-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 25/02/2010 10:20 pm    ชื่อกระทู้: ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต้นไม้ฟังเพลง *

แปลก แต่จริง และมีคนทำแล้ว

คุณดำรงเล่าว่า เคยรู้จักอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดท่านหนึ่ง ท่านปลูกลิ้นจี่เป็นสวนเลย อยู่ใกล้ที่ดิน
ของคุณดำรง ที่เชียงใหม่ (หลังวัดช่างเคี่ยน) ท่านเปิดเพลงให้ต้นลิ้นจี่ฟัง โดยเอาลำโพงไปติดไว้
ในสวน นัยว่าจะช่วยให้ต้นลิ้นจี่เจริญเติบโต ออกดอกออกผลดี คุณผู้อ่านฟังแล้วอาจจะหัวเราะ
เยาะ หาว่าเป็นถึงผู้ว่าฯยังเพี้ยนได้ขนาดนี้เชียวหรือ แต่ดิฉันอยากจะบอกว่า แม้แต่นักวิทยา-ศาสตร์
และคนระดับศาสตราจารย์ยังเพี้ยนเลยค่ะ

เมื่อ พ.ศ. 2516 โดโรธี รีแทลแลค ได้พิมพ์หนังสือชื่อ The Sound of Music and Plant
(เสียงดนตรีและพืช) โดยเล่ารายละเอียดในการทดลองของเธอซึ่งทำที่วิทยาลัย Woman’s
College ในเดนเวอร์ ให้ฟังว่า เธอได้นำพืชไปไว้ในห้องทำการทดลอง โดยวางพืชแยกไว้ในห้อง
ต่างๆ กัน ซึ่งทุกห้องมีลำโพงสำหรับให้เธอปล่อยเสียง เข้าไปได้ ต้นไม้ในแต่ละห้องจะได้เสียง
เพลง ต่างกัน เธอเฝ้าดูการทดลองและจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน โดโรธีได้พบผล
การทดลองอันน่าทึ่งดังนี้

การทดลองที่หนึ่ง เธอเปิดเพลงที่มีจังหวะคงที่ให้ต้นไม้ในห้องทดลองทั้งสามฟัง ห้องแรกเธอเปิด
เพลงให้ฟังติดต่อกัน 8 ชั่วโมง ห้องที่สองเปิดให้ฟัง 3 ชั่วโมง ห้องที่สามไม่เปิดเสียงใดๆ เลย ผล
การทดลองปรากฏว่า ต้นไม้ทุกต้นที่อยู่กับเพลงนานติดต่อกัน 8 ชั่วโมง โทรม และตายภายใน
14 วัน ส่วนต้นไม้ทุกต้นที่อยู่กับเพลงเพียง วันละ 3 ชั่วโมง เจริญเติบโตสมบูรณ์ดียิ่งกว่าต้นที่ไม่
ได้ยินเสียงอะไรเลย

ผลการทดลองนี้ไปพ้องกับการทดลองของ Muzak Corporation ในต้นทศวรรษ 1940 (พ.
ศ. 2483) เพื่อทำการศึกษาถึงการเปิดเพลงให้คนงานในโรงงานฟัง ผลการทดลองออกมาว่า ถ้า
เปิดเพลงให้พนักงานฟังต่อเนื่องกันนานๆ คนงานจะเหนื่อย อ่อนเพลีย ให้ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าเปิด
เพียงสองสามชั่วโมง วันละสองสามครั้ง คนงานจะกระปรี้กระเปร่าและมีอัตราการผลิตดีกว่า และ
ทำงานได้ดีกว่าคนงานที่ไม่ได้ฟังเพลงเลย

การทดลองครั้งที่สอง โดโรธี ใช้ห้องทดลองสองห้องและเปลี่ยนพืชใหม่ เธอเปิดวิทยุทั้งสอง
ห้อง ห้องแรกเปิดสถานีเพลงร็อค ห้องที่สองเปิดเพลงอ่อนหวาน ผลการทดลองปรากฏว่า หลัง
จาก 5 วัน ต้นไม้ที่ได้ฟังเพลงอ่อนหวานมีความสมบูรณ์ดี และโน้มกิ่งเข้าหาวิทยุ ส่วนต้นไม้ ที่ฟัง
เพลงร็อคนั้น ครึ่งหนึ่งใบเริ่มลีบต้นที่เหลือหยุดเจริญเติบโต สองสัปดาห์ถัดมา ต้นไม้ที่ฟังเพลง
อ่อนหวานมีขนาดเหมาะสม เขียวขจี และโน้มเข้าหาเสียงเพลงประมาณ 15-20 องศา ส่วนต้นไม้
ที่ฟังเพลงร็อค สูงชะลูดและห้อยลง ปลายยอดเบนออกจากทิศทางเสียงเพลง วันที่ 16 ของการ
ทดลอง พืชในห้อง ที่มีเพลงนิ่มนวลเจริญเติบโตดี มีชีวิตชีวา สวยงาม ส่วนพืชที่อยู่ในห้องร็อค
ใกล้ตายเกือบหมด

การทดลองต่อไป โดโรธีเปิดเทปเพลงร็อคของนักร้องต่างๆ กัน 3 คน ผลการทดลองยังเหมือน
เดิม คือ ต้นไม้เอนหนีเสียงเพลงหมด เธอคิดว่าเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะในเพลงร็อคทำให้ต้นไม้
เบนหนี เธอจึงเปลี่ยนการทดลองใหม่โดยให้ต้นไม้ ฟังเพลงชนิดอื่นที่ใช้กลองโลหะตี ปรากฏว่า
ต้นไม้เบนหนีเพียงเล็กน้อย ไม่มากเท่าต้นไม้ที่ฟังเพลงร็อค โดโรธีทำการทดลองต่อ โดยให้ต้นไม้
ฟังเพลงเดิมแต่เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องสายเล่น ปรากฏว่าคราวนี้ต้นไม้ โน้มเข้าหาเสียง การทดลอง
ต่อมา โดโรธีวางต้นไม้ ในห้องทดลอง 3 ห้องเหมือนเดิม ห้องแรกเปิดเพลงแนว North
Indian Classical Music ห้องที่สองเปิดเพลงของ Bach บรรเลงด้วยออร์แกน และห้องที่สาม
ไม่เปิดเพลงใดๆ ผลการทดลองที่ได้คือ ต้นไม้ ชอบเพลง North Indian Classical
Music มากที่สุด และโน้มกิ่งเข้าหาเสียงมากที่สุด

เธอทำการทดลองต่อกับเพลงประเภทอื่น ผลคือ ต้นไม้ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ กับเพลงแนวคันทรี่และ
แนวเวสเทิร์น ผลที่ได้ไม่ต่างกับต้นไม้ที่ไม่ได้ฟังเสียงใดๆ อย่างไรก็ตามต้นไม้กลับชอบเพลงแจ๊ส
มาก



ที่มา http://www.koosangkoosom.com/pages/column_detail.asp?
hidID=23&hidArticleID=684


ผมคิดว่านอกเหนือจากปุ๋ยและยาและโฮโมน เสียงเพลงน่าจะเป็นตัวบำรุงต้นไม้ที่ดีอีก 1 ปัจจัยนะ
หรือเพื่อนๆทุกท่านคิดเห็นเป็นประการใดเอ่ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 26/02/2010 6:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ แห่ง ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เล่าให้ฟังว่า ที่ญี่ปุ่น นักวิชาการ (ลุง
คิมจำชื่อนักวิชาการไม่ได้) ได้ทดลองปลูกไม้ (ลุงคิมจำชื่อไม้ไม่ได้) ในห้องทดลอง 6 กระถาง
ไม้อย่างเดียวกัน เริ่มต้นเหมือนกัน ทุกอย่างที่เป็นปัจจัยเพาะปลูกอย่างเดียวกันทั้งหมด จากนั้น
นักวิชาการท่านนั้นได้ใช้มือสัมผัส ลูบๆ คลำๆ ไม้ในกระถางแต่ละต้น ทุกวัน สม่ำเสมอ.....
กระทั่งเวลาผ่านไป 1-2-3 เดือน พบว่าอัตราการเจริญเติบโตของไม้ทั้ง 6 กระถางต่างกันอย่าง
เห็นได้ชัด นั่นคือ กระถางที่สัมผัสมากกว่าจะเจริญเติบโตมากกว่าต้นที่สัมผัสน้อยกว่า อัตราการ
เจริญเติบโตมากน้อยที่ต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับการได้ถูกสัมผัสมากน้อยต่างกัน ในขณะที่ต้นที่ไม่ได้
ถูกสัมผัสเลย แทบจะไม่เจริญเติบโตเลย การเจริญเติบโตนี้ เจริญเติบโตทุกส่วน ตั้งแต่ปลายใบ
ถึงปลายรากเหมือนกันทั้งต้น

เคยนำเรื่องและรูปประกอบลงตีพิมพ์ในวารสารเกษตรใหม่ฉบับแรกๆ วันนี้ไม่มีวารสารฉบับนั้นแล้ว

เรื่องการสัมผัสต้นพืชด้วยมือเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของต้นพืชได้ สาเหตุก็น่าจะไม่ต่างกับ
ต้นไม้ได้ฟังเพลงนะ.....ว่าไหม


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/04/2010 8:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 28/02/2010 7:05 pm    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'กระถินยักษ์' พืชพลังงานเชื้อเพลิงร่วมป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล

ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี มุ่งให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเป็นหลักของ
ประเทศแทนการนำเข้าน้ำมัน โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นร้อยละ
20 ของการใช้พลังงานในปี 2565 ซึ่งพลังงานทดแทนที่มีการส่งเสริมให้มีการนำมาใช้สูงสุดคือ
พลังงานชีวมวล จำนวน 3,700 เมกะวัตต์ หนึ่งในพลังงานชีวมวลที่น่าสนใจคือ นำไม้โตเร็วมาเป็น
เชื้อเพลิงชีวมวล

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(มทส.) จัดทำโครงการ “ศึกษาความเป็นไปได้การปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานชีวมวล” เพื่อ
แก้ไขปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับผลิตไฟฟ้าและทำความร้อน และเพื่อส่งเสริม
การขยายพื้นที่ป่าโตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น จาก
การศึกษาพบว่า กระถินยักษ์ กระถินเทพา และยูคาลิปตัส เป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและ
ปลูกง่าย

วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. เล่าให้
ฟังว่า มหาวิทยาลัยได้ทำโครงการวิจัยการปลูกกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานชีวมวลว่าตั้งแต่ปี
2547 จนนับถึงปัจจุบันกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่นำร่อง 4 แห่งด้วยกัน โดยการสนับสนุนด้านงบ
ประมาณ และเมล็ดพันธุ์ และองค์ความรู้จาก มทส. ได้แก่โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 จ.ลพบุรี
ในพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่ ภายใต้ความดูแลของวัดพระบาทน้ำพุ โรงไฟฟ้าด่านช้าง จ.
สุพรรณบุรี ประมาณ 2,000 ไร่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา จำนวน 300 ไร่
สามารถนำมาใช้เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าได้แล้ว โดย กระถินยักษ์สามารถใช้ในโรงไฟฟ้าด่านช้าง ที่มี
กำลังการผลิตไฟฟ้า 30 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงจากกระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่ 5,000 ตัน โดย สัด
ส่วนของจำนวนเชื้อเพลิงดังกล่าวผลิตไฟฟ้าได้ 0.7 เมกะวัตต์

ขณะที่ในพื้นที่สำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
ในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของวัดพระบาทน้ำพุ ที่กำลังรอโรงไฟฟ้ากำลัง
การผลิต 1 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโครงการต้นแบบบ้านพักผู้ป่วยในระยะสุดท้าย รวม
ทั้งพื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ของมหาวิทยาลัยสามารถที่จะป้อนให้โรงไฟฟ้า ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกไม้โต
เร็วในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ประมาณ 500 ไร่ และพื้นที่ ของเกษตรกรบริเวณใกล้เคียง
จำนวน 500 ไร่ ทั้งนี้มีเป้าหมายปลูกไม้โตเร็วให้ได้ 4,000 ไร่ ซึ่ง มทส. ได้สนับสนุนเทคโนโลยี
การเพาะพันธุ์ โดยมีการสร้างแปลงเพาะในโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 มีกำลังการผลิต
200,000 กล้าต่อเดือน สำหรับไม้โตเร็วเหล่านี้จะนำไปป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 1.5 เมกะ
วัตต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานร่วม เป้าหมายเพื่อการผลิตพลังงานชีวมวลของภาครัฐ

