-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Biot_11
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 38

ตอบตอบ: 13/03/2010 9:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ดูโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้ง
นวัตกรรมใหม่ "เครื่องแรก" ในโลก


ผลพวงจากอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อมมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มปริมาณการผลิต

โดยเฉลี่ยผลปาล์มสด 1 ตัน จะมีน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 0.4 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 40%
ของผลปาล์มสด ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้จะมีสิ่งสกปรกในรูปของไขมัน น้ำมัน และสารอินทรีย์ปนเปื้อน
อยู่ในปริมาณสูง อันจะส่งผลทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและ
ชุมชนใกล้เคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ท่องโลกเกษตร" อาทิตย์นี้ล่องใต้ตาม "รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงษ์" อาจารย์ศูนย์วิจัยพลัง
งานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านปาล์มน้ำมันและคณะ ใน
ฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิต
พลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่ง
เสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อเยี่ยมชม
กระบวนการทำงานโรงงานหีบผลปาล์มดิบระบบแห้งของบริษัท เกษตรสิทธี จำกัด ที่ได้ร่วมกับ
เกษตรกรหัวก้าวหน้าอย่าง "สมชาย สิทธิโชค" คิดประดิษฐ์ขึ้นมาสำเร็จเป็นเครื่องแรกในโลก

"เครื่องนี้เป็นเครื่องแรกในโลกนะ เพราะที่อื่นเขายังไม่มี แต่กว่าจะเป็นโรงงานต้นแบบอย่างที่เห็น
ทุกวันนี้ ต้องใช้เวลาถึง 4 ปีเต็ม ช่วงแรกๆ ผมกับปื้ด (สมชาย สิทธิโชค) นอนอยู่ที่นี่เป็นเดือนๆ
เพื่อร่วมกันคิดรูปแบบของโรงงาน ภายใต้สมมติฐานที่ว่าต้องเป็นระบบหีบแห้ง ไม่มีการปล่อยน้ำ
เสียออกมา ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ผลรับต้องเท่ากับหรือดีกว่าแบบเดิมคือแบบใช้ไอ
น้ำ ซึ่งมีค่าบริหารจัดการสูงและต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย ในขณะที่แบบไม่ใช้ไอน้ำหรือระบบแห้ง
เดิมก็ใช้ผลปาล์มร่วม ไม่ได้ใช้ปาล์มทั้งทะลายเข้าสู่กระบวนการผลิตเหมือนกับเครื่องที่เราได้คิด
ประดิษฐ์ขึ้นมา"

รศ.ดร.พรชัย อธิบายจุดเด่นของโรงงานหีบผลปาล์มดิบระบบแห้งต้นแบบของบริษัท เกษตรสิทธี
จำกัด ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 8 ไร่ ใน ต.อ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ภายใต้การคุมบังเหียน
ของเกษตรกรชาวสวนปาล์มหัวก้าวหน้าอย่าง "สมชาย สิทธิโชค" ที่ปัจจุบันหันมาทำธุรกิจ
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรอย่างเต็มตัว

ด้วยเหตุที่เทคโนโลยีการสกัดน้ำมันปาล์มแบบใช้ไอน้ำ ทำให้เกิดน้ำเสีย ฉะนั้นการขอตั้งโรงงาน
ขนาดใหญ่ที่มีน้ำเสียเกิดขึ้นในระบบการผลิต จึงต้องผ่านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ก่อน เมื่อปัจจัยเรื่องความคุ้มค่ามีน้อย ผนวกกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโอกาสเกิดโรงงาน
สกัดน้ำมันปาล์มแห่งใหม่ใกล้แหล่งปลูกใหม่ จึงเกิดขึ้นน้อยมาก โรงงานหีบผลปาล์มดิบระบบแห้ง
ที่คิดค้นขึ้นมานี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 5 ตันต่อชั่วโมง จึงเป็นทางเลือกให้แก่กลุ่มเกษตรกรชาว
สวนปาล์มที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มรวม 3-5 พันไร่ ถึงจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 8 เดือนโดยประมาณ แต่ต้องเดิน
เครื่องการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง

"กระบวนการแรกเริ่มจากใส่ปาล์มลงไปทั้งทะลาย จากนั้นเครื่องจะทำการแยกผลปาล์มและ
ทะลายออกจากกัน แล้วก็เข้าสู่กระบวนการไล่ความชื้น มีลักษณะเป็นท่ออุโมงค์ด้วยความร้อน
80 องศาเซลเซียส จากนั้นเข้าสู่กระบะไล่ความชื้นอีกครั้ง แล้วจึงนำมาเก็บไว้ได้นานเป็นปี แต่ถ้า
เข้าสู่ขั้นตอนต่อไปก็จะเข้าสู่เครื่องแยกระหว่างเปลือกกับเมล็ด เพื่อเข้าสู่กระบวนการบีบน้ำมันใน
ขั้นตอนสุดท้าย" หัวหน้าโครงการเผยกระบวนการทำงานของเครื่องหีบปาล์มระบบแห้งต้นแบบ ซึ่ง
มีมูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท

รศ.ดร.พรชัยย้ำว่า เป้าหมายสำคัญในการสร้างโรงงานต้นแบบขนาดเล็กนี้ ก็เพื่อการขยายไปสู่
ชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มในพื้นที่ห่างไกลโรงงานให้สามารถมีโรงงานสกัดน้ำมัน
ปาล์มเป็นของตนเอง โดยเกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือเทศบาล ลงทุนร่วมกัน โดยไม่ต้องพึ่งโรงงานของบริษัทเอกชนที่มี
อำนาจการต่อรองสูงเหมือนที่ผ่านมา

"ทุกวันนี้ผลปาล์มดิบจากภาคเหนือหรืออีสานต้องนำมาส่งโรงงานที่ชลบุรี ซึ่งอยู่ใกล้ที่สุดแล้ว
แต่จากนี้ไปไม่ต้องส่งแล้ว เอาโรงงานต้นแบบนี้ไปตั้งตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งปลูกปาล์มเพื่อ
ลดต้นทุนในเรื่องค่าขนส่ง สำหรับผลปาล์มดิบที่ผ่านกระบวนการจะให้ผลผลิตประมาณ 17-
20% ต่อทะลาย แต่ที่ได้มากกว่านั้นก็คือ ชาวบ้านมีอาชีพเพิ่ม ใช้เศษเหลือใช้มาทำปุ๋ยอินทรีย์
ได้น้ำมันไบโอดีเซลใช้เองในชุมชน" หัวหน้าทีมวิจัยเผยระหว่างพาเยี่ยมชมกระบวนการทำงาน
ของเครื่องหีบผลปาล์มต้นแบบ

รศ.ดร.พรชัยระบุว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่
ของประเทศมาเลเซียทาบทามขอซื้อเครื่องต้นแบบดังกล่าวนี้ เพื่อนำไปติดตั้งที่มาเลเซียและ
อินโดนีเซีย หลังรับทราบข้อมูลว่าเป็นการพัฒนาระบบแห้งแบบใหม่ล่าสุดที่ไม่มีผลกระทบทาง
ด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญยังให้ผลผลิตที่สูง ในขณะที่มูลค่าการลงทุนต่ำกว่าระบบเดิมหลายเท่า

"ตอนนี้ทางมาเลย์เข้ามาดู ปรากฏว่าเขาทึ่งมาก เพราะยังไม่เคยเห็นเครื่องแบบนี้มาก่อน ทั้งๆ ที่
ประเทศเขาเป็นเจ้าแห่งปาล์ม แล้วก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ติดต่อเข้ามาอยากให้เราไปติดตั้งให้
เพียงแต่ยังไม่พร้อม เพราะต้องทดสอบความสมบูรณ์แบบในกระบวนการผลิตอีกสักระยะหนึ่งก่อน
สนใจเยี่ยมชมเครื่องต้นแบบโทร.08-9553-1999 ได้ตลอดเวลา" รศ.ดร.พรชัยกล่าวอย่าง
ภูมิใจ

นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จในการคิดประดิษฐ์เครื่องหีบผลปาล์มดิบระบบแห้งต้นแบบเครื่องแรก
ในโลก เป็นผลงานของ รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงษ์ และคณะ ที่ใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ แต่ได้
รับผลที่คุ้มค่า ไม่แพ้โรงงานขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อช่วยแก้ปัญหาไม่มีโรงงานใน
พื้นที่รองรับสำหรับเกษตรกรชาวสวนปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 13/03/2010 11:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยางพารา เงินล้านที่อิสาน

ตามที่รัฐบาลดำเนินโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ จำนวน 90 ต้น ในพื้นที่ 36
จังหวัดภาคเหนือและภาคอีสาน ที่ดำเนินการปลูกช่วงระหว่างปี 2547-2549 นั้น หาก
คำนวณระยะเวลาในดำเนินโครงการระยะแรกในปี 2547 ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้รับคัดเลือกจากกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ผลิตและมอบกล้า
พันธุ์ยางพาราคุณภาพ 15.2 ล้านต้น ให้แก่เกษตรกร จากทั้งหมดตามสัญญาส่งมอบระยะแรก 18
ล้านต้น ทำให้ต้นยางพารา 15.2 ล้านต้น มีอายุ 6 ปีแล้ว ซึ่งตามหลักวิชาการยางพาราพันธุ์
อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 (RRIM 600) ต้องมีอายุ 7 ปี หรือมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม. จึง
จะกรีดได้ แต่ปรากฏว่า ขณะนี้มีเกษตรที่ร่วมโครงการระยะแรกทยอยกรีดกันแล้ว ทำให้มีเม็ดเงิน
เริ่มสะพัดเข้าในพื้นหลายท้องถิ่นด้วยกัน

อย่าง นายหล้า พรหมเกตุ ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางพาราผาน้อย จำกัด ต.ผาน้อย อ.วังสะ
พุง จ.เลย ผู้ซึ่งร่วมโครงการระยะแรกในปี 2547 ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เริ่มเปิดกรีดยางพาราตั้งแต่
อายุเพียงเข้าสู่ปีที่ 5 เท่านั้น คือ เริ่มกรีดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 จำนวน 10 ไร่ 760 ต้น
กรีดวันเว้นวัน ได้ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 20 แผ่น หรือ 20 กก. ปัจจุบันราคายางพาราอยู่ที่ กก.ละ
90 บาท ส่งผลให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2.7 หมื่นบาท เขาให้เหตุผลว่า ที่สามารถเปิดกรีดยาง
ได้ เพราะวัดเส้นรอบวงของต้นได้ 50 ซม.นั่นเอง

“การปลูกยางพารา เรื่องอายุกี่ปีไม่เกี่ยวหรอกครับ ขอให้วัดรอบต้นได้ 50 ซม. ต้นยางผมโตดี
มาก และสม่ำเสมอทุกต้น เพราะผมดูแลเอาใจใส่อย่างดี ตอนนี้ผมมีรายได้ที่น่าพอใจมาก เพราะ
ผมเกิดมาทั้งชีวิต ทำทุกอย่างมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ หรือปลูกต้นไม้ จนอายุปูนนี้
แล้ว สู้ปลูกยางพาราไม่ได้ ยางพาราขายได้ทุกวัน เปรียบเสมือนเป็นต้นไม้ทิพย์ ที่ให้ผลคุ้มค่า ต่อ
ไปเกษตรกรที่ปลูกจะได้ลืมตาอ้าปากได้อย่างแน่นอน ภาครัฐควรจะหันมาใส่ใจและสนับสนุน
โครงการอย่างนี้” นายหล้า กล่าว

ด้าน นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดเลย กล่าวว่า ตอนนี้ทราบว่า
เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใน จ.เลย มีการกรีดมา
บ้างแล้ว บางรายมีต้นยางพาราได้ขนาดเส้นรอบวง 50 ซม. แต่บางรายมีขนาดเท่าหน้าแข็งก็มีการ
กรีดเช่นกัน เพราะราคายางท้าทาย ตรงนี้น่าเป็นห่วง หากต้นยางไม่ได้ขนาดมาตรฐานที่จะกรีดอาจ
ส่งผลเสียในอนาคตได้

"ของผมไม่ได้ร่วมโครงการ แต่ผมปลูกเอง มียางพันธุ์อื่นที่มาจากภาคใต้ ปลูกมาตั้งแต่ปี 2547
ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่าที่บางคนกรีดแล้ว แต่ผมยังไม่กรีด คิดว่าจะกรีดในปีหน้า ซึ่งต้นยางมีอายุ
ได้ 7 ปี และขนาดต้องได้เส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม.ก่อน เพื่อป้องกันมีปัญหาทีหลัง" นายทรง
ศักดิ์กล่าว

ขณะที่ นายสำเลา สมบูรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ร่วมโครงการเมื่อปี 2547 ปลูกในพื้นที่
ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวว่า ต้นยางที่ร่วมโครงการโตเร็วมาก มีเส้นรอบวงเฉลี่ยที่ 53
ซม. พอกรีดแล้ว ให้น้ำยางเป็นอย่างดี หากเกษตรกรเปิดกรีดได้แล้วสร้างรายได้ที่ดี และเกิด
ความมั่นคงแก่อาชีพไปอีก 25 ปี

“กล้ายางที่ผมรับในปี 2547 เป็นกล้าพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปลูกแล้วโตเร็วเกินคาด เพราะปกติต้นยาง
อายุ 6 ปี จะไม่โตเท่านี้ ทำให้ผมรู้สึกพึงพอใจมาก ขนาดกรีดมาไม่นาน วันนี้ครอบครัวผมอยู่ดีกิน
ดีกว่าแต่ก่อน ต่อไปนี้ผมไม่ต้องทิ้งครอบครัวไปทำงานที่ไหนอีก ผมขอฝากเพื่อนเกษตรกรที่
กำลังคิดจะปลูกยางพาราในปีนี้ว่า ท่านเดินทางมาถูกแล้ว ยังไม่สายครับ" นายสำเลากล่าวอย่าง
ภาคภูมิใจ

ส่วน นายชุม เสาหิน เกษตรวัย 66 ปี ที่ร่วมโครงในปี 2547 มีสวนยางพาราที่ ต.เสาหิน กิ่ง อ.ภู
ซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ปลูกยางพาราทั้งหมด 760 ต้น เริ่มกรีดตอนต้นยางมีอายุได้ 5 ปี ตอนนี้
สามารถกรีดได้แล้ว 200 ต้น เป็นการกรีดวันเว้นวัน ทำเป็นยางแผ่นได้วันละ 8 แผ่น หรือ 8 กก.
ราคา กก.ละ 90 บาท มีรายได้เฉลี่ยวันละ 720 บาท เดือนละ 10,800 บาท

นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่สร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกร หลังจากที่มองผิดๆ ว่า ยางพาราเป็นพืช
เศรษฐกิจที่เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกมายาวนาน

อีก 3 ปี เงินสู่ท้องถิ่นกว่า 2.8 หมื่นล้าน

นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี
เอส) ซึ่งรับผิดชอบด้านกล้ายางพาราของซีพีเอส กล่าวว่า ในฐานะที่ซีพีเอสได้มีส่วนร่วมใน
โครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตและมอบกล้าพันธุ์
ยางพาราคุณภาพให้แก่เกษตรกรส่วนหนึ่ง แม้ที่ผ่านมาจะมีปัญหาบ้าง และขณะนี้หมดภาระหน้าที่
กันแล้วก็ตาม แต่ซีพีเอสไม่ได้ทอดทิ้งเกษตรกรร่วมโครงการ ตลอดยระยะเวลาที่ผ่านมา ได้
ติดตามการผลิต คอยแนะนำเกษตรกรมาตลอด จึงทราบว่า ผู้ที่ได้รับกล้ายางไปปลูกในปี 2547
บางส่วนสามารถเปิดกรีดได้แล้วราว 5-10% ถือว่าเป็นการเปิดกรีดที่รวดเร็วกว่าปกติที่กำหนดไว้
7 ปี เนื่องจากเกษตรกรมีการเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ประกอบกับเกษตรกรได้กล้ายางพันธุ์ดีที่
ได้มาตรฐานด้วย จึงทำให้ต้นยางพาราโตเร็วมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม.

อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2557 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่า ผู้ที่ร่วมโครงการขยายพื้นที่ปลูก
ยางพารา 1 ล้านไร่ (ภาคเหนือ 3 แสนไร่ ภาคอีสาน 7 แสนไร่) จะสามารถกรีดได้ 100%
หากวัดจากราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 ณ ปัจจุบัน กก.ละ 100 บาทนั้น จะทำให้เกิดเงินสะพัด
ในพื้นที่ร่วมโครงการ มีมูลค่าถึง 28,700 ล้านบาท เป็นภาคเหนือ 8,610 ล้านบาท ภาคอีสาน
20,090 ล้านบาท ที่สำคัญจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ร่วมโครงการเกิดความมั่นคงในอาชีพตลอด
ยาวนานถึง 25 ปีที่ยางพาราสามารถกรีดได้ และยังส่งผลต่อการลดปัญหาการย้ายถิ่น ลดปัญหา
อาชญากรรมในพื้นที่ ตลอดจนแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย

“เท่าที่ผมลงในพื้นที่ พบว่า บางแห่งการเจริญเติบโตของต้นยางที่เกษตรกรรับไปปลูกเจริญเติบ
โตดีกว่ามาตรฐาน คือจากกำหนดเดิมที่เกษตรกรจะต้องกรีดในปีที่ 7 ถึงปีที่ 8 แต่บางรายเพียง
เข้าปีที่ 6 เกษตรกรเริ่มกรีดแล้ว เพราะลำต้นได้มาตรฐาน คือ เส้นรอบวง 50 ซม. ตรงนี้เป็นการ
พิสูจน์ได้ว่า ยางที่เกษตรกรรับมาจากโครงการได้มาตรฐาน คุณภาพดี และการเจริญเติบโตสม่ำ
เสมอดีทุกต้น" นายขุนศรีกล่าว

ที่มา : คม ชัด ลึก


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 1:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรณีศึกษา : เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
Mealy Bug in Cassava
*

วลัยพร ศะศิประภา กฤษณา ทวีศักดิ์วิชิตชัย นารีลักษณ์ วรรณสาย พรพรรณ สุทธิแย้ม
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปัจจุบันมีรายงานการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังในหลายพื้นที่ ต้นปี 2551 พบการระบาด
ของ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังระบาดรุนแรง อย่างไม่เคยพบมาก่อน ที่ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
อ. เสิงสาง จ.นครราชสีมา ซึ่งหากวิเคราะห์หาสาเหตุการระบาดส่วนหนึ่งน่าจะมาจากสภาพอากาศ
ที่แห้งแล้งยาวนาน มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมทำให้เพลี้ยแป้งมีการขยายพันธุ์ได้ดีขึ้นเพิ่มจำนวน
มากขึ้น ซึ่งไม่มีการเตือนการระบาดให้เกษตรกรทราบก่อนหน้า ในปี 2552 ยังมีการระบาดอยู่

กรมส่งเสริมการเกษตรออกข่าวเตือนการระบาดในเดือนพฤษภาคม ทุกระยะการเจริญเติบโตของ
มันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งที่เข้าทำลาย มี 2 ประเภท คือ ชนิดวางไข่ จะวางไข่ในถุงไข่มีใยคล้ายสำลี
หุ้ม 1 ถุง มีตั้งแต่ 35 -500 ฟอง ระยะไข่ 6-7 วัน และชนิดออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนของเพลี้ยแป้ง
จะลอกคราบ 3 – 4 ครั้ง มีการเคลื่อนที่ได้ อายุประมาณ 35 วัน ตัวเต็มวัย ด้านข้างและด้านหลังมี
แป้งปกคลุม ประมาณ 10 วัน จะวางไข่ หรือออกลูก รวมวงจรชีวิตประมาณ 60 วัน ภูมิอากาศก่อ
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่อม
ส่งผลกระทบต่อตัวแปรของภูมิอากาศที่สำคัญคือ ปริมาณฝน อุณหภูมิ และปริมาณแสงแดด การ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและความถี่ ซึ่งอาจทำให้เกิดผล
กระทบมากมาย ปัจจัยทางภูมิอากาศ จึงดำเนินการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นใน
ช่วง 39 ปีที่ผ่านมา มีปัจจัยทางภูมิอากาศใดที่เปลี่ยนแปลงบ้าง มีผลกระทบต่อการระบาดของ
แมลงศัตรูพืช เช่น กรณีการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง

ลักษณะของเพลี้ยแป้งสีชมพูและการเข้าทำลาย
ปริมาณฝน :
ลักษณะการตกของฝนในพื้นที่จังหวัดระยอง มีการตกของฝนแบบ 2 ช่วง (bimodal) สามารถ
แบ่งฤดูฝนได้ชัดเจน 2 ช่วงคือ ต้นฝนซึ่งมีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนพฤษภาคม และปลายฝน มี
ฝนมากช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม มีฝนทิ้งช่วงในเดือนสิงหาคม ช่วงปี พ.ศ.2543 - 2551 ฝน
มาเร็วกว่าปกติ คือเริ่มตกเดือนมีนาคม แต่ช่วงเดือนสิงหาคมมีปริมาณฝนน้อยมาก แต่มีแนวโน้ม
สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทำให้เกิดการทิ้งช่วงของฝนในช่วงปีพ.ศ. 2543-2551

ความแตกต่างปริมาณฝนรายปีในช่วงปี 2549-2551 เทียบกับปีมาตรฐาน 30 ปี
อุณหภูมิ :
อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในช่วงแต่ละ 10 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 – 2551 เพิ่มสูงกว่าปีมาตรฐาน
โดยในเดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดเป็นช่วงของฤดูร้อน ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือน
ธันวาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว และจากอุณหภูมิเฉลี่ยในทุกช่วง 10 ปี พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น
เรื่อยๆ

สรุป :
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางภูมิอากาศต่อการระบาดของเพลี้ยแป้งในมัน
สำปะหลัง พบว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนในรอบปีไม่แตกต่างกันมากนัก แต่การกระจายของ
ฝนแตกต่างกันในช่วงปลายปี 2549 ต้นปีพ.ศ. 2550 ฝนแล้งกว่าปีมาตรฐานเป็นเวลานานติดต่อ
กัน ซึ่งทำให้การเข้าทำลายพืชรุนแรงขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอากาศโดยรวม
กระตุ้นการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเพลี้ยแป้งทำให้วงจรชีวิตสั้นลง ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น
ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังช่วงที่มีปริมาณฝนลดลงและแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่อง
จากเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดที่รุนแรง ไข่ของเพลี้ยแป้ง ไข่ของแมลงช้างปีกใส


ที่มา : BIOTEC


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 9:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด

สิ่งที่เกษตรกรคุ้นเคยมากในการเพิ่มผลผลิตพืชก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมี แต่การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่าง
เดียวโดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน จะทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว
ดินจะแข็งไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ำและแร่ธาตุอาหารพืชได้น้อยลงทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลหรือได้
ผลไม่ดีเท่าที่ควร

การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ย
คอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องใช้ในปริมาณมากต่อไร่ ไม่สะดวกแก่การขนย้ายปุ๋ย
และหาได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอีกวิธีหนึ่งที่มีวิธีการปฏิบัติง่ายก็คือ
การใช้ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสดคืออะไร
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะ
พืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุ
พัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา

พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม พืชตระกูลถั่ว
ต่างๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด[/color]
1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

ปุ๋ยพืชสดช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ดี........ควรไถกลบในช่วงระยะออกดอก


ลักษณะของพืชที่จะมาทำเป็นปุ๋ยพืชสด
1. ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะเวลาอันสั้น (30 – 60 วัน)
2. สามารถให้น้ำหนักพืชสดสูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป
3. ทนแล้งและทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
4. มีความต้านทานต่อโรคและแมลง
5. สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันและเพียงพอต่อความต้อง
การ เมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซนต์ความงอกสูง

6. ทำการเก็บเกี่ยว ตัดสับและไถกลบได้ง่าย ไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมากเพราะจะทำให้ไม่สะดวกแก่
การไถกลบ

7. ลำต้นอ่อน เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็วและมีธาตุอาหารพืชสูง


การปลูกพืชปุ๋ยสด
1. ลักษณะของดิน ก่อนปลูกควรปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม เช่นถ้าเป็นดินเปรี้ยวควรใส่ปูน
ลงไปก่อน จะช่วยให้พืชสดเจริญเติบโตและให้น้ำหนักพืชสดสูงด้วย

2. เวลาและฤดูกาลที่ปลูก เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือปลูกหลังจากเก็บเกี่ยว
พืช ซึ่งความชื้นในดินยังคงมีอยู่ หรือปลูกก่อนการปลูกพืชหลัก ประมาณ 3 เดือน

3. เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด ที่ใช้ปลูกเพื่อไถกลบในพื้นที่ 1 ไร่ ควรใช้อัตราเมล็ดดังนี้
ปอเทือง 5 กก., โสนอินเดีย 5 กก., โสนคางคก 5 กก., โสนไต้หวัน 5 กก., ถั่วพร้า 5 กก.,
ถั่วเขียว 5 กก., ถั่วเหลือง 8 กก., ถั่วพุ่ม 8 กก., ถั่วนา 8 กก., ถั่วลาย 2 กก., ถั่วเสี้ยนป่า 2
กก., ไมยราพไร้หนาม 2 กก., ถั่วเว็ลเว็ท 10 กก., คาโลโปโกเนียม 2 กก., อัญชัน 3 กก.,


วิธีการใช้พืชปุ๋ยสด
1. ปลูกพืชสด ในพื้นที่แปลงใหญ่ แล้วทำการตัดสับและไถกลบลงไปในพื้นที่นั้นเลย

2. ปลูกพืชสดแซมในระหว่างร่องพืชหลักที่ทำการปลูก โดยปลูกพืชสดหลังจากพืชหลักเจริญเติบ
โตเต็มที่แล้ว

3. ปลูกพืชสดในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แล้วตัดสับเอาส่วนของพืชสดนำมาใส่ในแปลงที่จะปลูกพืช
หลักแล้วไถกลบลงไปในดิน


การตัดสับและไถกลบพืชสด
การตัดสับและการไถกลบพืชสดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงอายุของพืชสดเป็นสำคัญ ระยะเวลาที่
เหมาะสมในการตัดสับและไถกลบ ควรทำขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปจนถึงระยะดอกบานเต็มที่
เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบแล้วจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุ
ไนโตรเจนสะสมอยู่ในดินสูงด้วย

อายุการตัดสับและไถกลบของพืชปุ๋ยสดแต่ละชนิด
ปอเทือง... อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 75 – 90.....น้ำหนักสดที่ได้ 3 – 4 ตัน/ไร่
ถั่วพุ่ม....อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 40 – 50.........น้ำหนักสดที่ได้ 2 – 3 ตัน/ไร่
ถั่วนา...อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 60 – 75..........น้ำหนักสดที่ได้ 3 – 4 ตัน/ไร่
ถั่วเหลือง...อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 50 – 6........น้ำหนักสดที่ได้ 1.5 – 2 ตัน/ไร่
ถั่วเขียว...อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 40 – 50.........น้ำหนักสดที่ได้ 2 2-2.5 ตัน/ไร่
โสนจีนแดง...อายุการตัดสับและไถกลบ (วัน) 75 - 90 ....น้ำหนักสดที่ได้ 3 - 4 ตันไร่


ใช้ปุ๋ยพืชสด.................ลดปุ๋ยเคมี....................ดินอุดมดี.....................มีกำไรงาม

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/03/2010 7:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 4:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ถั่วเขียวเป็นปุ๋ยพืชสด

ชนิดของถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำจะให้ผลดีกว่าถั่วเขียวธรรมดา เพราะให้น้ำหนักสดมากกว่าระยะเวลา
ปลูก ต้นฤดูฝน

การปลูก
1. ไถเตรียมดิน 1 ครั้ง

2. เตรียมเมล็ดก่อนปลูก โดยเฉพาะในเขตที่ไม่มีการปลูกถั่วเขียวมาก่อน ควรคลุกเมล็ดถั่วเขียว
กับไรโซเบียมอัตรา 5 กก.ต่อไรโซเบียม 1 ถุง ใช้น้ำมันพืช น้ำเชื่อม น้ำซาวข้าว หรือน้ำธรรมดา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมในขณะคลุกเมล็ด เพื่อให้ไรโซเบียมจับติดเมล็ด เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต
ของถั่วเขียว

3. ปลูกโดยวิธีหว่าน ใช้เมล็ดอัตรา 5 กก.ต่อไร่ แล้วคราดกลบ

การไถกลบ
ไถกลบเมื่อถั่วเขียวอายุได้ประมาณ 45 วัน หรือในช่วงออกดอก จะได้น้ำหนักสดประมาณ 1 – 2
ตันต่อไร่ ก่อนไถกลบควรเอาน้ำเข้านาก่อน หากมีน้ำไม่เพียงพอ ควรไถกลบขณะที่ดินมีความชื้น
แล้วปลูกหรือปักดำข้าวตามได้เลยหรือภายใน 7 วัน



การใช้โสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด

การปลูก
1. ไถเตรียมดิน 1 ครั้ง

2. เตรียมเมล็ดก่อนปลูกเนื่องจากเมล็ดมีการพักตัวจึงต้องนำไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วค่อยนำไปปลูก
เพื่อให้การงอกสม่ำเสมอ และดินต้องมีคตวามชื้นเพียงพอ หากเป็นการหว่านรอฝนไม่ต้องนำเมล็ด
มาแช่น้ำหากใช้ไรโซเบียมด้วยจะได้ผลดียิ่งขึ้น

