-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รับมือผลไม้ล้นตลาด

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาพรวมของผลไม้ในภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกอง จากแหล่งผลิตสำคัญ 3 จังหวัด คือ จันทบุรี ระยองและตราด ว่า ภาพรวมปริมาณผลไม้ปีนี้มีจำนวนประมาณ 752,532 ตัน เพิ่มขึ้น 1.5% จากปีก่อน แม้ว่าขณะนี้ในภาพรวมแนวโน้มทางด้านราคาจะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่อง จากไม่ใช่ช่วงผลผลิตกระจุกตัว แต่ได้เตรียมมาตรการรับมือสถานการณ์ไว้แล้ว โดยของบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งอนุมัติเงินจ่ายขาดแล้ว 116.724 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการคุณภาพผลผลิตและรวบรวมและกระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต


ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เป็นเศรษฐีกับเส้นทางเศรษฐี

สุจิต เมืองสุข

น้ำสมุนไพร พาสเจอไรซ์ เน้นสะอาด รสชาติดี

"เธอมีลูกค้าประจำที่ต้องนำสินค้าไปส่งสัปดาห์ละ 2 วัน และจะเพิ่มวันส่งสินค้าเป็น 3 วันต่อสัปดาห์ในเดือนหน้า เพราะปริมาณลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกเหนือจากการทำการตลาดแบบเดินเข้าหาลูกค้าด้วยตนเองแล้ว คุณภชสรยังมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีชั้นเชิงดี ด้วยการให้เปอร์เซ็นต์กับคนรู้จักที่มีอาชีพเซลส์อยู่แล้ว เปิดตลาดโซนที่เธอไปไม่ถึงให้อีกด้วย จึงทำให้ยอดขายและลูกค้าเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ"

"อาชีพ" เมื่อลองปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับชีวิตและวิถีที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันแล้ว การใช้ชีวิตย่อมดำเนินไปด้วยความปกติสุข และยิ่งทวีความสุขเพิ่มมากขึ้น เมื่ออาชีพที่ประกอบอยู่เป็นอาชีพที่รัก สร้างรายได้ให้กับครอบครัวพอเลี้ยงตัวได้อย่างสบายในสังคมปัจจุบัน เพราะอย่างน้อยก็ไม่สร้างภาระให้กับคนรอบข้างและสังคม

ดังเช่นนักบัญชีนางหนึ่งที่มีความถนัดในการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า ถึงขั้นเปิดร้านเป็นทางการมานานหลายปี พลิกผันตัวเองไปสู่พนักงานบริษัทที่ยังคงข้องเกี่ยวกับการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า ก่อนนั่งทำงานในตำแหน่งเลขานุการ แต่ท้ายที่สุด ยึดอาชีพ "แม่ค้า" ผลิตน้ำสมุนไพรขายส่งให้กับร้านอาหารต่างๆ จนมั่นใจว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ยึดเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงตัวและครอบครัวได้แน่นอน แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์อาชีพที่ผ่านมาแม้แต่น้อย

น้ำสมุนไพร อาชีพอิสระ

ก้าวแรกด้วยศูนย์อาชีพฯ มติชน

ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน ความกระหายน้ำมีมากขึ้นถึงขีดสุด ทันทีที่ได้จิบน้ำกระเจี๊ยบ ซึ่งจัดว่าเป็นน้ำสมุนไพรชนิดหนึ่ง ช่วยคลายร้อนและแก้กระหายได้อย่างดี คุณสมบัติคลายร้อนและแก้กระหายมีอยู่ในน้ำกระเจี๊ยบทุกแก้วอยู่แล้ว แต่รสชาติต่างหากที่จะบอกถึงฝีมือของเจ้าของ ซึ่งเจ้าของน้ำกระเจี๊ยบแก้วนี้ เป็นฝีมือของ คุณภชสร เชียงการ ผู้ผลิตน้ำสมุนไพรจำหน่ายส่งรายใหม่ของตลาด

เกือบ 2 เดือนก่อนหน้า คุณภชสรเข้ารับการอบรมการทำน้ำผลไม้และสมุนไพรบรรจุขวด 15 รายการ กับศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน และกลับมาเริ่มต้นจับธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และสมุนไพรอย่างจริงจัง โดยมุ่งมั่นยึดเป็นอาชีพหลัก นับตั้งแต่เธอตัดสินใจเข้าอบรบกับศูนย์อาชีพฯ มติชน ซึ่งถึงตอนนี้คุณภชสร บอกว่า เธอเลือกไม่ผิด

ย้อนหลังไปหลายปี คุณภชสรเป็นถึงเจ้าของร้านออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า มีลูกค้าประจำ ลูกน้องช่วยงาน ธุรกิจราบรื่นเป็นไปด้วยดีไม่มีขาดตกบกพร่อง ซึ่งระหว่างนั้นเธอหาความรู้เสริมด้วยการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านการบัญชี หวังนำมาใช้ช่วยในธุรกิจที่จับต้องอยู่ แม้จะยึดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวมานานกว่า 10 ปี แต่ท้ายที่สุดคุณภชสรกลับขายกิจการทิ้ง เนื่องจากเรียบจบวิชาการบัญชี และถูกชักชวนจากน้องสาวที่เพิ่งแต่งงานให้ย้ายไปอยู่ด้วยกันที่ต่างจังหวัด จึงตัดสินใจไปหาอาชีพใหม่ที่นั่น

เพียง 5 เดือน คุณภชสรก็อดรนทนกับความกระตือรือร้นของตนเองไม่ไหว จึงตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง และสมัครงานโดยใช้ปริญญาด้านการบัญชีเป็นใบเบิกทาง และได้งานในบริษัทตัดเย็บเสื้อผ้ารายใหญ่ ซึ่งรับงานประเภทตัดเย็บยูนิฟอร์มบริษัทจำนวนมาก คุณภชสรโลดแล่นอยู่ในสายงานใกล้เคียงกับอาชีพเดิมอีกครั้งได้ไม่นานนัก เธอตัดสินใจถีบตัวเองขึ้นเป็นเลขานุการกรรมการผู้จัดการบริษัทแห่งหนึ่ง เพราะหวังจะนำความคล่องตัวด้านต่างๆ ของเธอมาใช้ แต่ในที่สุดอาชีพที่เกิดขึ้นกับเธอเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เธอมีความสุขกับมัน เธอจึงตัดสินใจลาออกอีกครั้ง และคิดเริ่มต้นใหม่

"น้ำสมุนไพร" เป็นแว่บแรกที่คุณภชสรนึกถึง เมื่อมองหาอาชีพอิสระของตนเอง

คุณภชสร เล่าว่า การผลิตน้ำสมุนไพรบรรจุขวดส่งขายตามร้านค้าหรือร้านอาหารต่างๆ เป็นแนวคิดที่เธอมีมาตั้งแต่ยังเป็นพนักงานบริษัท เพราะระหว่างรับประทานอาหารกลางวันพร้อมเพื่อนร่วมงาน เธอรู้สึกว่า อากาศร้อนอบอ้าว หากมีน้ำสมุนไพรเสิร์ฟคงดีไม่น้อย แต่ละแวกบริษัทที่เธอทำงานอยู่กลับไม่มีขาย ดังนั้น หากมีจำหน่ายแม้เพียงร้านเดียวย่อมขายได้อย่างแน่นอน แต่ความคิดขณะนั้นก็เก็บเข้ากระเป๋าไป เพราะเธอยังมีงานประจำอยู่

เมื่อว่างจากงานอาชีพที่สรรหาทำมาระยะหนึ่ง คุณภชสรควักแนวคิดเมื่อครั้งเป็นพนักงานบริษัทกลับมาฟื้นอีกครั้ง แต่เพราะการทำน้ำสมุนไพรไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากไม่เรียนรู้ถึงเคล็ดลับให้ถ่องแท้จริง อาจทำให้เธอไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจ จึงเป็นก้าวแรกที่ทำให้เธอเข้าอบรมกับศูนย์อาชีพฯ มติชน

"สามีเสิร์ชจากอินเตอร์เน็ตพบรับสมัครอบรมการทำน้ำผลไม้และน้ำสมุนไพรบรรจุขวด ของศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน เรียนเพียงวันเดียว มีประกาศนียบัตรมอบให้ เห็นว่าเป็นช่องทางที่จะทำให้เรารู้ถ่องแท้จริงๆ จึงสมัครเข้าอบรม"

ได้สูตร-แหล่งซื้อ

ตั้งเป้าขายส่ง

คุณภชสร เอ่ยถึงการอบรมกับศูนย์อาชีพฯ มติชน อย่างภูมิใจว่า เธอได้เรียนรู้หลายอย่างจากศูนย์อาชีพฯ มติชน ตั้งแต่สูตรที่อาจารย์ผู้สอนให้อย่างไม่ปิดบัง เคล็ดลับการทำเครื่องดื่มให้มีรสชาติดี แหล่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ วิธีการเลือกซื้อเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ รวมถึงการดูแลลูกค้าและการเข้าให้ถึงหลักการตลาด ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการอบรมแล้วอาจารย์ผู้สอนยังคงเป็นที่ปรึกษาที่ดี สามารถสอบถามทางโทรศัพท์ได้ตลอดเวลา

เพราะความรู้ที่ได้รับจากศูนย์อาชีพฯ มติชน เต็มเปี่ยม ทำให้คุณภชสรมั่นใจว่า การเริ่มต้นกับธุรกิจผลิตน้ำสมุนไพรของเธอจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างแน่นอน ทำให้หลังฝึกอบรมได้เพียงสัปดาห์เดียวคุณภชสรเดินหน้าเข้าหาแหล่งเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับการผลิตน้ำสมุนไพร เธอลงทุนซื้อใหม่ทุกชิ้นแม้กระทั่งถังแก๊ส เตา หม้อ ทัพพี และตัวกรอง ไม้เว้นแม้กระทั่งถุงมือจับของร้อน เพราะเธอต้องการให้พาสเจอไรซ์จริงๆ ดังเช่นที่เธอร่ำเรียนมา

ช่วงสัปดาห์แรกของการผลิตอย่างจริงจัง คุณภชสรมีกลุ่มทดลองลิ้มรสชาติน้ำสมุนไพร 3 ชนิดแรกของเธอ เป็นชาวบ้านที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นงานบุญ เธอทำไปเลี้ยงพระและชาวบ้าน ด้วยน้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำมะตูม ทั้งหมดบรรจุขวดสำหรับให้ชาวบ้านหิ้วติดมือกลับไปดื่มด้วย หลังเสร็จงานบุญ เธอทราบว่าชาวบ้านพูดกันปากต่อปากว่า "รสชาติดี" สร้างความมั่นใจให้เธออีกระดับหนึ่ง

ลงทุนครั้งแรกด้วยเงินราว 20,000 บาท ได้ทั้งอุปกรณ์การผลิตและวัตถุดิบที่พอจะเป็นต้นทุนให้ผลิตน้ำสมุนไพรได้จำนวนหนึ่ง คุณภชสรเริ่มต้นทำการตลาดตามวิธีที่นักธุรกิจทำกัน เธอผลิตน้ำสมุนไพร 4 ชนิด บรรจุขวด สำหรับเป็นตัวอย่างให้ทดลองชิม ประกอบด้วย เก๊กฮวย เฉาก๊วย กระเจี๊ยบ และมะตูม และเก็บตัวอย่างส่วนหนึ่งไว้สำหรับทดสอบความคงทนของรสชาติ พร้อมทั้งจดบันทึกไว้ทุกครั้ง

คุณภชสร นำน้ำสมุนไพรบรรจุขวด 4 ชนิด บรรทุกขึ้นหลังรถจักรยานยนต์ โดยก่อนออกเดินทางคุณภชสรตั้งเป้าการเดินทางไว้ โดยกำหนดโซนการขายไว้ เล็งกลุ่มเป้าหมายประเภทร้านค้าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เพราะราคาขายต่อขวดอยู่ที่ 10 บาท เธอขายส่งให้กับเจ้าของร้านในราคา 8 บาทต่อขวด รับวางจำหน่าย 1 โหล แถม 1 ขวด วางจำหน่ายครบ 1 สัปดาห์จึงกลับมาเก็บเงิน

ใช้กลยุทธ์การตลาดเดินขาย

ไม่ถึงเดือนยอดกระฉูด

ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดเช่นนี้ คุณภชสรตั้งเป้าการขายไว้ที่ 100 ขวดต่อวัน แต่ขณะนี้แม้ว่าเธอจะเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังมียอดขายไม่ถึง 100 ขวดต่อวัน แต่เธอมีลูกค้าประจำที่ต้องนำสินค้าไปส่งสัปดาห์ละ 2 วัน และจะเพิ่มวันส่งสินค้าเป็น 3 วันต่อสัปดาห์ในเดือนหน้า เพราะปริมาณลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกเหนือจากการทำการตลาดแบบเดินเข้าหาลูกค้าด้วยตนเองแล้ว คุณภชสรยังมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีชั้นเชิงดี ด้วยการให้เปอร์เซ็นต์กับคนรู้จักที่มีอาชีพเซลส์อยู่แล้ว เปิดตลาดโซนที่เธอไปไม่ถึงให้อีกด้วย จึงทำให้ยอดขายและลูกค้าเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

น้ำสมุนไพร 4 ชนิด เป็นน้ำนำร่องในช่วงแรก ไม่ถึงเดือนคุณภชสรเพิ่มการผลิตรสชาติอื่นเข้าด้วย เป็นน้ำลำไย มะพร้าว โอเลี้ยง กาแฟเย็น ชาเย็น และชาดำเย็น ทั้งหมดได้รับการตอบรับอย่างดี

"กำลังเพิ่มอุปกรณ์ให้พอกับการผลิต และอยู่ระหว่างหาสถานที่เฉพาะการผลิต เพราะปัจจุบันผลิตที่บ้าน แต่เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจที่กำลังไปได้ดี ต้องหาสถานที่ผลิต เพราะทุกสิ่งต้องพาสเจอไรซ์ทั้งหมด และต้องเพิ่มแรงงานการผลิต เพราะตอนนี้แทบไม่มีเวลาทำอย่างอื่น"

