งมาก

การห่อผล

แอปเปิลที่ปลูกอยู่เราใช้กระดาษห่อผลตั้งแต่เมื่อผลยังมีขนาดเล็กอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันแมลงที่อาจจะมาเจาะผลทำลายและการห่อผลยังช่วยให้สีผล แอปเปิลสวยสดกว่าด้วย

โรคและแมลง

การปลูกแอปเปิลในเมืองไทยขณะนี้มีศัตรูที่สำคัญ คือ นก ซึ่งจะจิกผลแอปเปิลให้เกิดตำหนิเสียหาย ส่วนศัตรูอื่น ๆ เช่นโรคและแมลงก็มีบ้างแต่ยังไม่ทำความเสียหายมากนัก

การเก็บเกี่ยว

แอปเปิลที่ปลูกในประเทศไทยคือที่ดอยอ่างขาง จะเริ่มออกดอกเดือน ม.ค.- ก.พ. และจะเริ่มเก็บผลได้ต้นเดือน มิ.ย. การเก็บต้องระมัดระวังให้มีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เพื่อ ป้องกันการชอกช้ำเสียหายอันจะทำให้ราคาต่ำได้ หลังจากเก็บแล้วก็นำบรรจุหีบเพื่อส่งตลาดต่อไป

http://blog.janthai.com
/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B
8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AD%
E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9
%89%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0
%B8%97%E0%B8%A2-2799.html
-----------------------------------------------------------

ประสบการณ์ตรง :
ปลูกต้นแอปเปิลโดยการเพาะเมล็ด :

1. เริ่มแรกเลย ก็ไปหาซื้อ แอปเปิ้ลมาก่อน ซื้อมาจาก โลตัส ครับ เลือกเอาลูกไหนก็ได้ หยิบๆมาเลย เสร็จแล้วก็ ผ่าเอาเมล็ดของมันมา

จากนั้นก็ถึงขั้นของการเตรียมดิน ผมใช้ดินหมักที่ซื้อจากร้านขายต้นไม้ทั่วๆไปครับ เอาดินใส่ถุงเพาะแล้วอัดดินให้แน่นพอสมควร ไม่ควรแน่นจนเกินไปนะครับ เดียวมันไม่ระบายน้ำ ปรับพื้นดินให้เรียบ จากการสังเกตุแล้ว เมล็ดที่งอก จะอยู่บริเวณที่ดินในถุงเพาะที่ไม่แฉะ

การเอาเมล็ดลงดินนั้นให้ ทิ่มตรงแหลมๆของเมล็ดลงดิน แล้วให้ก้นของเมล็ดโผล่ออกมาจากเดินเล็กน้อยจากนั้นให้วางถุงเพาะไว้ในที่รุ่มมีอากาศถ่ายเทได้ดี และรดน้ำ ทุกวัน วันละครั้ง

เพาะไปหลายเมล็ด แอปเปิ้ลแดง 7 เมล็ด แปซิฟิกโรส 4 เมล็ด แอปเปิ้ลแจ๊ส

ที่งอกมี แอปเปิ้ลแดง 2 แอปเปิ้ลเขียว 1 (ต้นนี้ตายเพราะอยู่ในที่แฉะเกินไปครับ) แอปเปิ้ลแปซิฟิกโรส 1 (ต้นนี้ไม่รอดครับโดนอะไรสักอย่างกัดขาดครึ่งเลย) ครับ

2. การเพาะแอ๊ปเปิ้ลจากเมล็ดเปล่า ที่ยังไม่มีรากงอก ให้นำเมล็ดเปล่าใส่ถุงพลาสติก ใส่น้ำสะอาดลงไปให้พอเปียก พับปากถุง นำไปวางไว้ในช่องแช่ไข่ข้างประตู อุณหภูมิ 8-13 องศา (ช่องเย็นฝาปิดตู้เย็น) ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ หากเมล็ดสมบูรณ์หรือไม่ผ่านรังสี มันจะต้องงอก มีรากอ่อนๆออกมา รอให้รากงอกมีความยาวสัก 3-5 มิลลิเมตร (ครึ่ง ซม.) ให้นำมาห่อสำลีเล็กน้อยห่อรากไว้ (เปิดช่องด้านบนให้เมล็ดสามารถยืดตัวขึ้นมารับแสงอาทิตย์) เพื่อให้อุ้มน้ำไว้และมีความชื้นที่เมล็ดตลอดเวลา กลบดินร่วนให้มิด รดน้ำตอนเช้าวันละครั้ง รับแดดอ่อนๆ หรือวางไว้ใต้ไม้ใหญ่เพื่อกรองแสงอาทิตย์ เพียง 10 วัน ก็จะได้ต้นอ่อน

