-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-อีเทฟอน.กับองุ่น
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อีเทฟอน.กับองุ่น
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อีเทฟอน.กับองุ่น

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 28/02/2010 9:21 am    ชื่อกระทู้: อีเทฟอน.กับองุ่น ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ผลของเอทีฟอนที่มีต่อสีผลและคุณภาพของผลองุ่น
พันธุ์ Beauty Seedless

สาธิต พสุวิทยกุล
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

การทดลองใช้สารเอทีฟอน.ที่ระดับความเข้มข้น 0 250 และ 500 ppm กับช่วงระยะเวลาการให้
สาร เมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีได้
ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสีผิวผลและคุณภาพของผลองุ่นพันธุ์
Beauty Seedless ทำการทดลองที่โครงการหลวงห้วยลึก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ใน
ระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2530

ผลปรากฏว่า สารเอทีฟอน.ที่ระดับความเข้มข้น 250 และ 500 ppm ให้ปริมาณแอนโธไซยา
นิน.เพิ่มขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางสถิติกับการไม่ใช้สารเอทีฟอน. แต่ที่ระดับความเข้มข้น
ของสารเอทีฟอน. 250 และ 500 ppm ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ สารเอทีฟอน.ที่ระดับ
ความเข้มข้น 500 ppm ให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำสุด ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่
ระดับความเข้มข้น 250 ppm และการไม่ใช้สารเอทีฟอน.

ในด้านคุณภาพของผล สารเอทีฟอน.ความเข้มข้น 250 และ 500 ppm ให้เปอร์เซ็นต์ TSS สัด
ส่วนเปอร์เซ็นต์ TSS ต่อเปอร์เซ็นต์ TA และคะแนนการชิมรสชาติเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์ TA ลด
ลง ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติกับการ
ไม่ใช้สารเอทีฟอน.

การใช้สารเอทีฟอน.ที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm ให้เปอร์เซ็นต์การหลุดจากขั้วหลุดต่ำสุด
ซึ่งไม่แตกต่างกับการไม่ใช้สารเอทีฟอน แต่แตกต่างจาการใช้สารเอทีฟอน.ที่ระดับความเข้มข้น
500 ppm เอทีฟอน.ทุกระดับความเข้มข้นให้เปอร์เซ็นต์ผลแตก เปอร์เซ็นต์ผลเน่าไม่แตกต่าง
กัน นอกจากนี้เอทีฟอน.ที่ความเข้มข้น 250 ppm ยังให้ผลดีในด้านความยาวช่อและน้ำหนักช่อ

ช่วงระยะเวลาการให้สารเอทีฟอน. พบว่า การให้สารเมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีประมาณ 30
เปอร์เซ็นต์ กับการให้สารเมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ปริมาณแอนโธ
ไซยานิน. เปอร์เซ็นต์ TA สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ TSS ต่อเปอร์เซ็นต์ TA คะแนนการเปลี่ยนสีผล
เปอร์เซ็นต์การหลุดจากขั้ว เปอร์เซ็นต์ผลแตก เปอร์เซ็นต์ผลเน่า ความยาวช่อ น้ำหนักช่อ และ
น้ำหนักผล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่การให้สารเมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีประมาณ
80 เปอร์เซ็นต์ ให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ลดลง เพิ่มเปอร์เซ็นต์ TSS ความกว้างผล ความยาวผล ซึ่ง
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติกับการให้สารเมื่อจำนวนผลในช่อเปลี่ยนสี
ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

อิทธิพลร่วมของสารเอทีฟอน.ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กับช่วงระยะเวลาการให้สารเมื่อระดับการ
เปลี่ยนสีของจำนวนผลในช่อต่างกัน ปรากฏว่าไม่มีอิทธิพลร่วมกันในด้านปริมาณแอนโธไซยา
นิน. เปอร์เซ็นต์ TSS เปอร์เซ็นต์ TA สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ TSS ต่อเปอร์เซ็นต์ TA คะแนนการ
ชิมรสชาติ คะแนนการเปลี่ยนสีผล เปอร์เซ็นต์การหลุดจากขั้ว เปอร์เซ็นต์ผลแตก เปอร์เซ็นต์ผล
เน่า ขนาดของช่อผล และขนาดของผล แต่สารเอทีฟอน.ที่ระดับความเข้มข้น 500 ppm ให้เมื่อ
จำนวนผลในช่อเปลี่ยนสีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำสุด



ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

******************************************************


ประสบการณ์ตรง :