ปัจจุบัน ลูกค้าเริ่มกระจายโซนออกไปกว้างมากขึ้น ยกเว้นบริเวณบ้าน ที่คุณภชสรบอกว่า ยังไม่เหมาะ เพราะเธอเห็นมีน้ำสมุนไพรยี่ห้ออื่นวางจำหน่ายอยู่ประปราย จึงตั้งใจหาลูกค้าไกลบ้านไว้ก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่ทั่วกรุงเทพฯ ดีนัก แต่ยอดจำหน่ายอยู่ที่ 200 ขวดต่อสัปดาห์ ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียงเดือนเศษก็ถือว่าไปได้สวยทีเดียว

อนาคตไม่ต้องถาม เพราะคุณภชสรตั้งเป้าไว้จะกระจายลูกค้าให้ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเธอบอกว่า "กรุงเทพฯ ไม่แคบอย่างที่คิด ต้องมีร้านค้าที่ไม่มีน้ำสมุนไพรวางจำหน่าย ดังนั้น อาชีพนี้ยังไงก็ไม่มีทางตัน" และท้ายที่สุดยังฝากขอบคุณมายังศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน ที่ทำให้เธอได้มีวันนี้ พร้อมทั้งฝากหมายเลขโทรศัพท์ หากสนใจลิ้มรสน้ำสมุนไพรที่ใครๆ ยกนิ้วให้ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. (081) 413-3432 หรือ (02) 525-0729 ได้ตลอดเวลา

ข้อมูลจำเพาะ

ประเภทธุรกิจ น้ำสมุนไพร และน้ำผลไม้

ราคาขาย ขวดละ 10 บาท

จุดเริ่มต้น เข้ารับการอบรมกับศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน

การลงทุน 15,000-20,000 บาท

ข้อได้เปรียบ เป็นน้ำสมุนไพร มีวางจำหน่ายไม่แพร่หลาย

คำแนะนำ ได้สูตรจากการเข้ารับการอบรมที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน นำไปปฏิบัติตามโดยไม่ต้องปรับสูตร

ที่มา : เส้นทางเสรษฐี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 12/04/2010 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไทยติดอันดับทอปเทนผลิตพลังงานทดแทน

นายทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า พพ.ได้รับทราบรายงานจากคณะกรรมการเครือข่ายพลังงานทดแทนเพื่อศตวรรษที่ 21 (REN 21) ซึ่งเป็นหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาพลังงานทดแทนขององค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ โดยผลของการจัดอันดับประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากทั่วโลกกว่า 63 ประเทศ พบว่าประเทศไทยสามารถขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 8 ของประเทศที่มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสูงที่สุดของโลก (ร่วมกับประเทศสเปน) โดยถือเป็นอันดับ 2 ของประเทศในทวีปเอเชียหรือเป็นรองแค่ประเทศมหาอำนาจ อย่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น

"ประเทศไทยมีการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ทั้งเอทานอลและไบโอดีเซลมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 พบว่ามียอดการผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการผลิตเอทานอลที่ระดับ 1.2 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซลอยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ประเทศจีนซึ่งถือว่าเป็นชาติที่ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอันดับ 1 ของเอเชียและเป็นอันดับ 5 ของโลก มีการผลิตเอทานอลที่ระดับ 6 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซลมีการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน"

ทั้งนี้ ประเทศที่เป็นมหาอำนาจด้านการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอันดับ 1 ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา พบว่ามีการผลิตเอทานอลได้สูงถึง 34,000 ล้านลิตรต่อปี ไบโอดีเซล 2,000 ล้านลิตรต่อปี รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ ประเทศบราซิล อันดับ 3 ประเทศฝรั่งเศส อันดับ 4 ประเทศเยอรมนี ส่วนอันดับ 6 และ 7 ได้แก่ประเทศอาร์เจนตินาและแคนาดาตามลำดับ

นายทวารัฐกล่าวว่า ตามเป้าหมายของการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีของกระทรวง จะมีการผลิตเอทานอลได้ 9 ล้านลิตรต่อวัน และไบโอดีเซลมีการผลิต 4.5 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2565 ซึ่งมั่นใจว่าหากประเทศไทยสามารถทำได้ตามเป้าหมาย เชื่อว่าอาจจะส่งผลให้ประเทศไทยเข้าไปติดอยู่ภายใน 5 อันดับแรกของโลก และมีโอกาสจะรักษาแชมป์ที่เป็นประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอันดับ 1 ในอาเซียน นำหน้าผู้ผลิตหน้าใหม่ เช่น มาเลเซียได้ต่อไปในอนาคต.

ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จีนทำลายผักกุยช่ายปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเกือบ 2 ตัน

ผักกุ้ยช่ายเกือบ 2 ตัน ในตลาดเมืองฉิงเตา ภาคตะวันออกของจีน ถูกเจ้าหน้าที่สั่งทำลายจนหมด หลังตรวจพบว่าปนเปื้อนยาฆ่าแมลง และทำให้ผู้ที่บริโภคเข้าไปเกิดอันตราย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 12 เม.ย. ว่า เจ้าหน้าที่ทำลายผักกุ้ยช่ายปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเกือบ 2 ตันที่ตลาดขายส่งเมืองฉิงเตา ภาคตะวันออกของจีน หลังมีคนกินอาหารจากร้านที่นำกุ้ยช่ายจากตลาดดังกล่าวมาประกอบอาหารขายแล้วล้มป่วยทั้งปวดหัว คลื่นไส้และท้องร่วง 9 คนซึ่งต่างกำลังฟ้องเรียกค่าชดเชยจากร้านอาหาร

เหตุผักกุ้ยช่ายปนเปื้อนยาฆ่าแมลง นับเป็นเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวข้องความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารระลอกล่าสุดของจีน หลังตรวจพบถั่วแขกปนเปื้อนยาฆ่าแมลงและน้ำมันพืชทำจากเศษอาหารที่ได้จากการรีไซเคิล แม้มีการทุ่มรณรงค์และตรวจสอบอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม


ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักสู้ผู้ชรา

13 เมษายนของทุกปีมิได้มีความหมายเป็นเพียงแค่วันสงกรานต์เท่านั้น

แต่ระยะหลังยังถูกกำหนดให้เป็นวันผู้สูงอายุด้วย

ซึ่งก็สอดคล้องต้องกันกับวันสงกรานต์ที่มีประเพณีรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่

วัฒนธรรมประเพณีของไทยยังคงความมีเสน่ห์น่าสนใจเสมอ ในสายตาชาวต่างชาติ

องค์กรสหประชาชาติเพิ่งประกาศว่าอายุเฉลี่ยประชากรโลกปี 2553 นี้อยู่ที่ 68 ปี เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 50 ปีก่อนซึ่งอยู่แค่ 47 ปีเท่านั้น

สังคมผู้สูงอายุคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก สาเหตุหลักเป็นเพราะการโภชนาการดีขึ้น สุขอนามัยทาง การแพทย์ดีขึ้น

ความมีอายุยืนของผู้เฒ่าผู้แก่คือสุดยอดปรารถนาสำหรับบรรดาลูกหลานก็จริง แต่ในอีกด้านมันก็เป็นภาระของสังคมที่ต้องดูแลเพิ่มขึ้นด้วย

และยังเป็นขุมทองให้นักธุรกิจหลากหลายเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากความแก่เฒ่าที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์เราเหมือนกัน

ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจดูแลรักษาอาการเจ็บป่วย ธุรกิจผลิตอาหารเสริมบำรุงร่างกายให้มีอายุยืนมากขึ้น ฯลฯ โผล่ผุดขึ้นดั่งดอกเห็ดยามฤดูฝนเพื่อต้อนรับสังคมผู้สูงอายุ

และที่สำคัญส่วนใหญ่มักไปได้ดีเพราะคนแก่สมัยนี้จำนวนไม่น้อยมิได้ยากจนข้นแค้นเหมือนอดีต ลูกหลานล้วนมั่งคั่งร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองมหาศาลพร้อมที่จะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาตลอดเวลา

ผลงานหนึ่งของรัฐบาลชุดนี้ที่ได้ทำไว้คือการให้เบี้ยคนชรา (ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ในอัตราเดือนละ 500 บาท

จำนวนเงินที่ให้อาจจะน้อยนิดหากเทียบกับรายจ่ายในแต่ละเดือนที่มากกว่านั้น แต่มันก็ช่วยด้านกำลังใจให้กับผู้ชราได้เยอะ

ในมิติทางสังคม การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ผู้ชราในลักษณะ นี้คือความงดงามยิ่งเพราะแสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรที่มนุษย์เราพึงมีต่อกัน แต่ในมิติทางการเมืองเรียกว่าประชานิยมหรือการนำเอาเงินหลวงไปหว่านโปรยหาเสียง

แต่ก็ไม่แน่ว่าเมื่อโปรยเงินไปแล้วจะได้ความชื่นชมตอบกลับ มาเสมอ ดูได้จากม็อบเสื้อแดงที่หลั่งไหลเข้ามาท่วมกรุงเที่ยวนี้ปรากฏว่ามีผู้สูงวัยปะปนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก

มองในแง่หนึ่งก็เหมือนกับไม่รู้จักบุญคุณ แต่ถ้าคิดในแง่บวกก็สามารถพูดได้ว่าผู้สูงอายุเหล่านั้นรู้จักแยกแยะ อะไรคือสิทธิที่ควรได้ อะไรคือประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติที่ควรทำ

ถือเป็นคำคารวะต่อเหล่านักสู้ผู้ชราสำหรับวันผู้สูงอายุปีนี้

ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พิจิตรระดมปราชญ์ชาวบ้านตั้งศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ

ปราชญ์ชาวบ้านผู้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงรวมตัวตั้งโรงเรียนชาวนาถ่ายทอดความรู้ หวังกู้วิกฤตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มอบเป็นวิทยาทานให้กับเยาวชนและชาวบ้านสนใจเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ

โดย...สิทธิพจน์ เกบุ้ย

มีปราชญ์ชาวบ้านหลายร้อยคนในสังคมไทย ที่เสนอหลักคิด วิธีการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนและสังคม ผ่านกระบวนการการปฏิบัติตลอดชีวิต จากลองผิดลองถูก เช่นเดียวกับ นายจักรภฤต บรรเจิดกิจ อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 48 หมู่ 2 บ้านน้อย ต.สายคำโห้ อ.เมือง จ.พิจิตร ผู้ซึ่งทางราชการยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน เนื่องจากเป็นผู้ที่รอบรู้และตระหนักถึงสภาวะความต้องการอาหารของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีความต้องการมากขึ้น

อีกทั้ง ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความแปรปรวน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดพายุ เกิดน้ำท่วม เกิดภูเขาไฟระเบิด และอีกมากมายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งล้วนเป็นการลงโทษมนุษย์โดยธรรมชาติ ดังนั้น จึงอยากทำให้ในอนาคตประเทศชาติใดมีอากาศบริสุทธิ์ มีน้ำดื่มสะอาด และเป็นผู้ผลิตพืชผลอาหารเลี้ยงชาวโลกได้ก็จะได้เป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการมีอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้แนวทางพสกนิกรปวงชนชาวไทยที่ทำอาชีพการเกษตร ให้เข้าสู่การทำไร่นาสวนผสมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง และให้เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นางบุปผา อุ้ยเอ้ง เกษตรและสหกรณ์จ.พิจิตร บอกว่า เกษตรแสะสหกรณ์จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้เรียกปราชญ์ชาวบ้านที่ล้วนเป็นชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ และมีความรู้จากการปฏิบัติจริงให้มารวมตัวกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น จึงได้ตั้งศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้นที่บ้านพักกลางทุ่งนาของเกษตรกรที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ตั้งอยู่ที่ 48 หมู่ 2 ต.สายคำโห้ อ.เมือง จ.พิจิตร

ทั้งเกษตรกรและสหกรณ์จ.พิจิตร ได้ให้งบสนับสนุนเป็นการปรับปรุงอาคารหลังคามุงแฝก เพื่อใช้เป็นที่เรียนรู้ 80,000 บาท และให้งบประมาณในการจัดฝึกอบรมชาวบ้านและเยาวชนตลอดจนพี่น้องเกษตรกร อีก 9 รุ่น เป็นจำนวนเงิน 900,000 บาท โดยตั้งเป้าอบรมมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ไปจนถึง สิ้นเดือน พฤษภาคม 2553 อบรมรุ่นละ 40 คน เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ซึ่งมีผู้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ จากปราชญ์ชาวบ้านไปแล้วเกือบ 300 คน

"หลักสูตรที่เปิดอบรมถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านสู่ชาวบ้านที่เป็นชาวไร่ ชาวนา ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้ปลุกจิตสำนึกคนรู้รักษ์แม่พระธรณี แม่พระโพสพ แม่พระคงคา แม่พระพาย แม่พระเพลิง"นางบุปผา กล่าว

อีกทั้งยังเปิดสอนหลักสูตรการเลี้ยงไก่ชนที่มีลุงสมควร สมเคราะห์ อายุ 59 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45/1 หมู่ 2 ต.สายคำโห้ อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งในอดีตเป็นนักพนันและเซียนไก่ชนตัวยง เป็นมือให้น้ำไก่ตามบ่อนไก่ต่าง ๆ มาแล้วหลายร้อยสังเวียน พออายุมากขึ้นก็แขวนนวมจากการพนันมาเพาะเลี้ยงไก่ชนขาย มีตั้งแต่ราคาหลักร้อยถึงหลักหมื่น เป็นผู้ถ่ายทอด