3. ปลูกโดยวิธีหว่านใช้เมล็ดอัตรา 5 กก.ต่อไร่

การไถกลบ
การไถกลบเมื่อโสนอัฟริกันอายุได้ประมาณ 55-60 วัน ถ้ามีการเจริญเติบโตดีจะได้น้ำนหักสด
ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ ควรเอาน้ำเข้านาก่อนการไถกลบและปลูกหรือปักดำข้าวตามได้เลยหรือ
ภายใน 7 วัน



การใช้โสนอินเดียเป็นปุ๋ยพืชสด

การปลูก
1. ไถเตรียมดิน 1 ครั้ง

2. เตรียมเมล็ดก่อนปลูก เนื่องจากเมล็ดมีการพักตัวจึงต้องนำเมล็ดแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนนำไป
ปลูกเช่นเดียวกับโสนอัฟริกัน และหากใช้ไรโซเบียมด้วยจะได้ผลดียิ่งขึ้น

3. ปลูกโดยวิธีหว่านใช้เมล็ดอัตรา 5 กก.ต่อไร่

การไถกลบ
ไถกลบเมื่อโสนอินเดียอายุประมาณ 60 – 70 วัน โดยตัดต้นชิดดินและถ้ามีการสับต้นก่อนทำการ
ไถกลบ จะทำให้การไถกลบง่ายขึ้น ควรเอาน้ำเข้านาก่อนทำการไถกลบ หลังจากไถกลบแล้ว
ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ จึงปลูกหรือปักดำข้าว

ข้อควรปฏิบัติ
1. ควรไถเตรียมดินก่อนปลูก ดินที่ไม่ดีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกันจะช่วยให้ได้ปุ๋ยพืชสด
ปริมาณมากและเป็นประโยชน์ต่อพืชหลักมากขึ้นด้วย

2. เมล็ดที่มีการพักตัว เช่น โสนชนิดต่างๆต้องนำไปแช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปปลูกเพื่อให้งอกได้เร็ว
และสม่ำเสมอ

3. ควรเอาน้ำเข้านาก่อนไถกลบพืชปุ๋ยสด จะได้ประโยชน์จากปุ๋ยพืชสดอย่างเต็มที่ หากมีน้ำไม่
เพียงพอควรไถกลบพืชปุ๋ยสดในขณะที่ดินมีความชื้น

4. สำหรับพืชปุ๋ยสดที่ย่อยสลายง่าย เช่น ถั่วเขียว โสนอัฟริกัน ควรปักดำข้าวหรือปลูกข้าวภายใน
7 วัน หลังไถกลบจะได้ผลสูงสุด เพราะข้าวสามารถใช้ธาตุอาหารได้ทันในช่วงเริ่มตั้งท้องจะทำให้
ได้ผลผลิตสูง



ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 5:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดินเพื่อการเพาะปลูก

สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยดินในการยังชีพและการเจริญเติบโต ถ้าปราศจากดินก็แทบจะกล่าว
ได้ว่า ไม่มีสิ่งมีชีวิตเหลืออยู่ในโลกนี้เลย

ดินเป็นที่มาของปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคของมนุษย์ ซึ่ง
อาจเป็นการได้มาโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ พืชต้องอาศัยดินในการเจริญเติบโต ตั้งแต่เริ่ม
งอกออกจากเมล็ด จนกระทั่งโตให้ดอกให้ผล

เนื่องจากดินเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ควบคุมหรือ กำหนดการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นในการ
ปลูกพืช จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของดินพอสมควร สิ่งที่พืชได้รับจากดินพอจะ
สรุปได้ ดังนี้

- ดินเป็นที่หยั่งรากยึดลำต้นให้ตั้งตรง
- ได้รับน้ำและอากาศจากดิน
- ได้รับธาตุอาหารเกือบทุกชนิดจากดิน


ดินคืออะไร
คำจำกัดความของ "ดิน" ในทางการเกษตร จะหมายถึงวัตถุที่เกิดขึ้นจากการผุพังของหินและแร่
ธาตุต่าง ๆ ผสมคลุกเคล้ากับซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยแล้ว ซึ่งเรียกว่าอินทรีย์วัตถุ ทำให้เกิดเป็น
วัตถุที่เรียกว่า ดิน ซึ่งเป็นที่ให้พืชต่าง ๆ เจริญงอกงามอยู่ได้

ดินประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
1. แร่ธาตุ
2. อินทรีย์วัตถุ (ซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อยแล้ว)
3. น้ำ
4. อากาศ

ส่วนประกอบของดินที่เป็นแร่ธาตุนั้น ได้มาจากการสลายตัวผุพังของหิน และแร่ชนิดต่าง ๆ มาก
มายหลายชนิด แตกต่างกันไปตามท้องที่

ดังนั้น ดินในแต่ละท้องที่จึงมีส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป และแร่
ธาตุเพียงบางชนิดเท่านั้นที่พืชจะดูดขึ้นมาใช้เป็นอาหาร ส่วนของแร่ธาตุจะเป็นส่วนประกอบที่มี
มากที่สุดในดิน คือ จะมีประมาณ 45% โดยปริมาตร

ส่วนอินทรีย์วัตถุในดินได้มาจากการเน่าเปื่อยผุผัง ของซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วทับถมกันอยู่บน
ดิน อินทรีย์ในดินมีความสำคัญมาก คือ
1. เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารพืชบางชนิด
2. ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
3. ทำให้ดินตรึงธาตุอาหารไว้ได้มากขึ้น
4. ทำให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น

อินทรีย์วัตถุในดิน แม้จะมีปริมาณที่น้อย เมื่อเทียบกับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดิน คือมีประมาณ
5% โดยปริมาตร แต่เป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อพืชมาก

น้ำในดิน ส่วนมากมาจากน้ำฝน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนบางส่วนจะไหลซึมลงไปในดิน และบางส่วน
จะไหลบ่าไปตามผิวหน้าดิน น้ำฝนส่วนที่ไหลซึมลงไปในดิน จะถูกดูดซับไว้ในช่องระหว่างเม็ด
ดิน ดินแต่ละชนิดจะอุ้มน้ำไว้ได้ มากน้อยไม่เท่ากัน ดินทรายจะอุ้มน้ำได้น้อยกว่า ดินเหนียว ดินที่
เหมาะต่อการเพาะปลูกพืชควรมีส่วนที่เป็นน้ำอยู่ประมาณ 25% โดยปริมาตร

น้ำในดินนั้นไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ แต่จะมีแร่ธาตุต่าง ๆ ละลายอยู่ และพืชจะดูดดึงเอาแร่ธาตุบางชนิด ที่
ละลายอยู่ในน้ำไปใช้เป็นอาหาร พืชกินอาหารในรูปของสารละลาย ฉะนั้น ถ้าปราศจากซึ่งน้ำหรือ
ความชื้นในดิน แม้จะมีธาตุอาหารอยู่มากในดิน พืชก็ไม่สามารถดูดขึ้นไปใช้ได้


ส่วนประกอบส่วนที่ 4 ของดิน คือ อากาศในดิน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน
เพราะการที่รากจะดูดอาหารขึ้นไปใช้ได้นั้น รากพืชต้องใช้พลังงาน และพลังงานนั้นได้มาจากการ
หายใจ

ดังนั้น ในดินที่มีน้ำขังหรือดินที่แน่นทึบ พืชจะไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร เพราะรากพืชขาดอากาศ
สำหรับหายใจ จึงทำให้ไม่สามารถดูดธาตุอาหารขึ้นไปใช้ได้ จากดิน 100 ส่วน โดยปริมาตร เมื่อ
หักส่วนที่เป็น แร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ และน้ำ จึงเหลือเป็นส่วนของอากาศ 25 ส่วน โดยปริมาตร


ดินเป็นสิ่งที่มี 3 มิติ มีทั้ง ความกว้าง ความยาว และความลึก
- ถ้าเราขุดลงไปในดินลึก ๆ และสังเกตดินข้างหลุมให้ละเอียด เราจะเห็นว่าดินสามารถแบ่งออก
เป็นชั้น ๆ ได้ตามความลึก

- ดินในแต่ละท้องที่มีชั้นดินไม่เหมือนกัน จำนวนชั้นของดินก็มากน้อยไม่เท่ากัน ความตื้น ความ
ลึกของดินแต่ละชั้นไม่เท่ากัน สีของดินแต่ละชั้นไม่เท่ากันและไม่เหมือนกัน และยังมีลักษณะ
อย่างอื่นแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย

- ดินชั้นบนหรือเรียกว่า ชั้นไถพรวน ดินชั้นนี้มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกมาก เพราะรากของพืช
ส่วนใหญ่จะชอนไชหาอาหารที่ชั้นนี้ ดินชั้นบนนี้เป็นชั้นที่มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่าชั้นอื่น ๆ โดยปกติดิน
จะมีสีเข้ม หรือคล้ำกว่าชั้นอื่น

- ในดินที่มีการทำการเพาะปลูกทั่ว ๆ ไป จะมีดินชั้นบนหนาตั้งแต่ 0 - 15 ซม.

- ดินชั้นล่าง รากพืชของไม้ผล ไม้ยืนต้นจะชอนไชลงไปถึงชั้นนี้ ปกติดินชั้นล่างเป็นชั้นที่มีอินทรีย์
วัตถุน้อย

- ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกควรจะมีหน้าดิน (ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง) ลึกไม่น้อยกว่า
1 เมตร


คุณสมบัติของดินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช มีด้วยกันหลายอย่าง ในที่นี้จะกล่าวเป็น
ข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

เนื้อดิน เป็นสมบัติที่บ่งบอกถึงความหยาบ ความละเอียดของดิน แบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ชนิด คือ ดิน
ทราย ดินร่วน และดินเหนียว

ดินที่เป็นทรายจะอุ้มน้ำได้ไม่ดี ดินจะแห้งง่าย และยังมีธาตุอาหารพืชอยู่น้อยกว่าดินชนิดอื่น ส่วน
ดินเหนียวนั้นจะอุ้มน้ำได้มาก และมีธาตุอาหารพืชอยู่มาก แต่มีข้อเสียที่การระบายน้ำไม่ดี คือ มัก
จะมีน้ำขังทำให้อากาศไม่เพียงพอสำรับรากพืชใช้ในการหายใจ นอกจากนี้ยังทำการไถพรวนได้
ลำบาก

เนื้อดินเป็นสมบัติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก แม้จะมีการใช้ที่ดินทำการเกษตรติดต่อกันมาเป็นเวลา
นาน ดินรวนจึงนับเป็นดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชมากกว่าดินเหนียว และดินทราย

ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน หรือที่เรียกว่า พี.เอช. (pH) ของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของ
ดินจะบอกเป็นค่าตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 14 ถ้าดินมีค่า พี.เอช. น้อยกว่า 7 ดินนั้นจะเป็นกรด ยิ่ง
น้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีค่า พี.เอช. มากกว่า 7 จะเป็นดินด่าง ดินที่มีค่า พี.เอช.
เท่ากับ 7 พอดี แสดงว่าดินเป็นกลาง

ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จะเป็นตัวควบคุมความมากน้อยของธาตุอาหาร ที่จะละลายออกมา
อยู่ในน้ำในดิน การละลายได้มากน้อยของธาตุอาหารพืชที่ช่วงความเป็นกรดเป็นด่างต่างกัน

พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง พี.เอช. ต่างกัน แต่พืชทั่ว ๆ ไปจะเจริญเติบโตได้ดี
ในช่วง พ.เอช. 6.0 - 7.0 ช่วง พี.เอช. ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชแสดงไว้
ในตารางที่ ช่วง พี.เอช. ของดิน ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ในกรณีที่ พี.เอช. ของ
ดินเป็นกรดมากเกินไป จะต้องทำการแก้ความเป็นกรดโดยการใส่ปูน จะเป็นปูนขาวหรือปูนมาร์ลก็
ได้ ก่อนที่จะทำการปลูกพืช สำหรับจำนวนปูนที่จะใส่นั้นจะรู้ได้โดยการเก็บดินส่งไปวิเคราะห์

ความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึง ความมากน้อยของธาตุอาหารพืชที่พืชจะสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ ดินที่อุดมสมบูรณ์หมายถึง ดินมีธาตุอาหารมาก และเมื่อสภาพแวดล้อมของดินเหมาะ
สม พืชก็เจริญเติบโตดี ส่วนดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ แม้มีสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เหมาะสม พืชก็
จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร แม้ดินประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด แต่แร่ธาตุที่พืชสามารถนำมาใช้
เป็นอาหารได้มีเพียง 13 ชนิดเท่านั้น ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

ในดินแต่ละชนิดจะมีแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน แร่ธาตุที่มีอยู่ในดินเหล่านั้นพืชจะไม่
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด คือสามารถนำไปใช้ได้เพียงส่วนน้อย เฉพาะส่วนที่ละลายน้ำ
ได้เท่านั้น

ในดินที่ทำการเกษตรทั่ว ๆ ไป มักจะขาดธาตุอาหารอยู่ 3 ธาตุ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
พืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม

การที่จะรู้ว่าดินแปลงหนึ่ง ๆ มีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือไม่ ใส่ปุ๋ยชนิดใด
จำนวนเท่าใดนั้น ต้องมีการตรวจสอบหรือประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินแปลงนั้น ๆ เสียก่อน
ซึ่งทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. การสังเกตอาการของพืชที่ปลูก
2. การวิเคราะห์พืช
3. การวิเคราะห์ดิน
4. การทดลองใส่ปุ๋ยในไร่นา

วิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ง่าย สะดวกและรวดเร็วก็คือ การสังเกตอาการของพืชที่
ปลูก แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญมาก ผลที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องนัก และใช้ได้บางพืชเท่านั้น ทั้งนี้
เพราะอาการที่พืชแสดงออกเมื่อขาดธาตุอาหารมักจะคล้าย ๆ กัน ยากจะบอกได้

ส่วนวิธีที่แม่นยำที่สุด คือ การทดลองใส่ปุ๋ยในไร่นา แต่วิธีนี้สิ้นเปลืองมากและเสียเวลา เพราะต้อง
ทำแปลงทดลอง ทุกที่ที่ต้องการรู้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และต้องรอคอยจนกว่าเก็บเกี่ยวผล
ผลิตถึงจะรู้

การวิเคราะห์พืช เป็นวิธีที่มีความยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องพิจารณาว่าจะเก็บส่วนใดของพืชมา
วิเคราะห์ อายุ หรือช่วงเวลาในการเก็บก็มีความสำคัญด้วย

วิธีที่นิยมกันกว้างขวางก็คือ การวิเคราะห์ดิน โดยเก็บตัวอย่างดินมาเคราะห์ และนำค่าที่วิเคราะห์
ได้ มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานก็จะได้ทราบว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด

สิ่งที่ควรคำนึงและเข้าใจก็คือ ดิน เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ยัง
มีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายปัจจัย เช่น พันธุ์ โรค แมลง ศัตรูพืช การจัดการและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งมี
ผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน



ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 5:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไรโซเบียมเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง *

อาหารพืช คือ ปุ๋ย ประกอบด้วยธาตุอาหารหลายชนิด ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากมี 3 ชนิด คือ
ไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโปตัสเซียม (เค)

พืชตระกูลถั่วก็เช่นกัน ต้องการไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม และธาตุอาหารอื่นเหมือนพืชทั่ว
ไป แต่พืชตระกูลถั่วมีลักษณะพิเศษคือ ที่รากจะมีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของไรโซมเบียม

ไรโซเบียม คืออะไร
ไรโซเบียม เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มีอยู่ในดินและจะสร้างปมที่รากพืชตระกูลถั่วเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่วนี้สามารถผลิตไนโตรเจนได้เองจากอากาศ และเป็น
ประโยชน์ต่อพืชตระกูลถั่วที่ไรโซมเบียมอาศัยอยู่


วิธีเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่ว[/color]
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ดี
2. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยไรโซเบียมก่อนปลูก
3. ควรปรับสภาพดินเปรี้ยว, ดินเค็มให้เหมาะสมก่อนปลูกถั่ว
4. ใส่ปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียมเพิ่มเติมได้แก่ ปุ๋ยสูตร 0-3-0 หรือ 0-46-0 และ 0-0-60


คำแนะนำการใช้ไรโซเบียม [/color]
1. เลือกใช้ไรโซเบียมตามชนิดถั่วที่ปลูก เช่น ไรโซเบียมถั่วเหลืองใช้คลุกกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
2. ไรโซเบียม 1 ถุงเหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ปลูกเนื้อที่ 1 ไร่เท่านั้น
3. ควรเก็บรักษาไรโซเบียมในที่เย็น มีความชื้นไม่ถูกแสงแดด
4. ควรรัดปากถุงให้แน่น เมื่อต้องการเก็บไรโซเบียม ส่วนที่เหลือไว้ใช้อีก
5. ใช้ไรโซเบียมที่ยังไม่หมดอายุ โดยดูจากถุงที่บรรจุไรโซเบียม


ขั้นตอนการคลุกไรโซเบียม
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
- เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูง
- ไรโซเบียมที่ยังไม่หมดอายุ
- สารช่วยติดเมล็ด ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำเชื่อม น้ำข้าว หรือแป้งเปียก

2. นำเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกใส่ภาชนะ แล้วใส่สารช่วยติดเมล็ดลงไปทีละน้อย คลุกเมล็ดพันธุ์ให้
ทั่วเพื่อให้สารนี้เคลือบเมล็ด ไรโซเบียมจะติดกับเมล็ดได้ง่าย

3. ใส่ไรโซเบียมตามอัตรส่วนของเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ เช่น เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม ใช้ไรโซ
เบียมถั่วเหลือง 1 ถุง คลุกเมล็ดพันธุ์กับไรโซเบียมให้ทั่ว

4. นำเมล็ดพันธุ์ที่คลุกไรโซเบียมแล้วไปปลูกทันที

5. ควรทำการปลูกเมื่อดินมีความชื้น


ข้อควรระวัง
1. ก่อนซื้อไรโซเบียมโปรดสังเกตที่ถุง ดังนี้
- วันหมดอายุ ว่ายังไม่เลยกำหนดที่จะใช้
- ชนิดไรโซเบียม ตรงกับชนิดถั่วที่จะปลูก

2. อย่าเปิดถุงไรโซเบียมจนกว่าจะนำไปใช้คลุกเมล็ดพันธุ์

3. เมล็ดที่คลุกไรโซเบียมแล้วควรเก็บให้มิดชิด ไม่นำไปตากแดด และควรใช้ปลูกให้หมดภายใน
วันนั้น

4. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วควรกลบดินทันที เพื่อรักษาความชื้นให้กับเมล็ด



ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 9:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 14/03/2010 6:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ

การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่
ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาด
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่างๆ เหล่านั้นอาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็
ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาด
เพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้

1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีก
ครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72

2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ
34-52

3. แช่ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์นาน 10 นาที (ไฮโดเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4
ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50

4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ดผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างออกด้วย
น้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43

5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39

6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อย
ละ 29-38

7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีก
ครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำ
สะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36

9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อย
ละ 22-36


ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/03/2010 6:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความจริงของสำรอง

ผมเป็นบุคคลหนึ่งที่ศึกษา ต้นสำรอง (หมากจองหรือพุงทะลาย) โดยศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการ
เกษตร (เช่นขยายพันธุ์ การออกดอก การติดผล การเจริญของดอกและผล) และแม้ว่าจะไม่ได้
ศึกษาด้านสรรพคุณทางยาหรือการใช้ประโยชน์เป็นอาหาร เนื่องจากสายงานของผมเป็นสายงาน
ด้านเกษตร แต่ก็ติดตามข่าวคราวจากงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ศึกษาสรรพคุณทางยาและการ
ใช้ประโยชน์ด้านอาหารอยู่เสมอ ทำให้พอจะรู้เรื่องราวได้บ้างพอสมควร สิ่งที่ผมเป็นห่วงและเห็นใจ
ผู้อยากได้ต้นสำรองไปปลูกคือ การอยากได้ต้นสำรองไปปลูกจนถึงกับยอมจ่ายเงินซื้อในราคาที่
แพงมาก ทราบว่าบางเจ้าขายกันแพงถึงต้นละ 300-500 บาททีเดียว เนื่องจากผู้ซื้อคล้อยตาม
ข้อมูลของผู้ขาย เช่นบอกว่าปลูก 3 ปีมีลูก (ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการต่อยอดหรือติดตา) หรือใช้ต้น
จากเมล็ดที่เพาะแล้วตัดยอดให้แตกกิ่งโดยให้ข้อมูลว่าจะเป็นสำรองต้นเตี้ยที่จะออกลูกได้เร็ว
หรือกินลูกสำรองป้องกันโรค..... ....(แล้วแต่จะชวนให้เชื่อ) หรือกินลูกสำรอง แล้วลดความอ้วน
ได้ ฯลฯ สิ่งที่ ผมอยากกล่าวเพื่อแจ้งแก่ผู้สนใจได้ทราบ คือ เท่าที่ผมได้ศึกษาและเฝ้าติดตามเป็น
ดังนี้ครับ

ด้านสรรพคุณทางยา เท่าที่ทราบจากรายงานที่เชื่อถือได้ ระบุว่า การรับประทานวุ้นของเมล็ด
สำรองช่วยแก้อาการร้อนใน ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอและสดชื่นขึ้นได้
วุ้นของสำรองมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงาน ของระบบคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ได้ดี การบริโภคน้ำลูก
สำรองอาจเป็นแนวทางที่ จะช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ได้ วุ้นจากเมล็ดสำรองสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมบวก คือ Staphylococcus
aureus และ Bacillus cereus ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้อง
เดินในมนุษย์ได้, การรับประทานวุ้นของสำรองโดยไม่ต้องเติมน้ำตาล เพื่อทดแทนปริมาณบาง
ส่วนของอาหารหลัก มีส่วนช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและลดการสะสมไขมันได้, วุ้นของสำรองมี
ส่วนช่วยในการเป็นตัวระบาย จึงเป็นการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่การรับประทาน
วุ้นสำรองติดต่อกันเป็นเวลา นาน ๆ ก็อาจทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายถูกดูดซับและระบาย
ออกมากด้วยเช่นเดียวกัน, การใช้ผ้าชุบน้ำวางทับบนตาที่อักเสบแล้วใช้เปลือกเมล็ดสำรองวางลง
บนผ้า เปลือกเมล็ดจะพองตัวเป็นวุ้นแทรกซึมในผ้า ช่วยบรรเทาอาการตาอักเสบ

ด้านการนำไปใช้เป็นอาหาร ใช้เมล็ดแห้งแช่น้ำแล้วแยกเอาเฉพาะส่วนพองน้ำซึ่งมีลักษณะคล้าย
วุ้น เติมด้วยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมรับประทานเป็นของว่าง, ใช้วุ้นของเมล็ดทำน้ำสำรองพร้อมดื่มและ
สำรองผง หรือใช้ทำอาหารประเภทยำ ลาบ น้ำ พริกป่นอีสาน หรือใช้แทนสาหร่ายทำแกงจืด ทำวุ้น
รังนก และยังใช้วุ้นทดแทนบางส่วนของไขมันในหมูยอ ขนมเค้กชิฟฟอนและขนมเค้กบราวนี่ ใน
เอกสารบางเล่มยังกล่าวไว้ด้วยว่าใช้วุ้นของสำรองทำเป็นรังนกเทียม

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกต้นสำรองดังนี้ครับ.......ผมปลูกต้น
สำรองที่ได้จาก การต่อยอดและติดตาในแปลงปลูกประมาณ 150 ต้น (ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี) ปรากฏว่า ต้นที่ออก
ดอกได้เร็วที่สุดสามารถออกดอกได้ในปี ที่ 3 แต่ก็ออกดอกในจำนวนที่น้อยต้นและน้อยช่อมาก
ซึ่งเมื่อดอกบานก็ร่วงทั้งหมด (ไม่ติดผล) ในปีที่ 4 ต้นส่วนใหญ่ก็ยังไม่ออกดอก แต่ส่วนใหญ่จะ
ออกดอกในปีที่ 5-6 ซึ่งออกดอกได้ในปริมาณมาก แต่ทั้งหมดก็ร่วงหลังจากดอกบาน (ไม่ติด
ผล) หลายต้นออกดอกมาแล้ว 2 ปีก็ยังคงร่วงทั้งหมดหลังจากดอกบาน ซึ่งต่างจากไม้ผลบาง
ชนิด เช่น เงาะ ส้ม ซึ่งสามารถออกดอกได้ภายในปีที่ 3 (หากไม่ปล่อยให้ต้นแคระแกร็น) และ
สามารถติดผลจากดอก ในปีนั้นได้เลย สาเหตุที่ต้นสำรองออกดอกมาแล้ว 2 ปีแต่ยังไม่สามารถ
ติดผล ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะต้นยังอยู่ในระยะปรับเปลี่ยนจากระยะเยาว์เข้าสู่ระยะเต็มวัย แต่ยัง
ปรับเปลี่ยนได้ไม่สมบูรณ์ (แม้จะปลูกมาแล้ว 5-6 ปี) ทำให้ยังไม่สามารถที่จะติดผลได้ในปีแรก
ๆ ของการออกดอก เช่นเดียวกับต้นสำรองต่อยอดอายุ 5-6 ปีของเกษตรกร (ต่างอำเภอใน
จังหวัดจันทบุรี) ที่ออกดอกแล้ว แต่ก็ไม่ติดผลทั้ง 2 ปีเช่นเดียวกัน ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงปรับ
เปลี่ยนนี้ก็พบได้กับไม้ผลบางชนิด เช่น มะไฟและลองกอง ซึ่งในปีแรก ๆ ของการออกดอก มัก
พบช่อดอกที่ติดผลได้แต่มีผลแคระแกร็น จำนวนมาก โดยผลลองกองจะมีขนาดเล็ก เนื้อภายใน
ลีบเล็ก และอาจร่วมกับอาการเนื้อเป็นสีน้ำตาล ส่วนมะไฟจะมีแต่เปลือกผลโดยไม่มีเนื้อ ซึ่งชาว
สวน (จันทบุรีและตราด) เรียกอาการของทั้งมะไฟและลองกองนี้ว่า กะเทยหรือกำแพ้ง และเรียก
ผลลองกองนี้ว่า บัวหรือลูกบัว ส่วนผลมะไฟนี้เรียกว่า ทุยหรือแฟบ แต่ผลของทั้งมะไฟและ
ลองกองนี้ก็สามารถติดอยู่ กับช่อจนสุกแก่ได้ ตามปกติในมะพร้าวก็พบว่าในปีแรก ๆ มักมีผลที่
แสดงอาการผิดปกติปะปนอยู่มาก โดยผลอาจไม่มีน้ำ หรือมีน้ำแต่ไม่มีเนื้อ หรือมีเนื้อไม่สมบูรณ์
ซึ่งชาวสวน (จันทบุรีและตราด) เรียกว่า เดือนกิน ในทุเรียนพันธุ์หมอนทองก็พบว่าผลในปีแรกจะ
มีเปลือกหนาและทรงผลยาวกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม แม้เหตุการณ์ ดังกล่าวที่เกิดขึ้นในมะไฟ
ลองกอง มะพร้าว และในทุเรียนพันธุ์หมอนทองจะเป็นที่ทราบของเกษตรกรทั่วไป แต่เหตุการณ์
ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ผิดปกติและไม่ใช่ปัญหาของเกษตรกร เนื่องจากอาการดังกล่าวจะหาย
ไปได้เองเมื่อผ่านช่วงปีแรก ๆ ของการให้ผลนี้ไปแล้ว

นอกจากนี้ต้นกล้าสำรองที่เพาะจากเมล็ดแล้วตัดยอดเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ จะ ไม่ได้ช่วยทำให้ต้น
สำรองออกลูกเร็วขึ้น เพราะระยะเยาว์ของต้นจะยังคงอยู่ โดยกิ่งที่แตกใหม่ก็จะตั้งตรงทดแทนยอด
เดิม ที่หายไปและกลายเป็นทรงสูงชะลูดเหมือนเดิม

ข้อมูลดังกล่าวนี้คงจะเป็นประ โยชน์กับผู้สนใจได้บ้างนะครับ และหากข้อมูลนี้จะไปมีผลกระทบ
ต่อการขายต้นพันธุ์ของท่านใดเข้าบ้างก็ต้องขออภัยไว้ในโอกาสนี้ด้วย.