เพาะแอ๊ปเปิ้ล (พันธ์วอชิงตัน) เล่นๆ แล้วฟลุกงอกขึ้นมา อายุได้ 1 เดือนเศษ ตอนนี้ลำต้นสูง 7ซม. มีใบเกือบ 10 ใบแล้ว สมบูรณ์ดีมาก แต่กลัวมันตายไปหากดูแลไม่ดี อยากทราบข้อมูลการดูแลมัน .... อยู่เมืองกาญจน์ อ.เมืองครับ

http://pantip.com/topic/31541531
------------------------------------------------------------------------

สรุปขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงไม้ผล :

1. เรียกใบอ่อน :
2. สะสมอาหาร :
3. ปรับ ซี/เอ็น เรโช :
4. เปิดตาดอก :
5. บำรุงผลเล็ก :
6. บำรุงผลกลาง :
7. บำรุงผลแก่ :

-----------------------------------------------------------------------

สูตรปุ๋ยบำรุงไม้ผลแต่ละระยะ :
ทางใบ .................. ระยะไม้ผล ...................... ทางดิน

25-5-5 ............ 1. เรียกใบอ่อน .................... 30-10-10
0-42-56........... 2. สะสมตาดอก ................... 8-24-24
C (+) .............. 3. ปรับ C/N ..................... งดน้ำ

13-0-46 ..........
0-52-34 .......... 4. เปิดตาดอก ..................... ให้น้ำพอชื้น
ไธโอยูเรีย ............

15-45-15 ........ 5. บำรุงดอก .................... ให้น้ำพอชื้น
21-7-14 .......... 6. บำรุงผลเล็ก .................. 21-7-14
21-7-14 .......... 7. บำรุงผลกลาง ................ 21-7-14
0-21-74 .......... 8. บำรุงผลแก่ ................... 13-13-21 หรือ 8-24-24

-------------------------------------------------------------


การปลูกข้าวต้นเดียว (SRI) แบบอินทรีย์


โดย monmai

การปลูกข้าวต้นเดียว System of Rice Intensification (SRI : เอสอาร์ไอ) เป็นวิธีการจากมาดากัสการ์ ศรีลังกา กัมพูชา สู่การทดลองครั้งสำคัญบนผืนนาไทย การปักเดี่ยว ซึ่งประหยัดเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพเต็มที่ใน การแตกกอและออกรวง

เทคนิคการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในการปลูกข้าวต้นเดี่ยว การปลูกข้าวในระบบประณีต (System of Rice Intensification ; SRI) คือ
การจัดการพืช
การจัดการดิน และ
การจัดการน้ำ ร่วมกัน

เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตข้าว (ลดต้นทุน อนุรักษ์ธรรมชาติ สร้างเครดิตระดับโลก .... KIM ZA GASS) ซึ่งการผลิตข้าวในระบบของ มทส. เป็นการประยุกต์และปรับปรุงมาจากวิธีการผลิตข้าวในระบบ SRI ของ Dr.Norman Uphoff และคณะ จึงเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งได้แก่ แหนแดง ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยให้พื้นที่ปลูกข้าวมีน้ำขัง ประมาณ 2-5 ซม. เพื่อให้สามารถเลี้ยงแหนแดงได้

แหนแดง (Azolla) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพ
--------------------------------------------------------

ความเหมาะสมของแหนแดงในการใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว :

– แหนแดงสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณได้รวดเร็ว
– สามารถเลี้ยงแหนแดงได้ให้เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีไนโตรเจนต่ำ
– แหนแดงมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่สูง (3-5%)
– แหนแดงสลายตัวได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิตปุ๋ยให้กับข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (Bio organic Fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยที่เกิดจากกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพพร้อมๆกัน และนำมาผสมกันในขั้นตอนสุดท้าย กระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบนี้จะต่างจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั่วๆไป เนื่องจากการผลิตปุ๋ยในระบบนี้จะใช้อุณหภูมิในระหว่างกระบวนการหมักสูงมาก จนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อก่อโรคทั้งในคน สัตว์ และพืช (จุลินทรีย์มีประโยชน์ตายด้วย .... KIM ZA GASS) ตลอดจนเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับมูลสัตว์

ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้น ได้ทำการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งได้แก่ Plant Growth Promoting Rhizobacteria (PGPR) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนและผลิตออกซินได้ นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราปฏิปักษ์ ไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และยับยั้งการทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในพืชใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย
-----------------------------------------------------------