นอกจากนี้ นางบังอร สีดา อายุ 50 ปี เกษตรกรปราชญ์ชาวบ้าน จากหมู่ 2 ต.ย่านยาว อ.เมือง จ.พิจิตร ที่ทำไร่นาสวนผสมและปลูกผักปลอดสารพิษขาย ประสบความสำเร็จจากการใช้น้ำส้มควันไม้ก็มาสอนวิชาคนเอาถ่าน คือ การเผาถ่านเพื่อสกัดเอาน้ำสมควันไม้ไปฉีดพ่นเป็นสารป้องกันแมลง และได้ถ่านไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง

อีกทั้ง นางสุวิมล ปานประสิทธิ์ อายุ 48 ปี เรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรพิจิตร แล้วก็ไปใช้ชีวิตชาวนา 100 เปอร์เซ็นต์ ที่บ้านเกิด หมู่ 2 ต.ย่านยาว อ.เมืองพิจิตร ก็มาถ่ายทอดกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยน้ำสกัดจากมูลสัตว์ที่ทำง่าย ๆ แต่ได้ประโยชน์แร่ธาตุอาหารแก่พืช ลดการซื้อสารยูเรีย ซึ่งเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช

เช่นเดียวกับ นายคำสิงห์ ชัยมุต อายุ 55 ปี ปราชญ์ชาวบ้าน จากหมู่ 2 ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ก็มาสอนและถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร ในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตออกมาเป็นพืชปลอดสารพิษ

นอกจากนี้ นางสาวทัศนีย์ เลี่ยมแจง อายุ 27 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ย่านยาว อ.เมือง จ.พิจิตร ผู้ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านในการเลี้ยงหมูหลุม โดยหลักธรรมชาติหมูโตเร็วถ่ายมูลออกมาไม่เหม็น และสามารถนำมูลสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยในไร่นาได้

นอกจากนี้ คุณลุงณรงค์ น้อยตา อายุ 60 ปี อดีตข้าราชการบำนาญเคยเป็นครูโรงเรียนจุฬาภรณ์ พิษณุโลก แต่ใจรักการเกษตรและได้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน นอกเหนือจากวุฒิปริญญาตรี คือ รู้ลึก รู้จริง ทำจริง เรื่องการเลี้ยงกบทั้งในบ่อธรรมชาติ บ่อปูน เลี้ยงกบคอนโดในยางรถยนต์ ลองผิดลองถูกจนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่พี่น้องเกษตรกรได้ ก็มาร่วมเป็นทีมปราชญ์ชาวบ้านแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนคนภูธร

จากความเข้มแข็งของปราชญ์ชาวบ้านผนวกกับความเสียสละจึงได้เกิดศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของในหลวงที่ทรงพระราชทานไว้ว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน” จึงบังเกิดขึ้น

ดังนั้น ถ้าพี่น้องเกษตรกรสนใจจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 086-4616239 , 081-0415883 ซึ่งศูนย์แห่งนี้มีวิชาการทำน้ำส้มควันไม้ การทำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง และการทำฮอร์โมนน้ำชีวภาพ การขยายเชื้อจุลินทรีย์เห็ดโคนป่า การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว การทำปุ๋ยหมักเติมอากาศ การทำน้ำยาซักผ้า ล้างจาน สบู่แบบเอนกประสงค์ รวมถึง การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไส้เดือน

โดยปราชญ์ชาวบ้านจะเป็นผู้ถ่ายทอด ให้กับผู้ที่สนใจจะเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาอาชีพการเกษตร ให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกผู้ผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลกต่อไปอีกด้วย


ที่มา : โพสต์ ทูเดย์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัดเงินระบาย ‘ลิ้นจี่’ ป้องกันวิกฤติราคา!

เพราะผลผลิตลิ้นจี่ของ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ น่าน จะกระจุกตัวมากจนล้นตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจำเป็นต้องระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต และดูดซับผลผลิตให้เข้าสู่ธุรกิจการแปรรูปลิ้นจี่ เพื่อไม่ให้ราคาต่ำเกินไปนายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ข้อมูลว่า ลิ้นจี่ ในปี 53 นี้มีผลผลิตทั้งประเทศประมาณ 74,328 ต้น ลดลงจาก 82,808 ตัน ในปี 52 คิดเป็น 10.24% ซึ่งพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ปี 53 มีผลผลิตรวมประมาณ 62,366 ตัน คือ เชียงใหม่ 26,752 ตัน เชียงราย 15,839 ตัน พะเยา 12,236 ตัน และน่าน 7,539 ตัน

เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้การติดช่อดอกของลิ้นจี่ลดลง และทำให้จะมีการสุกช้ากว่าปีที่แล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งพะเยาจะมีผลผลิตออกก่อน คือในช่วงประมาณวันที่ 10 เมษายน ส่วนผลผลิตของทั้ง 4 จังหวัด จะออกกระจุกตัวช่วงราวๆ 5 พฤษภาคม- 15 มิถุนายนดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาราคาตกต่ำ และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงเตรียม 4 มาตรการที่จะดูแลลิ้นจี่ จำนวน 21,300 ตัน โดย

1. เร่งรัดกระจายผลผลิตภายในประเทศ เป้าหมาย 20,000 ตัน โดยสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ย 1% จำนวน 7.5 ล้านบาท ให้กับสถาบันเกษตร (กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์) วิสาหกิจชุมชน ในการจัดซื้อลิ้นจี่ เพื่อเร่งระบายผลผลิตจำนวน 2,250 ตัน สนับสนุนงบจ่ายขาด จำนวน 40 ล้านบาท โดยชดเชยค่าขนส่งเหมาจ่ายและค่าบริหารจัดการกิโลกรัมละ 2 บาท ให้แก่สถาบันเกษตรกร ในการกระจายผลผลิตลิ้นจี่สู่ตลาดปลายทาง 20,000 ตัน

2. ส่งเสริมการแปรรูป เป้าหมาย 600 ตัน สนับสนุนแหล่งเงินกู้จาสถาบันการเงิน (ธกส ,กรุงไทย , SME) วงเงิน 6 ล้าน ให้กับสถาบันเกษตรกร โดยชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราไม่เกิน 5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี ในการดำเนินการแปรรูปอบแห้งลิ้นจี่ จำนวน 600 ตัน

3. มาตรการพัฒนาคุณภาพ เป้าหมาย 600 ตัน สนับสนุนเงินจ่ายขาด จำนวน 1.98 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับจัดทำบรรจุภัณฑ์ประเภทและขนาดต่างๆ ให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าลิ้นจี่และส่งสริมการจำหน่ายตลาดภายในประเทศ จำนวน 600 ตัน

4.ส่งเสริมตลาดภายในประเทศ เป้าหมาย 100 ตัน สนับสนุนการจัดงานเทศกาลรณรงค์การบริโภคและจำหน่ายลิ้นจี้ ในแหล่งผลิต และจังหวัดปลายทางที่มีศักยภาพ โดยงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 56,954 ล้านบาท “จากมาตรการดังกล่าว จะช่วยกระจายผลผลิตได้ไม่น้อยกว่า 21,300 ตัน รักษาระดับราคาลิ้นจี่ในช่วงมีผลผลิตออกมากไม่ให้ตกต่ำจนเกษตรกรเดือดร้อน โดยจะทำให้ลิ้นจี่ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก จะมีราคาสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท”

ที่มา : บางกอกทูเดย์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:48 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก.วิทย์ฯ บดทำลายลำไยเน่าได้ 81% เหลืออีก 7 โกดัง

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับมอบหมายให้ดำเนินการทำลายลำไยอบแห้งปี 2546 และ 2547 จำนวน 46,800 ตัน โดยการนำไปรีไซเคิลเป็นพลังงานชีวมวล ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.52 เป็นต้นมา และตามข้อตกลงจะต้องบดทำลายลำไยหน้าโกดังทั้ง 60 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 เดือน หรือ 150 วัน

ล่าสุด ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารโครงการรีไซเคิลลำไยฯ เผยว่า นับจากวันแรกที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เริ่มบดลำไยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.52 -2 เม.ย.53 รวม 113 วันนั้น ได้บดลำไยหน้าโกดังแล้ว 37,962 ตัน คิดเป็น 81% ของลำไยทั้งหมด

ขณะนี้เหลือลำไยอีก 7 โกดัง หรืออีกประมาณ 1 หมื่นตัน ก็จะดำเนินการแล้วเสร็จตามข้อตกลง ซึ่งหากนับเวลาที่เหลือจากนี้ไปคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรืออุปสรรค เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการประเมินสถานการณ์และปรับแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เสร็จทันภายในวันที่ 9 พ.ค.53 โดยจะหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประมาณ 10 วัน

ด้านกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักงาน อ.ต.ก. เป็นผู้ควบคุมดูแลโครงการฯ และส่งมอบลำไยอบแห้งเพื่อทำลายให้กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้ประสานความร่วมมือกันเป็นอย่างดี โดยเมื่อวันที่ 26 ม.ค.53 คณะอนุกรรมการควบคุมกำกับดูแลการดำเนินการทำลายลำไยอบแห้งปี 2546 และปี 2547 และคณะ ได้เดินทางไปสำรวจโกดังเก็บลำไยค้างสต๊อค ณ คลังสินค้าสหกรณ์โคนมการเกษตรไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ เพื่อตรวจสอบและประเมินสภาพลำไยและรับฟังปัญหาที่พบในบางพื้นที่ ทั้งนี้ หลังการสำรวจคลังสินค้าแล้ว ได้มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ ที่ อ.ต.ก.เขต 7 เชียงใหม่

นายโอวาท อภิบาลภูวนารถ ประธานอนุกรรมการฯ และรองผู้อำนวยการ อ.ต.ก.(ธุรกิจเกษตร) เผยว่าการเข้าไปตรวจสอบสภาพลำไยล่วงหน้าถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ อ.ต.ก. ต้องดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก่อนนำเครื่องจักรเข้าดำเนินการ ซึ่งหากพบปัญหา อ.ต.ก. ก็จะมีระบบการทำงานตามขั้นตอน กล่าวคือ กรณีพบปัญหาเรื่องน้ำหนักลำไยที่มีความแตกต่างกันอันเกิดจากผลกระทบ อาทิ ภาวะ น้ำท่วม ขึ้นรา หนูกัดแทะ เหล่านี้ให้ถือเป็นน้ำหนักสูญหายที่สามารถรับได้ และจะมีน้ำหนักมาตรฐานรองรับ

ส่วนกรณีพบลำไยสูญหายหรือมีสิ่งปลอมปนในกล่องลำไย เจ้าหน้าที่ อ.ต.ก. ต้องเรียกผู้เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน โดยเจ้าของโกดังต้องเป็นผู้รับผิดชอบและหากตกลงกันได้จะพยายามให้จบปัญหาภายใน 1 วัน เพื่อเดินหน้าต่อได้ แต่หากพบปัญหาที่ตกลงกันไม่ได้ในทันทีทาง อ.ต.ก.จะต้องสรุปปัญหาและนำเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ของกระทรวงเกษตรฯ คือคณะกรรมการบริหารจัดการและทำลายลำไยอบแห้งปี 2546 และปี 2547 พิจารณา

ดังนั้น ในช่วงก่อนวันหยุดสงกรานต์นี้ ทาง อ.ต.ก.ได้เร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจสภาพลำไยในโกดังที่เหลือประมาณ 10 โกดัง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งคาดหวังว่าคงไม่พบปัญหาและจะดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น ต่อไปจนจบโครงการ


ที่มา : ผู้จัดการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นักวิจัยไทยเร่งพัฒนา "ซูเปอร์จัสมิน" หวั่น "แจ๊สแมน" ข้าวหอมมะกันเขย่าบัลลังก์ใน 3 ปี

การสัมมนาเรื่อง "ข้าวไทยกับการจดสิทธิบัตร: ก้าวต่อไป" เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 52 โดยมี รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร (ซ้าย), ดร.ธนิต ซังถาวร (กลาง) และ นายวิชา ฐิติประเสริฐ (ขวา) ร่วมเสวนา

รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร

เปรียบเทียบกันจะจะ "จัสมิน" และ "แจ๊สแมน" อะไรแน่กว่ากัน?