ทั้งนี้มีการปลูกไม้โตเร็วในโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นพลังงาน
ชีวมวลแล้วเกือบ 8,000 ไร่ และมีการแจกจ่ายกล้าไม้เพื่อปลูกไปแล้วกว่า 1.5 ล้านตัน และ
เมล็ดพันธุ์กว่า 1,000 กิโลกรัม โดยไม้ที่โตเต็มที่แล้วจะถูกป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าดัง
กล่าว ในฐานะเป็นพลังงานร่วม

หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวมวล อาจารย์คณะวิศวกรรมเกษตร มทส. กล่าวต่อว่า ในบรรดา
พืชที่ให้พลังงานชีวมวล กระถินยักษ์ เป็นพืชที่น่าสนใจและทดลองแล้วได้ผลดี เพราะเป็นไม้โต
เร็ว ใช้ระยะเวลาปลูก 4-5 ปีสามารถตัดมาใช้เพื่อทำเชื้อเพลิงได้ อีกทั้งเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก
นัก กระถินยักษ์ในตระกูลถั่วที่สามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาใช้ นอกจากคุณสมบัติดีด้านโตเร็ว
แล้ว ยังสามารถทำเยื่อกระดาษเหมือนกับต้นยูคาลิปตัสได้ แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะโรงงานเยื่อ
กระดาษในบ้านเราออกแบบเครื่องจักรมาสำหรับยูคาลิปตัส ซึ่งในสมัยหนึ่ง เคยมีการส่งเสริมให้
ปลูกกระถินยักษ์เพื่อผลิตเยื่อกระดาษแต่เกิดโรคเพลี้ยไก่ฟ้าระบาดในปี 2520 ทำให้การปลูก
กระถินยักษ์ไม่ได้รับความสนใจ

ขณะที่ยูคาลิปตัสเริ่มได้รับความนิยม ในฐานะไม้โตเร็วหมือนกัน แต่กระถิ่นยักษ์ถือว่าเป็นไม้เบิก
นำได้ดีกว่า ในพื้นที่แห้งแล้งภูเขาหัวโล้น นำกระถินยักษ์ไปปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและเป็นไม้
เบิกนำได้ แต่ถ้ามองในแง่คุณภาพดิน ทั้งไม้ยูคาลิปตัสและกระถินยักษ์เป็นพืชที่เติบโตเร็ว ต้องใช้
ธาตุอาหารจากดินไม่ต่างกัน การปลูกพืชชนิดนี้ต้องดูแลบำรุงดิน แต่กระถินยักษ์ดึงไนโตรเจน
ออกจากดินได้น้อยกว่า เพราะ มีไลโซเปียม ดึงไนโตรเจนในอากาศออกมาใช้เมื่อเทียบความ
เสื่อมของดินจึงมีน้อยกว่ายูคาลิปตัส ขณะที่ยอดกระถิน และใบนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนปัญหา
แมลงศัตรูพืชของกระถินยักษ์ ปัจจุบันสามารถใช้ตัวห้ำตัวเบียนเพื่อจัดการปัญหาได้แล้ว

อย่างไรก็ตามที่จะปลูกไม้โตเร็วอย่างกระถินยักษ์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนในพื้นที่อื่น ๆ นั้น ขึ้นอยู่
กับพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวน 1,000 ไร่ขึ้นไป คำนึงถึงเส้นทางการขนส่ง มีโรงไฟฟ้า
ในพื้นที่ เหมาะกับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผลิตไฟฟ้าใช้ในอุตสาหกรรม เฉกเช่นเดียวกับพลังงานชี
วมวลต่าง ๆ ที่กำลังศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง สิ่งเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งของ
พลังงานทดแทนที่กำลังมีอนาคต ที่จะมาใช้ช่วยเสริมเป็นพลังงานหลัก แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบ
ด้านอื่นควบคู่กันไปด้วย



ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=522&contentId=51176
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 01/03/2010 12:33 pm    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


รื้อใหญ่ระบบปลูกข้าวทั่วปท. เกษตรฯเล็งนำร่อง 22 จังหวัด
สกัด "วิกฤติน้ำ-เพลี้ยระบาด"


นายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการจัดทำระบบ
การปลูกข้าวมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการจัดระบบการปลูกข้าวเบื้องต้น เพื่อปรับระบบการปลูก
ข้าวใหม่ให้สอดคล้องกับการจัดสรรน้ำชลประทานตรงกับช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม พร้อม
ทั้งมีความเหมาะสมกับการปลูกพืชหลังนา พร้อมกับมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกัน
วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูกข้าวจริงในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะความต้องการการใช้น้ำของ
เกษตรกร และรอบการปลูกข้าวของเกษตรกรซึ่งในบางพื้นที่ยังพบว่ามีการเพาะปลูกข้าวปีละ 3
ครั้ง ที่ข้อมูลทางวิชาการพบว่า ใช้ต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดศัตรูพืช
และผลผลิตต่อไร่ต่ำ

สำหรับจังหวัดเป้าหมายนั้น จะเป็นพื้นที่ในเขตชลประทานที่สามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี
ประมาณ 9.5 ล้านไร่ ใน 22 จังหวัดทางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก
ข้าวที่สำคัญของประเทศ ขณะเดียวกัน ยังเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการพิจารณากรอบมาตรการ หรือข้อกำหนดในการสนับสนุน หรือชักจูงให้
เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจัดระบบการปลูกข้าว อาทิ มาตรการสนับสนุนจัดหาแหล่งเมล็ดข้าวพันธุ์
ดี การจัดหาตลาดรองรับ รวมถึงกรณีที่เกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 2 ครั้งต่อไป ทั้งนี้ จะมีการ
พิจารณารายละเอียดของระบบการเพาะปลูกอีกครั้ง ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรม
การนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต ซึ่งมี รมว.เกษตรและสหกรณ์เป็นประธานพิจารณา ก่อน
เสนอต่อไปยังคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติเห็นชอบ เพื่อไปสู่ขั้นตอนการเปิดรับฟังความ
เห็นจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยเร็วต่อไป

"ที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำจริงเกินกว่าปริมาณน้ำเป้าหมายต่อเนื่องทุกปี โดยปริมาณน้ำที่จะจัด
สรรได้จากเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพลอยู่ที่ 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำที่ถูกใช้
จริงมีถึง 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์การใช้น้ำเป็นเช่นนี้ต่อไป ภาค
การเกษตรอาจจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงได้ในอนาคต ดังนั้นการจัดระบบการ
ปลูกข้าวให้สอดคล้องกับการจัดสรรน้ำชลประทานจึงเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนิน
การ ซึ่งหากแนวทางที่วางไว้ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนิน
การได้ในฤดูการผลิตข้าวนาปีประมาณเดือนมกราคมปีหน้า" นายยุคล กล่าว



ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=201423
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 02/03/2010 8:19 pm    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ละมุดยักษ์มาเลย์" คือ ซีเอ็ม.19 *

ผู้ อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่ชื่นชอบปลูกไม้ผลกินได้ โดยเฉพาะละมุด สงสัยว่า "ละมุดยักษ์มา
เลย์" คือละมุดอะไร ซึ่งความจริงแล้ว ละมุดดังกล่าวก็คือ "ละมุด ซีเอ็ม.19" ที่เคยแนะนำใน
คอลัมน์ไปแล้ว เป็นละมุดของประเทศมาเลเซีย ที่ "สถาบันวิจัยและพัฒนา การเกษตรมาเลเซีย"
หรือ (MARDI) ได้ใช้ความพยายามนานถึง 12 ปี ทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ละมุดชนิดต่างๆ
จำนวนกว่า 30 สายพันธุ์ จนในที่สุดก็ได้พันธุ์ "ซีเอ็ม.19" หรือ "ละมุดยักษ์มาเลย์" มี ชื่อเฉพาะ
ว่า (CIRA MEGA) มีลักษณะพิเศษคือ

ผล มีขนาดใหญ่มาก เมื่อผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยถึง 594 กรัมต่อผล เนื้อผลมีรสชาติหวาน
หอมอร่อยมาก ไม่เละแม้เนื้อจะสุกเต็มที่ และ เปลือกผลสามารถรับประทานได้พร้อมกับเนื้อไม่
ต้องเสียเวลาปอกเปลือก รสชาติยังคงหวานหอม ไม่มีรสขมหรือฝาดเจือปนเลย จึงทำให้ "ละมุด
ยักษ์ มาเลย์" เป็นที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างกว้างขวางในประเทศไทยเวลานี้ เนื่องจาก
เป็นละมุดที่มีผลดก ปลูกแล้วคุ้มค่า ทั้งปลูกเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกหลายๆต้นเพื่อ
เก็บผลขาย

อย่าง ไรก็ตาม มีผู้ปลูกจำนวนมากแยกแยะไม่ออกระหว่าง "ละมุดยักษ์มาเลย์" กับละมุดสาลี่
เวียดนาม เพราะมีลักษณะผลและขนาดใกล้เคียงกันมาก จึงขอชี้ข้อแตกต่างให้ทราบดังนี้คือ ขอบ
ใบของ "ละมุดยักษ์มาเลย์" จะเรียบ ส่วนของเวียดนามเป็นคลื่น เมล็ดของ "ละมุดยักษ์ มาเลย์"
มี 1 เมล็ด ต่อ 1 ผล ของเวียดนามมี 2-4 เมล็ดต่อผล ผลของละมุดเวียดนามค่อนข้างกลม ส่วน
ผลของ "ละมุดยักษ์ มาเลย์" มี 2 รูปแบบคือ รูปกลม แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และรูปรีต่างกัน
ชัดเจน ที่สำคัญเนื้อของ "ละมุดยักษ์มาเลย์" จะมีความละเอียดกว่า ไม่เป็นทราย รสหวานจัดมาก
หากนำผลสุกเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นานกว่า 10 วัน รสชาติยังเหมือนเดิม

ละมุด ยักษ์มาเลย์ เป็นไม้ ยืนต้น สูง 3-5 เมตร แตกกิ่งก้านแน่น ปลูกได้ในดินทั่วไปของประเทศ
ไทย เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งดีมาก ติดผลดกทั้งต้น ในหนึ่งต้นจะมีผล 2 รูปทรงคือ
กลม และกลมรี หลังปลูก 3-4 ปี จะติดผลชุดแรก และติดผลดกสม่ำเสมอ นิยมขยายพันธุ์ด้วย
เมล็ดและเสียบยอด ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก และ ดูต้นจริงจำนวนมาก ไปชมและติดต่อได้ที่
สวนของ "คุณประ-ภาส สุภาผล" เลขที่ 33/4 หมู่ 7 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หรือ
โทร. 08-0646-4699 ราคาและวิธีปลูกให้ได้ผลผลิตดีสอบถามกันเองครับ.


