-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 4:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'บ้านโคกอิฐ-โคกใน' แก้ดินเปรี้ยว ....... กร่อยปลูกข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

บ้านโคกอิฐ-โคกใน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโคกไผ่ หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 6,915 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และมีที่ดอนเป็นที่ตั้งชุมชน ลักษณะดินมี 2 ประเภท คือ ดินบนพื้นที่ดอน เป็นทรายจัด มีชั้นดานอินทรีย์แทรกอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 70-100 เซนติเมตร ส่วนบริเวณ ที่ลุ่มเป็นดินเปรี้ยวจัด มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ประชากรในหมู่บ้านมี 14 ครัวเรือน มีที่ดินถือครองครอบครัว ละ 7-9 ไร่ หรือเฉลี่ย 7.4 ไร่ พื้นที่ทำนาก่อนปี 2533 ถูกทิ้งร้างว่างเปล่าเนื่องจากมีปัญหาดินเปรี้ยว น้ำท่วมและขาดน้ำในช่วงแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ประสบกับปัญหาดินเปรี้ยว ข้าวให้ผลผลิตเพียง 15-20 ถัง/ไร่

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯทอดพระเนตรติดตามผลการดำเนินงานและได้มีพระราชดำริชื่นชมการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ต่อมา สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านโคกอิฐ-โคกใน แล้วสานพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้เกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน ปลาบปลื้มและมีกำลังใจที่จะพลิกฟื้นผืนดินให้ใช้ประโยชน์ต่อไป

นายปรีชา โพธิ์ปาน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เล่าว่าในปี 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ให้สามารถปลูกข้าวได้ดังเดิมโดยนำผลสำเร็จจากโครงการแกล้งดินไปถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บ้านโคกอิฐ-โคกในเป็นแห่งแรกของการปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยว จำนวน 500 ไร่

ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้พัฒนาปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวโดยเฉพาะการฟื้นฟูพื้นที่นาร้าง บ้านโคกอิฐ-โคกใน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ได้ปลูกข้าว จำนวน 461.72 ไร่ ขุดยกร่องทำการเกษตรผสมผสาน จำนวน 179.46 ไร่ ขุดยกร่องเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน 194.07 ไร่ รวมพื้นที่ที่เกษตรกรใช้ประโยชน์ ทั้งหมด 835.25 ไร่ และในแต่ละปี งานพัฒนาที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น คณะครู-นักเรียนในบริเวณใกล้เคียง มาร่วมกิจกรรมกันอย่างมากมาย สร้างความคึกคักและขวัญกำลังใจที่จะพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวแห่งนี้ ให้เขียวขจีไปจนเหลืองอร่าม เป็นแหล่งอู่ข้าวให้แก่ราษฎรได้มีกินมีใช้อย่างพอเพียง

และล่าสุด เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯไปทรงติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่ปลูกข้าวบ้านโคกอิฐ-โคกใน ทรงหว่านปุ๋ยลงในแปลงนาข้าว และทอดพระเนตรขั้นตอนการผลิตข้าวซ้อมมือของสมาชิกกลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือบ้านโคกอิฐ-โคกใน ในโอกาสนี้ได้พระราชทานพระราชดำริกับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตรของบ้านโคกอิฐ-โคกใน และพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากในฤดูฝนน้ำในพื้นที่ป่าพรุ ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตร โดยให้แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน ด้านการพร่องน้ำในป่าพรุออกจากพื้นที่พรุก่อนฤดูฝนนั้นให้มีการทำคันดินกั้นนารอบพื้นที่พรุ พร้อมให้สร้างช่องทางระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุได้เร็วและสะดวก

จากพระราชดำริดังกล่าวทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำมาดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน ด้วยสภาพภูมิอากาศ ณ ปัจจุบันกำลังเอื้ออำนวยเพราะกำลังก้าวสู่ฤดูแล้ง และเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝนต่อไปซึ่งเป็นช่วงที่ราษฎรในพื้นที่ทำนาปลูกข้าว ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำจากพื้นที่ป่าพรุที่เป็นน้ำไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกทะลักเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกอีกต่อไปนำมาซึ่งความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของราษฎรบ้านโคกอิฐ-โคกใน อย่างหาที่สุดมิได้ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์อย่างต่อเนื่อง.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 4:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ฟ้าห่วน' หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นชุมชนเกษตรที่ประกอบอาชีพหลักคือการทำนาตามฤดูกาล เลี้ยงสัตว์ และทำประมง แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้าน โดยพบว่าประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงและมีภาระหนี้สินจำนวนมาก หลายคนต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานต่างจังหวัด ครอบครัวขาดความอบอุ่น สิ่งแวดล้อม ถูกทำลายจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย

จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่าชุมชนบ้านฟ้าห่วนมี 5 ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขประกอบไปด้วย 1) สมาชิกภายในหมู่บ้านขาดความเสียสละ เห็นแก่ตัว ต่างคนต่างอยู่ 2) สมาชิกในหมู่บ้านไม่สามารถพึ่งตนเองได้ 3) ครอบครัวแตกแยกสมาชิกในครอบครัวขาดความอบอุ่น 4) คนในชุมชนร่างกายไม่แข็งแรงเจ็บป่วยบ่อย และ 5) สมาชิกในชุมชนมีความเสี่ยงต่อยาเสพติด และอบายมุข ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และนำไปสู่การไม่มี “สุขภาวะ” ในชุมชน

โครงการ “หมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงบ้านฟ้าห่วน จังหวัดอำนาจเจริญ” จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขบนพื้นฐานการดำเนินชีวิตภายใต้แนวคิด “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

นางยุพิน พุฒผา หัวหน้าสถานีอนามัยฟ้าห่วนและที่ปรึกษาโครงการฯ เปิดเผยว่า เป้าหมายสูงสุดของโครงการฯ ก็คือการพัฒนาให้หมู่บ้านฟ้าห่วนเป็นหมู่บ้าน สุขภาวะที่มีความอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นฐาน ความพอเพียง พออยู่ พอกินตามศักยภาพของตนเองและชุมชน ลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกให้ได้มากที่สุด โดยมีจุดเด่น คือกิจกรรมที่กระจายลงไปสู่ทุกกลุ่มเป้าหมายถึง 13 กิจกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมและแก้ปัญหาทั้ง 5 ด้านที่เกิดขึ้นกับชุมชนให้มากที่สุด อาทิ การสร้างกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน, การปลูกพืชผักปลอดสารเคมี, การจัดตั้งกลุ่มเพาะเห็ด, ชมรมแพทย์แผนไทย, ประชาคมหมู่บ้านต้านยาเสพติด ฯลฯ

นางประยูร กาญจนาวนารี ประธานศูนย์ฝึกอบรมเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติบ้านฟ้าห่วน เล่าว่า ที่ผ่านมาชาวนาเป็นหนี้สินจากการทำการเกษตรเพราะต้องพึ่งพาปุ๋ย ยา และสารเคมีจำนวนมาก โดยมีค่าใช้จ่ายในการทำนาต่อไร่ไม่น้อยกว่า 3,700-4,000 บาท

“ต้นทุนขนาดนี้ไม่มีทางอยู่ได้ถ้าไม่หันมาพึ่งพาตนเองและหาทางลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ถ้าเราทำเอง ดูแลเอง ใช้ปุ๋ยที่หมักเอง จะมีต้นทุนต่อไร่ไม่เกิน 900 บาท ตอนนี้ก็เริ่มรณรงค์ให้หันกลับมาใช้ วิถีการทำนาแบบดั้งเดิม มีการช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าวเพื่อลดค่าใช้จ่าย” คุณป้าประยูรกล่าว

นางพุทศรี จุลจรูญ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวถึงผลดีที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในชุมชนบ้านฟ้าห่วน ว่า ทำให้ชาวบ้านมีทางเลือก ที่ดีขึ้นในการประกอบอาชีพจากการเข้ากลุ่มอาชีพหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง มีทางเลือกในการบริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ คนในชุมชนก็มีความรักสมัครสมานสามัคคีกันมากขึ้นผ่านการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน

“สิ่งที่สร้างกำลังใจให้กับทุกคนในชุมชนก็คือ การที่ส่วนงานราชการต่าง ๆ เข้ามาส่งเสริม ผลักดันและสนับสนุนในสิ่งที่ชุมชนยังขาดและไม่สามารถทำได้ ทำให้เกิดการพัฒนาและสมาชิกในชุมชนของ เราก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมไปถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอันดีงามอย่างการลงแขกเกี่ยวข้าวก็กลับคืนมา ทุกคน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข แล้วก็มีความฝันร่วมกันคือต้องการที่จะทำให้ชุมชนของเราเป็นหมู่บ้านที่มีความสุขบนพื้นฐานแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง” นางพุทศรี กล่าว

…เกษตรที่ใช้ปุ๋ยหมักในการทำเกษตรอินทรีย์จะช่วยทั้งเรื่องของสุขภาพของชาวบ้านที่ห่างไกลจากสารเคมี ผลผลิต ก็ปลอดสารพิษ คนก็ปลอดภัย หรือในเรื่องของความพอเพียงความประหยัด ก็จะมีการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อที่จะลด ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังตอบ โจทย์ในเรื่องของการสร้างสุขภาวะให้ กับชุมชน โดยถ้าเราสามารถดำรงชีวิต บนพื้นฐานของความพอเพียงก็จะทำให้สังคม ชุมชน หรือหมู่บ้านนั้น ๆ สามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาวะมากขึ้น.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 5:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หมู่บ้านต้นแบบ...พิชิตเพลี้ยแป้ง

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของ “เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง” ยังคงสร้างความวิตกให้กับชาวไร่มันสำปะหลังหลายพื้นที่ ถึงแม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเร่งควบคุมและป้องกันเพื่อจำกัดพื้นที่แพร่ระบาดไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่มี ทีท่าว่าจะยุติลงง่าย ๆ ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานว่า เพลี้ยแป้งได้แพร่ระบาดสร้างความเสียหายในแหล่งปลูกมันสำปะหลังแล้ว 32 จังหวัด รวมเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 8.5 แสนไร่ และมีแนวโน้มขยายตัวรุนแรงเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ก่อนที่อุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทยจะได้รับผลกระทบหนัก และยากเกินเยียวยา

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังแหล่งใหญ่ของไทย โดยมีพื้นปลูกกว่า 1.89 ล้านไร่ กระจายอยู่ใน 32 อำเภอ จากการสำรวจพบว่า มีการระบาดของเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลัง จำนวน 138,242 ไร่ แยกเป็นมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือน จำนวน 46,440 ไร่ มันสำปะหลังอายุ 5-8 เดือน 55,196 ไร่ และมันสำปะหลัง อายุมากกว่า 8 เดือน จำนวน 36,606 ไร่ คาดว่าจะทำให้ผลผลิตลดลงจาก 3.8 ตันต่อไร่ เหลือ 3.6 ตันต่อไร่ หรือเมื่อเทียบเป็นพื้นที่ผลผลิตจะลดลงเหลือเพียง 6.8 ล้านตัน

ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาเร่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายรณรงค์ จำนวน 500 จุด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 291 จุด

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่เร่งจัดทำโครงการ “หมู่บ้านมันสำปะหลังต้นแบบ” นำร่อง 32 หมู่บ้าน ใน 32 อำเภอ เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการบริหารจัดการควบคุม ป้องกัน และกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นกลไกหลักในการ ขับเคลื่อน

