-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2010 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

"สวนตานิด" ฝรั่งแปลงใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนล่าง

คุณพงษ์สวัสดิ์ พงษ์บุญฤทธิ์ เจ้าของปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตอำเภอสกลบาตร จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ (055) 771-678 และ (081) 953-1120 ปั๊มนี้จะขึ้นป้ายว่า "ปั๊มใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ" อยู่บนเส้นทางกรุงเทพมหานคร-กำแพงเพชร พื้นที่หลังปั๊มแห่งนี้มีสวนเกษตรของ คุณพงษ์สวัสดิ์ ที่ชื่อสวนว่า "สวนตานิด" ในพื้นที่กว่า 140 ไร่ ปลูกไม้ผลมากเกือบ 20 ชนิด อาทิ ฝรั่งกิมจู ฝรั่งแป้นยอดแดง แก้วมังกร พุทราซุปเปอร์จัมโบ้ มะปรางยักษ์ มะเดื่อญี่ปุ่น ตะขบยักษ์ไร้หนาม ส้มเขียวหวาน มะพร้าวน้ำหอม และผักหวานป่า เป็นต้น

คุณพงษ์สวัสดิ์ กล่าวด้วยความสุขใจ ในการทำการเกษตรว่า ก่อนนี้ไม่เคยมีความรู้ด้านการเกษตรมาก่อน แต่พออายุมากขึ้นก็เกิดมีความรู้สึกชอบต้นไม้ ชอบสีเขียว อยากทำสวนขึ้นมา จึงเริ่มหาความรู้เบื้องต้นจากการอ่านหนังสือ วารสาร และนิตยสารเกษตรต่างๆ หลังจากศึกษาหาข้อมูลเรื่องการทำเกษตรนานหลายปี จึงได้ตัดสินใจทำสวนเกษตรขึ้นบริเวณหลังปั๊มน้ำมัน ปตท. ของตนเอง ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่นา โดยก่อนหน้านี้ก็ให้คนเช่าทำนา ได้ค่าเช่าบ้าง ไม่ได้บ้าง จนนาบางแปลงก็ต้องร้างไป คุณพงษ์สวัสดิ์จึงปรับพื้นที่นาให้เหมาะกับการปลูกไม้ผลด้วยการขุดดินทำคันล้อมสูงเกือบ 2 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากน้ำป่าที่มักจะไหลบ่ามาในบางปี และพื้นที่จะยกร่องทั้งหมดใช้ระบบเดียวกับการทำเกษตรแบบพื้นที่ลุ่มภาคกลาง เช่น จังหวัดนครปฐม ที่ใช้เรือในการจัดการให้น้ำและดูแลรักษาผลผลิต เมื่อปี พ.ศ. 2549 ไม้ผลชนิดแรกที่นำมาปลูกในสวนคือ ส้มเขียวหวาน ที่แบ่งพื้นที่ปลูกราว 22 ไร่ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร นิยมปลูกส้มกันมาก ในการปลูกส้มเขียวหวานคุณพงษ์สวัสดิ์ก็ทำได้ดี ผลผลิตส้มดกพอสมควร

ปลูกฝรั่งมากที่สุดในเขตภาคเหนือตอนล่าง

ต่อมา คุณพงษ์สวัสดิ์ ได้พบกับ คุณสุกิจ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้จัดการสวนตานิด เป็นคนอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีพื้นฐานและปลูกฝรั่งมาก่อน จึงได้แนะนำว่าฝรั่งเป็นผลไม้ที่น่าสนใจ การปลูกดูแลไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก ให้ผลผลิตเร็วหลังจากปลูกแล้วเพียง 8 เดือน เท่านั้น จึงหาข้อมูลเรื่องสายพันธุ์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ และไปดูถึงสวนฝรั่งที่จังหวัดนครปฐมจนเกิดความแน่ใจเรื่องสายพันธุ์ก็ได้ตัดสินใจซื้อฝรั่งพันธุ์จากไต้หวันที่เริ่มปลูกกันมากและเป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่จังหวัดนครปฐมมาปลูก คือ "ฝรั่งกิมจู" (ดร.กาญจนา สุทธิกุล บอกว่า ฝรั่งพันธุ์กิมจู น่าจะมีชื่อมาจาก พันธุ์ "เจินจู" ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากไต้หวัน และที่สำคัญฝรั่งพันธุ์กิมจู หรือ เจินจู นี้น่าจะเป็นคนละสายพันธุ์กับพันธุ์เจินจูที่ปลูกในไต้หวัน ดูจากลักษณะผลและรสชาติของพันธุ์กิมจูหรือเจินจูที่ปลูกในบ้านเราขณะนี้ น่าจะเป็นพันธุ์ "ส๋วยจิน") ลักษณะเด่นของฝรั่งพันธุ์นี้มีจุดเด่นตรงที่รสชาติอร่อย เมล็ดน้อยมาก หรือขนาดไส้เมล็ดเท่ากับเหรียญบาทเท่านั้น รสชาติหวาน กรอบ รับประทานแล้วจะติดใจ น้ำหนัก 3-5 ผล ต่อกิโลกรัม คุณพงษ์สวัสดิ์ได้ตัดสินใจนำพันธุ์ฝรั่งกิมจูมาปลูกพร้อมกัน จำนวน 7,500 ต้น และฝรั่งอีกสายพันธุ์หนึ่งที่คุณพงษ์สวัสดิ์นำมาปลูกพร้อมกับฝรั่งกิมจู คือ "ฝรั่งพันธุ์แป้นยอดแดง" เป็นฝรั่งอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและผู้บริโภคยอมรับในเรื่องรสชาติว่าอร่อย ซึ่งสายพันธุ์ฝรั่งแป้นยอดแดงนี้มีความแตกต่างจากพันธุ์แป้นสีทองทั่วไป ตรงขนาดผลฝรั่งที่มีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักเฉลี่ย 500 กรัม ถึง 1 กิโลกรัม ต่อผล เนื้อหนา มีเมล็ดปานกลาง รสชาติหวาน กรอบ และฝรั่งพันธุ์แป้นยอดแดงยังสามารถรองรับการแปรรูปเป็นฝรั่งแช่บ๊วยได้อีกด้วย ด้วยผลใหญ่เมื่อขูดผิวออกแล้วก็ไม่สูญเสียความหนาของเนื้อมากนัก คุณพงษ์สวัสดิ์ก็ได้เตรียมการเรื่องการทำฝรั่งแช่บ๊วยไว้แล้ว โดยไปเรียนการทำฝรั่งแช่บ๊วยมาด้วยตนเอง แล้วกลับมาทำเองที่สวน จนนำออกจำหน่ายแล้ว และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคว่าอร่อยมาก คุณพงษ์สวัสดิ์ ได้ตัดสินใจสร้างโรงงานฝรั่งแช่บ๊วยขนาดใหญ่ไว้รองรับผลผลิตในอนาคต หากผลผลิตฝรั่งแป้นยอดแดงล้นตลาดหรือราคาตกต่ำลง ฝรั่งแป้นยอดแดงคุณพงษ์สวัสดิ์ปลูกประมาณ 5,000 ต้น คุณพงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า ที่ปลูกฝรั่งไว้ถึง 2 พันธุ์นั้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกสร้างความหลากหลายนั่นเอง ก็ถือ เป็นหลักการตลาดในขั้นพื้นฐาน

คุณพงษ์สวัสดิ์ กล่าวถึงข้อดีของฝรั่งว่า "ฝรั่งให้ผลผลิตเร็ว ให้ผลตอบแทนกลับมาเร็ว" เพียง 8 เดือน หลังปลูกเท่านั้น ก็มีผลให้ได้เก็บขายได้แล้ว และจะเก็บผลฝรั่งเต็มที่เมื่ออายุต้นไว้ 1 ปีครึ่งไปแล้ว มีการออกดอกและติดผลตลอดทั้งปี ฝรั่งจะให้ผลผลิตต่อไร่สูงราว 300-500 กิโลกรัม โดยเฉพาะฝรั่งยอดแดงที่เด่นเรื่องขนาดผลใหญ่ก็ทำให้น้ำหนักต่อไร่สูงมาก ฝรั่งเป็นผลไม้ที่รับประทานง่ายหรือจะแปรรูปเป็นฝรั่งแช่บ๊วยคนรับประทานนิยมมากในตอนนี้

ปลูกฝรั่งบนท้องร่องแบบสวนตานิด

การปลูกฝรั่งและไม้ผลทุกชนิดบนพื้นที่ราว 140 ไร่ นั้น คุณพงษ์สวัสดิ์เลือกการยกท้องร่องปล่อยน้ำเข้าร่อง เป็นรูปแบบการทำเกษตรของจังหวัดนครปฐม ด้วยเหตุผลที่ว่า ทำให้การจัดการสวนง่ายขึ้น ไม่ว่าเรื่องการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ฉีดพ่นสารเคมี การเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้ "เรือ" ทั้งหมด แล้วระบบท้องร่องยังช่วยเรื่อง "ความชื้น" ให้แปลงฝรั่งอีกด้วย

ท้องร่องมีความกว้างประมาณ 7 เมตร ทั้งฝรั่งพันธุ์กิมจูและพันธุ์แป้นยอดแดง ใช้ระยะระหว่างต้น 1.8x1.8 เมตร ปลูกเป็น 3 แถว ยาวตลอดท้องร่อง ซึ่งคุณพงษ์สวัสดิ์ยอมรับว่าเป็นระยะปลูกฝรั่งที่ชิดเกินไป แนะนำว่าอย่างน้อยควรปลูกที่ระยะ 2x2 เมตร น่าจะเหมาะสมกว่า โดยคุณพงษ์สวัสดิ์ได้ขยายพื้นที่ปลูกฝรั่งกิมจูไปอีก 20 ไร่ แต่ปรับเปลี่ยนระยะปลูกใหม่คือ ปลูกเป็นแถวคู่บนท้องร่อง แล้วให้ระยะปลูก 2x2 เมตร เพื่อแก้ป้ญหาปลูกระยะชิดแบบเดิมที่ต้องมาจัดการเรื่องของการตัดแต่งกิ่งที่มาก เพื่อไม่ให้ใบฝรั่งหนาทึบหรือใบซ้อนชนกันจะส่งผลฝรั่งไม่ออกดอก จะงามแต่ใบและแปลงฝรั่งที่ร่มใบแน่นทึบแดดส่องไม่ถึง ไม่โปร่ง อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จะเป็นแหล่งสะสมโรค-แมลง โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของฝรั่ง

การปลูกฝรั่งไม่ยุ่งยากแต่ประการใด

เพียงแต่ดูแลเรื่องน้ำให้สม่ำเสมอ จากนั้นฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช มีการให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อบำรุงต้นฝรั่งให้งาม ในการทำให้ฝรั่งออกดอกติดผลนั้นก็จะมีหลายๆ วิธี ซึ่งที่สวนตานิดจะใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งให้แตกยอดใหม่พร้อมออกดอก หลังตัดแต่งกิ่งหรือตัดแต่งกิ่งเดิมที่ให้ผลผลิตแล้ว จะตัดชิดกิ่งหลักให้มีการแตกยอดใหม่ เมื่อยอดยาวได้ประมาณ 1 คืบมือ ฝรั่งก็จะออกมาตามซอกใบ ถ้าใบฝรั่งกิมจูจะออกดอกประมาณ 3 ดอก จะใช้ระยะเวลาหลังตัดกิ่งแล้วประมาณ 30-35 วัน เมื่อได้ 60 วัน ผลฝรั่งจะมีขนาดเท่าผลมะนาวเล็กหรือผลลำไยโต จะเป็นระยะที่เหมาะแก่การห่อผล ก่อนห่อควรมีการฉีดสารป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรู เช่น เพลี้ยแป้ง หรือโรคแอนแทรกโนส

การใช้สารเคมีนั้นต้องสุ่มตรวจโรค-แมลง ในแปลงเสียก่อน ว่าพบปัญหาอะไรบ้าง จึงใช้หรือแก้ไขได้ตรงจุด แต่คนที่ทำฝรั่งให้มีหลายรุ่นภายในต้นนั้น ก็ต้องมีการฉีดพ่นสารป้องกันศัตรูกว้างๆ ก่อน การห่อผลฝรั่งโดยต้องเน้นป้องกันเพลี้ยแป้งเป็นสำคัญ เพราะเมื่อมีเพลี้ยแป้งติดผลไปตอนห่อฝรั่งผลเล็กๆ มันจะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนเต็มถุงห่อจนฝรั่งผลมีขนาดใหญ่ทีเดียว สารเคมีที่แนะนำฉีดผลก่อนห่อคือ สารไวท์ออยล์ ปริมาณ 200 ซีซี ผสมกับสารมาลาไธออน ปริมาณ 1,000 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน พอฉีดช่วงเช้าให้ตวงสารดังกล่าวมาใช้ 150 ซีซี มาผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ก่อนการห่อผล

การห่อผลนั้นจะต้องห่อผลตั้งแต่ขนาดเท่าหัวนิ้วโป้งมือ หรือราวผลมะนาวเล็ก หรือผลลำไยโต เกษตรกรจะต้องคัดผลที่ผลกลม ผิวสวย ดูสมบูรณ์ไว้เพียงผลเดียว ตัดผลที่คู่กันทิ้งไป การห่อผลจะใช้ถุงพลาสติคที่ใช้เพื่อการห่อฝรั่งโดยเฉพาะ ถุงห่อดังกล่าวจะมีรูระบายในตัว เกษตรกรไม่ต้องกรีดหรือเจาะรูระบายน้ำเหมือนแต่ก่อน จากนั้นตัดกระดาษสมุดโทรศัพท์มาสัก 2 หน้า เพื่อกระดาษจะได้มีความหนามากพอเพื่อจะพรางแสงแดด ให้ผิวฝรั่งขาวสวย เหตุที่เลือกใช้กระดาษจากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง เพราะเป็นกระดาษที่ทนแดด ทนฝน ไม่ขาดยุ่ยง่ายเหมือนกระดาษหนังสือพิมพ์

หลังจากการห่อผลฝรั่งนับไปอีกราว 2 เดือน ฝรั่งก็จะแก่พร้อมเก็บเกี่ยว คนงานที่เก็บเกี่ยวผลฝรั่งจะต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์ ถึงจะปล่อยให้เก็บได้ เพราะฝรั่งหากเก็บผลที่ไม่แก่ยังเขียวอยู่ จะมีรสฝาด รับประทานไม่ได้เลย ไม่สามารถแปรรูปอะไรได้เลย คือผลฝรั่งที่เก็บผิดก็จะเสียไป การฝึกคนงานที่จะมาเก็บผลผลิตได้นั้นจะต้องเริ่มทักษะจากการได้ผลก่อน ตัดแต่งกิ่งก่อนแล้วจึงฝึกเรื่องการเก็บฝรั่ง นอกจากการนับอายุโดยคร่าวๆ แล้ว สามารถสังเกตจากเนื้อกระดาษที่จะดูเก่าตามเวลา หากไม่แน่ใจคนเก็บก็จะเปิดกระดาษดูเพื่อดูสีฝรั่งว่าขาวหรือยัง

เก็บผลผลิตป้อนตลาด......สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 40-50 ลัง