ที่มา http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=852:qq--19&catid=13:2009-07-22-
02-38-10&Itemid=18
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 05/03/2010 10:53 am    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตัด ไม้สัก-ไม้ยาง มั่วถึงคุก กรมป่าไม้เตือน
ต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง แม้จะปลูกในที่ดินตัวเอง


นายสมชัย เพียรสถาพร อธิบดีกรมป่าไม้ เผยว่า เนื่องจากไม้สักและไม้ยาง เป็นไม้หวงห้ามตามพระ
ราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่กำหนดว่า การตัดฟันออกต้องขออนุญาต โดยในต่างจังหวัดให้ไป
ยื่นคำขออนุญาตทำไม้ ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ส่วนในกรุงเทพ
มหานครให้ยื่นคำขอที่กลุ่มงานอนุญาตไม้และของป่า กองการอนุญาต กรมป่าไม้ หากฝ่าฝืนและ
ถูกจับได้จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

สำหรับหลักฐานประกอบคำขอประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชนผู้ขออนุญาต สำเนาทะเบียนบ้าน
ผู้ขออนุญาต หลักฐานกรรมสิทธิ์ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 น.ส.3 ก ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน
รับรองสำเนาถูกต้องตรงกับคู่ฉบับของเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่า
ธรรมเนียมใบอนุญาต ฉบับละ 5 บาท ค่าธรรมเนียมใบคู่มือคนงาน ฉบับละ 1 บาท ส่วนค่าภาค
หลวงไม้สักและไม้ยางในที่ดินที่มีโฉนดที่ดินได้รับการยกเว้นค่าภาคหลวง นอกจากนี้การนำไม้
หวงห้ามออกจากที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเรียบร้อยแล้ว ไปใช้ประโยชน์ยังพื้นที่อื่น จะ
ต้องยิ่นคำขอออกใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ที่
ไม้นั้นขึ้นอยู่ และในกรุงเทพฯให้ไปยื่นคำขอออกใบ้เบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ ณ ด่านป่าไม้
กรุงเทพฯ ส่วนด่านป่าไม้ สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า

ส่วนไม้อื่นๆทุกชนิด ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ราษฎรสามารถปลูกและนำไป
ใช้ประโยชน์ได้โดยเสรี ไม่ต้องขออนุญาตผู้ได และเพื่อความสะดวกของราษฎรในการนำไม้ไปใช้
ประโยชน์สามารถไปขอให้ทางราชการอำนวยความสะดวก โดยออกหนังสือรับรองให้ตามระเบียบ
ตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทย โดยยื่นคำขอหนังสือรับรองดังกล่าวที่อำเภอท้องที่ที่ไม้นั้น
ขึ้นอยู่ สำหรับรายละเอียดการขอหนังสือรับรอง สามารถสอบถามได้ที่สำหนักงานทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทุกจังหวัด หรือกลุ่มงานอนุญาตไม้และของป่า กองอนุญาต กรม
ป่าไม้



ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=201990
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 05/03/2010 11:10 am    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะขามป้อมยักษ์อินเดีย *

จากผลงานวิจัยจากหลายประเทศพบตรงกันว่ามะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของสารแทน
นินสูงเป็นชนิดที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระต้านสารก่อมะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง กำจัด
สารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกายและในผลของมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซีสูงที่สุดชนิด
หนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ

วิตามิน ซี.ที่พบอยู่ในผลมะขามป้อมมีมากที่สุดในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับพืชทุกชนิด ที่สำคัญที่
หลายคนมองข้ามและไม่รู้ก็คือ ในผลของมะขามป้อมจะมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์ วิตามิน
ซี. ทำให้วิตามิน ซี. คงตัวอยู่ได้นาน ในผลแห้งของมะขามป้อมที่เก็บไว้ในตู้เย็น ถ้าเก็บผลมะขาม
ป้อมผลแห้งไว้ในตู้เย็นนาน 1 ปี จะเสียวิตามิน ซี.ไปเพียง 20% เท่านั้น คนอินเดียมีความเชื่อว่า
ถ้ารับประทานผลมะขามป้อมเป็นประจำ จะช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้มีความพอเหมาะพอดี การ
ทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งเป็นผลต่อการป้องกันโรคได้

โดยปกติในบ้านเราจะพบเห็นผลมะขามป้อมที่มีขนาดของผลเล็กแต่ถ้าผลที่ใหญ่ที่สุดจะมีเส้นผ่า
ศูนย์กลางไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ชาวจังหวัดนครปฐม ได้มะขามป้อมมาจาก
แม่ชีท่านหนึ่งที่ไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย เมื่อนำมา ปลูกและให้ผลผลิตแล้วพบว่ามีขนาดผล
ใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 4.5-5.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 นิ้วเศษ ผล
อ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อผลแก่สีของผิวจะ เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อมีสีขาวนวลคล้ายน้ำนม
แต่ละผลจะมีกลีบแบ่งเป็นช่วง ๆ 6 กลีบ เมื่อนำผลแก่มารับประทานสดจะมีรสฝาด (ความฝาด
เกิดจากสารแทนนิน) อมเปรี้ยวและติดขมเล็กน้อย แต่เมื่ออมไว้สักครู่จะหวานชุ่มคอ เมื่อดื่มน้ำ
ตามลงไปจะยังหวานชุ่มคอเป็นเวลานาน แก้ไอและแก้กระหายน้ำได้ดีมาก

พ.อ.อ.กิติฯ ยังได้บอกถึงวิธีการปลูกและการขยายพันธุ์มะขามป้อมยักษ์อินเดียว่า ลักษณะการ
ออกดอกและติดผลในธรรมชาติ เมื่อผ่านฤดูหนาวต้นมะขามป้อมจะผลัดใบ เมื่อถึงช่วงปลายเดือน
ธันวาคม ต้นจะเริ่มออกใบอ่อนพร้อมดอกและมีการติดผลหลายรุ่นกว่าจะเก็บผลหมดประมาณ
ปลายเดือนตุลาคม ซึ่งมีอายุของการเก็บเกี่ยวจากเริ่มติดผลอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เวลา
ประมาณ 7-8 เดือน

ในการขยายพันธุ์ถ้าเพาะด้วยเมล็ดจะต้องใช้เวลานานถึง 7-8 ปี กว่าต้นจะออกดอกและให้ผล
ผลิต แต่ถ้าขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่งเมื่อนำไปปลูกจะ เริ่มให้ผลผลิตภายใน 1 ปี และเมื่อต้น
มะขามป้อมยักษ์ มีอายุได้ 3-5 ปี จะให้ผลผลิต 50-80 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี, เมื่ออายุต้น 5-7 ปี
จะให้ผลผลิต 100-150 ต่อ ต้นต่อปีและเมื่อต้นมีอายุเกิน 20 ปีขึ้นไปจะให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง
300-500 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี.



พ.อ.อ.กิติ ชุ่มสกุล ไร่ขิงพันธุ์ไม้ (081)943-2231 : ลุงคิม
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ : รายงาน
ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=52129
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 05/03/2010 11:19 am    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

'ชันโรง' ตัวช่วยเกษตรกรผสมเกสรผลไม้

ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร มีผลงานด้านการศึกษาวิจัย
เพื่อขยายผลสู่เกษตรกรมากมายหลายรายการด้วยกัน และหนึ่งในนั้นก็มีการศึกษาชันโรงเพื่อนำมา
เป็นตัวช่วยเกษตรกรในการผสมเกสรดอกไม้โดยเฉพาะไม้ผล เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็ม
หน่วย

หนึ่งในทีมงานที่ทำหน้าที่ศึกษาเรื่องนี้ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า ชันโรงนั้น เป็นแมลงสังคมกลุ่มเดียว
กับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กไน ไม่ ดุร้าย มีขนาดเล็กกว่าผึ้งพันธุ์ประมาณ 2-3 เท่า แพร่กระจายอยู่ทั่วทุก
ภาคของประเทศ เป็นแมลงที่ปรับตัวเก่ง ตามธรรมชาติอาศัยในรู โพรงต้นไม้ โพรงใต้ดิน รังของ
ชันโรงใช้ทำประโยชน์ได้มากมาย และนอกจากการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งของชันโรงแล้วความสามารถ
เป็นเลิศตามธรรมชาติอีกประการก็คือการผสมเกสรดอกไม้

การเลี้ยงชันโรงเพื่อผสมเกสร ก่อประโยชน์แก่เกษตรกรโดยตรง เพราะการติดผลของพืชผลหลาย
ชนิดต้องอาศัยการผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพของชันโรง ผลผลิตของพืชผลที่เพิ่มขึ้นคำนวณเป็น
เม็ดเงินออกมาแล้วมีจำนวนมหาศาล

การเลี้ยงก็ไม่ยาก สามารถนำมาเลี้ยงในกล่องขนาดเล็ก ใช้เนื้อที่ในการเพาะเลี้ยงน้อย และ
เคลื่อนย้ายกล่องไปตามสวนที่ต้องการใช้ชันโรงผสมเกสรได้สะดวก ปัจจุบันชาวสวนโดยส่วนใหญ่
นิยมเลี้ยงชันโรงเพื่อการนี้ การเลือกชนิดของชันโรงที่จะนำมาเลี้ยง อันดับแรกจะต้องเลือกชนิดที่
ปรับตัวและทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ ไม่ดุร้ายมาก
และไม่รบกวน มีความกระตือรือร้น ขยายพันธุ์ได้ง่าย นางพญามีประสิทธิภาพในการวางไข่ได้
ปริมาณมาก และทนต่อสภาพแวดล้อมเข้ากับที่อยู่ใหม่ได้ดี มีประสิทธิภาพทนต่อตัวเบียนศัตรูของ
ชันโรงได้ดี

สำหรับกล่องเลี้ยงนั้น ควรเป็นกล่องที่รักษาอุณหภูมิได้คงที่ และคงทนต่อสภาพแวดล้อมภูมิ
อากาศได้ การวางรังชันโรง นอกจากจะต้องสำรวจดูความเหมาะสม สถานที่ตั้งรัง บริเวณรอบ ๆ
สถานที่ พืชอาหาร ความปลอดภัยจากสารเคมี ศัตรูชันโรง รวมทั้งสภาพลมและการจัดการ รัง แล้ว
ก็ควรมีขาตั้งรังป้องกันมด โดยทาน้ำมันขี้โล้ที่ขาตั้ง หรือทำที่แขวน บริเวณที่ตั้งควรมีพืชอาหาร
เพียงพอ และสมดุลกันกับปริมาณของชันโรง วางรังชันโรงให้กระจายครอบคลุมพื้นที่ เพื่อ
ประสิทธิภาพในการหาอาหารและผสมเกสรควรตรวจสภาพรังอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจดู
ปริมาณการเจริญเติบโต สภาพความสมบูรณ์ของอาหารและศัตรูชันโรง

ชันโรงมีความสำคัญในการผสมเกสรทั้งพืชปลูกและพืชป่าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยคุณสมบัติพิเศษหลาย
ประการนับเป็นแมลงผสมเกสรประจำถิ่นคือจะหากินหรือตอม ดอกไม้ในระยะไม่ไกลจากรังที่มัน
อาศัยอยู่ได้ดี คุณสมบัติข้อนี้นับเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างยิ่งเพราะสามารถใช้และควบคุม
ชันโรงให้ลงตอมดอกของพืชได้

ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรประจำถิ่นจึงใช้ผสมเกสรพืชพื้นเมือง หรือพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบ
เอเชียได้ดี เช่น ทุเรียน เป็นต้น ชันโรงจะตอมดอกไม้ได้ทุกดอก แม้ว่าดอกนั้นจะเคยถูกแมลง
ผสมเกสรตัวอื่น ตอมมาแล้ว และทิ้งกลิ่นไว้ก็ตาม ในขณะที่ผึ้งรวงจะไม่ตอมดอกที่มีกลิ่นผึ้ง
ชนิดอื่นหรือรังอื่นทิ้งไว้ และชันโรงมีอายุยืนกว่าผึ้งรวงมาก ทำให้มีโอกาสผสมเกสรได้นานกว่า.


ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=51902


ประสบการณ์ตรง :
1....ชันโรง หากินจากรังไกลไม่เกิน 200-300 ม. ในขณะที่ผึ้งหากินกินไกล 1-5 กม.
2....ชันโรง ไม่ย้ายรัง หรือไม่ทิ้งรังแล้วไปสร้างใหม่ ต่างจากผึ้งเมื่อตัวอ่อนแก่แล้วจะทิ้งรังไปสร้าง
รังใหม่ ณ ที่แห่งใหม่
3....ชันโรง ออกหากินกลางคืน จึงเหมาะแก่พืชที่พร้อมผสมเกสรตอนกลางคืนโดยเฉพาะ เช่น
ทุเรียน แก้วมังกร ต่างจากผึ้งที่ออกหากินตอนกลางวัน
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 07/03/2010 6:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ญี่ปุ่นไฟเขียว มะละกอ จีเอ็มโอ *

นักวิจัยคอร์เนลเผย ญี่ปุ่นเตรียมนำเข้ามะละกอจีเอ็มโอจากฮาวาย เดินเรื่องอีกขั้นตอนเดียวก็แล้ว
เสร็จพร้อมแจ้งต่อองค์การการค้าโลก เดือน ก.พ. ปีหน้าเริ่มนำเข้าได้ อนาคตมีแนวโน้มปลูกเอง
ด้วย ส่วนมะละกอ จีเอ็มโอ.ไทยยังไม่ได้ลงแปลงภาคสนาม นักวิจัยเร่งยื่นเรื่องขออนุญาตภายใน
ปีนี้

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัดบรรยายพิเศษเกี่ยวกับมะละกอ
ดัดแปลงพันธุกรรมหรือมะละกอ จีเอ็มโอ. เรื่อง “Environmental, Food safety
Assessment and Experiences on Deregulation of Hawaiian Transgenic
Papaya” ณ อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.52 ที่ผ่าน
มา โดยมีวิทยากรคือ ดร.เดนนิส กอนซัลเวส (Dr.Dennis Gonsalves) นักวิจัยผู้พัฒนา
มะละกอฮาวายดัดแปลงพันธุกรรม จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา และ ดร.ปาริชาติ
เบิร์นส คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัด
การออนไลน์ เข้าร่วมฟังการบรรยายพร้อมกับนักวิจัยและผู้สนใจจำนวนหนึ่ง

ดร.ปาริชาติ ได้ศึกษาในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพของมะละกอ จีเอ็มโอ.ที่ปลูกทดสอบภาย
ในเรือนกระจก โดยศึกษาว่ามะละกอ จีเอ็มโอ.ที่ดัดผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านทาน
โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน จะมีผลอย่างไรต่อแบคทีเรียในดิน, ไรแดงแอฟริกัน ซึ่งเป็นแมลงศัตรู
ของมะละกอ และไรตัวห้ำ ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติของไรแดงแอฟริกัน

ผลการทดลองที่ได้ ไม่พบความแตกต่างของชนิดและจำนวนประชากรของแบคทีเรียในดินบริเวณ
ปมรากมะละกอธรรมดากับมะละกอ จีเอ็มโอ. ส่วนไรตัวห้ำที่เลี้ยงด้วยไรแดงแอฟริกันที่กินใบ
มะละกอ จีเอ็มโอ. ก็ยังคงมีวงจรชีวิตปกติ ไม่แตกต่างจากไรตัวห้ำที่เลี้ยงด้วยไรแดงแอฟริกันที่
กินใบมะละกอ จีเอ็มโอ.

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาการกระจายของละอองเกสรมะละกอด้วยคอมพิวเตอร์โมเดลและสาร
สนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อดูว่าจะสามารถใช้จีไอเอสโมเดลลิง (GIS modeling) ทำนายการ
เคลื่อนที่ของละอองเกสรของมะละกอได้หรือไม่ โดยใช้ข้อมูลขนาดและรูปทรงของละออกเกสร
มะละกอ ประกอบกับทิศทางและความเร็วของลมในแต่ละช่วงเวลา เทียบกับการทดลองจริงใน
แปลง

พบว่าแบบจำลองให้ผลระยะทางการเคลื่อนที่ของละอองเกสรที่แม่นยำ ฉะนั้นจึงสามารถใช้ จีไอ
เอสโมเดลลิง เป็นเครื่องมือในการสังเกตหรือคาดการณ์การปลิวของละอองเกสรมะละกอได้
อย่างมีประสิทธิภาพในกรณีที่มีลมเป็นปัจจัยหลัก แต่อาจต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยอื่นที่มี
ผลร่วมด้วย เช่น แมลง

ด้าน ดร.เดนนิส ได้เผยว่า ได้เริ่มวิจัยมะละกอ จีเอ็มโอ.มาตั้งแต่ปี 2528 และประสบความสำเร็จ
ในปี 2535 ปรากฏว่าในปีถัดไปเกิดปัญหามะละกอในฮาวายได้รับความเสียหายครั้งจากโรคระ
บาด ทำให้มะละกอ จีเอ็มโอ.จากการวิจัยของเขาถูกนำไปใช้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีการทดสอบ
ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งก็ไม่พบว่ามีอะไรที่แตกต่างไปจาก
มะละกอปกติ ยกเว้นความสามารถในการต้านทานโรคได้ และมะละกอ จีเอ็มโอ.ก็ได้ปลูกเชิง
พาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2540 และในปี 2554 นี้ ญี่ปุ่นจะเริ่มนำเข้ามะละกอ จีเอ็มโอ.จากฮา
วายเป็นครั้งแรกด้วย


ทั้งนี้ ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ นักวิจัยไบโอเทค ที่เข้าร่วมฟังบรรยายในครั้งนี้ด้วย ได้ให้ข้อมูลเพิ่ม
เติมแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นมีการนำเข้าพืช จีเอ็มโอ.
เพื่อเป็นอาหารสัตว์เท่านั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง แต่สำหรับมะละกอ จีเอ็มโอ. นี่จะถือเป็นครั้ง
แรกที่ญี่ปุ่นจะนำเข้าพืช จีเอ็มโอ.เพื่อการบริโภคโดยตรง

เดิมทีญี่ปุ่นนำเข้ามะละกอจากฮาวายอยู่แล้ว แต่ในระยะหลังเกษตรกรในฮาวายปลูกมะละกอ จี
เอ็มโอ.เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มะละกอไม่ จีเอ็มโอ.เริ่มมีน้อยลงญี่ปุ่นจึงเริ่มพิจารณาอนุญาตให้นำ
เข้ามะละกอ จีเอ็มโอ.จากฮาวาย โดยได้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านต่างๆ อย่างเป็นขั้น
ตอนและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนด้วยในทุกขั้นตอน โดยในขณะนี้เหลือเพียงการทำ
ประชาพิจารณ์ในขั้นสุดท้ายที่กำลังจะเสร็จสิ้นในเร็วๆนี้ และหลังจากนั้นญี่ปุ่นก็จะต้องแจ้งต่อ
องค์การการค้าโลก (WTO) ว่าจะมีการนำเข้ามะละกอ จีเอ็มโอ.จากฮาวาย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มนำเข้า
ได้ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2554 เป็นต้นไป

ส่วนประชาชนในญี่ปุ่นก็ยังมีสิทธิที่จะตัดสินใจเลือกเองว่าจะบริโภคมะละกอ จีเอ็มโอ.หรือไม่ จี
เอ็มโอ. เพราะกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นพิจารณาว่าจะกำหนดให้มีการติดฉลากเพื่อให้ข้อมูล
กับผู้บริโภคด้วย และนอกจากนั้นยังมีแนวโน้มด้วยว่าญี่ปุ่นอาจจะปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ.ด้วยใน
อนาคต โดยอาจเริ่มที่โอกินาว่าเป็นแห่งแรก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเกษตรในพื้นที่ด้วย

ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นจัดเป็นประเทศที่ปฏิเสธพืช จีเอ็มโอ.มากเป็นอันดับต้นๆ แต่การเปลี่ยนแปลงใน
ครั้งนี้ของญี่ปุ่นอาจส่งสัญญาณบางอย่าง ซึ่ง ดร.บุญญานาถ แสดงความเห็นว่า อาจไม่ทำให้การ
วิจัยพืช จีเอ็มโอ.ในไทยเปลี่ยนไปมากนัก เนื่องจากวิจัยกันมามากและนานแล้ว เพียงแต่ประเทศ
ไทยยังมีคอขวดที่ยังผ่านไปไม่ได้ง่ายๆ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่งแซงหน้าไทยไปแล้ว

"การตัดสินใจนำเข้ามะละกอ จีเอ็มโอ.ของญี่ปุ่นนั้นดำเนินบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ น่าจะเป็น
ตัวอย่างให้ประเทศไทยในการเตรียมตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ถ้าญี่ปุ่นยอมรับที่จะนำเข้ามะละกอ จี
เอ็มโอ. ก็แสดงว่ามีตลาดสำหรับมะละกอ จีเอ็มโอ. แล้วถามว่าประเทศไทยจะเข้าช่วงชิงตลาดนี้
ด้วยหรือไม่ ถ้าจะไทยจะทำ ก็ต้องทำการทดสอบภาคสนามก่อน แล้วจึงจะสามารถไปสู่เชิง
พาณิชย์ได้" ดร.บุญญานาถ กล่าว

อย่างไรก็ดี ดร.บุญญานาถ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่มีการทดลองพืช จีเอ็มโอ.ภาคสนาม
เกิดขึ้นในไทย แต่นักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ก็
กำลังร่วมกับจัดทำกรอบการวิจัยภาคสนามเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการขออนุญาตทดลอง
ปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ.ภาคสนาม คาดว่าน่าจะยื่นเสนอได้ภายในปีนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะผ่านการพิจารณา
หรือไม่ และหากได้รับการอนุมัติก็จะต้องมีการประชาพิจารณ์ก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการทดลองได้


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 7:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 10/03/2010 6:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รู้ไหมว่า "ลูกไหน" กับ "ลูกพรุน" คือ ผลไม้ชนิดเดียวกันแล้ว
ยังมีประโยชน์มากกับสุขภาพมากด้วย

เขียนเมื่อวันที่ 18 Sep 2008 เวลา 10:51:07 PM ( 1 comment )
แก้ไขบทความ เมื่อวันที่ 01 Sep 2009 เวลา 04:56:38 PM


เมื่อประมาณเดือนก่อนร้านสะดวกซื้อ FamilyMart แถวๆ บ้านได้ทดลองเอาโยเกิตร์ยี่ห้อใหม่
เป็นโยเกิตร์ลูกพรุนมาขาย เลยลองซื้อมากิน กินแล้วรู้สึกว่ามันอร่อยกว่าโยเกิตร์รสอื่น ๆ เพราะว่า
มันมีรสหวาน มีเนื้อลูกพรุนผสมเยอะ ตั้งแต่นั้นมาก็ซื้อกินเกือบทุกวัน เลยมาลองคิดดูเขาบอกว่า
อะไรที่กินเป็นประจำจะไม่ดีต่อสุขภาพ เลยลองมาค้นหาในเน็ตว่าลูกพรุนมีประโยชน์อะไรบ้าง

แล้วก็เจอโอโหมหาศาลเลยค่ะ และที่แย่กว่านั้นคือเพิ่งรู้ว่าลูกไหนกับลูกพรุนคือผลไม้ชนิดเดียว
กันคิดแล้วก็ขำ 55 เนื้อความใน Blog หนึ่งบอกไว้ว่า

"ลูกพรุน (Prunes) / ลูกพลัม (Plum) / ลูกไหน ผลไม้ ทั้ง 3 ชนิดนี้คือ ผลไม้ชนิดเดียวกัน
เพียงแต่ลูกพรุนคือผลจากการนำลูกพลัมมาตากแห้ง ส่วนลูกไหน ก็เป็นชื่อที่คนจีนเรียกลูกพลัม
นั่นเอง "

ส่วนประโยชน์ที่ว่ามากนี้มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

ลูกพรุน เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ (เส้นใย) ธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ยังมีวิตามิน และ
แร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม
ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและสังกะสี

ลูกพรุนมีไขมันต่ำ แคลอรี่น้อย และสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ มีคุณสมบัติ สามารถอุ้มน้ำ
ไว้ระหว่างใย จึงทำให้กากอาหารนิ่ม และมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงาน ของลำไส้ ให้มีการเคลื่อน
ไหวบีบตัว ได้ดีขึ้น จึงทำให้ท้องไม่ผูก องค์ประกอบที่วิเศษ อีกอย่างคือ เป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้
จึงทำหน้าที่ ไปขัดขวาง การดูดซึมของไขมัน และน้ำตาลในเลือด ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุ ที่เป็นเบา
หวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ที่อาจเกิดอันตรายได้หากมีการเบ่งอุจจาระแรง

ในลูกพรุน มีกากใยธรรมชาติ Dietary fiber จำนวนมากหลายชนิด ซึ่งเป็นทั้งชนิดที่
ละลายน้ำได้ และละลายน้ำไม่ได้ กากใยอาหารนี้มีส่วนช่วยลดโคเลสเตอรอลได้ และจากการ
ทดลองรับประทานลูกพรุน พบว่าสามารถลดไขมันในเลือด (LDL cholesterol) ในผู้ป่วยที่มี
ไขมันในเลือดสูงได้ พบว่ากลไกดังกล่าวเกิดจากกากใยอาหารชนิด เซลลูโลสซึ่งละลายน้ำไม่ได้
และเพ็คตินซึ่งละลายน้ำได้

มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงอีกจำนวนมาก นอกจากนี้น้ำลูกพรุนยังเป็นอาหาร
ที่วิตามินซี วิตามินอี แหล่งที่ดีของธาตุเหล็ก และไฟเบอร์หรือกากใยอาหาร น้ำลูกพรุนแม้จะมีรส
หวานแต่ส่วนมากประกอบไปด้วยน้ำตาลชนิด ฟลุคโตสและซอร์บิทอล ซึ่งไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน
เลือดสูงอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญยังช่วยระบาย และรักษาอาการท้องผูกได้อย่างปลอดภัยทั้งใน
ผู้ใหญ่ และในเด็กเล็ก แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ควรปรึกษาแพทย์ด้วยเสมอ

วิตามิน B2 (Riboflavin) ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการเจริญเติบโตของ
เซลล์ที่ช่วยในการมองเห็น ผิวหนัง เล็บ และผม

วิตามิน C (Ascorbic Acid) สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นส่วนประกอบ
พิเศษที่ช่วยป้องกันเซลล์ จากการถูกทำลาย ซึ่งเมื่อเซลล์ถูกทำลายก็จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งสูง
วิตามิน C มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นการที่ลูกพรุนมี Anti-oxidant ในปริมาณ
สูงจะช่วยทำให้ร่างกายและสมองแก่ตัวช้าลง และมีอัตราการเกิดเป็นโรคมะเร็งน้อยลง มีส่วนช่วย
ในกระบวนการสังเคราะห์เม็ดเลือดแดง และทำให้ร่างกายต่อต้านแบคทีเรียได้ดียิ่งขึ้น

วิตามิน E เป็น Anti-oxidant ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาของออกซิเจนที่ไม่สมบูรณ์
ภายในร่างกาย ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ช่วยยืดอายุของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผิวพรรณเนียนนุ่ม
ช่วยบำรุงสายตา

แคลเซียม (Calcium) ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน รักษาระดับการเต้นของหัวใจ ช่วยให้
ระบบประสาททำงานได้อย่างเป็นปกติ

เหล็ก (Iron) เป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง พรุน
แห้งหนึ่งขีดมีธาตุเหล็ก 2.78 มิลลิกรัม จึงเป็นแหล่งของธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี

อ่านดูประโยชน์ทั้งหมดแล้ว จากที่เคยเห็นลูกไหนที่เขาขายแล้วรู้สึกแหวะไม่อร่อย ตอนนี้ความ
รู้สึกเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เริ่มจะอร่อยขึ้นมาแล้วสิค่ะ อิอิ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/03/2010 7:39 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/03/2010 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมมะลิอีกแล้ว *

เป็นแชมป์ว่ายากแล้ว ป้องกันแชมป์ดูจะยากยิ่งกว่าอย่างเขาว่า เป๊ะเลย

ข้าวหอมมะลิไทยในนาทีนี้ มีคู่แข่งที่ประกาศตัวพร้อมชิงตำแหน่ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกาใน
นาม แจ๊สแมน สาธารณรัฐประชาชนจีน ล่าสุดเวียดนามที่ใช้ชื่อจัสมิน ไรซ์ หรือข้าวหอมมะลิ ซึ่ง
ถือเป็นชื่อสามัญไปแล้ว

ยังไม่รวมเพื่อนบ้านใกล้ไทย อย่างเขมร พม่า หรือลาว ที่พันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยเดินทางไปถึงอยู่
แล้ว เพราะชายแดนติดกัน ข้ามไปข้ามมาแป๊บเดียวก็ถึง

น่ากังวลกับจัสมินไรซ์ของเวียดนาม ตรงที่ราคาขายในตลาดถูกกว่ากันมาก ถ้าของไทยปอนด์ละ
1,500 บาท ของเวียดนามแค่ 1,000 บาท

ถ้าคนกินไม่ดูตาม้าตาเรือว่าของไทยหรือของญวน หรือดูราคาอย่างเดียว เป็นต้องโดนจัสมิน ไรซ์
ของเวียดนามถล่มแน่นอน

บอกตรงๆว่า สถานการณ์หอมมะลิไทยนั้นออกน่าเป็นห่วง เจอขย่มบ่อยๆ รอบทิศทาง วันนี้ยังไม่
เป๋ พรุ่งนี้ไม่แน่

แล้วประเทศไทยมีแผนพัฒนาข้าวหอมมะลิอย่างไรบ้าง

ตรงนี้ ต้องกราบเรียนว่า อาจมี แต่ผมไม่รู้ ไม่ผ่านตาว่า เรามีแผนที่จะพัฒนาข้าวหอมมะลิอย่างไร
นอกจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายบอกว่า อย่าห่วงๆๆ ยังไงคุณภาพหอมมะลิไทยเหนือชั้นคู่แข่งอยู่แล้ว

แต่ผมดันไม่ค่อยเชื่อกับการทำงานแบบเรื่อยๆมาเรียบๆ นกบินเฉียงตายทั้งหมู่ของผู้รับผิดชอบ
ไล่กันตั้งแต่กระทรวงยันกรมเลยนะครับ

ดูแต่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แก้ปัญหาแบบวันๆ หนักเข้าของบรัฐบาลมาจ่ายชดเชยชาวนาไร่ละ
2,000 กว่าบาท หนักกว่านั้น ปลัดกระทรวงพาณิชย์ยังบอกว่า ง่ายนิดเดียว อย่าให้เพลี้ยมัน
กระโดดซี...เอากะท่านซี

ยังไงๆยังยืนยันว่า รัฐต้องเร่งพัฒนาข้าวหอมมะลิภายใต้เวอร์ชั่นเก่า ข้าวหอมดอกมะลิ 105 ส่วน
จะเพิ่มวิตามิน สารอาหารอะไรก็ว่ากันไป

อีกอย่าง ต้องเพิ่มประเภทของข้าวที่สร้างความนิยม หรือแบรนด์ใหม่ให้กับประเทศไทยได้แล้ว
เหมือนอย่างข้าวหอมปทุมธานี 1 แม้คุณภาพไม่เจ๋งเป้งเท่าข้าวหอมนาปีอย่างหอมมะลิ แต่นาปรัง
ปทุมธานี 1 ก็ยังมีชื่อในเวลารวดเร็วเกือบ 10 ปีได้กระมัง

คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เคยเล่าให้ฟังว่า ยามที่หอมปทุมธานี 1
ออกรวง มันหอมไปทั้งแปลง

งานวิจัยข้าวของไทยไปถึงไหน อุตส่าห์ตั้งกรมการข้าวขึ้นมาใหม่แล้ว ยังเงอะๆ งะๆ ยิ่งกว่าเดิม ผม
ว่าอธิบดีประเสริฐ โกศัลวิตร น่าจะลองทบทวนภารกิจหน่วยงานบ้างแล้ว

พูดกันเหลือเกินข้าวไทยปลูกกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ข้าวไทยส่งออกเป็นอันดับ1ของโลกยาวนาน
ร่วม 20 ปี แต่วันนี้ข้าวไทยได้รับการดูแลอย่างไร ผมออกจะข้องใจเอามากๆ

ข้าวไทยนะ...ไม่ใช่ข้าวของใคร


พอใจ สะพรั่งเนตร


ที่มา : แนวหน้า


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 5:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 11/03/2010 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศัตรูคนเมือง

สวนในบ้าน หน้าบ้าน หรือหลังบ้านของคนในเมือง มักปลูกไม้ผลประเภทหนึ่งจนกลายเป็น
เอกลักษณ์ไทยคือต้นมะม่วง

บ้านไหนไม่ปลูก ออกจะเชยๆ ประมาณนั้น ทั้งที่ปีหนึ่งกินมะม่วงมากกว่าที่ปลูกและให้ผล
แถมดอกมะม่วงก็ทำความเสียหายให้รถยนต์ที่จอดใต้ต้นด้วย

ช่วงนี้มะม่วงผลิดอก ออกผล ห้อยระย้า เช้าขึ้นมามักพบผลมะม่วงมีรอยฟันแทะร่วงลงพื้นเป็น
ประจำ แรกๆ ยังพอทำใจ หลังๆ ชักหงุดหงิด จะกินให้หมดต้นเลยรึไง

เจ้ากระรอกครับ จะบอกว่ากระรอกธรรมดาก็ไม่ได้ มันเป็นฝูงกระรอกครับ

แรกๆ ก็มีตัวเดียวก่อน จากนั้นมีครอบครัว แล้วออกลูกแพร่หลาน วิ่งบนสายไฟสายเคเบิลไปทั่ว
ทั้งหมู่บ้าน ไปบ้านไหนก็มักบ่นถึงอิทธิฤทธิ์ของเจ้ากระรอก

ไปๆ มาๆ มันชักจะกลายสัญชาติเป็นสัตว์ป่าในเมืองไปเสียแล้ว เพราะออกลูกออกหลานกันมาก
มาย ยิ่งคนปลูกต้นไม้มาก ปลูกไม้ผลมาก นั่นแหละสวรรค์ของกระรอก

นอกจากอาศัยผลไม้เป็นอาหารแล้ว กระรอกยังกัดแทะกิ่งไม้ จนเปลือกหลุดร่อน ผมเองไม่แน่ใจ
ว่า เป็นเพราะอะไร แต่เพื่อนบ้านบอกว่า นั่นละสันดานกระรอกล่ะ ชอบกัดเล่นซะอย่างนั้นแหละ

ใจผมค้านว่าไม่น่าใช่ พิจารณาดูแล้ว มันไม่ได้กัดทุกกิ่งซะเมื่อไหร่ ดูให้ดี มันจะกัดเฉพาะกิ่งที่มี
ปัญหา เป็นกิ่งผุเสียทั้งนั้น กิ่งไหนที่กระรอกกัดแสดงว่า กิ่งนั้นมีแมลง หรือหนอนอยู่ในกิ่ง ที่แท้
กระรอกกัดกินแมลงหรือหนอนข้างในกิ่งผุนั้น

นี่เป็นความดีของกระรอกที่บอกให้เรารู้ว่า กิ่งที่มันกัดคือกิ่งผุ อยู่ใต้ต้นก็ให้ระวัง หรือปีนขึ้นไปก็
เลี่ยงกิ่งนั้นเสีย

แต่ยังโมโหมันเรื่องกัดกินผลมะม่วง

คืนหนึ่งก็ทำให้รับรู้ความจริงว่า กระรอกอาจเป็นตัวการบ้าง แต่ไม่ใช่ตัวการแท้อย่างหนู ซึ่งก็ไม่ใช่
หนูตัวจิ๋ว แต่เป็นหนูตัวยักษ์อาศัยไต่สายไฟฟ้าในการเข้าถึงผลมะม่วงหรือผลอย่างอื่น เปิด
สปอตไลท์จ๊ะเอ๋เข้ากับหนูที่กำลังไต่สายไฟเข้าหามะม่วงพอดี

หนูเป็นสัตว์ตะกละตะกราม กินไม่เลือก มะม่วงอ่อนหรือแก่ เป็นซัดดะ เช้าขึ้นมาหากเห็นมะม่วง
หล่นก็อาจสันนิษฐานได้ว่า หนูเป็นตัวการ เพราะหนูหากินกลางคืน แต่ถ้ามะม่วงร่วงหล่นกลางวันมี
โอกาสเป็นฝีมือของกระรอกมากกว่า เพราะหากินกลางวัน แต่มีข้อสังเกตว่า กระรอกจะกัดกิน
มะม่วงที่แก่ได้ที่ อ่อนๆ ไม่แตะ

ผมอยากบอกเจ้าของต้นมะม่วงในเมืองทั้งหลายว่า อย่าไปโทษเจ้ากระรอก ซึ่งจะกินแต่พอคำ ไม่
เลอะเทอะ กินไม่เลือกเหมือนหนูยักษ์