มาโนชญ์ กูลพฤกษี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
Nod2503@hotmail.com มือถือ 08-1982-8084.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 15/03/2010 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง'
ต้องจัดการเร่งด่วน
*

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่อง
จากสภาพอากาศแห้งแล้งทำให้เหมาะต่อการขยายพันธุ์ของศัตรูพืชชนิดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกมัน
สำปะหลังหลายพื้นที่ต้องต่อสู้อย่างหนักกับเพลี้ยแป้งที่สามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว โดย
เฉพาะการติดไปกับท่อนพันธุ์ที่ขนย้ายจากแหล่งที่มีการระบาดไปยังแหล่งปลูกอื่น อย่างไรก็ตาม
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ปลูกมันสำปะหลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึง
ทำ “โครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” เพื่อเร่งควบคุมพื้นที่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดก่อน
ที่จะแพร่ขยายเป็นวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายกระทบต่ออุตสาหกรรมมัน
สำปะหลังไทยได้ในอนาคต

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้แพร่
ระบาดรุนแรง ในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สระแก้ว
จันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อุทัยธานี
นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และ จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมพื้นที่ระบาดประมาณ 600,000 ไร่
ซึ่งคาดว่าการระบาดจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูแล้งนี้และยังคาดว่าจะทำให้ผล
ผลิตมันสำปะหลังของประเทศลดลง คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท

สำหรับ มาตรการเร่งด่วนกำจัดเพลี้ยแป้ง มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พบการระบาด
รุนแรง โดยจัดตั้ง คณะทำงานและหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง 40 หน่วย เพื่อ
จัดการรณรงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งกำจัดเพลี้ยแป้งในทุกพื้นที่พร้อมเพรียงกัน โดยมัน
สำปะหลังอายุ 1-8 เดือน รณรงค์ให้เกษตรกรตัดยอดมันสำปะหลังและฉีดพ่นสารเคมีกำจัด
เพลี้ยแป้งหลังตัดยอด ได้แก่ สารไทอะมีโทแซม 25% WP อัตราการใช้ 8 กรัม/น้ำ 80 ลิตร/
ไร่ หรือ สารไวท์ออยล์ 67% อัตราการใช้ 200 ซีซี/น้ำ 80 ลิตร/ไร่ ส่วนมันสำปะหลังช่วงระยะ
เก็บเกี่ยว คือ อายุ 8 เดือนขึ้นไป รณรงค์ให้เกษตรกรจัดการเศษซากยอด ใบ กิ่ง และต้นมัน
สำปะหลังหรือตัดยอดในกรณีที่ยังไม่เก็บเกี่ยว และฉีดพ่นสารเคมีบนท่อนพันธุ์ที่ยังเก็บรักษาไว้ใน
แปลงด้วย ซึ่งมีเป้าหมายพ่นสารเคมีในแปลงที่ระบาดรุนแรง พื้นที่ประมาณ 400,000 ไร่

นอกจากนั้น ยังมีแผนเร่งรณรงค์ส่งเสริม ให้เกษตรกร เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดและปราศจาก
เพลี้ยแป้ง หรือก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารไทอะมีโทแซม 25% WP อัตรา 4 กรัม/น้ำ
20 ลิตร เป็นเวลา 5-10 นาที ซึ่งจะสามารถป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้ประมาณ 1
เดือน พื้นที่เป้าหมายไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่

ส่วนมาตรการระยะยาว (เฝ้าระวัง) การระบาดของเพลี้ยแป้ง โครงการฯเน้น ให้มีการสำรวจติดตาม
สถานการณ์อย่าง สม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้งในพื้นที่ 45
จังหวัด ที่ปลูกมันสำปะหลัง รวม 7.7 ล้านไร่ ขณะเดียวกันยังจะเร่งถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการ
จัดการเพลี้ยแป้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารศัตรูพืช 327 คน และเกษตรกร 17,160 คน พร้อมส่ง
เสริมและสนับสนุนการผลิตและขยาย ศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง ได้แก่ แมลงช้างปีกใส
4.4 ล้านตัว และ แตนเบียน (Anagyrus lopezi) จำนวน 2.7 ล้านตัว ปล่อยในพื้นที่ที่มีการ
ระบาด

อีกทั้งยัง จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 572 ศูนย์ เพื่อจัดทำแปลงสำรวจสถานการณ์
เพลี้ยแป้งในพื้นที่ ศูนย์ละ 1 แปลง ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของเกษตรกรข้างเคียง
ศูนย์ฯ และยังส่งเสริมให้ศูนย์ฯ ผลิตและขยายศัตรูธรรมชาติให้เพียงพอที่จะควบคุมเพลี้ยแป้งใน
พื้นที่ระบาด ที่สำคัญได้เน้นให้เกษตรกรตรวจสอบท่อนพันธุ์ที่มีการเคลื่อนย้าย โดยชุมชน รวมทั้ง
ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีตามคำแนะนำและยึดหลักวิชาการ ซึ่งคาดว่าทั้ง 2
มาตรการจะสามารถช่วยควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งในแหล่งปลูกมัน
สำปะหลัง 45 จังหวัด พื้นที่ 7.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดความเสียหายของผลผลิตมันสำปะหลังของ
เกษตรกร คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สามารถขอคำปรึกษาได้
ที่ หน่วยปฏิบัติการพิเศษกำจัดเพลี้ยแป้ง หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด
และศูนย์บริหารศัตรูพืช (ใกล้บ้าน).


ที่มา : เดลินิวส์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 9:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


คณะเกษตร กำแพงแสน กับ เทคนิคการผลิตใบและผลมะกรูดเชิงการค้า
*

มะกรูด จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดทรงพุ่มกว้าง 2-3 เมตร สูง 4-5 เมตร ใบเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะเป็น 2 ส่วน คือส่วนแผ่นใบและส่วนก้านใบที่มีปีกที่ขยายออกจนมีขนาดเกือบเท่ากับแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายกับมีใบ 2 ใบ ต่อเชื่อมกันอยู่ ผลมีรูปร่างแบบผลสาลี่ มีจุก เปลือกผลมีลักษณะขรุขระเป็นลูกคลื่น ทั้งส่วนใบ ดอก และผล จะมีต่อมน้ำมันจำนวนมากที่ให้น้ำมันหอมระเหยอยู่หลายชนิด จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ของอินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย คาบสมุทรมลายู และฟิลิปปินส์ เป็นต้น มะกรูด มีชื่อเรียกอื่นๆ ในประเทศไทยอีกจำนวนมากของแต่ละพื้นที่ เช่น มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด ส้มมั่วผี ฯลฯ

ด้วยเมนูอาหาร "ต้มยำกุ้ง" ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเมนูระดับนานาชาติแล้วนั้น ทำให้ความต้องการของชุดต้มยำ ซึ่งมีใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบที่มีคุณภาพ ทั้งขนาด สี และปราศจากศัตรูพืชเข้าทำลายเพิ่มสูงมากขึ้น นอกจากนี้ ส่วนของผลมะกรูดได้มีการนำมาใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในเครื่องสำอางก็มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นมะกรูดที่ปลูกตามธรรมชาติหรือตามสวนทั่วไปมักมีการออกดอกเป็นฤดูกาล ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงเป็นผลพลอยได้มากกว่าการผลิตเพื่อเอาส่วนของผลโดยตรง

เทคนิคการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า :
รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ได้บอกว่า การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า จึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ รวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. พื้นที่ สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป

2. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก เนื่องจากระยะปลูกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

3. กิ่งพันธุ์ สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ กิ่งที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีการเติบโตที่ช้ากว่าในช่วงระยะแรก อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเกอร์ส้ม ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุของข้อจำกัดหลักที่ทำให้ไม่สามารถส่งใบมะกรูดไปยังกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศได้ หากแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้ ดังนั้น จึงควรป้องกันมิให้โรคนี้เข้าไปตั้งแต่เริ่มแรกกับต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูก โดยใช้วิธีการคัดเลือกกิ่ง และตัดแต่งกิ่ง/ใบ ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นนำไปแช่ในสารปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 500 ppm เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก

4. อายุที่เริ่มให้ผลผลิต สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน หากมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ก็จะสามารถอยู่ได้หลายปี

ต้นทุนในการผลิตมะกรูดเพื่อตัดใบภาคเกษตรกร :
ปัจจุบัน มีเกษตรกรปลูกมะกรูดในระบบชิด คือใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ราคากิ่งพันธุ์มะกรูดเสียบยอด ราคาต้นละ 25 บาท พื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นค่ากิ่งพันธุ์ 10,000 บาท เมื่อคิดรวมค่าปุ๋ย ค่าสารปราบศัตรูพืช ค่าระบบน้ำ และค่าจัดการอื่นๆ อีกประมาณไร่ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินลงทุนในปีแรกประมาณ 15,000 บาท ต่อไร่ ต้นมะกรูดจะเริ่มตัดใบขายได้ในเชิงพาณิชย์เมื่อต้นมีอายุเข้าปีที่ 3 และจะตัดขายได้ปีละ 4 รุ่น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ต้นมะกรูดที่มีการดูแลรักษาที่ดีพอประมาณจะมีอายุได้ยืนยาวกว่า 10 ปี



เทคนิคและเทคโนโลยีในการผลิตใบมะกรูดในแปลงปลูกมะกรูด :
อาจารย์รวี บอกว่า เทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติคคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นด้วย หากมีการใช้ผ้าพลาสติคคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติคแล้ว ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่างๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5:1:3 หรือ 5:1:4 หรือใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอื่นๆ ก็จำเป็นต้องเสริมให้ไปเป็นระยะด้วย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช นอกจากโรคแคงเกอร์แล้ว มักไม่พบโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแรงแต่อย่างใด การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดเมื่อปลูกไป ประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้

1. กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่

2. ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตตายืดเวลาออกไป

3. ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร



มะกรูดที่ปลูกในบ้านเราแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก :
สายพันธุ์มะกรูดที่ปลูกอยู่ในบ้านเราในขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือสายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบ และผลมีขนาดเล็ก อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่ และติดผลเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูด และมีใบขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียดปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาหารท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้อาการจุกเสียด

หลายคนคิดเพียงว่า "มะกรูด" เป็นไม้ยืนต้นสวนครัวเพื่อนำใบและผลมาใช้ประกอบเพื่อเป็นเครื่องแกงชนิดต่างๆ หรือใช้ปรุงแต่งรสชาติของอาหารเท่านั้น ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกมะกรูดเพื่อผลิตใบและผลส่งขายโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหย สร้างรายได้ดีไม่แพ้เกษตรกรรมประเภทอื่น ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกมะกรูดเพียงครอบครัวละ 1-3 ไร่เท่านั้น ผลิตใบขายได้กิโลกรัมละ 7 บาท (ขายใบพร้อมกิ่ง โดยตัดที่ความยาว 50 เซนติเมตร-1 เมตร)



เทคนิคการผลิตผลมะกรูดเชิงการค้า :
ถึงแม้ว่าส่วนของผลมะกรูดมีส่วนประกอบที่ไม่ชวนให้บริโภค เนื่องจากมีรสเปรี้ยว รสขมและขื่นแล้ว ยังมีสารน้ำมันที่ก่อให้เกิดอาการเผ็ดร้อนด้วย อย่างไรก็ตาม จากการที่ส่วนใบและผิวผลมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่สูงนี่เอง จึงได้มีการนำทั้งสองส่วนนี้มาใช้ทั้งในรูปที่เป็นเครื่องเทศ และสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นต้นมา โดยใช้ในการประกอบอาหารและสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ไอ เจ็บคอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องสำอาง ทำแชมพูแก้รังแคแล้วยังมีคุณสมบัติออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลงกำจัดเหาบนศีรษะได้ หรือใช้เป็นสารดับกลิ่นในห้องน้ำเหล่านี้ เป็นต้น

สำหรับการผลิตผลมะกรูดนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการในด้านสรีรวิทยาของการออกดอก จึงมีผลตรงข้ามกับการผลิตใบโดยสิ้นเชิง มีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติในหลายส่วนที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเตรียมพื้นที่ ต้นพันธุ์ และระบบน้ำ เป็นต้น สำหรับส่วนที่ต่างกันนั้นมีด้านต่างๆ ดังนี้

1. ระยะปลูก ระยะห่างระหว่างต้นต้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร ในแถวเดี่ยว โดยอาจใช้ระยะ 1x1.5 เมตร (ปลูกได้ 1,067 ต้น ต่อไร่) หรือระยะ 1.5x2 เมตร (ปลูกได้ 533 ต้น ต่อไร่) กิ่งที่ตัดแต่งออกอาจใช้เพื่อการผลิตใบได้บ้าง เหตุผลที่ต้องใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่า เพราะกิ่งที่จะออกดอกได้ดีต้องเป็นกิ่งในแนวมุมกว้าง หรือเกือบขนานกับพื้น

2. การบังคับการออกดอก หากปลูกให้ออกดอกตามธรรมชาติแล้ว ก็จะได้ดอกในช่วงฤดูหนาว อายุผลยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าจะใกล้เคียงกับมะนาว คือจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพาโคลบิวทราโซล ร่วมกับการตัดปลายยอดพบว่าสามารถชักนำให้ต้นมะกรูดมีการออกดอกได้ดีมาก โดยต้นมะกรูดเริ่มออกดอกภายหลังการตัดยอด ประมาณ 90 วัน และมีดอกมากที่สุดในช่วงระหว่าง 100-120 วัน

จากผลการศึกษาทั้งในด้านการผลิตใบและการผลิตผลมะกรูดที่ผ่านมานั้น ควรจะแยกแปลงปลูกออกจากกัน ทั้งนี้ เพราะสรีรวิทยาของสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงระยะปลูก การจัดการด้านการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปด้วย



หนังสือ "อาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม เล่ม 4" พิมพ์ 4 สี แจกฟรี พร้อมกับ "ไม้ผลแปลกและหายาก" รวม 124 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ มูลค่ารวม 50 บาท (ระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 9:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวลูกผสมน้ำหอม-พวงร้อย "รบ.3" น้ำหอมหวาน
ผศ.ประสงค์ ทองยงค์...ภูมิใจนำเสนอ
*

จริงๆ แล้ว อาจารย์ประสงค์ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสงค์ ทองยงค์ มีบ้านพักอยู่กรุงเทพฯ แต่อาจารย์ประสงค์ทำสวนมะพร้าวน้ำหอมอยู่ที่อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี บนพื้นที่ 55 ไร่ ทั้งนี้เพราะอาจารย์ประสงค์เป็นคนดั้งเดิมที่นั่น การนัดหมายเพื่อพูดคุยจึงต้องมีความชัดเจน

"เวลาแปดโมงครึ่ง ผมรออยู่ที่อุโมงค์รถไฟนะ แล้วเจอกัน" อาจารย์ประสงค์ นัดทางโทรศัพท์

อาจารย์ประสงค์ วัย 73 ปี แต่ยังดูแข็งแรง อาจารย์ประสงค์ออกจากบ้านที่บางกะปิ นั่งเรือไปตามคลองแสนแสบ ไปต่อรถเมล์ที่ผ่านฟ้า ไปขึ้นรถทัวร์ที่สายใต้ ใช้เวลาไม่นานนักก็ถึงราชบุรี

"ผมมารถทัวร์ เลิกขับรถทางไกลเมื่ออายุ 65 ปี" อาจารย์ประสงค์บอก พร้อมกับนำทางไปยังบ้านดั้งเดิม ถนนที่ไปยังวัดเพลง คู่ขนานไปกับแม่น้ำอ้อม

เมื่อถึงปากทางก่อนเข้าบ้าน อาจารย์ประสงค์ให้รถของทีมเทคโนฯ ไปจอดรออยู่ที่บ้านก่อน ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำอ้อม เจ้าถิ่นชวนให้เดินจากหน้าสวนซึ่งเป็นถนนใหญ่ พร้อมกับชวนให้ดูป่ามะพร้าว และพืชที่ปลูกผสมผสาน พืชหลักมี มะพร้าวแกง ที่เสริมเข้ามามีลิ้นจี่ กล้วย ส้มโอ ก่อนที่จะไปพูดคุยบนเรือนไทยประยุกต์สุดสวย เจ้าของท้องที่พาไปดูมะปรางหวานอายุกว่า 100 ปี ละมุดสีดาอายุกว่า 100 ปี

"ยายชวดปลูกไว้" อาจารย์ประสงค์บอก

สวนอายุเกือบ 200 ปี......สืบทอดมา 3 ชั่วอายุคน
อาจารย์ประสงค์ เกิดที่บ้านเลขที่ 39/1 หมู่ที่ 1 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี อาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษคือ ทำนา ทำสวนมะพร้าวแกง

"อยู่ที่นี่เลย ยังชีพด้วยการทำนา ทำสวน นาอยู่หลังบ้าน สวนมีมะพร้าวเป็นหลัก ลิ้นจี่และส้มโอมาทีหลัง ตั้งแต่เล็กจนโต ยังชีพด้วยมะพร้าว ชาวสวนที่นี่ ปลูกครั้งแรกต้นไม่สูงทำตาลกัน เมื่อต้นสูงขึ้นก็เก็บผลผลิตจำหน่าย สมัยก่อน มะพร้าวผลละ 3 บาท ผมว่าราคาดีนะ 60 ปีที่แล้ว มะพร้าวถือว่าเป็นสินค้าสำคัญ ครอบครัวมีพี่น้อง 9 คน ปัจจุบันเหลือ 4 คน แม่น้ำตรงนี้เรียกว่าแม่น้ำอ้อม เป็นแม่น้ำที่มาจากน้ำแม่กลองที่ตัวเมืองราชบุรี ไปโผล่ออกที่อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม" อาจารย์ประสงค์เล่า

อาจารย์ประสงค์เล่าว่า คุณพ่อของอาจารย์ชื่อ ชั้ว บ้านอยู่สมุทรสงคราม มีอาชีพเป็นชาวประมงมาก่อน ส่วนคุณแม่ชื่อ ฮวย เป็นคนท้องถิ่นวัดเพลง มีฝีมือทำขนมไทย

"คุณยายชื่อ ไล้ สุคนธมาน เป็นคนมีที่ดินค่อนข้างมาก อาชีพคุณแม่ทำสวน ปลูกพลู เอาไปจำหน่าย คุณพ่อเป็นชาวประมงแม่กลอง เอาปลาทะเลมาแปรรูปขาย เมื่อก่อนไม่ได้ซื้อขายเป็นเงินสด แต่นำไปแลกข้าวมาใส่ยุ้งฉางไว้ ไกลออกจากนี่ไปพอสมควร มีชุมชนที่มาจากเขมร สมัยรัชกาลที่ 1 ทำนา เขาจะนำข้าวเปลือกบรรทุกเกวียนมาแลกกับอาหารการกิน คุณพ่อคุณแม่ก็เก็บไว้ ขายไปบ้าง" อาจารย์ประสงค์ เล่า

สวนมะพร้าวที่มีอยู่ ได้รับการบอกเล่าว่า บรรพบุรุษแบ่งให้ลูกๆ หลานๆ ซึ่งไม่ได้ขายเปลี่ยนมือ แต่สืบทอดกันมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว พืชพรรณในยุคเก่าก่อนที่ยังหลงเหลืออยู่ คือมะปรางหวาน ละมุดสีดา ส่วนมะพร้าวก็ปลูกทดแทนไปเรื่อยๆ อาจารย์ประสงค์ได้ที่ดินมรดก 2 ไร่ ริมแม่น้ำอ้อม ส่วนแปลงปลูกมะพร้าว 55 ไร่ อาจารย์ประสงค์บอกว่า เก็บออมจากอาชีพราชการ ซื้อที่ในกรุงเทพฯ จากนั้นขายต่อ พอมีกำไร จึงซื้อที่แปลงใหญ่ที่ต่างจังหวัดได้

อาจารย์ประสงค์บอกว่า ตนเองแต่งงานตอนอายุ 31 ปี ไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร จึงทำงานเก็บเงิน ส่วนหนึ่งส่งหลานเรียนจบปริญญาตรี 2 คน จนกระทั่งอาจารย์อายุได้ 55 ปี ภรรยาอายุ ได้ 42 ปี จึงมีบุตรชาย 1 คน ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

เรื่องการศึกษา อาจารย์เรียนจบปริญญาตรี ที่ประสานมิตร จากนั้นรับราชการครูอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากว่า 40 ปี

คนที่อายุ 73 ปี และเป็นคนชนบท ได้เรียนจบปริญญาตรีสมัยก่อนไม่ธรรมดา เรื่องนี้อาจารย์ประสงค์เล่าว่า คุณย่าของอาจารย์ มีน้องชายได้เรียนหนังสือ ได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าเมืองชื่อ หลวงวุธ จึงให้พี่สาวคนโตไปอยู่บ้านหลวงวุธ จากนั้นเรียนหนังสือจบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วได้ทุนโคลัมโบไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย ปัจจุบันพี่สาวคนโตของอาจารย์อายุ 83 ปี

"ผมเองหากพี่สาวไม่ได้เรียนหนังสือ พวกผมคงไม่ได้เรียน ใจผมอยากเล่าเรียนหนังสือ แต่ก่อนที่จะออกจากบ้าน เป็นเรื่องเศร้ามาก ผมห่วงเป็ด ห่วงไก่ ห่วงเตาตาล" อาจารย์ประสงค์บอก

สนใจงานเกษตรมานาน.....เพราะพื้นฐานเดิมก็เกษตร

อาจารย์ประสงค์ เล่าว่า ตนเองออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ เมื่อทำงานก็กลับมาเยี่ยมบ้านอยู่เป็นประจำ ระยะเวลาที่ผ่านมา อาจารย์ประสงค์บอกว่า สภาพพื้นที่ไม่เปลี่ยนไปนัก สิ่งก่อสร้างบ้านเรือนไม่เปลี่ยน แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เมื่อก่อนจะทำอาหาร ต้มน้ำไว้แล้วลงไปงมปลาในแม่น้ำ มาทำกินได้เลย ปัจจุบันหายาก ส่วนการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ มีราว 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เช่น การสัญจรไป-มา

อาจารย์ประสงค์มีความผูกพันกับมะพร้าว ทั้งนี้เพราะมะพร้าวเป็นพืชที่ส่งให้อาจารย์ประสงค์ได้เรียนหนังสือ ยุคก่อนโน้น ใครมีมะพร้าว 20 ไร่ ถือว่าเป็นผู้มีอันจะกิน

"มะพร้าวที่ปลูก เมื่อต้นต่ำๆ ทำน้ำตาลกัน เมื่อต้นสูงเก็บผลผลิตขาย ถึงช่วงเก็บ คุณยายจะให้หลานๆ ที่อยู่กรุงเทพฯ มาช่วยกัน เมื่อขายได้เงินก็ได้รับส่วนแบ่งไปเรียนหนังสือ ผมนึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษตรงนี้ จึงสนใจมะพร้าว จริงๆ แล้วผมสนใจงานเกษตรมาตั้งแต่อายุได้ 23 ปี ผมทำมะพร้าวจริงจังมา 33 ปีแล้ว เป็นมะพร้าวน้ำหอม ทั้งนี้เพราะพบมะพร้าวน้ำหอมผลใหญ่ ที่เป็นพืชพรรณดีของท้องถิ่น" อาจารย์ประสงค์ ให้ข้อมูล

รบ.1 พืชพรรณล้ำค่า.....ตามด้วย รบ.2

งานปลูกมะพร้าวของอาจารย์ประสงค์ เริ่มจริงจังโดยซื้อมะพร้าวน้ำหอม จากฟาร์มอ่างทองมาปลูกจำนวน 40 ต้น โดยผสมผสานกับมะพร้าวหมูสีในท้องถิ่น ต่อมาได้มีการเก็บพันธุ์มะพร้าวจากต้นน้ำหอมไปเพาะ เพื่อขยายพันธุ์ต่อ ปรากฏว่า พบลักษณะของมะพร้าวที่เปลี่ยนไป อาจารย์ประสงค์เฝ้าสังเกตมะพร้าวที่ได้อยู่นาน จนสุดท้ายพบว่า มะพร้าวต้นใหม่ มีลักษณะนิ่ง มีความโดดเด่น จึงขยายปลูกเต็มที่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 1,250 ต้น อาจารย์ประสงค์ตั้งชื่อมะพร้าวที่ได้ว่า "รบ.1" คือ "ราชบุรี 1" นั่นเอง

จุดเด่นของมะพร้าวพันธุ์ รบ.1 คือต้นเตี้ยเหมือนมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป ต้นมีขนาดใหญ่คล้ายหมูสี ผลมีขนาดใหญ่กว่ามะพร้าวน้ำหอม รสชาติและกลิ่นเหมือนมะพร้าวน้ำหอม จุดเด่นอย่างหนึ่งที่พบอยู่ มีนิสัยออกผลอย่างต่อเนื่องแทบไม่ขาดคอ เป็นนิสัยของมะพร้าวหมูสี

หากเป็นมะพร้าวน้ำหอมทั่วไปมักขาดคอเป็นบางช่วง
มะพร้าว รบ.1 ให้ผลผลิต 10-12 ทะลาย ต่อต้น ต่อปี แต่ละทะลายผลผลิตเฉลี่ย 10-12 ผล การจำหน่ายมะพร้าวในยุคเริ่มแรก อาจารย์ประสงค์บอกว่า ราคาผลละ 2 บาท ปัจจุบันผลละ 5 บาท

สำหรับมะพร้าว รบ.2 หรือราชบุรี 2 เป็นมะพร้าวหมูสีกลายพันธุ์ ลักษณะต้นเตี้ย คุณสมบัติทั่วไปคล้ายหมูสี แต่โดดเด่นกว่า

รบ.3 พืชพรรณล้ำค่า.....ท้องถิ่นแถบวัดเพลง เป็นแหล่งพันธุกรรมมะพร้าวที่สำคัญไม่น้อย รวมไปถึงมะแพร้ว .....แต่หากเป็นมะพร้าวน้ำหอมแล้ว ถือว่า อาจารย์ประสงค์เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญ เพราะเวลาผ่านมา 33 ปีแล้ว

ที่วัดเพลง และบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่บางคนที สมุทรสงคราม มีมะพร้าวพวงร้อย บางช่วงติดผลทะลายหนึ่งมากกว่า 100 ผล ลักษณะของมะพร้าวพันธุ์นี้ ต้นสูง มีเลือดมะพร้าวป่ามาก มะพร้าวพวงร้อยในรอบปีหนึ่ง จะมี 10-12 ทะลาย เหมือนมะพร้าวอื่น คือ 10-12 ทะลาย ต่อต้น ต่อปี แต่ทะลายจะดกมากเป็น 80-100 ผล ราว 3-4 เดือนเท่านั้น นั่นย่อมหมายถึงมีผลดกในรอบปี 3-4 เดือน.....เพราะอยู่ในวงการมะพร้าวมานาน อาจารย์ประสงค์พบว่า ใกล้ๆ บ้าน มีมะพร้าวลูกผสม เข้าใจว่า เป็นลูกผสมระหว่างมะพร้าวพวงร้อยกับมะพร้าวน้ำหอม จึงไปนำมาปลูก โดยเปรียบเทียบกับของตนเองและของหลาน ปรากฏว่า พบลักษณะที่โดดเด่นอย่างมาก เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดราชบุรี อาจารย์จึงขอตั้งชื่อว่า "รบ.3" หรือราชบุรี 3 นั่นเอง

มะพร้าวลูกผสมพวงร้อยกับมะพร้าวน้ำหอม มีคุณสมบัติอย่างไร

อาจารย์ประสงค์อธิบายว่า มะพร้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่ ผลดก เคยเก็บได้ 30 ทะลาย ต่อผล ขนาดของผลใหญ่กว่ามะพร้าวพวงร้อย .....หากการติดผลไม่มากนัก ผลมีขนาดเท่ามะพร้าวน้ำหอม สิ่งที่พิเศษสุดนั้น น้ำของมะพร้าวรสชาติหวานมาก มีกลิ่นหอม ต้นไม่สูง ซึ่งได้คุณสมบัตินี้มาจากมะพร้าวน้ำหอม

ปกติหากเป็นมะพร้าวพวงร้อยทั่วไปต้นจะสูง......ความดกของมะพร้าวลูกผสมพวงร้อย คล้ายมะพร้าวพวงร้อยเดิม คือดกเป็นบางช่วง แต่โดยทั่วไปแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้

พื้นที่ปลูกมะพร้าวของอาจารย์ประสงค์มี 2 แปลง แปลงแรก 30 ไร่ แปลงที่สอง จำนวน 25 ไร่ อาจารย์ประสงค์ได้พาไปพิสูจน์มะพร้าวลูกผสมพวงร้อย หรือ รบ.3 ที่แปลงแรก ซึ่งปลูกไว้ 4 ทิศของสวน

"ต้องชิมให้ครบ 4 ทิศ" อาจารย์ประสงค์บอก

มะพร้าวที่อาจารย์ประสงค์ปลูกไว้กว่า 1,000 ต้น มีกระรอกรบกวนบ้าง เหมือนสวนเกษตรกรทั่วๆ ไป แต่มีมะพร้าว รบ.3 อยู่ต้นหนึ่ง มีกระรอกรบกวนอยู่เป็นประจำ แรกๆ เจ้าของก็สงสัย ว่าทำไมต้นนี้ถูกกระรอกเจาะไม่ขาด หลังๆ หลานของอาจารย์ประสงค์ไขข้อสงสัยว่า มะพร้าว รบ.3 ต้นนั้น อร่อยเป็นพิเศษ

หลานของอาจารย์ประสงค์ได้เฉาะมะพร้าว รบ.3 ต้นที่กระรอกชอบให้ชิมดู เพียงแต่ยกมะพร้าวขึ้นจ่อที่ปาก กลิ่นหอมปะทะจมูก จนต้องหายใจเข้าลึกๆ เมื่อกลืนน้ำมะพร้าวลงคอ น้ำมะพร้าวมีความหวานเป็นพิเศษ ซึ่งนานๆ 5-10 ปี จะพบครั้งหนึ่ง

ชิมทิศแรกผ่านไปแล้ว อาจารย์ประสงค์ได้พาไปชิมอีก 3 ทิศ รวมทั้งต้องชิมมะพร้าวน้ำหอม รบ.1 อีก สรุปแล้ว ชิมไป 6 ผลด้วยกัน ชิมเฉพาะน้ำ ส่วนเนื้อทดลองดูนิดหน่อย ซึ่งอร่อยมาก เรื่องชิมเรื่องกินนี่ไม่ปฏิเสธแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว

หลังชิมมะพร้าว อาจารย์ประสงค์ยังพาไปรับประทานอาหารเที่ยงที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี ปลาช่อนทอด และต้มยำอร่อยมาก รับประทานเข้าไปเต็มที่ เพราะมะพร้าวและอาหารมื้อเที่ยง เมื่อกลับถึงบ้าน ไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารเย็นได้เลย

ร่องกั๊บ.....ภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น

ระบบปลูกมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง เป็นระบบยกร่อง คือมีสันร่อง ปลูกมะพร้าวตรงกลาง ระหว่างสันร่อง มีร่องน้ำ.....ร่องน้ำมีไว้เพื่อใช้เรือรดน้ำ หรือลากเรือเข้าไปเก็บผลผลิต

อาจารย์ประสงค์เล่าว่า เมื่อเกษตรกรปลูกมะพร้าวได้ 2-3 ปี ก็จะเริ่มทำ "ร่องกั๊บ" การทำร่องกั๊บนั้น เกษตรกรจะนำทาง (ใบ) มะพร้าว ผลมะพร้าวที่เน่าเสีย รวมทั้งปุ๋ยคอกมาใส่ที่ร่องกั๊บ เพื่อให้เน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย ปีแรกที่ทำร่องกั๊บ วัสดุต่างๆ อาจจะไม่มาก เมื่อหลายปีไปแล้วร่องก็จะเต็ม เป็นผืนเดียวกัน ร่องกั๊บที่ทำ เกษตรกรจะทำร่องเว้นร่อง ดังนั้น เรือรดน้ำ รวมทั้งเรือเก็บผลผลิต จะยังคงทำงานได้ตามปกติ

อาจารย์ประสงค์บอกว่า ประโยชน์ของร่องกั๊บ ช่วยให้เกษตรกรใช้วัสดุที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ อย่างทางมะพร้าวแทนที่จะทิ้ง เมื่อนำวางไว้ที่ร่องก็กลายเป็นอินทรียวัตถุได้อย่างดี เมื่อวัสดุที่เหลือใช้ถูกทิ้งเป็นที่เป็นทาง สวนก็สะอาด ลดการระบาดของโรคและแมลงได้

ในวัย 73 ปี อาจารย์ประสงค์ยังแข็งแรง...... "ผมเดิมเป็นเกษตรกร มาทำเกษตรกรได้ยืดเส้นยืดสาย ช่วงเรียนเป็นนักกีฬา สอนอยู่เป็นโค้ชกรีฑา เริ่มวิ่งมาตั้งแต่สมัยเด็ก เขาเรียกวิ่งวัว เข้าแถวที่แปลงนา ใช้เชือกมัดไว้ เมื่อได้สัญญาณกรรมการตัดเชือก ก็ออกวิ่ง ระยะทาง 50-100 เมตร ตอนวิ่งวัวยืนดูอยู่ สวนผมนี่ไม่ได้จ้างประจำ แต่เหมาให้ญาติมาช่วย ผมมาสวนอย่างต่ำอาทิตย์ละครั้ง ผมผลิตแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีนานแล้ว เน้นขี้หมู สารเคมีก็ไม่ใช้ เมื่อเข้าสวนแต่ละครั้งต้องดูแลอย่างน้อย 1 ร่อง ผมกับภรรยายช่วยกัน เพราะปลูกมะพร้าวใกล้นาชาวบ้าน มีหนอนม้วนใบ ต้นเล็กๆ ผมใช้น้ำฉีดเอา หรือเดินเก็บ ต้นใหญ่ไม่ได้ใช้สารอะไร" อาจารย์ประสงค์บอก

มะพร้าวน้ำหอมปลูกเป็นการค้าอยู่ได้......อาจารย์ประสงค์ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะพร้าวได้ 25 ต้น ผลผลิตมะพร้าวที่เก็บได้ 10 ผล ต่อต้น ต่อเดือน พื้นที่ 1 ไร่ จึงเก็บมะพร้าวได้ 250 ผล ต่อไร่ ต่อเดือน หากจำหน่ายได้ผลละ 4 บาท จะมีรายได้ 1,000 บาท ต่อไร่ ต่อเดือน ถ้าพื้นที่ 55 ไร่ อย่างของอาจารย์ประสงค์ จะมีรายได้ 55,000 บาท ต่อไร่ ต่อเดือน

ต้นทุนการผลิตนั้น :
ปีหนึ่งเสียค่ากำจัดวัชพืช 5,000 บาท
ค่าปุ๋ยคอกและค่าใส่ปุ๋ย 45,000 บาท ต่อปี
ค่าลอกเลน 10,000 บาท (4-5 ปี ลอกครั้งหนึ่ง โดยใช้รถ ครั้งละ 50,000 บาท)

ต้นทุนการผลิตของอาจารย์ประสงค์แต่ละปี ไม่น่าจะเกิน 100,000 บาท เมื่อหักต้นทุนแล้ว งานปลูกมะพร้าวยังมีกำไร

อาจารย์ประสงค์บอกว่า สำหรับผู้ที่อยากปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นการค้า ต้องดูสภาพพื้นที่ก่อน ที่ลุ่มภาคกลางได้เปรียบ โดยเฉพาะจังหวัดนครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร

"เคยมีผู้ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกที่นครสวรรค์ ริมบึงบอระเพ็ดได้ผล ผมไปซื้อที่ไว้ที่อำเภอผาขาว จังหวัดเลย 60 ไร่ นำมะพร้าวไปปลูก ตรงนั้นมีสระน้ำ ได้ผล ตอนนี้ขายไปหลายปีแล้ว เทียวไปเทียวมาลำบาก อยู่ไกล บริเวณที่มีแหล่งน้ำ มีดินทับถม มีโพแทสเซียมสูง ผมว่าได้ผล อย่างเขตนี้ สำหรับผู้ที่อยากปลูกมะพร้าวไว้กินผล ควรมีพื้นที่พอสมควร ใบมะพร้าวแผ่ออกข้างละ 4 เมตร ต้องคำนวณอย่าให้รบกวนเพื่อนบ้าน และควรปลูกทิศตะวันออก ให้ได้รับแสงเต็มที่" อาจารย์ประสงค์แนะนำ

เรื่องราวงานปลูกมะพร้าวของอาจารย์ประสงค์น่าสนใจไม่น้อย ถามไถ่กันได้ที่ โทร. (02) 378-2620 และ (081) 836-6228

ในงานสัมมนา มหัศจรรย์...มะพร้าวไทย "พบความหลากหลายของมะพร้าว พืชที่รับใช้คนไทยมานาน" ซึ่งจะจัดขึ้นที่สำนักงาน หนังสือพิมพ์ข่าวสด ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 นี้ อาจารย์ประสงค์ จะมาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ในฐานะที่เป็นผู้ปลูกมายาวนาน 33 ปี

พร้อมกับนำพันธุ์มะพร้าวมาโชว์ดังนี้ คือ มะพร้าวน้ำหอม รบ.1, มะพร้าว รบ.2, มะพร้าวน้ำหอมพวงร้อยพันธุ์แท้, มะพร้าวน้ำหอมพวงร้อยลูกผสม (รบ.3), มะพร้าวใหญ่ต้นสูงสีเขียว, มะพร้าวใหญ่ต้นสูงสีเหลือง, มะพร้าวใหญ่ต้นสูงสีแดง และมะแพร้ว รวมแล้วไม่น้อยกว่า 8 ตัวอย่าง จากวัดเพลง

นอกจากฟังอาจารย์ประสงค์บรรยายแล้ว สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนตัวต่อตัวได้ เมื่อมีเวลาว่าง


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 7:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


แผนปฏิบัติการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน (SALB) ของยางพารา ในประเทศไทย


โรคยางพารา ที่พบระบาดโดยทั่วไป มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปตามแหล่งปลูกยาง สภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงพันธุ์ยางที่ใช้ปลูก โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระยะการเจริญเติบโต และทุกส่วนของต้นยาง มีผลให้ต้นยางตาย หรือชะงักการเจริญเติบโต และผลผลิตลดลง

สำหรับโรคยางพาราที่สำคัญและพบในประเทศไทยซึ่งเกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคใบร่วงและฝักเน่า ที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า โรคใบจุด โรคเส้นดำ และโรคราก แมลงศัตรูบางชนิด ได้แก่ ปลวก หนอนทราย ตัวตุ่น และอาการผิดปกติจากการเกิดอาการเปลือกแห้ง เป็นต้น ซึ่งอาการผิดปกติของต้นยางจากสาเหตุดังกล่าว สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่ระบาดและป้องกันกำจัดมิให้เกิดความเสียหายในระดับเศรษฐกิจได้ แต่ยังมีโรคยางพาราที่สำคัญและร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง ที่อาจมีโอกาสแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยได้หากไม่มีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีการปลูกยางพารากันทั่วทุกภาคของประเทศ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่เข้มงวด ก็อาจส่งผลเสียหายในระดับเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมยางธรรมชาติของประเทศ นั่นคือ โรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน (South American Leaf Blight) หรือ SALB ซึ่งระบาดรุนแรง และทำความเสียหายแก่สวนยางพาราในประเทศแถบละตินอเมริกาเขตร้อนของทวีปอเมริกา (Tropical Latin American Countries) ได้แก่ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ เอกวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กายอานา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส เม็กซิโก นิการากัว ปานามา เปรู ซูรินาเม ตรินิแดดและโตเบโก และเวเนซุเอลา และยังไม่สามารถหามาตรการในการป้องกันกำจัดโรคดังกล่าวให้หมดสิ้นได้ ปัจจุบันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันของยางพารายังไม่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรมีมาตรการและแผนปฏิบัติการป้องกันอย่างเข้มงวด

คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งเดียวกันกับประเทศแถบละตินอเมริกา ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน และมีภูมิอากาศที่คล้ายกัน ดังนั้น โรคใบไหม้ลาตินอเมริกันจึงมีโอกาสแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยได้ หากไม่มีมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการกักพืช ซึ่งปัจจุบัน คือ "พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551" อันมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันโรคและศัตรูพืชร้ายแรงระบาดจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศ จึงเป็นความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตรในการดำเนินการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันมิให้แพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย โดยอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำมาตรการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันของยางพาราในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นมาตรการรองรับ โดยกำหนดเป็นขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดให้พืชสกุล Hevea spp. และพาหะ ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อน ยางเน่า และขี้ยางจากทุกแหล่ง เป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช

2. ในกรณีที่มีสายการบินที่บินตรงจากประเทศที่มีโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันระบาด เพื่อป้องกันโรคมิให้แพร่ระบาดเข้ามาทำความเสียหายต่อการปลูกยางพาราในประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร จึงกำหนดมาตรการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน ดังต่อไปนี้

2.1 ให้สายการบินที่บินตรงจากประเทศที่มีโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันระบาด ยื่นใบแสดงจำนวนผู้โดยสารและใบแสดงรายการสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืช ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

2.2 ให้ผู้โดยสารที่มากับสายการบินดังกล่าว กรอกแบบฟอร์มกักกันพืช (พ.ก. 11) และยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืช ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

2.3 ให้สายการบินดังกล่าวแยกกระเป๋าเดินทางและสัมภาระ หีบห่อของผู้โดยสารที่มาจากแหล่งระบาดโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันจากผู้โดยสารอื่น

2.4 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบการปนเปื้อนของสปอร์ของเชื้อโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันบนเครื่องบินจากเบาะนั่ง พนักพิงศีรษะ ที่วางเท้าและพื้นทางเดิน รวมทั้งกระเป๋าเดินทาง สัมภาระ และภาชนะบรรจุสินค้า

2.5 พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำจัดเชื้อซึ่งอาจปนเปื้อน โดยฉีดน้ำสบู่รอบนอกกระเป๋าเดินทาง สัมภาระ และภาชนะบรรจุสินค้า และกำจัดเชื้อซึ่งอาจปนเปื้อนมากับเสื้อผ้า และสัมภาระของผู้ที่เดินทางเข้าไปในสวนยางพาราในช่วง 7 วัน ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยด้วยแสงอัลตราไวโอเลตนาน 15 นาที

2.6 ในกรณีตรวจพบเชื้อโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันจะต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทันที เพื่อกำหนดมาตรการเสริมต่อไป

2.7 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เดินทางไป-กลับ ระหว่างราชอาณาจักรไทยและแหล่งระบาดโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันให้ทราบถึงภัยอันตรายและข้อควรปฏิบัติในการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน โดยแจกแผ่นพับ เรื่องการป้องกันประเทศไทยให้ปลอดจากโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน มหันตภัยของยางพารา ซึ่งมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากแหล่งที่มีโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันระบาด ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

1. อย่านำส่วนขยายพันธุ์ของยางพารา ตัวอย่างแห้ง รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ซึ่งทำจากยางพาราและพืชชนิดอื่นจากแหล่งที่มีโรคระบาดเข้ามาในราชอาณาจักร

2. กรณีเดินทางเข้าไปในสวนยางพาราที่เป็นแหล่งระบาดโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน ควรอาบน้ำ สระผม ทำความสะอาดเสื้อผ้า และรองเท้า ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

3. ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลา 7 วัน ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในสวนยางพารา ซึ่งเป็นแหล่งระบาดโรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน

4. เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย ต้องกรอกแบบฟอร์มกักกันพืช (พ.ก.11) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจพืช

5. เมื่อเดินทางถึงราชอาณาจักรไทยแล้ว ควรงดเดินทางเข้าไปในแหล่งปลูกยางพารา อย่างน้อย 7 วัน

คุณสุขุม กล่าวในตอนท้ายว่า จากมาตรการป้องกันโรคใบไหม้ลาตินอเมริกันของยางพาราในประเทศไทยที่เข้มงวดดังกล่าวนี้ จะทำให้มั่นใจได้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยได้โดยง่าย ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือของหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ทั้งระหว่างประเทศและในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกรชาวสวนยางด้วยที่จะช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวังและปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวอย่างเข้มงวดต่อไป หากท่านผู้ใดอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ คุณสุรพล ยินอัศวพรรณ กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-8516 หรือสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 940-6670 และฝ่ายควบคุมยางตามพระราชบัญญัติ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-1576 ต่อ 307 ในวันและเวลาราชการ


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักวิจัย มก. ปรับพันธุ์ถั่วเขียว สู้ด้วงเจาะเมล็ด

ด้วงเจาะเมล็ด เป็นแมลงศัตรูในโรงเก็บที่ทำความเสียหายให้กับเมล็ดถั่วเขียวหลังการเก็บเกี่ยว ด้วงเจาะเมล็ดที่พบทั่วไปในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus muculatus) และด้วงถั่วเหลือง (Callosobruchus chinensis) โดยตัวเต็มวัยของด้วงทั้ง 2 ชนิด จะวางไข่ลงบนฝักถั่วเขียวที่อยู่ในระยะใกล้สุกแก่ หลังจากนั้นตัวอ่อนจะออกมาจากไข่แล้วเจาะผ่านเปลือกฝักเข้าไปในเมล็ดเพื่อพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย โดยกินส่วนของเนื้อเมล็ดเป็นอาหาร โดยช่วงเวลาที่ด้วงถั่วอาศัยอยู่ในเมล็ด กินเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ดังนั้น เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวถั่วเขียวมาเก็บรักษาไว้ จึงมีด้วงถั่วอยู่ในเมล็ด และเมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัย ด้วงจะเจาะออกมาจากเมล็ด ผสมพันธุ์และเข้าทำลายเมล็ดถั่วเขียวที่เก็บเกี่ยวไว้ทันที ถ้าหากไม่มีการป้องกัน เมล็ดถั่วเขียวที่เก็บไว้อาจถูกทำลายทั้งหมดในระยะเวลา 1-2 เดือน เมล็ดถั่วเขียวที่ถูกทำลายไม่สามารถนำมาใช้บริโภค ขายหรือปลูกต่อไปได้ เนื่องจากด้วงเจาะเมล็ดอาจขับถ่ายของเสียออกมา การบริโภคถั่วเขียวที่ถูกทำลายอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ ถ้าหากมีการตรวจพบภายหลังว่าเมล็ดถั่วเขียวที่ส่งออกไปมีด้วงเจาะเมล็ดอยู่ (เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นว่ามีด้วงเจาะเมล็ดอยู่ข้างใน) อาจทำให้เสียความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของประเทศได้

โดยทั่วไปเกษตรกรสามารถควบคุมด้วงเจาะเมล็ดได้โดยการอบหรือรมด้วยสารเคมี อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาด้วงถั่วโดยการใช้สารเคมีไม่เป็นที่นิยม เพราะมีราคาแพงและยุ่งยากในการปฏิบัติ อีกทั้งการใช้สารเคมีเป็นอันตรายต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้พันธุ์ต้านทาน แต่ปัญหาก็คือ ถั่วเขียวพันธุ์การค้าและพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยล้วนแต่อ่อนแอต่อด้วงเจาะเมล็ดทั้งสิ้น

ดังนั้น ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. นักวิจัยของภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวพันธุ์การค้าที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ พันธุ์กำแพงแสน 1 ให้มีความต้านทานต่อด้วงเจาะเมล็ด โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

คณะวิจัยได้รวบรวมเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวจากทั้งในและต่างประเทศ จำนวนกว่า 800 พันธุ์ มาทดสอบการเข้าทำลายของด้วงถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลืองในห้องปฏิบัติการ เพื่อคัดเลือกหาพันธุ์ถั่วเขียวที่ต้านทาน พบพันธุ์ถั่วเขียวที่ต้านทานต่อด้วงทั้ง 2 ชนิด จำนวน 4 พันธุ์ แต่วิธีการคัดเลือกที่ใช้มีข้อจำกัดคือ ไม่สะดวกในการปฏิบัติงานและใช้เวลานาน กล่าวคือ

1. ต้องเลี้ยงด้วงไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตลอดเวลา

2. ความแข็งแรงของด้วงอาจลดลง เนื่องจากเกิดการผสมพันธุ์กันเอง (inbreeding) ทำให้ผลการทดสอบไม่เที่ยงตรง และ

3. การทดสอบในแต่ละครั้งใช้เวลานานถึง 4-5 เดือน (ปลูกถั่ว 2-3 เดือน เพื่อเก็บเมล็ด และอีก 2 เดือน ในการทดสอบการเข้าทำลาย)

ด้วยเหตุนี้ คณะวิจัยจึงได้นำเครื่องหมายโมเลกุล (molecular marker หรือ DNA marker) มาช่วยคัดเลือกด้วย โดยเฉพาะเครื่องหมายโมเลกุลแบบเอสเอสอาร์ ซึ่งจากผลจากการวิจัยพบ 1 เครื่องหมาย คือ GBssr-MB87 ที่เชื่อมโยงอยู่กับยีนควบคุมความต้านทาน สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ต้านทานได้ โดยในขณะนี้ได้สร้างประชากรจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์กำแพงแสน 1 กับพันธุ์ V2709 ได้สายพันธุ์ผสมกลับ 4 ครั้ง ชั่วที่ 3 จำนวน 5 สายพันธุ์ ที่ต้านทานอย่างสมบูรณ์ต่อด้วงทั้งถั่วเขียวและด้วงถั่วเหลือง ซึ่งจะได้ผสมกลับอีก 1-2 ครั้ง แล้วคัดเลือกพันธุ์ต้านทานโดยเครื่องหมายโมเลกุลร่วมกับการปลูกทดสอบผลผลิต เพื่อจะได้ถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 1 ที่ต้านทานต่อด้วงเจาะเมล็ด ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี จึงจะสามารถแจกจ่ายพันธุ์พืชให้กับเกษตรกรได้

ทั้งนี้ ผู้ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. (034) 281-267 ในวันและเวลาราชการ


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรื่องของชะอม ที่แฟน เดินห่างจากความจน .... ไม่อ่านไม่ได้

กลับมาอีกแล้วครับท่านผู้อ่านที่เคารพอย่างสูง เรื่องของชะอมยังไม่สามารถยุติได้ ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้รับแรงใจจากบรรดาแฟน เดินห่าง...จากความจน อย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะเรื่องของการปลูกชะอม

ก่อนอื่นต้องกล่าวคำว่าขอบพระคุณอย่างมากครับท่าน ตอนแรกที่เริ่มเขียนเรื่องของชะอมมาหลายตอน เมื่อมีโอกาสได้สอบถามบรรดาญาติๆ ชะอมที่ผมเขียนถึง ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า มีการตอบรับเยอะพอสมควร จนฉบับหลังๆ ผมแนะนำถึงการปลูกชะอม พร้อมให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ ปรากฏว่าสนุกสนานไปเลย ยังกับตอบปัญหาหัวใจ เฉลี่ยรับโทรศัพท์วันละ 4-6 ครั้ง จากแฟนเกือบทุกภาคของประเทศ อะไรจะขนาดนั้น ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เลยต้องมีต่ออีก ยังเลิกไม่ได้ ไม่แน่นะครับอาจจะนำมารวมเป็นเล่มแล้วให้ชื่อว่า เดินห่าง...จากความจน กับเรื่องของชะอมซะเลย

ผมก็เลยคิดเอาเองนะครับว่า สาเหตุที่ผู้อ่านสนใจการปลูกชะอมต้องมีความคิดเหมือนกับผมอย่างแน่นอน ประการแรก คือ เป็นการลงทุนที่ไม่มาก ทุกคนรับได้ ประการต่อมา คือ เชื่อมั่นในผลผลิตที่ได้ผลเร็วเกินคาด ถูกต้องไหมครับ? ต้องขอขอบคุณอีกครั้ง

ขอเขียนถึงแฟนที่ไปเยี่ยมเยือนสวนผมซะหน่อย สักเพียงเล็กน้อยเพราะหากไม่เขียนถึงก็จะดูกระไรอยู่ เพราะทุกคนผมถือว่าเป็นสมาชิกของ เดินห่าง...จากความจน พร้อมกับจะปลูกชะอมและทุกคนจะขอสงวนชื่อจริงนะครับ อาทิ ทนายความจากยโสธร สาวสวยทำงานห้างสรรพสินค้าจากนครสวรรค์ คนเกษตรปลูกยางพาราที่จันทบุรี คนหนุ่มไฟแรงจากเพชรบูรณ์ ชายหนุ่มที่นนทบุรีที่มีเนื้อที่ 15x15 เมตร แต่อยากปลูกชะอมมาก คนเกษตรปลูกพริกที่พิษณุโลก พี่น้องชาวเกษตรปลูกมะนาว คนเชียงใหม่และอีกหลายรายต้องขออภัยที่เขียนไม่หมดด้วยความเคารพจริงๆ และสำหรับรายนี้ผมขออนุญาตเอ่ยนาม และบันทึกไว้หน่อย เนื่องจากมีความตั้งใจจริงๆ ไปหาผมตั้งแต่ประมาณ 8 โมงเช้า คือ คุณนพพร โกมุก ข้าราชการบำนาญ พร้อม คุณรำไพ โกมุก ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ขับรถจากบางมด เขตจอมทอง ไปหาผมถึงปราจีนบุรี

ที่ผมขอเขียนถึงเพราะผมกับคุณนพพรมีสวนที่เหมือนกัน คือใช้ท้องนาทำสวน ต่างกันแค่ว่าผมอยู่ท้องนาที่ปราจีนบุรี แต่คุณนพพรอยู่ท้องนาที่นครชัยศรี นครปฐม ก็ได้เสวนาพูดคุยกันพอสมควร สุดท้ายคุณนพพรพร้อมทั้งนำกิ่งชะอมติดรถเก๋งกลับไปปลูกด้วย เพราะได้มาเห็นแปลงสาธิตที่ผมปลูก ขอบคุณจริงๆ นะครับ สำหรับรายอื่นๆ ผมจะใช้โอกาสต่อไปบันทึกเป็นเรื่องสั้นถึงสมาชิก เดินห่าง...จากความจน จากจังหวัดต่างๆ ก็อาจเป็นไปได้นะครับ อย่าเพิ่งน้อยใจ ทุกคนที่มามองเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะทำสวนผสมหรือปลูกพืชเชิงเดี่ยว ระยะเวลาที่รอผลผลิตก็ต้องหาพืชอะไรก็ได้ที่ให้ผลผลิตเร็วมาทดแทนก่อนแล้วทุกคนมาลงเอยที่ชะอม และเมื่อได้มีโอกาสไปเยี่ยมดูศึกษาดูเห็นตัวอย่างจริง ผมย้ำเสมอว่าโอกาสเช่นนี้สามารถตัดสินใจได้ง่าย ทำให้มีความมั่นใจขึ้น ไม่แน่นะครับอนาคตต่อไปจะรู้ได้อย่างไรว่าพืชหลักรายได้ดีของคุณอาจจะเป็นชะอมก็ได้ หากท้องที่หรือบริเวณใกล้เคียงมีความต้องการ เพราะชะอมจะเป็นผักที่สามารถบริโภคกันได้ทุกคน สามารถนำไปประกอบอาหารได้สารพัดเมนู

เมื่อคุณลงมือปลูกชะอมได้ประมาณ 1 ปี ต้นชะอมโตดีแล้วก็กรุณาเลือกดูต้นที่สมบูรณ์หน่อย ก็จัดการตอนกิ่งแล้วนำมาปลูกเพิ่มได้อีกตามต้องการ ก่อนอื่นเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ต้องให้กิ่งเป็นสีน้ำตาล อย่าเอาที่กิ่งเป็นสีเขียว เลือกได้แล้วก็ควั่นด้วยมีดคมๆ หน่อยให้ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หรือมีดชนิดตามที่แสดงในรูปที่ชาวบ้านคิดขึ้นเองแล้วกรีดเอาเปลือกนอกออก ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้กิ่งแห้งหน่อย จึงนำขุยมะพร้าวที่อยู่ในถุงพลาสติคกรีดให้ถุงเปิดด้านข้างออกมาหุ้ม สุดท้ายก็ใช้เชือกฟางสีอะไรก็ได้มัดให้แน่น แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 กว่าวัน เมื่อเห็นมีรากงอกก็ตัดออกมาพักไว้เพื่อรอปลูกได้เลย ง่ายไหมครับ สรุปก็เหมือนๆ กับการตอนกิ่งไม้ทั่วๆ ไปนั่นแหละครับ หากว่าแถวนั้นมีคนต้องการปลูกชะอม คุณก็อาจจะมีอาชีพตอนกิ่งชะอมขายเพิ่มอีกอาชีพหนึ่งก็ได้ ผมไม่นำเสนอให้คุณนำกิ่งมาปักชำนะครับ เคยทดลองแล้วได้ผลไม่ค่อยดี ช้า ต้นที่ได้ไม่แข็งแรงอีกต่างหาก

หากขาดความมั่นใจในเรื่องเกี่ยวกับชะอม ทุกๆ ปัญหาตลอดจนการตอนกิ่งชะอม ก็เรียนเชิญครับที่สวนผม หากติดตามกันทุกฉบับก็คงทราบว่าอยู่ที่ไหน ขอย้ำอีกครั้งก็ได้คือ ที่จังหวัดปราจีนบุรี โทร. (081) 846-0652 หรือ คุณสมศรี รักพันธุ์ (084) 701-9860 คนนี้จะสาธิตการตอนให้คุณดูได้ทันทีที่ต้องการ

หลายคนที่ไปเยี่ยมดูแปลงที่ผมปลูกชะอม เรียกว่า แปลงสาธิต ประทับจิตประทับใจทุกคนเลยครับ ผมขอย้ำอีกสักครั้ง ไม่ทราบว่ากี่ครั้งแล้ว ว่าหากมีเวลาก่อนตัดสินใจการปลูกชะอม ควรศึกษาก่อน เพราะมีโอกาสที่เห็นของจริงก่อนการตัดสินใจ จะได้ไม่เพ้อฝัน เพราะความมั่นใจจะดีขึ้น เมื่อเห็นรายละเอียดที่ต้องการทราบเกี่ยวกับชะอม จะได้มั่นใจเต็มสี่ห้องหัวใจของคุณ เพราะผมก็เปิดเผยหมดสี่ห้องหัวใจของผมเช่นกัน พร้อมทั้งบริการหากิ่งพันธุ์ชะอมที่ผมเรียกว่า พันธุ์ไม้เค็ด 2009 ที่ยอดโต กลิ่นฉุน กินแล้วมันส์ติดเหงือก ผมเขียนบอกเสมอว่า พี่น้องชาวไม้เค็ดของผม ปลูกชะอมกันมากที่สุดตำบลหนึ่งในประเทศก็ว่าได้ จึงหากิ่งพันธุ์ให้คุณได้ แต่ก่อนไปกรุณาบอกล่วงหน้าไปหน่อยจะได้ไม่ผิดหวัง เผื่อว่าจะอยู่รอต้อนรับไม่ให้เสียชื่อลูกผู้ชายคนไม้เค็ดอย่างแน่นอน มีคนถามเยอะถึงเมื่อได้ผลผลิตแล้วควรดำเนินการต่อไปอย่างไร สำหรับข้อนี้ผมขอเรียนตรงๆ นะครับว่าต้องอยู่ที่คุณคนที่ตกลงปลงใจว่า จะปลูกชะอมนั่นแหละเพราะคุณจะต้องคิดถึงระบบการจัดการก่อนลงมือปลูก และแต่ละท้องที่จะแตกต่างกันไป อยู่ที่ความสามารถในแต่ละคนที่จะจัดการเช่นไร?