กรมส่งเสริมการเกษตรมีแผนสนับสนุนให้หมู่บ้านต้นแบบจัดตั้ง หน่วยเคลื่อนที่เร็วประจำหมู่บ้าน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลและเฝ้าระวังการระบาดของโรคแมลงที่จะเกิดกับพืชในชุมชน ทั้งยังให้ความรู้แก่สมาชิกในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง รวมถึงวิธีการใช้สารเคมีและชีวภัณฑ์ในการฉีดพ่นอย่างถูกวิธีด้วย ขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้ จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตมันสำปะหลังคุณภาพดี โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ลานมันโรงงานแป้งมันร่วมเป็นที่ปรึกษา ทั้งด้านรับรองผลผลิตให้แก่เกษตรกรตามระบบมาตรฐาน มีการพัฒนาแหล่งผลิตมันสำปะหลังที่มีคุณภาพทั้งหัวสดและต้นพันธุ์ ซึ่งจะเป็นแหล่งศึกษาดูงานของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในตำบลได้

สำหรับแนวทางควบคุมป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในหมู่บ้านต้นแบบ เน้นควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์โดยมีคณะกรรมการตั้งด่านกักกันท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ซึ่งก่อนเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งอื่นมาปลูกในพื้นที่ สมาชิกต้องแจ้งให้กลุ่มทราบ และต้องฉีดพ่นหรือแช่ท่อนพันธุ์ในสารเคมีก่อน เคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ในพื้นที่ก็ต้องแจ้งให้กลุ่มรับทราบเช่นกัน และต้องทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนนำไปปลูกด้วย เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งได้

…อนาคตคาดว่า หมู่บ้านต้นแบบจะมีกลุ่มผู้ผลิตต้นพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี สะอาด ปลอดโรคและแมลงเพื่อรองรับความต้องการของชาวไร่มันสำปะหลังในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง และยังคาดว่า จะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการบริหารจัดการแบบครบวงจรการผลิตและการตลาด เช่น การรับบริการฉีดพ่นสารเคมีและแช่ท่อนพันธุ์ การผลิตและจำหน่ายต้นพันธุ์คุณภาพดี การรับบริการปลูกและเก็บเกี่ยวแบบครบวงจร ตลอดจนการรับซื้อหัวมันสดเพื่อการแปรรูปเป็นอาหารสัตว์

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตร โทร./แฟกซ์ 0-2955-7634.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 5:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็นชอบเปิดตลาด 9 สินค้าเกษตร ตามเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างปท. เข้มบริหารนำเข้าป้องกันกระทบ

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ตามที่ประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีตามข้อผูกพันของความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ พันธกรณีตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-นิวซีแลนด์ โดยในส่วนของสินค้าการเกษตรต้องเปิดตลาดจำนวน 9 รายการในปี 2553-2554 ได้แก่ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ชา พริกไทย และลำไยแห้ง ขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรฯจะดำเนินการแจ้งมติการเปิดตลาดสินค้าเกษตรทั้ง 9 รายการดังกล่าวตามข้อผูกพันและการเปิดตลาดทั้งในและนอกโควตา และการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสินค้าเกษตรภายในประเทศต่อกรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์เพื่อดำเนินการต่อไป

สำหรับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรปี 2553-2554 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.การเปิดตลาดสินค้าตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และความตกลงไทย-ออสเตรเลีย ประกอบด้วย เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป พริกไทย ลำไยแห้ง และชา 2.การเปิดตลาดสินค้าตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO ความตกลงไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ประกอบด้วย กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดหอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้พิจารณาผลกระทบจากการเปิดตลาดสินค้าเมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป พริกไทย ลำไยแห้ง และชา ภายใต้ระบบโควตาภาษีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ผ่านมา พบว่า โดยส่วนใหญ่สินค้าเกษตรทั้ง 9 รายการค่อนข้างจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดตามความตกลงการค้า เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ และมีการกำหนดมาตรการบริหารนำเข้า โดยคำนึงถึงการป้องกันผลกระทบด้านราคาของสินค้าเกษตรของเกษตรกรภายในประเทศ แต่ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์การนำเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำชับและเน้นย้ำมาตรการควบคุมการลักลอบการนำเข้า เช่น สินค้าหอมหัวใหญ่ และกระเทียม จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน


ที่มา : แนวหน้า


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/04/2010 5:16 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 5:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกปอเทืองแก้ไส้เดือนฝอยระบาด ต้นตอโรครากปมสวนพริก"อุบลฯ"

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้ปลูกพริกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี และใกล้เคียง กำลังประสบปัญหาการระบาดของโรครากปมอย่างรุนแรง กรมวิชาการเกษตร จึงได้แนะนำให้เกษตรกรปลูกปอเทือง เพื่อป้องกันการระบาดของไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne spp. สาเหตุของโรครากปม

นายสมชายกล่าวอีกว่า การนำปอเทืองมาปลูกสลับกับการปลูกพริกถือเป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ที่กรมวิชาการเกษตรให้ความรู้กับเกษตรกรในการป้องกันการระบาดของโรครากปมในแปลงปลูกพริก จัดเป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย และรักษาสภาพแวดล้อม สามารถปลูกได้โดยวิธีการหว่านลงในแปลงให้ทั่ว อัตราเมล็ดปอเทือง 5 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบปอเทืองช่วงออกดอกหรือเมื่ออายุประมาณ 45-50 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7-10 วันก่อนปลูกพริก ปอเทืองจะช่วยลดประชากรของไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne spp.ในแปลงปลูกพริกได้มากกว่าร้อยละ 60-70 และสิ่งสำคัญยังช่วยควบคุมการระบาดของโรครากปมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม การควบคุมการระบาดของโรครากปมของพริก วิธีที่ดีที่สุด คือ การลดประชากรไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne spp.ในดินปลูกพืช โดยใช้วิธีเขตกรรม คือ 1.การนำโรคออกจากแปลง 2.การไม่นำเชื้อสาเหตุของโรคเข้าแปลงปลูก และ 3.การลดประชากรไส้เดือนฝอยในแปลงปลูก เกษตรกรต้องปลูกปอเทืองในช่วงที่หยุดพักแปลง เพื่อช่วยตัดวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยก่อนการปลูกพริกในฤดูเพาะปลูกต่อไป

ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 08/04/2010 9:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รัฐใจดี ตัดเงินต้น 50 % ครม.ไฟเขียวแก้หนี้สินเกษตร

ครม.เห็นชอบแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลเกษตรกรกับสถาบันการเงิน 510,000 ราย เกษตรกรที่ทำสัญญาจะได้รับการพักหนี้เงินต้น 50% ของวงเงินหนี้ทั้งหมด ส่วนดอกเบี้ยจะมีการยกเว้นให้ด้วย...

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรอย่างบูรณาการ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กับสถาบันการเงิน 510,000 ราย วงเงินหนี้สินรวม 80,400 ล้านบาท ซึ่งมีทรัพย์สินรวมอยู่ด้วย 5 ล้านไร่ แบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ 80,000 ราย, กลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯเป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ 350,000 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินเอกชน สหกรณ์และนิติบุคคล 80,000 ราย

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างเกษตรกรและสถาบันการเงินเจ้าหนี้ทำสัญญาหนี้ใหม่ โดยเกษตรกรที่ทำสัญญาจะได้รับการพักหนี้เงินต้น 50% ของวงเงินหนี้ทั้งหมด ส่วนดอกเบี้ยจะมีการยกเว้นให้ทั้งหมด "หากเกษตรกร ผ่อนชำระหนี้เงินต้นส่วนที่เหลืออีก 50% ได้ครบถ้วน หนี้เงินต้นที่พักไว้ 50% จะได้รับการยกเว้นด้วย"

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคเกษตร เนื่องจากการมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีพื้นที่ประสบภัยด้านพืช 15 จังหวัด เช่นเชียงราย น่าน แพร่ และตรัง เป็นต้น รวมพื้นที่ประสบภัยแล้ง 319,388 ไร่ โดยพบว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเสียหาย 87,168 ไร่ และอยู่ระหว่างเฝ้าระวังอีก 208,643 ไร่.


ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ชง ลด-พักหนี้ เข้า ครม.วันนี้

รองนายกฯ ​สนั่น เสนอ ครม. ขออนุมัติแก้ปัญหาหนี้ และ ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร กว่า 5 แสนราย จัดสรรงบรายจ่ายงบกลางปี 2553จำนวน 1,140 ล้านบาท...

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ (7 เม.ย.) พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจของนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างบูรณาการจะเสนอให้พิจารณาโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร โดยขออนุมัติการแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร 510,000 ราย ด้วยการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง 2553 จำนวน 1,140 ล้านบาท ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาหนี้และเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพหลัก ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต และ จัดสรรงบปี 54 และปีงบ 55 ให้สำนักงานกองทุนฯ 2,200 ล้านบาท และ 2,530 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ

สำหรับหลักเกณฑ์และแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร ให้เกษตรกรกลุ่มที่ 1 ที่เป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ มีประมาณ 80,000 ราย ณ 31 ธ.ค. การพิจารณาแก้ไขให้คำนึงถึงสถานะหนี้ และอายุความของการดำเนินคดี ซึ่งจะพักชำระต้นเงินครึ่งหนึ่ง และดอกเบี้ยทั้งหมด และให้เกษตรกรผ่อนชำระหนี้ต้นเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งตามงวด และระยะเวลาที่ตกลงกันแต่ไม่เกิน 15 ปี ต้นเงินและดอกเบี้ยที่พักไว้จะได้รับการลดให้ทั้งหมด เมื่อชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายแล้วส่วนกลุ่มที่ 2 อาจจะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ 350,000 ราย จะดำเนินการโดยคำนึงถึงสถานะหนี้และอายุความของการดำเนินคดี เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไป.

ที่มา : ไทยรัฐ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

48 ปี นักรบสีน้ำเงิน กับภารกิจผสมพันธุ์โคพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้

จากนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาหรือที่เรียกขานกันเป็นการ ทั่วไปว่า นักรบสีน้ำเงิน จัดตั้งศูนย์ส่งเสริม ปศุสัตว์ภาคใต้ (ศสป.ต.นทพ.) ขึ้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้าน ปศุสัตว์แก่พี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยเน้นการเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนจากการเลี้ยงโคลูกผสมที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งโคพันธุ์แท้คุณภาพ สูงของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้ เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมและ ยั่งยืนตลอดไป ตามหลักการ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้

พลเอกเสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่าน มาเป็นแนวทางให้หน่วยขึ้นตรงหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

ทั้งนี้ ศสป.ต.นทพ. ซึ่งมี พลตรี ธนสร ป้องอาณา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 เป็นผู้อำนวยการ มีหน่วยส่งเสริมปศุสัตว์จังหวัด ประกอบด้วย หน่วยส่งเสริมปศุสัตว์ปัตตานี หน่วยส่งเสริม ปศุสัตว์จังหวัดยะลา หน่วยส่งเสริมปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส และหน่วยส่งเสริมปศุสัตว์จังหวัดสงขลา และมีสถานีผสมเทียมรวมจำนวน 35 สถานี ทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา โดยมีจุดบริการผสมเทียม และพื้นที่ให้บริการที่จังหวัดปัตตานีจำนวน 13 จุด จังหวัดยะลาจำนวน 3 จุด จังหวัดนราธิวาส จำนวน 15 จุด จังหวัดสงขลา จำนวน 4 จุด