คุณพงษ์สวัสดิ์ กล่าวถึงตลาดฝรั่งกิมจูและแป้นยอดแดงว่า มีความต้องการเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคเริ่มรู้จักฝรั่งกิมจูจากสวนตานิดแล้วว่า รสชาติอร่อย หวาน และกรอบ มีเมล็ดน้อยมาก นอกจากจะวางขายในบริเวณปั๊มน้ำมันแล้วมีส่งตลาดท้องถิ่นในละแวกใกล้เคียง ก็จะมีพ่อค้าจากต่างจังหวัด อย่างจังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ฯลฯ ก็จะมาแบ่งกันไป โดย 1 ลัง จะบรรจุผลผลิตฝรั่งได้ 17 กิโลกรัม การคัดเกรดจะดูที่ผิวเพียงอย่างเดียว ฝรั่งจากสวนไม่ได้ดูเรื่องขนาด ซึ่งราคาส่งจากสวนจะแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ เบอร์ยอด (ผิวสวย) ราคากิโลกรัมละ 15 บาท, เบอร์รอง (มีตำหนิเล็กน้อย) ราคากิโลกรัมละ 8 บาท และเบอร์ตำหนิ (ผิวไม่สวย) ราคากิโลกรัมละ 5 บาท

ฝรั่งกิมจู หรือแป้นยอดแดง หลังการเก็บเกี่ยวแล้วก็จะวางตลาดได้นานราว 5 วัน ในกรณีตัดแก่พอดี ซึ่งผิวจะขาวนวล แต่เก็บขาวเขียวจะใช้ไม่ได้ เพราะยังไม่แก่ รสชาติฝาด หรือหากเก็บแก่เกินไปอายุการวางตลาดก็จะน้อยเพียง 3 วัน ก็จะนิ่มแล้ว เป็นต้น ขนาดผลของฝรั่งลูกค้ามักจะชอบขนาดผลไม่ใหญ่มากนัก 4-5 ผล ต่อกิโลกรัม มากกว่า ฝรั่งสวนตานิดถือว่าตลาดมีความยอมรับในคุณภาพที่มีรสชาติอร่อย เมื่อซื้อไปแล้วก็จะกลับมาซื้อใหม่อีก ฝรั่งกิมจูและฝรั่งแป้นยอดแดงยังมีอนาคตในการเป็นฝรั่งผลสดที่ปัจจุบันผลผลิตฝรั่งสดจากสวนตานิดยังไม่พอขาย ส่วนอนาคตคุณพงษ์สวัสดิ์ยังขยายพื้นที่ปลูกฝรั่งเพิ่มและสร้างโรงงานฝรั่งแช่บ๊วยราคากว่า 2 ล้านบาท เพื่อรองรับผลผลิตอีกด้วย

หนังสือ "การปลูกฝรั่งแบบมืออาชีพ" พิมพ์ 4 สี มีแจกฟรีพร้อมกับ หนังสือ "ไม้ผลแปลกและหายาก เล่ม 2" และ "ไม้ผลแปลกและหายาก เล่ม 1" จำนวน 208 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 100 บาท (ระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2010 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นวลศรี โชตินันทน์

วิธีการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืน *

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวประเภทปากดูด อยู่ในอันดับโฮม็อปเทอร่าแมลงที่อยู่ในอันดับนี้ ได้แก่ แมลงประเภทเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง เป็นต้น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีความเฉพาะเจาะจงต่อพืชอาหารเพียงชนิดเดียวคือ ข้าว เท่านั้น ทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำ ท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวเหนือน้ำ ต้นข้าวจะแสดงอาการ ใบเหลือง เหี่ยวแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียกว่า อาการฮ็อปเพอร์เบิร์น นอกจากนี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อโรคไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบหงิกหรือโรคจู๋

คุณสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกิดการระบาดรุนแรงหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และไทย สำหรับประเทศไทยนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2552 ว่า มีการระบาดมากกว่า 13 จังหวัด พื้นที่ความเสียหายมากกว่า 2 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบหาสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

"กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ได้นำสารที่เคยแนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวซึ่งเกิดอย่างรุนแรง เมื่อประมาณเกือบสิบปีมาแล้ว นำมาทดสอบทั้งรูปแบบสารเดี่ยวที่เพิ่มอัตราการใช้แล้วกับการผสมสาร 2 ชนิด ที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน และผสมสารฆ่าแมลงกับสารเสริมประสิทธิภาพมาทดสอบในสภาพรุนแรงเช่นปัจจุบัน" คุณสุเทพ บอก

คุณสุเทพ ชี้ว่า การรระบาดรุนแรงในปัจจุบัน เรียกว่า เป็นการระบาดมากกว่าระดับเศรษฐกิจ (Econcmic threshold) โดยทดสอบในแปลงข้าวที่มีการระบาดอยู่ในระดับ 100-200 ตัว ต่อกอ ผลพบว่าทุกวิธีการไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดในปัจจุบัน ดังนั้น วิธีที่จะลดความรุนแรงของการระบาดที่เหมาะสมที่สุดในระยะวิกฤตนี้ คือ การเว้นการปลูกข้าวในช่วงนี้ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และการปลูกข้าวในฤดูการถัดไป เกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่แปลงให้เข้มข้นมากกว่าปกติ

สาเหตุการระบาด มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

1. มีการปลูกข้าวตลอดทั้งปีโดยไม่พักดิน ปัจจุบัน ในเขตชลประทานมีการทำนา 6-7 ครั้ง/2 ปี ซึ่งข้าวมีอายุประมาณ 110-120 วัน ทำให้ไม่มีการพักดิน ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีแหล่งพืชอาหารตลอดปี ทำให้เพลี้ยมีวงจรชีวิตต่อเนื่องหลายชั่วอายุในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ลูกหลานของเพลี้ยพัฒนาความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ทำให้การพ่นสารไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร

2. การปลูกข้าวพันธุ์ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยระบาด ดังนั้น ชาวนาต้องเลือกปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานต่อการทำลายของโรคและแมลง ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาของศัตรูข้าวตั้งแต่ต้น แต่ปัญหาก็คือ ชาวนาชอบปลูกพันธุ์ข้าวที่พ่อค้าให้ราคาดี ซึ่งไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นอกจากนี้ การใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ใช่พันธุ์ที่ทางราชการแนะนำ อาจไม่ใช่พันธุ์บริสุทธิ์ อาจมีการปลอมปน อีกประการหนึ่งก็คือ การปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลี้ยปรับตัวเข้าทำลายได้

3. การใช้สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้น เช่น การใช้สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตบางชนิดป้องกันกำจัดแมลงชนิดอื่น เช่น หนอนกอ อาจทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งอาจมีอยู่เพียงเล็กน้อยเพิ่มการระบาดมากขึ้นได้ และอาจมีสาเหตุเกิดจากสารบางชนิดไปทำลายตัวห้ำตัวเบียนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สาเหตุการใช้สารป้องกันกำจัดไม่ได้ผล ประกอบด้วยหลายปัจจัย คือ

1. การหว่านข้าวที่หนาแน่นเกินไป ทำให้การพ่นสารไม่ทั่วถึง เนื่องจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอยู่ที่บริเวณโคนต้น ถ้าต้นข้าวแน่นเกินไป จะทำให้สารที่พ่นไปไม่ถูกตัวเพลี้ย โดยเฉพาะการใช้เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงลมจะมีปัญหามาก เนื่องจากส่วนใหญ่สารจะถูกแรงลมตกลง ส่วนบนต้นข้าวมากกว่าส่วนล่าง ดังนั้น ชาวนาควรเลือกเครื่องพ่นสารที่สามารถกดหัวฉีดให้ละอองสารลงให้ถูกโคนต้นข้าว

2. การใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันสารเคมีแบ่งกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น สำหรับสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในช่วงการระบาดที่ยังไม่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มนีโอนิโตนอยด์ เช่น ไดโนทีฟูแรนด์ ไทอะมีโทแซม คลอไทอะนิดิน อิมิดาคลอพริด เป็นต้น กลุ่มฟินิลไพราโซล เช่น อิทิโพร์ล กลุ่มคาร์บาเมท เช่น ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ คาร์โบซัลแฟน กลุ่มสารยับยั้งการสร้างไคติน หรือยับยั้งการลอกคราบของแมลง เช่น บูโพรเฟซิน (ใช้ได้เฉพาะตัวอ่อน) กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น อีโทเฟนพร็อก (เป็นสารเพียงชนิดเดียวในกลุ่มไพรีทรอยด์ที่ยังแนะนำให้ใช้ในนาข้าว) และสารผสม 2 กลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ เช่น บูโพรเฟซิน+ไอโซโพรคาร์บ

คุณสุเทพ กล่าวอีกด้วยว่า จากข้อมูลหลายๆ ประเทศ พบว่าการปล่อยให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรงเป็นร้อยตัวต่อกอ การใช้สารเคมีจะไม่ได้ผล ดังนั้น หลังจากที่มีการงดปลูกข้าวอย่างน้อย 2 เดือนแล้ว การปลูกข้าวในฤดูกาลหน้า ต้องมีวิธีการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยวิธีผสมผสาน ดังนี้

ขั้นแรก เลือกพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง เพื่อลดโอกาสที่เพลี้ยจะปรับตัวไม่ง่าย

ขั้นที่สอง ต้องสำรวจแปลงนาทุกสัปดาห์หลังจากข้าวงอก ถ้าพบจำนวนตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แต่ยังไม่ถึง 10 ตัว ต่อกอ ให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มนิโอนิโคตินอยด์ดังกล่าวข้างต้น

ถ้าเริ่มพบมากกว่า 10 ตัว ต่อกอ ให้ใช้สารบูโพรเฟซีน หรือสารชนิดใดชนิดหนึ่งในกลุ่มคาร์บาเมท ดังกล่าวข้างต้น กรณีที่รุนแรงมากขึ้นควรใช้สารบูโพรเฟซีนผสมกับคาบาร์เมทชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยให้ใช้อัตราเดียวกับการพ่นสารเดี่ยว โดยไม่ต้องลดปริมาณ เนื่องจากจะทำให้เพลี้ยรุ่นลูกหลานพัฒนาความต้านทานได้

คุณสุเทพ ย้ำว่า ข้อสำคัญคือ ไม่ควรปล่อยให้การระบาดรุนแรง เพราะการป้องกันกำจัดจะไม่ได้ผล เนื่องจากการระบาดรุนแรงจะทำให้มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทุกระยะในแปลงนาช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนทุกวัย รวมทั้งระยะตัวเต็มวัย ทำให้การใช้สารควบคุมได้เพียงระยะสั้นๆ หลังจากพ่นสาร 3 หรือ 5 วัน ก็จะพบตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมาอีก ทำให้ต้องพ่นสารบ่อยครั้ง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสร้างความต้านทานต่อสารเคมี ดังเช่นที่พบในปัจจุบัน

สำหรับระยะยาว ชาวนาควรใช้ระบบการปลูกพืชเข้าช่วยด้วย โดยปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี ช่วงเวลาที่เหลืออาจเว้นการปลูกเพื่อพักดิน หรือปลูกพืชตระกูลอื่นสลับ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน หรือพืชปรับปรุงดิน เช่น ถั่วพร้า หรือปอเทือง เป็นต้น

"แม้ว่าการปลูกพืชอื่นอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าการทำนา แต่เป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งศัตรูข้าวชนิดอื่นๆ เช่น โรค แมลงชนิดอื่น หรือข้าววัชพืช เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ในฤดูถัดไป อาจลดต้นทุนในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนได้ ในกรณีการปลูกพืชตระกูลถั่วสลับ ทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของการปลูกพืชสลับจะใกล้เคียงกับการทำนาอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังเป็นการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างยั่งยืนอีกด้วย" คุณสุเทพ กล่าว

ในขณะที่ข้าวราคาตกต่ำ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกำลังระบาดอย่างไม่หยุดยั้ง เกษตรกรจะฉุกคิดและหันมาใช้วิธีการทำนาแบบสลับกับพืชอื่นที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการทำนาในช่วงระยะหนึ่ง ลงทุนน้อย ได้ผลตอบแทนน้อย ก็คงจะดีกว่าลงทุนมาก แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ลองหันมาใช้วิธีการปลูกพืชสลับนาตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำดูบ้างเป็นไร

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-5583

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2010 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ภาวิณี สุดาปัน

กู้เกียรติ ตันธีระธรรม จบด๊อกเตอร์จากอเมริกา แต่รักสงบ สะสมลั่นทม เพาะลูกไม้ส่งนอก

บ้านสวนไทยสไตล์สากลนิดๆ ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงกว่าระดับไร่นา คือบ้านของ คุณกู้เกียรติ ตันธีระธรรม และ คุณวรรณจีรา (ภรรยา) ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 3 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สภาพผืนดินแต่ก่อนเป็นสวนส้ม ปัจจุบันถูกถมให้กลายเป็นเนินไม่สูงมาก กว่าจะมาเป็นเนินสูงขนาดนี้ได้ต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี ตัวบ้านเป็นอาคารชั้นเดียวตั้งอยู่ตรงจุดที่สูงที่สุดของเนิน บริเวณรอบๆ บ้านอุดมไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ ได้แก่ ต้นจำปีสิรินธร โศกระย้า เสลา อโศก แก้วเจ้าจอม พะยอม ลำดวน บุนนาค จันทน์กะพ้อ พุด คำโมกข์หลวง ลั่นทมหรือลีลาวดี เป็นต้น บริเวณพื้นดินปูพรมด้วยหญ้ามาเลเซียสีเขียวสด แลดูแล้วสวยงามสม่ำเสมอ

เกิดจากการดูแลรักษาเป็นอย่างดีนั่นเอง

ใกล้กัน มีสระน้ำ 1 บ่อ รอบๆ เนินมีคูน้ำล้อมตัวสวนและบ้านแซมด้วยพืชตระกูลคูนเป็นรั้วกั้นอีกชั้นหนึ่ง รูปแบบการจัดสวนนี้เป็นฝีมือของเจ้าของล้วนๆ ไม่ได้จ้างนักจัดสวนแต่อย่างใด ส่วนคนทำงานนั้นก็จ้างลูกจ้างอีกทอดหนึ่ง

คุณกู้เกียรติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเกษตร สาขาพืชสวน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาโทและปริญญาเอกจากประเทศอเมริกา ทำงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยของอเมริกาอยู่หลายปี ปัจจุบันลาออกจากชีวิตข้าราชการเป็นเวลา 15 ปี พลิกผันชีวิตตัวเองจากอาจารย์ที่ต้องเคร่งขรึมตลอดเวลามาเป็นชาวสวนธรรมดาๆ คนหนึ่ง นุ่งกางเกงขาสั้น สวมเสื้อยืดที่ไม่ต้องรีด แต่งตัวสบายๆ หน้าที่การงานเปลี่ยน สังคมก็เปลี่ยน สภาพความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนไป การใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ ดีกว่าแต่ก่อนเยอะ ทั้งสองชอบชีวิตที่เงียบสงบบนท้องทุ่งนาอันกว้างใหญ่กว่า 500 ไร่ ผืนนี้