...... ช่วงระหว่างเดือน ก.พ.- เม.ย. จะมีพายุโซนร้อนจากทะเลอันดามันเข้าสู่ฝั่ง ชาวสวนองุ่น
ย่าน อ.ดำเนินสะดวก อ.บ้านแพ้ว จ.ราชบุรี อ.สามพราน จ.นครปฐม. เรียกพายุนี้ว่า "พายุไซ
ฮวง" มีผลกระทบต่อองุ่นอย่างมาก ทำให้ ดอก. ผลเล็ก. ร่วง 80-90 % ในขณะที่ผลใหญ่จะ
ร่วง 25-50 % อยู่เสมอ ครั้นเมื่อได้ปรับเปลี่ยนการบำรุงโดยเน้น "แม็กเนเซียม + สังกะสี" ใน
ปุ๋ยน้ำดำไบโออิ. และปุ๋ยทางใบสูตรขยายขนาด "อเมริกาโน" ควบคู่กับให้ทางดินด้วย "ระเบิด
เถิดเทิง 21-7-14 สม่ำเสมอ ปรากฏว่าอาการร่วงของ ดอก. ผลเล็ก. ผลใหญ่ ลดลง กระทั่ง
บางสวนที่ต้นองุ่นมีประวัติการบำรุงมาอย่างต่อเนื่องไม่มีอาการหลุดร่วงเลย

..... ปัจจุบันทัศนคติของชาวสวนองุ่นเปลี่ยนจากการปฏิเสธ "อินทรีย์วัตถุ" ทั้งปุ๋ยอินทรีย์. สาร
ปรับปรุงบำรุงดิน. จุลินทรีย์. โดยสิ้นเชิง มาเป็นใส่ "อินทรีย์วัตถุ" (ปุ๋ยอินทรีย์. ยิบซั่ม. กระ
ดูกป่น และปุ๋ยน้ำชีวภาพ) อย่าสม่ำเสมอ เลิกปล่อยหน้าดินถูกแดดเผามาเป็นให้มีเศษหญ้าแห้ง
คลุมหน้าดินหนาๆ เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า อย่างเด็ดขาด....ชาวสวนองุ่นย่านบ้านแพ้ว. ดำเนินสะดวก.
ตกลงทำสัญญาร่วมกันกับชาวสวนพืชอื่นๆ ระยะรัศมี 5 กม.จากสวนองุ่น ห้ามใช้ยาฆ่าหญ้าเด็ด
ขาด หากจะใช้ต้องแจ้งชาวสวนองุ่นให้รู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมการป้องกัน หากไม่แจ้งล่วงหน้าแล้ว
สวนองุ่นเกิดความเสียหาย ชาวสวนพืชอื่นๆ ที่ใช้ยาฆ่าหญ้านั้นต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สวนองุ่น

..... ชาวสวนองุ่นย่าน อ.บ้านแพ้ว จ.ราชบุรี ใช้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 30-10-10"
ต่อการเรียกใบอ่อน ให้ 2 รอบ ห่างกันรอบละ 15 วัน ปรากฏว่าองุ่นแตกใบใหม่ ใบใหญ่ หนา
เขียวเข้ม ยอดยาว สภาพต้นสมบูรณ์มาก ต่างจากที่เคยใส่แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเดี่ยวๆ อย่าง
เห็นได้ชัด

..... องุ่นเป็นพืชไม้ผลชนิดหนึ่งที่มีอัตราการใช้ "สารเคมี" มากที่สุด เคยมีผู้บันทึกสถิติแล้ว
บอกว่า ใน 1 เดือนมี 30 วัน ต้องฉีดพ่นสารเคมี 45 รอบ ถึงขนาดบางวันฉีดพ่นตอนเช้าแล้ว ถึง
เที่ยงมีฝนตกลงมา วันเดียวนั้นช่วงบ่ายต้องฉีดซ้ำ หรือกลางวันๆ นี้ฉีดพ่นไปแล้ว ตกกลางคืนมี
ฝนตกลงมา รุ่งเช้าต้องฉีดพ่นซ้ำ

วันนี้องุ่นหลายแปลง ได้ปรับเปลี่ยนวิธีบำรุงองุ่นแบบ "เคมีนำ อินทรีย์ปฏิเสธ" มาเป็น "อิน
ทรีย์นำ - เคมีเสริม- ตามความเหมาะสม" กับเปลี่ยนการให้ปุ๋ยมาเป็นแบบ "ลดธาตุหลัก เพิ่ม
ธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆ" องุ่นแปลงนั้น "ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตยั่งยืน"
อย่างเห็นได้ชัด

..... องุ่นไวท์มะละกา เนื้อที่ 10 ไร่ ขาย 1 รอบได้เงิน 3 ล้าน เงินนี้ต้องจ่ายเป็นค่าแรง 1
ล้าน. ค่าปุ๋ย/สารเคมี 1 ล้าน. เหลือ 1 ล้าน.ต้องเก็บเป็นทุนสำหรับองุ่นรอบต่อไป สรุปแล้วไม่
ได้อะไรเลย


ลุงคิมครับผม

ป.ล.
ท่านใดมีข้อมูลประสบการณ์ตรงเรื่องสับปะรด เชิญชวนให้เขียนมา เขียนลงในกระทู้ปกติก่อน
แล้วลุงคิมจะก็อปมาลงต่อท้ายที่กระทู้นี้ให้ภายหลัง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©