ผมขอยกตัวอย่าง เช่น โจทย์เลขที่มีคำตอบเป็น 10 โจทย์ อาจจะเป็น 2 บวก 8 ก็ได้ หรือ 3 บวก 7 หรือ 5 บวก 5 หรือว่าจะเป็น 1 บวก 9 ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ตั้งหลายวิธีทำ ฉะนั้นทุกวิธีทำคุณต้องเป็นคนดำเนินการเองทั้งหมด การมีระบบการจัดการที่ดีเท่ากับว่าประสบผลสำเร็จไปกว่าครึ่ง แล้วแต่ละคนย่อมมีความคิดความอ่านแตกต่างกันไป หวังว่าคงเข้าใจนะครับ โลกเรานี้เป็นเช่นโรงละคร มีทั้งบทของความสุขและความทุกข์ คนที่อ่อนแอเท่านั้นที่ร้องไห้

อย่าท้อแท้ อย่าหมดกำลังใจ ไม่เช่นนั้นท่านจะไม่มีโอกาสเห็นวันข้างหน้าที่สวยงาม ฟ้าเมืองไทยสวยนะครับท่าน ไม่มีที่ไหนจะอบอุ่นเท่าบ้านเรา ชีวิตใคร...เขาคนนั้นเป็นผู้กำหนดเองทั้งสิ้น ไม่ว่าเดินอยู่บนเส้นทางเช่นใด แล้วสุดท้ายคุณเชื่อผมเถอะครับว่าในชีวิตสักครั้งหนึ่งถ้าหากว่าเราได้ทำอะไรอย่างที่ต้องการจะทำก็ถือเสียว่าคุ้มค่ากับการได้มีชีวิตอยู่แล้ว .?.


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธนสิทธิ์

พันธุ์ยางพาราของไทย

"ทำไมประเทศไทยถึงไม่ต่อยอด นำสายพันธุ์ยางพาราที่มีเกษตรกรเก่งๆ เขาพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มาเผยแพร่สู่เกษตรกร เพื่อให้เมืองไทยมีสายพันธุ์ยางพาราที่หลากหลาย"

ประเด็นคำถามที่จุดขึ้น โดย คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายไว้หลังจากการเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงพันธุ์ยางพาราพันธุ์ดีที่เกิดจากการคัดเลือกสายพันธุ์ของเกษตรกรในจังหวัดตรัง

สิ่งที่ถาม จึงกลายเป็นมาสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบว่า ในประเทศไทยมียางพันธุ์ดีที่คุณภาพทัดเทียมหรือดีกว่า กับสายพันธุ์ยางพาราของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราและมีพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้ผลิตยางพาราได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีผลผลิตมากกว่า 3.000 ล้านตัน แต่ในมุมมองของประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับสายพันธุ์ยางพาราที่เกษตรกรปลูกกันทั่วประเทศ รวมพื้นที่ 16.74 ล้านไร่นั้น เป็นสายพันธุ์ที่ล้าสมัยและให้ผลผลิตต่ำมาก เหมือนเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ สายพันธุ์ยางพาราที่ส่งเสริมในปัจจุบัน จะประกอบด้วย พันธุ์ RRIM 600, RRIT 251, BPM 254 และ RRIT 226

"แม้จะเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตสูง แต่ก็เป็นพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูกกันมานาน อย่าง พันธุ์ RRIM 600 มีมาเกือบ 40 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังเป็นพันธุ์เดิม ที่ให้ผลผลิตได้ไม่เกิน 270 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี ขณะที่มาเลเซียเขาพัฒนาไปเป็นพันธุ์ RRIM 2027 แล้วให้ผลผลิตถึง 500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี" คุณอุทัย กล่าว

สิ่งที่ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย ต้องการในเวลานี้คือ

"หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงเหมือนกับมาเลเซียเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรอย่างเป็นทางการ ทั้งที่มีงบประมาณจากเงิน Cess ที่ได้จากการส่งออกยางพาราไปต่างประเทศ ได้ถูกจัดสรรลงไปในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ยาง โดยได้ให้กับสถาบันวิจัยยางตามมาตรา 18 (1) ไปดำเนินการปีละเกือบ 200 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร"

"แต่ที่ผ่านมาผลงานยังมีความล่าช้า ดังนั้น หากเกษตรกรมีความสามารถในการพัฒนาพันธุ์ยางใหม่ขึ้นมาได้ในพื้นที่แปลงปลูกของเกษตรกรเองก็ไม่ควรปิดกั้นโอกาส และที่สำคัญควรมีการต่อยอดและผลักดันนำยางพาราพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพเหล่านั้น มาเผยแพร่สู่เกษตรกรในวงกว้าง ทั้งนี้ควรลดข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความล่าช้าลงด้วย ซึ่งจะส่งผลดีและเป็นการช่วยพัฒนาพันธุ์ยางพาราไทยให้รุดหน้า เพราะปัจจุบันในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซียนั้นมีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ๆ ล้ำหน้าไปหลายเท่า" คุณอุทัย กล่าว

หากสามารถดำเนินการได้ตามข้อเรียกร้องดังกล่าว สิ่งที่จะตามมานั้น คุณอุทัยบอกว่า หากให้พันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ของเกษตรกรที่มีอยู่แล้วได้มีการเผยแพร่ไปสู่เกษตรกรในวงกว้าง เพื่อเป็นพันธุ์การพัฒนาพันธุ์ยางให้โตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เกษตรกรไทยจะได้ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกมากนัก และทำให้ยางพาราของประเทศไทย ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของโลกจะได้ไม่ถูกประเทศอื่นแซง และสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรไทยด้วย

สำหรับสายพันธุ์ยางพาราที่เป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานโรค อันเป็นสายพันธุ์ของเกษตรกร ซึ่งได้มีการเข้าไปเยี่ยมชมนั้น อยู่ที่สวนของ คุณขำ นุชิตศิริภัทรา นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง และที่สวนของ คุณลุงชิ้ม หรือ คุณเฉลิม ชัยวัฒน์

ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่เกษตรกรทั้ง 2 ปลูกนั้น ต่างยืนยันตรงกันว่า เป็นสายพันธุ์ที่โตเร็ว และให้ผลผลิตสูงมากกว่า 500 กิโลกรัม ต่อไร่

โดยสายพันธุ์ยางของคุณลุงขำ นั้นได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกนี้มีชื่อว่า พันธุ์ เคที 311 เกิดจากการผสมคือ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 เป็นพันธุ์แม่ พีบี 235 เป็นพันธุ์พ่อ ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว และได้มีการปลูกเพื่อกรีดเอาน้ำยางและทำพันธุ์ขายให้กับเกษตรกรมาโดยตลอด

คุณสมบัติเด่น คือ ไม่มีโรคใบร่วง ให้ผลผลิตสูงกว่าไร่ละ 500 กิโลกรัม ต่อปี และอาจสูงถึงไร่ละ 570 กิโลกรัม ต่อปี ได้ในบางพื้นที่

"ตอนนี้ที่เราขายให้เกษตรกรที่สนใจไปปลูกนั้นอยู่ที่ต้นละ 35 บาท ส่วนยางที่กรีดได้ของเราเองนั้นมีประมาณ 200 ไร่"

ส่วนของคุณลุงชิ้มนั้น ได้เล่าให้ฟังถึงสายพันธุ์ยางพาราของตนเองว่า เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเดิมเรียกว่าพันธุ์ตาคล่อม เพราะเป็นคนแรกที่นำมาปลูก และเพื่อนบ้านไปเห็นว่า ให้น้ำยางดี จึงนำมาปลูกต่อกัน และสืบต่อมาถึงลูกหลาน

ซึ่งในปัจจุบันนั้น สำหรับสายพันธุ์ยางพาราดังกล่าวนี้ ในพื้นที่อื่นได้ถูกตัดโค่นลงไปหมด จึงทำให้เหลืออยู่แต่ที่สวนลุงชิ้มที่เดียว สาเหตุเพราะต้องเปลี่ยนไปปลูกยางพันธุ์ใหม่ตามที่ราชการส่งเสริม

"ทุกวันนี้ผมปลูกไว้ 50 ไร่ ให้ผลผลิตไร่ละกว่า 500 กิโลกรัม ต่อปี โดยแปลงปลูกที่มีอายุมากว่า 36 ปี ก็ยังกรีดอยู่ และให้น้ำยางมากเป็นปกติ" คุณลุงชิ้ม กล่าว

ซึ่งสำหรับในส่วนสายพันธุ์ยางพาราของคุณลุงชิ้มนั้น ด้วยมีคุณสมบัติที่เด่นมากในเรื่องของน้ำยาง จึงได้รับการติดต่อจากบริษัทเอกชน นำไปต่อยอด ขยายพันธุ์จำหน่ายให้เกษตรกร ในชื่อ JVP80

จากตัวอย่างของเกษตรกรทั้ง 2 ท่านนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างหนึ่งว่า ในประเทศไทยนั้นก็มียางพาราพันธุ์ดีอยู่เช่นกัน ซึ่งในโอกาสที่จะเกิดการพัฒนาต่อยอดนำมาซึ่งพันธุ์ดีๆ ขยายไปสู่เกษตรกรอื่นหรือไม่นั้น คงต้องเป็นการตัดสินใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในอนาคต

แต่สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกยางและคนไทยแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีแน่นอนในวันนี้ คือความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยของเราก็มีสายพันธุ์ยางพาราดีๆ เหมือนกัน...


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักวิจัย สกว. พัฒนาวิธีการอบแห้งพริกเพื่อควบคุมคุณภาพให้คงที่

พริก เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก และเป็นพืชเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา โบลิเวีย รวมทั้งประเทศไทย นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการปรุงรสอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติในอาหารแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่า พริกมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคและมีสรรพคุณเป็นอาหารเสริมสุขภาพด้วย เช่น ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดปริมาณคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากพริกสดยังมีข้อจำกัด เช่น เกิดการเน่าเสีย คุณภาพของพริกไม่สม่ำเสมอ หรือมีปริมาณที่มากเกินความต้องการ จึงทำให้ผู้บริโภคหันไปนิยมใช้พริกแห้งมากขึ้น ซึ่งการทำพริกแห้งที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ การตากแดดกลางแจ้ง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศด้วย คุณภาพของพริกแห้งจึงไม่มีความสม่ำเสมอ รวมทั้งเกิดการปนเปื้อนจากแมลง หนู นก และจุลินทรีย์ ส่งผลให้คุณภาพของพริกแห้งไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยของ GMP ที่เพียงพอสำหรับส่วนอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่รับซื้อผลิตภัณฑ์พริกแห้ง เพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์พริกชนิดต่างๆ ดังนั้น การใช้เครื่องอบแห้งตู้อบลมร้อนจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตพริกแห้ง

ดร.วิริยา พรมกอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการศึกษาแบบจำลองการทำนายความชื้นของพริกพันธุ์หัวเรือย่นขณะอบแห้ง เปิดเผยว่า กลไกการอบแห้งของพริกถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการผลิตพริกแห้งให้มีความเหมาะสม และตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ในการศึกษานี้ ดร.วิริยาได้ใช้พริกสดพันธุ์หัวเรือย่นที่ได้จากเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งศึกษาลักษณะทางโครงสร้างของพริกแห้งที่ผ่านการแช่สารเคมีและอบแห้งที่สภาวะต่างๆ แล้วศึกษาค่าทางกายภาพของพริกสดและพริกขณะการอบแห้ง และศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนทางกายภาพ ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของน้ำในพริกขณะอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนเปรียบเทียบกับพริกที่ทำแห้งด้วยวิธีตากแดด รวมทั้งเปรียบเทียบกับพริกที่ผ่านการลวกและไม่ผ่านการลวก ก่อนการหาสมการที่เหมาะสมในการทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของพริกขณะการอบแห้งโดยใช้ตู้อบลมร้อน

จากการศึกษาพบว่า การทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ร่วมกับการใช้สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ สามารถคงสีของพริกแห้งไว้ได้มากที่สุด ส่วนการใช้สารละลายผสมระหว่างโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์และแคลเซียมคลอไรด์ สามารถรักษาสีของพริกไว้มากที่สุดที่อุณหภูมิการทำแห้งแบบ 2 ระยะ คือที่ 70 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง และ 50 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ยังพบว่าการแช่พริกในสารละลายก่อนการทำแห้งจะทำให้มีการดึงน้ำออกจากพริกได้ดีกว่าไม่ใช้สารละลาย และพบว่าใช้เวลาในการทำแห้งลดลง

สำหรับเวลาที่ใช้ในการทำแห้งพบว่า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของน้ำที่สูงที่สุด โดยจะพบในพริกที่ผ่านการแช่สารละลายผสมระหว่างโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์กับแคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่พบว่าโครงสร้างของพริกมีรูพรุนมากที่สุด

ดร.วิริยา กล่าวว่า การใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงความชื้นของพริกนี้ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายระยะเวลาในการทำแห้ง และนำไปควบคุมสภาวะการอบแห้งพริกที่เหมาะสมได้ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทั้งทางกายภาพและเคมีของพริก เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการอบแห้งพริกต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (045) 353-500 ต่อ 2203


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

มะพร้าวน้ำหอม 50 ไร่ ขอบเมืองบางกรวย รสชาติดี กลิ่นหอม เพราะปลูกเตยในร่องสวน
เจ้าของยืนหยัด สร้างรายได้ดี
*

อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีท่านหนึ่ง พูดไว้ว่า ในเขตขอบเมืองกรุงเทพฯ ท้องที่แถบอำเภอเมืองนนท์ บางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อย รวมทั้งบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ที่น่าอยู่อาศัยมาก ซึ่งก็เป็นจริงอย่างอดีตผู้ว่าราชการฯ บอกไว้ เพราะเมื่อถนนนครอินทร์เกิดขึ้น บ้านจัดสรรผุดขึ้นเต็มไปหมด ชาวบ้านที่ทำสวนมานาน อย่างเก่งได้เห็นแค่เงินแสน เมื่อคนมาเสนอซื้อที่ดินไร่ละ 8 ล้านบาท มีที่ดินอยู่ 4-5 ไร่ หอบเงินไปซื้อที่ดินต่างจังหวัดสัก 50-60 ไร่ ที่เหลือแบ่งให้ลูก ส่วนหนึ่งฝากไว้กินดอกเบี้ยสบายๆ

ริมถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี หรือถนนกาญจนาภิเษก ช่วงตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย ฝั่งตะวันตก มีซอยอยู่ 2 ซอย

ซอยแรกเรียกกันว่า "ซอยวัดศรีประวัติ" ซอยที่สองเรียกว่า "ซอยวัดส้มเกลี้ยง" เข้าซอยไหนก็ได้ ระยะทางราว 3 กิโลเมตร ขวามือเป็นสวนมะพร้าวน้ำหอม พื้นที่ 50 ไร่ ของ คุณชะออม น้อยปั่น อยู่บ้านเลขที่ 61/3 หมู่ที่ 4 ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130

ท้องถิ่นแถบนั้น มีหมู่บ้านจัดสรรผุดขึ้นมากมาย เลยบ้านคุณชะออมไป 2-3 กิโลเมตร มีหมู่บ้านขนาดใหญ่ ห่างจากประตูสวนของคุณชะออม 100 เมตร มีร้านเซเว่นอีเลฟเว่น แต่คุณชะออมยังยืนหยัด นำผลผลิตมาวางขายแข่งทุกวัน ที่ขาดไม่ได้มีมะนาว กล้วย มะละกอ รวมทั้งมะพร้าวน้ำหอม

ปลูกมะพร้าวไม่ตกต่ำ
"ปลูกมะพร้าวไม่ตกต่ำ" คุณสวัสดิ์ เปาทุย เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ว่าไว้ ซึ่งมีความหมายสองนัยด้วยกัน

มะพร้าวที่ปลูกกันนั้น เป็นมะพร้าวน้ำหอม แรกๆ เมื่อติดผล เก็บง่ายมาก เพราะติดผลเมื่อขณะต้นไม่สูง จากนั้นความสูงของต้นจะเพิ่มขึ้น ต้องปีนกันเลยทีเดียว คนที่ปีนต้นมะพร้าว หากไม่ระมัดระวัง อาจจะตกมาจากที่สูงแข้งขาหักได้ ทุกวันนี้ เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวเขามีเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว ส่วนหนึ่งมีผู้ซื้อไปตัดถึงสวน เจ้าของไม่ต้องตัดเอง

เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากมีการวางแผน เริ่มต้นที่เรื่องของสายพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ปลูก รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อย่างพื้นที่ภาคกลาง มะพร้าวสามารถให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของได้อย่างดี เทคโนโลยีชาวบ้านได้ลงเรื่องของอาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เมื่อฉบับที่แล้ว เพราะมะพร้าว อาจารย์สามารถส่งลูกชายไปเรียนต่อปริญญาโท ที่ประเทศออสเตรเลียได้

งานปลูกมะพร้าวน้ำหอม หากพื้นที่ 7-10 ไร่ขึ้นไป เกษตรกรสามารถอยู่ได้อย่างสบาย กรณีของคุณชะออม เขาผสมผสานพืชผลเข้าไปหลายอย่าง ทุกอย่างขายได้ เจ้าของสารภาพว่า อย่างต่ำวันหนึ่งมีรายได้ 2,000 บาท จริงๆ แล้วพื้นที่ดินของคุณชะออมมีมากกว่า 50 ไร่ แต่เจ้าตัวนำมาปลูกมะพร้าวน้ำหอมแค่ 50 ไร่ เท่านั้นเอง

คุณชะออม เป็นหนุ่มเมืองนนท์มาแต่กำเนิด เริ่มต้นอาชีพการเกษตรด้วยการทำนา ต่อมาจึงทำสวนอย่างจริงจัง สำหรับมะพร้าวน้ำหอม เจ้าของปลูกมาได้ 30 ปีแล้ว มะพร้าวส่วนไหนที่ล้มหายตายจากไป ก็ปลูกแทน แต่ส่วนใหญ่แล้ว มะพร้าวรุ่นแรกยังอยู่

มีผลผลิตจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง
ระบบปลูกมะพร้าวของคุณชะออม คล้ายกับเกษตรกรรายอื่น คือมีร่องสวน แล้วปลูกตามสันร่อง สายพันธุ์มะพร้าวที่ปลูกเจ้าของบอกว่า คัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ ผลใหญ่ ผลดก สามารถส่งออกต่างประเทศได้ ขายในประเทศดี

หลังปลูกได้ 3 ปี มะพร้าวก็จะเริ่มมีดอกหรือจั่น ปีที่ 4 จึงเก็บผลผลิตได้ เจ้าของบอกว่า ถึง 40 ปี นั่นแหละถึงจะเปลี่ยนต้นใหม่

พื้นที่ 50 ไร่ คุณชะออม มีมะพร้าวทั้งหมด 1,500 ต้น ในรอบปีหนึ่ง มะพร้าวให้ผลผลิต 12 ทะลาย ต่อต้น แต่ละทะลายมีผลผลิต 5-15 ผล แต่โดยเฉลี่ยแล้ว 10 ผล ราคาที่จำหน่าย เมื่อก่อนผลละ 3 บาท ปัจจุบันจำหน่ายได้ผลละ 5 บาท

งานดูแลรักษาต้องมีความเข้าใจพอสมควร
เรื่องปุ๋ย เจ้าของใส่ปุ๋ยให้เดือนละ 2 ครั้ง สูตร 21-0-0 แต่ละครั้งให้จำนวน 1 ตัน หรือ 20 กระสอบ อย่างอื่นที่เป็นผลพลอยได้คือการลอกเลน

ระบบการขายนั้น เจ้าของบอกว่ามีคนเข้าไปซื้อถึงสวน 2 เจ้า ส่วนหนึ่งเจ้าของนำมาวางจำหน่ายที่ประตูสวน ตั้งแต่ 4 โมงเย็นถึง 6 โมงเย็น ใกล้ๆ กันตรงนั้นมีตลาดนัด ผู้คนพลุกพล่านซื้อหาสิ่งของกัน ใครที่ใช้ทางเส้นนี้สังเกตให้ดี เมื่อเข้าไปในซอยได้ 3 กิโลเมตร ซ้ายมือมีเซเว่นฯ เลยเซเว่นฯ ไป 100 เมตร ขวามือ มีของจากสวนคุณชะออมล้วนๆ วางขาย แต่ต้อง 4 โมงเย็น ไปแล้ว ทางเส้นนี้ หากตรงไปเรื่อยๆ ไปออกศาลายาได้ ช่วงเทศกาลคนใช้เส้นทางนี้ไม่น้อย

คุณชะออม บอกว่า ผลผลิตมะพร้าวของตนเอง มีจำหน่ายทั้งปี อาจจะมากบ้างน้อยบ้าง ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องโลกร้อน ทางบ้านแพ้วต้องวิ่งมาซื้อมะพร้าวถึงบางกรวย

ผสมผสาน......ขายได้ เตยทำให้มีกลิ่นหอม
เทคโนโลยีชาวบ้าน เคยจัดเสวนาเกษตรสัญจรไปจังหวัดนนทบุรีกันบ่อย จุดหนึ่งที่แวะกันคือ สวนมะพร้าวคุณชะออม สมาชิกเสวนาชอบสวนคุณชะออมมาก บ้านคุณชะออมอยู่ห่างจากถนนถึง 800 เมตร ตั้งอยู่ริมคลองบางนา คุณชะออมบอกว่า ที่บ้านมีเรือ ใครสนใจเข้าไปท่องเที่ยวก็ยินดี พายเรือให้ชมธรรมชาติฟรี

นานมาแล้ว ที่ทางอำเภอบางกรวยได้จัดให้สวนคุณชะออมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร ซึ่งก็มีผู้คนแวะเวียนไปมากหน้าหลายตา

สถาบันทางการศึกษา ก็นำนักเรียนไปเรียนรู้เรื่องพืชพรรณ ซึ่งมีปลูกอยู่มากกว่า 60 ชนิด แต่หากเอากันจริงๆ แล้ว มีเป็น 100 ชนิด

คุณชะออมได้ปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว พืชที่สร้างรายได้หลักๆ เลย คือ มะนาว กล้วย สับปะรด ไม้ดอกไม้ประดับ เตย

มะนาว ที่คุณชะออมมีอยู่ เขาปลูกแซมระหว่างต้นมะพร้าวได้อย่างดี เมื่อเปรียบเทียบกับมะนาวที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ๆ แถวท่ายาง เพชรบุรี ผลผลิตสู้ท่ายางไม่ได้แน่ แต่ต้นทุนการผลิตของคุณชะออมต่ำ เมื่อให้ปุ๋ยมะพร้าว มะนาวก็ได้กินด้วย ที่แนะนำไปครั้งละ 1 ตัน จึงไม่มากแต่อย่างใด เพราะทุกพืชได้รับปุ๋ยหมด ผลผลิตมะนาวคุณชะออมมีอย่างต่อเนื่อง ผ่านไปทีไรก็เห็นมะนาววางขายทุกทีไป ไม่เว้นแม้แต่ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

กล้วยคุณชะออมสะสมพันธุ์ไว้มากกว่า 20 สายพันธุ์ แต่ที่ทำเป็นการค้าได้ มี เล็บมือนาง น้ำว้า แล้วก็หักมุก งานปลูกกล้วยไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัด

เตย เจ้าของปลูกไว้ริมร่อง จากนั้นก็แผ่ขยายออกไป เตยที่ปลูกเป็นเตยหอม คนที่ได้ชิมมะพร้าวของคุณชะออมแล้ว บอกว่า มะพร้าวที่สวนนี้มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ แตกต่างจากสวนอื่นอย่างชัดเจน เตยนั้นคุณชะออมมัดกำจำหน่าย ผู้ซื้อนำไปกำกับกล้วยไม้เพื่อไหว้พระ ส่วนหนึ่งนำไปเป็นวัตถุดิบทำขนม

ไม้ดอกไม้ประดับที่คุณชะออมปลูกอยู่มีมากมายหลายชนิด เช่น เฮลิโคเนีย (ธรรมรักษา) ดาหลา อัญชัน และอื่นๆ

ที่แนะนำมา เป็นพืชพรรณที่สร้างรายได้หลักให้ แต่มีอยู่ไม่น้อยที่ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ดี เป็นต้นว่า มังคุด ทุเรียน พืชผักพื้นบ้านและสมุนไพรอื่นๆ

พื้นที่ที่คุณชะออมมีอยู่ แทบไม่มีวัชพืชขึ้นให้กำจัด สิ่งที่เห็นอยู่ เป็นต้นไม้ที่เก็บขายได้ทั้งนั้น


ทำสวน มีกำไร.....ยืนหยัด ไม่ขายที่ดิน
"คนทำสวนส่วนหนึ่งเลิกไปเยอะ เขาบอกทำแล้วขาดทุน แต่ผมทำมีกำไร บางวันได้มากกว่า 5,000 บาท แต่บางวันก็ไม่ถึง ผมไม่ขาย อยากทำอย่างนี้ตลอดไป ช่วยป้องกันโลกร้อน เมื่อวานบ้านจัดสรรก็มาถามซื้อ...ผมไม่ขาย" คุณชะออม บอก

ถามว่า ... "มีคนมาให้หลายร้อยล้านก็ไม่ขาย"

"ไม่ขาย..." คุณชะออมยืนยัน

ใครที่เคยไปเสวนาเกษตรสัญจรที่สวนเกษตรรายนี้ จะได้ชิมมะพร้าวเผา ที่น้ำหวานล้ำลึก

แต่อีกสวนหนึ่ง คุณชะออมจะเฉาะมะพร้าวสดๆ ให้ชิม โดยใช้มีดที่คม สับลงไปที่ก้นผลมะพร้าว 3 ที "...ฉับ...ฉับ...ฉับ..." แล้วเปิดเปลือกให้ดื่มน้ำที่ใสสะอาด บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ผู้ที่อ่านตรงนี้ จงใช้วิจารณญาณ อย่าได้ไปทดลองทำโดยไม่มีความรู้ ความชำนาญ เพราะอาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บได้

ที่บ้านคุณชะออม มีมะพร้าวพวงร้อย ที่ทะลายหนึ่งติดผลมากกว่า 60 ผล เพื่อนบ้านคุณชะออมก็มีมะพร้าวไฟผลสีเหลืองและแดงในงานสัมมนา มหัศจรรย์...มะพร้าวไทย "พบความหลากหลายของมะพร้าว พืชที่รับใช้คนไทยมานาน" ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ณ ห้องประชุมหนังสือพิมพ์ข่าวสด ซึ่งจัดโดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คุณชะออม บอกว่า หากกระรอกไม่เจาะเจ้าพวงร้อยเสียก่อน จะให้มะพร้าวพวงร้อยดกๆ แสดงในงาน รวมทั้งมะพร้าวไฟด้วย

ผู้สนใจเรื่องราวมะพร้าวของคุณชะออม หรืออยากเข้าไปท่องเที่ยว ติดต่อได้โดยตรง ที่ โทร. (086) 526-8463 หรือ (02) 903-9298


มีอะไร ในน้ำมะพร้าว
เพราะต้นมะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่างๆ ของลำต้นกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และวิตามินบี แถมยังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย

น้ำมะพร้าวช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์
การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง นอกจากนี้ การดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย

น้ำมะพร้าวช่วยให้ผิวพรรณสดใส
น้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณ ทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอก เพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี แถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย (คล้ายๆ กับการทำดีท็อกซ์) จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก

น้ำมะพร้าว "สปอร์ตดริ๊งก์" จากธรรมชาติ

เนื่องจากน้ำมะพร้าวมีปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นสูง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียเนื่องจากอาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้ จึงจัดเป็นสปอร์ตดริ๊งก์ (Sport Drink) สามารถดื่มหลังการสูญเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ ในประเทศไต้หวันและประเทศจีน ยังนิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อลดอาการเมา หลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย

น้ำมะพร้าว เป็นอาหารบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้น มะพร้าว ยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูง สามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป หมอพื้นบ้านไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ในเวลาอันรวดเร็วได้


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 7:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:19 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มนตรี แสนสุข

ละมุดมะกอกใหญ่ (หวานสุก) นงลักษณ์ ทองศรีสมบูรณ์ *

อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ต.ดอนไผ่ อ.ดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แนะทำละมุดนอกฤดูขาย ได้ราคาดี

ละมุด ผลไม้รสหวานหอม นิยมบริโภคกันทั่วไป พื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่อยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีแพร่หลายอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์มะกอกใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พันธุ์หวานสุก กับอีกพันธุ์หนึ่งคือ "พันธุ์มาเลย์" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "พันธุ์กระสวย" รูปลักษณะทรงผลจะเป็นทรงรีคล้ายไข่ไก่ ส่วนพันธุ์หวานสุกผลจะออกกลมป้อมๆ ละมุดเป็นพืชชอบน้ำ ปลูกได้ทั้งในระบบพื้นที่ราบหรือยกร่องสวน

คุณนงลักษณ์ ทองศรีสมบูรณ์ เกษตรกรหญิงคนเก่งแห่งบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ที่เพิ่งจะวางมือจากการดูแลลูกบ้านเมื่อไม่นานมานี้เอง สืบเนื่องจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมา 5 ปี และอายุเกิน 60 ปี จึงหมดสิทธิ์ต่อการเข้ามาแข่งขันเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งหนึ่ง ทุกวันนี้ อดีตผู้ใหญ่นงลักษณ์จึงอยู่กับบ้านช่วยลูกชายและหลานๆ ทำสวนในที่สวนของตนเอง เนื้อที่ 14 ไร่เศษ