"พื้นที่ทั้งหมด 500 ไร่ แต่เดิมเป็นสวนส้มทั้งหมดตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อ พอถึงรุ่นของตน เมื่อกลับมาจากต่างประเทศไม่ได้ตั้งใจจะมาทำอาชีพนี้ แต่บังเอิญว่าเรามีพื้นที่อยู่ก็เลยจัดการเปลี่ยนแปลงโฉมใหม่หมด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ พื้นที่สำหรับให้คนเช่าทำนา พื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกมะม่วง และพื้นที่สำหรับปลูกลั่นทม ผมและภรรยาชอบบรรยากาศท้องทุ่งนามาก เพราะมันสามารถเปลี่ยนสีได้ตลอดปี ในช่วงนี้ก็จะเห็นต้นข้าวสีเขียวขจี พอผ่านไปอีกไม่กี่เดือนก็จะถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวต้นข้าวทั้งแปลง กลายเป็นสีเหลือง พอเก็บเกี่ยวเสร็จก็เป็นช่วงการไถเตรียมดิน นี้คือบรรยากาศที่ทำให้ผมรู้สึกหลงใหลในท้องทุ่งแห่งนี้" เจ้าของเล่าด้วยทีท่ายิ้มแย้มแจ่มใส ความสุขแสดงออกทางสีหน้าอย่างเห็นได้ชัด

ส่วนปาล์มน้ำมันนั้นเจ้าของปลูกเป็นการค้าจำนวน 150 ไร่ อายุต้น 2 ปี กำลังออกผล เป็นปาล์มพันธุ์เตี้ย มะม่วงก็จะปลูกตามคันรอบสวนเก็บกินบ้างขายบ้าง

สำหรับสวนลั่นทมนั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างนี้ ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

"แฟนผมเป็นคนที่ชอบพันธุ์ไม้แปลกๆ และเก็บสะสมมาเรื่อยๆ จากการไปเที่ยวเขาหรือเที่ยวตามต่างประเทศก็จะนำติดไม้ติดมือมาปลูกที่บ้าน แรกๆ ปลูกไว้เพื่อดูเล่นเพลินดี แต่มาหลังๆ เริ่มปลูกมากขึ้น เพื่อนจากต่างประเทศให้พันธุ์มาบ้าง บางทีเขาก็ขอแลกกับพันธุ์พื้นเมืองของเราบ้าง ทุกวันนี้ระบบการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตกว้างขวางขึ้น เลยทำให้รู้จักเพื่อนๆ ที่ชอบไม้อย่างเป็นจริงเป็นจังเยอะ พรรคพวกต่างประเทศก็ติดต่อกันสะดวกมากขึ้น เราเลยทำเว็บไซต์เป็นของเราเอง มีชื่อว่า www.kukrats gardens.com เพื่อให้ผู้คนเข้าเยี่ยมชมหรือหากอยากได้ลูกไม้สวยๆ ก็สามารถติดต่อมาหาเราได้" นี้คือจุดเริ่มต้นของการทำสวนลั่นทมแห่งนี้ เจ้าของบอก

ในช่วงก่อนที่ลั่นทมจะมีความนิยมกันมากนั้น คุณกู้เกียรติได้นำลูกไม้จากทั้งต่างประเทศและของไทยมาคัดสายพันธุ์ ปลูกสะสมไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีผู้สนใจก็ติดต่อเข้ามาขอซื้อ เป็นพ่อค้าแม่ค้าจากตลาดนัดจตุจักร บุคคลที่ชอบสะสมพันธุ์ไม้บ้าง และจากต่างประเทศ ลูกค้าจากต่างประเทศก็มี ได้แก่ ประเทศเยอรมนี อเมริกา เป็นต้น ออสเตรเลียเพิ่งสั่งกิ่งพันธุ์ไป 6 พันกิ่ง เจ้าของจะมารับเองที่สวน

โดยส่วนมากวิธีการขยายพันธุ์ของลั่นทม เจ้าของจะใช้วิธีเพาะเมล็ด ส่วนการทาบกิ่ง เสียบยอดกิ่งพันธุ์นั้นต้องมีลูกค้าสั่งจองมาก่อนจึงจะทำให้ สาเหตุที่เลือกวิธีนี้เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตไว แข็งแรง ลำต้นสมบูรณ์ และเป็นวิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ เมล็ดพันธุ์ลั่นทมจำนวน 1 ฝัก มีมากถึง 50 เมล็ด

ลั่นทมเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม รูปร่างสวยงาม เหมาะสำหรับจัดสวนตามบ้าน ผู้ที่ชอบปลูกจะเข้ามาติดต่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน บางต้นหากว่าลูกค้าต้องการ เจ้าของก็จะขายให้ในกรณีที่ต้นนั้นมีจำนวนมากต้น แต่บางต้นหรือบางสายพันธุ์ที่แปลก เจ้าของก็จะเก็บไว้เลี้ยงเอง จะไม่ขายเด็ดขาด ส่วนเรื่องราคานั้นต้องไม่ต่ำกว่า 2-3 พันบาท หากต่ำกว่านี้ก็จะไม่คุ้มทุน วิธีการขุดต้นพันธุ์จะใช้วิธีการขุดล้อม แล้วให้ลูกค้ามาขนสินค้าเองที่สวน ตนจะไม่ขนส่งให้

"หากถามว่าเสียดายไหม ผมก็ตอบว่าไม่เสียดาย เพราะยังมีต้นอื่นที่เป็นพันธุ์เดียวกันอยู่มาก แต่ผมจะเสียดายดินที่ติดไปกับโคนต้นมากกว่า เพราะสวนของผมจะใช้อินทรียวัตถุในการบำรุงดินมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่ขี้วัวมาตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อแล้วเลยทำให้ดินที่สวนนุ่ม ขุดง่ายไม่แข็ง ซึ่งทุกวันนี้ผมก็ยังใส่ปุ๋ยขี้วัวอยู่เสมอๆ ใส่ในช่วงดินแตกโดยการละเลงในร่องสวนเพื่อบำรุงดินไม่ให้แข็งกระด้าง" เจ้าของบอก

สวนลั่นทมของคุณกู้เกียรติจะแปลกไปจากสวนลั่นทมทั่วๆ ไป คือสภาพสวนจะเป็นร่องที่มีคลองน้ำไหลผ่าน ดินปลูกก็จะสูงกว่าระดับน้ำ บริเวณร่องน้ำสามารถพายเรือเที่ยวชมได้ เพื่อนฝรั่งของเขาจะชอบเป็นพิเศษ บางคนชอบนั่งเรือ บางคนก็ชอบเดินเที่ยว เดินทั้งวันไม่มีเหนื่อย ยิ่งช่วงเดือนเมษายนเขาจะชอบกันมาก ส่วนคุณกู้เกียรติและภรรยาจะชอบเดินชมสวนในช่วงเย็นมากกว่า นอกจากมีลูกไม้สวยๆ ให้ยลโฉมแล้ว ตนก็เลี้ยงปลากินพืชตามร่องสวน ได้แก่ ปลาจีน ปลายี่สก ที่เหลือก็จะเป็นปลาที่มาจากธรรมชาติ เลี้ยงไว้ดูเล่น จะได้มีเพื่อนคลายเหงา เพราะเรามีกันแค่สองคน

ใครว่าลั่นทมเลี้ยงยาก!

เจ้าของสวนบอกว่า ต้นลั่นทมเป็นไม้ที่เจริญเติบโตง่าย ผู้ชอบปลูกเลี้ยงแล้วรู้สึกสดชื่น สบายใจ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับประจำบ้านเพื่อความสวยงาม

การดูแลรักษา ไม่ต้องดูแลมาก เพียงแต่ให้ปุ๋ยเสริมธาตุอาหารแก่ดินบ้าง ดินที่เหมาะสำหรับปลูกลั่นทมก็จะเป็นดินทั่วไปที่ต้นไม้ชอบ แต่ดินที่สวนแห่งนี้เป็นดินเหนียว แต่คุณสมบัติของดินเหนียวที่สวนนี้จะไม่แข็งกระด้าง แต่จะร่วนซุย ขุดง่าย เพราะดูแลให้ธาตุอาหารมาตลอด ต้นไม้ก็เปรียบเสมือนคน เวลาหิวก็ต้องกินอาหาร เพราะฉะนั้นปุ๋ยจึงเป็นธาตุอาหารที่ต้นไม้ต้องการใช้เพื่อการเจริญเติบโต สร้างกิ่งก้าน ดอกใบ ปุ๋ยไม่ใช่สารพิษแต่เป็นสารอาหาร

แต่ปุ๋ยบางชนิดเมื่อใส่แล้วจะทำให้ดินแข็งกระด้างเช่นกัน ไนโตรเจนใส่ในปริมาณมากจะทำให้ดินแข็ง เพราะฉะนั้นต้องดูความเหมาะสมของสภาพดินด้วย หากสังเกตให้ดี ต้นไม้ในสวนส้มกับต้นไม้ในป่าจะแตกต่างกัน ต้นไม้ป่าไม่จำเป็นต้องไปให้ปุ๋ยหรือว่าเสริมธาตุอาหารเพิ่มเติมมากเพราะใบของเขาจะร่วงโรยลงมาเป็นปุ๋ยอยู่แล้ว และธาตุอาหารของไม้ป่าก็มิได้สูญเสียแต่อย่างใด เพราะไม่มีใครเข้าไปเก็บผลผลิตออกจากต้น แตกต่างจากสวนส้ม ธาตุอาหารถูกดึงไปจากลำต้นจนหมด ผลผลิตที่สูญเสียไป ได้แก่ ผลส้ม ทำให้คุณภาพผลส้มเริ่มจืดลง ส้มจึงต้องการธาตุอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต แต่คุณภาพหรือรสชาติก็จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เจ้าของสวนจะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ไม่ต้องให้ไนโตรเจนสูง

การให้น้ำ ลั่นทมเป็นไม้ที่ทนแล้งได้ดี จึงไม่ต้องการน้ำมาก แต่ช่วงแล้ง น้ำก็มีความจำเป็นสำหรับต้นลั่นทมเหมือนกัน เพราะหากขาดน้ำ ลำต้นจะไม่สมบูรณ์ แฟบไม่เต่งตึง

ลั่นทมตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 1 ปี ก็ออกดอกแล้ว เริ่มออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ดอกจะบานสะพรั่งเต็มต้นช่วงเดือนเมษายน เมื่อย่างเข้าหน้าฝน ดอกก็หยุดบาน

ส่วนเรื่องการตกแต่งเพื่อความสวยงามนั้น เจ้าของจะใช้วิธีการหักกิ่งที่ไม่สวยงามทิ้ง กิ่งที่หักทิ้งก็สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ได้ และกิ่งที่หักทิ้งสามารถนำไปเสียบยอดได้ ส่วนต้นที่ขุดล้อมมาใหม่ก็จะใช้ไม้ค้ำยันเพื่อให้ลำต้นมีรูปทรงสวยงาม ไม่บิดเบี้ยวตามแรงลม เพราะที่นี้ลมแรงมาก

การเลี้ยงชวนชมจะมีปัญหาเรื่องโรคราสนิม จะขึ้นเป็นจุดๆ ใต้ใบ มากับความชื้นและช่วงหน้าฝน วิธีการแก้ไข คือไม่ได้ใช้สารเคมี แต่จะใช้วิธีธรรมชาติคือปล่อยให้ใบร่วงตามธรรมชาติ หรือไม่ก็เด็ดใบทิ้ง

ลั่นทมในปัจจุบันเหมาะที่จะเลี้ยงเพื่อการค้าไหม!

"สำหรับผม ผมคิดว่ายุคปัจจุบันหรือการเลี้ยงลั่นทมเพื่อการค้าไม่เหมาะ เพราะลั่นทมในปัจจุบันเริ่มซบเซาลง ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไร แต่หากจะเลี้ยงเพื่อปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับประจำบ้านจะดีกว่า สวนของผมที่ทำทุกวันนี้ ไม่ใช่ปลูกเลี้ยงเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว แต่ผมก็สะสมลูกไม้สวยไว้ดูเองเหมือนกัน แต่ถ้าหากมีคนชอบต้องโทร.มาสั่งจอง ผมก็จะทำให้ ทั้งเสียบยอด และทำลูกไม้ขาย แต่ลูกไม้ที่ผมมักจะนำมาขยายพันธุ์ต่อ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกไม้ที่มาจากต่างประเทศ การลงทุนทำสวนลั่นทมเพื่อการค้า จำเป็นต้องใช้เงินในการลงทุนสูง และความเสี่ยงมีมาก ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงขาลงจึงไม่เหมาะที่จะทำเพื่อการค้า ผมอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีทุนอยู่ก่อน จึงไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อีกอย่างลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อนฝูงและคนรู้จักกัน จึงทำให้ติดต่อกันสะดวกหน่อย ผมได้ต้นพันธุ์มาจากเพื่อนชาวต่างชาติคนหนึ่ง ต้นสวยมาก คนรู้จักที่เข้ามาเที่ยวสวนขอซื้อ แต่ผมไม่ขาย เพราะเขาบอกว่าให้ผมคนเดียว เพื่อเป็นการให้เกียรติเพื่อนผมจึงเก็บไว้ ถ้าหากใครสนใจจะปลูกเลี้ยงลั่นทมเพื่อการค้าในช่วงนี้คงต้องคิดมากกันสักหน่อย" เจ้าของสวนให้คำตอบ

หากท่านใดสนใจอยากเข้ามาเดินเที่ยวชมที่สวนหรืออยากได้ลูกไม้แปลกๆ ก็ต้องโทร.มาติดต่อพูดคุยกันก่อน หรือหากอยากเยี่ยมชมดอกสวยๆ ก็สามารถชมผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ ตามเว็บไซต์ที่ให้ไว้ข้างบน หรือโทร.ติดต่อสอบถามคุณกู้เกียรติได้ที่โทร. (081) 986-6030

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2010 7:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รันตี วงศ์ตะนาวศรี

แตรนางฟ้า สวยสดใส ที่ไทรโยค

มีโอกาสเดินทางไปสังขละบุรี ผ่านอำเภอไทรโยค ที่นี่สองข้างทางมีร้านขายต้นไม้เต็มไปหมด อดใจไม่ไหวค่ะ ต้องจอดรถลงไปดู พบว่าหลายๆ ร้านแถวนี้ขายต้นไม้ดอกสวยชนิดหนึ่งเหมือนกัน คุยกับคนขายถูกคอก็เลยขอนำมาเขียนเป็นบทความให้อ่านกันค่ะ

ทำความรู้จักกับแตรนางฟ้า

ไม้ดอกแสนสวยที่ว่าก็คือ แตรนางฟ้า หรือที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ ลำโพง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datura alba Nees มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thorn apple เป็นพืชล้มลุกมีพิษชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Solanaceae ลำต้นของลำโพงเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะ ลำต้น ใบ คล้ายต้นมะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปทั้งในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน ร้อนชื้น เช่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศที่มีอากาศหนาว เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และในทวีปออสเตรเลีย เป็นต้น ยกเว้นในเขตพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากหรือทางแถบขั้วโลก ปัจจุบันพบว่า ลำโพง ในโลกมีทั้งหมดมากกว่า 20 ชนิด ใน 2 สายพันธุ์ คือ Datura spp. กับ Brugmansia spp. และมีพันธุ์ผสมอีกมากมาย โดยเฉพาะสายพันธุ์ Brugmansia spp. ซึ่งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในเขตอเมริกาใต้และยุโรป