เมล็ดของข้าวหอมมะลิไทยที่มีลักษณะเรียวยาว ยังคงเป็นเอกลักษณ์ยากจะเลียนแบบได้ (ในปัจจุบัน)

ข้าวหอม "แจ๊สแมน" ภายใต้ตรา "แจ๊สเม็น" ของสหรัฐฯ ที่กำลังจะตีตลาดของไทย

ข้าวหอมไทยในบรรจุภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่ง ที่ส่งขายไปทั่วโลก ต้องระบุคำว่า "ไทย" ไว้ด้วย

นักวิจัยไทยหวั่นอีก 3 ปี ข้าวหอม "แจ๊สแมน" สายพันธุ์มะกัน ทำข้าวหอมมะลิพันธุ์ไทยหล่นจากบัลลังก์ เร่งปรับปรุงพันธุ์ "ซูเปอร์จัสมิน" คู่แฝดข้าวหอมมะลิ สู้โรค-แมลง ทนทานทุกสภาพแวดล้อม พร้อมเพิ่มความหอม-ผลผลิต-โภชนาการให้ข้าวพันธุ์ไทย รับมือข้าวพันธุ์ใหม่ของต่างประเทศ เผยงานวิจัยยังมีอุปสรรค เพราะขาดการสนับสนุนทุนวิจัยที่ต่อเนื่องทำให้สำเร็จล่าช้า

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว และศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการสัมมนาเรื่อง "ข้าวไทยกับการจดสิทธิบัตร: ก้าวต่อไป" เมื่อวันที่ 21 ต.ค.52 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมี รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นักวิจัยผู้ค้นพบยีนควบคุมความหอมในข้าว มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาข้าวไทยเพื่อแข่งขันกับพันธุ์ข้าวของต่างประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิของไทย โดยเฉพาะข้าว "แจ๊สแมน" (Jazzman) ของสหรัฐฯ

รศ.ดร.อภิชาติ กล่าวว่า การที่สหรัฐฯ พัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิของไทย และยังให้ชื่อคล้ายกันว่า "แจ๊สแมน" อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน รวมถึงส่งผลกระทบต่อข้าวหอมมะลิของไทยได้

เนื่องจากสหรัฐฯ จะต้องลดการนำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยแน่ หากส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศปลูกข้าวแจ๊สแมน ที่มีต้นทุนต่ำกว่า ให้ผลผลิตสูง และมีคุณสมบัติเหมือนกับข้าวหอมมะลิของไทยเกือบทุกประการ ยกเว้นขนาดของเมล็ดข้าว โดยข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวเมล็ดยาว แต่ข้าวแจ๊สแมนเป็นข้าวเมล็ดสั้น ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ เตรียมความพร้อมที่จะปลูกข้าวแจ๊สแมนในเร็วๆ นี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.อภิชาติ บอกกับสื่อมวลชนและทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ว่า ความเรียวยาวของเมล็ดข้าว เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของข้าวหอมมะลิไทยที่ติดตาผู้บริโภค ดังนั้นตอนนี้ข้าวแจ๊สแมนยังไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวนัก แต่เชื่อว่าภายในอีก 2-3 ปี สหรัฐฯ น่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพปรับปรุงพันธุ์ข้าวแจ๊สแมน ให้มีเมล็ดเรียวยาวได้ไม่ยาก ถึงตอนนั้นข้าวหอมมะลิของไทยคงสู้ไม่ได้

"ที่น่าเป็นห่วงมากอีกเรื่องหนึ่ง คือสภาพอากาศในสหรัฐฯ มีความเย็น ซึ่งจะมีผลทำให้ข้าวหอมได้มากกว่าสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างในประเทศไทย และเราไม่มีทางทำให้ข้าวหอมมะลิของเราราคาถูกลงเพื่อสู้กับเขาได้ แต่สิ่งที่จะทำได้คือต้องเพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงข้าวสายพันธุ์อื่นให้มีความหอมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้แข่งขันกับข้าวหอมของสหรัฐฯ ได้" รศ.ดร.อภิชาติ กล่าว

ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว บอกว่าได้วางแนวทางรับมือในเรื่องดังกล่าวไว้หลายแนวทาง ได้แก่ การพัฒนาพันธุ์ข้าว "ซูเปอร์จัสมิน" (Super Jasmine) โดยนำข้าวข้าวหอมดอกมะลิมาปรับปรุงพันธุ์ ให้มีคุณลักษณะเด่นหลายประการรวมกันไว้ในต้นเดียว เช่น ทนน้ำท่วม ต้านทานเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เป็นต้น โดยไม่ให้กระทบกับพันธุกรรมส่วนใหญ่ของข้าวขาวดอกมะลิเดิม คล้ายกับเป็นคู่แฝดกัน

อีกแนวทางหนึ่งคือ ปรับปรุงข้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ให้มีความหอมมากขึ้น และมีผลผลิตสูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น เพิ่มธาตุเหล็ก, สังกะสี และฤทธิ์ต้านโรคเบาหวาน โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มผลผลิตข้าวโภชนาการสูงให้ได้มากถึง 1.2 ตันต่อไร่ ภายใน 3 ปีนี้ ซึ่งจะทำให้ข้าวหอมของไทยสามารถแข่งขันกับข้าวแจ๊สแมนของสหรัฐฯได้

ทั้งนี้ ข้าวแจ๊สแมน เป็นข้าวหอมที่ปรับปรุงและคัดเลือกพันธุ์โดยนักวิจัยสหรัฐฯ เชื้อสายจีน ตั้งแต่ปี 2540 จากข้าวหอมของจีนผสมกับข้าวเมล็ดยาวของรัฐอาร์คันซอ (Arkansas) ในสหรัฐฯ โดยใช้ระยะเวลา 13 ปี จนได้ข้าวที่มีคุณลักษณะคล้ายกับข้าวขาวดอกมะลิของไทยมาก เช่น มีเปอร์เซ็นต์อะไมโลสต่ำใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ มีคุณสมบัติการหุงต้มไม่แตกต่างกัน ทั้งความหอม, หวาน, นุ่ม และเหนียว มีกลิ่นหอมแรง โดยมีค่าความหอมถึง 597 ppb (หนึ่งในพันล้านส่วน) เทียบเท่ากับข้าวขาวดอกมะลิที่ปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีค่าความหอมราว 525 ppb

ข้าวแจ๊สแมนยังให้ผลผลิตมากถึง 1.2 ตันต่อไร่ ขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทยให้ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบอกว่า ไทยเรามีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและฐานข้อมูลพันธุกรรม รวมทั้งแหล่งให้ทุนสนับสนุนการวิจัย แต่ยังขาดความต่อเนื่องในการให้ทุน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้ และทำให้ประสบความสำเร็จล่าช้ากว่าของต่างประเทศ

นอกจากสหรัฐฯ แล้วไทยยังมีคู่แข่งที่น่ากลัวอีกหลายประเทศ ที่แข่งขันกันพัฒนาข้าวหอม โดยเฉพาะออสเตรเลีย ที่ค้นพบและจดสิทธิบัตรยีนควบคุมความหอมในข้าวเช่นเดียวกับไทย

"ดังนั้นไทยเราจึงต้องเร่งทำวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าว มากกว่าที่จะมาถกเถียงกันว่าควรทำหรือไม่ เพราะหากเราไม่ทำ ต่างประเทศเขาก็ทำ หากเราไม่ยื่นจดสิทธิบัตร ต่างประเทศเขาก็จด แต่หากเรายื่นจดสิทธิบัตรได้ก่อนเขา ก็จะป้องกันไม่ให้เขาทำลอกเลียนแบบได้" รศ.ดร.อภิชาติกล่าว

นอกจากนั้น รศ.ดร.อภิชาติ ยังได้วางแนวทางการศึกษาวิจัย ภายหลังจากทีมของเขาค้นพบยีนความหอมในข้าวและยื่นจดสิทธิบัตรไปแล้วว่า จะศึกษาค้นหายีนควบคุมความหอมในข้าวเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมร่วมกัน และศึกษาการวิวัฒนาการของข้าวหอมและยีนควบคุมความหอมด้วย รวมทั้งค้นหายีนความหอมในพืชชนิดอื่นด้วย.


ที่มา : ผู้จัดการ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/04/2010 7:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไอเดียเด็กเก่ง "เปลือกแก้วมังกร" สกัดสีได้ทั้งผสมอาหารและแต่งหน้า

"เมษา" เดือนที่ได้รับการขนานนามว่าร้อนที่สุดของปีก็มาถึง เมื่อท้องว่างขึ้นมาครั้งใด หลายคนก็คงจะคิดถึงผลไม้หวานๆ เย็นๆ มาทานกันให้ชื่นใจได้ไม่มีเบื่อ ไม่ว่าจะเป็นแตงโมสีแดงแจ๋ มะละกอสุกๆ สักชิ้น หรือแม้แต่ผลไม้สีสันสดใสน่ารักน่าทานอย่าง “แก้วมังกร” ซึ่งวันนี้นอกจากจะทานดับร้อนกันได้ไม่ต้องเกรงใจใครแล้ว ยังได้แปรสภาพเปลือกผลแก้วมังกรมาเป็นสารให้ “สี” เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพและความงามได้อีกด้วย

น้องเมย์ “กนกเนตร สุภาศรี” ม.5 ร.ร.ดาราวิทยาลัย เชียงใหม่ เยาวชนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (เจเอสทีพี) รุ่น 9 เจ้าของโครงงานวิทยาศาสตร์แปรเปลือกแก้วมังกรเป็นสีเล่าว่า เริ่มจากที่ครอบครัวของตัวน้องเมย์เอง มีคุณลุงเป็นเจ้าของสวนแก้วมังกรอยู่ที่ จ.เชียงใหม่

สาวน้อยรายนี้จึงตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลแก้วมังกรว่า นอกจากจะมีรูปร่างแปลกตา มีรสอร่อย และแก้วมังกรยังเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมทานกันเฉลี่ย 6,000 ตัน/ปี โดยมีส่วนเปลือกเหลือทิ้งอยู่ถึง 180 ตันแล้ว ภายใต้เปลือกที่ดูสวยงามของแก้วมังกรนี้ก็น่าจะสารที่มีสรรพคุณทางยาแฝงอยู่ด้วย

น้องเมย์ ก็ไม่ผิดหวังเลยเพราะได้ศึกษาค้นคว้าจนทราบว่า ภายในเปลือกของผลแก้วมังกรที่เรามักจะเหลือทิ้งนั้นมีสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายด้วยกัน หนำซ้ำยังอาจเรียกได้ว่ามีคุณค่าทางอาหารและทางยามากกว่าเนื้อในของผลแก้วมังกรด้วยซ้ำ !!?

เริ่มตั้งแต่สารเหนียวในเปลือกหุ้มผลแก้วมังกรที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลเชิงซ้อน (complex polysaccharides) มากมาย ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดไขมันจำพวกกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (แอลดีแอล) ในกระแสโลหิตได้ ขณะเดียวกันยังมีส่วนผสมของวิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน และแคลเซียมที่กระตุ้นการทำงานของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มีไฟเบอร์มาก กากใยสูง แถมยังลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ โดยตัวเปลือกของผลแก้วมังกรเองยังสามารถนำไปหั่นฝอยและตากแห้งใช้ชงต่างใบชาสมุนไพรรสหวานนิดๆ เพื่อดื่มได้ด้วย

ทั้งนี้ ด้วยสรรพคุณในเปลือกผลแก้วมังกรที่มีมากจนตัดใจทิ้งลงตะกร้าไม่ลงนี่เอง น้องเมย์จึงได้ทดลองสกัดสารมีประโยชน์จากเปลือกผลแก้วมังกรมาใช้ให้เกิดคุณค่ามากที่สุด โดยหวังว่าจะทำให้ได้ทั้งสีสวยของเปลือกผลแก้วมังกรและสารเคมีที่มีประโยชน์มาใช้งาน

ภายใต้การให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างอบอุ่นของ รศ.ดร.ดวงพร เหลี่ยวไชยพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ทำหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง โดยน้องเมย์ได้ทดลองสกัดสารสีด้วยวิธีต่างๆ มากมาย จนได้กรรมวิธีที่สกัดสารสีได้ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและแทบไม่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมืออะไรเลย ทว่าทำให้ได้ผลสีจากเปลือกผลแก้วมังกรมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ

“หลังจากที่พูดคุยกับพี่ๆ ที่กลุ่มแม่บ้านดอยสะเก็ดแล้วก็ทำให้ได้วิธีที่จะใช้สกัดสีแดงอมชมพูจากเปลือกผลแก้วมังกรมาใช้ได้ คือใช้การหมักเปลือกด้วยน้ำเปล่าทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ก็จะทำให้ได้น้ำสีออกมา จากนั้นจึงเอาไปกวนกับแป้งมันให้ได้แป้งเป็นก้อน แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเพื่อบดเป็นผง ซึ่งก็เป็นวิธีที่ง่าย และทำให้ได้ผงแป้งสีแดงอมชมพูมาใช้ ซึ่งผงสีที่ได้มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ทันที” สาวน้อยจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและยาวชนรายนี้เล่า

สำหรับผงสีที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ได้หลายด้านด้วยกัน เช่นนำมาใช้ทดแทนสีผสมอาหารโดยไม่ทำให้กลิ่น รสชาติ หรือคุณค่าทางอาหารเปลี่ยน ที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ได้แก่ ขนมปุยฝ้าย ทับทิมกรอบ วุ้น ซาหริ่ม ขนมชั้น โดยสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน 1-2 เดือน

นอกจากนั้นยังสามารถนำไปผสมกับแป้งฝุ่นผัดหน้าให้ดูสวยงามน่าใช้ และต่อไปยังอาจใช้ให้สีแก่เครื่องสำอางอย่างที่ปัดแก้ม (บรัชออน) และลิปสติก ขณะเดียวกัน

สีที่สกัดได้ก็ยังอาจนำไปใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้อีกด้วย คือ ใช้ทดแทนสีย้อมเซลล์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ที่น้องเมย์ได้ทดลองกับการย้อมเซลล์พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่มาแล้วจนได้ผลน่าพอใจ ซึ่งหากเป็นไปได้ยังอาจนำไปใช้ในงานย้อมอวัยวะภายในร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรคทดแทนการใช้สารเคมีนำเข้าจากต่างประเทศได้อีกประการหนึ่งด้วย

ส่วนสิ่งที่น้องเมย์บอกว่าจะได้พัฒนาต่อไปต่อจากการสกัดสารสีได้แล้วคือ การศึกษาสรรพคุณทางยาในผงสีที่ได้ว่าจะยังคงคุณค่าของเปลือกผลแก้วมังกรไว้อยู่หรือไม่ เพราะในขั้นตอนการตากแดดจะมีความร้อนและออกซิเจนในอากาศมาเกี่ยวข้อง อาจทำให้สารเคมีที่มีประโยชน์สูญสลายไปได้

นอกจากนั้น น้องเมย์ยังจะได้ค้นหาสารที่ทำให้สีมีความคงตัวมากขึ้นในสภาวะกรดและด่าง การผสมสีลงไปในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำ หรือน้ำมันมาก ซึ่งจะทำให้สีแดงอมชมพูของสารสีซีดจางหรือเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองซีดที่ไม่สวย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถนำสารให้สีที่ได้ไปขยายผลใช้กับผลิตภัณฑ์สบู่ เจลอาบน้ำ แชมพู ลิปสติก และครีมบำรุงผิวได้…

จากความสามารถและบุคลิกที่ทั้งเก่งและสดใสน่ารักนี่เอง เมื่อมีผู้ถามถึงเรื่องส่วนตัวว่ามีหนุ่มๆ มาหมายตาน้องเมย์บ้างแล้วหรือยัง น้องเมย์ตอบอย่างอารมณ์ดีว่า “หัวใจยังว่าง รักไม่ยุ่ง มุ่งแต่โครงงานค่ะ”


ที่มา : ผู้จัดการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:13 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไขข้อสงสัยจาก "ไก่ป่า" มาเป็น "ไก่บ้าน" กับโครงการพหุสัมพันธ์คนกับไก่

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการวิจัยเรื่องพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูถัมป์ (ภาพโดย ไบโอเทค/สวทช.)