คุณนงลักษณ์ บอกว่า ปลูกละมุดเต็มพื้นที่ 14 ไร่ มีละมุดอยู่ราว 500 ต้น ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์มะกอกใหญ่ หรือพันธ์หวานสุก ละมุดแต่ละต้นอายุราว 12 ปี ปลูกมาแล้วรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 ทุกต้นให้ผลผลิตดี

"ละมุดที่สวนจะทำให้เก็บผลได้ในช่วงเดือนกันยายน จะได้ราคาดีกว่าละมุดที่ติดตามฤดูกาล เก็บขายในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งในช่วงนั้นจะมีละมุดออกมาพร้อมๆ กันมากมาย ส่งผลให้ราคาตกต่ำ ซึ่ง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ราคาขายหน้าสวนถึงกับขาดทุนเลยทีเดียว"

คุณนงลักษณ์ กล่าวและว่า สำหรับที่สวนจะหนีไม่ให้ผลผลิตออกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน โดยทำให้เก็บผลละมุดได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งทำได้ไม่ยุ่งยากอะไรเลย

คุณนงลักษณ์ แนะนำต่อไปอีกว่า ก่อนอื่นช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศกำลังหนาว เป็นช่วงที่ละมุดพักต้น ระหว่างนี้ต้องทำให้ต้นเบาก่อน คือเก็บผลละมุดผลเล็กผลน้อยออกให้หมด จากนั้นก็บำรุงต้นให้ต้นสะสมอาหารให้เต็มที่ ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ให้แตกใบอ่อนครั้งหนึ่ง

เตรียมต้นให้สมบูรณ์จนกระทั่งเดือนมีนาคมดูว่าต้นสมบูรณ์เต็มที่ ใบเขียวเข้มเป็นมันดีแล้ว งดการให้น้ำ ตากดินให้แห้ง ให้ต้นอดน้ำไม่เกิน 20 วัน ดูใบจะสลดเพราะขาดน้ำ ถึงตอนนั้นให้ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตรเสมอ อัตราส่วน 1 ต้น ประมาณครึ่งกิโลฯ ไม่ต้องมาก พอหว่านปุ๋ยเสร็จให้ขึ้นน้ำทันทีจนดินชุ่ม แล้วเว้นระยะ 2 วัน ขึ้นน้ำที ใบจะสดใสขึ้นมา ไม่ช้าต้นก็จะแตกใบและติดตาดอกให้เห็น ก่อนดอกบานฉีดยาป้องกันแมลงหวี่ขาว ยาควบคุมหนอน และป้องกันเชื้อรา ผสมฉีดให้ทั่ว ประมาณ 2 ครั้ง หลังดอกบานงดการใช้ยา จนกระทั่งละมุดติดผลเล็กๆ คราวนี้ต้องฉีดยาครอบจักรวาลคุมหนอนคุมแมลงทุก 7 วัน ไปเรื่อยๆ

จนกระทั่งผลใหญ่ขนาดผลมะยม จึงค่อยๆ ห่างยา แต่ก็ต้องคุมเป็นระยะ ป้องกันไม่ให้หนอนหรือแมลงลงเจาะผล จนกระทั่งผลใหญ่ขนาดหัวแม่มือจึงจะปลอดภัย

สำหรับฮอร์โมนบำรุงดอก บำรุงผล ก็ต้องให้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ทางดินต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ยตามการเจริญเติบโต พอผลโตก็ให้ปุ๋ยหว่านครั้งหรือสองครั้งก่อนเก็บ หากมีฝนตกฉีดฮอร์โมนไม่สะดวกก็ให้ปุ๋ยเกล็ดบ้าง

"เกษตรกรดำเนินสะดวก เป็นนักเคมีกันทุกคน มีอะไรๆ ผสมปนเปกันไปหมด หากจะถามว่าต้องใช้ยาสูตรอะไรบ้าง คงบอกไม่ได้ เพราะว่าลูกชายฉันเขาเป็นนักเคมี ผสมโน่นผสมนี่ เอายาสูตรนั้นสูตรนี้มาผสมปนเปกัน แล้วฉีดป้องกันแมลงศัตรูทำลายทั้งดอก ทั้งผล แถมด้วยฮอร์โมนสูตรต่างๆ อีก ก็เลยบอกไม่ได้ว่าเป็นสูตรอะไร เพราะมันผสมปนเปกัน"

คุณนงลักษณ์ กล่าวอย่างอารมณ์ดี พร้อมกับบอกต่ออีกว่า ลูกชายฉันเขาก็เป็นนักเคมี เที่ยวไปคุยกับเพื่อนบ้านที่ทำสวนด้วยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกษตรกรย่านนี้ดีหน่อยที่ไม่ปิดบังเรื่องของการใช้ยา ใช้ปุ๋ย เราจึงสามารถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันนำมาใช้ในสวนได้ อีกทั้งตัวเองก็ต้องมีการประยุกต์ใช้กับสวนของเราด้วย

สำหรับการปลูกละมุดนั้นไม่ยุ่งยากเลย ใช้กิ่งตอนปลูกจะเหมาะกว่า คุณนงลักษณ์ บอกว่า ขุดหลุมให้ใหญ่สักหน่อย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำสม่ำเสมอ พอต้นแข็งแรงใส่ปุ๋ยทางดินน้อยๆ ใช้สูตรเสมอก็ได้สะดวกดี ให้ปุ๋ย 3 เดือนครั้ง จนกระทั่งต้นเติบโตเต็มที่

ละมุดถ้าได้น้ำสม่ำเสมอ ได้ปุ๋ยบำรุงเต็มที่ ต้นจะโตเร็วมาก เพียงแค่ 3 ปี ก็ให้ผลผลิตแล้ว แต่ยังไม่เต็มที่ เข้าปีที่ 4 ละมุดจะเริ่มติดดกขึ้น จะไปให้ผลผลิตดีก็ช่วงปีที่ 5-6 ถึงคราวนี้ต้องบำรุงต้นก่อนติดดอกออกผล หลังเก็บผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย พักต้นให้ต้นสะสมอาหารจนเต็มที่จึงรดน้ำ แล้วก็ขึ้นน้ำอีกที ละมุดก็จะติดดอกออกผลอีกรุ่นหนึ่ง หากจะให้ละมุดติดผลนอกฤดูก็ให้เตรียมต้นช่วงวันเวลาดังกล่าวข้างต้น

คุณนงลักษณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า พอเก็บผลลงมาจากต้น ก็ยังต้องมาผ่านพิธีการล้างผลกันก่อน โดยการนำผลมาใส่ใน "กร๊อ" ภาชนะทรงกลมทำด้วยตาข่ายหรือไม้ตีแนวขวางโดยรอบ ติดตั้งแช่ไว้ในน้ำครึ่งหนึ่ง เอาผลละมุดใส่ลงไปในกร๊อ ติดเครื่องมอเตอร์ ให้มอร์เตอร์หมุนกร๊อ ละมุดที่อยู่ในกร๊อจะกลิ้งหมุนล้างน้ำจนสะอาด ในกร๊อสามารถใส่ละมุดล้างได้ประมาณ 200 กิโลกรัม หมุนกร๊อในน้ำประมาณ 5 นาที จึงเอาผลละมุดที่ล้างน้ำแล้วออกมา ย้อมสีโดยตักละมุดในกร๊อออกมาด้วยสวิงตาข่ายหนาจุ่มในน้ำผสมสีย้อมละมุด แล้วนำลงในรางไม้เพื่อคัดละมุด

จากนั้นก็ใช้มือคัดแยกละมุดใส่ตระกร้าส่งขาย ละมุดที่เก็บออกมานี้ยังสุกไม่เต็มที่ จะต้องบ่มอีก 2 คืน จึงจะใช้ได้

คุณนงลักษณ์ บอกว่า ลูกชายอีกคนหนึ่งมีแผงขายผลไม้ที่กรุงเทพฯ เขามีลูกค้ามารับซื้อต่ออีกช่วงหนึ่ง ลูกค้าบางรายก็ต้องการละมุดดิบๆ อย่างนี้ เขาจะเอาไปบ่มเองหรือขาย ก็จะบอกลูกค้าว่าจะต้องบ่มต่อ หรือบางรายก็ต้องการละมุดบ่มสามารถรับประทานได้เลย เราก็จะแยกเอาไว้บ่มก่อน ขายตรงนี้อยู่ที่ผู้ซื้อว่าต้องการละมุดดิบหรือบ่มสุกแล้ว

ละมุดจากสวนจะส่งขายไปทั่วประเทศ ส่วนเรื่องของราคาละมุดนั้น คุณนงลักษณ์ บอกว่า หากทำให้เก็บผลได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร ปีนี้ราคาพอไปได้ แต่ 2-3 ปี ที่ผ่านมา ละมุดช่วงฤดูกาลคือ เก็บผลตอนเดือน เมษายน-พฤษภาคม ราคาตกถึงกับขาดทุน ละมุดถ้าขายต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4 บาท จากหน้าสวน ก็ขาดทุนแล้ว ที่ผ่านๆ มาชาวสวนแย่ไปตามๆ กัน สาเหตุหนึ่งก็คือ ราคาปุ๋ย ราคายาเคมีแพงมาก

คุณนงลักษณ์ บอกว่า ละมุดสามารถปลูกได้ทั่วไป แต่ต้องมีข้อแม้ว่าดินต้องดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถบังคับน้ำได้ ก็สามารถปลูกละมุดให้ผลดีได้ ปลูกละมุดต้องใกล้แหล่งน้ำ หากปลูกระบบไร่ผลผลิตที่ออกมาจะต่างไปจากละมุดสวนแถบดำเนินสะดวก ละมุดจากสวนดำเนินฯสะดวกเนื้อจะละเอียดหวานหอม และกรอบ ส่วนละมุดจากพื้นที่ไร่เนื้อจะออกหยาบเป็นเนื้อทราย ทั้งๆ ที่เป็นละมุดพันธุ์เดียวกัน แต่พื้นที่ปลูกต่างกัน เนื้อละมุดจะออกมาไม่เหมือนกัน

คุณนงลักษณ์ กล่าวอีกว่า ใครๆ มักถามว่า ทำไม ต้องย้อมสีละมุดด้วย เกษตรกรชาวสวนละมุดก็สงสัยเหมือนกันว่าผู้บริโภคทำไมไม่ยอมรับละมุดที่ไม่ย้อมสี เกษตรกรเองไม่อยากเสียเงินไปซื้อสีย้อมละมุดมาย้อมหรอก ราคาค่าสีย้อมละมุดหนึ่งกิโลฯ ราคาพันกว่าบาทแล้ว ไม่ใช่ถูกๆ

ละมุดที่ไม่ย้อมสีผิวเปลือก ผลจะออกสีน้ำตาลขาว ดูไม่สวย ถ้านำมาวางคู่กับละมุดย้อมสี ผู้คนร้อยทั้งร้อยจะเลือกละมุดสวยที่ย้อมสี ในเมื่อผู้บริโภคต้องการละมุดสวย ผู้ขายก็ต้องทำละมุดสวยๆ ขายเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องผลิตละมุดสวยย้อมสีออกขายด้วยเหตุฉะนี้

สำหรับเกษตรกรรายใดสนใจในเรื่องของละมุด หรือจะซื้อไปขาย ไปดูงาน เชิญโทร. คุยกับ คุณนงลักษณ์ ได้ที่ โทร (081) 704-4194 เจ้าตัวบอกยินดีต้อนรับทุกท่าน...เชิญนะ เจ้าคะ


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 7:14 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สันติพงศ์ แซ่ว่อง ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา โทร. (089) 479-3103

หลักวิชา 5 ธาตุ กับการเกษตรด้านพืช

ท่านผู้อ่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่า "ธาตุทั้ง 5" ซึ่งประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และธาตุโลหะ แล้วธาตุทั้ง 5 นี้ไปเกี่ยวข้องกับการเกษตรได้อย่างไร แล้วท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า สรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องมีความสัมพันธ์กับธาตุทั้ง 5 นี้ โดยที่สิ่งมีชีวิตในโลกนี้เกิดมาแล้วก็ต้องตายไปตามอายุขัย แต่ธาตุทั้ง 5 นี้จะยังคงดำรงอยู่ตลอดไป เพียงแต่อาจเปลี่ยนสถานะได้ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ธาตุน้ำ เป็นได้ทั้งของเหลว ของแข็ง และไอน้ำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในขณะนั้นว่าสูงหรือต่ำ ฉะนั้น ถ้าเราคิดจะปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จ ก็ควรทำความเข้าใจกับธาตุทั้ง 5 ให้ได้เสียก่อน

หลักวิชา 5 ธาตุ กับการเกษตรด้านพืชเป็นมรดกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจากชาวจีน เนื่องจากบิดาของผมได้อพยพมาจากประเทศจีน ซึ่งก็ได้รับการสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษเช่นกัน หลักวิชานี้จะแตกต่างกับทางฝั่งตะวันตก เพราะไม่มีงานวิจัยรองรับเหมือนของฝั่งตะวันตก ซึ่งทางฝั่งตะวันตกจะมีการบันทึกเป็นตัวอักษรผลของการวิจัยในผลงานนั้นๆ แต่ของชาวจีนจะใช้วิธีถ่ายทอดแบบปากต่อปาก ให้เฉพาะลูกหลานในตระกูลเท่านั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันคนนอกตระกูลขโมยวิชาของตระกูลออกไปใช้ประโยชน์ ขอยกตัวอย่างเรื่องหน้ากากเปลี่ยนหน้าของจีนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก จะถ่ายทอดให้คนในตระกูลเท่านั้น

สำหรับตัวผมก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณพ่อ ตั้งแต่อายุ 13 ปี ซึ่งในความเป็นจริง หลักวิชานี้จะเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ด้วย และในขณะนี้ผมก็กำลังศึกษาเรื่องธาตุทั้ง 5 ที่เกี่ยวกับมนุษย์อยู่ ถ้าได้ผลประการใด คงได้มีโอกาสถ่ายทอดเป็นหนังสือให้คนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป ซึ่งในชั้นนี้ผมจะเขียนเฉพาะด้านพืช เมื่อตอนที่คุณพ่อถ่ายทอดวิชานี้ให้ ก็ใช้วิธีบอกปากเปล่าเป็นภาษาจีน ผมต้องใช้เวลาเกือบ 40 ปี ทดสอบกับเรื่องต่างๆ ที่คุณพ่อถ่ายทอดให้ จนพอเข้าใจว่าพืชไปเกี่ยวข้องอะไรกับธาตุทั้ง 5 เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่าย ผมขอแบ่งหลักการปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จเป็น 3 ส่วน โดยอาศัยหลักวิชา 5 ธาตุ ดังนี้

ส่วนที่ 1 ธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และธาตุโลหะ

1. ธาตุดิน คือ ธาตุที่เกิดจากหิน สินแร่ และซากพืช ซากสัตว์ต่างๆ ที่ทับถมกันเป็นเวลานานแล้วย่อยสลายเป็นดิน เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย เช่น ไส้เดือน หรือจุลินทรีย์ มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช 13 ธาตุ ในการดำรงชีวิต และเป็นธาตุที่รองรับสสารกับวัตถุต่างๆ บนโลก เช่น ยางพาราที่ยืนต้นได้ ไม่โค่นล้ม ก็เพราะอาศัยดินเป็นตัวยึดรากเอาไว้

2. ธาตุน้ำ คือ ธาตุไฮโดรเจน (H) กับธาตุออกซิเจน (O) ดั่งคำที่กล่าวกันว่า "น้ำ คือชีวิต" เพราะไม่ว่าพืชหรือสัตว์ ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

3. ธาตุลม คือ ธาตุคาร์บอน (C) และธาตุออกซิเจน (O) พืชและสัตว์ก็ต้องหายใจ ถ้าขาดธาตุลม ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ต้นไม้ที่เราเห็นตั้งแต่ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ก็คือองค์ประกอบของธาตุคาร์บอน แม้แต่น้ำยางหรือแผ่นยางพาราก็มีธาตุคาร์บอนปะปนอยู่เช่นกัน

4. ธาตุไฟ คือ อุณหภูมิและแสงแดด โดยเฉพาะพืชที่มีสีเขียว (คลอโรฟิลล์) จำเป็นต้องอาศัยแสงแดดในการปรุงอาหาร หรือสังเคราะห์แสง ถ้าพืชขาดแสงแดดและอุณหภูมิที่เหมาะสมก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

5. ธาตุโลหะ คือ ปัจจัยการผลิตทั้งหมด ได้แก่ พันธุ์พืช ธาตุอาหาร สินแร่ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก เช่น ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น ถ้าเป็นพันธุ์พืช ได้แก่ ต้นยางพารา ต้นมะม่วง และพืชชนิดต่างๆ

ส่วนที่ 2 การฝึกอวัยวะทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และมือ

1. ตา ต้องหมั่นใช้ตาสังเกต หรืออ่านหนังสือวิชาความรู้ต่างๆ ให้มาก เกษตรกรโดยทั่วไปมักขาดการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น

พืชที่เราปลูก จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามฤดูกาล และอายุของมัน เมื่อเราปลูกทุเรียน เราจะรู้สึกและสนใจก็ต่อเมื่อต้นทุเรียนออกดอกและติดผลแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้น เกษตรกรส่วนใหญ่มักไม่ได้สังเกตกระบวนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุเรียน การสังเกตจะทำให้เราสามารถเห็นความปกติหรือความไม่ปกติได้ และสามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเกิดความเสียหาย

การเพาะเห็ดก้อนในโรงเรือน โดยใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุทำก้อน เราต้องฝึกใช้ตาสังเกตสีของขี้เลื่อยว่า ลักษณะสีแบบไหนเหมาะสมที่จะนำมาเพาะเห็ดได้

การสังเกตต้นไม้พื้นเมืองในท้องถิ่น ลักษณะเปลือกหนา เปลือกบาง หยาบหรือเรียบ แข็งหรืออ่อน มีราหรือตะไคร่เกาะอยู่มากน้อยเพียงใด ลักษณะทรงพุ่มใหญ่หรือเล็ก ซึ่งลักษณะโครงสร้างภายนอกเหล่านี้ สามารถประมาณการได้ว่า ในพื้นที่นั้นๆ มีปริมาณน้ำฝนประมาณกี่มิลลิเมตรในแต่ละปี

2. หู ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เมื่อมีผู้รู้ ครู อาจารย์ หรือปราชญ์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ต้องตั้งใจฟัง และนำมาวิเคราะห์ แยกแยะหาเหตุและผล ดังคำสอนในพุทธศาสนาที่ว่า เมื่อเกิดผลในปัจจุบัน ก็ต้องมีเหตุมาจากอดีต เช่น การได้กินผลมะม่วงในวันนี้ เหตุก็เพราะเราปลูกต้นมะม่วงมาก่อน เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราปลูกต้นยางพาราแล้วออกลูกมาเป็นผลมะม่วง

3. จมูก โดยทั่วไปคนที่ร่างกายปกติ จมูกจะสามารถแยกแยะกลิ่นต่างๆ ได้ดี เช่น กลิ่นน่ารับประทานของทุเรียน กลิ่นหอมของดอกมะลิ กลิ่นเหม็นของขยะ เป็นต้น ดังนั้น เกษตรกรจึงควรฝึกใช้จมูกแยกแยะกลิ่นให้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการทำการเกษตรได้มาก เช่น ฝึกใช้จมูกแยกแยะกลิ่นปุ๋ยชนิดต่างๆ ปุ๋ยยูเรียมีกลิ่นแบบไหน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีมีกลิ่นแบบไหน การดมกลิ่นขี้เลื่อยเพื่อเพาะเห็ด กลิ่นขี้เลื่อยคุณภาพดี จะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือการใช้จมูกดมกลิ่นดิน จะสามารถบอกได้ว่า ดินตรงนี้มีอินทรียวัตถุมากหรือน้อย มีสารเคมีฆ่าหญ้ามากหรือน้อย

4. ลิ้น ลิ้นสามารถแยกแยะรสชาติได้ ฉะนั้น ควรรู้จักใช้ลิ้นให้เกิดประโยชน์ เช่น เราปลูกไม้ผลอะไรสักอย่าง เราต้องใช้ลิ้นชิมดูว่าผลไม้ที่เราปลูกมีคุณภาพรสชาติตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าชิมแล้วคุณภาพไม่ได้ตามที่ต้องการ แสดงว่าอาจเกิดจากการได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เช่น อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพของผลไม้ด้อยลงได้

5. มือ มือช่วยเราทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย นอกจากเราใช้มือในการจับถือสิ่งของต่างๆ หรือเขียนหนังสือแล้ว เรายังสามารถรับรู้และรู้สึกได้จากการสัมผัสด้วยมือ ไม่ว่าจะเป็นการบีบคลำนวด ในด้านการเกษตรก็เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

การทำเห็ดก้อน เมื่อเราผสมวัสดุต่างๆ ตามอัตราส่วนแล้ว เราต้องใช้มือกำขี้เลื่อยแล้วแบ เพื่อให้รู้ว่าขี้เลื่อยมีความชื้นพอเหมาะที่จะนำมาบรรจุถุงได้หรือไม่ หรือการหาความชื้นในโรงเปิดดอกเห็ดว่ามีความชื้นพอหรือไม่ ให้ใช้มือโบกสะบัดไปมาในโรงเรือน หลังมือเราก็จะสัมผัสได้ว่ามีความชื้นในขณะนั้นมากน้อยแค่ไหน หรือการใช้มือคลึงหรือบี้ดิน เพื่อให้รู้ลักษณะโครงสร้างเบื้องต้นของดินว่าเป็นดินประเภทไหน เช่น ดินเหนียว ดินร่วน หรือดินทราย เพื่อที่จะได้กำหนดพืชที่เหมาะสมที่จะปลูกกับประเภทของดินนั้นๆ เพราะพืชแต่ละชนิดเหมาะสมกับดินแต่ละประเภทต่างกัน เช่น ข้าว ชอบดินเหนียว พืชผักชอบดินร่วน ยางพารา ชอบดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย

การใช้อวัยวะทั้ง 5 นี้ ผมเพียงยกตัวอย่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่สนใจนำไปฝึกฝน เพราะมีพืชมากมายหลายชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพภูมิประเทศ สภาพดิน และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงทำให้การฝึกใช้อวัยวะทั้ง 5 ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป

ส่วนที่ 3 การเข้าใจองค์ความรู้ 4 เรื่อง ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง และศึกษาจากตำรา จากครูอาจารย์ องค์ความรู้ 4 ที่ต้องเข้าใจ ได้แก่

1. ดิน เราต้องมีความรู้พื้นฐานลักษณะโครงสร้างดินในพื้นที่การเกษตรของเราก่อนว่าเป็นดินประเภทใด เช่น ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ดินลูกรัง มีการระบายน้ำดีหรือไม่ มีความลึกของหน้าดินมากน้อยเพียงใด เพื่อสามารถกำหนดพืชที่ปลูกให้เหมาะสม หรือหากจำเป็นก็ต้องปรับปรุงดินให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าจะปลูกทุเรียน ซึ่งเป็นพืชยืนต้น ก็ควรต้องมีหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพราะรากดูดหาอาหารของทุเรียนจะแผ่ขยายที่ระดับ 50 เซนติเมตร จากผิวดิน แต่หากจะปลูกพืชผัก พืชไร่ หรือพืชล้มลุกต่างๆ ควรมีหน้าดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร จากผิวดินก็เพียงพอ หรือหากจะปลูกยางพาราในพื้นที่ดินทราย เช่น ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก็จะต้องมีการปรับปรุงดินเพื่อให้ปลูกยางได้ประสบผลสำเร็จ เช่น ปลูกปอเทือง หรือถั่วพร้า ให้เต็มพื้นที่ เมื่อออกดอกก็ไถกลบ จากนั้นขุดหลุมให้กว้าง ยาว และลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 7-8 กิโลกรัม ผสมแกลบสด 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินบนแล้วกลบดินลงในหลุมก่อนปลูก ประมาณ 1 เดือน จากนั้นปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว แล้วปลูกยางตาม ในช่วงปีแรกควรมีการให้น้ำต้นยางในช่วงฤดูแล้ง จะช่วยให้ต้นยางรอดตายสูง และมีการปฏิบัติดูแลรักษาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง

2. สภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช เช่น สภาพภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ (แสงแดด) ลม และความชื้นสัมพัทธ์

2.1 สภาพภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ราบ ที่ลุ่ม ที่ดอน พื้นที่ลอนลูกคลื่น พื้นที่สูง ลักษณะต่างๆ ของสภาพพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรปลูกพืชชนิดไหน จึงจะเหมาะสม เช่น ยางพารา ไม่เหมาะสมปลูกในพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินสูง หรือพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร ขึ้นไป พื้นที่ลุ่มดังกล่าวควรปลูกข้าวจะเหมาะสมกว่า

2.2 ปริมาณน้ำฝน มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการปริมาณน้ำที่แตกต่างกัน ฉะนั้น เราต้องทราบข้อมูลปริมาณน้ำฝนในพื้นที่การเกษตรของเราด้วย เพื่อสามารถกำหนดพืชปลูกที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีด้วย เช่น ยางพารา ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีการกระจายตัวของฝน หรือมีจำนวนวันฝนตก 120-150 วัน ต่อปี และต้องดูเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ลักษณะดิน ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วย

2.3 อุณหภูมิ หรือแสงแดด พืชแต่ละชนิดมีความต้องการปริมาณแสงแดดเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตแตกต่างกัน เช่น ยางพารา ต้องการแสงแดด 100% ส่วนดาหลา ต้องการแสงแดด 60-70% หรือเห็ดนางรมภูฏานก้อน จะออกดอกได้ดีที่อุณหภูมิในโรงเรือน 29 องศาเซลเซียส เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงต้องเข้าใจพืชที่จะปลูกว่า มีความต้องการแสงแดดหรืออุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างไร

2.4 ความชื้นสัมพัทธ์ มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต การผสมเกสร การออกดอก และการติดผล ตลอดจนคุณภาพของผลผลิต เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการความชื้นสัมพัทธ์แตกต่างกัน เช่น ทุเรียน ที่กำลังติดผล ถ้าได้รับความชื้นสัมพัทธ์สูงเกินไป ก็จะทำให้ไส้ซึม คุณภาพไม่ดี

หรืออีกกรณีผมขอยกตัวอย่างจากการทดลองของผม เรื่อง เปลือกลำต้นลองกองแตกก่อนเก็บเกี่ยว ผมได้ทดลองอยู่ 5 ปี ในแปลงทดลอง 12 ไร่ โดยแบ่งเปรียบเทียบการทดลองแปลงละ 6 ไร่ แปลงหนึ่งกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้นจนสะอาด อีกแปลงไม่มีการกำจัดวัชพืช โดยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดปีละครั้งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อลองกองติดผล ก็จะปล่อยให้วัชพืชขึ้นจนรก การให้น้ำและปุ๋ยก็ไม่มีการกำจัดวัชพืชออก และบันทึกอุณหภูมิบริเวณทรงพุ่มทุกวัน วันละ 2 เวลา คือช่วงเช้าเวลา 08.00 น. และช่วงบ่ายเวลา 15.00 น. พบว่า แปลงที่ปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นรก ต้นลองกองเปลือกไม่แตก ส่วนแปลงที่กำจัดวัชพืชจนโล่งเตียน ต้นลองกองเปลือกแตก แสดงให้เห็นว่า เปลือกลำต้นบริเวณรอบทรงพุ่ม ที่มีวัชพืชปกคลุม มีความชื้นสูง เมื่อฝนตก เปลือกจะไม่แตก ส่วนต้นที่ไม่มีวัชพืชปกคลุม มีความชื้นต่ำเมื่อถูกฝนเปลือกจะแตกหมด เพราะปรับตัวไม่ทัน เนื่องจากขณะฝนตก อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อปะทะกับอุณหภูมิสูงในทรงพุ่ม จึงทำให้เปลือกแตก

2.5 ลม มีผลต่อการปรุงอาหารของพืช ถ้าลมแรงทำให้ใบพลิกไปมา ก็จะทำให้การปรุงอาหารของพืชไม่ต่อเนื่อง หรือทำให้ต้นไม้หักโค่นล้มเสียหายได้ ยกตัวอย่างเช่น

- การปลูกยางพารา เราควรต้องทราบทิศทางลมในพื้นที่ด้วย ถ้ากระแสลมมาจากทิศใต้ เราต้องปลูกไม้กันลมดักไว้ หรือปลูกยางพันธุ์ต้านทานลมดักไว้ทางทิศใต้ 4-5 แถว ส่วนแถวในใช้พันธุ์ที่ต้องปลูกต่อไป

- โรงเรือนเพาะเห็ด ควรมีฉากกั้นหน้าประตูอีกชั้น เพื่อป้องกันลมพัดเข้าโรงเพาะเห็ด เพราะหากมีลมเข้าโรงเรือน จะทำให้การเดินทางของเส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต

2.6 ฤดูกาล เราต้องทราบฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูร้อน หรือฤดูหนาว ในพื้นที่การเกษตรของเราอยู่ในช่วงเดือนไหน เพื่อสามารถกำหนดการปลูกพืชได้ถูกต้อง โอกาสรอดตายสูง

3. ธาตุอาหารพืช ก็คืออาหารของพืช โดยทั่วไปพืชที่มีใบสีเขียว ต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 16 ธาตุ แต่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป 3 ธาตุ ได้แก่ ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) และคาร์บอน (C) ส่วนอีก 13 ธาตุ จะอยู่ในดิน ซึ่งแบ่ง 3 ส่วน ตามความจำเป็นของพืช ได้แก่