ขั้นตอนการผลิตข้าว โดยการใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต :
1. การเพาะกล้าสำหรับการผลิตข้าวในระบบ SRI :

จากผลการทดลองในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีขั้นตอนและวิธีการในการเพาะกล้า ดังต่อไปนี้
1. ใช้กระบะพลาสติกที่มีรูขนาดเล็กบรรจุด้วยขี้เถ้าแกลบที่เปียกชื้นจากการรดน้ำให้อยู่ตัว จากนั้นทำการเกลี่ยหน้าให้เรียบ (สามารถเพาะในแปลงขนาดเล็กได้)

2. โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่แช่น้ำ 12 ชม. และห่อผ้า 1-2 คืน จนเมล็ดเริ่มมีรากงอก (เช่นเดียวกับการแช่เมล็ดสำหรับตกกล้า) โดยทำการโรยเมล็ดข้าวให้สม่ำเสมอ

3. โรยขี้เถ้าแกลบกลบบางๆ หนาประมาณ 1 ซม. ทำการรดน้ำให้ชุ่ม
4. วางกระบะกล้าไว้ในที่ร่ม เช่นในโรงเรือนเพาะชำ ใต้หลังคา หรือที่มีลมพัดผ่านได้ เมื่ออายุต้นกล้าได้ 5 วัน ให้นำออกตากแดดและเมื่ออายุได้ 8 วัน สามารถนำไปปลูก ในแปลงปลูกได้ ไม่ควรให้อายุกล้าเกิน 15 วัน เพราะรากกล้าจะยาวมากเกินไป การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะทำให้สามารถถอนกล้าไปปลูกได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก สามารถยำไปได้ทั้งกระบะและวางไว้ใกล้ๆ กลับแปลงปลูก ทำให้ไม่เสียเวลาในการถอน และเคลื่อนย้าย แต่ถ้าเพาะในแปลงเพาะกล้าให้หว่านเมล็ดบางๆ
5. พื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กก.

2. การถอนกล้า และการขนย้ายต้นกล้า :

– ควรทำการย้ายปลูกกล้าที่อายุประมาณ 8-15 วัน และยังคงให้เมล็ดข้าวติดอยู่
– ในกรณีเพาะในถาดสามารถยกถาดไปยังแปลงปลูกได้เลย
– กรณีเพาะกล้าในแปลงควรทำการถอนทีละน้อยย้ายปลูกทันที

– ถอนต้นกล้าเบาๆตรงโคนต้น ใช้เครื่องมือเล็กๆ เช่น เกรียง หรือเสียม ขุดให้ลึกถึงใต้ราก ควรระวังอย่าให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์ และให้มีดินเกาะรากไว้บ้าง

- ระหว่างการย้ายกล้าต้องทำอย่างเบามือ ไม่ควรทิ้งกล้าไว้กลางแดดและรีบนำกล้าไปปักดำทันที (ภายใน 15-30 นาที)
– ควรทำการปักดำกล้าที่ถอนให้แล้วเสร็จภายในเวลาครึ่งชั่วโมง
– ไม่ควรล้างรากหรือให้รากกล้าแห้งก่อนทำการปักดำ

3. การเตรียมแปลงปลูก และการปลูกข้าวต้นเดี่ยว :

1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 1 คืน ทำการหว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพตามปริมาณที่ต้องการ
2. ใช้รถไถเดินตามตีดินให้เป็นโคลน โดยให้ระดับน้ำลึก 3-5 ซม.
3. ทำการหว่านแหนแดง ประมาณ 1 กก./พื้นที่ 10 ตร.ม. ทิ้งไว้ 7-10 วัน
4. หลังจาก 7-10 วัน ให้ไถกลบแหนแดงลงแปลงปลูกและทำให้ดินมีลักษณะเป็นโคลน
5. นำเครื่องมือ ซึ่งทำจากท่อ PVC ลากขนานไปกับคันนาให้เป็นส้นตรงในแนวเดียวกันให้เต็มพื้นที่แปลงปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

6. นำข้างที่เพาะไว้ในกระบะเพาะ มาปลูกตรงรอยตัดของสี่เหลี่ยม โดยใช้นิ้วกรีดดินในแนวราบลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร

ต้นข้าวจะต้องตั้งฉากกับแนวราก เป็นรูปตัว “L” (L-shape) และหลังจากการทำการปักดำ 1-2 วัน ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าแปลงปลูกในระดับน้ำลึกประมาณ 2 ซม. และทำการปล่อยแหนแดงให้ทั่วแปลงในอัตรา 10% ของพื้นที่