เจ้าชายอากิฌิโนฯ ในพระอิริยาบถต่างๆ ขณะทรงงานโครงการพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่

"Chickens and Humans in Thailand: Their Multiple Relationships and Domestication" ที่รวบรวมผลสรุปจากโครงการพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่

แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานประชุมวิชาการ "พหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่" ชมนิทรรศการการวิจัยไขข้อสงสัยว่าไก่ป่ามาเป็นไก่บ้านได้อย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ในจังหวัดเชียงราย

ไก่ป่าสีแดง ที่พบเฉพาะแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านที่แพร่กระจายไปทั่วโลก

ไก่ต่อ เป็นไก่พันธุ์ผสมระหว่างไก่ป่าและไก่บ้าน

ไก่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมรูปแบบต่างๆ ของหลายชาติพันธุ์ทางตอนเหนือของไทย

"ไก่กับไข่" อะไรเกิดก่อนกัน อาจยังไม่ได้คำตอบแน่ชัด แต่วันนี้นักวิจัยค่อนข้างแน่ใจแล้วว่า "ไก่ป่า" ทางตอนเหนือของประเทศไทย เป็นบรรพบุรุษของ "ไก่บ้าน" ที่เลี้ยงและบริโภคเป็นอาหารกันทั่วโลก จากโครงการวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ พร้อมเสนอให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ชนสายพันธุ์ทนทานไว้เป็นอาหาร ป้องกันภาวะขาดโปรตีน

เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. ของวันที่ 18 มี.ค.53 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการประชุมวิชาการ "พหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่" ณ สยามสมาคมในพระพรมราชูปถัมภ์ พร้อมเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการวิจัยเรื่องพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่

ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสใจความว่า โครงการวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 เมื่อเจ้าชายอากิฌิโนโนมิยา ฟูมิฮิโตะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ติดต่อขอให้พระองค์ทรงเป็นผู้สนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกัน ซึ่งพระองค์ทรงติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยนี้มาโดยตลอด จนเห็นผลสำเร็จในวันนี้ ซึ่งได้มีการรวบรวมเป็นหนังสือ "Chickens and Humans in Thailand: Their Multiple Relationships and Domestication" หรือ พหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ และมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติกว่า 25 ผลงาน

สมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสชื่นชมนักวิจัยและผลงานวิจัยในโครงการนี้ในสองด้านด้วยกัน คือ ด้านความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ และความร่วมมือวิจัยในรูปแบบสหสาขาวิชา ที่ได้นำนักวิจัยไทยและญี่ปุ่นในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ได้มาทำงานวิจัยร่วมกัน และทรงหวังด้วยว่าจะมีความร่วมมือโครงการวิจัยระหว่างทั้งสองประเทศเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ทั้งนี้ โครงการวิจัยพหุสัมพันธุ์ระหว่างคนกับไก่ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเจ้าชายอากิฌิโนโนมิยา ฟูมิฮิโตะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้พระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบด้วยนักวิจัยญี่ปุ่นและไทยหลายสาขากว่า 50 คน

ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ หัวหน้าโครงการฝ่ายไทย ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ว่าโครงการวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่เกิดจากการที่เจ้าชายอากิฌิโนฯ มีความสนพระทัยเกี่ยวกับไก่ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงเกิดคำถามว่าทำไมไก่จึงมีความสัมพันธ์กับคนมากกว่าสัตว์อื่น และจากไก่ป่าวิวัฒนาการมาเป็นไก่บ้านที่เลี้ยงกันแพร่หลายไปทั่วโลกได้อย่างไร

"มีหลักฐานทางวิชาการว่าแหล่งกำเนิดดั้งเดิมของไก่บ้านน่าจะอยู่บริเวณประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างประเทศไทย ลาว และจีน เจ้าชายอากิฌิโนฯ จึงทรงเลือกพื้นที่ในจังหวัดเชียงรายเพื่อทำการศึกษาพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ เนื่องจากในจังหวัดเชียงรายเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีไก่บ้านหลายสายพันธุ์ และยังมีไก่ป่าสีแดงอยู่จำนวนมาก โดยศึกษาใน 4 มิติ คือ มิติทางชีววิทยา มนุษยศาสตร์ นิเวศวิทยา และภูมิศาสตร์ หลังจากที่พระองค์ได้ทรงทำการวิจัยร่วมกับนักวิจัยญี่ปุ่นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาก่อนหน้านั้นแล้ว" ศ.ดร.ไพรัช กล่าว

ทั้งนี้ มีหลายสมมติฐานเกี่ยวกับสาเหตุของการนำไก่ป่ามาเลี้ยงจนกลายเป็นไก่บ้าน เช่น นำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เมื่อมนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐาน มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์, นำมาเลี้ยงเพื่อบอกเวลา เพราะไก่เป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องในเวลากลางคืน และไม่นานความสว่างก็ปรากฏ, นำมาเลี้งเพื่อการกีฬา และนำมาเลี้ยงเพื่อประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีหลักฐานและงานวิจัยส่วนหนึ่งบ่งชี้ว่าวิวัฒนาการของไก่บ้านเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 8,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับยุคเริ่มต้นของการปลูกข้าว จึงเป็นไปได้ที่ไก่ป่ามากินเมล็ดข้าวที่คนปลูกไว้ และกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของคนในเวลาต่อมา

จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของไก่ป่าด้วยวิธีไมโครแซเทลไลต์ พบว่า ไก่ป่าสีแดงตุ้มหูแดง ไก่ป่าสีแดงตุ้มหูขาว และไก่บ้านหรือไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์ต่างๆ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ไก่พื้นเมืองมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมและจัดอยู่ในกลุ่มที่พัฒนามาจากไก่ป่าสีแดงตุ้มหูแดง ส่วนไก่ป่าสีแดงตุ้มหูขาวมีลำดับทางวิวัฒนาการมาก่อนไก่สายพันธุ์อื่นๆ จึงสันนิษฐานว่าไก่ป่าสีแดงตุ้มหูขาวน่าจะเป็นบรรพบุรุษของไก่พื้นเมืองและไก่อื่นๆ ในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ที่ว่าไก่บ้านมีบรรพบุรุษมาจากไก่ป่าสีแดง กัลลัส กัลลัส (Gallus gallus) ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตสัตวภูมิศาสตร์ตะวันออก

ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไก่ป่าสีแดง ไก่ต่อ และไก่พื้นเมืองไทย ในทางพันธุศาสตร์โมเลกุล พบว่า ไก่ป่าตุ้มหูแดงเป็นบรรพบุรุษของไก่ต่อและไก่พื้นเมือง โดยไก่ป่าสีแดงมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับไก่ต่อมากกว่าไก่พื้นเมือง ฉะนั้นไก่ต่อจึงเป็นตัวกลางของการวิวัฒนาการจากไก่ป่ามาเป็นไก่บ้าน

นักวิจัยยังได้ศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตของไก่ป่าในธรรมชาติ พบว่านอกจากกินแมลง พืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ยังพบก้อนกรวดและเศษพลาสติกในมูลของไก่ป่า แสดงว่าไก่ป่าคุ้นเคยกับคนหรือหากินใกล้ที่อยู่อาศัยของคน ซึ่งการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสังคมมนุษย์ได้ของไก่ป่า อาจเป็นที่มาของการนำไก่ป่ามาเลี้ยงจนเป็นไก่บ้านที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และไก่ป่าจะขันในตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจเป็นสาเหตุของการนำไก่ป่ามาเลี้ยงเพื่อบอกเวลาและพัฒนามาเป็นไก่บ้านในที่สุด

นอกจากนี้ การศึกษาทางภูมิศาสตร์พบว่าในจังหวัดเชียงรายมีไก่มากถึงร้อยละ 47 ของจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมด ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคและการค้าเป็นหลัก ที่มาและการกระจายตัวของไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่มาจากผสมพันธุ์กันเองและการซื้อขายภายในหมู่บ้าน ส่วนบริเวณพื้นที่ภูเขา ป่า และชายป่าใกล้หมู่บ้าน อาจมีการจับไก่ป่าเพื่อการบริโภคหรือเพื่อกิจกรรมอื่นๆ ตลอดจนมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ในมิติทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมด้วย

ศ.ดร.ไพรัช กล่าวอีกว่า โครงการวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ทำให้ได้ข้อมูลเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับไก่หรือความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ต่อไป รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์ไก่เพื่อการบริโภคหรือในเชิงเศรษฐกิจต่อไป

"สมเด็จพระเทพฯ ให้ความสนพระทัยในเรื่องนี้และรับสั่งอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรให้สามารถเพิ่มโปรตีนให้กับชาวบ้านในชนบทที่ขาดโปรตีนได้บ้าง ทางเราก็ได้เสนอต่อพระองค์ท่านว่าอาจสนับสนุนชาวบ้านให้เลี้ยงไก่ชนไว้เพื่อบริโภคเท่านั้น เพราะไก่ชนเป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และการตีไก่ก็เป็นการคัดพันธุ์ไก่วิธีหนึ่งเพื่อให้ได้พ่อพันธุ์ไก่ที่ดี ซึ่งในอนาคตอาจมีการส่งเสริมประชาชนให้เลี้ยงไก่ชนเพื่อการบริโภคอย่างเป็นรูปธรรม" ศ.ดร.ไพรัช กล่าว


ที่มา : ผู้จัดการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หญ้า 2.5 ไร่เปลี่ยนเป็นเอทานอลได้นับพันลิตร

หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ทุ่มวิจัยอย่างหนักเพื่อหาทางผลิตพลังงานจากเส้นใยเซลลูโลส หวังแก้ปัญหาวิกฤติเชื้อเพลิงฟอสซิล (ภาพจาก blogware.com)

เทียบกับความสูงของคนเราแล้ว หญ้าสวิตช์แกรสชะรูดกว่าเยอะ (ภาพจาก catalinaarts.com)

เอพี/ม.เนแบรสกา- ปกติแล้ว การผลิตเอทานอลจำเป็นต้องใช้พืชอย่างข้าวโพดมาหมักให้ได้เอทานอล แต่ที่สหรัฐฯ นักวิจัยเปลี่ยนหญ้าโตเร็วให้มาเปลี่ยนเป็นเอทานอลได้ดีไม่แพ้กัน แถมยังต้นทุนต่ำกว่าแบบฟ้ากับดิน

เคน โฟเกล (Ken Vogel) นักพันธุศาสตร์ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเนแบรสกา-ลินคอล์น ผู้ทำวิจัยกล่าวว่า ในพื้นที่ปลูกขนาด 1 เอเคอร์ หรือ 2.5 ไร่เท่าๆ กัน หญ้าสวิตช์แกรส (switch grass) สามารถเปลี่ยนเป็นเอทานอลได้ถึง 300 แกลลอน หรือประมาณ 1,100 ลิตร เทียบกับการใช้ข้าวโพดที่จะให้เอทานอลได้มากกว่าราว 50 แกลลอนเท่านั้น

มิหนำซ้ำยังไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือการดูแลดีนัก โดยกระบวนการผลิตเอทานอลด้วยหญ้ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาให้สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อศึกษากับแปลงปลูกขนาดใหญ่ถึง 50 ไร่แล้ว พลังงานที่ได้จะมากกว่าที่ใช้ไปในการปลูก การเก็บเกี่ยว และการเปลี่ยนมาเป็นเอทานอลถึง 5.4 เท่า และยังปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศน้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซินถึง 94%

หญ้าสวิตช์แกรส เป็นวัชพืชที่พบมากที่ภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา แถบเซาธ์ดาโกตา และนอร์ธดาโกตา โดยงานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือนานกว่า 5 ปีระหว่างมหาวิทยาลัยเนแบรสกา-ลินคอล์น และหน่วยวิจัยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐฯ (The Proceedings of the National Academy of Sciences) เมื่อต้นสัปดาห์ทีผ่านมา

สตีฟ โซรัม (Steve Sorum) ผู้จัดการคณะกรรมการโครงการผลิตเอทานอลของรัฐเนแบรสกา กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมต่างตื่นเต้นกับการเปลี่ยนเส้นใยเซลลูโลสของหญ้าให้เป็นเอทานอลนี้มาก เนื่องจากการใช้สารตั้งต้นที่เป็นเพียงหญ้าราคาถูก และผลพลอยได้จากการผลิตเอทานอลยังนำไปเผาปั่นไฟหรือเผาเพื่อกลั่นเอทานอลได้ด้วย โดยขั้นต่อไปคือการทำให้มีต้นทุนต่ำลง

ทั้งนี้ สภาคองเกรสเพิ่งผ่านกฎหมายใหม่เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาให้มีการผลิตเอทานอล 1.36 แสนล้านลิตรต่อปี ภายในปี 2565 โดยเฉพาะการใช้วัตถุดิบอย่างหญ้าสวิตช์แกรสและเศษไม้ ซึ่งจำกัดให้ในอีก 7 ปี จะใช้ข้าวโพดเพื่อผลิตเอทานอลเพียง 1 ใน 3 ของทั้งหมด

นอกจากนี้ ในปี 2550 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ยังทุ่มเงินอีก 11,500 ล้านบาท เพื่อตั้งโรงกลั่นเอทานอลจากเส้นใยเซลลูโลส 6 โรงภายใน 3 ปี คาดว่าจะช่วยผลิตเอทานอลได้ถึง 490 ล้านลิตรต่อปี


ที่มา : ผู้จัดการ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/04/2010 6:31 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 10:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บริษัทร่วมทุน "ไทย-แคนนาดา" ทำปุ๋ยอินทรีย์ส่งโกอินเตอร์