3.1 ธาตุที่พืชต้องการมาก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)

3.2 ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S)

3.3 ธาตุอาหารเสริมหรือจุลธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) และคลอรีน (Cl)

ถ้าพืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ฉะนั้น เราต้องเข้าใจในธาตุอาหารพืชแต่ละตัวด้วยว่ามีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกัน ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ ก็จะแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เราเห็นได้ ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าพืชขาดธาตุไนโตรเจน (N) ตัวใบจะมีสีเหลืองซีดอย่างสม่ำเสมอทั้งใบ ธาตุไนโตรเจนมีหน้าที่สร้างการเจริญเติบโตให้กับพืช เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ (ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช) แต่ถ้าพืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง และโครงสร้างลำต้นอ่อนแอ ในยางพาราหากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ลำต้นจะโค้งโน้มลง ธาตุไนโตรเจนมีคุณสมบัติพืชดูดไปใช้ได้เร็วถ้าอยู่ในรูปสารเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จะละลายน้ำได้ดี เมื่อสัมผัสกับอากาศก็จะระเหยไปในอากาศได้ มีสถานะเป็นกรดและเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในโลก ประมาณ 78% ของธาตุทั้งหมด

ถ้าพืชขาดธาตุฟอสฟอรัส (P) จะเกิดอาการใบไหม้ที่ปลายใบแห้งกรอบ ธาตุนี้มีหน้าที่สร้างเซลล์ตาดอก และระบบราก เป็นส่วนองค์ประกอบของเนื้อไม้ให้แข็งแรง เป็นธาตุมีค่าโมเลกุลสูง ละลายช้า ฉะนั้น การใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส ต้องใส่ให้กระจาย อย่าให้เป็นกลุ่ม เพราะทำให้พืชตายได้ เนื่องจากธาตุฟอสฟอรัสดูดน้ำเลี้ยงจากรากออกมามากเพื่อปรับสภาพบริเวณนั้นให้ค่าสมดุล รากพืชจึงจะดูดซึมกลับเข้าไปได้ แต่ถ้าบริเวณนั้นมีธาตุนี้มากเกินไป จะทำให้พืชสูญเสียน้ำมาก ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ปุ๋ยเค็ม ทำให้พืชตาย

ดังนั้น เราต้องมีความเข้าใจคุณสมบัติและหน้าที่ของธาตุอาหารพืชแต่ละธาตุ และสังเกตลักษณะอาการของพืชที่ขาดธาตุอาหารได้ ก็จะทำให้เราสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและช่วยลดต้นทุน

4. การจัดการก็คือ การเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมที่จะปลูกและการดูแลรักษา เช่น ถ้าเราจะปลูกยางพาราในพื้นที่มีปัญหาโรคใบร่วงและฝักเน่า หรือโรคเส้นดำ ที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า (Phytophthora) ระบาด เราต้องปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรคแทนพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรค ได้แก่ พันธุ์ RRIT 251 หรือ RRIT 226 หรือ BPM 24 เพราะต้านทานต่อโรคได้ดี ส่วนการดูแลรักษาพืชที่ปลูก เราสามารถศึกษาได้จากตำรา ตามคำแนะนำของพืชแต่ละชนิดได้จากเว็บไซต์ของทางราชการ หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือจากห้องสมุด

กล่าวโดยสรุป การทำการเกษตรด้านพืชให้ประสบผลสำเร็จ เราต้องรู้จักพืชที่จะปลูก รู้จักสภาพพื้นที่ สภาพดิน และรู้จักสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด รู้จักสังเกต ศึกษา เรียนรู้ ทดลองพิสูจน์หาเหตุผล ซึ่งโดยรวมก็คือ การอาศัยหลักวิชาธาตุทั้ง 5 อวัยวะทั้ง 5 และองค์ความรู้ 4 ดังที่ได้กล่าวข้างต้น

บทความที่ผมเขียนข้างต้นนี้ ผมได้สรุปนำส่วนที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วน โดยอาศัยการได้รับถ่ายทอดมาจากภาษาจีน ผนวกกับประสบการณ์ของตนเอง เพราะถ้าผมเขียนโดยละเอียดในแต่ละส่วน ต้องใช้เวลานานและต้นทุนสูงเพื่อที่จะเดินทางไปทั่วภูมิภาคของประเทศ โดยการถ่ายภาพลักษณะต่างๆ ในแต่ละท้องที่ เช่น สภาพภูมิประเทศ ลักษณะโครงสร้างดิน ต้นไม้ประจำถิ่น และข้อมูลภูมิสังคมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งทำให้ต้องรวบรวมเรื่องเหล่านี้เป็นหมวดหมู่แล้วเขียนอธิบายตามภาพประกอบในแต่ละส่วน แต่ ณ เวลานี้ ผมไม่สามารถทำได้ดังที่คิด จึงจำเป็นต้องเรียบเรียงเอาแต่ส่วนที่เป็นหัวใจของการทำการเกษตรด้านพืชที่ประสบความสำเร็จ เขียนเป็นบทความนี้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ บทความนี้เปรียบเสมือนตัวจิ๊กซอว์ 14 ชิ้น ที่ผมใส่ลงในกรอบรูป ส่วนที่เหลือท่านผู้อ่านต้องนำไปต่อยอดเอาเอง เพื่อให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ โดยการหมั่นฝึกใช้อวัยวะทั้ง 5 หาประสบการณ์ด้วยตนเอง และศึกษาจากตำราวิชาการต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการทำการเกษตรแบบยั่งยืน รักษาสภาพแวดล้อมและลดต้นทุน โดยปกติเกษตรกรในแต่ละภูมิภาคจะใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนเอง แต่ขอถามว่าทุกวันนี้เรานำออกมาใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน

จริงอยู่ภูมิปัญญาเหล่านี้ส่วนมากไม่มีงานวิจัยรองรับ แต่ก็ใช้ได้ผลในทางปฏิบัติ เหมือนหลักวิชาธาตุทั้ง 5 ของชาวจีนที่ผมได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งไม่มีงานวิจัยรองรับเช่นกัน แต่ก็ได้ผลในทางปฏิบัติเหมือนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยเรา ผมหวังว่า บทความชิ้นนี้จะสามารถจุดประกายความคิด และเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านที่สนใจในการทำการเกษตรได้บ้าง ซึ่งปัจจุบันพวกเราก็กำลังย้อนกลับไปหาภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่มิใช่หรือ


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:21 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 7:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาธร สิทธิสาร

ยูคาลิปตัส พืชเศรษฐกิจทนเค็ม แม้อาจจะทำลายความสมบูรณ์ของดิน
แต่แก้ได้โดยปลูกพืชหมุนเวียน


การที่น้ำในมหาสมุทรมีปริมาณสูงขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับสภาพดินให้มีความเค็มน้อยลง หรือจะเลือกปลูกพืชพรรณไม้ที่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตดีในสภาพดินเค็ม ซึ่ง "ยูคาลิปตัส" ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตดีแม้ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม

คุณศยามล สิทธิสาร นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของพืชเพื่อเผชิญหน้ากับสภาวะความเครียดจากความเค็ม ซึ่งจะทำให้พืชสร้างสารเพื่อเป็นกลไกในการต้านทานความเค็มขึ้นได้เอง หนึ่งในสารอินทรีย์ที่สำคัญที่พืชสร้างคือไกลซีนบีเทน (glycinebetaine) ซึ่งเป็นสารหลักที่ยูคาลิปตัสจะสร้างขึ้นมาเพื่อรักษาและคงสภาพให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้เมื่อเผชิญกับสภาวะความเครียดต่างๆ โดยในการทดลองนี้ความเครียดที่ถูกสร้างขึ้นกับยูคาลิปตัสคือความเค็ม ในพืชหลายชนิดเมื่ออยู่ในสภาวะความเค็มก็มักจะเกิดการสะสมของสารไกลซีนบีเทนเช่นกัน ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาจำเพาะเจาะจงในพืช "ยูคาลิปตัส" เพื่อดูการสะสมของไกลซีนบีเทนในยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ภายใต้สภาวะความเค็ม มีกระบวนการศึกษาวิจัยโดยเริ่มจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อยูคาลิปตัสในอาหารที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ 0 ถึง 500 มิลลิโมลาร์ เพื่อดูการสะสมของไกลซีนบีเทน ศึกษาการทำงานของเอ็นไซม์บีเทนอัลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ไกลซีนบีเทน, บันทึกข้อมูลและสังเกตการเจริญเติบโตของยูคาลิปตัสในระยะเวลา 45 วัน และปริมาณคลอโรฟิลล์ ทั้งในสภาวะภายใต้ความเค็มและสภาวะปกติ ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ รศ.ดร.ปุณฑริกา หะริณสุต อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ผลการทดลองพบว่า การสะสมของไกลซีนบีเทนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความเข้มข้นจาก 0 ถึง 500 มิลลิโมลาร์ของโซเดียมคลอไรด์ และการแสดงออกของเอ็นไซม์บีเทนอัลดีไฮด์ดีไฮโดรจีนเนสสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ และสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของไกลซีนบีเทนภายใต้สภาวะความเค็ม และไม่พบการเปลี่ยนแปลงปริมาณคลอโรฟิลล์ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิโมลาร์ของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ในช่วง 13 วันแรก อธิบายได้ว่ายูคาลิปตัสสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีด้วยตนเองในสภาวะที่มีความเค็ม ดังนั้น จึงเหมาะที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ดินเค็มและยังให้ผลผลิตที่ดีในสภาวะแล้งอีกด้วย และด้วยความที่ยูคาลิปตัสสามารถทนเค็มและทนแล้งได้ดีนี้ เป็นเพราะยูคาลิปตัสได้ดูดสารอาหารและแร่ธาตุในดินเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกลไกในการทนสภาวะความเครียดต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้ดินขาดสารอาหารอย่างรวดเร็วและกลายเป็นดินที่มีคุณภาพไม่ดี และต้องใช้ระยะเวลานานกว่าดินจะคืนสภาพสมบูรณ์ จึงมีข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรที่จะปลูกยูคาลิปตัสเป็นพืชเศรษฐกิจว่า ไม่ควรปลูกในปริมาณมาก และควรปลูกสลับหมุนเวียนกับพืชชนิดอื่นๆ บ้างเพื่อปรับความสมดุลให้ดิน อาทิ หญ้า พริก มะเขือ มันสำปะหลัง พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

นอกจากนั้น ควรมีระบบการกระจายน้ำที่ดี ซึ่งอาจขุดดินให้มีร่องกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร ทำคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและใช้น้ำล้างเกลือออกไปจากดิน ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี และปลูกพืชคลุมดิน ระยะปลูกยูคาลิปตัสควรปลูกด้วยระยะห่าง 1x1 ถึง 2x2 เมตร ถ้าเนื้อดินมีลูกรังหรือเศษหินปน ให้ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ซึ่งตามหลักวิชาการด้านการเกษตรแนะนำให้ใส่ปุ๋ยโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ใส่ในอัตรา 55 กรัม ต่อต้น โดยใส่แบบรองก้นหลุมก่อนปลูก ระยะที่ 2 ใส่ในอัตรา 55 กรัม ต่อต้น โดยโรยรอบโคนต้นหลังปลูก 15 วัน และระยะที่ 3 ใส่อัตรา 55 กรัม ต่อต้น โรยรอบโคนต้นตอนปลายฤดูฝน

ผลสรุปที่ได้จากการศึกษาวิจัยการทนเค็มของยูคาลิปตัสในครั้งนี้ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกใช้ปริมาณความเค็มในการทดลองด้วยระดับที่สูงมากคือ เกลือโซเดียมคลอไรด์ 0 ถึง 500 มิลลิโมลาร์ ถือว่าเป็นระดับความเค็มที่สูงกว่าระดับความเค็มของดินเค็มที่มีอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งในพื้นที่ที่พบสภาวะความเค็มส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 350 มิลลิโมลาร์ ดังนั้น แม้ในพื้นที่ที่ดินมีสภาวะความเค็มสูงสุดหรือมีความแห้งแล้งสูง ก็สามารถปลูกยูคาลิปตัสเพื่อเป็นไม้เศรษฐกิจได้ เพราะยูคาลิปตัสจะสร้างกลไกในการปรับตัวให้เจริญเติบโตได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่อาจจะสร้างความเสียหายให้กับดินโดยเกิดการสูญเสียแร่ธาตุต่างๆ ทำให้ดินบริเวณนั้นขาดความอุดมสมบูรณ์ แต่ก็แก้ปัญหาได้โดยการปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชคลุมดินร่วมกับการบำรุงดินด้วยปุ๋ยชนิดต่างๆ ก็จะสามารถฟื้นฟูสภาพดินให้ดีได้


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/03/2010 12:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 12:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะพร้าวก็ประดับได้

มะพร้าว เป็นไม้ตระกูลปาล์ม ที่มีปลูกกันอยู่ทั่วไป วัตถุประสงค์ของผู้ปลูกส่วนใหญ่เพื่อเก็บผลผลิต

กระนั้นก็ตาม มะพร้าวสามารถเป็นไม้ประดับได้ ข้อดีของการตกแต่งสถานที่ด้วยมะพร้าวนั้น การดูแลไม่ยุ่งยาก นานๆ จึงเก็บทาง (ใบ) ให้ทีหนึ่ง ผลผลิตมะพร้าวยังเป็นผลพลอยได้ ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม ก็ล้วนแล้วแต่นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น

มะพร้าวมีทรงต้นที่สวยงาม บางสายพันธุ์สีแจ่มจ้า ไม่ว่าจะเป็นผล และเส้นกลางใบมะพร้าว สีสันของมะพร้าวที่เห็นอยู่ โดยทั่วไปสีเขียว

แต่ที่เข้าข่ายปลูกประดับได้ดี มีมะพร้าวสีเหลือง สีส้ม สีแดง ท้องถิ่นภาคใต้ เมื่อปลูกมะพร้าวเหล่านี้ สีของมะพร้าวจะเข้มขึ้นมาก เพราะฝนชุกอากาศชื้น

ที่เกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อาจารย์อำมาตย์ คุณสวัสดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เป็นผู้นำมะพร้าวน้ำหอมเข้าไปปลูก โดยการย้ายต้นใหญ่เข้าไป เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ใครๆ ก็ไม่มั่นใจว่ามะพร้าวจะยืนต้นอยู่ได้ เพราะไม่ค่อยมีใครทำมาก่อน

อาจารย์อำมาตย์บอกไว้ว่า ก่อนลงมือเตรียมการอย่างดี โดยขุดล้อมเตรียมต้นไว้ก่อน จากนั้นวางแผนขนส่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน การทำงานก็แล้วเสร็จ

เวลาผ่านไปนานหลายปี มะพร้าวที่ย้ายต้นไปปลูกยังอยู่ดีสบาย บางส่วนก็ปลูกเสริมเข้าไปใหม่

เหตุการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้ เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

ยุคก่อนโน้น นักศึกษาที่เข้าเรียนเกษตรบางพระ มักอยู่หอพักของมหาวิทยาลัย โดยที่ค่าหอ 4 เดือน หรือ 1 เทอม อยู่ที่ 200 บาท ถ้าจำไม่ผิด แต่ไม่เกิน 400 บาท (น้ำ-ไฟพร้อม) แต่ละหอพักจึงมีนักศึกษาอยู่กันอย่างหนาแน่น

สถาบันทางด้านการเกษตรนั้นมีแปลงปลูกผักผลไม้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ขนุน มะพร้าว

ยามเย็นหรือมืดค่ำ นักศึกษามักจะไปเสาะหาผลไม้มากินกัน ใครที่มีฝีมือทางด้านตัดกล้วยของมหาวิทยาลัย จะเรียกคนนั้นว่า "เสือกล้วย" หากเชี่ยวชาญเรื่องขนุนก็เรียก "เสือขนุน" ไม่ใช่ผีขนุน

เต๋อ หนุ่มเมืองน่าน ได้รับฉายาว่าเป็น "เสือพร้าว" เพราะรู้เรื่องมะพร้าวดี

เดิมทีเต๋อและแก๊งของเขา หากินกับมะพร้าวมาวา ที่แปลงทดลอง ต้นเตี้ยมาก ต่อมาเมื่อมาวาหมด เขาก็ขยับไปขึ้นมะพร้าวแกง ที่ขึ้นเป็นดง อยู่ข้างๆ สนามบิน

ใกล้มืดค่ำของวันหนึ่ง เต๋อและเพื่อนออกไปล่ามะพร้าวกัน เต๋ออาสาขึ้นต้นมะพร้าวเหมือนเดิม

วิธีการนำมะพร้าวลงมาจากต้น ทำได้โดยการปีนไปให้ใกล้ทะลายมะพร้าวมากที่สุด มือซ้ายกอดต้นมะพร้าวไว้แน่น มือขวาบิดจนขั้วผลขาด มะพร้าวก็จะหลุดลงมายังพื้น

เต๋อเป็นหนุ่มแน่น แข็งแรง เขานำมะพร้าวลงมาจากต้นจนเกือบหมดทะลาย

เหลือมะพร้าวผลสุดท้าย เต๋อเริ่มอ่อนแรงแล้ว เขาใช้มือขวาบิดมะพร้าวให้หมุน เขาพยายามผลักมะพร้าวให้หลุดจากขั้ว แต่ไม่เป็นผล เขาคิดขึ้นมาได้ว่า ดึงเข้าหาตัวจะมีแรงมากกว่า คิดได้ดังนั้น เขาจึงดึงมะพร้าวเข้าหาตัว มะพร้าวหลุดสมใจ...แต่มะพร้าวเจ้ากรรมมาตกกระทบที่ดั้งจมูกเต็มแรง ทำให้เต๋อเห็นดาวและน้ำตาไหล

เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เป็นจังหวะที่อาจารย์ผ่านมาพอดี เพื่อนที่อยู่ข้างล่างไหวตัวทัน เผ่นหนีตามระเบียบ ส่วนเต๋อทนเจ็บกอดต้นมะพร้าวอยู่นาน แต่เขาก็โชคดี ที่อาจารย์มองไม่เห็น

ตั้งแต่วันนั้น จนกระทั่งเรียนจบ ไม่มีใครเห็นเต๋อแวะเวียนไปที่ดงมะพร้าวอีกเลย ถึงแม้เพื่อนจะชวน...แต่เต๋อก็สั่นหัว


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 12:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภาวิณี สุดาปัน sudapun101@hotmail.com

ชวนชมดอกซ้อน นครปฐม สวยงามล้ำลึก

คนไทยรู้จักชวนชมมามากกว่า 70 ปี ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดนำเข้ามา มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไม้นำเข้าจากอินโดนีเซียหรือชวา เพราะแต่เดิมเคยเรียกว่า "ลั่นทมยะวา" ชื่อลั่นทม อาจจะเรียกตามความเข้าใจของคนในสมัยนั้น ที่คิดว่าชวนชมอยู่สกุลของลั่นทมเพราะมีดอกคล้ายกัน ส่วนคำว่ายะวา เพี้ยนจากชื่อเมืองชวา ตามความเป็นจริงแล้วชวนชมก็ไม่ใช่พันธุ์ไม้พื้นเมืองของชวา แต่อาจจะนำเข้ามาจากฮอลแลนด์ เพราะครั้งนั้นชวาถูกปกครองโดยชาวดัตช์อยู่ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นกลุ่มของนักสะสมรวบรวมพันธุ์ไม้ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะถิ่นเดิมชวนชมอยู่ในแอฟริกา และต่อมาพระนางเธอลักษมีลาวัณ ในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อโดยตามความเหมาะสม มีความรู้สึกที่ดีเป็น "ชวนชม" ต้องตามลักษณะของต้นไม้ในสมัยเดียวกันนั้นเอง

ชวนชมเป็นพืชอายุหลายปี ทนแล้ง มีลักษณะเด่นที่เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ เก็บกักตุนอาหารไว้ที่ลำต้น โขด (cordex, ส่วนต่อของลำต้นกับรากที่ขยายใหญ่ขึ้น) และราก ดอกมี 5 กลีบ สีชมพูอมแดง ส่วนกลางดอกจะเห็นรยางค์ 5 เส้น ยื่นยาวชัดเจนเป็นส่วนปลายของอับเรณูอยู่ภายในกรวยดอกไว้ล่อแมลง ที่ส่วนฐานกลีบดอกเชื่อมติดรวมเป็นกรวย ฐานกรวยเป็นที่ตั้งของรังไข่ 1 คู่ ถ้าได้รับการผสมเกสรสมบูรณ์จะเจริญเป็นฝักยาวคล้ายเขากวางอิมพาลา ภายในฝักมีเมล็ดเรียงเป็นแถวจำนวนเป็นสิบจนถึงร่วมร้อย เมล็ดทรงกระบอกเรียวยาว ขนาด รูปร่าง สี ใกล้เคียงเมล็ดข้าวเปลือกที่มีตอนปลายตัดทั้ง 2 ด้าน พร้อมมีพู่กระจุกขนประดับช่วยพยุงเมล็ดให้ปลิวไปตามลมได้ไกลๆ

ชวนชมจึงเป็นไม้ที่น่าหลงใหล มีความงามต่างรูปแบบ สวยทุกส่วนสัด ทั้งดอก ใบ ต้น โขด และราก ทั้งการเลี้ยงดูก็แสนจะง่าย ตายก็ยาก จะเอามาตกแต่งเป็นไม้พุ่ม ไม้ดัด ไม้ใหญ่ จัดเข้าสวนบ้านไทย ก็ทันสมัยทุกเวลา

คุณสุชาติ ศรีเลอจันทร์ อยู่บ้านเลขที่ 86/30 หมู่ที่ 5 ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ถนนสายบ้านแพ้ว-นครปฐม เล่าว่า แต่เดิมทำหลายอย่างแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ตอนนั้นปลูกไม้ผลจำพวกพุทราจัมโบ้ ช่วงนั้นราคาดี แต่พักหลังราคาผลผลิตซบเซาลง ตนก็หันมาจับอาชีพใหม่โดยหันมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับแทน ปลูกโป๊ยเซียนเป็นชนิดแรก ผู้บริโภคนิยมอยู่สักระยะหนึ่ง พอพักหลังความนิยมเริ่มลดลง

เมื่อลีลาวดีเป็นไม้ดอกไม้ประดับตัวใหม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค คุณสุชาติจึงปลูกลีลาวดี ประกอบกับช่วงนั้นลีลาวดีกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้บริโภคนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน ลีลาวดีเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ให้ตนเป็นอย่างดี

"ปีนี้ไม่ได้ทำ เพราะฝนมันมาเร็ว ประสบปัญหาในฤดูกาลหน้าฝน ฝนมาโรคก็มาด้วย ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง ขายต้นละ 100 บาท ไม่คุ้มทุน สู้ราคาไม่ไหว" คุณสุชาติ กล่าว

ปัจจุบันนี้ไม่ได้ปลูกลีลาวดีในกระถาง แต่นำมาปลูกลงดิน ปลูกประมาณ 10 ไร่ สามารถทำรายได้อยู่เสมอๆ เรียกได้ว่ายังเป็นที่ต้องการของตลาดไม้ดอกไม้ประดับอยู่นั้นเอง

ไม้ดอกไม้ประดับที่มีชื่อเรียกว่า "ชวนชม" เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ปลูกอยู่ในสวนของคุณสุชาติ กระแสความนิยมกำลังมาแรงในปัจจุบัน เป็นไม้ดอกตัวใหม่ที่ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการ การปลูกชวนชมก็ไปได้ดี แข่งขันกันสูง คุณสุชาติปลูกชวนชมบนพื้นที่ทั้งหมด 5 ไร่ ปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตมีการพัฒนาสายพันธุ์ชวนชมอยู่เสมอ สวนของคุณสุชาติเช่นกัน โดยปกติแล้วตามสวนทั่วไปจะปลูกชวนชมเป็นแบบกลีบเดี่ยว แต่ ณ ปัจจุบันนี้การพัฒนาสายพันธุ์ใหม่จากกลีบเดี่ยวเป็นแบบกลีบซ้อนกำลังมาแรง

"โดยเฉพาะชวนชมดอกซ้อน...แดนซิ่งเลดี้...เป็นที่ฮือฮามาก มีลักษณะกลีบซ้อน สีแดงเหมือนดอกกุหลาบ แต่ชวนชมดอกซ้อนจะประสบปัญหาในช่วงหน้าฝน ดอกจะช้ำง่ายเพราะกลีบดอกต้องรองรับน้ำฝนในปริมาณมาก ทำให้ดอกเสียหาย แต่หากเป็นกลีบเดียวมักจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้" คุณสุชาติ กล่าว

คุณสุชาติ พัฒนาสายพันธุ์ชวนชมเช่นกัน โดยส่ง คุณปกรณ์ ลูกเขย ไปหัดเขี่ยที่สวนเจริญเฟื่องฟ้า โดยมี คุณชาตรี ไทรประเสริฐศรี เป็นเจ้าของสวน เขี่ยเกสรต้นพันธุ์ครั้งแรกได้จำนวน 20 ต้น เกิดเป็นกลีบซ้อนเหมือนกลีบกุหลาบ การเขี่ยติดจะใช้ระยะเวลา 3 เดือน แก่แล้วจะแตกฝักออกมาจะนำไปเพาะ จากวันเพาะอีกประมาณ 5-6 เดือน ก็ออกดอก สังเกตเห็นได้เลยว่าเกิดกลีบซ้อนหรือไม่ ลักษณะต้นพันธุ์ที่มีลักษณะสวย คือ ดอกใหญ่ ดอกกลม กรวยสั้นไม่ยาวเกินไป ไม่ห้อย ชูตั้งรับแสง

ถ้าหากว่ามีผู้สนใจปลูกชวนชมจะต้องทำอย่างไร!