4. การดูแลรักษาแหนแดง และระดับน้ำในแปลงปลูก :

– ทำการหว่านแหนแดงเพิ่มหลังจากการปักดำ 1-2 (หลังการใส่น้ำในแปลงข้าว)
– ควรให้ระดับสูงประมาณ 2 ซม. ในครั้งแรก เพื่อป้องกันวัชพืชและการเพิ่มกระจายตัวของแหนแดงจากนั้นให้รักษาระดับน้ำไว้ประมาณ 5 ซม.
– หว่านปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน

5. การปักดำ :

นำต้นกล้ามาปักดำอย่างเบามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก แล้วนำไปปักให้รากอยู่ในแนวนอนลึกประมาณ 1 เซนติเมตร

ปักดำกล้าทีละต้น ให้มีความห่างของระยะต้นไม่น้อยกว่า 25 ซม. เท่าๆกัน จนเหมือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ควรปักดำในระยะห่าง 30 x 30 ซม. สำหรับแปลงนาขนาดเล็ก หรือ 40 x 40 ซม. สำหรับแปลงนาขนาดใหญ่)

6. การจัดการน้ำ :

1. การปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตในดินที่แห้งสลับเปียกทำให้ข้าวสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง และรากของต้นข้าวสามารถงอกยาวออกเพื่อหาอาหาร

2. การปล่อยให้มีน้ำท่วมขังในแปลง ทำให้ซากพืชเน่าเปื่อย และก่อให้เกิดก๊าซมีเทนปลดปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้น

3. การปล่อยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตในน้ำท่วมขัง ทำให้รากต้นข้าวต้องสร้างถุงลมเล็กๆ เพื่อดูดออกซิเจนจากผิวดินทำให้การส่งอาหารไปสู่หน่อและใบถูกรบกวน รากข้าวจะหายใจลำบาก

7. การกำจัดวัชพืช :

ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 3 ครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ครั้งที่ 1 : เมื่ออายุข้าว 10 วัน
ครั้งที่ 2 : เมื่ออายุข้าว 25-30 วัน
ครั้งที่ 3 : เมื่ออายุข้าว 50-60 วัน

ทั้งนี้การกำจัดวัชพืช สามารถใช้เครื่องมือทุ่นแรง ทางที่เหมาะสมและดีที่สุดจึงเป็นการถอนด้วยมือนั่นเอง

นอกจากนี้การจัดน้ำเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ หรือเอาฟางคลุมแปลงจะช่วยกำจัดวัชพืชได้ดี

สำหรับการกำจัดศัตรูของข้าว เช่น ปู หอยเชอรรี่ :
ทำได้โดยการเลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ดในนาข้าว แต่เมื่อข้าวออกรวงจะต้องห้ามเป็ดเข้านาโดยเด็ดข้าว หรือทำน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น 1-2 ครั้งก็เพียงพอ

สำหรับวิธีการป้องกันนก :
ทำได้โดยการขึงเชือกเทปล้อมรอบแปลงนา เมื่อลมพัดจะทำให้เกิดเสียงดัง แล้วนกจะไม่มารบกวนซึ่งเป็นเครื่องมือที่ชาวนาในญี่ปุ่น และมาดากัสการ์ใช้กัน เรียกว่า คราดหมุน ซึ่งในขณะที่ไถทับวัชพืช จะเป็นการพรวนดินไปในตัว ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ส่วนซากวัชพืชจะกลายเป็นปุ๋ยหมักสำหรับต้นข้าวอย่างดี แต่เมื่อทดลองไถพรวนใช้กับดินทางภาคอีสาน นั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากดินเป็นดินทราย

เหตุใด ปลูกข้าวต้นเดียวจึงได้ผลผลิตดีกว่า :

1. การใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียว
2. ต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็กๆสองใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่ จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดี และการผลิตหน่อจะมีมาก
3. การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น
4. การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่าย และทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว
5. การปักดำในระยะห่าง ช่วยให้รากแผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่

สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยว ร่วมกับแหนแดง และปุยอินทรีย์ชีวภาพ :

1. ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย
2. สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน
3. สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
4. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์กกลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต
5. ประหยัดน้ำ
6. กำจัดวัชพืช และข้าวปนได้ง่าย
7. อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน
8. จำนวนการแตกกอสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า
9. เปอร์เซ็นต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปกติ
10. ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%

http://www.monmai.com
/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B
8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E
0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B
5%E0%B8%A2%E0%B8%A7sri/

------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©