ประเดี๋ยวไม่ทันได้พิจารณาก็จะไปล่อกระรอกบาปกรรมเปล่าๆ เวลากระรอกกินผลไม้ขอให้นึกว่า
เป็นของแบ่งปันกัน ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ แค่ได้เห็นตัวมันก็รู้สึกดี ยิ่งรู้ว่ามันช่วยกินแมลง
หนอนตามกิ่งไม้ด้วยก็น่ารัก จึงพออภัยให้กับการที่มันจะกินมะม่วงเราได้

ส่วนหนู ไม่ว่าหนูจิ๋ว หนูยักษ์ อันนี้ไม่ไหว ประโยชน์น้อยมาก กินทีก็กินแทบหมดต้น ถ้าเป็นบ้าน
เมืองก็กินบ้านกินเมือง เลี้ยงไม่ไหวครับ


พอใจ สะพรั่งเนตร


ที่มา : แนวหน้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 11/03/2010 9:23 pm    ชื่อกระทู้: กระทู้รวบรวม ข่าวเกษตร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกมะนาวนอกฤดู พันธุ์ตาฮิติในวงบ่อซีเมนต์ *

ที่แปลงสาธิตการปลูกมะนาวนอกฤดูพันธุ์ตาฮิติ ของมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งร่วม
กับ นิคมสหกรณ์สวรรคโลก จ.สุโขทัย และสหกรณ์หมู่บ้านสายใจไทยศรีนคร จำกัด ตลอดมามีผู้
คนให้ความสนใจเดินทางเข้าไปศึกษาเรียนรู้เพื่อนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ของตนเป็นจำนวน
มากอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงที่มะนาวมีราคาดี

มะนาวพันธุ์ตาฮิติ เป็นพืชที่ปลูกง่าย ต้านทานต่อโรคทุกชนิดที่เกิดกับมะนาวหรือพืชตระกูลส้ม ให้
ผลผลิตทั้งปี โดยไม่ต้องบังคับ โดยจะให้ผลผลิตมากที่สุดในช่วงฤดูฝน ส่วนการดูแลรักษา เพียง
แค่ใส่ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ ปีละ 2 ครั้ง และถ้ามีแมลงศัตรูพืชรบกวน ก็จะใช้น้ำหมักที่สกัดจาก
สมุนไพร ฉีดพ่นโดยไม่ต้องใช้สารเคมีแม้แต่น้อย ไม่ชอบความแห้งแล้ง เมื่อเริ่มออกดอก อีก 5-
6 เดือนนับจากนั้น ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้อายุ 5 ปีขึ้นไปต้นใหญ่ จะให้ผลผลิตมากถึง 500
ลูกต่อต้น น้ำหนักประมาณ 12 ลูกต่อ 1 กิโลกรัม

ส่วนการปลูกเพื่อให้มีผลผลิตนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ ระยะปลูกระหว่างต้น 1.20 เมตร ระยะ
ระหว่างแถว 1.50 เมตร ปลูกแบบแถวคู่แล้วเว้นทางเดิน 2 เมตร พื้นที่ปลูกปรับให้เรียบวางวงบ่อ
ซีเมนต์เป็นเลขคู่เพื่อง่ายต่อการวางระบบน้ำและคำนวณแรงดันน้ำ ขนาดของวงบ่อซีเมนต์ใช้
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร

ใช้วัสดุปลูกหลัก 3 ชนิด ประกอบด้วย หน้าดิน 3 ส่วน ขี้วัวเก่า 1 ส่วน และเปลือกถั่วเขียว 2 ส่วน
ผสมคลุกเคล้ากัน ใส่วัสดุปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ให้พูน เหยียบวัสดุปลูกขอบ ๆ วงบ่อ บริเวณตรง
กลางไม่ต้องเหยียบ

หลังจากที่ใส่วัสดุปลูกลงในบ่อซีเมนต์เรียบร้อยแล้ว ขุดเปิดปากหลุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของ
ถุงที่ใช้ชำต้นมะนาว ถอดถุงดำปลูกต้นมะนาวให้พอดีกับระดับดินเดิม กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบ
รอบ ๆ ต้น เพื่อไม่ให้โยกคลอน ปัก ไม้เป็นหลักกันลมโยกและแนะนำให้ใช้ตอกมัดต้นมะนาวไว้
กับหลัก ตอกจะผุเปื่อยหลังจากปลูกไปนานประมาณ 2 เดือนต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้วปลูกมะนาวใน
วงบ่อซีเมนต์ได้ตลอดทั้งปี

การบังคับให้มะนาวออกฤดูแล้งในรุ่นแรกให้ปลูกต้นมะนาวในช่วงเดือนมกราคม ในช่วงเดือน
กันยายน-ตุลาคม ในปีเดียวกันบังคับต้นให้ออกดอกได้โดยใช้หลักการเหมือนกับที่ปลูกลงดิน ผล
ผลิตมะนาวฤดูแล้งจะไปแก่และเก็บผลผลิตขายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของปีถัดไป เท่า
กับว่าการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ใช้เวลาปลูกเพียงปีเศษเท่านั้น เกษตรกรสามารถเก็บมะนาว
ฤดูแล้งขายได้แล้ว

ตัดแต่งกิ่งมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทุก ๆ 3 ปี โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งและปลิดผลทิ้งทั้งหมดในเดือน
พฤษภาคม ในช่วงปีที่ 1-2 จะตัดแต่งบ้างแต่ไม่มากนัก ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
บำรุงต้นและสะสมอาหารเพื่อจะกระตุ้นการออกดอกรุ่นแรกในเดือนสิงหาคมต่อไป.



ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=53248
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 6:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหอมทุ่งมีกลิ่นหอมกระจายทั่วทุ่ง

ข้าวหอมทุ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวพื้นเมืองที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายในหมู่บ้านที่หัวดอน อำเภอ
เขื่อง จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อข้าวหอมทุ่งได้มาจากกลิ่นหอมของข้าวชนิดนี้โดยเฉพาะเวลาที่
ข้าวออกดอกจะมีกลิ่นหอมกระจายไปทั่วทุ่งนาและเวลาที่เอาไปนึ่งก็มีกลิ่นหอมอีกด้วย เป็นข้าวที่
สร้างรายได้ดีให้ชาวบ้านหัวดอนเนื่องจากมีความต้องการจากพ่อค้าจากจังหวัดปราจีนบุรี
นครราชสีมา กาฬสินธุ์ รวมทั้งโรงสีในพื้นที่ที่แย่งกันซื้อโดยที่ข้าวหอมทุ่งมีราคาที่ 12 กิโลกรัม
ต่อ 100 บาท ดังนั้นข้าวหอมทุ่งจึงเป็นข้าวที่มีคุณค่าของชุมชนคนหัวดอน


ที่มา : เสถียร ฉันทะ. "หอมทุ่ง....กลิ่นหอมอบอวล" BRT Magazine. ฉบับที่ 26 (ธ.ค. 2551) : 20.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/03/2010 6:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ไบโอเทค-กรมการข้าวพัฒนาพันธุ์ข้าว
“ต้านโรค-ทนเค็ม-ทนน้ำท่วม" สายพันธุ์ใหม่
*

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนับเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการผลิตข้าว กอปรกับการมีเทคโนโลยีที่ทัน
สมัยจะช่วยพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
กรมการข้าวและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ตระหนักถึงความ
สำคัญดังกล่าว จึงได้มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ระยะที่ 1 (ปีพ.ศ.
2549–2552) ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยใช้จุด
เด่นด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพเกี่ยวกับการสืบค้นหายีน และการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็น
เอ ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ได้ 3 สายพันธุ์ คือ สาย
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์
กข6 ต้านทานโรคไหม้ โดยได้ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าวและ แปลงของเกษตรกรแล้ว
ซึ่งมีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์
จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากความสำเร็จดังกล่าวเป็น
ผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศ

เพื่อให้ความร่วมมือวิจัยและพัฒนาข้าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าว ระยะที่ 2
(ปีพ.ศ. 2553–2558) ระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สวทช. เมื่อวันที่
10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีดร.สุจินดา โชติพานิช
ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ก่อ
ให้เกิดความเชื่อมโยงของเครือข่ายวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ ช่วยเพิ่มศักยภาพและ
ความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดี
ขึ้นของประชาชนต่อไป


Tags: พันธุ์ข้าว ข้าวทนน้ำท่วมฉับพลัน ข้าวทนดินเค็ม ข้าวต้านทานโรคไหม้ ไบโอเทค
กรมการข้าว


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 6:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะเขือเทศพันธุ์ต้านทนโรค *

มะเขือเทศเป็นพืชแปรรูปบรรจุกระป๋องอันดับ 1 ของโลก การปลูกมะเขือเทศของไทยร้อยละ
80 เป็นการปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป อุตสาหกรรมแปรรูปสำคัญที่ใช้มะเขือเทศเป็นวัตถุดิบ เช่น
ซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศ โดยเฉพาะซอสมะเขือเทศ มีความต้องการในโรงงานปลา
กระป๋องมาก ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศ 23 โรงงาน ต้องการมะเขือเทศ
116,755 ตัน/เดือน โดยเฉพาะภาคตะวันออก-เฉียงเหนือมีโรงงานอุตสาหกรรมมะเขือเทศ 9
โรงงาน ต้องการมะเขือเทศมากถึง 109,660 ตัน/เดือนแหล่งผลิตมะเขือเทศที่สำคัญจึงอยู่ใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.สกลนคร นครพนม และหนองคายส่วนแหล่งผลิตมะเขือเทศ
ในภาคเหนือ ได้แก่ จ.ตาก เชียงราย และเชียงใหม่ เป็นการผลิตมะเขือเทศเพื่อบริโภคสด

การปลูกมะเขือเทศของประเทศไทยให้ผลผลิตมะเขือเทศเพียง 3-4 ตัน/ไร่ ซึ่งต่ำกว่าประเทศ
อื่นๆ (อิสราเอล 16 ตัน/ไร่นิวซีแลนด์ 14 ตัน/ไร่ สหรัฐอเมริกา 12 ตัน/ไร่ และจีน 12 ตัน/ไร่)

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ต่ำคือ ปัญหาโรคและแมลง เช่น เชื้อ ไวรัส
แบคทีเรีย รา และไส้เดือนฝอย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน ดร.จุลภาค คุ้นวงศ์
จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค โดยนำเทคนิค ดีเอ็น
เอ เครื่องหมาย มาใช้คัดเลือกพันธุ์มะเขือเทศ ร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ เพื่อช่วยคัด
เลือกพันธุ์มะเขือเทศที่มีลักษณะตามต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้ใช้เวลาในการปรับ
ปรุงพันธุ์ลดลงลดภาระการทำงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลพืชผลงานจากการวิจัยได้มะเขือ
เทศ 36 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์สีดาทิพย์ 3กลุ่มพันธุ์ P502 และกลุ่มพันธุ์
CLN399 (พันธุ์บริโภคสด) ที่ต้านทานโรคสำคัญต่างๆคือ โรคเหี่ยวเขียว (เป็นปัญหาสำคัญใน
เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โรคใบไหม้ (เป็นปัญหาในเขตภาคเหนือที่มีอากาศเย็นและชื้น)
โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟูซาเรียม โรคราแป้งโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ
แบคทีเรียซูโดโมแนส และโรคไวรัสที่เกิดจากเชื้อทีเอ็มวี (ไวรัสใบด่างมะเขือเทศ)

มะเขือเทศพันธุ์ต้านทานโรค ช่วยลดความเสียหายให้กับเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศ และเพิ่ม
ผลผลิตมะเขือเทศต่อไร่ให้สูงขึ้น ขณะนี้ ไบโอเทคได้ถ่ายทอดสายพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค
ให้กับบริษัทเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำไปปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะอื่นที่ต้องการเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้มี
บริษัทฯ ที่รับถ่ายทอดแล้วจำนวน 3 รายคือ บริษัท Hortigenetics Research จำกัด บริษัท
แอ็ดว้านซ์ ซีดส์ จำกัดและบริษัทนามธารี ซีดส์ (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ได้มีความร่วมมือ
กับบริษัทเมล็ดพันธุ์ 7 บริษัท ในการทดสอบสายพันธุ์มะเขือเทศจำนวน 16 สายพันธุ์ที่มีความ
ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว โดยการทดสอบมี 2 ระดับ คือ การทดสอบระดับต้นกล้า และการ
ทดสอบระดับไร่นา ตามสถานีทดลองของบริษัทต่างๆซึ่งกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และแปลง
ของเกษตรกร