พบได้ทั่วไปในเมืองไทย

ลำโพง ชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ ลำโพงขาว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Datura spp. มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura alba Nees คนทางภาคเหนือเรียกว่า มะเขือบ้า ลำโพง หรือแตรนางฟ้าจะเริ่มออกดอกและให้ผลเมื่อลำต้นสูง 1 ฟุต ดอกแสนสวยจะออกตรงบริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโตเต็มที่จะบานออก มีรูปร่างคล้ายแตรหรือลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว ยังมีลำโพงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ลำโพงกาสลัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura fastuosa Linn. คนทางภาคเหนือเรียกว่า มะเขือบ้าดอกดำ ซึ่งลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีสีม่วงเข้ม ส่วนใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก โคนใบไม่เท่ากัน ดอกมีรูปร่างเหมือนลำโพง มีสีม่วง ขนาดดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกเมื่อโตเต็มที่จะบานออกคล้ายเป็นรูปแตร ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วนใหญ่ ดอกลำโพงจะบานช่วงหัวค่ำและจะหุบช่วงบ่ายของวันถัดไป ลำโพงบางชนิดดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลำโพงมีผลคล้ายมะเขือเปราะ บางชนิดมีลักษณะหนามรอบผล เมื่อแก่เต็มที่ผลจะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอมส้มหรือสีเทาดำจำนวนมาก ลำโพงเป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในหลายจังหวัด เช่น ตาก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และกาญจนบุรี เป็นต้น มีผู้เคยพบเห็นลำโพงอีกชนิดหนึ่งที่บริเวณดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ Datura stramonium ลำโพงชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโลก เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นต้น และมักเรียกชื่อนี้ว่า Jimson weed angel"s trumpet หรือ Jamestown weed เนื่องจากมีการบันทึกทางการแพทย์เป็นครั้งแรกที่เมือง Jamestown รัฐ Verginia ในปี พ.ศ. 2219 รู้จักกับลำโพงกันไปแล้ว ต่อจากบรรทัดนี้ไปจะขอเรียกชื่อ ลำโพง ว่า แตรนางฟ้า (angel"s trumpet) นะคะ



แตรนางฟ้า ที่บ้านพุเตย

เข้าไปคุยกับเจ้าของร้านขายต้นไม้ริมทางร้านหนึ่งที่อำเภอไทรโยค เจ้าของร้านนี้ชื่อว่า คุณป้าแช่ม บุญคำมา อยู่ที่บ้านเลขที่ 239 หมู่ที่ 8 บ้านพุเตย ตำบลท่าเสา หมายเลขติดต่อ (089) 549-3653 คุณป้าแช่มคุยสนุก พูดเพราะ เป็นกันเองมากค่ะ คุณป้าแช่มบอกว่า เพาะพันธุ์ไม้ขายมากว่า 1 ปีแล้ว ที่ร้านมีทั้งไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ อย่าง พวงชมพู พวงแสด กล้วยไม้ดินหลากสี เอื้องหางช้าง ขิงแดง ขิงชมพู บีโกเนียดอก ดาหลาดอกขาว พวงหยก พวงโกเมน และที่คุณป้าแช่มบอกว่าขายดีที่สุดก็คือ แตรนางฟ้า นางเอกของเราค่ะ แตรนางฟ้าที่ร้านของคุณป้าแช่มมี 4 สีค่ะ คือ สีขาว ชมพู เหลือง และส้ม คุณป้าแช่มบอกว่า เอาพันธุ์แตรนางฟ้ามาจากเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาปลูกเอาไว้เป็นต้นแม่พันธุ์ เมื่อมีขนาดสูงใหญ่แตกกิ่งก้านพอสมควร ก็จะตัดกิ่งที่สมบูรณ์ อายุไม่แก่หรืออ่อนเกินไปมาปักชำในที่ชื้นๆ ทิ้งเอาไว้ประมาณ 7-10 วัน เมื่อเห็นว่ากิ่งปักชำแตกใบอ่อนก็แสดงว่ากิ่งนั้นแตกรากออกมาแล้ว ก็จะนำมาถ่ายใส่กระถางเพื่อบำรุงต้นเตรียมจำหน่ายต่อไป

ขายได้ตลอดปี

ส่วนเรื่องการบำรุงต้นแตรนางฟ้านั้น คุณป้าแช่มเล่าให้ฟังว่า จะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ประมาณครึ่งกำมือ ให้ทุก 1 เดือนเท่านั้นก็เป็นอันจบค่ะ ส่วนเรื่องโรคแมลงนั้นไม่ค่อยมีมารบกวนแตรนางฟ้ามากนัก คุณป้าแช่มบอกว่า ต้นแตรนางฟ้าขายดีมากค่ะ และสามารถขายได้ตลอดทั้งปี ส่วนสีที่ขายดีที่สุดคือ สีชมพู ที่รันตีชอบนี่เองค่ะ ส่วนลูกค้าของคุณป้าแช่มก็มีทั้งขาประจำที่มารับไปขายทีละมากๆ 500-600 กระถาง อย่างที่งานเกษตรแฟร์ประจำปีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ก็มารับแตรนางฟ้าของคุณป้าแช่มไปขาย และขาจรที่ผ่านทางไปมาบนถนนกาญจนบุรี-สังขละบุรี ทำให้คุณป้าแช่มสามารถขายแตรนางฟ้าได้ทั้งปี ส่วนราคาของต้นแตรนางฟ้าที่ร้านคุณป้าแช่มก็ถูกแสนถูกค่ะ แตรนางฟ้าต้นใหญ่ปลูกในกระถางขนาด 15 นิ้ว คุณป้าแช่มขายอยู่ที่กระถางละ 150 บาท ซื้อไปสามารถเอาไปปลูกลงดินไม่นานก็เป็นพุ่มใหญ่ได้เลยนะคะ ส่วนต้นขนาดเล็กลงมาปลูกในกระถางขนาด 11 นิ้ว ราคากระถางละ 50 บาทค่ะ ฟังทีแรกก็ไม่เชื่อนะคะว่าต้นใหญ่ขนาดนี้ 50 บาท เพราะเคยซื้อต้นขนาดนี้ที่อื่นขายแพงกว่าที่ร้านคุณป้าแช่มมากค่ะ คุณป้าแช่มบอกว่า ต้นแตรนางฟ้าจะเติบโตให้ดอกได้ดีหากปลูกในที่ร่มรำไรหรือปลูกกลางแจ้งก็ได้ แต่ต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งออกบ้างเพื่อให้ต้นแตรนางฟ้าแตกกิ่งใหม่และมีดอกดกขึ้นค่ะ

ข้อควรจำเกี่ยวกับไม้ดอกแสนสวยชนิดนี้

เมื่อกล่าวถึง แตรนางฟ้า หรือ ลำโพง คนที่มีอายุมากหน่อยมักจะเตือนลูกหลานว่า อย่าเอาต้น ดอก ผล ใบ ของพืชชนิดนี้มาเล่น เดี๋ยวจะบ้าลำโพง แล้วจะหาว่าไม่เตือน รันตีจึงไปค้นคว้าเพิ่มเติม ทำให้รู้ว่าคนสมัยก่อนใช้ประโยชน์จากแตรนางฟ้าโดยนำมาทำเป็นยาสมุนไพร ช่วยระงับความเจ็บปวด (anodyne) และแก้อาการเกร็ง (antispasmodic) หรือมวนเป็นบุหรี่ใช้สูบรักษาโรคหืดหรืออาจนำเมล็ดมาตำให้ละเอียดและแช่ในน้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา เมื่อครบ 7 วัน นำมากรอง น้ำมันที่ได้นำมาใช้ทาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอกได้ดี ส่วนโทษของแตรนางฟ้านั้นคือ สิ่งที่ควรจำค่ะ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานเกี่ยวกับการได้รับพิษจากกินแตรนางฟ้าค่อนข้างบ่อย เนื่องจากพืชชนิดนี้มีแพร่กระจายอยู่ในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ เช่น บริเวณไร่นา เขตใกล้ภูเขา พื้นที่ลุ่มทั่วไป บริเวณที่รกร้าง เด็กๆ มักได้รับพิษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น นำดอกแตรนางฟ้าใส่ปากเคี้ยวเล่น หรือดูดเกสรของดอกแตรนางฟ้าเข้าปาก สารพิษในแตรนางฟ้ามีอยู่ทุกส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผล ของแตรนางฟ้ามีคุณสมบัติเป็นพิษทั้งสิ้น เช่น แตรนางฟ้า ที่มีชื่อว่า Datura stramonium มีอัลคาลอยด์ (alkaloid) หลายชนิดรวมกันประมาณ 0.7% ได้แก่ hyoscyamine, atropine, belladonine และ scopolamine สารพิษในต้นแตรนางฟ้าไม่สามารถทำลายด้วยความร้อนนะคะ ส่วนผลแตรนางฟ้าเมื่อแก่เต็มที่จะแตกออก ข้างในเป็นกระเปาะราว 4 กระเปาะ มีเมล็ดสีน้ำตาลอมส้มหรือสีเทาดำ ประมาณ 50-100 เมล็ด เมล็ดแตรนางฟ้ามีพิษสูงมาก เมล็ดแตรนางฟ้า 10 เมล็ด จะมีปริมาณของ atropine 1 มิลลิกรัม

สวยซ่อนพิษ ...... อาการจากพิษของแตรนางฟ้า

ดอกไม้แสนสวยอย่างลำโพงมีพิษร้ายแรงที่ต้องระวังเหมือนสาวสวยที่ซ่อนความแสบเอาไว้อย่างไรอย่างนั้นค่ะ อาการที่เกิดจากพิษแตรนางฟ้า ปกติจะมีอาการภายในเวลา 30-60 นาที หลังจากกินเมล็ดแตรนางฟ้าหรือส่วนต่างๆ ของแตรนางฟ้าและอาการจะดำเนินต่อไปอีก 2-3 วัน เนื่องจากสารอัลคาลอยด์ (alkaloid) ในแตรนางฟ้าจะออกฤทธิ์อย่างช้าๆ ในระบบทางเดินอาหาร อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยคือ ปากคอแห้ง กระหายน้ำ กลืนอาหารและน้ำยากลำบาก ต่อมาสายตาพร่ามัว ระบบประสาทกลางถูกกระตุ้น มีอาการเคลิบเคลิ้ม เป็นสุข ต่อมาเกิดอาการเพ้อคลั่ง มีอาการประสาทหลอน เพ้อ เห็นสิ่งประหลาดต่างๆ นานา อย่างน่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นแมลง จำนวนมากมายอยู่บนผนังหรือเห็นปลาฉลามกำลังไล่ล่าคนอย่างน่ากลัว หัวใจเต้นเร็ว อุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ผิดปกติในระหว่างเกิดอาการ ที่คนไทยเราเรียกว่าบ้าลำโพงค่ะ และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่คนที่คิดจะปลูกต้นแตรนางฟ้าอย่าเพิ่งวิตกกลัวมากมายจนเปลี่ยนใจไม่ซื้อแตรนางฟ้ามาปลูกนะคะ เพราะพิษจากแตรนางฟ้ามีทางแก้ไขค่ะ การรักษาพิษจากลำโพงในกรณีที่รับประทานเข้าไปต้องลดไข้โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวและควรรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อให้แพทย์รีบขัดขวางการดูดซึมสารพวกอะโทรปีนโดยรีบด่วน ซึ่งอาจทำได้โดยรีบล้างท้อง หรือให้ผงถ่านแล้วให้ยาถ่ายตาม

รันตี...ขอย้ำว่า อย่าให้เรื่องพิษของแตรนางฟ้าเปลี่ยนใจคุณเด็ดขาด เหรียญมี 2 ด้าน เสมอค่ะ ธรรมชาติแสนฉลาดสร้างไม้ดอกแสนสวยที่มีพิษซ่อนอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ทางที่ดีรันตีว่ากันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ หากคิดจะปลูกต้นแตรนางฟ้าควรแน่ใจว่าไม่มีเด็กในบ้านที่จะมาซุกซนฉีกดึงต้น ใบ ดอก ผล ของแตรนางฟ้าไปกิน และเมื่อปลูกต้นแตรนางฟ้าแล้วก็ควรให้ความรู้และคำแนะนำถึงพิษของพืชชนิดนี้ เพื่อให้คนในบ้านรู้จักและป้องกันตัวเองได้ เพียงเท่านี้ดอกแตรนางฟ้าแสนสวยก็สามารถบานอวดสายตาคนในบ้านของคุณได้อย่างไม่ต้องเกรงกลัวจนเกินเหตุค่ะ


ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/04/2010 7:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วารุณี ชัยสุริยะศักดิ์

เพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ทางเลือกอาชีพใหม่ เสริมรายได้

ในหน้าแล้งของทุกปี ผู้ที่มีอาชีพการเกษตรหรือเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพการทำนา มักจะประสบกับปัญหาภัยแล้ง ทำให้ขาดแคลนน้ำในการทำนา และปีนี้ก็เช่นเดียวกัน คาดว่าฝนทิ้งช่วงนาน น้ำในเขื่อนต่างๆ ที่กักเก็บไว้ก็จะมีปริมาณลดลง ไม่เพียงพอที่จะปล่อยออกมาให้เกษตรกรได้ทำนาหรือทำอาชีพเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะในเขตภาคกลาง จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี นอกจากจะประสบกับปัญหาภัยแล้งแล้วยังต้องพบกับปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ทำลายนาข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวนา

จากประเด็นดังกล่าวจึงขอเสนอแนวทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการทำอาชีพเสริมอื่นมาทดแทนในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว อาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ การเพาะเห็ดด้วยเหตุผลที่ว่า เห็ดเพาะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้กำไรสูง อีกทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนทั่วไป ซึ่งเห็ดมีอยู่หลายชนิด เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฏาน เห็ดฮังการี เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดโคนญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ในบรรดาเห็ดทั้งหมด เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่กำลังได้รับความนิยมบริโภคมาก และเพาะได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ทำไมจึงแนะนำให้เพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น

ข้อดีของเห็ดโคนญี่ปุ่น คือ ขายได้ราคาดีกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นสามารถซื้อขายจากฟาร์มเห็ดราคากิโลกรัมละ 140 บาท ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาด เพราะฉะนั้นผู้ที่เริ่มเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นมากเท่าไร ก็สามารถขายได้ มีตลาดรองรับแน่นอน อาชีพการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นอาชีพเสริมอาชีพหนึ่งที่มาชดเชยรายได้ที่เสียไปจากการงดทำนาและจากการทำอาชีพเกษตรด้านอื่นๆ ในช่วงฤดูแล้งที่แสนจะขาดแคลนน้ำ

การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นจะมีวิธีการอย่างไร จะเริ่มต้นอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่จะขอแนะนำก็คือ ในส่วนของการลงทุนนั้น โรงเรือนเกษตรกรสามารถนำวัสดุที่มีอยู่แล้วในครัวเรือนหรือท้องถิ่นของตนเอง สามารถนำมาทำโรงเรือนเพาะเห็ดได้ เช่น นำไม้ไผ่มาทำเป็นเสาของตัวโรงเรือน หลังคาก็มุงด้วยจากหรือแฝกหญ้าคา ส่วนที่ต้องซื้อจะเป็นซาแรน เพื่อป้องกันแสงแดดและรักษาความชื้น ส่วนก้อนเชื้อก็สามารถหาซื้อได้จากเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในหลักสูตร การผลิตเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น ในขณะนี้ก็ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อจำหน่าย ราคาก้อนละ 7-8 บาท ส่วนในโรงเรือนก็จะถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งทำจากไม้ไผ่อิฐบล็อค โดยนำก้อนเชื้อที่ซื้อมาวางลงบนอิฐบล็อคที่เตรียมไว้ในแนวนอน โดยปกติเฉลี่ยแล้วถ้ารักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ได้ความชื้นประมาณ 25 องศาเซลเซียส อย่างสม่ำเสมอ ก็จะให้ผลผลิตดอกเห็ดก้อนละ 2 ขีด และที่สำคัญที่สุดเมื่อเราเก็บดอกเห็ดออกจากถุงแล้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 7 วัน ดอกเห็ดก็สามารถคงสภาพเดิมน่ารับประทาน ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้เกษตรกรหันมาเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น เพื่อสร้างรายได้และเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว

ผู้ที่สนใจควรศึกษาหาความรู้และลงมือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ สามารถติดต่อชมรมผู้เพาะเห็ดเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน

โครงการฝึกอบรม หลักสูตรนักเพาะเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพ.....และผู้ผลิตเชื้อเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน จะจัดโครงการฝึกอบรม หลักสูตร "นักเพาะเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพและผู้ผลิตเชื้อเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพ" ระหว่างเดือนตุลาคม 2552-กันยายน 2553 ณ ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เทคนิควิธีการจัดการฝึกอบรม ใช้วิธีการจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง เน้นวิชาการความรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมากด้วยประสบการณ์และประสบความสำเร็จจากอาชีพการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ดมาไม่น้อยกว่า 15 ปี กิจกรรมการฝึกปฏิบัติประกอบด้วย การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อญี่ปุ่น เห็ดนางรมฮังการี เห็ดหูหนู ซึ่งล้วนแต่เป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างดียิ่ง

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการฝึกอบรมได้ที่ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 โทร. (034) 281-651 หรือ (02) 942-8200-45 ต่อ 3826 หรือ (081) 256-6326 โทรสาร (034) 281-651

หลักสูตร นักเพาะเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพ

รุ่นที่ 8 ระหว่างวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2553

รุ่นที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2553

รุ่นที่ 10 ระหว่างวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553

รุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 2-6 สิงหาคม 2553

จำนวนที่รับสมัคร รุ่นละ 10-20 คน

หลักสูตร ผู้ผลิตเชื้อเห็ดเศรษฐกิจมืออาชีพ

รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2553

รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-25 มิถุนายน 2553

รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 19-23 กรกฎาคม 2553

รุ่นที่ 6 ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2553

จำนวนที่รับสมัคร รุ่นละ 10-20 คน

ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการฝึกอบรม

ค่าลงทะเบียน (ค่าวัสดุประกอบการฝึกปฏิบัติ/เอกสารคู่มือ) คนละ 4,000 บาท รวมค่าอาหารและที่พัก

วิธีการสมัครเข้ารับการฝึกอบรม

แจ้งรายชื่อทางโทรศัพท์ หรือส่งใบสมัคร พร้อมธนาณัติสั่งจ่าย ป.ณ.กำแพงแสน ในนาม คุณชูเกียรติ รักซ้อน ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ในนาม "โครงการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยกำแพงแสน เลขบัญชี 769-207362-3 ส่งโทรสารสำเนาการโอนเงิน พร้อมเขียนชื่อ-สกุล ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่โทรศัพท์หมายเลข (034) 281-651

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/04/2010 6:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิจัยกล้วยไม้ดินใบหมากเพื่อการส่งออก

จากรายงานการส่งออกกล้วยไม้ในปี 2548 พบว่า ประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยไม้กระถางหรือต้นกล้วยไม้มีมูลค่า 446.7 ล้านบาท และไม้ประดับชนิดอื่น ๆมูลค่า 269.5 ล้านบาท ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายไม้กระถางในตลาดโลกซึ่งมีมูลค่าถึงปีละกว่า 200,000 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนสำคัญเนื่องจากขาดระบบการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่สามารถควบคุมคุณภาพและความสม่ำเสมอของผลผลิต

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยกล้วยไม้ดิน

ใบหมากเพื่อการส่งออกแก่ ดร.เศรษฐพงษ์ เลขะวัฒนะ จากกรมส่งเสริมการเกษตรและคณะ กล้วยไม้ดินใบหมาก มีชื่อสกุลว่า Spathoglottis มีที่มาจากภาษากรีก Spathe ซึ่งแปลว่า Blade หรือใบมีด และ glotta แปลว่า ลิ้นหรือปาก จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือกล้วยไม้ดินใบหมากประเภทผลัดใบตามฤดูกาล เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญของหนอและใบอ่อน หลังจากฤดูพักตัวได้ผ่านพ้นไปแล้ว ฤดูเริ่มการเจริญเติบโตคือปลายฤดูแล้ง สังเกตได้จากหน่ออ่อนโตออกมาจากส่วนโคนของหัวเดิม และอีกประเภทหนึ่งคือกล้วยไม้ดินใบหมากประเภทไม่ผลัดใบตามฤดูกาล

จากการวิจับ พบว่าการผสมพันธุ์กล้วยไม้ดินฯ ระหว่างลูกผสม ติดฝักยาก จึงต้องพัฒนาพันธุ์โดยเก็บรักษาพันธุ์พื้นเมืองไว้ ประกอบกับที่ผ่านมาไม่มีการแยกแยะพันธุ์อย่างถูกต้องและเกษตรกรยังเรียกชื่อพันธุ์สับสน จึงต้องรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองไว้ เพื่อให้เชื้อพันธุ์มีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังศึกษาถึงอนุกรมวิธาน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และแนวทางปรับปรุงพันธุ์วิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ช่อดอกยาวใหญ่เหมาะสำหรับเป็นไม้ประดับกระถางขนาด 12 นิ้ว หรือประดับสวน ซึ่งพันธุ์กล้วยไม้ดินฯ ลูกผสมดั้งเดิม ได้แก่ พันธุ์สุดสาคร สินสมุทร แดงอุบล กุหลาบสายรุ้ง เพชรไพฑูรย์ เพชรน้ำหนึ่ง และเหลืองทองเจือ

แต่ปัจจุบันเกษตรกรได้พัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ดินฯ ให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะสำหรับกระถางขนาด 3.5 - 6 นิ้ว วางประดับในอาคาร หรือบนโต๊ะทำงาน นอกจากนี้ลูกผสมบางพันธุ์ขยายพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ต้นพ่อต้นแม่เดิมและนำไปเพาะเมล็ด เพื่อให้ได้ต้นลูกที่มีความสม่ำเสมอ เช่น พันธุ์ Chandada Pink Toy และพันธุ์ S.kimballiana x S.Kunning เป็นต้น ส่วนลูกผสมบางต้นไม่สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดได้ จำเป็นต้องขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ ได้แก่ พันธุ์พราวชมพู ม่วงใหญ่ และจุฬาลักษณ์

ส่วนสภาพการผลิต พบว่ากล้วยไม้ดินฯ บางชนิดปลูกได้กลางแจ้ง ได้แก่ Spa . plicata แต่บางชนิดและลูกผสมส่วนใหญ่จะปลูกได้ดีเมื่อปลูกในโรงเรือนด้วยการพรางแสงร้อยละ 50 และให้อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้วัสดุปลูกเป็นมะพร้าวสับ ทรายผสมถ่านแกลบ หรือ ทรายและขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 และคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อเพิ่มความชื้น (กรณีที่ย้ายจากขวดลงกะบะ)ส่วนการปลูกในกระถางขนาด 4-6 นิ้ว ใช้กาบมะพร้าวสับ และใส่ปุ๋ยให้น้อย แต่บ่อยครั้ง จะทำให้ต้นกล้วยไม้ดินฯ ออกดอกสม่ำเสมอ ส่วนศัตรูที่สำคัญของกล้วยไม้ดินฯ คือ โรคเน่าดำ หรือโรคยอดเน่า หรือโรคเน่าเข้าไส้ ป้องกันโดยปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง ไม่ควรให้น้ำตอนเย็นช่วงค่ำ นอกจากนี้ยังมีโรคใบจุด หรือใบไหม้ ป้องกันโดยใช้ต้นพันธุ์ที่ไม่มีโรคปลูก และเก็บต้นที่เป็นโรคไปทำลาย ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคด้วยไทอะเบนดาโซล และไอโปรโดโอน ในช่วงฤดูฝน นอกจากโรคดังกล่าวแล้ว เพลี้ยหอย หรือเพลี้ยเกล็ด ซึ่งเป็นแมลงปากดูดน้ำเลี้ยงพืชก็เป็นศัตรูที่สำคัญของกล้วยไม้ดินฯ ป้องกันโดยใช้ยาฆ่าประเภทคาร์บาริล หรือไดอะซินอน ฉีดพ่น หากระบาดไม่มากก็ทำการดูดเพลี้ยหอยออกและเผาทำลาย รวมทั้งฉีดสารพ่นฆ่าแมลง แต่ถ้าระบาดมากให้ใช้ไวท์ออย อิมิดาโคลพริด อะซีเฟต


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แก้ไขปัญหาผลไม้ด้วยการแปรรูป

จากปัญหาปริมาณผลผลิตผลไม้ ทั้งภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนือ ที่ใกล้จะออกสู่ท้องตลาดในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป มักให้ผลผลิตกระจุกตัวช่วงกลางฤดู ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้มีผลผลิตออกมาล้นตลาดและราคาตกต่ำได้นั้น คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เตรียมแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2553 เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวน ทั้งด้านการบริหารจัดการ และการดำเนินงาน

สำหรับมาตรการดำเนินงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2553 มี 6 ด้าน ประกอบด้วย

1) มาตรการพัฒนาคุณภาพ โดยส่งเสริมเกษตรกรในด้านการตัดแต่งช่อดอก/ผล การจัดการปุ๋ย น้ำ และป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระยะดอก/ผล การห่อผล การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวของสถาบันเกษตรกร 2) มาตรการกระจายผลผลิตภายในประเทศ สนับสนุนให้การจัดทำแผนกระจายผลผลิตและหาตลาดล่วงหน้าของสถาบันเกษตรกร รวมทั้งการขนส่งผ่านบริการของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 3) มาตรการผลักดันการส่งออก โดยชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5 ให้แก่ผู้ส่งออก 4) มาตรการส่งเสริมการแปรรูปชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5 แก่โรงงานแปรรูป และสถาบันเกษตรกร 5) มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ และ 6) มาตร การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลไม้ในต่างประเทศ

เห็นได้ว่ามาตรการดำเนินงานนั้นครอบคลุมทุกด้าน รวมทั้งการส่งเสริมการ แปรรูปด้วย สมัยก่อนนั้น การแปรรูปผลไม้ค่อนข้างน้อย หากขายไม่ออกก็ทิ้งเลยคือปล่อยให้เน่าเสียไปเลย เนื่องจากแต่ก่อนกลุ่มแม่บ้านยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งขึ้นมา แต่ทุกวันนี้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีทุกชุมชน แล้วยังได้รับการสนับสนุนอบรมความรู้ในด้านต่าง ๆ อันรวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ ได้ด้วยตนเอง

ในส่วนของการแปรรูปผลไม้ที่ล้นตลาดนั้น น่าจะเป็นผลดีแก่ทุกคน มิใช่แต่เกษตรกรเท่านั้น เมื่อผลไม้ราคาถูกลง ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถนำผลไม้เหล่านั้นมาแปรรูปไว้รับประทานเองได้ อย่างเช่น ลำไย นี่ก็สามารถแปรรูปได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ลำไยทั้งเปลือกตากแห้ง เนื้อลำไยแห้ง เนื้อลำไยผสมน้ำตาลทรายแดงตาก แห้ง ลำไยดอง ลำไยกวนปรุงรส ลำไยแช่อิ่ม ลำไยเคลือบน้ำตาล เครื่องดื่มน้ำลำไยชนิดเม็ด เครื่องดื่มน้ำลำไยผง น้ำลำไยหวานเข้มข้น (ทำจากลำไยสด) น้ำลำไยหวานเข้มข้น (ทำจากลำไยแห้ง) ลำไยกวน (ทำจากลำไยสด) ลำไยกวน (ทำจากลำไยแห้ง) ลำไยกระป๋องหรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม ลำไยแช่แข็ง…

ต่อไปนี้เป็นวิธีการแปรรูปลำไย โดยเป็นข้อมูลจาก สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ลำไยแช่อิ่ม ส่วนประกอบดังนี้ เนื้อลำไย น้ำตาลทราย กรดซิตริก (กรดมะนาว) โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์

วิธีทำ ได้แก่ เริ่มแรกปอกเปลือกลำไย แล้วคว้านเมล็ดออก ล้างด้วยน้ำสะอาด จะได้เนื้อลำไยสด ลวกเนื้อลำไยในน้ำเดือด นาน 2 นาที

เตรียมน้ำเชื่อมให้มีความเข้มข้นร้อยละ 30 (น้ำตาลทราย 300 กรัม น้ำ 1 ลิตร) เติมกรดซิตริก (กรดมะนาว) 10 กรัม และโซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ 1 กรัม คนให้ละลาย

บรรจุเนื้อลำไยในขวดโหลที่สะอาด เทน้ำเชื่อมลงไปให้ท่วมเนื้อลำไย รุ่งขึ้นให้เอาเนื้อลำไยขึ้นจากน้ำเชื่อม เพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื่อมทุกวันโดยการเติมน้ำตาลทรายขาววันละ 100 กรัมแล้วต้มน้ำเชื่อมให้เดือดก่อนนำลำไยลงแช่ทุกครั้ง ทำเช่นนี้จนกระทั่งได้น้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นร้อยละ 70 จากนั้นนำเนื้อลำไยขึ้นผึ่งให้แห้ง แล้วบรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้งและปิดสนิทเก็บไว้รับประทานได้

...เห็นได้ว่า การแปรรูปนั้นหากรู้วิธีก็ทำได้ไม่ยากเย็นแสนเข็ญอะไร นอกจากเป็นการเก็บผลไม้ไว้ให้นานแล้วยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลไม้อีกด้วย ...หากทำอร่อยนะ.

"เธียรจรัส"


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ไถกลบตอซัง' ในพื้นที่นาข้าว...