ที่ผ่านมาได้ดำเนินการผสมเทียมให้กับแม่โคพื้นเมืองในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10,000 ครั้งต่อปี เพื่อให้เกิด ลูกโคพันธุ์ผสมในปี 2554 รวมกันไม่น้อยกว่า 6,000 ตัว โดยใช้น้ำเชื้อของโคพ่อพันธุ์ชาโรเล่ส์, พันธุ์บราห์มัน, พันธุ์กำแพงแสน, พันธุ์ตาก ซึ่งจะใช้น้ำเชื้อของโคพ่อพันธุ์ชนิดใดขึ้นกับลักษณะของแม่โคพื้นเมืองที่จะผสม โดยอาสาสมัครผสมเทียมเป็นผู้พิจารณา แต่ถ้าเป็นแม่โคสาวจะใช้น้ำเชื้อของโคพ่อพันธุ์ลิมูซีน

และได้มีการฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคทั้งหมด 24 รุ่น รวมจำนวน 5,000 คน ซึ่งการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมจะเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเมื่อรวมกับอาชีพอื่นแล้วให้มีรายได้เฉลี่ย ปีละ 120,000 บาท ต่อครอบครัว ภายในปี พ.ศ.2555

นอกเหนือจากภารกิจด้านการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งโคพันธุ์แท้คุณภาพสูงแล้ว หน่วยบัญชาการทหารพัฒนายัง ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงที่ป่วยเป็นโรค อาทิ โรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งเกิดจากความชื้น และโรคพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งในการดำเนินการเรื่องนี้ พลตรีธนสร ป้องอาณา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมปศุสัตว์ภาคใต้ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้มอบหมายให้ พันเอก ภาวัต ยิ้มสู้ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมปศุสัตว์ภาคใต้ฯ และ พันเอกพรเทพ ช่างกลึงเหมาะ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริม ปศุสัตว์ภาค ใต้ฯได้เข้าไปยังพื้นที่เพื่อดูแลให้การรักษาสัตว์ที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย โดยเฉพาะวัวที่ติดเชื้อจนมีอาการป่วย โดยสัตวแพทย์จะทายาบริเวณที่ปากและเท้าของวัวที่เปื่อย ตลอดจนการฉีดยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแผลอักเสบที่อาจลุกลามได้

ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่จากศูนย์ส่งเสริมปศุสัตว์ภาคใต้ฯ จะให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงที่ป่วยเป็นโรค รวมทั้งการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ใน ที่ทำกิน อาทิ การทำปุ๋ยชีวภาพมาปรับ ใช้หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ในชุมชนและก่อให้เกิดความรู้พื้นฐานทางด้านเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เพื่อนำไปสู่การรวมกลุ่มของชาวบ้านให้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

และในวันที่ 10 เมษายน 2553 นี้ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จะครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยเป็นปี ที่ 48.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไทย-ญี่ปุ่น จับมือเดินหน้าพัฒนา

ไทย-ญี่ปุ่น ครั้งนี้ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตามโครงการพัฒนาผู้นำกลุ่มอาชีพของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2550-2552 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาผู้นำกลุ่มอาชีพในสหกรณ์การเกษตรของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการ การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเงิน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดตั้งศูนย์การผลิต และเนื่องจากมีผลการประเมินโครงการโดยฝ่ายญี่ปุ่นเป็นที่น่าพอใจ และมีแนวโน้มที่จะขยายโครงการต่ออีก 1 ปี ตามข้อเสนอของกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายไทยมีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และงบประมาณ สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาบุคลากรสหกรณ์ ซึ่งจะจัดตั้งใหม่ในเร็ว ๆ นี้

ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรของไทยและญี่ปุ่น ตามที่ได้มีสหกรณ์ของไทยจำนวนหนึ่งได้เชื่อมโยงทำธุรกิจการค้ากับสหกรณ์ของญี่ปุ่นก่อนแล้ว เช่น สหกรณ์การเกษตรท่ายาง จำกัด ทำการค้าขายกล้วยหอมทองปลอดสารพิษกับสหกรณ์ผู้บริโภค โตโตะ รวมทั้งได้มีการหารือเบื้องต้นระหว่างสหกรณ์การเกษตรฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะของญี่ปุ่น กับสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด จ.นครราชสีมา ของไทย เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมาแต่ยังไม่มีข้อสรุป ฝ่าย ไทยเห็นสมควรผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์การเกษตรฮานามากิ กับสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด โดยเร็ว โดยควรเป็นการร่วมมืออย่างรอบด้าน

ความร่วมมือด้านการร่วมลงทุนจากการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์มีนโยบายพัฒนาพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรส่งออกมาตรฐาน เพื่อป้อนตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น โดยประสงค์จะร่วมมือกับสหกรณ์และ องค์กรในต่างประเทศ ซึ่งสหกรณ์ไทยพร้อมที่จะผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ ทั้งนี้ ฝ่ายไทยประสงค์จะขอความร่วมมือให้เรื่อง การนำเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น มาให้ความรู้ โดยขณะนี้ได้เริ่มต้นในกรณี การผลิตกล้วยปลอดสารพิษระหว่างสหกรณ์ผู้บริโภคโตโตะ ของญี่ปุ่นกับสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี

สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 1.48 ล้านล้านบาท โดยความร่วมมือด้านการเกษตรเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยสินค้าเกษตรไทยที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่นประกอบด้วย ส้มโอ มะม่วง และ มังคุด กล้วยหอมทอง

ซึ่งความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ของทั้ง 2 ประเทศ นับได้ว่าก่อให้เกิดการค้าขายระหว่างกันอย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้นทีเดียว อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงในการผลิตภาคการเกษตรของไทยที่ผลประโยชน์พึงได้ตกสู่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์อย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วยไม่มีการผ่านพ่อค้าคนกลางนั่นเอง.

kasettuathai@dailynews.co.th

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกษตรรื้อใหม่ระบบปลูกข้าว ชง 4 วิธี
นำร่อง 22 จังหวัด รองรับบริหารจัดการน้ำ


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดจัดทำโครงการจัดระบบการปลูกข้าวเพื่อให้มีการปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยงดเว้นการปลูกข้าวแบบต่อเนื่องทั้งปี เพื่อให้มีการใช้น้ำไม่เกินปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ขณะเดียวกันยังเป็นการตัดวงจรการระบาดศัตรูข้าวและรักษาระบบนิเวศน์ในนาข้าวให้มีความสมดุล โดยมีเป้าหมายดำเนินการในระยะแรกในพื้นที่ 22 จังหวัด อาทิ กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง โดยมีเกณฑ์ที่ใช้เป็นกรอบในการคัดเลือก คือ มีพื้นที่ตั้งแต่ 1 แสนไร่ขึ้นไป หรือเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดหรือใกล้เคียงกับการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งเป็นพื้นที่ในเขตชลประทาน

ทั้งนี้ ระบบการปลูกข้าวตามช่วงเวลาใหม่ แบ่งเป็น 4 ระบบ คือ 1.ข้าวรอบที่ 1-ข้าวรอบที่ 2-พืชหลังนา 2.ข้าวรอบที่ 1-ข้าวรอบที่ 2-เว้นปลูก 3.ข้าวรอบที่ 1-พืช หลังนา-ข้าวรอบที่ 2 และ 4.ข้าวรอบที่ 1-เว้นปลูก-ข้าวรอบที่ 2

ส่วนมาตรการในการบริหารการดำเนินงาน จะมีทั้งมาตรการบังคับ เช่น การบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดให้มีการจัดสรรน้ำในการปลูกข้าวตามช่วงเวลาปลูกข้าวตามแผนของระบบการปลูกข้าว และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกรณีประสบภัยพิบัติ เป็นต้น ส่วนมาตรการจูงใจนั้นรัฐจะให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชหลังนา เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการจัดหาตลาดรองรับผลผลิตพืชหลังนาที่ได้จากการจัดระบบการปลูกข้าว

"จากมาตรการปรับระบบการปลูกข้าว จะส่งผลทำให้เกษตรกรและประเทศสามารถลดความเสี่ยงต่อสภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งปีถัดไป และลดปริมาณการใช้น้ำในการปลูกข้าวได้ฤดูละประมาณ 1,200 - 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ขณะเดียวกันยังทำให้เกษตรกรมีเวลาพักดิน เป็นการตัดวงจรโรคและแมลง" นายธีระกล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการดำเนินการ จะต้องนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตพิจารณาให้ความชอบ รวมทั้งจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ที่มา : แนวหน้า


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2010 7:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เตรียมพร้อม"แรกนาขวัญ" ใช้พระโคฟ้า-พระโคใส
แจกพันธุ์ข้าวพระราชทาน 1.7 พัน ก.ก.


นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2553 ปฏิทินหลวงกำหนดให้วันพุธที่ 12 พฤษภาคม เป็นวันสวดมนต์เริ่มพระราชพิธีพืชมงคลและประกอบพระราชพิธีทางศาสนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนในวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ บริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่พระยาแรกนาในปีนี้ คือ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำหรับเทพีคู่หาบทองเลื่อนขึ้นมาจากเทพีคู่หาบเงินเมื่อปีที่แล้วได้แก่ น.ส.ณุทนาถ โครตพรหม นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ และ น.ส.สุนีลา รู้สุกิจกุล นักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฎิบัติการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรกรรม ส่วนเทพีคู่หาบเงิน คือ น.ส.เดือนเพ็ญ ใจคง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน กรมวิชาการเกษตร และ น.ส.สรชนก วงศ์พรม นายช่างโยธาชำนาญงาน กรมประมง และ พระโคแรกนาประจำปีนี้ 1 คู่ได้แก่ พระโคฟ้าและพระโคใสซึ่งทำหน้าที่เป็นพระโคแรกนาขวัญเป็นปีที่ 2 ส่วนพระโคคู่สำรองได้แก่ พระโคเทิดและพระโคทูน

สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก ที่นำเข้าในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี 2553 ประกอบด้วย ข้าวนาสวน 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สุพรรณบุรี 1 ,พันธุ์ปทุมธานี 80 (กข 31) ,พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 , พันธุ์ปทุมธานี 1,พันธุ์เจ้าพัทลุง ,พันธุ์ชัยนาท 80 (กข 29) และพันธุ์กข 6 ข้าวไร่ 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ซิวแม่จัน และพันธุ์ดอกพะยอม รวมน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกทั้งสิ้น 1,791 กิโลกรัม ส่วนหนึ่งใช้หว่านในระหว่างพิธี และจัดเป็น"พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน"บรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่างๆสำหรับใช้แจกจ่ายแก่เกษตรกรรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพตามพระราชประสงค์ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปปลูกไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลปี 2553 เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป

ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

18 ยุวเกษตรฝึกงานญี่ปุ่น

นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดว่า โครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ The Japan Agricultural Exchange Council (JAEC) ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เพื่อให้ผู้นำเยาวชนเกษตรไทยมีโอกาสฝึกปฏิบัติงานจริงในฟาร์มเกษตรญี่ปุ่นที่มีความทันสมัย มีการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ให้ยุวเกษตรกรรุ่นใหม่กลุ่มดังกล่าวนำประสบการณ์ต่างๆ และความรู้ความชำนาญที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาการประกอบอาชีพด้านการเกษตรในประเทศไทย