ไทย-แคนาดา จับมือร่วมธุรกิจผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อช่วยลดใช้เคมีการเกษตร ใช้เปลือกกุ้งปูที่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย เป็นวัตถุดิบหลัก ผสมผสานเทคโนโลยีการเร่งปฏิกิริยาจากแคนาดา ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิต พร้อมป้องกันโรคและแมลงในตัว เตรียมรุกตลาดเกษตรอินทรีย์ในเอเชียนำร่อง

บริษัท ไทย-แคนาดา เรียล ออร์แกนิค โปรดักส์ จำกัด ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ภายใต้ชื่อ "แคนโกร" (Can-Grow) ที่ผลิตจากเปลือกกุ้งเปลือกปู ใช้สำหรับการปลูกพืชแบบอินทรีย์ ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่า และมีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ตั้งเป้าผลิตส่งออกตลาดเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชีย

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เผยว่า บริษัท ไทย-แคนาดา เรียล ออร์แกนิค โปรดักส์ จำกัด (Thai-Canadian Real Organic ProductS.,Ltd. : THAI-CROP) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท เอกยงวงศ์ จำกัด ของประเทศไทย กับบริษัท แคนาดา เรียล ออร์แกนิค โปรดักส์ จำกัด (Canadian Real Organic ProductS Inc.) ในประเทศแคนาดา ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สวทช. และสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดา ซึ่งได้นำผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยีและผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เทคโนโลยีมาพบกันเพื่อทำธุรกิจร่วมกัน และนับเป็นบริษัทแรกที่เกิดจากโครงการดังกล่าว โดยไทยถือหุ้น 80% ส่วนแคนาดาถือหุ้น 20%

"การที่ต่างชาติมาร่วมลงทุนด้วยเป็นการเสี่ยงร่วมกันและได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้รู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อขยายโอกาสทางด้านธุรกิจและการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นนั้นก็มีส่วนช่วยให้เกิดการทำเกษตรกรรมแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีในดินและน้ำ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค" รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าว

น.ส.สุรีพร เอมโอฐ นักวิทยาศาสตร์ของ THAI-CROP ให้รายละเอียดเกี่ยวกับปุ๋ยแคนโกรว่าเป็นเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของแคนาดาโดยใช้เปลือกกุ้งและเปลือกปูเป็นวัตถุดิบหลักในอัตราส่วนอย่างละ 45% ผสมกับไคตินเร่งปฏิกิริยา (Catalytic Chitin) 10%

เมื่อใส่ปุ๋ยแคนโกรให้พืช ไคตินเร่งปฏิกิริยาที่อยู่ในปุ๋ยจะไปกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างเอนไซม์ไคติเนส (Chitinase) เพื่อย่อยสลายไคตินที่อยู่ในเปลือกกุ้งเปลือกปูและปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองต่างๆ ให้แก่พืช โดยเฉพาะธาตุแคลเซียมที่มีอยู่มากในเปลือกกุ้งและปู

"ปุ๋ยแคนโกรยังช่วยกำจัดเชื้อรา แมลงศัตรูพืช และไส้เดือนฝอยได้ เนื่องจากเอนไซม์ไคติเนสที่แบคทีเรียสร้างขึ้นสามารถย่อยผนังเซลล์ของเชื้อรา เปลือกแมลง และเปลือกไข่ของแมลง ที่ส่วนใหญ่มีไคตินเป็นองค์ประกอบ ปุ๋ยแคนโกรจึงช่วยป้องกันพืชไม่ให้เป็นโรคจากเชื้อราได้ ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุของโรคพืชถึง 80% และป้องกันพืชจากการถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอย" น.ส.สุรีพร แจง

นักวิจัยของ THAI-CROP เผยอีกว่า จากการทดลองปลูกสตอเบอร์รีโดยใช้ปุ๋ยแคนโกรเปรียบเทียบกับปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี พบว่าผลผลิตของทั้ง 2 แปลงไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อตรวจสอบคุณภาพผลผลิตโดยห้องปฏิบัติการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร (LCFA) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าสตอเบอร์รีที่ได้รับปุ๋ยแคนโกรมีปริมาณวิตามินซีและแคลเซียมสูงกว่าประมาณ 18-20% เช่นเดียวกับผลผลิตอื่นๆ ที่ได้ทดสอบแล้ว เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน กระเจี๊ยบเขียว พริก และผักสลัด เป็นต้น และยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นอีกด้วย ซึ่งเป็นผลจากปริมาณวิตามินซีที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ปุ๋ยแคนโกรสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด โดยปุ๋ยแคนโกรมีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งอาจแพงกว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่มีจำหน่ายทั่วไปประมาณ 40 บาท แต่นักวิจัยเผยว่าอัตราการใส่ปุ๋ยแคนโกรจะมีความถี่น้อยกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไปที่ต้องใส่บ่อยครั้งมากกว่า อีกทั้งแคนโกรยังช่วยป้องกันโรคและแมลงได้มากกว่า จึงให้ผลผลิตที่คุ้มค่ามากกว่า แต่อย่างไรก็ดีปุ๋ยแคนโกรไม่สามารถป้องกันหนอนหรือแมลงที่ไม่มีองค์ประกอบของไคตินได้

ด้านนายวุฒิพงศ์ วนากุล กรรมการผู้จัดการ THAI-CROP เผยว่า เดิมทีบริษัทเอกยงวงศ์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเกษตรอินทรีย์ เช่น กากเมล็ดชาสำหรับกำจัดหอยเชอรีในนาข้าว และปลูกพืชผักส่งออกอยู่แล้ว จึงสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตรแบบอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มจากปุ๋ยแคนโกร ซึ่งผลิตเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบผง สำหรับใช้ในดิน, แบบสเปรย์ สำหรับฉีดพ่นส่วนของพืชที่อยู่เหนือดิน และแบบแท่ง สำหรับปักในดิน

"เป้าหมายของปุ๋ยแคนโกรคือกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งยังมีอยู่ไม่มากนัก จึงยังไม่ได้คาดหวังผลิตส่งออกเป็นจำนวนมากๆ โดยขณะนี้โรงงานสามารถผลิตได้ประมาณ 15 ตันต่อวัน และจะเริ่มผลิตขายและส่งออกในประเทศใกล้เคียงก่อน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย" นายวุฒิพงศ์ เผย ซึ่งแคนโกรได้รับการรับรองคุณภาพมาแล้วจากหลายสถาบันทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป แคนาดา จีน และญี่ปุ่น

นอกจากนี้ THAI-CROP ยังอยู่ระหว่างการพัฒนากล่องบรรจุผลผลิตทางการเกษตรและน้ำยาล้างผักที่ช่วยยืดอายุผลผลิต โดยตั้งเป้านำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยแคนโกรเพื่อยืดอายุผลผลิตให้ได้นานพอที่จะสามารถขนส่งทางเรือได้แทนการขนส่งทางเครื่องบิน ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งได้หลายเท่าตัว.

ที่มา : ผู้จัดการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 11:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟาร์มกุ้งก่อให้เกิดวิกฤติสิ่งแวดล้อม

สำนักข่าวไทย – มูลนิธิความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีเจเอฟ มีสำนักงานในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ กล่าวว่า การขยายตัวอย่างรวดเร็วของบรรดาฟาร์มเลี้ยงกุ้งในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในหลายประเทศแถบเอเชีย ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมอย่างน่าตกใจ และปัญหาในทำนองเดียวกันนี้ ยังพบในแถบละตินอเมริกาและแอฟริกาด้วย

รายงานหนา 77 หน้า ของกลุ่มอีเจเอฟ ระบุความเสียหายที่เกิดต่อสภาพแวดล้อมจากการทำฟาร์มกุ้ง ได้แก่ การทำลายป่าโกงกาง และการลดลงของจำนวนสัตว์น้ำใต้ทะเล รายงานระบุว่า ฟาร์มกุ้งผุดขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศยากจนเมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะใน ไทย จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และบังกลาเทศ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่

รายงานของอีเจเอฟ ระบุว่า จากความคิดที่ว่าการทำฟาร์มดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตและการส่งออกอาหารให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และยังจะช่วยเพิ่มปริมาณอาหารทะเลในธรรมชาติ เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาสำคัญที่เกิดจากการทำฟาร์มกุ้ง

นอกจากการทำลายป่าโกงกางและพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มักถูกลักลอบทำเป็นฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ยังมีการใช้สารเคมีอันตรายจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสะสมของสารพิษในสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศไทย การสะสมของมลพิษ ทำให้ต้องทิ้งพื้นที่ไว้ระยะหนึ่ง และไม่สามารถใช้พื้นที่ทำสิ่งอื่นได้ รายงานระบุว่า ถึงเวลาที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลและรัฐบาลของนานาประเทศจะต้องยุติการกระทำเช่นนั้น เพราะไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดหายนะในระยะยาว


ที่มา : ผู้จัดการ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สุรีรัตน์ฟาร์ม รุกผลิตตลาดกุ้งอินทรีย์

"สุรีรัตน์ฟาร์ม" เบนเข็มรุกหนักตลาดกุ้งกุลาดำอินทรีย์ในญี่ปุ่น-จีน แทนตลาดอียูที่ต่อราคาจนกำไรแทบไม่เหลือ ขณะต้องแข่งเดือดกับผู้ผลิตกุ้งอินทรีย์จาก 4 ชาติเอเชีย ที่ต้นทุนการเลี้ยงได้เปรียบกว่า คุยแต่ยังเหนือชั้นเพราะแข่งด้วยคุณภาพและมาตรฐานสินค้า มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมเป็นหลัก

นายประยูร หงส์รัตน์ ประธานบริหารสุรีรัตน์ฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี ผู้ประกอบการฟาร์มกุ้งกุลาดำแบบอินทรีย์รายแรกในประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งมีกลุ่มสหภาพยุโรป(อียู)เป็นลูกค้าหลักได้ขอลดราคาสินค้าลงจากเดิม แต่ทางฟาร์มเห็นว่าไม่คุ้ม จึงยืนยันขายในราคาเดิม ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อ(ออร์เดอร์)ที่ลดลง อย่างไรก็ดีจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวในเวลานี้ ทางฟาร์มได้เริ่มเบนเข็มหันไปทำตลาดญี่ปุ่นและจีนแทนมากขึ้น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สินค้ามีเท่าไรก็ไม่พอจำหน่าย ปัจจุบันสุรีรัตน์ฟาร์มมีพื้นที่ประมาณ 1,600 ไร่ มีบ่อเลี้ยงกุ้งทั้งหมด 150 บ่อ กำลังการผลิต 500 ตันต่อปี

"ราคากุ้งกุลาดำอินทรีย์ จะมีราคาสูงกว่ากุ้งที่ขายในท้องตลาดประมาณ 30% เนื่องจากการเพาะเลี้ยงดังกล่าวมุ่งเน้นพัฒนาระบบการเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปราศจากสารเคมีตลอดสายการผลิต เรียกได้เต็มปากอย่างมั่นใจว่าเป็นกุ้งกุลาดำอินทรีย์ 100%" นายประยูร กล่าวและว่าสาเหตุที่หันมาทำฟาร์มกุ้งกุลาดำอินทรีย์ครบวงจร เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมาราคากุ้งทั่วไปในประเทศไทย มีราคาตกต่ำ จึงต้องการพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างจากท้องตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังต้องการความมั่นคงในชีวิตและอาชีพ ทั้งนี้การเลี้ยงกู้อินทรีย์มีข้อกำหนดหลายอย่างที่สำคัญคือ ห้ามใช้สารเคมี กุ้งต้องเป็นสายพันธุ์ท้องถิ่น มีการกำหนดอัตราการปล่อยลูกกุ้งในการเลี้ยงไม่เกิน 15 ตัวต่อตารางเมตร อาหารต้องเป็นอาหารออร์แกนิก เป็นต้น จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้การเลี้ยงกุ้งอินทรีย์มีต้นทุนสูงกว่าการเลี้ยงกุ้งทั่วไปประมาณ 30% ราคาที่ขายจึงต้องสูงตามไปด้วย ส่วนตลาดในประเทศนั้นทำตลาดยากเนื่องจากคนไทยยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอินทรีย์มากนัก ประกอบกับตลาดยังเล็กเกินไป ดังนั้นทางฟาร์มจึงมุ่งเน้นการส่งออกเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตามการทำฟาร์มกุ้งอินทรีย์ ไม่ใช่มีเพียงไทยประเทศเดียว แต่ยังมีอีกหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ และยังมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า ทำให้ขายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่าไทยถึง 60-80% แต่ที่สุรีรัตน์ฟาร์มยังแข่งได้เนื่องจากลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพ และขนาดหรือไซต์กุ้งได้มาตรฐานตามความต้องการ และเน้นจับตลาดบน(พรีเมียม) เป็นหลัก "ฟาร์มกุ้งในต่างประเทศที่เป็นออร์แกนิกฟาร์มนั้น เขาเลี้ยงด้วยระบบธรรมชาติจริงๆ คือมีบ่อขนาดใหญ่ จากนั้นก็ปล่อยกุ้งลงไป และปล่อยให้กุ้งกินอาหารตามธรรมชาติ โตแบบธรรมชาติ จึงไม่มีต้นทุนอะไรมากนัก เมื่อต้นทุนไม่สูงก็สามารถขายในราคาที่ต่ำได้ แต่ของเราโฟกัสกลุ่มลูกค่าพรีเมียม แข่งด้วยคุณภาพและมาตรฐานสินค้าจึงยังสามารถแข่งขันได้"

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีอัตราการขยายตัว 20-30% ต่อปี โดยในปี 2553 คาดจะมีมูลค่าถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีตลาดสำคัญ คือ สหภาพยุโรป(อียู)สัดส่วน 50% ตลาดสหรัฐอเมริกา 45% ที่เหลือเป็นตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และตลาดอื่นๆ ขณะที่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่บริโภคในประเทศและส่งออกในปี 2551 มีมูลค่า 3,217 ล้านบาท ปี 2552 มูลค่า 3,539 ล้านบาท และปี 2553 คาดจะมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท

ที่มา :


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/04/2010 9:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก.เกษตรฯ วางงบ 900 ล้านบาท เตรียมพร้อมเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานบูรณาการการผลิตการตลาดสินค้าอินทรีย์ว่า หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ มีการทำงานด้านการส่งเสริมการปลูกพืช และการทำเกษตรอินทรีย์ อยู่เดิมแล้ว แต่ยังค่อนข้างซ้ำซ้อน จึงต้องปรับรูปแบบให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้มีการวางแผนการส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักคอยตรวจสอบและดูแล ขณะที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีความพร้อม โดยในปี 2554 กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการประมาณ 900 ล้านบาท กำหนดเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการปรับโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่เกษตรกรรม และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์
ทั้งนี้ได้วางเป้าหมายให้เกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ประมาณ 17,000 ราย บนพื้นที่ทั้งหมด 17 ล้านไร่ ซึ่งทางกรมพัฒนาที่ดินจะเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่สามารถปรับปรุงได้ แล้วทำการตรวจสอบว่ามีศักยภาพ ที่จะปรับเปลี่ยนให้เป็นเกษตรอินทรีย์ได้หรือไม่ และจะมองไปในภาพรวมของสินค้าที่มีศักยภาพในการพัฒนา และเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้หลายพันล้านบาท โดยจะเน้นสินค้าหลักที่เป็นจุดแข็งของไทย ประกอบด้วย ข้าว ผัก ผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ

ที่มา : วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปั้นข้าวหอมมะลิอินทรีย์โกอินเตอร์

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 มีนาคม นี้ ที่โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ กรมจะจัดสัมมนาโดยเชิญเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดสุรินทร์ และพื้นที่ไกล้เคียง มาชี้แจงถึงแนวทางพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้สอดคล้องกับต้องการของตลาดโลก หลังจากที่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบริโภคมากขึ้น ทั้งสหภาพยุโรป สหรัฐฯออสเตรเลีย ฮ่องกงและสิงค์โปร์ รวมถึงจะชี้แจงให้เข้าใจถึงกฎระเบียบ ข้อบังคับการนำเข้า การรับรองมาตรฐาน

ทั้งนี้ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จะเป็นสินค้าในระดับพรีเมียม ที่มีขีดความสามารถในการบุกเจาะตลาดต่างประเทศ เพราะขณะนี้ทั่วโลกตื่นตัวกับกระแสสุขภาพ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของไทย อาศัยการเติบโตโดยธรรมชาติ ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี จึงทำให้ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก

“ข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นสินค้าพรีเมียมได้แน่ เพราะที่ผ่าน ข้าวหอมมะลิไทย ก็เป็นสินค้าที่ทั่วโลกให้การยอมรับในเรื่องคุณภาพ และมาตรฐานอยู่แล้ว ยิ่งไทยสนับสนุนข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าจะได้รับการยอมรับ ที่สำคัญ เกษตรกรไทยจะมีทางเลืกในการผลิตและมีรายได้เพิ่มขึ้น”

นางอภิรดีกล่าวอีกว่า ในวันเดียวกัน กรมจะเปิดคลินิกให้คำปรึกษากับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ที่สนใจในเรื่องข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ทั้งการเพาะปลูก การผลิต และการส่งออก รวมไปถึงแนวโน้มความต้องการของตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนการผลิตและการส่งออกได้อย่างถูกต้อง

ที่มา :
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คลัง เร่งจัดที่ราชพัสดุให้เกษตรกรเข่า คาดปี 53 ให้เช่า 1 แสนไร่

รมช.คลังเร่งจัดที่ราชพัสดุให้เกษตรเช่าเพื่อประกอบอาชีพในราคาที่เหมาะสม คาดปี 53 จะจัดให้เกษตรกรเช่าได้อีก 1 แสนไร่ จากปี 52 ที่จัดสรรแล้วกว่า 1.14 แสนไร่

เมื่อวันที่ 8 เม.ย. นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นโยบายในการนำที่ดินราชพัสดุมาสนับสนุนการปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน เพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎรที่มีอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้เช่าที่ดินราชพัสดุ เพื่อทำการเกษตรในอัตราค่าเช่าที่เหมาะสม ในปี 2552 ที่ผ่านมาได้จัดให้เกษตรกรเช่าที่ราชพัสดุจากโครงการดังกล่าวไปแล้วเนื้อที่ ประมาณ 114,376 ไร่ เกษตรกรผู้เช่าประ มาณ 6,927 ราย

สำหรับในปีบประมาณ 2553 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 เป็นต้นมาจัดให้เกษตรกรเช่าแล้วประมาณ 13,590 ไร่ จำนวนผู้เช่าประมาณ 1,632 ราย ในเขตจังหวัดต่างๆ อาทิ กาญจนบุรี เพชรบุรี ชุมพร กระบี่ ทั้งนี้ในปี 2553 คาดว่าจะสามารถจัดให้เกษตรกรเช่าได้ 100,000 ไร่

ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'น้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง'
กลิ่นคงเดิมสารอาหารครบ

ผศ.ดร.วราภรณ์ บอกว่า เนื่องจากเห็นว่าน้ำมะพร้าวอ่อนมีประโยชน์มากมาย ที่ผ่านมา มีการบริโภคจากผลสด ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่สะดวก นอกจากนี้บางประเทศที่ไม่สามารถปลูกมะพร้าวน้ำหอมได้ ต้องอาศัยการนำเข้าผลมะพร้าวน้ำหอมสดไปจำหน่าย ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียค่าใช้ จ่ายสูง

ดังนั้นจึงคิดหากรรมวิธีและพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง ที่นำน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมมาแปรรูปให้เป็นน้ำมะพร้าวอ่อนชนิดผงที่ความชื้นของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 4.43% สามารถละลายในอุณหภูมิห้อง โดยใช้มะพร้าวอ่อนน้ำหอมผง 10 กรัม ละลายในน้ำสะอาด 250 กรัม สามารถทำการละลายกลับมาเป็นน้ำมะพร้าวที่มีลักษณะกลิ่น รส และความหอมเหมือนกับน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมสดทุกประการ

“ตอนนี้งานวิจัยเรายังไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องใช้เวลาอีกราว 6 เดือน แต่ปัญหายังขาดผู้ร่วมงาน และงบประมาณ หากวิจัยเสร็จสมบูรณ์ เท่ากับเราสามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ ต่อไปผู้ที่ชอบดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมก็สามารถชงดื่มได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พกพาสะดวก แต่หากจะนำไปต่อยอดเพื่อทำเป็นเชิงธุรกิจ อย่างน้อยต้องลงทุนซื้อเครื่องทำแห้งผง ขนาดเล็กอย่างน้อยราคา 5 ล้านบาท เมื่อคำนวณแล้วถามว่าราคากับน้ำสด ๆ จากผลนั้นอาจแพงกว่า แต่ถ้าเทียบกับน้ำมะพร้าว น้ำหอมแปรรูปที่บรรจุกล่องที่ขายทั่วไป กล่องละ 25 บาท ราคาสู้ได้ ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ที่ได้มายังเหมาะกับการนำไป ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยา เป็นต้น” ผศ.ดร.วราภรณ์ กล่าว

ด้านคุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าวอ่อนน้ำหอมนั้น ผศ.ดร.วราภรณ์ บอกว่า เป็นแหล่งของ เกลือแร่และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายได้แก่ โซเดียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ วิตามินซี บี 2, บี 5, บี 6 กรดโฟลิก กรด อะมิโนและกลูโคส ซึ่งช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียเนื่องจากการท้องเสียหรือท้องร่วง และ ลดอาการเมาหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้น้ำมะพร้าวอ่อนยังเป็น “สปอร์ต ดริ๊งค์” ที่สามารถดื่มหลังการสูญเสีย เหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย และยังมีเอสโตรเจนซึ่งสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่นและชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยด้วย

“มีรายงานการวิจัยพบว่าน้ำมะพร้าวมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง ฉะนั้นการ ดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำยังสามารถช่วยสมานแผล และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็น เพราะสารอาหารในน้ำมะพร้าวสามารถ กระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดี มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ผิวพรรณผ่องใสตามตำราแพทย์แผนไทย มีการใช้น้ำมะพร้าวอ่อนเป็นยา มีสรรพคุณช่วยลดอาการไข้ ปวดหัวตัวร้อน ให้บรรเทาลงได้เป็นอย่างดี และใช้เป็นยาบำรุงกำลังให้คนไข้มีเรี่ยวแรงหายอ่อนเพลียได้ดีอีกด้วย” ผศ.ดร.วราภรณ์ กล่าว

นับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อ ยอดเพื่อการค้าได้ในอนาคต.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หวั่นปัญหาเพลี้ยบานปลาย

ชาวนาฝืนทำนาปรังรอบสอง

ขณะนี้ยังมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้ปลูกข้าวนาปรังรอบสองไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯมีการประกาศห้าม ไม่ให้ปลูกข้าวในฤดูนาปรังในรอบสองเด็ดขาด เนื่องจากในปีนี้มีปัญหาแล้งจัด มีน้ำที่ค่อนข้างน้อยกว่าทุกปี ขณะเดียวกันยังมีปัญหาการแพร่ระบาดของ โรคเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งโรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก อันเกิดจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะที่ยังเป็นปัญหาในปัจจุบัน ที่ทางภาครัฐค่อนข้างหนักใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายนาข้าวว่า ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมการข้าวจะมีการรณรงค์และให้ความรู้ ทุกวิถีทางเพื่อให้เกษตรกรร่วมมือกัน ทำลายและตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการฉีดพ่นยา รวมไปถึงการไถกลบนาข้าวที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่มีการระบาดไปมากกว่า 6 แสนไร่ และรัฐบาลเองก็จ่ายค่าชดเชยให้ แต่ก็ได้รับความร่วมมือค่อนข้างน้อย โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพียง 6 หมื่นไร่เท่านั้น เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยอมเสี่ยงที่จะปลูกข้าวต่อไป เพราะหวังว่าจะได้รับผลผลิตบ้างถึงแม้จะน้อยกว่าปกติ

สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าค่อนข้างเป็นห่วงอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแก่เต็มวัย หากมีการปลูกข้าวนาปรังรอบสอง โดยไม่ยอมพักแปลงนาเพลี้ยก็จะกระโดดไปที่นาบริเวณใกล้เคียง ที่มีการปลูกใหม่ทันที ที่สำคัญหากเข้าสู่ฤดูนาปี หากยังไม่สามารถกำจัดปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดได้ อาจส่งผลให้เกิดมหันตภัยจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและอาจลุกลามไปทั่วประเทศได้ เพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะปลิวไปตามลมจากอีกจังหวัดหนึ่งไปยังหวัดหนึ่งและลุกลามไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งอาจส่งผลให้ผลผลิตข้าวในพื้นที่ที่มีการระบาดลดลงกว่าร้อยละ 30 ของผลผลิตที่เคยได้ ซึ่งหมายถึงต้นทุนการผลิตข้าวจะสูงขึ้นไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ หากมีการระบาดหนักตามที่มีการวิตกกังวลของหลายฝ่ายก็อาจเกิดปัญหาการขาดแคลนข้าวได้ในอนาคต

“ถึงแม้ว่ากรมการข้าวจะแนะนำทางด้านวิชาการและมีการรณรงค์ขนาดไหน หากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ให้ความร่วมมือในการหยุดการแพร่ระบาดร่วมกัน ด้วยการหยุดปลูกข้าวและพักแปลงนาสักหนึ่งเดือน เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาด และค่อยปลูกต่อในช่วงนาปี ซึ่งใกล้จะถึงแล้ว ก็เป็นการยากที่จะหยุดการแพร่ระบาดได้ ผมเองยอมรับว่าค่อนข้างเป็นห่วงเพราะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะแพร่กระจายไปกับลม ซึ่งหากเข้าสู่ฤดูฝนขณะที่ยังมีการปลูกข้าวนาปรังรอบสองไม่ยอมหยุดเมื่อมีการแพร่ระบาดอยู่ ลมอาจพาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากภาคกลางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนั้นจะลำบากกันทั้งประเทศ

จึงอยากขอร้องให้เกษตรกรหยุดปลูกข้าวและยอมพักแปลงนาเสียแต่ตอนนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยรวม และถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากให้หยุดปลูกสักระยะหนึ่ง เพราะเห็นชัดกันแล้ว ว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการเคลื่อนย้าย ตามลม จะเห็นชัดจากกรณีที่เดิมเคยพบแค่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และเมื่อมีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดมา จากเดิมที่ชัยนาทและสิงห์บุรีไม่เคยเกิด ณ วันนี้มีการเคลื่อนย้ายการแพร่ระบาดตามทิศทางลม กระทรวงเกษตรฯ จึงมีความกังวลมาก เพราะห้ามปลูกไม่ได้แต่ที่ทำได้ตอนนี้คือให้ความรู้ตามหลักวิชาการที่พอทำได้เท่านั้น” นายประเสริฐ กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปัญหาดินเสื่อมโทรมทวีรุนแรง เร่งงัดกฎหมายพัฒนาที่ดินสกัด