คุณสุชาติ กล่าวว่า ตนยินดีให้คำแนะนำ พร้อมกับสอนวิธีการเสียบยอดด้วย "มาเรียนหัดเสียบยอดได้ที่นี้ได้เลย ใช้ต้นพันธุ์ที่ดีและไม่ดีก็สามารถเสียบติดกันได้" คุณสุชาติ บอก

คุณสุชาติอธิบายว่า เมื่อเริ่มปลูกครั้งแรกควรจะซื้อต้นตอเล็กๆ ไปเพาะสักประมาณ 200 ต้น หรืออาจจะซื้อเมล็ดไปเพาะก็ได้จะเป็นการประหยัดต้นทุน พร้อมกับเรียนรู้ไปในตัวด้วย เพราะการที่จะเริ่มต้นทำอาชีพสักอย่างต้องเริ่มจากการทำธุรกิจขนาดเล็กก่อน แล้วค่อยเรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อยๆ จนสามารถเติบโตขึ้นมาได้เหมือนคุณสุชาติ แต่ก่อนก็เริ่มจับธุรกิจขนาดเล็กมาก่อน

ปัจจุบันนี้ถือว่าสวนคุณสุชาติเป็นสวนชวนชมขนาดกลางของเมืองไทย

การขยายพันธุ์ชวนชมทำได้หลายวิธี ทั้งการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การชำกิ่ง การเสียบยอด เป็นต้น สำหรับนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านปักษ์นี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงวิธีการขยายพันธุ์ของชวนชม เพียง 2 วิธี ดังต่อไปนี้

วิธีการเขี่ยเกสรดอกชวนชม เมื่อได้เมล็ด จึงนำไปเพาะ

ดอกชวนชมเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ภายในดอกบานจะเห็นรยางค์ของเกสรตัวผู้ 5 เส้น ยื่นออกมา ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นรยางค์ได้ชัด เกสรตัวผู้จะอยู่ตรงโคนรยางค์ เกสรทั้ง 5 จะห่อรวมกันเป็นรูปโดม ส่วนเกสรตัวเมียจะถูกเกสรตัวผู้หุ้มไว้ด้านใน โดยปกติแล้วชวนชมจะติดฝักยากเพราะเกสรตัวเมียถูกหุ้มอยู่ด้านใน ต้องมีแมลงคลานเข้าไปถึงจึงจะมีการผสมเกสรเกิดขึ้น ก่อนที่จะผสมเกสรให้ฉีกกลีบดอกพ่อพันธุ์ออก จะได้เขี่ยเกสรง่ายๆ ดอกพ่อแม่พันธุ์ควรจะบานแล้ว 2-3 วัน และควรมีดอกคนละสี หรือมีลักษณะกลีบดอกต่างกัน จะทำให้ได้ลูกผสมที่ต่างจากพ่อแม่ออกไป จากนั้นดึงเกสรตัวผู้ออก แล้วบีบโคนดอกเบาๆ เพื่อที่จะทำให้โดมเกสรตัวผู้แยกออกได้เหมือนกัน โดยใช้พู่กันเล็กๆ มาเขี่ยเอาละอองเกสรตัวผู้ ก่อนที่จะเอาไปป้ายที่ดอกแม่พันธุ์ให้ฉีกกลีบดอกออกนิดหนึ่งเพื่อที่จะง่ายต่อการป้ายเกสร ดึงเกสรตัวผู้ออกมาแล้วเด็ดเอาเกสรตัวผู้ออก แล้วบีบให้โดมเกสรตัวผู้ที่มีตัวเมียอยู่ด้านในเปิดออก จากนั้นเอาพู่กันที่มีละอองเกสรตัวผู้มาป้ายที่เกสรตัวเมียเลย หรือจะทำแบบเด็ดกลีบดอกออกก็ได้ เมื่อเกสรผสมติดแล้วกลีบดอกจะร่วงหล่นไป เหลือกลีบเลี้ยงและรังไข่ที่จะเจริญต่อไปเป็นเมล็ด แต่ถ้าผสมไม่ติด ดอกจะร่วงรวมทั้งกลีบเลี้ยงด้วย เมื่อผสมติดแล้วจากนั้นจะค่อยๆ เจริญเป็น 2 แฉก จะเห็นฝักชวนชมเป็น 2 แฉก รอจนฝักแก่และแตกออกก็สามารถเอาเมล็ดมาเพาะได้

วิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ เหมาะสำหรับการหาสายพันธุ์ที่แปลกใหม่ การเพาะเมล็ดจากต้นที่ผสมพันธุ์ อาจจะได้ต้นที่ดีกว่าพ่อแม่ หรืออาจจะได้ต้นที่คุณสมบัติที่ไม่ดีเท่า

ขั้นตอนและวิธีการขยายพันธุ์ชวนชมโดยวิธีเสียบยอด เหมาะสำหรับต้นพันธุ์ที่นิ่งแล้ว ขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนต้นเพิ่มขึ้น

เริ่มต้นด้วยการเลือกชวนชมสายพันธุ์ฮอลแลนด์ที่แข็งแรง และปลอดจากการติดโรค ขนาดลำต้นประมาณ 1.5 นิ้ว จากนั้นเลือกกิ่งเสียบที่ดูแข็งแรง ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หรืออย่างน้อยต้องมีตาสำหรับให้แตกกิ่ง โดยตัดปลายให้ตรงกับตำแหน่งที่มีตา เพราะชวนชมจะแตกกิ่งใหม่ที่ตา โดยให้มีขนาดเล็กกว่าต้นที่ใช้เป็นหัว โดยใช้มีดที่คม บาง และปลอดเชื้อตัดให้ตรงกับตำแหน่งตา ตัดลำต้นแนวราบให้สูงขึ้น จากพื้นดินพอประมาณ แล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน ในที่แห้ง เพื่อป้องกันการเน่า ต่อไปก็บากลำต้นเป็นรูปตัววี (V) ลึก 1.5-2 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสม จากนั้นนำกิ่งพันธุ์มาตัดปลายกิ่งให้เป็นลิ่มพอดีกับรอยบากรูปตัววี ริดใบออกให้เกือบหมด เหลือไว้ 1-2 ใบ ก็พอ โดยใช้กรรไกรตัดออกห่างจากข้อกิ่งครึ่งเซนติเมตร แล้วปล่อยให้ขั้วใบหลุดร่วงลงไปเอง เพื่อป้องกันการคายน้ำ จากนั้นหุ้มโดยรอบด้วยพลาสติคใสหรือเทป เพื่อป้องกันการติดเชื้อและกันน้ำซึมเข้าไปในรอยต่อ เสร็จแล้วใช้ปูนแดงทาปิดที่ส่วนบนของยอดรอยตัดของกิ่งพันธุ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ใช้ถุงพลาสติคหุ้มที่ปลายกิ่งให้คลุมทั้งรอยต่อ หรือคลุมทั้งกระถางเพื่อรักษาความชื้นให้คงที่ และรดน้ำวันละครั้งตามปกติ วางต้นชวนชมดอกซ้อนในที่ที่แดดไม่จัด จะเปิดถุงออกเมื่อครบ 7-10 วัน จากนั้นอีกประมาณ 20-30 วัน รอยต่อจะประสานกันพอดีให้แกะพลาสติคใสหรือเทปใสออก หลังจากนั้นก็สามารถนำไปขายได้

เทคนิคการผสมเกสร

ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการจะผสมเกสร (เขี่ยเกสร) ได้ตั้งแต่ 07.00-10.00 น. เป็นช่วงที่น้ำค้างเริ่มแห้งจากดอกหมดพอดี ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจะสุกไม่พร้อมกัน โดย 1-3 วันแรก ตั้งแต่ดอกเริ่มบาน เกสรตัวผู้จะพร้อมผสมพันธุ์ และมีให้เห็นเยอะมาก ถ้าใช้สายโทรศัพท์เขี่ยดู หลังจากวันที่ 3 ผ่านไปแล้ว เกสรตัวผู้จะน้อยลงและไม่ค่อยสมบูรณ์ ถ้าเขี่ยได้ เปอร์เซ็นต์ติดฝักจะน้อยมาก จึงควรเขี่ยช่วง 1-3 วันแรก ส่วนเกสรตัวเมียจะพร้อมและสมบูรณ์ ช่วงวันที่ 3-5 นับตั้งแต่ดอกเริ่มบาน ถ้านานวันเกินไป เกสรตัวเมียจะฟ่อไม่ติดฝัก (ไม่ต้องเด็ดดอกออกมาฉีกหาเกสรตัวผู้หรอกครับ เด็ดหมดแล้วจะเอาดอกไหนเป็นแม่พันธุ์ละครับ) ถ้าเป็นดอกซ้อนอาจจะต้องฉีกกันบ้างเพราะมีหลายชั้น นี่เป็นเคล็ดลับของอาจารย์คนแรกผมเลยครับ คุณชาตรี ไทรประเสริฐศรี "สวนเจริญเฟื่องฟ้า" เปอร์เซ็นต์ติด 90%

เริ่มขั้นตอนที่ 1 เลยครับ ผมจะใช้สายโทรศัพท์ ดัดปลายงอเหมือนไม้แคะหู 2 อันเลย

ขั้นตอนที่ 2 ใช้ปลายลวดเขี่ยเข้าไป แล้วค่อยๆ ดึงขึ้นมา

ดังขั้นตอนที่ 3 จะพบเกสรตัวผู้เป็นสีขาวปุยๆ ต้องหาให้เจอนะครับ ไม่ได้มีทุกดอก ไม่เจอก็พยายามต่อไปครับ

ขั้นตอนที่ 4 สำคัญมากครับ เป็นเทคนิคของผมเองได้ผลดีมาก "ใช้ปลายลวดอีกอันหนึ่ง เขี่ยเข้าไปในช่องอับของตัวเมีย เพื่อนำร่องก่อน ตามภาพเลยครับ เพราะถ้าเราไม่นำร่องก่อน จะเกิดปัญหาคือ เวลาจะเอาเกสรตัวผู้ที่ได้มา ใส่เข้าไปในอับเกสรตัวเมีย ก็จะติดอยู่ภายนอกไม่ยอมเข้าไป แต่ถ้าเราใช้ปลายลวดอันที่ 1 (ที่ไม่มีเกสรตัวผู้) นำร่องเข้าไปก่อน อับเกสรตัวเมียจะเปิดออกเป็นช่อง คราวนี้ก็ง่ายแล้ว ให้เอาปลายลวดอันที่ 2 (ที่มีเกสรตัวผู้ติดอยู่) ใส่เข้าไปในช่องที่มีรอยแยกแล้วดึงขึ้นเบาๆ ดึงขึ้นให้สุด "รยางค์" ที่เราเห็นเป็นเส้นๆ สีชมพู นั่นแหล่ะครับอีกครั้ง เกสรตัวผู้จะติดและร่วงหล่นอยู่ภายใน และจะผสมกลับเกสรตัวเมียเอง (เกสรตัวเมียจะอยู่ล่างสุดของโคนดอก)

ขั้นตอนที่ 5 เขียนชื่อว่า ผสมอะไรกับอะไรไว้กันลืม

ขั้นตอนที่ 6 ทุกอย่างโอเค ติดฝักแน่นอน รอเวลาฝักแก่ก็นำมาเพาะได้ ที่สำคัญ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียต้องเป็นคนละดอกกัน ดอกเดียวกันผสมกันเองจะไม่ติดน่ะครับ เพราะช่วงเวลาไม่ตรงกัน

ไม่เข้าใจโทร. (086) 629-7880 ได้ทุกวัน หรือแวะมาเที่ยวที่ "สวนสุชาติ" ก็ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 1:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธงชัย พุ่มพวง

วิธีการผสมเกสรอินทผลัมให้ได้ผลผลิตสูง ที่ไชยปราการ

จากที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เป็นนิตยสารเกษตรฉบับแรกที่ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของอินทผลัมรับประทานผลสดรายแรกของเมืองไทย ประมาณปี 2549 ของ คุณศักดิ์ ลำจวน หรือบ้านสวนโกหลัก ที่ได้ค้นพบและผสมพันธุ์จนได้ลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน พร้อมทั้งตั้งชื่อพันธุ์ใหม่นี้ว่า KL.1 (แม่โจ้ 36) ลำต้นเล็กคือปลูกเพียง 3 ปี ก็ให้ผลผลิต ผลดกโต รสชาติกรอบหวานมัน เนื้อมาก เมล็ดเล็ก รับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสด เก็บไว้รับประทานได้นาน ไม่ต้องนำไปแปรรูป เพียงแต่วางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ ผลอินทผลัมจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลด้วยตัวเอง หรือสามารถปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นไม้มงคลได้

ตั้งแต่นั้นจนถึงบัดนี้ มีเกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก สั่งซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมไปปลูกหลายจังหวัดทั่วประเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกอินทผลัมทุกพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศที่นำมาจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปมารับประทาน ตลอดจนประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย สั่งซื้อพันธุ์อินทผลัมเข้าไปปลูกเป็นจำนวนมากเช่นกัน แต่เนื่องจากการปลูกอินทผลัมนั้น จำเป็นต้องปลูกหลายต้น เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่มีเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละต้นกัน ต้นเพศเมียจะต้องได้รับการผสมเกสร โดยธรรมชาติจะผสมจากการถูกลมพัดเกสรตัวผู้ไปหาเกสรตัวเมีย หรือเกิดจากเกสรตัวผู้ติดไปกับขาและปีกของผึ้งไปผสมตามธรรมชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยการผสมเกสรตัวเมียด้วย

ด้วยความเป็นห่วงต่อเกษตรกรที่ซื้อต้นพันธุ์อินทผลัมไปปลูกแล้วได้ผลผลิตน้อย คุณศักดิ์ ลำจวน จึงใคร่ขอแนะนำการช่วยผสมเกสรคือ เมื่อเกสรตัวผู้ออกช่อและแก่เต็มที่แล้ว ควรใช้ถุงพลาสติคครอบที่จั่นเกสรตัวผู้ทั้งหมด แล้วเขย่าให้เกสรหล่นลงในถุงพลาสติค ละอองเกสรตัวผู้จะมีสีขาวออกเหลือง ลักษณะเป็นผงคล้ายแป้งมัน จากนั้นจึงนำไปผสมกับช่อเกสรตัวเมีย หากในช่วงนั้นเกสรตัวเมียยังไม่แก่จัดหรือยังไม่ออก เราสามารถเก็บละอองเกสรตัวผู้นี้ไว้ในตู้เย็นได้นานหลายเดือน ในการผสมเกสรตัวผู้ให้กับช่อดอกตัวเมีย ทำได้โดยใช้ช้อนชาตักเกสรตัวผู้ประมาณครึ่งช้อนชา เทลงในถุงพลาสติคขนาดเล็กที่สามารถครอบจั่นของช่อดอกตัวเมียได้ จากนั้นจึงนำถุงพลาสติคเล็กที่มีละอองเกสรตัวผู้นั้น ครอบทั้งจั่นช่อดอกเพศเมีย เขย่าถุงไปมา จะทำให้ละอองเกสรเพศผู้ปลิวไปติดละอองเกสรเพศเมีย ซึ่งจะมีเมือกเหนียวที่บริเวณเกสรเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรนี้ เวลาประมาณ 10.00 น. จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จะเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ สีเขียว หลังจากช่วยการผสมพันธุ์แล้ว ระยะต่อไปจะเจริญเติบโตเป็นผลอินทผลัมรับประทานได้ภายใน 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละต้น ควรช่วยผสมเกสรตัวเมียแบบนี้ทุกๆ จั่น รับรองว่าได้ผลผลิตที่ดกจำนวนมาก แต่หากปล่อยให้ติดผลมากเกินไป จะได้ผลที่เล็ก ควรตัดแต่งผลบ้าง เพื่อจะได้ผลที่ใหญ่มากขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บ้านสวนโกหลัก เลขที่ 37 หมู่ที่ 1 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทรศัพท์ (053) 457-081, (089) 855-9569 หรือ www.intapalum.com


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11555

ตอบตอบ: 16/03/2010 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พานิชย์ ยศปัญญา panit@matichon.co.th

มะละกอปากช่อง 2 งานเด่น...ใช้เวลาวิจัยนานกว่าทศวรรษ *

มะละกอ เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานผลสุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ในต่างประเทศนิยมรับประทานมะละกอที่มีผลขนาดเล็ก มีน้ำหนักต่อผลไม่เกิน 600 กรัม จากมูลค่าการค้ามะละกอในปี 2543 มูลค่าการค้ารวมของโลกอยู่ที่ 3,816 ล้านบาท ปี 2547 มูลค่าการค้ามะละกอได้เพิ่มขึ้นเป็น 7,348 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการเพิ่มขึ้นแต่ละปีประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์

ประเทศที่มีการส่งออกมะละกออันดับหนึ่งคือ เม็กซิโก มีมูลค่าการค้า 40 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด อันดับสองคือ มาเลเซีย 25 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ประเทศอื่นๆ ได้แก่ บราซิล และสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีการผลิตมะละกอเพื่อส่งออกโดยตรงยังมีน้อย และพันธุ์ที่ปลูกส่วนมากเป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะสำหรับตลาดต่างประเทศ

มะละกอ นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารในชีวิตประจำวันแล้ว ผลของมะละกอดิบและสุก และส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลายๆ ด้าน เช่น เมื่อมะละกอดิบ สามารถไปทำมะละกอเชื่อม แช่อิ่ม ดองเค็ม หรือใช้ในโรงงานปลากระป๋อง ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทำน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด และมะละกอผล เปลือกมะละกอใช้ทำอาหารสัตว์ หรือสีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในโรงงานผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอาง เป็นต้น

สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงพัฒนาพันธุ์มะละกอมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เริ่มต้นจากการนำมะละกอสายพันธุ์ซันไลท์ จากประเทศไต้หวัน มาปลูกและคัดเลือกต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ ทำการผสมตัวเองและปลูกคัดเลือกอยู่ 5 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์ที่ไม่กระจายตัว แล้วปลูกขยายเมล็ดโดยวิธีผสมเปิดในหมู่เดียวกันอีก 2 ครั้ง

ได้สายพันธุ์ค่อนข้างบริสุทธิ์และมีลักษณะตามที่ต้องการ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้า ให้ชื่อว่า มะละกอพันธุ์ ?ปากช่อง 1?

ลักษณะประจำพันธุ์ มีลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละ มีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้เอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 เริ่มผสมมะละกอพันธุ์แขกดำ+พันธุ์ปากช่อง 1 คัดเลือกลักษณะดีไว้ 3 สายพันธุ์ ที่มีขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์ปากช่อง 1 เนื้อสีส้มแดง รสชาติดี เนื้อไม่เละ น่าจะเป็นพันธุ์การค้าที่ส่งเสริมการผลิตเพื่อออกสู่ตลาดต่อไป

มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ได้คือ พันธุ์ปากช่อง 2

วิธีการผสมพันธุ์ (Hybridization)
สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แขกดำ (พันธุ์แม่) และพันธุ์ปากช่อง 1 (พันธุ์พ่อ) โดยผสมที่สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 นำผลมาผ่าเอาเมล็ดเพาะในถุงพลาสติค

วิธีการคัดเลือกพันธุ์ (Selection Trial)
คัดเลือกพันธุ์มะละกอลูกผสมปากช่อง 2 ที่สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-2549 ดังนี้

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 1 (Seedling Selection) ทำเมล็ดจากมะละกอที่ผสม เพาะในถุงพลาสติคดำ ขนาด 3" x 5" ปลูกลงแปลงได้ จำนวน 26 แถว แถวละ 21 หลุม ปลูกหลุมละ 3 ต้น โดยปลูกลงแปลง หลังจากเพาะเมล็ดได้ 1 เดือน หลังจากปลูก 8 เดือน เก็บผลผลิต คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2541-2542

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 2 ดำเนินการที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2542-2543 โดยปลูกสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 2 แถว แต่ละแถวมี 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น แล้วคัดเลือกให้เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ต้นเดียว คัดเลือกหลังจากปลูก 8 เดือน นำไปปลูกคัดเลือก โดยการเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น

การคัดเลือกพันธุ์ปีที่ 3 ดำเนินการที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2543-2544 โดยปลูกสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ 3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 2 แถว แต่ละแถวมี 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น แล้วคัดเลือกให้เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ต้นเดียว คัดเลือกหลุมจากปลูก 8 เดือน นำเมล็ดไปเพาะปลูกคัดเลือก ในปีที่ 4 เหมือนกับปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544-2545

การคัดเลือกพันธุ์ในปีที่ 5, 6 และ 7 เป็นการคัดเลือกพันธุ์มาตรฐาน ที่สถานีวิจัยปากช่อง ในปี พ.ศ. 2546-2549 โดยปลูกพันธุ์ละ 2 แถว แถวละ 20 หลุม หลุมละ 3 ต้น เมื่อออกดอกจะตัดต้น เหลือต้นสมบูรณ์เพศไว้ 1 ต้น และปลูกเปรียบเทียบกับมะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 กับสายพันธุ์มะละกอลูกผสมที่คัดเลือกไว้

ทำการศึกษาลักษณะต่างๆ ของมะละกอดังนี้ ลักษณะของใบและก้านใบ วัดความยาวของใบ วัดความกว้างของใบ วัดความยาวของใบ วัดสีของใบ ถ่ายรูป ลักษณะภายนอกและภายในของผลศึกษาน้ำหนักผล รูปร่างผล โดยวัดความกว้างและความยาวของผล สีผิวของผลภายนอก เมื่อดิบและสุก ความหนาเนื้อโดยผ่าตรงส่วนที่กว้างที่สุด น้ำหนักเนื้อ น้ำหนักเปลือก น้ำหนักเมล็ด โดยชั่งเป็นกรัม สีของเนื้อเมื่อสุก เปอร์เซ็นต์ Total Soluble Solids (%TSS) การชิมรส โดยให้คะแนนตามเกณฑ์

ทำการศึกษาที่สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2540-2549

ผลการศึกษา
1. การผสมพันธุ์ สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์พ่อ โดยวิธีการผสมด้วยมือ หลังจากนั้นเก็บผลผลิตเอาเมล็ดมาเพาะในถุงพลาสติคดำ ขนาด 3"x5" คัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงปลูกลงแปลงได้ 26 แถว แถวละ 21 ต้น จำนวน 3 ต้น ต่อหลุม หลังจากปลูก 4 เดือน คัดต้นที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศเหลือเพียง 1 ต้น ศึกษาลักษณะลูกผสมเพื่อคัดเลือกลักษณะดีได้ตามต้องการ ที่ออกดอกและติดผล หลังจากปลูก 8 เดือน คู่ผสมที่ดีที่คัดไว้คือ 11-19, 12-21 และ 13-19 โดยมีคุณภาพของผลที่ดี มีเนื้อหนา สีส้มและรสชาติดี

2. การคัดเลือกสายพันธุ์ดี หลังจากปลูกทดสอบพันธุ์ในแปลง มีสายพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตมีคุณภาพและผลผลิตสูง คือสายพันธุ์ 11-19, 12-21 และ 13-19 โดยสายพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) ให้ผลผลิตดีที่สุด และทดสอบพันธุ์กับพันธุ์ปากช่อง 1 รวมเวลา 4 ปี พบว่า ผลผลิตของสายพันธุ์ 12-21 (ปากช่อง 2) ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ปากช่อง 1 10 กิโลกรัม ต่อต้น หลังจากปลูก 18 เดือน

จากการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของใบและผลของมะละกอลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2 และพ่อแม่พันธุ์ของลูกผสม ดังนี้ คือ ความกว้างของใบ พบว่ามะละกอพันธุ์แขกดำและลูกผสมปากช่อง 2 (12-21) มีความกว้างของใบใกล้เคียงกัน คือ 88.00 เซนติเมตร และ 87.50 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์ปากช่อง 1 มีความกว้างของใบ 74.50 เซนติเมตร จึงแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์แขกดำ และลูกผสมพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) ความยาวของใบ พบว่ามะละกอพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีความยาวของใบมากที่สุด 67.50 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์แขกดำ 59.00 เซนติเมตร น้อยที่สุดคือ พันธุ์ปากช่อง 1 49.00 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติทั้ง 3 พันธุ์ ความยาวของก้านใบ พบว่ามะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 มีความยาวของก้านใบมากที่สุด 92.00 เซนติเมตร รองลงมาคือพันธุ์แขกดำ และลูกผสมปากช่อง 2 (12-21) มีความยาวเท่ากัน คือ 85.00 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์ปากช่อง 1 สีของใบมะละกอทั้ง 3 พันธุ์ อยู่ในกลุ่มสีเขียว พันธุ์ปากช่อง 1 พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) Green group 139 A พันธุ์แขกดำ Green group 139 A

ลักษณะภายนอกและภายในผล น้ำหนัก พบว่ามะละกอพันธุ์แขกดำมีน้ำหนักมากที่สุด 2,050 กรัม รองลงมาคือพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) 1,100 กรัม และพันธุ์ปากช่อง 1 ตามลำดับ มีความแตกต่างทางสถิติทั้งสามพันธุ์ สีผิวผลภายนอกเมื่อสุก พันธุ์แขกดำ พันธุ์ปากช่อง 1 และพันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) อยู่ในกลุ่ม Yellow Orange group มีสีเหลืองส้ม ไม่แตกต่างกันความหนาเนื้อพบว่า พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีความหนาเนื้อมากที่สุด 3.00 เซนติเมตร รองลงมาคือ พันธุ์แขกดำ 2.60 เซนติเมตร พันธุ์ปากช่อง 1 2.45 เซนติเมตร มีความแตกต่างทางสถิติ แต่พันธุ์แขกดำ และพันธุ์ปากช่อง 1 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างกัน สีเนื้อสุกทุกพันธุ์อยู่ในกลุ่มสีส้มแดง Orange Red group ไม่มีความแตกต่างกัน เปอร์เซ็นต์ Total soluble solid (%TSS) พบว่า พันธุ์ปากช่อง 1 มีเปอร์เซ็นต์ Total soluble solid (%TSS) มากที่สุด 14.5 Brix พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) 14 Brix และพันธุ์แขกดำ 11 Brix

ลักษณะสายพันธุ์ ปากช่อง 2 (12-21) ใบมี 7 แฉก ใบสีเขียวเข้ม ใบกว้าง 85-70 เซนติเมตร ใบยาว 66-70 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวยาว 80-89 เซนติเมตร น้ำหนักผลดิบ 1,000-1,200 กรัม น้ำหนักผลสุก 900-1,100 กรัม สีผิวผลสุกสีเหลือง สีเนื้อสุกสีส้มแดง ความหนาเนื้อประมาณ 3 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อ 810 กรัม น้ำหนักเปลือก 50 กรัม น้ำหนักเมล็ด 40 กรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เนื้อ เปอร์เซ็นต์เปลือก เปอร์เซ็นต์เมล็ด ความหนาเปลือก 0.16 เซนติเมตร ความหวาน 15 องศาบริกซ์ กลิ่นหอมรสชาติดี หลังจากปลูก 8 เดือน ให้น้ำหนักผลผลิต 40-50 กิโลกรัม ต่อต้น ค่อนข้างทนต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน



สรุป

1. สายพันธุ์มะละกอปากช่อง 2 เป็นลูกผสมของพันธุ์มะละกอแขกดำกับพันธุ์ปากช่อง 1 โดยทำการผสมพันธุ์ที่สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 คัดเลือกและทดสอบจนสิ้นสุดการทดลองเมื่อ พ.ศ. 2549

2. การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ได้ 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ 11-19, ปากช่อง 2 (12-21) และ 13-19

3. พันธุ์ที่มีลักษณะดี คือ พันธุ์ปากช่อง 2 (12-21) มีลักษณะผลขนาดปานกลาง น้ำหนักผลดี ขนาด 1,000-1,200 กรัม เนื้อสีส้มแดง หนา ความหวานประมาณ 15 องศาบริกซ์ การเก็บเกี่ยวหลังจากปลูก 18 เดือน ได้น้ำหนักผลผลิต 40-50 กิโลกรัม ต่อต้น ค่อนข้างทนต่อโรคใบจุดวงแหวน

คุยกับนักวิจัยมะละกอ......คุณรักเกียรติ ชอบเกื้อ
คุณรักเกียรติ ชอบเกื้อ นักวิชาการเกษตร 8 (ชำนาญการ) นักวิจัยมะละกอ เล่าว่า เมื่อก่อนปากช่องคือแดนมะละกอ เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก ผลผลิตที่ได้ส่งไปจำหน่ายภาคอีสาน รวมทั้งภูมิภาคอื่น สายพันธุ์ที่ปลูกมีแขกดำ แขกนวล รวมทั้งพันธุ์ปากช่อง 1 ช่วงที่ปลูกกันมากๆ คือช่วงปี 2530-2535 ราวๆ นี้ ต่อมามีโรคระบาด จึงมีการย้ายถิ่นปลูก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว

เมื่อความนิยมปลูกมะละกอลดลง มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 ก็มีปลูกน้อยลง ขณะเดียวกันก็มีการวิจัยพันธุ์ใหม่ให้มีจุดเด่นกว่าเดิม จนได้มะละกอพันธุ์ปากช่อง 2 ทุกวันนี้ ยังไม่ได้เผยแพร่ แต่ใครสนใจก็โทรศัพท์ไปพุดคุยเป็นกรณีพิเศษได้

ในฐานะที่อยู่ในแวดวงมะละกอมานาน คุณรักเกียรติให้ความเห็นว่า มะละกอเป็นพืชที่น่าปลูก เพราะหากปัจจัยเหมาะสม จะสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดปี ต่างจากพืชอื่น เช่น ลำไย เก็บผลผลิตได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่งานปลูกมะละกอ ต้องมีทุน มีปัจจัยอื่นๆ แต่ที่สำคัญคือ แหล่งน้ำ

?งานปลูกมะละกอหากมีน้ำราวเดือนมกราคมปลูกลงแปลง ไปเก็บเกี่ยวได้กลางฝนและปลายฝนไปแล้ว หากเป็นมะละกอสุกออกมาช่วงผลไม้อื่นไม่มีแล้ว มะม่วง เงาะ และทุเรียน หมดไปแล้ว แหล่งปลูกที่เหมาะสมหากเป็นที่แห้งแล้งแล้วมีน้ำจะดีมาก อย่างเมืองกาญจน์ หรือที่ปากช่อง ที่แล้งทำให้เนื้อมะละกอแน่น รสชาติหวาน แต่ที่แห้งแล้งมีน้ำหายาก ข้อเสียของที่แล้งอาจจะมีปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ ทางเขตฝนชุกอย่างทางใต้ ทางมาเลเซีย มีความชื้นปัญหาเพลี้ยไฟน้อย แต่ก็เจอปัญหาเรื่องโรคเน่า?

คุณรักเกียรติเล่า และบอกต่ออีกว่า
มะละกอปากช่อง 2 อาจจะมีข้อด้อยตรงที่การติดผลแรกอยู่เหนือระดับดินสูงเกินไปนิดหนึ่ง ติดผลสูงจากดินราว 1 เมตร อาจจะแก้โดยการใส่ปุ๋ย การติดผลจากดินสูง ทำให้ต้นสูงเร็ว มะละกอปากช่อง 2 เป็นพันธุ์กินสุก ทำส้มตำเนื้อเหนียว โอกาสต่อไปคงผสมให้ได้ผลเล็กลง จะได้ความหวานมากขึ้น มะละกอผลยิ่งเล็กยิ่งหวาน วิธีการบริโภคของคนเราเปลี่ยนไป เมื่อก่อนชอบผลใหญ่ๆ ในเมืองครอบครัวเล็กลง มี 2-3 คน ต่อครอบครัว นิยมมะละกอผลเล็ก ต่างจากสังคมชนบท ที่ครอบครัวหนึ่งอาจจะมีหลายคน มะละกอต้องผลใหญ่ จึงจะแจกจ่ายพอกันกิน?

คุณรักเกียรติ บอกว่า ในประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกมะละกอได้ ยกเว้นพื้นที่ดินเค็ม มะละกอไม่ชอบ ทางนครราชสีมามีหลายอำเภอที่ดินเป็นเกลือ ทางทุ่งกุลาร้องไห้ก็มีหลายจังหวัด เช่น มหาสารคาม

คุณรักเกียรติ เข้าทำงานที่สถานีวิจัยตั้งแต่ปี 2526 ช่วยงานวิจัยของ อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ มานาน ส่วนมะละกอปากช่อง 2 วิจัยมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน

งานอื่นๆ ที่ถือว่ามีคุณค่ามาก ที่คุณรักเกียรติทำอยู่ คือปรับปรุงพันธุ์อะโวกาโด

สำหรับงานวิจัยพันธุ์มะละกอ คงมีอะไรแปลกใหม่ออกมาให้เห็นเพิ่มเติมอย่างแน่นอน


อนึ่ง ทีมงานวิจัย นอกจากคุณรักเกียรติแล้ว ยังประกอบด้วย อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ อาจารย์องอาจ หาญชาญเลิศ อาจารย์พินิจ กรินท์ธัญญกิจ และ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส

สำหรับผู้สนใจ ถามไถ่ได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 164 หมู่ที่ 3 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. (044) 311-796


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 7:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 2 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©