สำหรับโครงการในปี 2553 นี้ เป็นรุ่นที่ 28 มีเยาวชนเกษตรไทยที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 18 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการ ทั้งสิ้น 449 คน ซึ่งล้วนกลับมาสร้างเครือข่ายระหว่างกัน อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญในแวดวงเกษตรกรรม อาทิ ผู้นำชุมชนเกษตรกรในท้องที่ นักวิจัยด้านการเกษตร ปราชญ์เกษตร ฯลฯ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยจะปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้มีการแก้ไขกฎหมายควบคุมการเข้าเมือง ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในเดือนกรกฎาคม 2553 ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการฝึกงาน 3 ปีได้ จึงต้องขอปรับแนวทางโครงการฝึกงานผู้นำเยาวชนเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2553 ให้เหลือระยะเวลา 11 เดือนเช่นเดิม โดยมอบหมายให้สำนักการเกษตรต่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง

ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวเขมร

พูดถึงข้าวไทยบ่อยแล้ว พูดถึงข้าวเพื่อนบ้านบ้าง ล่าสุดนายกฯฮุนเซ็นแห่งเขมร ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เขมรผลิตข้าวได้ 7.5 ล้านตัน บริโภคภายในเสีย 4 ล้านตัน เหลือส่งออก 3.5 ล้านตัน

ฟังแล้วดีใจแทนชาวเขมร ประเทศเล็กๆที่ผลิตและส่งออกข้าวได้เป็นล่ำเป็นสัน ว่าไปแล้ว 3.5 ล้านตัน เท่ากับ 46.66% ของผลผลิตรวม 7.5 ล้านตัน น้อย....ซะที่ไหน

เขมรส่งข้าวขายเวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์

ดังนั้นข้าวไทยที่ส่งออก 8 ล้านกว่าตัน ในปีที่ผ่านมา จึงไม่ใช่ข้าวไทยทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพียงแต่กระบวนการขายนั้นขายอย่างไรต่างหาก ขายอย่างถูกต้องคงมี และส่วนหนึ่งก็เป็นการขายเถื่อนๆ ผ่านชายแดน เข้าใจว่า กรณีเวียดนามก็คงละม้ายกันเพราะชายแดนติดกัน

ถ้าสังเกตระยะหลังประเทศอาเซียนตื่นตัวเรื่องการผลิตข้าวเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะหลังจากวิกฤตการณ์พลังงานที่กลายเป็นวิกฤตการณ์อาหาร ทำให้ราคาอาหารแพงลิ่ว อย่างข้าวเดิมตันละ 500 เหรียญสหรัฐ ก็เป็นตันละ 1,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไป

แน่นอนโดยภูมิประเทศและภูมิอากาศ ประเทศเหล่านี้ปลูกข้าวมายาวนาน อย่างพม่าแต่ก่อนเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกมาก่อน แต่การเมืองภายในประเทศที่วุ่นวายคล้ายประเทศสารขัณฑ์ ณ เวลานี้ ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมทุกด้าน จนกระทั่งพม่าเสียแชมป์ให้แก่ประเทศไทยจนถึงวันนี้

ฉะนั้น ตามหลักตรรกะ ตอนนี้สารขัณฑ์กำลังวุ่นวาย อีกหน่อยตำแหน่งแชมป์คงต้องยกให้เวียดนาม หรือไม่เขมรไปโน่น (อายนายกฯฮุนเซ็นมั่งเน้อ)

มีบางปัจจัยที่ทำให้ต้องครุ่นคิด นั่นคือ การที่เศรษฐีตะวันออกกลาง สนใจจับจ้องขอเช่า ขอซื้อ ขอสัมปทาน พื้นที่การเกษตรในภูมิภาคอาเซียน เพื่อปลูกข้าว หรือพืชอาหาร มาตั้งแต่สองสามปีก่อน ความเป็นเศรษฐีเงินถัง ทำให้ประเทศเหล่านี้สนใจอยู่เหมือนกัน และสุดท้ายยอมตกร่องปล่องชิ้นให้เศรษฐีน้ำมันเข้ามาปลูกข้าว และพืชอาหารได้แล้ว

สิ่งที่ตามเศรษฐีน้ำมันเข้ามาคือ ระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว พืชอย่างอื่นอาจต้องการน้ำน้อย แต่สำหรับข้าวแล้ว น้ำเยอะๆ ไร่หนึ่ง 1,000-2,000 ลูกบาศก์เมตร ปลูกข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารจึงว่ากันที่เป็นแสนไร่ขึ้นไปทั้งนั้น จะเอาน้ำที่ไหน ก็ต้องลงทุนสร้างระบบชลประทาน

ตรงนี้แหละครับที่เรียกว่า วิน-วิน ต่างคนต่างได้

เศรษฐีน้ำมันได้เช่าหรือสัมปทานพื้นที่ปลูกข้าว สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้ประเทศตัวเอง ส่วนประเทศอาเซียนได้ระบบน้ำชลประทาน ซึ่งคงไม่ใช้เฉพาะพื้นที่สัมปทานเท่านั้น คงได้พื้นที่อื่นอีกด้วย

หมากเกมนี้ ไทยแลนด์ได้เสียว และได้เหนื่อย แต่ละประเทศกลายเป็นคู่แข่งที่พร้อมตะลุมบอนในตลาดข้าวโลกทั้งนั้น

ขอให้(ไม่)โชกเลือด และโชคดีนะไทยแลนด์จ๋า


ที่มา : แนวหน้า


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/04/2010 7:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คาดส่งออกยางทะลุ 2.85 ล.ตัน เกษตรบูมกระแสปลูกภาคเหนือ
ดันพะเยาจัดวันยางพาราชาติ


นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลกมาตั้งแต่ปี 2534 ส่งผลให้ยางพาราเป็นพืชเกษตรเศรษฐกิจที่สำคัญ มีมูลค่าถึงปีละ 400,000 ล้านบาท จากพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ ประมาณ 16,700,000 ไร่ ทั้งนี้แนวโน้มความต้องการยางพาราในตลาดโลก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี โดยประเทศที่ใช้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ ส่งผลให้ราคายางในตลาดโลก ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับสถานการณ์การส่งออก ปี 2553 คาดว่าไทยจะส่งออกยางได้ประมาณ 2.85 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ซึ่งส่งออก 2.7 ล้านตัน หรือร้อยละ 5.5 เนื่องจากจีนมีการนำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.4 ต่อปี โดยขณะนี้ราคายางพารานับว่ามีราคาสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยราคายางแผ่นรมครัวชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรัมละ 105-110 บาท ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความต้องการใช้ยางพาราในตลาดโลกมีเพิ่มขึ้น ประกอบกับการประสานงานร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ คือไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งได้มีมาตรการต่างๆ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา จึงทำให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นมาก"

นายศุภชัย กล่าวอีกว่า สืบเนื่องจากวันที่ 10 เมษายนของทุกปีเป็นวันยางพาราแห่งชาติ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิสรภักดี ซึ่งเป็นบิดาแห่งยางพาราไทย ปีนี้กระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงร่วมกับจังหวัดพะเยาตลอดจนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดงานวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2553 ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งมีการส่งเสริมการปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 3 ของภาคเหนือ ภายใต้ชื่อ "ยางพาราล้านนา พัฒนาเกษตรกรไทย" ที่ลานกีฬากว๊านพะเยา ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการจัดงานดังกล่าวในพื้นที่ภาคเหนือ

การจัดงานครั้งนี้จะเป็นเวทีสำคัญในการพบปะเจรจาระหว่างผู้นำเกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อร่วมวางแนวทางพัฒนายางพาราในภาคเหนือ รวมทั้งเผยแพร่ความก้าวหน้าและพัฒนาการด้านต่างๆ ให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราและผู้สนใจได้รับทราบ

ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/04/2010 9:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เติมประสบการณ์ 'ลดเมืองร้อน' แดนปลาดิบ (1)

นับเป็นเวลา 5 ปีแล้วที่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ดำเนินโครงการลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับโรงเรียนและเทศบาลทั่วประเทศ จนถึงขณะนี้มอบเงินไปทั้งสิ้นกว่า 115 ล้านบาท ครอบคลุมโรงเรียน 152 แห่ง เทศบาล 123 แห่ง เกิดโครงการที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนที่เป็นรูปธรรมแล้วกว่า 520 โครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 6,000 ตัน

ในแต่ละปีโรงเรียนและเทศบาลที่มีโครงงานดีเด่นจะได้รับเลือกให้ไปทัศนศึกษาและอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ณ สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้า ชิราคาวา-โก บริเวณหมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวา-โก จ.กิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ในปีนี้เครือข่ายลดโลกร้อนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าลี่ และโรงเรียนท่าลี่ วิทยา จ.เลย ในโครงการปลูกป่าด้วยใจเรา บรรเทาโลกร้อน นำเอาแนวคิดการปลูกป่านิเวศอย่างยั่งยืน เดินตามแนวคิดของศ.ดร.อากิระ มิยาวากิ

สนาม อินหันต์ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เล่าให้ฟังว่า แนวการปลูกป่าดังกล่าวจะช่วยย่นระยะเวลาการปลูกป่า จากเดิมที่ใช้เวลาเป็น 100 ปี ให้เหลือ 5-10 ปี โดยใช้วิธีเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น สร้างเนินดินช่วยให้ต้นไม้โตเร็ว โรงเรียนได้รับคัดเลือกเพราะขยายแนวคิดนี้ไปยังชุมชน วัด และหน่วยงาน ราชการ

นอกจากนี้ยังมีเทศบาลนครนนทบุรี และโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ จ.นนทบุรี ดำเนินโครงการ คาร์พูล เติมเพื่อนร่วมทางให้เต็มคัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาการจราจร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโรงเรียนสุดท้ายที่ร่วมโครงการนี้ คือ โรงเรียน เดชะปัตตนยานุกุล จ.ปัตตานี ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรมขยะแห้งแลกไข่ไก่ในชุมชน

เส้นทางเติมเต็มประสบการณ์ในญี่ปุ่นเริ่มต้น หอนิทรรศการโตโยต้าไคคัง ตั้งอยู่ในเมืองนาโกย่า ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ด้านยานยนต์ของโตโยต้าทั้งหมดไว้ในนั้นบนพื้นที่ 2 ชั้น ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์แห่งอนาคต ที่ใช้เครื่องยนต์ไฮบริด ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ผสมกับมอเตอร์ไฟฟ้า ในการเข้ามาทดแทนรถยนต์ทั่วไปเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและลดมลพิษในอากาศ โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของโลก ที่ผลิตรถยนต์นั่งแบบไฮบริดออกสู่ตลาดโลก โดยเปิดตัวในรุ่นพรีอุส ในเดือนธันวาคม ปี 2540 จวบวันนี้มีรถยนต์ใช้เชื้อ เพลิงไฮบริด โลดแล่นอยู่ทุกภูมิภาคทั่วโลกมียอดขายมากกว่า 2 ล้านคันแล้วในขณะนี้

ภายในหอนิทรรศการไคคัง ยังจัดแสดงยาน ยนต์ส่วนบุคคลที่เรียกว่า “ไอ-ยูนิต” รถยนต์แห่ง อนาคตที่ประหยัด เชื้อเพลิง และตัดทอนยนตรกรรมของรถยนต์ให้เหลือน้อยชิ้น แต่เคลื่อนไหวได้ไม่ต่างจากรถยนต์ 4 ล้อ สาระของยานยนต์แห่งอนาคตภายในหอนิทรรศการแห่งนี้ยังว่าด้วยเรื่อง “ไฟน์-เอ็น” บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์มองทะลุไปในอนาคตว่าจำเป็นต้องผลิตยานยนต์แบบรีไซเคิล ขณะเดียวกันเรื่องของความปลอดภัย ไม่เฉพาะแต่โตโยต้า บริษัทรถยนต์หลายค่ายได้ผลิตรถยนต์ที่ช่วยชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกระโปรงหน้ารถที่ออกแบบให้เมื่อเกิดการชนปะทะแล้วโค้งงอ เพื่อลดแรงกระแทก