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า จากการติดตามตรวจสอบสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินในปัจจุบัน ยังพบปัญหาความเสื่อมโทรมของดินได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติลดลง ดินมีการปนเปื้อนสารเคมีและมีการขยายตัวของดินเค็ม ทั้งยังมีการนำพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเหมาะสมในการทำเกษตรกรรมไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้มีการนำพื้นที่ลาดชันและพื้นที่สูง มาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรโดยปราศจากระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรงจนถึงขั้นดินถล่มตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งนอกจากสร้างความเสื่อมโทรมของดินแล้ว ยังทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและประชาชน โดยเฉพาะเมื่อต้องประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯโดยกรมพัฒนาที่ดินได้เร่งสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องและเกษตรกร ในการนำพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดินพ.ศ. 2551 ตามที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบเพิ่มเติม มาเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไขความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศให้ใช้ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 25 มาตรา มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินและป้องกันการเกิดดินถล่ม รวมถึงการห้ามกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อดิน หรือทำให้สภาพดินเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/04/2010 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทางรอดชาวนา ลดต้นทุนผลิตข้าว

สศก.เผย เกษตรกรเห็นด้วยกับการรวมกลุ่มค้นหาปญหาและแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว และเป็นทางรอดของชาวนา

นายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่าโครงการส่งเสริมและขยายผลการลดต้นทุนการผลิตข้าว ได้มุ่งเน้นการปลุกจิตสำนึก สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงการทำนาที่ได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ด้วยวิธีการพึ่งตนเองให้มากที่สุด จากการที่เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ด้านการผลิตข้าวแบบลดต้นทุนผ่านแปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบหรือครูติดแผ่นดินข้าว และนำวิธีการมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแปลงนาของตนเอง

ทั้งนี้ ผลจากการสัมภาษณ์เกษตรกร 24 กลุ่ม 144 ราย ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการที่โครงการฯมีกระบวนการให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อค้นหาปัญหาและร่วมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ เป็นวิธีการที่ดีซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ดังนี้
1. ดินเสื่อมคุณภาพ โดยแก้ไขด้วยการไม่เผาตอซังและใช้การไถกลบแทน เพื่อเป็นการพักหน้าดินไปในตัว เนื่องจากต้องใช้เวลาในการย่อยสลายตอซัง อีกทั้งเป็นการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดได้ดี 2. เมล็ดพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราไม่เกิน 20-27 กก. ต่อไร่ จากเดิมที่เคยใช้ 22-30 กก. ต่อไร่ และมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ดีไว้ปลูกในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป 3. การใช้ปุ๋ย เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และ 4. การกำจัดศัตรูพืช มีการใช้สารชีวภัณฑ์แทนการใช้สารเคมี ได้แก่ สาร สะเดา เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า และบิวเวอร์เรีย ผลจากการที่เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตข้าวจากเดิมมาสู่การผลิตข้าวแบบลดต้นทุน ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 200-500 บาทต่อไร่.

ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2010 7:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลี้ยงสุนัข-แมวอย่างไรปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำหรือในภาษาอีสานเรียกว่า โรคหมาว้อ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัด หรือ ข่วน จาก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเรบีส์ (Rabies) ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาหายแต่สามารถป้องกันได้ ผู้ป่วยมักคงสภาพอยู่ได้นานไม่เกิน 1 สัปดาห์และเสียชีวิต เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อและ ระบบทางเดินหายใจ

กรมปศุสัตว์ออกมาตรการเข้มเพื่อป้องกันอันตรายที่ส่งผลต่อชีวิตของประชาชน โดยเบื้องต้นให้ความรู้ประชาชนที่เลี้ยงสุนัข-แมวให้เลี้ยงสัตว์ของตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากปัจจุบันยังคงพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย โดยในปี 2553 (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553-2 เมษายน 2553) พบผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 10 ราย

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เตือนประชาชนให้ระวังโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งประเทศไทยยังคงพบโรคนี้ โดยเฉพาะในปี 2553 มีผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 10 ราย โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น แมว แพะ ช้าง ม้า สุนัข รวมทั้งคน แต่พบมากที่สุดคือ สุนัข รองลงมาคือ แมว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุนัข และแมวจรจัดที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการติดโรคส่วนใหญ่เนื่องจากถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด ข่วน หรืออาจได้รับเชื้อทางน้ำลายเข้าทางบาดแผลหรือเยื่อเมือกได้

สำหรับสถิติเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าที่น่าสนใจ คือในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าปีละกว่า 55,000 รายทั่วโลก ซึ่ง 95% หรือประมาณ 52,250 ราย เกิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา และประมาณ 30-60% เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าปีละ 10-20 ราย จากเดิมที่เคยมีคนเสียชีวิตปีละกว่า 300 ราย ด้วยวัคซีนที่ถูกพัฒนาใช้ฉีดในคนมีคุณภาพดี ปลอดภัย ราคาไม่แพง และฉีดเพียง 5 เข็ม ทำให้คนเสียชีวิตลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนละความสนใจและไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อโรคนี้สักเท่าใด

ในปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียารักษาที่ได้ผล ผู้ที่เป็นโรคนี้มักเสียชีวิตทุกราย ดังนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเฉพาะผู้เลี้ยงที่คลุกคลีกับสุนัข-แมว ซึ่งการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทำได้ 2 ทาง คือ การป้องกันที่สัตว์เลี้ยง และป้องกันที่ตัวเรา

การป้องกันที่สัตว์เลี้ยงวิธีที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในลูกสัตว์เริ่มฉีดเมื่อสัตว์เลี้ยงอายุ 3 เดือน จากนั้นให้ฉีดกระตุ้นตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ การปล่อยสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเพ่นพ่านนอกบ้าน อาจจะทำให้ ได้รับเชื้อจากสุนัข-แมวจรจัดได้ ดังนั้น ผู้ ที่คิดจะเลี้ยงสุนัข-แมว จะต้องคิดอยู่เสมอ ว่าจะต้องรับผิดชอบสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ตลอดชีวิต ไม่ทิ้งสัตว์ เมื่อมันมีขนาดที่ใหญ่โต ขึ้น เจ็บป่วย หรือเริ่มไม่น่ารัก ผู้เลี้ยงควรดูแลด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อไม่เป็นภาระแก่สังคม และลดปัญหาการเกิดสุนัข-แมวจรจัด

การป้องกันตัวที่เรา วิธีการที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเมื่อพบสุนัข-แมวที่ไม่ทราบประวัติว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนหรือไม่ แต่หากถูกสุนัข-แมวดังกล่าวกัดหรือสัมผัสน้ำลายทางบาดแผล ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลาย ๆ ครั้งทันที ถ้ามีเลือดออกควรให้ไหลออกมาเพราะเลือดจะพาเอาเชื้อออกมาด้วย ใส่ยาทาแผลเช่น เบตาดีน ทิงเจอร์ แล้วรีบไปพบแพทย์ พร้อมข้อมูลตัวสัตว์เพื่อเข้ารับการรักษา นอกจากนี้ควรกักสัตว์ไว้ดูอาการอย่างน้อย 15 วัน ถ้าสัตว์แสดงอาการผิดปกติจากเดิม เช่น ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที โดย นำสุนัข-แมวดังกล่าวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ต่อไป

ในปี 2553 กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการควบคุมและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าพร้อมกันทั่วประเทศทั้ง 76 จังหวัด ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปี โดยเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมควบคุมโรค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำหมันให้สัตว์เลี้ยงฟรี และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ยังดำเนินการจัดกิจกรรมวันป้องกันโรคพิษสุนัขโลก ในวันที่ 28 กันยายนของทุกปี และเป้าหมายต่อไป คือ กำหนดยุทธศาสตร์ว่าจะทำอย่างไร เพื่อดำเนินการให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี ค.ศ. 2020 หรือในปี พ.ศ. 2563 ตามที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) กำหนด

อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ต้นเหตุ คือ การเลี้ยงสัตว์ด้วยความเอาใจใส่ ไม่ทิ้งสัตว์ให้เป็นสัตว์จรจัด และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันโรคได้.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2010 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ' ..... แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร

"ชั่งหัวมัน” โครงการตามพระราชดำริ ชื่อโครงการถือว่าแปลก ชวนให้คิดและตีความไปต่าง ๆ นานา ถ้าตีความหมายตามสำนวนไทย ช่างหัวมัน ก็หมายถึง “ไม่ต้องไปสนใจ อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้มันเกิด ใครจะทำอะไรก็ทำไป ไม่ต้องไปใส่ใจ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์มีสายพระเนตรยาวไกลและความคิดที่ลึกซึ้ง ชั่งหัวมันจึงไม่ใช่แค่เอาหัวมันมาชั่ง หรือใครจะทำอะไร ไม่ต้องสนใจกัน หากแต่ว่ามีความ หมายลึกซึ้งซ่อนอยู่

นางปาริชาติ ศรีวิพัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นให้เป็นโครงการที่ประชาชนและทุกฝ่ายมาร่วมมือร่วมใจกันทำงาน เกิดการรวมกลุ่ม เมื่อเกิดการร่วมแรงร่วมใจแล้ว งานก็จะเกิดความเจริญก้าวหน้า

สำหรับโครงการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริและทรงดำเนินการในที่ดินส่วนพระองค์ บริเวณ หมู่ที่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ทรงงานทั้งสิ้น 250 ไร่ เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปี 2552 เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลง หรือมาช่วยงานพระองค์โดยการ จ้างงาน โดยสำนักงาน เกษตรจังหวัดเพชรบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร รับสนองพระราชดำริดำเนินกิจกรรม ของโครงการ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ รวมทั้งบูรณาการโครงการด้านการเกษตรต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ พื้นที่ใน “โครงการชั่งหัวมัน ตาม พระราชดำริ” มีการปลูกพืชผักต่าง ๆ ไว้มากกว่า 40 ชนิด เช่น มันเทศ อาทิ มันเทศญี่ปุ่น, มันเทศออสเตรเลีย, มันต่อเผือกจากคลองวาฬ, มันปีนัง ฯลฯ พืช ผัก อาทิ กะเพรา, โหระพา, พริกพันธ์ุ ซูเปอร์ฮอต, มะเขือเทศราชินี, มะเขือยาว, มะเขือเปราะ, หน่อไม้ฝรั่ง, กระ เจี๊ยบเขียว, วอเตอร์เครส, ผักหวาน บ้าน, ฟักเขียว ฯลฯ ไม้ผล อาทิ แก้วมังกร, กล้วยน้ำว้า, มะละกอพันธ์ุ แขกดำ, มะละกอพันธุ์ปักไม้ลาย, มะพร้าวน้ำหอม, มะพร้าวห้าว, มะนาว, ชมพู่เพชรสายรุ้ง ฯลฯ พืชไร่ อาทิ ข้าวไร่พันธุ์ต่าง ๆ, สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย, สับปะรดพันธุ์นางแล, สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี, ยางพารา ฯลฯ

ขณะนี้โครงการดำเนินการมาแล้ว 7 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 พืชผลที่ออกมาในช่วงนี้จะเป็นมะนาว มีทั้งหมด 1,386 ต้น ออกวันละประมาณ 8,000 ผล หน่อไม้ฝรั่ง มีอยู่ประมาณ 8,000 ต้น เก็บได้ประมาณกว่า 70 กิโลกรัมต่อวัน นอกจากนั้นยังมีข้าวที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวซิวแม่จัน ข้าวเจ้าลีซอ ผลผลิตอยู่ที่ 208 กิโลกรัมต่อไร่ รวมผลไม้และพืชผักต่าง ๆ ที่อยู่ออกผลผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตที่ได้นำไปจำหน่ายที่ ร้านโกลเด้นเพลส ตลาดกลางการเกษตรท่ายาง และนำเข้าห้องเครื่องวังสวนจิตรลดาและวังไกลกังวล บางส่วนมีจำหน่ายในโครงการสำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชม

พืชผักและผลไม้ที่ปลูกในโครงการจะมีลักษณะพิเศษคือการปลูกในดินที่เหมาะสม ระบบพืชปลอดภัย พืชทุกชนิด ได้รับการรับรองคุณภาพ (Q) จากกรม วิชาการเกษตร

ส่วนมันเทศญี่ปุ่นตอนนี้ก็ประสบปัญหาภัยแล้งน้ำน้อย หัวมันจะไม่สมบูรณ์ เราจึงนำยอดมันเทศญี่ปุ่นไปเก็บในแปลงพันธุ์เพื่อนำออกมาขยายพันธุ์ต่อในโอกาสต่อไป

ช่วงนี้เกิดภาวะภัยแล้งน้ำน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ ดำเนินการวางแผนนำน้ำเข้ามาในแปลง ทาง ท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยผาก เข้ามา ในโครงการ ระยะทางประมาณ 6 กิโล เมตร เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในระยะยาว นอกจากนั้นยังพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวมีลมแรง ก็มีการจัดตั้งกังหันลม 20 ตัว นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าปล่อยให้การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตอีกด้วย.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 14/04/2010 7:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พานิชฯ เผย 3 เดือนขายข้าว 2 ล้านตัน

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งถึงสถิติการส่งออกข้าวในช่วง 3 เดือนแรกของปี"53 (ม.ค.-มี.ค.)ว่า ส่งออกได้ราว 2 ล้านตัน แต่มูลค่ามีแค่ 2 เดือนคือ ม.ค.-ก.พ. ที่ส่งออก 1.313 ล้านตัน ที่ 846 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 27,797 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 617 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี"52 ซึ่งมีประมาณ 1.313 ล้านตัน มูลค่า 712 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 24,562 ล้านบาท ราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 542 เหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ในเดือนมี.ค.ผู้ซื้อจากมาเลเซียและฟิลิปปินส์หันไปสั่งซื้อข้าวจากเวียดนามที่เสนอราคาขายต่ำกว่าข้าวของไทยตันละ 105 เหรียญสหรัฐ แต่ยังมีข่าวดีตลาดแอฟริกาที่มาสั่งซื้อข้าวขาวหรือข้าวนึ่งเกรดดีจากไทยเพื่อสำรองข้าวในสต๊อก และต้องส่งมอบตามสัญญาเก่าโดยเฉพาะอิรักส่วนเป้าหมายในปี"53 คาดว่าจะส่งออกได้ 9-9.5 ล้านตัน มูลค่า 4,950-5,225 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 7 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©