วันนี้มีเรื่องมาบอกเล่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าว” มี 2 เรื่อง คือ

เรื่องแรก.......อาจเป็นเรื่องที่บอกกันมานานแล้ว แต่ก็ยังต้องบอกกันอีกเรื่อย ๆ
เรื่องที่สอง.....อาจเป็นเรื่องใหม่ที่บางคนอาจยังไม่เคยได้ยินมาก่อนแต่ต่างประเทศเขามีมานานแล้ว

เรื่องแรกเป็นเรื่องของการ รณรงค์การไถกลบตอซังอย่างจริงจังในพื้นที่นาข้าว รวมไปถึงมันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด…

โดยทางกระทรวงเกษตรฯ มียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย และจัดทำแผนบรรเทาภาวะโลกร้อนด้านการเกษตร โดยแบ่งแผนงานออกเป็น 5 ด้าน คือ ดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ และ การประมง รวมทั้งให้แต่ละหน่วยงานในกระทรวงฯ รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนรักสิ่งแวดล้อม และได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลัก ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในแผนงานการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ยุติการทำลายหน้าดิน ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

โครงการรณรงค์ไถกลบตอซังเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน จึงเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนทัศนคติ ไม่เผาตอซัง ซึ่งทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น มาเป็นการไถกลบ เช่น ในพื้นที่ปลูก ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เพื่อลดผลกระทบจากการเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวในพื้นที่เกษตรกรรม โดยให้นำวัสดุตอซังที่เหลือใช้จากไร่นามาเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน บรรเทาภาวะโลกร้อนและช่วยเพิ่ม คุณภาพดินเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าจะขยายผลไปทุกอำเภอ ตำบล ทุกหมู่บ้าน เพื่อที่จะให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดินดีขึ้น ผลผลิตดีขึ้น และมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมากขึ้น

สำหรับเรื่องที่สอง เป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรฯ มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการศึกษา แนวทางการดำเนินการประกันภัยธรรมชาติสำหรับการผลิตข้าว โดยศึกษาอัตราเบี้ยประกัน วงเงินคุ้มครอง รูปแบบหรือเกณฑ์การประเมินความเสียหาย และการบริหารจัดการการรับประกันภัยที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ศึกษาการรับประกันภัยธรรมชาติสำหรับการผลิตข้าวนาปีแบบเสมือนจริง คือ มีการดำเนินการเหมือนการรับประกันภัยจริงทุกประการ แต่ยังไม่มีการเก็บเงินค่าเบี้ยประกันจากเกษตรกรและไม่มีการจ่ายเงินชดเชยแก่เกษตรกรแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ได้ศึกษาในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศรวม 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา กำแพงเพชร นครสวรรค์ หนองคาย มุกดาหาร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช และพัทลุง โดยนำสถิติการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งตั้งแต่ปี 2547-2551 ของแต่ละจังหวัดที่ศึกษามาคำนวณหาโอกาสเกิดภัย เพื่อนำมากำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และกำหนดวงเงินคุ้ม ครองในระดับต้นทุนการผลิต โดยการจ่ายเงินชดเชยเกษตรกรให้เป็นไปตามช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของข้าวในช่วงที่ข้าวได้รับความเสียหาย

...การประเมินความเสียหายนั้นจะประเมินโดยให้คณะกรรมการประเมินความเสียหายในระดับท้องถิ่นลงสำรวจแปลง และตรวจสอบว่าเกษตรกรรายนั้นจะได้รับเงินชดเชยเท่าไร…

สำหรับการประกันภัยทางการเกษตรในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ซึ่งรับประกันภัยพืชเกือบทุกชนิด และคุ้มครองภัยธรรมชาติทุกภัย ยกเว้นญี่ปุ่นจะคุ้มครองทั้งโรคพืช แมลง และสถานการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ด้วย โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะนิยมใช้ดัชนีผลผลิตของเขตพื้นที่ หรือประกันรายได้ ในการประเมินความเสียหาย ส่วนประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทยนิยมใช้ดัชนีภูมิอากาศในการประเมินความเสียหาย

อรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในการบริหารจัดการประกันภัยทางการเกษตรทุกประเทศจะมีกฎหมายรับรองและกำหนดแนวทางการประกันภัย ส่วนใหญ่จะดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน โดยรัฐบาลจะเป็นผู้วางนโยบายประกันภัยพืชผล ออกพระราชบัญญัติประกันภัยพืชผล จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่รับประกันภัยโดยเฉพาะและจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน ส่วนภาคเอกชนจะเป็นผู้บริหารจัดการตัวแทนประกันภัย ดูแลจัดการโครงการที่ได้รับจากสถาบันการเงิน ดูแลเงินค่าชดเชยในแต่ละพืช แต่ละพื้นที่ และจ่ายเงินค่าชดเชย เป็นต้น

มีข้อแนะนำว่า...เพื่อให้การประกันภัยทางการเกษตรสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนค่าเบี้ยประกันภัย ทั้งสนับสนุนเต็มจำนวนหรือเป็นบางส่วนประมาณ 20-50% ของค่าเบี้ยประกัน เพื่อ จูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันภัยและ ไม่เป็นภาระในการเพิ่มต้นทุนแก่เกษตรกร.

เพิ่มเติมข้อมูลได้ที่
farmdaily@dailynews.co.th

ที่มา : เดลินิวส์


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 7:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ราทะเลมีประโยชน์มากมาย

ราทะเลหรือ Marine Fungi พบได้บนซากใบ กิ่ง และรากไม้ผุๆ ในป่าชายเลน นอกจากนี้พบอยู่กับสาหร่ายทะเล หญ้าทะเลและเม็ดทรายตามชายหาด ส่วนใหญ่จะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ที่เรียกว่า แอสโคสปอร์ (ascospore) มีส่วนน้อยที่จะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยสร้างโคนิเดีย (conidia) ราทะเลมีความสำคัญนอกจากจะเป็นผู้ย่อยสลายที่สำคัญในระบบนิเวศทางทะเลยังสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากมายและยังสร้างสารตัวใหม่ๆ ที่อาจสามารถนำไปพัฒนาเป็นยาต้านจุลินทรีย์ได้อีกด้วย จาการสำรวจทะเลแถบชายฝั่งทั่วๆ ไปพบในประเทศไทยมีราทะเลทั้งสิ้นกว่า 160 ชนิด ปัจจุบันระบบนิเวศทางทะเลกำลังถูกทำลาย ถ้าเราไม่เร่งอนุรักษ์ระบบนิเวศ ราทะเลที่มีประโยชน์อาจสูญเสียไปด้วย

ที่มา : จริยา สากยโรจน์. "ราทะเล ผู้ย่อยสลายในความเค็ม" BRT Newsletter. ฉบับที่ 19 (ส.ค. 2549) : 14.

ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอื้องสีตองทนต่อความแห้งแล้ง

เอื้องสีตองเป็นกล้วยไม้ดินที่สามารถสร้างอาหารเองได้มีดอกสีเขียวอ่อนแต้มด้วยสีม่วงดำพบได้ตามทุ่งหญ้า มีจุดเด่นคือ มีหัวฝังอยู่ใต้ดินทำหน้าที่เก็บน้ำและสะสมอาหารจึงทำให้เอื้องสีตองสามารถขาดน้ำติดต่อกันได้เป็นเวลาหลายเดือน ดังนั้นเอื้องสีตองจึงเจริญได้ดีในที่ที่มีความแห้งแล้งยาวนาน ปริมาณน้ำฝนน้อยและเกิดไฟป่าทุกปี อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเพชรบูรณ์มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเอื้องสีตองดังนั้นจึงพบเอื้องสีตองขึ้นอยู่จำนวนมาก

ที่มา : อ้อพร เผือกคล้าย. "การอยู่รอดของเอื้องสีตอง" BRT Magazine. ฉบับที่ 26 (ธ.ค. 2551) : 21.


ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ไรน้ำนางฟ้าไทย" สัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่

ไรน้ำนางฟ้า หรือ แมงอ่อนช้อย มีความสำคัญต่อ ห่วงโซ่อาหารของ สัตว์น้ำ โดยเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น ปลา ปู กุ้ง และแมลงน้ำ และยังเป็นแหล่งอาหารโปรตีนเสริมของชาวอีสาน

จากการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของไรน้ำนางฟ้าจากแหล่งน้ำจืดในประเทศไทย นำโดย ศ.ดร. ละออศรี เสนาะเมือง ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนของ โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือ บีอาร์ที (BRT, The Biodiversity Research and Training Program) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ตั้งแต่ ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน คณะผู้วิจัยค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ไรน้ำนางฟ้าไทย และ ไรน้ำนางฟ้าสยาม ซึ่งทั้ง 3 ชนิดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น

คณะผู้วิจัยศึกษาการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า ไรน้ำนางฟ้าไทยมี ศักยภาพในการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้าในอนาคต เพราะมีปริมาณโปรตีนสูงถึงร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าอาร์ทีเมียที่มีร้อยละ 56 นอกจากนี้ ยังมีปริมาณไขมันต่ำเพียงร้อยละ 1.6 เลี้ยงง่าย โตเร็ว ดูแลไม่ยุ่งยาก ต้นทุนไม่สูงนัก และเลี้ยงเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีจำนวนไข่เฉลี่ยราว 6,500-6,700 ฟองต่อแม่ไรน้ำนางฟ้าหนึ่งตัว โดยแม่ไรน้ำนางฟ้ามีจำนวนครั้งที่วางไข่เฉลี่ย 14 ครั้ง มีจำนวนไข่เฉลี่ย 460 ฟองต่อครั้ง และมีช่วงอายุเฉลี่ย 25 วัน นอกจากไข่ไรน้ำนางฟ้าสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งได้เป็นเวลานานแล้ว ยังสามารถแช่แข็งไรน้ำนางฟ้าตัวเต็มวัยส่งขายเป็นอาหาร สำหรับกุ้งกุลาดำที่เพาะเลี้ยงบริเวณชายทะเล หรือใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาเศรษฐกิจทั้งชนิดน้ำจืด และน้ำเค็ม แทนการนำเข้าอาร์ทีเมียบางส่วน ซึ่งจากการทดลองพบว่าสามารถกระตุ้นการสร้างสีในปลาสวยงามได้ดี

คณะผู้วิจัยได้จดอนุสิทธิบัตรวิธีการเตรียม "ไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยพร้อมฟัก" และฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้แก่กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย บริษัทเอกชน และนักวิชาการไปหลายรุ่น ปัจจุบัน มีผู้เข้าอบรมที่สามารถนำไข่ไรน้ำนางฟ้าไปเพาะเลี้ยง ส่งขายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้ในราคาสูง โดยที่ยังมีปริมาณการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700
โทรสาร 0 2564 6701-5
Website: http://www.biotec.or.th


Tags: ไรน้ำนางฟ้า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การค้นพบยีนความหอมในข้าวและแนวทางการใช้ประโยชน์

ผลงานเด่นไบโอเทค (ลำดับที่ 11) PLT-ยีนข้าวหอมในข้าว-080215]

ข้าวหอมที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายมี 2 ชนิด คือ ข้าวบาสมาติ และข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งคุณสมบัติหลักที่ทำให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีคุณค่าโดดเด่นคือ ความหอม สารหอมระเหยนี้มีชื่อทางเคมีว่า 2-อะเซทิล-1-ไพร์โรลีน หรือ 2 เอพี (2-acety-1-pyrroline; 2AP) ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ค้นพบยีนที่ควบคุมความหอมในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และตั้งชื่อว่า โอเอส 2 เอพี (Os2AP)

ซึ่งค้นพบว่า ยีนดังกล่าว มีความแตกต่างไปจากยีนเดียวกันที่พบในข้าวปราศจากกลิ่นหอม

ซึ่งเป็นผลจากการกลายพันธุ์ในข้าวขาวดอกมะลิ 105

ซึ่งการกลายพันธุ์ในยีนดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดการสร้างสรรให้กลิ่นหอมขึ้นในพันธุ์ข้าวหอม นอกจากการค้นพบยีนความหอมดังกล่าวแล้ว กลุ่มนักวิจัยได้พัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความหอม เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ว่ามียีน ความหอมอยู่หรือไม่ และยังนำไปใช้หายีนความหอมในข้าวสายพันธุ์อื่นๆ นอกเหนือจากข้าวขาวดอกมะลิ 105

ทั้งนี้ คณะผู้วิจัย ได้ยื่นจดสิทธิบัตรยีนความหอมและการใช้ประโยชน์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และยุโรป โดยสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา เลขที่ 7,319,181 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551... เอกสารแนบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th

ที่มา : สวทช


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 7:26 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคโนโลยีการผลิตไหลสตรอเบอรี่คุณภาพดี

ผลงานเด่นไบโอเทค ลำดับที่ 44

มูลนิธิโครงการหลวง และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สนับสนุน ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่ที่มีคุณภาพ

โดยขยายต้นพันธุ์ปลอดโรคที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และศึกษาการผลิตต้นไหลคุณภาพดีที่ผ่านการรับรองภายในโรงเรือนกันแมลงแบบไหลลอยฟ้า

ส่วน ดร. ปราสาทพร สมิตะมาน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาและรวบรวมพันธุ์สตรอเบอรี่เพื่อปรับปรุงพันธุ์ใหม่ และพัฒนาการผลิตต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ปลอดโรคในเชิงการค้า สามารถคัดเลือกสตรอเบอรี่พันธุ์ใหม่ คือ "พันธุ์พระราชทาน เบอร์ 50" ซึ่ง หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไหลสตรอเบอรี่คุณภาพดีให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th

ที่มา : สวทช


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 7:28 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเพาะเลี้ยงเห็ดนกยูง

ผลงานเด่นไบโอเทค ลำดับที่ 34

เห็ดนกยูง เป็นเห็ดธรรมชาติ มีคุณค่าทางโภชนาการ และไนอาซีนสูงกว่าเห็ดหลายชนิด มีบางฤดูกาล จึงมีราคาสูง แต่มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพของชุมชน

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้พัฒนาวิธีการเพาะเห็ดนกยูงหลายวิธีที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เช่น การเพาะลงแปลงวัสดุหมักเหมือนการเพาะเห็ดฟาง และการเพาะแบบลงแปลงนำขึ้นเพาะในโรงเรือนเพาะเห็ดเหมือนการเพาะเห็ดแชมปิญอง

ทั้งนี้ ศูนย์ฯ นำโดยคณะวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเห็ด ร่วมกับ ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก สำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดนกยูงจากธรรมชาติ จนเพาะเห็ดนกยูงได้สำเร็จ และจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ กรรมวิธีจากเพาะสปอร์เห็ดนกยูงให้งอกเพื่อใช้สร้างสายพันธุ์เห็ดนกยูงผสม


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th

Tags: การเพาะเลี้ยงเห็ดนกยูง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟาง เห็ดนกยูง เห็ด -- การเพาะเลี้ยง ศูนย์รวมสวนเห็ดบ้านอรัญญิก โรงเรือนเพาะเห็ด


ที่มา : สวทช


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 7:30 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชชุมชน : อาชีพหลังการทำนา

ผลงานเด่นไบโอเทค ลำดับที่ 58

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จัดทำโครงการนำร่องเพื่อศึกษาศักยภาพพืชทางเลือกที่มีความเหมาะสมหลังฤดูการทำนา และเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีสำหรับชุมชน ร่วมกับ บริษัท สวีทซีดส์ จำกัด บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด และ บริษัท รีลชีด จำกัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่นาในช่วงฤดูแล้ง สร้างรายได้และอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่บ้านผาคับ อ. บ่อเกลือ จ.น่าน โดยเลือกพืชที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเดือน ได้แก่ ข้าวโพดหวาน หอมป้อม (ผักชีเมือง) เรปซีด (ผักกาดเขียวและผักกาดจ้อน) รวมทั้งมะเขือเทศสีดา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th

Tags: การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชชุมชน อาชีพหลังการทำนา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ พืช เมล็ดพันธุ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี บริษัท สวีทซีดส์ จำกัด บริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด บริษัท รีลชีด จำกัด เกษตรกร บ้านผาคับ (น่าน) ข้าวโพดหวาน หอมป้อม ผักชีเมือง เรปซีด ผักกาดเขียว ผักกาดจ้อน มะเขือเทศสีดา


ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์กระเทียมโทนปลอดโรคในระดับชุมชน

ผลงานเด่นไบโอเทค ลำดับที่ 81

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกกระเทียมมาก ในขณะที่ตลาดมีความต้องการสูงมาก แต่กลุ่มแม่บ้านมักประสบปัญหากระเทียมเป็นโรคและกระเทียมโทนมีปริมาณน้อย รศ. ดร. ประสาทพร สมิตะมาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตต้นพันธุ์กระเทียมโทนและกระเทียมปลอดโรคด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จนประสบความสำเร็จสามารถผลิตต้นพันธุ์กระเทียมปลอดโรคเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์และโรคของกระเทียม


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th


ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 02/04/2010 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การถ่ายทอดเทคโนโลยยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองคุณภาพดี สู่ชุมชน