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 8:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเก็บรวบรวมพันธุ์ชาของประเทศไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 97,000 ไร่ เป็นอันดับ 14 ของโลก จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด
คือ เชียงราย ประมาณ 45,600 ไร่ และเชียงใหม่ ประมาณ 41,200 ไร่ ผลผลิตชาใบและ
ผลิตภัณฑ์ชา ร้อยละ 85 ใช้บริโภคในประเทศ ที่เหลือร้อยละ 15 ส่งออกทำรายได้เข้าประเทศ
มากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ประเทศส่งออกได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ (กรมส่งเสริมการ
เกษตร, 2546) ใน ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลกำหนดให้เชียงรายเป็นจังหวัดชาแห่งชาติ เพราะมี
ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา อากาศค่อนข้างเย็น เหมาะสำหรับปลูกชา จังหวัดเชียงรายจึงกำหนด
ยุทธศาสตร์ชา ปี พ.ศ.2547-2551 ขยายพื้นที่การปลูกชาให้ได้ 100,000 ไร่ ภายในปี พ.ศ.
2551 โดยแหล่งปลูกชาแหล่งใหญ่ของจังหวัดเชียงรายอยู่ที่ อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.แม่สรวย, และ อ.
แม่ลาว พันธุ์ชาที่เกษตรกรนิยมปลูกกันได้แก่ อัสสัม, อู่หลงก้านอ่อน, อู่หลงเบอร์12, ชิงชิง,
ถิกวนอิม, และพันธุ์สี่ฤดู เป็นต้น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
ร่วมกับ โครงการจัดตั้งสถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และบริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด จัด
ทำโครงการเก็บรวบรวมและประเมินลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพันธุ์ชาพื้นเมือง (ชาเมี่ยง, ชาอี
อ่าม) และพันธุ์ชาต่างประเทศ (อู่หลง และอัสสัม) วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี และกรดไขมัน
ของชา รวมทั้งจัดทำข้อมูลลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่เก็บรวบรวมชาพื้นเมือง เพื่อการ
กำหนดปัจจัยด้านพันธุ์ และสภาพแวดล้อมทางการเกษตรที่เหมาะสม เช่น การปลูก ดูแลรักษา
การให้น้ำ ปริมาณและชนิดของปุ๋ย ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของดิน ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ
สารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชา เพื่อมุ่งประโยชน์ในการผลิตใบชาใช้ในอุตสาหกรรมใบชาชงดื่ม
ชาเขียวพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางค์

ขณะนี้ โครงการ ฯ ได้เก็บรวบรวมสายพันธุ์ชาพื้นเมืองจากพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยใน 35
หมู่บ้าน ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ และพะเยา ไว้เป็น พิพิธภัณฑ์ชา
ณ ไร่ของบริษัท บุญรอด บริวเวอรี จำกัด อ.แม่กรณ์ จ.เชียงราย โดยพันธุกรรมชาที่รวบรวมไว้นี้ ให้
ใช้เป็นเชิงสาธารณประโยชน์



ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


การปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว
ลูกผสมต้านทานไวรัส
*

กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ทำรายได้ปีละประมาณ 500 ล้านบาท โดย
ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ตลาดหลักคือ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ
ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และประเทศในตะวันออกกลาง ทั้งในรูปฝักสด ฝักแช่แข็ง ฝักบรรจุ
กระป๋อง และสารในแคปซูล ในแต่ละปี ผลผลิตกระเจี๊ยบเขียวที่ได้มาตรฐานมีปริมาณไม่พอเพียง

ปัญหาสำคัญในการผลิต คือ การระบาดของโรคเส้นใบเหลือง (okra yellow vein virus
disease) ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Okra Yellow Vein Virus(OYVV) ที่มีแมลงหวี่ขาวเป็น
พาหะ โรคนี้ระบาดอย่างรุนแรงในแหล่งผลิตกระเจี๊ยบเขียว จังหวัดราชบุรี นครปฐม และอ่างทอง
ทำให้ผลผลิตลดลงและมีผลกระทบต่อการส่งออก

บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ผู้ส่งออกและผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวรายใหญ่ของประเทศไทย ได้
รวบรวมพันธุกรรมกระเจี๊ยบเขียวทั้งในประเทศและต่างประเทศ และปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาด แต่มีความต้าน
ทานโรคไวรัสต่ำกว่าพันธุ์มาตรฐาน ในปี พ.ศ. 2547 บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ขอความร่วมมือจาก
ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ นักวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบ
โอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

ในการวิจัยร่วมกับบริษัท ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวลูกผสมต้านทานไวรัส เพื่อนำ
เทคนิคทางด้านอิมมูโนวิทยาหรือภูมิคุ้มกันมาช่วยในการประเมินระดับความต้านทานของกระเจี๊ยบ
เขียวที่มีต่อไวรัส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว เป้าหมายของการปรับ
ปรุงพันธุ์ คือ การสร้างกระเจี๊ยบ เขียวพันธุ์ลูกผสมที่มีผลผลิตสูง ต้านทานไวรัส และมีลักษณะเชิง
คุณภาพตามความต้องการของตลาด ทั้งด้านสี ขนาด และกลิ่น บริษัทฯ ได้ทำการผสมและคัด
เลือกจากประชากรทั้งหมดประมาณ 100 สายพันธุ์ จนได้พันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะตามต้องการ ซึ่ง
ต้องทำการผสมและคัดเลือก ประมาณ 9 – 10 รุ่น

จากผลการทดสอบที่ผ่านมา บริษัท ฯ พัฒนากระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะต้านทานโรค
ในระดับดีมากจำนวน 24 สายพันธุ์ และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริษัทฯ ทำการปลูก
ทดสอบพันธุ์ลูกผสมจำนวน 6 พันธุ์ ในแปลงปลูกของเกษตรกรที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
และแปลงปลูกทดสอบพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวลูกผสมอ.หนองแค จ.สระบุรี อ.หนองแค จ.สระบุรี

ผลการทดสอบในแปลงปลูก อ.หนองแค จ.สระบุรี พบว่าลูกผสมทั้ง 6 พันธุ์มีระดับความต้านทาน
ต่อโรคสูงและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่กระเจี๊ยบเขียว พันธุ์ที่อ่อนแอนั้นมีเปอร์เซ็นต์
การเกิดโรค 100% และมีผลผลิตต่ำ กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ลูกผสมที่ต้านทานโรคได้ดีให้ผลผลิตสูง
ประมาณ 2,500 – 2,600 กิโลกรัมต่อไร่ และมีกระเจี๊ยบเขียวลูกผสมจำนวน 2 พันธุ์ ที่มีศักย
ภาพเป็นพันธุ์การค้าหรือพันธุ์ที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 8:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:49 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปรับปรุงพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนส *

โรคแอนแทรกโนส เป็นปัญหาสำคัญในพริก มีสาเหตุจากเชื้อราคอลลีโททริคัม(Colletotri
chum piperratum) ที่ระบาดในระยะที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโต สภาพอากาศชื้นหรือฝนตก
ชุก การปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานโรคแอนแทรกโนสโดยวิธีที่ใช้กัน เป็นการนำพันธุ์พริกที่มี
ลักษณะการค้าดีแต่อ่อนแอต่อโรคมาผสมกับพันธุ์ต้านทานโรคแอนแทรกโนส และคัดพันธุ์ผสมที่
ต้านทาน โดยดูจากลักษณะภายนอกที่แสดงออก

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน ดร. อรรัตน์ มงคลพร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรับปรุงพริกพันธุ์บางช้างที่นิยมปลูกในปัจจุบัน แต่อ่อนแอต่อโรค
แอนแทรกโนส ให้ทนต่อโรค โดยนำพริกบางช้างผสมกับพันธุ์ต้านทานที่ชื่อว่า PBC 932 ที่มี
ลักษณะอ้วนป้อม ต่างจากพันธุ์บางช้างที่มีผลยาว ดังนั้นจึงต้องนำลูกผสมที่ได้ในแต่ละรุ่นที่ทนต่อ
โรคแอนแทรกโนส แต่ยังมีลักษณะป้อมไปผสมกลับกับพันธุ์บางช้าง เพื่อให้ได้พริกที่มีรูปร่าง
เหมือนพันธุ์บางช้างมากที่สุดและยังทนทานต่อโรค จากการผสมถึงรุ่นที่ 4 ได้พริกที่มีลักษณะต้าน
ทานโรค รูปร่างใกล้เคียงกับบางช้างมากขึ้นขณะนี้ได้ผสมกลับไปอีกรุ่นหนึ่ง และขยายเมล็ดพันธุ์
เพื่อปล่อยสายพันธุ์ต้านทานให้ภาคเอกชนและเกษตรกร นำไปผสมต่อยอดหรือใช้ประโยชน์ต่อ
ไป

ในการคัดลูกผสมที่ทนต่อโรคโดยดูจากลักษณะภายนอก ใช้เวลานาน มีภาระการทำงานและ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลพืชสูง มีการค้นพบว่าลักษณะความต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสมีความ
เกี่ยวพันกับยีนต้านทานที่อยู่บนดีเอ็นเอ ไบโอเทคได้สนับสนุนโครงการพัฒนาดีเอ็นเอเครื่อง
หมายเพื่อหาตำแหน่งของยีนต้านทาน เมื่อทราบตำแหน่งแล้ว สามารถนำมาใช้ตรวจหาลูกผสมที่มี
ความต้านทานต่อโรคได้ตั้งแต่ยังเป็นต้นอ่อน ทำให้ทุ่นระยะเวลาปรับปรุงพันธุ์ ขณะนี้กำลังทดสอบ
เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ได้กับลูกผสมคู่ต่างๆระหว่างพันธุ์บางช้างกับ PBC 932 เพื่อดูความแม่นยำ
ของเครื่องหมายดีเอ็นเอและความสัมพันธ์กับการต้านทานโรคของพริกและเพื่อเป็นการปรับปรุง
พริกสายพันธุ์ต่างๆ ให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสที่มาจากหลายแหล่งทางโครงการได้รวบรวม
เชื้อพันธุกรรมพริกกว่า 1000 ชนิด นำมาแบ่งเป็นกลุ่มพริกโดยอาศัยลักษณะต่างๆ 16 ลักษณะ
เป็นต้นว่า สี ลักษณะใบ สีของเกสรตัวผู้ และลักษณะผล โดยสามารถจัดกลุ่มพริกออกเป็น 7
กลุ่มใหญ่ๆ ขณะนี้ ได้ทำการประเมินพริกในกลุ่มเหล่านี้ในการทนทานต่อโรคแอนแทรกโนส โรค
ไวรัส และแมลงวันทอง เป็นต้น


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 8:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การรวบรวมเชื้อพันธุกรรม
และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด


ประเทศไทยผลิตข้าวโพดหวานเป็นอันดับ 8 ของโลก และส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเป็น
อันดับ 4 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 20 ของข้าวโพดหวานแปรรูปในตลาด
โลกนอกจากนี้ ไทยยังส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานที่ปรับปรุงพันธุ์ในประเทศ ไปจำหน่ายยัง
ประเทศเวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า และอินเดีย และเริ่มส่งออกเมล็ด
พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ปรับปรุงพันธุ์ในประเทศไปจำหน่ายที่ประเทศเวียดนามมีการทดสอบพันธุ์
ใหม่ ๆ ในประเทศจีน เวียดนาม ไต้หวัน และเกาหลี

ความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์พืชอยู่ที่การมีเชื้อพันธุกรรมที่หลากหลาย เชื้อพันธุกรรมข้าวโพดใน
ปัจจุบันมี 2 กลุ่มคือ เชื้อพันธุกรรมที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง โดยประเทศจีน พม่า ไทย และเวียดนาม
เป็นแหล่งเชื้อพันธุ์ที่สำคัญของข้าวโพดฝักสด โดยเฉพาะข้าวโพดเทียน และข้าวโพดข้าวเหนียว ที่
มีความหลากหลายทั้งขนาดฝัก รูปทรงฝัก สีเมล็ด และจำนวนแถวของเมล็ดในฝัก เช่น ข้าวโพด
เทียนฝักเล็ก สีขาว สีเหลือง สีดำ ข้าวโพดข้าวเหนียวแปดแถว ข้าวโพดข้าวเหนียวรูปทรงดอกบัว
เป็นต้น และเชื้อพันธุกรรมกลุ่มพันธุ์