นอกจากรถยนต์ “หุ่นยนต์” เป็นยนตรกรรมที่ โตโยต้าได้คิดค้นเช่นกัน แสดงศักยภาพด้านยนตรกรรม สร้างสรรค์ออกมาเป็นหุ่นยนต์เล่นดนตรี ที่สามารถเล่นได้เป็นวงออเคสตร้า เอกลักษณ์ของหุ่นยนต์อยู่ที่การขยับนิ้วกดเครื่องดนตรีประเภทเป่าได้คล้ายกับคนแสดงจริง ในช่วงเวลา 11.00 น. ของวันเปิดหอนิทรรศการแห่งนี้จะมีการแสดงของหุ่นยนต์เล่นดนตรีเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง โดยรวม ๆ แล้วหอนิทรรศการไคคังแบ่งการจัดพื้นที่ทั้งหมด 7 โซน อาทิ เทคโนโลยีก้าวหน้า ด้านความปลอดภัย การแสดงกิจกรรมเพื่อสังคม และนำเสนอเรื่องของมอเตอร์สปอร์ต และการแสดงรถยนต์ของโตโยต้าทุกรุ่น ทั้งคัมรี่ ยาริส มุมนี้เป็นพื้นที่ไว้เอาใจผู้ใหญ่ รถทุกคันสามารถเปิดประตูเข้าไปทดลองนั่งได้

เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ไคคังจะสร้างความตื่นเต้นให้เด็ก ๆ อยู่หลายจุดหลายมุมโดยเฉพาะการเล่นดนตรีของหุ่นยนต์ แต่บางมุมก็เป็นเรื่องของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องติดห้อยไว้ แสดงให้เห็นการจัดสร้างหอนิทรรศการของญี่ปุ่น ที่จะรวมความเป็นครอบครัวไว้ หากได้ไปเยือนพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดหรือวันทำงาน จะมีพ่อแม่ (วันทำงานมักเห็นแม่เพียงผู้เดียว) พาลูกมาเที่ยว ตามเทรนด์ของการศึกษาแบบใหม่ที่เรียกว่า การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นปัจจัยหนึ่ง จะช่วยปลุกแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ได้

จากหอนิทรรศการไคคังในทริปท่องแดนอาทิตย์ อุทัยกับโตโยต้า กลุ่มเยาวชนไทยลดเมืองร้อนด้วยมือเรายังได้ร่วมสัมผัสสวนสนุกยานยนต์ ที่เรียกกันว่า“เมกะเว็บ” ตั้งอยู่ในมหานครโตเกียว ที่มีความต่างจากไคคัง ด้วยเนื้อที่ใหญ่กว่า สดใส รวบรวมรถยนต์รุ่นโบราณและปัจจุบันไว้ อีกทั้งเทคโนโลยี ในวาระสำคัญที่นี่จะเป็นสถานที่เปิดตัวยานยนต์รุ่นใหม่ และจัดงานมอเตอร์สปอร์ต

สิ่งที่น่าสนใจของเมกะเว็บนอกจากตกแต่งรถรุ่นต่าง ๆ ได้อย่างคิกขุอาโนเนะแบบญี่ปุ่นแล้ว ยังมีโซน โตโยต้า ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ โชว์เคส รวมงาน ออกแบบแห่งจักรภพ บอกเล่าเรื่องราวความช่างคิดอย่างละเอียดลออของคนญี่ปุ่นผ่านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อทำให้สะดวก และง่าย เช่น ผลงานออก แบบขวดน้ำพลาสติกให้ยับได้ราวกระดาษเมื่อดื่มน้ำหมดขวดพลาสติกจะไม่เปลืองพื้นที่ของถังขยะพวงกุญแจ มากประโยชน์ที่สามารถแปลงร่างเป็น ที่แขวนถุงผ้าเมื่อต้องมาอยู่บนโต๊ะ เช่นเดียวกันมุมนี้ได้จัดสรรให้มีมุมครอบครัว มีโมเดลรถยนต์ทำจาก กระดาษให้เด็กได้ ระบายสีเป็นของที่ระลึกนำติดมือไป

ไฮบริดคือความภาคภูมิใจที่โตโยต้าอยาก บอกให้ชาวโลกเมกะเว็บมีการจัดแสดงไฮบริดไว้ด้วย แต่รูปแบบนำเสนอน่าชื่นชม ใช้วิธีสร้างยานยนต์ไฮบริดขนาดเล็กให้เด็ก ๆ ได้ทดลองขับด้วยในพื้นที่ของสนามความยาว 150 เมตร โดยมีข้อแม้ว่าเด็กจะต้องชาร์จไฟ ประกอบรถเองจึงจะมีโอกาสได้ขับรถยนต์ไฮบริด

ที่ตั้งของเมกะเว็บอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวออกมา ถ้านั่งรถไฟมาจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที สถานที่นี้มีสวนสนุก และชอปปิงมอลล์ ที่รวมเอาสินค้าปลอดภาษีไว้ด้วยกัน แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของชาวญี่ปุ่นที่นำแหล่งเรียนรู้มาอยู่ในห้าง จะคนกลุ่มไหนมากี่ครั้งก็ไม่รู้เบื่อเพราะต่างมุมต่างมีที่ทางตอบสนองคนต่างวัยได้อย่างลงตัว...***สัปดาห์หน้าติดตามกลุ่มเยาวชนไทยสัมผัสวิถีวัฒนธรรมชาวแดนอาทิตย์อุทัย ตั้งใจลดเมืองร้อนกันต่อในหมู่บ้านมรดกโลก ชิราคาวา-โก.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 8:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สับปะรดสารพัดประโยชน์

ทราบหรือไม่ว่าสับปะรดเป็นผลไม้มีประโยชน์หลากหลาย วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีเรื่องนี้มาบอก...

- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้น ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ที่สำคัญคือวิตามินซีช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อ และต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ แต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก

- ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหารมาก ซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร และช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

- ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ที่จะทำลายโครงสร้างของเซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตี้ออกซิแดนต์ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

- ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร เพราะสับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ที่ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง และยังช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งรังไข่

- ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจากสับปะรดมีวิตามินซีสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้

รู้อย่างนี้แล้ว หันมารับประทานสับปะรดกันดีกว่า.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 8:14 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วงจรชีวิตปลา น.เจ้าพระยา 'สะบั้น' ...... ระบบนิเวศเปลี่ยนเร่งปล่อยคืน

"ขอให้รักษาแม่น้ำต่าง ๆ ไว้ด้วย โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาขอให้คนทางกรุงเทพฯ ช่วยกันรักษาเพราะว่าแต่ก่อนแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าแหล่งอาหารที่ยอดของคนทั้งหลาย และขอให้ประหยัดแหล่งน้ำจืดก็คือแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งน้ำจืดให้ใช้น้ำจืดอย่างรู้คุณค่า ตอนข้าพเจ้าเด็ก ๆ ยังเห็นชาวบ้านที่อยู่ในเรือขายข้าวนี่ เขาตักน้ำเจ้าพระยามาแล้วเขาก็รับประทานไปอย่างนั้นเลย เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาในขณะนั้นสะอาดมาก เดี๋ยวนี้คงแย่แล้ว ที่แย่สุดคือพันธุ์ปลาตายไปเยอะแล้วสูญสิ้นซึ่งพันธุ์ปลา ขอวอนให้ท่านช่วยกันหันมารักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป่า แม่น้ำลำธารต่าง ๆ” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2550

สถานการณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบันวิกฤติลงมากจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ตัวต้นเหตุการก่อมลพิษในลำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมที่ลักลอบปล่อยของเสียลงในลำน้ำเจ้าพระยา และลำน้ำสาขาต่าง ๆ ตลอดจนการทำการประมงผิดวิธี ตัวการทำลายระบบนิเวศของปลาและสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำ

ดร.ชวลิต วิทยานนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญปลาน้ำจืดไทย และผู้จัดทำหนังสือพันธุ์ปลาไทยในแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า ระบบนิเวศอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพบชนิดพันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ประมาณ 400 ชนิด ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำลำธาร จากดอยอินทนนท์ ดอยเชียงดาว และระบบนิเวศลำน้ำสายหลัก ได้แก่ ปิง วัง ยม น่าน จนถึงเจ้าพระยา บางพื้นที่เป็นระบบนิเวศหนอง บึง และที่มีน้ำท่วมถาวร เช่น บึงบอระเพ็ด จ.นคร สวรรค์ จนกระทั่งถึงปากแม่น้ำสมุทรปราการ ครอบคลุมลุ่มน้ำบางปะกง ในแต่ละพื้นที่ของสายน้ำจัดมีกลุ่มปลาอาศัยอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่ ปลาที่อยู่ตลอดสายน้ำ อาทิ ปลาช่อน ปลาฉลาก อยู่ได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ปลาบางชนิดอยู่เฉพาะน้ำเค็มน้ำกร่อย เช่น ปลากดทะเล ปลาดุกทะเล และปลาบางชนิดอยู่ในเจ้าพระยาเป็นหลัก อาทิ ปลาเทโพ ปลาเทพา ปลาสร้อย และปลาที่อยู่ในหนองบึงพื้นที่น้ำท่วมทุ่ง เช่นปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาซิว เป็นต้น

ปัจจุบันปลาในแม่น้ำเจ้าพระยาเหลือน้อยลง บางกลุ่มกำลังจะวิกฤติ สาเหตุมีหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งคือการสร้างเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ขัดขวางการเดินทางไปวางไข่ของปลาบริเวณปากแม่น้ำ ปลาหลายชนิดเดินทางไปไม่ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากเขื่อนเจ้าพระยาเพียงแห่งเดียว ยังมีปัจจัยเสริมอย่างอื่น เช่น การจับปลาที่มากเกินไป สภาพแม่น้ำที่เปลี่ยนไป

ดร.ชวลิต กล่าวอีกว่า อีกปัจจัยสำคัญของการลดจำนวนปลาอยู่ที่ระบบนิเวศเปลี่ยน เพราะมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย จากที่อดีตพื้นที่ลุ่มโดยรอบแม่น้ำเจ้าพระยามีน้ำท่วมทุกปี ที่เรียกกันว่าน้ำท่วมทุ่ง ยกเว้นบางปีที่น้ำเหนือมาน้อย น้ำท่วมทุ่งถือเป็นระบบนิเวศที่ดีในการเจริญพันธุ์ของปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่อาศัยของลูกปลาตัวอ่อน แม่ ปลาจะเข้าไปวางไข่ในถิ่นที่น้ำท่วมทุ่ง ตัวอ่อนมีอาหารกินเมื่อแข็งแรงจะกลับสู่แม่น้ำในที่สุด ซึ่งปัจจุบันเหลือพื้นที่น้ำท่วมทุ่งอยู่บริเวณลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม และส่วนหนึ่งของชัยนาท หรือริมถนนสายเอเซียพอจะมีให้เห็นบ้างถ้าบางปี มีน้ำมาก
ก่อนที่ปลาไทยจะวิกฤติไปมากกว่าที่เป็นอยู่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง จึงได้จัดงาน “มหกรรมปลาไทยคืนถิ่นลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 26-28 มี.ค.นี้ ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเชิญ ชวนทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชนเพื่อสนองพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใย ในทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมของลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การจัดงานดังกล่าวประกอบด้วยการลงนามร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายภาครัฐและเอกชนกว่า 50 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันดูแลรักษาพันธุ์ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ 9 ชนิด จำนวน 9 ล้านตัว ได้แก่ ปลาเทพา ปลากระโห้ ปลาเทโพ ปลากระเบนน้ำจืด ปลาตะเพียน ปลาม้า ปลาเค้าดำ และปลาบู่ รวมถึงการมอบกระชังอนุบาลพันธุ์ปลาไทยพร้อมอาหารสัตว์น้ำ และทุ่นแนวเขตเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 22 กลุ่ม นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการแสดงพันธุ์ปลาไทยในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งบางชนิดจัดเป็นปลาหายากและใกล้สูญพันธ์ุ และนิทรรศการด้านวิชาการและส่งเสริมอาชีพประมง พร้อมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำด้วย