ผลงานเด่นไบโอเทค ลำดับที่ 25

การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองคุณภาพดีเป็นปัญหาหนึ่งสำหรับเกษตรกรทั่วไป สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองราชมงคล 1 ที่เหมาะสมกับจังหวัดลำปาง และพื้นที่ใกล้เคียง โดยให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคใบจุดนูน และราน้ำค้าง ทนต่อการหักล้ม ฝักเหนียว ไม่แตกง่าย และเมล็ดโต ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จึงร่วมกับสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองชุมชนให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองใน ต.นิคมพัฒนา อ. เมือง จ. ลำปาง ส่งผลให้เกษตรกรมีผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น แต่ละปีมีรายได้หมุนเวียนสู่ชุมชน นอกจากนี้ยังส่งผลให้สมาชิกภายในกลุ่ม มีเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองคุณภาพดี สำหรับใช้เพาะปลูกในไร่ของตนเองอย่างพอเพียงทุกฤดูกาล


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
http://www.biotec.or.th


ที่มา : สวทช
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 03/04/2010 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus Megaterium
สำหรับควบคุมโรคกาบใบแห้งในข้าว


โรคกาบใบแห้งของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani นับเป็นโรคหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดต่อการเพาะปลูกข้าวทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราเพื่อควบคุมโรคนี้ยังมีข้อเสียหลายประการ เช่น การตกค้างในข้าวที่นำมาบริโภค การตกค้างในน้ำและดินอันก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โรคกาบใบแห้งในข้าวเกิดขึ้นเมื่อเม็ดสืบพันธ์ุสเคลอโรเธีย(scerotia) ของ R. solani ที่มีอยู่ในดินลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำและเคลื่อนที่ไปติดกับลำต้นของข้าว โดยการติดเชื้อเริ่มจากบริเวณขอบน้ำที่พืชสัมผัสและอาการของโรคแพร่กระจายขึ้นไปตามลำต้น การติดเชื้อจะรุนแรงที่สุดในระยะต้นข้าวแตกกอซึ่งเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง สภาพดังกล่าวเป็นสภาวะเหมาะสมกับการแพร่กระจายของโรคทั้งในกอข้าวกอเดียวกันและระหว่างกอข้าวข้างเคียง

สรุปเทคโนโลยี
แบคทีเรีย Bacillus megaterium มีฤทธิ์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Rhizoctonia solani โดยการสร้างสารปฏิชีวนะที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งงานวิจัยนี้ได้พัฒนาสูตรตำรับเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium ให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว

จุดเด่นของเทคโนโลยี
นักวิจัยวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 สูตรคือ แกรนูลละลายน้ำฉีดพ่นและเม็ดฟู่
• ผลิตภัณฑ์สูตรแกรนูลฉีดพ่นและเม็ดฟู่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวได้ดีกว่าสารเคมีฆ่าเชื้อรา
• ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 15 เดือนโดยยังมีปริมาณเชื้อสูงถึง 109 CFU/g
• อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์แกรนูลฉีดพ่น 200 กรัม/ไร่อัตราการใช้ ผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ 70 เม็ด/ไร่
• ใช้งานง่ายในระดับไร่นา

ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
รศ.ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ติดต่อสอบถามข้อมูล
คุณพิศมัย อนุพงศานุกูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 0 2564 6700 ต่อ 3134
โทรสาร : 0 2564 6985
E-mail : phisamai@biotec.or.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน



ที่มา : สวทช


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2010 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 3:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ... หนุนใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ได้แก่ เครื่องดื่มจากผักพื้นบ้าน : น้ำผักเชียงดา น้ำผักหวานบ้าน น้ำว่านหางจระเข้พร้อมดื่ม และ ขนมขบเคี้ยวแบบแท่งเพื่อสุขภาพ แต่ละผลิตภัณฑ์ล้วนเป็นการนำวัตถุดิบในการผลิตจากในประเทศและล้วนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้รักสุขภาพ ที่สำคัญพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชน ขอจำแนกแต่ละผลิตภัณฑ์ดังนี้...

เครื่องดื่มจากผักพื้นบ้าน จาก น้ำผักเชียงดา และ น้ำผักหวานบ้าน ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ และมีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกทั้งผลิตภัณฑ์นี้ยังให้แคลอรีต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่จำหน่ายในท้องตลาด โดย วว.ได้พัฒนาน้ำผักเชียงดาและผักหวานบ้าน ชนิดละ 2 สูตร คือ สูตรธรรมชาติและสูตรน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้สารที่ให้ความ หวานแทนน้ำตาล ให้พลังงานเพียง 15 กิโลแคลอรีต่อหน่วยบริโภค (220 มิลลิลิตร) และมีปริมาณโซเดียมต่ำเพียง 10 มิลลิกรัมเมื่อเทียบผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในท้องตลาดที่ให้พลังงานระหว่าง 45-70 กิโลแคลอรี และมีเกลือโซเดียมระหว่าง 20-55 มิลลิกรัม นับว่าเครื่องดื่มน้ำผักดังกล่าวเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้รักสุขภาพที่ต้องการเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำ ตาลและจำกัดพลังงานที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน

ว่านหางจระเข้พร้อมดื่ม ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบหลัก และเสริมรสชาติผลิตภัณฑ์ด้วยน้ำผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน เช่น ส้ม ฝรั่ง สับปะรด โดยผลิตภัณฑ์ยังคงคุณค่าของว่านหางจระเข้ อย่างครบครัน ช่วยบำรุงร่างกายเนื่องจากการอ่อนเพลียพักผ่อนน้อย และยังเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายของร่างกายเป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาโรคกระเพาะอาหารอักเสบอีกด้วย มี 2 สูตร ได้แก่ น้ำว่านหางจระเข้พร้อมดื่มจากผลไม้เข้มข้น (สีส้มออกเหลือง) และ น้ำว่านหางจระเข้พร้อมดื่มจากผลไม้ธรรมชาติ (สีเขียวอ่อน) โดยเลือกใช้น้ำตาลฟรุกโตส เป็นสารให้ความหวาน รวมทั้ง ยังได้พัฒนาเป็นเครื่องดื่ม ชนิดผง มี 2 สูตร ได้แก่ เครื่องดื่มชนิดผงกลิ่นมะตูมและกลิ่นเก๊กฮวย

ขนมขบเคี้ยวแบบแท่งเพื่อสุขภาพ “ซี-ไรซ์” ใช้วัตถุดิบหลักที่หาได้จากภายในประเทศ ได้แก่ ข้าวและธัญพืช เช่น ถั่วลิสง งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ ผลไม้อบแห้ง และน้ำผึ้ง โดยผลิตภัณฑ์ได้ปรับแต่งกลิ่น รสชาติและ เนื้อสัมผัสของขนมและเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสมกับวัยของกลุ่มผู้บริโภค 3 วัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ทางโภชนาการครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร แร่ธาตุ วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ แต่มีปริมาณไขมันและน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับนำไปรับประทาน ทดแทนมื้ออาหารหรือทานเล่นในยามว่าง

วว.พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ให้แก่ภาคเอกชน เพื่อนำผลิตในเชิงพาณิชย์ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 0-2577-9000 หรือคอลเซ็นเตอร์ วว. โทร. 0-2579-3000 ในวันและเวลา ราชการ.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 4:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลังคาใบตาลป้องกันลูกเห็บ

พายุลูกเห็บนั้นเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารพักอาศัย โดยเฉพาะบริเวณหลังคาที่มักใช้วัสดุมุงหลังคาแผ่นแข็งที่ไม่สามารถต้านทานความเสียหายได้ และเศษวัสดุที่แตกเสียหายอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้พักอาศัยในอาคาร

ชวาน พรรณดวงเนตร นิสิตปริญญาโท คณะสถาปัตย กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดลองทำวิจัยนำวัสดุธรรมชาติ “ใบตาล” มาเป็นวัสดุมุงหลังคาป้องกันลูกเห็บ ซึ่งมีข้อดีมีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนานถึง 5 ปี อีกทั้งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ปลูกและหาง่ายในประเทศไทย อีกทั้งวิธีการที่ทำที่เรียกว่า “หักคอม้า”สามารถเรียนได้ภายใน 5 นาที เทียบกับการผลิตหลังคาแบบอื่นไม่ว่าจะเป็นตับจาก หรือแฝก เป็นต้น สำหรับวิธีทำนั้น เริ่มจากนำใบตาลสดมาผึ่งไว้ครึ่งวัน ผ่าครึ่งใบตาลตามแนวก้านใบ ควั่นก้านใบบริเวณใกล้กับขั้วใบ และเฉือนก้านใบออกเป็นเส้นโดยไม่ให้ขาดออกจากก้านใบ จากนั้นหักก้านใบแล้วใช้ส่วนที่เฉือนออกมาเย็บกับใบตาล โดยตับใบตาลแบบหักคอม้า เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีความยาวตามแนวก้านใบประมาณ 1.4-1.6 เมตร มีความกว้างตั้งฉากก้านใบประมาณ 0.6 เมตร (ไม่รวมปลายใบ)

สำหรับหลังคาที่มุงด้วยใบตาลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แป สามารถใช้ความแข็งแรงของก้านใบตาลมาเป็นแป ส่วนจันทันทำจากไม้ไผ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว หรือเพื่อยืดอายุการใช้งานอาจใช้ไม้จริงเพราะจันทันไม้ไผ่มีอายุการใช้งานราว 3 ปี ทั้งนี้ระยะห่างของจันทันประมาณ 0.4-0.5 เมตร ระยะซ้อนทับด้านข้างประมาณ 0.2 เมตร โดยหันด้านท้องใบขึ้นด้านใบ ซึ่งภายหลังจากมุงหลังคาใบตาลไปแล้ว 1 ปี อาจทำการ มุงทับเพื่อเพิ่มความแรงขึ้น

ชวาน กล่าวว่า งานวิจัยนี้จึงทำทดสอบวัสดุหลังคาใบตาลแบบหักคอม้า สรุปได้ว่าหลังคาใบตาลแบบหักคอม้าสามารถต้านทานความเสียหายจากลูกเห็บที่มีขนาด 5 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่สุดที่เคยพบในประเทศไทย) ได้มากกว่าหลังคาแผ่นแข็งที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด

นักวิจัยคนเดิมกล่าวอีกว่า หลังคาใบตาลเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว ชาวบ้านในจังหวัดเพชรบุรีใช้หลังคาใบตาลมุงโรงเรือนเคี่ยวตาล ซึ่งเขม่าควันไฟที่มาจากเตาเคี่ยวจะช่วยเคลือบผิวใบตาลให้มีความคงทนป้องกันมอดและแมลงได้ และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านใบตาลเป็นวัสดุที่มอดไม่กิน สังเกตได้จากการวางทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือเมื่อนำมามุงหลังคามอดจะเลือกกินไม้ไผ่มากกว่า อย่างไรก็ตามผลยืนยันทาง วิทยาศาสตร์ด้านใบตาลทนต่อแมลงต้องรอการทดสอบด้านวนศาสตร์อีกที

หลังคาใบตาลแบบหักคอม้ายังมีข้อดีอีกหลายประการคือ น้ำหนักที่เบาจึงช่วยลดภาระให้กับโครงสร้างหลังคา ในกระบวนการผลิตของต้นตาลเป็นการตรึงธาตุคาร์บอนในอากาศ โดยการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นส่วนประกอบในการสร้างเป็นใบตาล ซึ่งสวนทางกับกระบวนการผลิตวัสดุอุตสาหกรรมโดยทั่วไป การใช้ใบตาลไม่ต้องทำลายต้นแม่จึงมีผลต่อปัจจัยด้านความยั่งยืนสูง แต่ยังมีสาเหตุที่ทำให้หลังคาใบตาลรวมถึงหลังคาจากวัสดุธรรมชาติชนิดอื่นไม่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ดังนี้วัสดุทางธรรมชาติถูกลดคุณค่าลงด้วยทุนทางสัญลักษณ์ของระบบเศรฐกิจสมัยใหม่ที่เรียกว่า “การครองอำนาจเชิงสัญลักษณ์” (Domination symbolique) ทำให้ทัศนคติของผู้บริโภค มองว่าวัสดุธรรมชาติเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ความยากจน ข้อจำกัดในการเข้าถึงวัสดุของผู้ที่อาศัยในเขตเมือง ข้อจำกัดด้านการลามไฟ หรือยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนของวัสดุ ขาดข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการทำงาน สถาปนิกผู้ออกแบบ ไม่ทราบวิธีการติดตั้ง

สำหรับข้อเสนอแนะ ของการวิจัยหลังคาใบตาลป้องกันลูกเห็บพบว่าใบตาลสามารถป้องกันลูกเห็บได้ แต่ยังขาดการทดลองเรื่องการต้านทานความเร็วลมจากพายุฤดูร้อน ซึ่งอาจทำให้หลังคาเสียหายก่อนที่จะเกิดลูกเห็บจึงเป็นหัวข้อที่อาจนำมาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้มีข้อมูลอ้างอิงตามหลักวิศวกรรมได้ แต่จากการสังเกตพบว่าการใช้งานหลังคาประเภทนี้เป็นยุ้งฉางเก็บเกลือในนาเกลือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสปะทะกับลมแรงได้เนื่องจากเป็นที่โล่ง และอยู่ใกล้ทะล และเมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมทำให้ทราบว่าสามารถใช้ปลายใบตาลในตับใบตาลแบบหักคอม้าร้อยผูกกับก้านใบล่างได้ ทำให้ลดโมเมนต์ที่รอยต่อก้านใบจึงทำให้หลังคาสามารถต้านทานแรงลมได้ดียิ่งขึ้น

ที่ผ่านมาใบตาลเป็นวัสดุพื้นถิ่นทางธรรมชาติที่ถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายอย่างน้อยงานวิจัยจะเป็นตัวจุดประกายในภาคการก่อสร้างหันมามองหลังคาที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ใบตาลเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ.

ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 4:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หายนะแห่งดินเมื่อเผาตอซัง

ในช่วงหน้าแล้งเกษตรกรมักเผาตอซังเพื่อทำนาปรังในพื้นที่มีน้ำเหลือเฟือ ทำให้โลกร้อนขึ้น และทางระบบนิเวศวิทยาเสียหาย ข้อมูลสำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน ให้ข้อมูลถึงผลเสียจากการเผาตอซังข้าวไว้ว่า จะทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป อนุภาคของดินจับตัวกันแน่นและแข็ง ทำให้รากพืชแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอ การหาอาหารลดลงรวมทั้งเชื้อโรคพืชสามารถเข้าทำลายได้ง่าย ทั้งสูญเสียอินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดิน คาร์บอนและอินทรียวัตถุในดินเมื่อถูกเผาจะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไป ในบรรยากาศ ส่วนธาตุอาหารจะ แปรสภาพให้อยู่ในรูปที่สามารถ สูญเสียไปจากดินได้ง่าย

อีกทั้งยังทำลายจุลินทรีย์และแมลงที่เป็นประโยชน์ในดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินลดลง เช่น กิจกรรมเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนจากบรรยา กาศให้อยู่ในรูปของสารประกอบไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรียสารเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน

นอกจากนั้น ตัวห้ำ ตัวเบียนที่อาศัยอยู่ในดินหรือตอซังพืชรวมทั้งจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกเผาทำลายไป มีผลว่าเมื่อระบบนิเวศของดินไม่สมดุลจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น และยังมีผลร้ายเรื่องการสูญเสียน้ำในดิน การเผาตอซังพืชทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศาเซลเซียส น้ำในดินจะระเหยสู่บรรยากาศอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชื้นของดินลดลง

กรมพัฒนาที่ดิน เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การเผาตอซังข้าวและเศษวัสดุทางการเกษตร จึงได้จัดงาน โครงการรณรงค์ไถกลบตอซังขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่บ้านตำแย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการไถกลบตอซัง และเพื่อช่วยฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรดินในพื้นที่ทำการเกษตร และเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรให้เกิดการยอมรับเห็นประโยชน์ในการร่วมใจกันฟื้นฟูและปรับปรุงดิน สู่แนวทางของการใช้ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน

ภายในงานจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การสาธิตการไถกลบตอซัง จากสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 13 และจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย พร้อมทั้งมีการแสดงสินค้าชุมชนจาก 12 ตำบล มีการจัดนิทรรศการทางวิชาการ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมงานได้มีความรู้และเข้าใจความสำคัญของการไถกลบตอซังในเบื้องต้น อาทิ กรมพัฒนาที่ดินได้แนะนำให้เกษตรกรรู้จักวิธีการไถกลบตอซังง่าย ๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช โดยในพื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักชนิดเดียว ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังข้าวไว้ในแปลงนาเพื่อรักษาผิวหน้าดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ทำการเตรียมดิน พร้อมกับไถกลบตอซัง และฟางข้าว ทิ้งไว้เป็นเวลา 20 วัน เพื่อให้วัสดุตอซังย่อยสลายเสียก่อน จึงปล่อยน้ำเข้าสู่แปลงนาเพื่อเตรียมปลูกข้าวต่อไป
ส่วนการปลูกพืชไร่หลังนาหรือปลูกพืชหมุนเวียน สามารถทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวได้ทันที แล้วจึงปลูกพืชไร่ตามมา และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชไร่แล้วให้ทิ้งตอซังไว้ เมื่อถึงฤดูทำนาจึงไถกลบวัสดุเหล่านี้ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก่อนจะทำการปลูกข้าวต่อไป ส่วนการไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกพืชไร่และพืชผักในสภาพพื้นที่ดอน ซึ่งมีการปลูกพืชไร่ และพืชผักหลายชนิด ให้ทำการไถกลบ หรือสับกลบวัสดุตอซังแต่ละครั้งก่อนทำการ ปลูกพืชใหม่ประมาณ 15 วัน

ทั้งนี้การจัดงานดังกล่าว คาดว่าจะช่วยย้ำถึงประโยชน์ของการไถกลบตอซังที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญและปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินมีความโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และความหนาแน่นของดินลดลง และยังช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน อินทรียวัตถุจะดูดซับธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดินเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ช่วยในการลดระดับความเค็มของดิน และรักษาระดับความเป็นกรดและด่างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร

นิยม แดงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนา ที่ดินนครราชสีมา กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนครราชสีมา รณรงค์ไถกลบตอซัง โดยมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรดำเนินการไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเรามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีทั้งหมอดินอาสา พัฒนาที่ดิน มีกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ที่ร่วมดำเนินการมาโดยตลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการไถกลบตอซังเป็นการลดต้นทุนสำหรับพี่น้องชาวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร

“ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรบางรายไม่เข้าใจการใช้ประโยชน์ของการไถกลบตอซัง หากไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ก็ถือว่าการไถกลบตอซังเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้น หรือมีผลกระทบต่อการปรับปรุงดิน” ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา ให้ข้อเท็จจริงของภาพการเผาตอซัง ซึ่งรณรงค์มาหลายปีแต่ก็ ยังพบเห็นการเผา.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 4:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เป็นโอกาสสำคัญที่ได้ร่วมงานแถลงข่าว การเปิดรับจอง “ม่วงเทพรัตน์” ไม้ประดับที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ขยายพันธุ์และพระราชทานชื่อ ทำให้ได้ชมพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้วจ.นครราชสีมา

ภายในโครงการ อาณาเขตขนาด 395 ไร่ คือแหล่งเรียนรู้ด้านพันธุ์พืชนานาชนิดในประเทศไทย ที่ไม่มีสิ่งที่น่าตื่นเต้น หวือหวา เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพรรณไม้ พื้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และพันธุ์กล้วยไม้หายาก ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง

เราอาจนึกไม่ถึงว่าพัฒนาการด้าน ต่าง ๆ ทำให้มีสิ่งก่อสร้างมากมายจะส่งผลต่อพันธุกรรมพืชในบริเวณนั้นต้องสูญสิ้นไป ข้อเท็จจริงก็คือ การทำอ่างเก็บน้ำ ทำถนน การเปลี่ยนแปลงจากป่าธรรมชาติเป็นพื้นที่เกษตรกรรมโรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพันธุกรรมพืชทั้งสิ้น

พืชแต่ละต้น ก็เป็นหนึ่งพันธุกรรม เช่นเดียวกับมนุษย์ ถ้าสูญหายหนึ่งคนก็เท่ากับการเสียพันธุกรรมของบุคคลนั้นไป งานอนุรักษ์ แขนงนี้จึงสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติและมวลมนุษย์ เพราะพืชเป็นอาหารสัตว์

โครงการนี้ เริ่มขึ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับนาย แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา ฝ่ายวิชาการ สำนักพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการ โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) จัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี พ.ศ. 2536 สำหรับการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อพืช และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมตามกรอบของแผนแม่บทของ อพ.สธ. จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 อพ.สธ. จึงได้รับงบประมาณจากสำนักพระราชวัง เพื่อดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของ อพ.สธ. ตามแผน แม่บทระยะ 5 ปีที่สี่ (ตุลาคม พ.ศ. 2549- กันยายน พ.ศ. 2554)

กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมของ อพ.สธ. มี 3 ส่วน คือ 1. กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร เป็นการบริหารจัดการด้านปกปักพันธุกรรมพืช สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและปลูกรักษาพันธุกรรมพืช 2. กรอบการใช้ประโยชน์ เป็นการศึกษาวิจัยในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ประกอบด้วย กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และกิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช 3. กรอบการสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวไทย

กิจกรรมการสร้างจิตสำนึกซึ่งมุ่งเป้าสู่เยาวชน ตลอดจนบุคคลทั่วไป เป็นการฝึกอบรมและจัดสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน เพื่อรวบรวมพรรณไม้มีชีวิต มีที่เก็บพรรณไม้แห้ง ไม้ดอง มีห้องสมุดค้นคว้า มีที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ขณะนี้มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก นอกจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนกว่า 80 แห่ง ร่วมสนองพระราชดำริ ถวายพื้นที่เข้าร่วมโครงการ

สำหรับศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คลองไผ่ กำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นเรือนเพาะชำกล้าไม้ ซึ่งเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชจากพื้นที่ ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ส่วนที่เหลือพัฒนาโดยการปรับปรุงแหล่งน้ำ ทำแปลงปลูกพืชผัก นาข้าว ไม้ผล ไม้ป่าใช้สอย พืชสมุนไพร สร้างสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสาธิต เป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ในการที่จะดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ให้มีความพอเพียง แต่มั่งคั่งและมั่นคง เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นเครือข่ายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ส่วนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการพืชพันธุ์พฤกษศาสตร์, ห้องพิพิธภัณฑ์ พรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง รวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในรูปแบบหนังสือและเอกสาร มีสวนสมุนไพร พื้นที่อนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต, เรือนกล้วยไม้ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมพืชกล้วยไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ มีแปลงศึกษาผักพื้นเมือง ซึ่งรวบรวมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ผักพื้นเมืองจากทั้งสี่ภาคของไทย, แปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ให้ศึกษางานโรงผลิตปุ๋ยชีวภาพจนเกิดความเข้าใจกระจ่างภายในเวลาสั้น ๆ มีแปลงอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชและโรงผลิตชาใบหม่อน และอาคารนิทรรศการหยาดป่าและโรงทอผ้า ซึ่งจะได้เรียนรู้ไม้ย้อมสีธรรมชาติ

เป็นการเรียนรู้ที่คุ้มค่า หากสนใจจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ก็ทำหนังสือขออนุญาตไปยังเลขาธิการพระราชวัง

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ด้วยการขยายพันธุ์ ทำได้หลายวิธี แต่ที่มีประสิทธิภาพและปริมาณมากตามความต้องการ ได้แก่การเพาะเนื้อเยื่อ “ม่วงเทพรัตน์” ก็เป็นอีกชนิดที่ใช้วิธีนี้ ได้ผลดีสามารถออกดอกได้ในขวดเพาะเลี้ยง

ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุ 55 พรรษา ทาง อพ.สธ. ได้จัดจำหน่าย “ม่วงเทพรัตน์” ราคาขวดละ 155 บาท รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายใช้เป็นทุนก่อตั้ง “มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

ติดต่อขอรับใบจองได้ที่ www.rspg.or.th หรือทางโทรศัพท์ 0-2282-1850 0-2282-0665 0-2282-0464 0-2282-7171-4 ต่อ 3201,3203

อยู่กรุงเทพฯ สั่งจองได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.

วีระพันธ์ โตมีบุญ
VeeraphanT@Gmail.com


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 4:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกษตรฯเปิดนิทรรศการมีชีวิต ฝึกสอนระบบการผลิตปศุสัตว์

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ ได้จัดให้มีกิจกรรมฐานเรียนรู้งานด้านปศุสัตว์ ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ เพื่อให้บริการความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจ ศึกษา ดูงานหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบการจัดการผลิตด้านปศุสัตว์เน้นเรื่องหญ้าแพงโกล่า และโคเนื้อ โดยลักษณะของฐานเรียนรู้ด้านปศุสัตว์นี้จัดทำเป็นนิทรรศการมีชีวิตแสดงการสาธิตรวมทั้งบอร์ดนิทรรศการ

โดยกิจกรรมของฐานเรียนรู้ด้านปศุสัตว์ มีทั้งหมด 9 ฐาน แสดงที่ศูนย์ ชัยนาท และเกษตรกรเครือข่าย ส่วนที่ 1 เป็นฐานเรียนรู้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท จำนวน 7 ฐาน ได้แก่ 1.พันธุ์พืชอาหารสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 70 สายพันธุ์ 2.การปลูกสร้างแปลงหญ้าและการสำรองเสบียงสัตว์ 3.โมเดลการใช้ประโยชน์จากแปลงหญ้าในการเลี้ยงโคเนื้อ 4.การผลิตปุ๋ยคอกหมัก 5.การผลิตก๊าซชีวภาพใช้เองในครัวเรือนแบบถุงหมักก๊าซชีวภาพ พีวีซี 6.เครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ในระบบการผลิตหญ้าแห้ง 7.วิธีการผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้งคุณภาพดี

ส่วนที่ 2 ฐานเรียนรู้ที่เกษตรกรเครือข่าย จำนวน 2 ฐาน ได้แก่ 1.รูปแบบการผลิตหญ้าแพงโกล่า จำหน่ายแบบรวมกลุ่มเชิงอุตสาหกรรม 2.รูปแบบการผลิตหญ้าแพงโกล่า จำหน่ายในครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท โทรศัพท์ 0-5640-5056 เว็บไซต์ http://www.dld.go.th/nccn/cnt หัวข้อ การให้บริการ "มุมความรู้"


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/04/2010 4:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เคลื่อนแผนพัฒนา 5 จว.ใต้ เร่งเปิดเวทีประชาคมสำรวจความต้องการเกษตรกร
นายธรณิศร กลิ่นภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข. 9) จ.สงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีนายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้รับรู้ และเข้าใจในแนวทางการการดำเนินงานโครงการ

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 เห็นชอบแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2553-2555 โดยยึด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีมุสลิม เป็นหลักคิดและแนวทางปฏิบัติในการมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาความไม่สงบและเร่งรัดพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยึดแนวทางพระราชทานเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดน โดยมีเป้าหมายยกระดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยจาก 64,000 บาท/ปี เป็นไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท/ปี และเพิ่มมูลค่าการผลิตภาคการเกษตรประมาณปีละ 10,600 ล้านบาท ซึ่งกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ใน 696 หมู่บ้าน โดยจัดทำเวทีประชาคมเพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อภาครัฐสามารถสนับสนุนและช่วยเหลือได้ตรงความต้องการของเกษตรกร ผลการจัดทำเวทีประชาคม มีเกษตรกร 27,757 ราย ที่ยื่นความต้องการด้านภาคการเกษตร ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดย ศูนย์ประเมินผลและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จะทำหน้าที่ติดตามและประเมินผล เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไป


ที่มา : แนวหน้า


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/04/2010 5:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/04/2010 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อนาคตประมงทะเลลึกของไทย

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “โอกาส อุปสรรค การพัฒนาการประมงทะเลลึกของไทย” ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร เมื่อวันก่อน ซึ่งกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดจัดขึ้นเพื่อเปิดเวที รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการประมงทะเลลึกของไทยจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งชาวประมง นักวิชาการ ตลอดจนสถาบันการเงิน เพื่อเปิดมิติการพัฒนาการประมงของไทยออกสู่การประมงในทะเลลึกในอนาคต

ในการนี้ นายธีระวงศ์สมุทร รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำประมงทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำประมง นอกและในน่านน้ำสากล ดังจะเห็นได้จาก นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ได้กำหนดนโยบายการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศและแผนแม่บทการจัดการทะเลไทย ที่กรมประมงได้จัดทำขึ้น โดยได้กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการ ทำประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพชาวประมงของไทยให้มีความสามารถที่จะทำการประมงในแหล่งใหม่ ๆ หรือในบริเวณพื้นที่ที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาใช้ ประโยชน์มากขึ้น

ทางด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า บริเวณ มหาสมุทรอินเดียจัดเป็นพื้นที่ทำการประมงทะเลลึกที่น่าจับตา เนื่องจากประเทศไทยมีเขตเศรษฐกิจจำเพาะในฝั่งทะเลอันดามันถึง 37,000 ตารางไมล์ ต่อเนื่อง ไปยังมหาสมุทรอินเดีย โดยไทยมีสิทธิอันชอบธรรมในการเข้าทำการประมงในมหาสมุทรอินเดีย เพราะเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการทูน่าในมหาสมุทรอินเดียและ ที่สำคัญบริเวณดังกล่าวไม่ไกลจากท่าเทียบ เรือภูเก็ต ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่มีศักยภาพ ในการรองรับเรือที่ทำการประมงทะเลลึก อีกทั้งยังมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การทำประมงทะเล ลึกของไทยยังไม่ได้มีการพัฒนามากเท่า ที่ควร ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย ได้เดินหน้าจัดทำโครงการปรับ เปลี่ยนเรือประมงเข้าไปทำการประมง น้ำลึก อาทิ การปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงอวนลากเป็นเครื่องมือเบ็ดราวทูน่า ซึ่งมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้วเป็นระยะเวลากว่า2 ปี ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชาวประมงไทย มีแนวโน้มและความเป็นไปได้ กรมประมงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการพัฒนา การประมงเบ็ดราวทูน่า” ขึ้น และได้นำชาวประมงไปดูงานที่ประเทศอินเดีย ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับอินเดีย โดยมุ่งหวังที่จะผลักดันและกระตุ้นให้ชาวประมงมีความมั่นใจ กล้าที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือเข้า ทำการประมงเบ็ดราวทูน่าในทะเลสากล ต่อไป.


ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 5 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©