“สถานการณ์ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่ามีแนวโน้มลดลงเข้าขั้นวิกฤติ สาเหตุหลักเกิดจากการปล่อยมลพิษจากแหล่งชุมชนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทุกวันนี้มีพันธุ์ปลาสูญหายไปจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว 4 ชนิด คือปลาเสือตอลายใหญ่ ปลาหวีเกศ ปลาหางไหม้ และปลาเทพา มีปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ประมาณ 64 ชนิด เช่น ปลากระโห้ ซึ่งกรมประมงได้เพาะขยายพันธุ์ปลาหายากเหล่านี้ และเตรียมนำไปปล่อยคืนถิ่นเจ้าพระยาที่ จ.พระนครศรีอยุธยา” อธิบดีกรมประมงกล่าว

ดร.ชวลิตกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ลูกปลาที่ปล่อยสู่ เจ้าพระยาถ้ามีโอกาสรอดชีวิตเป็นพ่อแม่พันธุ์เพียง 1-2 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนที่ปล่อยทั้งหมด แต่มีบางส่วนที่เป็นไปตามวัฏจักรของธรรมชาติคือถูกจับมาเป็นอาหาร หรือเป็นอาหารของปลาชนิดอื่นไป เช่นเดียวกับกุ้งแม่น้ำใน ลำน้ำเจ้าพระยาที่จะพบเพียงตอนล่างของแม่น้ำ เพราะธรรมชาติของกุ้งแม่น้ำจะต้องเดินทางไปวางไข่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย ส่วนกุ้งที่พบเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นไปเป็นกุ้งที่ปล่อยโดยกรมประมงไม่มีลูกกุ้งเกิดใหม่ได้

นอกจากขบวนการปล่อยปลาคืนถิ่นเจ้าพระยา แนวทางของการอนุรักษ์เจ้าพระยาเพื่อคงความใสสะอาดของสายน้ำยังต้องขึ้นอยู่กับคน ชุมชน และจิตสำนึกที่ต้องเดินคู่ไปทั้งระบบเพื่อเยียวยาเจ้าพระยา.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 8:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เวทีสาธารณะนโยบายน้ำ ...... แผนรับมืออีก 20 ปีเกิดสงครามแย่งน้ำ

ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ในระยะ 20 ปีข้างหน้าอาจมีเงื่อนไข ที่ทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤติทรัพยากรน้ำได้แก่ ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในปัจจุบันสามารถ ตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีข้างหน้า รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้และจำนวนประชากร และการเปลี่ยนสภาพสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยน ประเด็นต่อมาเรื่องวิกฤติพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำในการเพาะปลูก

ประกอบกับข้อมูลของกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คาดการณ์ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนโดยรวมในทศวรรษหน้าจะเพิ่มขึ้น ฤดูกาลจะเปลี่ยนไป แต่จะมีสภาวะความรุนแรงในรูปแบบภาวะน้ำขาด และภาวะน้ำเกินที่รุนแรงมากขึ้น คาดว่าเมื่อวันนั้นมาถึงความขัดแย้งจะมีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงและการกระจายประโยชน์อย่างเป็นธรรม โดยยุทธวิธี คือคนในพื้นที่เป็นผู้นำข้อมูลจากพื้นที่มาใช้ในการตัดสินใจจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกัน รวมไปถึงการใช้ข้อมูลชุดเดียวกันนี้เพื่อการตัดสินใจในระดับนโยบายด้วย เป็นแนวคิด “จากพื้นที่สู่นโยบาย” ที่ต้องการเห็นการผสมผสานตั้งแต่ระดับจังหวัด ลุ่มน้ำ และประเทศ แบบเชื่อมโยงกัน

ในโอกาสสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยา กรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกที่ผ่านมา กรมทรัพยากรน้ำเป็นองค์หลักจัดประชุมวิชาการขึ้น สกว.จึงร่วมจัดประชุมเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ ครั้งที่ 1 ขึ้น นำเสนอกรณีตัวอย่างของการจัดการน้ำจากพื้นที่สู่ระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย

อบต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นตำบลตัวอย่างของ สกว. ที่มีการจัดการน้ำโดยชุมชนเอง สฤษดิ์ เรียมทอง รองนายก อบต.ตะพง กล่าวว่า ในพื้นที่ของ อบต.ตะพง ประสบปัญหาเรื่องน้ำครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งน้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทุกปี โดยทาง อบต. ได้ส่งเสริมให้เกิดการนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำจัดทำบัญชีน้ำในพื้นที่ตำบล จัดทำแผนที่แสดงตำแหน่งประปาหมู่บ้านและแหล่งน้ำในพื้นที่ แผนที่ท่อประปาหมู่บ้านในเขตตำบล

ขณะที่ปัญหาของพื้นที่ใน ต.บางระกำ จ.นครปฐม ประสบปัญหาว่าท่อประปาและหอถังน้ำของชุมชนเสื่อมคุณภาพเนื่องจากมีการก่อสร้างตั้งแต่ยังเป็นสภาตำบล ระหว่างการส่งจ่ายน้ำ สูญเสียน้ำระหว่างทาง ประกอบกับชุมชนขยายตัวมากขึ้นอยู่ห่างกัน มีน้ำไม่เพียงพอ สำหรับวิธีการแก้ปัญหาของ อบต.บางระกำ สมเกียรติ สุนทรอำไพ สมาชิก อบต.บางระกำ กล่าวว่า ได้แก้ไขปัญหาด้วยการจัดสร้างหอถังน้ำเพิ่ม เพื่อจ่ายให้เพียงพอกับชุมชนที่อยู่ห่างไกล และสร้างจิตสำนึกด้านการใช้น้ำ ด้วยการจัดระบบการใช้น้ำแบบอัตรา ก้าวหน้า ยกตัวอย่างเช่น ใช้น้ำตั้งแต่ 1-50 หน่วย คิดหน่วย ละ 4 บาท หลังจาก 50 หน่วยจนถึง 100 หน่วย เพิ่มเป็น 5 บาท และ 6 บาท หลังจากเกินจำนวน 100 หน่วย ทั้งนี้ต้องการให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำ

นอกจากปัญหาขาดแคลนน้ำจืดและประสบปัญหาน้ำท่วม บางพื้นที่ยังมีความสลับซับซ้อนเรื่องของน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ที่ต้องร่วมแรงร่วมใจในการแก้ปัญหาทั้งภาครัฐและประชาชน ปัญญา โตกทอง สมาชิก อบต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า นับตั้งแต่มีโครงการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ใน จ.กาญจนบุรี ส่งผลกระทบเรื่องของน้ำเค็มชุก อันเป็นข้อมูลที่ทางราชการได้รับ แต่ตามภูมิปัญญาของชาวบ้านมองว่า ปรากฏการณ์นี้คือ น้ำจืดหาย ชาวบ้านไม่สามารถตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เดิมได้ต้องอพยพออกมา เกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกันระหว่างชาวบ้านกับภาครัฐ จากการดำเนินการพัฒนาที่ผ่านมารัฐเป็นผู้วางแผน นับตั้งแต่ประตูระบายน้ำที่เป็นมาตรฐานของกรมชลประทาน ก่อให้เกิดการจัดสรรน้ำไม่สอดคล้องกับระบบการผลิต การขุดลอกคูคลองไม่ตอบสนองการไหลเวียนของน้ำ

“ชาวบ้านมีความรู้เรื่องของระบบน้ำแต่ไม่มีการเก็บข้อมูล ไม่มีงานวิจัยท้องถิ่น แต่ราชการไม่ตกผลึกทางข้อมูล ข้าราชการโยกย้ายเปลี่ยนไปมา ปัญหายิ่งเพิ่มขึ้นเหมือนลิงแก้แห” สมาชิก อบต.แพรกหนาม แดง กล่าวและว่า การแก้ปัญหาของชุมชน เริ่มจากการยกระดับงานวิจัยชาวบ้าน นำความรู้การจัดการน้ำระดับท้องถิ่นมาหารือกัน และจัดทำระบบสารสนเทศด้านน้ำ ภายใต้คำจำกัดความที่ว่า “มังกรต่างถิ่นฤาจะสู้งูดินจาก บ้านเรา”

เวทีสาธารณะนโยบายน้ำเป็นตัวอย่างที่พอจะสะท้อนเห็นว่าการจัดการน้ำ เพื่อจะรับมือภาวะวิกฤติน้ำในอีก 20 ปีข้างหน้านั้นต้องเริ่มต้นจากล่างสู่บน ซึ่งในขั้นตอนต่อไปเพื่อผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรมจะเริ่มผลักดันเข้าสู่แผนของจังหวัด

ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทย เป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มีฝนตกเกินเฉลี่ย แต่ไม่มีระบบการจัดเก็บน้ำ หรือระบบสารสนเทศน้ำ ทำให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำ การจัดเวทีสาธารณะเรื่องน้ำเพื่อให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม ได้จัดทำระบบสารสนเทศน้ำ ซึ่งได้เลือกชุมชนตัวอย่างที่มีการจัดการน้ำด้วยตัวเอง ครอบคลุมทั่วประเทศ อาทิ ภาคใต้ จ.พัทลุง ภาค อีสาน จ.ยโสธร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญ เพื่อที่จะให้เป็นเครือข่ายกระจายไปยังจังหวัดใกล้เคียง พร้อมกันนี้ได้จัดการน้ำสู่ระบบจังหวัด ซึ่งจะดำเนินการได้ภายใน 3 ปี

เรื่อง “น้ำ” เป็นประเด็นระดับชาติที่ต้องมาหารือ จัดทำข้อมูลอย่างจริงจัง ไม่แน่ว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้อีก 20 ปี คนไทยต้องเกิดปัญหาแย่งชิงน้ำอาจเดินทางมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ ต้องไม่ลืมว่ายังมีปัจจัยเร่งสำคัญของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปทั่วโลกขณะนี้.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 8:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'กระถินยักษ์' พืชพลังงาน ..... เชื้อเพลิงร่วมป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล

ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี มุ่งให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นหลักของประเทศแทนการนำเข้าน้ำมัน โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานในปี 2565 ซึ่งพลังงานทดแทนที่มีการส่งเสริมให้มีการนำมาใช้สูงสุดคือ พลังงานชีวมวล จำนวน 3,700 เมกะวัตต์ หนึ่งในพลังงานชีวมวลที่น่าสนใจคือ นำไม้โตเร็วมาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดทำโครงการ “ศึกษาความเป็นไปได้การปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานชีวมวล” เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้าและทำความร้อน และเพื่อส่งเสริมการขยายพื้นที่ป่าโตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น จากการศึกษาพบว่า กระถินยักษ์ กระถินเทพา และยูคาลิปตัส เป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและปลูกง่าย

วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. เล่าให้ฟังว่า มหาวิทยาลัยได้ทำโครงการวิจัยการปลูกกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลว่าตั้งแต่ปี 2547 จนนับถึงปัจจุบันกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่นำร่อง 4 แห่งด้วยกัน โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณ และเมล็ดพันธุ์ และองค์ความรู้จาก มทส. ได้แก่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 จ.ลพบุรี ในพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่ ภายใต้ความดูแลของวัดพระบาทน้ำพุ โรงไฟฟ้าด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ประมาณ 2,000 ไร่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา จำนวน 300 ไร่ สามารถนำมาใช้เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้แล้ว โดย กระถินยักษ์สามารถใช้ในโรงไฟฟ้าด่านช้าง ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 30 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงจากกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่ 5,000 ตัน โดย สัดส่วนของจำนวนเชื้อเพลิงดังกล่าวผลิตไฟฟ้าได้ 0.7 เมกะวัตต์

ขณะที่ในพื้นที่สำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานทดแทน ในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของวัดพระบาทน้ำพุ ที่กำลังรอโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโครงการต้นแบบบ้านพักผู้ป่วยในระยะสุดท้าย รวมทั้งพื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ของมหาวิทยาลัยสามารถที่จะป้อนให้โรงไฟฟ้า ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกไม้โตเร็วในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ประมาณ 500 ไร่ และพื้นที่ ของเกษตรกรบริเวณใกล้เคียงจำนวน 500 ไร่ ทั้งนี้มีเป้าหมายปลูกไม้โตเร็วให้ได้ 4,000 ไร่ ซึ่ง มทส. ได้สนับสนุนเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ โดยมีการสร้างแปลงเพาะในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 มีกำลังการผลิต 200,000 กล้าต่อเดือน สำหรับไม้โตเร็วเหล่านี้จะนำไปป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 1.5 เมกะวัตต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานร่วม เป้าหมายเพื่อการผลิตพลังงานชีวมวลของภาครัฐ

ทั้งนี้มีการปลูกไม้โตเร็วในโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานชีวมวลแล้วเกือบ 8,000 ไร่ และมีการแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อปลูกไปแล้วกว่า 1.5 ล้านตัน และเมล็ดพันธุ์กว่า 1,000 กิโลกรัม โดยไม้ที่โตเต็มที่แล้วจะถูกป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าว ในฐานะเป็นพลังงานร่วม

หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. กล่าวต่อว่า ในบรรดาพืชที่ให้พลังงานชีวมวล กระถินยักษ์ เป็นพืชที่น่าสนใจและทดลองแล้วได้ผลดี เพราะเป็นไม้โตเร็ว ใช้ระยะเวลาปลูก 4-5 ปีสามารถตัดมาใช้เพื่อทำเชื้อเพลิงได้ อีกทั้งเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมากนัก กระถินยักษ์ในตระกูลถั่วที่สามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาใช้ นอกจากคุณสมบัติดีด้านโตเร็วแล้ว ยังสามารถทำเยื่อกระดาษเหมือนกับต้นยูคาลิปตัสได้ แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะโรงงานเยื่อกระดาษในบ้านเราออกแบบเครื่องจักรมาสำหรับยูคาลิปตัส ซึ่งในสมัยหนึ่ง เคยมีการส่งเสริมให้ปลูกกระถินยักษ์เพื่อผลิตเยื่อกระดาษแต่เกิดโรคเพลี้ยไก่ฟ้าระบาดในปี 2520 ทำให้การปลูกกระถินยักษ์ไม่ได้รับความสนใจ

ขณะที่ยูคาลิปตัสเริ่มได้รับความนิยม ในฐานะไม้โตเร็วหมือนกัน แต่กระถิ่นยักษ์ถือว่าเป็นไม้เบิกนำได้ดีกว่า ในพื้นที่แห้งแล้งภูเขาหัวโล้น นำกระถินยักษ์ไปปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและเป็นไม้เบิกนำได้ แต่ถ้ามองในแง่คุณภาพดิน ทั้งไม้ยูคาลิปตัสและกระถินยักษ์เป็นพืชที่เติบโตเร็ว ต้องใช้ธาตุอาหารจากดินไม่ต่างกัน การปลูกพืชชนิดนี้ต้องดูแลบำรุงดิน แต่กระถินยักษ์ดึงไนโตรเจนออกจากดินได้น้อยกว่า เพราะ มีไลโซเปียม ดึงไนโตรเจนในอากาศออกมาใช้เมื่อเทียบความเสื่อมของดินจึงมีน้อยกว่ายูคาลิปตัส ขณะที่ยอดกระถิน และใบนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนปัญหาแมลงศัตรูพืชของกระถินยักษ์ ปัจจุบันสามารถใช้ตัวห้ำตัวเบียนเพื่อจัดการปัญหาได้แล้ว

อย่างไรก็ตามที่จะปลูกไม้โตเร็วอย่างกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนในพื้นที่อื่น ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 1,000 ไร่ขึ้นไป คำนึงถึงเส้นทางการขนส่ง มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ เหมาะกับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าใช้ในอุตสาหกรรม เฉกเช่นเดียวกับพลังงานชีวมวลต่าง ๆ ที่กำลังศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งของพลังงานทดแทนที่กำลังมีอนาคต ที่จะมาใช้ช่วยเสริมเป็นพลังงานหลัก แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นควบคู่กันไปด้วย.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เต้นแก้ทุจริตที่ดิน-ป่าไม้ ทส.แฉ 45 ปี
ป่าวอดร่วม 70 ล้านไร่...เร่งวางแนวทางแก้ปัญหา




นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า จากการสำรวจเมื่อปี 2504 พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 171 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศ แต่การตัดไม้ลำลายป่าทำให้สูญเสียพื้นป่าไปเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2549 พบว่าพื้นที่ป่าไม้ลดเหลืออยู่ 99.157 ล้านไร่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลา 45 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเฉลียปีละประมาณ 1.6 ล้านไร่

ส่วนแนวทางการแก้ไข กระทรวงฯได้มีมาตราการและแนวทางแก้ไข เพื่อป้องกันปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย โดยแบ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ทุกประเภท เช่นอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์ป่า และป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่วิกฤตประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์ป่า และป่าสงวนแห่งชาติ ที่มีสถานการณ์ล่อแหลมต่อการบุกรุกทำลาย 196 แห่ง ครอบคลุม 30 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจัดตั้งศูนย์ยุทธการแก้ไขปัญหาวิกฤติป่าไม้ของชาติในพื้นที่วิกฤติ จำนวน 7 แห่ง เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมติดตาม รวมทั้งการจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด

สำหรับมาตราการและแนวทางในการแก้ไขเพื่อป้องกันปราบปรามการทุจริตด้านที่ดินและป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน หรือให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความงดงามของธรรมชาติ เช่นชายทะเลซึ่งจะมีการออกเอกสารสิทธิ์ เช่น น.ส.3,น.ส.3ก , น.ส.3 ข หรือโฉนดที่ดินทับซ้อนในที่สงวนหวงห้ามของรัฐ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีการตรวจพบการบุรุก ก็ต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งขบวนการของการตรวจสอบตามกฎหมายต้องใช้เวลา และต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประกอบในการพิสูจน์ เช่นการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียมมาตรวจสอบ พิสูจน์การทำประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวย้อนหลัง

ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“ธีระ” รับปริมานภัยแล้ง 53 เกษตรฯใช้ทำต้นทุนเกินกว่าที่กำหนดกว่า 1,100 ล้านลบม. อ้างจำเป็นต้องปล่อยน้ำ ช่วยเกษตรกร

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่าล่าสุด กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการบริหารการจัดการน้ำไปแล้วกว่าร้อยละ 94 โดยเหลือเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น ทั้งนี้จากการปลูกข้าวจำนวนมากกว่าแผน ที่กำหนดไว้ ส่งผลให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จำเป็นต้องปล่อยน้ำ เกินกว่าปริมาณที่กำหนดกว่า 1,100ล้าน ลบม. จากแผนเดิมกำหนดไว้ว่าจะมีการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดู แล้งไม่เกิน 8,000 ล้านเท่านั้น

ทั้งนี้จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าปริมานน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองเขื่อนมีน้ำที่ใช้ได้เพียง 2,500 ล้านลบม. โดยขณะนี้มีการปล่อยน้ำเพียงวันละ 30 ล้านลบม. เท่านั้น ทั้งนี้จะต้องบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ จนถึงปลายเดือนเมษายน และจะต้องเก็บน้ำบางส่วนกว่า 1,700 ล้านลบม. ในช่วงต้นฤดูฝนที่อาจเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงได้ ซึ่งเชื่อว่าปัญหาภัยแล้งปีนี้น่าจะผ่านพ้นไปได้ดี


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พาณิชย์ดันเกษตรอินทรีย์

นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้มีการเปิด "ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์" ขึ้นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ โดยจัดทำเว็บไซต์ www.organic.moc.go.th สำหรับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งในด้านการผลิตและการทำตลาดให้ผู้สนใจได้ศึกษาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นั้น ประสบความสำเร็จสร้างสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากกว่า 2 แสนราย ซึ่งข้อมูลทางการตลาดที่ดีถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ยิ่งถือเป็นโอกาสในการส่งออกของผู้ประกอบการไทย ทำให้ต้องมีการเตรียมพร้อม โดยนำร่องจัดอบรมการพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งแรกไปแล้วที่จังหวัดอุบลราชธานี และจะเริ่มขยายพื้นที่การจัดงานไปยังภาคอื่นๆ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 26 เม.ย.นี้ จากนั้นวันที่ 20 พ.ค. ขึ้นเหนือไปจัดที่เชียงใหม่ และปิดท้ายด้วยภาคกลาง ในวันที่ 17 มิ.ย.ที่นนทบุรี

ที่มา ; ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จี้ลูกค้าเร่งใช้หนี้สหกรณ์

นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ร่วมกับสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) ศึกษา วิจัยสภาวะแวดล้อมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพ ศักยภาพ รวมถึงปัญหาที่แท้จริงของลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ของสถาบันเกษตรกร พบว่า ผลการดำเนินงานในการบริหารจัด การธุรกิจส่วนใหญ่ มีปัญหาในการติดตามเร่งรัดหนี้สินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาลูกหนี้ผิดนัดชำระและติดค้างนานกว่า 50% ก่อให้เกิดปัญหาความเสี่ยงด้านเงินทุนของสถาบันเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น

จากปัญหาดังกล่าวกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยสำนักพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการบริหารสินเชื่อและแนวทางแก้ไขปัญหาลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งได้รับอนุมัติแผนปฏิบัติงานและจัดสรรงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายปี "53 แล้ว โดยเงินทุนของสถาบันเกษตรกรนั้นมาจากแหล่งภายใน เช่น เงินรับฝากจากสมาชิก ทุนเรือนหุ้นและทุนสำรอง และจากแหล่งภายนอก เช่น เงินกู้ยืม เครดิตทางการค้า เป็นต้น และเนื่องจากเงินทุนดำเนินงานส่วนใหญ่ ลงทุนในรูปของลูกหนี้เงินกู้และลูกหนี้อื่นๆ จึงมีความเสี่ยงในการบริหารหนี้ให้มีประสิทธิภาพ

"กองทุนพัฒนาสหกรณ์มีเงินทุนหมุนเวียนกว่า 3,700 ล้านบาท มีหนี้เสียเพียง 2% ที่ผ่านมาธุรกิจสินเชื่อเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้กับสถาบันเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่มีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับและมีการกำหนดโครงสร้างงานด้านสินเชื่ออย่างชัดเจน และเพื่อให้กองทุนมีความมั่นคงต่อไปจึงต้องการเร่งรัดให้สถาบันเกษตรกรที่มีลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้าเร่งรัดการชำระหนี้ของลูกหนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกองทุนในอนาคต"นายฉกรรจ์ กล่าว


ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกษตรลุยโซนนิ่ง ปลูกพืชพลังงาน

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯได้เตรียมแผนส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน ประกอบด้วยมันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมัน ซึ่งที่ประชุมคณะอนุ กรรมการด้านพลังงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาอีก 1 ชุด มีอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน มีหน้าที่นำแผนยุทธศาสตร์การปลูกพืชพลังงานทดแทนในรายสินค้ามาวิเคราะห์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ มันสำปะหลัง ทางกระทรวงเกษตรฯ มีแผนที่จะผลิต 30 ล้านตันต่อปี

อย่างไรก็ดีเนื่องจากในปีนี้มันสำปะหลังประสบปัญหาเพลี้ยระบาด สำนักงานเศรษฐ กิจการเกษตรได้ประเมินว่าผลผลิตมันสำปะหลังของประเทศจะลดลงเหลือประมาณ 23 ล้านตัน ส่วนอ้อยตั้งเป้าการผลิตประมาณ 65-80 ล้านตันต่อปี ได้ให้มีการสำรวจพื้นที่ปลูกเพื่อประเมินผลผลิตที่ชัดเจน

ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/04/2010 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กดปุ่มลดหนี้เกษตรกร จับตารัฐตัดวงจร เอ็นพีแอล

มาอีกแล้วกับโครงการซื้อใจเกษตรกร

นั่นคือโครงการปรับโครงสร้างหนี้เกษตร กร ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติเมื่อ วันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ให้ปรับโครงสร้างหนี้เกษตรกร 5.1 แสนราย วงเงินหนี้ 8.04 หมื่นล้านบาท จาก 3 กลุ่มทั่วประเทศ

แบ่งเป็น กลุ่มแรก เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ จำนวน 8 หมื่นราย

กลุ่มที่สอง ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ จำนวน 3.5 แสนราย

กลุ่มที่สาม ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินเอกชน สหกรณ์ และนิติบุคคลจำนวน 8 หมื่นราย

การช่วยเหลือจากโครงการนี้คือ จะพักเงินต้นกู้ยืม 50% และยกเว้น ดอกเบี้ยทั้งหมดสำหรับมูลหนี้ไม่เกิน รายละ 2.5 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขสัญญาชำระหนี้ใหม่

โดยเกษตรกรต้องนำหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) 50% มาปรับโครงสร้างกันว่าจะสามารถชำระได้ในระยะเวลาใด เช่น 10 ปี 12 ปี หรือไม่เกิน 15 ปี ในระยะเวลาเหล่านี้เกษตรกรต้องมีวินัยที่เข้มงวด ชำระตรง ไม่บิดพลิ้ว จากนั้นในปีสุดท้ายของเวลาที่กำหนดไว้ธนาคารเจ้าหนี้จะยกหนี้ 50% ที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยให้ทั้งหมด

แต่หากระหว่างปีชำระไม่ตรงเวลา ไม่มีเหตุผลที่ดีพอ เริ่มกลับมาเป็น เอ็นพีแอลอีกรอบ หนี้สินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยจะคงไว้เช่นเดิมไม่เปลี่ยน แปลง และธนาคารก็จะฟ้องและดำเนินการกับเกษตรกรด้วย

ในการทำงาน จะมีสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างเกษตรกร ทั้งหมดกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ทำสัญญาหนี้ใหม่ โดยมีสถาบันการเงินตอบตกลงเข้าร่วมโครงการแล้ว คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

หลังครม.มีมติเห็นชอบแล้ว การแก้ไขปัญหาหนี้จะเดินหน้าทันทีไม่ว่าจะมีการยุบสภาหรือไม่ โดยขั้นตอนหลังจากนี้ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบข้อมูลหนี้ของเกษตรกรว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร เกษตรกรยังมีตัวตนและศักยภาพ เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามสัญญาได้หรือไม่

ขั้นตอนดังกล่าว จะใช้งบประมาณของ ปีงบประมาณ 53 จำนวน 1,140 ล้านบาท เพื่อดำเนินงาน อาทิ ว่าจ้างบุคคลเข้ามารับผิดชอบงานตรวจสอบข้อมูลเกษตรกร จำนวน 2,000 ราย รวมถึงการจัดทำหลักสูตรฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรต่อไป

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 6 เดือนนับจากนี้ เกษตรกรกลุ่มแรกที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ น่าจะสามารถทำสัญญากับสถาบันการเงินได้ครบทั้งหมด

ส่วนเกษตรกรอีก 2 กลุ่ม คือที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินของรัฐ

และกลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงินเอกชน สหกรณ์ และนิติบุคคล จะทยอยได้รับความช่วยเหลือจากงบประมาณของปีงบประมาณ 54 จำนวน 2,200 ล้านบาท และปี"55 อีก 2,530 ล้านบาท

รัฐบาลยืนยันว่าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรครั้งนี้ไม่ใช่การยกหนี้ให้ฟรีๆ เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้นำงบประมาณมาชำระหนี้เกษตรกรให้กับธนาคารใด งบประมาณที่ดึงมาใช้ปีละ 2,000 ล้านบาทก็เป็นไปเพื่อฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้เกษตรกรชำระหนี้เงินต้นเพียง 50% เป็นการ ลอกเลียนวิธีชำระหนี้มาจากการแก้ปัญหาหนี้เอ็นพีแอลของสถาบันการเงินที่ใช้กับลูกค้า เอ็นพีแอลของตัวเองมาก่อนหน้านี้ ซึ่งธนาคารจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปรับโครงสร้างหนี้แบบปกติ

นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนคง บอกไม่ได้ว่าวิธีการนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดี กว่าการปรับโครงสร้างหนี้ปกติหรือไม่ เนื่องจากลูกค้าเกษตรกร หรือสินเชื่อเพื่อการเกษตรของธนาคารมีสัดส่วนน้อยมาก และส่วนมากจะเกิดขึ้นกับสาขาต่างจังหวัด ที่มีพื้นที่เกษตรอยู่มาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่คือผู้ประกอบการรายย่อย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนประจำ ดังนั้น จึงประเมินไม่ได้

ส่วนวิธีการนี้จะเป็นการสปอยล์เกษตรกรหรือสร้างวัฒนธรรมไม่ชำระหนี้ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกษตรไทยหรือไม่ ก็คงไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้เช่นกัน รวมถึงจะเป็นตัวอย่างให้ลูกค้าในสินเชื่ออื่นเรียกร้องให้มีการลดหนี้หรือตัดหนี้ให้บ้างหรือไม่นั้นก็คงคาดการณ์แทนไม่ได้

แต่ยืนยันธนาคารเต็มใจที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยจะช่วยเหลือในกลุ่มเกษตรกรที่นำสินเชื่อไปใช้ตามวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรอย่างชัดเจน และได้ลงทะเบียนไว้กับกองทุนฟื้นฟูฯ แล้วเท่านั้น

เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทย ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลปัญหานี้โดยเฉพาะ รวมถึงร่างหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐ ซึ่งระบุว่าลูกค้าเกษตรของธนาคารมีสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับลูกค้าอื่น

และการมีลูกค้าเกษตรของธนาคารก็เกิดขึ้นในพื้นที่สาขาต่างจังหวัดเท่านั้น ดังนั้น หากจะช่วยเหลืออย่างไร คงไม่กระทบกับผลการดำเนินงานอื่นของธนาคาร

มาถึงผู้รับผิดชอบหลักอย่างธ.ก.ส. นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า หากเป็นหลักเกณฑ์ข้อแรก ซึ่งเกษตรกรลงทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูฯ แล้วมีลูกค้าของธ.ก.ส.ทั้งสิ้น 5.1 หมื่นราย วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท

แต่หากเป็นหลักเกณฑ์ที่ 2 ซึ่งยัง ไม่ได้ลงทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 31 ธ.ค.52 โดยส่วนมากจะเป็นลูกหนี้ธ.ก.ส. จำนวนนี้มีสูงถึง 3 แสนกว่าราย

เมื่อเกิดโครงการนี้ขึ้นถือเป็นโอกาสที่ดีของทั้งลูกหนี้เองและธนาคาร เนื่องจากที่ผ่านมา หนี้สินของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯ ธนาคารได้รับชำระน้อย และแทบไม่มีโอกาสได้พูดคุยกันระหว่างลูกหนี้กับธนาคาร

เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูฯ จะแก้ปัญหาด้วยการของบประมาณจากรัฐเพื่อนำไปซื้อหนี้ และธนาคารได้ตั้งสำรองไว้แล้วทั้งหมด เมื่อมีการหยิบยกวิธีชำระคืนหนี้ 50% มาใช้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูฯ มาเป็นคนกลางระหว่างธนาคารกับลูกหนี้ก็เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

"แต่ในส่วนลูกหนี้ที่หลักประกันมากกว่ามูลหนี้ หากจะยกหนี้ให้ 50% ส่วนที่เหลือรัฐจะต้องชดเชยให้ธนาคาร เนื่องจากธนาคารสามารถไล่บี้หรือฟ้องกับลูกค้าได้จากหลักประกันที่มากกว่านั่นเอง" นายลักษณ์กล่าว

และเพื่อไม่ให้บั่นทอนกำลังใจ ของลูกหนี้ดีที่ชำระตรงเวลามาโดยตลอด และลูกหนี้เอ็นพีแอลก็ไม่หา โอกาสหรือสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้ ธ.ก.ส.จึงอยู่ระหว่างคิดโปรแกรม ตอบแทนคนกลุ่มนี้ โดยจะออกเป็นแพ็กเกจ เช่น ขยายวงเงินกู้เพิ่มเติม ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือเพิ่มสิทธิ ประกันอุบัติเหตุให้

อย่างไรก็ตาม หากจะแก้ปัญหาระยะ ยาว ไม่ให้เกิดวงจรหนี้ไม่จบไม่สิ้นของเกษตรกรได้จริง นายลักษณ์ เห็นว่าทั้งธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องดูแลและเร่งดำเนินการให้เกิดสิ่งเหล่านี้

1.ต้องสร้างระบบประกันภัยพืชผล เพราะประเทศไทยมีภัยธรรมชาติ เกิดขึ้นเกือบทุกปี หากปีใดประสบปัญหา เกษตรกรจะได้มั่นใจว่ายังมี รายได้ ซึ่งขณะนี้ นายกรณ์ จาติก วณิช รมว.คลัง ได้สั่งการให้ธ.ก.ส.เร่งพิจารณาเรื่องนี้

และ 2.ต้องดูแลราคาผลผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ไม่ให้ถูกกดราคา หรือผลประโยชน์ไปตกอยู่กับพ่อค้าคนกลางมากเกินไป

เพราะที่ผ่านมาหนี้สินเกษตรกรเกิด จากปัญหาเหล่านี้เป็นหลัก รวมถึงค่ารักษาพยาบาลและการศึกษาบุตร แต่ 2 ข้อหลังรัฐบาลมีโครงการที่ดูแลแล้วจึงไม่ใช่ต้นเหตุหลักอีกต่อไป

หากทำได้เชื่อมั่นว่ารายได้เกษตรกรจะมั่นคงขึ้น ส่วนจะมั่งคั่งหรือไม่ขึ้นกับความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาของรัฐบาลว่าเพื่อเป้าหมายตัดวงจรหนี้เกษตรกร

หรือเพื่อแค่ประชานิยมเพื่อดึงฐานเสียงเท่านั้น


ที่มา : ข่าวสด
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 6 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©