การค้าของประเทศต่างๆ ที่พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองให้มีลักษณะดีตามความต้องการของผู้บริโภค
และผู้ปลูกจากความหลากหลายของเชื้อพันธุ์ดังกล่าว หากนำมาสร้างพันธุ์ใหม่โดยการผสมข้าม
ระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน กับข้าวโพดซูเปอร์สวีทคุณภาพสูง ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง
และทนโรคจากสหรัฐอเมริกาจะได้พันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายของรูปทรงฝักและสีเมล็ด มี
คุณภาพในการรับประทานดี ต้านทานโรคปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ช่วยสร้างทางเลือก
ใหม่สำหรับผู้ปลูก โรงงานแปรรูป และผู้บริโภครวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสด้านการตลาดเพิ่มขึ้น
เชื้อพันธุกรรมเป็นหัวใจสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะต่าง ๆ ตามต้องการ จึงต้องมีการ
จัดการเชื้อพันธุกรรม ได้แก่ การจัดหาและเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรม การประเมินลักษณะต่าง ๆ
ของเชื้อพันธุกรรมที่เก็บรวบรวม เช่น ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักปรับปรุง
พันธุ์คัดเลือกเชื้อพันธุกรรม เพื่อนำไปปรับปรุงหรือผสมกับสายพันธุ์อื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดลักษณะที่ดี
ต่อไป

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน
รศ. ดร. กมล เลิศรัตน์ จากศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว ปัจจุบัน
โครงการวิจัย ฯ ได้รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานจำนวน 107 สายพันธุ์ ข้าวโพดข้าวเหนียว
จำนวน 238 สายพันธุ์ และ ข้าวโพดเทียน จำนวน 45 สายพันธุ์

นอกจากเก็บรวบรวมเชื้อพันธุกรรมแล้ว ศูนย์วิจัย ฯ ยังมีงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด เน้นการ
สร้างพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ ๆ เช่น คุณภาพในการรับประทาน มีความหวานและนุ่มเพิ่มขึ้น นอกเหนือ
จากความเหนียวที่มีอยู่เดิม ตัวอย่างพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ที่ออกในช่วงปี 2549 – ปัจจุบัน ได้แก่
พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกพันธุ์ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ไข่มุกอีสาน 49 และ พันธุ์สลับสี 49 และข้าว
โพดข้าวเหนียวพันธุ์ผสมเปิด ชื่อสำลีอีสาน 51 นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมฝักเล็ก
ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีฝักขนาดเล็กจำนวน 2 ฝักต่อต้น มีรสชาติหวานนุ่ม และมีรสของข้าวโพด
ข้าวเหนียวปนอยู่ด้วย

ในวันที่ 4 สิงหาคม 2550 ศูนย์วิจัย ฯ จัดให้มีการแสดงพันธุ์ข้าวโพดในแปลงปลูก โดยมีทั้งพันธุ์ที่
ปรับปรุงให้มีลักษณะเด่น รวมทั้งเชื้อพันธุกรรมที่เก็บรวบรวมไว้ ในวันดังกล่าวมีภาครัฐและเอกชน
สนใจนำพันธุ์ต่าง ๆ ไปวิจัยต่อยอดจำนวน 13 หน่วยงาน (ภาคเอกชน 9 บริษัท และภาครัฐ 4
หน่วยงาน) ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดเทียน


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 7:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โครงการจัดการเชื้อพันธุกรรม
และการพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ด
*

ในปีเพาะปลูก 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 474,717 ไร่ พริกที่มีความ
สำคัญ 5 ชนิด คือ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ พริกยักษ์ พริกหยวก และพริกใหญ่ ได้ผล
ผลิตสดรวม 333,672 ตัน/ปี พริกที่ปลูกมากที่สุด คือ พริกขี้หนูเม็ดเล็ก และพริกขี้หนูเม็ดใหญ่
มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสถิติของกรมศุลกากร พบว่า ปี พ.ศ.
2549 ไทยส่งออกพริก ทั้งรูปผลสด ซอสพริก พริกแห้ง เครื่องแกงสำเร็จรูป และพริกบดหรือป่น
เป็นมูลค่ารวม 2,161 ล้านบาท และส่งออกเมล็ดพันธุ์พริกเพื่อการค้าปีละกว่า 181 ล้านบาท

นอกจากใช้พริกประกอบอาหารแล้ว มีการนำสารเผ็ดของพริกที่ทำให้เกิดรสเผ็ดร้อน หรือแคปไซ
ซินอยด์ (capsaicinoids) ที่อยู่ในไส้ของผลพริก ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยามากขึ้น
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พริก ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ในรูปแคปซูล ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียใน
กระเพาะอาหาร และผลิตภัณฑ์ในรูปโลชั่นและครีม ใช้เป็นยาทาภายนอกบรรเทาปวดเมื่อย ปวด
ตามข้ออักเสบ และยาฉีดพ่นเพื่อรักษาโรคไซนัส ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันสัตว์กัด
แทะสายไฟและไฟเบอร์ออปติกส์ต่าง ๆ ที่ฝังใต้ดิน เป็นต้น พริกแต่ละชนิดมีสารแคปไซซินอยด์
ในปริมาณแตกต่างกัน มีรายงานว่าพริกขี้หนูจากประเทศไทยมีความเผ็ดอยู่ในช่วง 30,000-
50,000 Scoville Heat Units (SHU) ในขณะที่พริกจากทั่วโลกมีความเผ็ดในช่วง 0-
500,000 SHU ในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอ
เทค) สนับสนุน รศ. ดร. สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำโครงการจัดการ
เชื้อพันธุกรรมและการพัฒนาพันธุ์พริกให้มีปริมาณสารเผ็ดสูง ปัจจุบันโครงการรวบรวมพันธุ์พริก
เผ็ดจากแหล่งเชื้อพันธุกรรมทั่วโลก และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ จำนวน 752
พันธุ์ มีความเผ็ดตั้งแต่ 50 – 500,000 SHU และได้ทำการประเมินลักษณะประจำพันธุ์แล้ว
190 พันธุ์ โดยได้รับความร่วมมือจาก5 หน่วยงาน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตล้านนาน่าน ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร และ

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และได้คัดเลือกพันธุ์พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ พริกขี้หนูเม็ดเล็กที่มี
ลักษณะดีความเผ็ดสูง มาสร้างประชากรพื้นฐานเพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น และได้ถ่ายทอดเชื้อพันธุ
กรรมพริกเหล่านี้ จำนวน 11 พันธุ์ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ 5 หน่วยงานและภาคเอกชน 19 บริษัท
ในปี พ.ศ. 2550


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 8:58 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


การถ่ายทอดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
ทนน้ำท่วมฉับพลัน สู่เกษตรกร
*

ปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยเกิดเป็นประจำเกือบทุกปีโดยเฉพาะในพื้นที่อาศัยน้ำฝน แม้การ
ปลูกข้าวต้องปล่อยให้น้ำท่วมขังประมาณ 2 - 3 นิ้วในแปลงนา แต่การเกิดน้ำท่วมฉับพลันในระดับ
สูงท่วมต้นข้าวและขังอยู่เป็นเวลานาน ทำให้ต้นข้าวที่ปลูกอยู่โดยทั่วไปตายหลังน้ำท่วมขังเพียงไม่
กี่วัน ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหา
และใช้ประโยชน์ยีนข้าวร่วมมือกับ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว (กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน พันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นทนต่อน้ำท่วมขังได้นานประมาณ 15 - 21 วัน และ
เมื่อทดลองปลูกในพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมฉับพลัน

ในปีการเพาะปลูก 2547/2548 ที่จังหวัดหนองคาย พบว่า สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำ
ท่วม ทนต่อน้ำท่วมและฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดีกว่าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ปกติ โดย
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 303 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ปกติเสียหาย
จากน้ำท่วม ให้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 56 กิโลกรัมต่อไร่

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ไบโอเทค
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการข้าว และมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ น้อม
เกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 3,000 กิโลกรัม แด่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2550 ของสำนัก
งานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และทรงพระราชทานเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวแก่สมาชิก
สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้สมาชิกในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ และผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้ปลูกและ
ขยายพันธุ์สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ได้แจกจ่ายเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
ทนน้ำท่วมฉับพลัน ให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกข้าวคุณธรรม จำนวน 45 คน ในพื้นที่ 150 ไร่ ใน 3
จังหวัด คือ จ.ยโสธร ได้แก่ อ.เมือง อ.ทรายมูล อ.กุดชุม อ.คำเขื่อนแก้ว อ.ป่าติ้ว จ.อำนาจเจริญ
ได้แก่ อ.เมือง อ.หัวตะพาน และ จ.ศรีษะเกษ ได้แก่ อ.โนนคูณ ได้ผลผลิตในปี พ.ศ. 2550 ทั้ง
หมดประมาณ 37,500 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 220-500 กิโลกรัมต่อไร่) ทั้งนี้ สมาพันธ์เกษตร
อินทรีย์แห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว
ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยเกษตรกรที่ได้รับเมล็ดพันธุ์ในปี พ.ศ. 2550 ต้องนำ
เมล็ดพันธุ์มาคืนเข้ากองทุนฯ เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรรายอื่นปลูกในปี พ.ศ. 2551 ต่อไป
โดยเกษตรกรได้นำผลผลิตปี พ.ศ. 2550 เข้ากองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน จำนวน 2,000
กิโลกรัม นอกจากนี้ เทศบาลตำบลน้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ได้ตั้งโครงการจัดทำแปลงสาธิตปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 10
ไร่ในปี พ.ศ. 2551 โดยเมล็ดพันธุ์ที่ได้จะแจกจ่ายให้กับเกษตรที่ต้องการเมล็ดพันธุ์ไปปลูกใน
พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมต่อไป

ในส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบหมายให้ สำนักงานเกษตร
จังหวัดอุตรดิตถ์ สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและคัดเลือกเกษตรกร เพื่อปลูกและขยายข้าวพันธุ์ขาว
ดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.ลับแล และ อ.ท่าปลา มี
เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 20 คน ในพื้นที่ 71 ไร่ โดยในปี พ.ศ. 2550 ได้ผลผลิตทั้งหมด
ประมาณ 35,000 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 460-615 กิโลกรัมต่อไร่)

ในภาพรวม ผลการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน ในปี พ.ศ. 2550 ภายใต้สภาพ
ปกติได้ผลผลิตเฉลี่ย 220-615 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เดิม
มีลำต้นแข็งแรง รวงยาว เมล็ดติดดี ไม่ร่วงง่าย น้ำหนักเมล็ดดี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสารยาว
สวย มีกลิ่นหอมเหมือนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม และให้ผลผลิตดีแม้เจอสภาพแล้ง เกษตรกร
มีความพึงพอใจ และเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้เพื่อปลูกในแปลงของตนเองและแจกจ่ายให้กับเกษตรกร
คนอื่นๆในหมู่บ้านต่อไปการสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
ทนน้ำท่วมฉับพลัน


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 6:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 8:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 สำหรับนาปรัง *

ประเทศไทยส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมากว่า 20 ปี ในปี พ.ศ. 2550 ส่งออกข้าวได้ 9.20
ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 119,304 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 32 ในปีเพาะปลูก
2549/50 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 57.54 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 22.84 ล้านตัน มีพื้นที่
ปลูกข้าวนาปรัง 10.07 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือก 6.80 ล้านตัน โดยผลิตข้าวหอมมะลิ ข้าว
เจ้าอื่นๆ และข้าวเหนียวคิดเป็นร้อยละ 28, 45 และ 27 ของผลผลิตทั้งหมดตามลำดับ จากพื้นที่
ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด 18.2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ซึ่งเป็นข้าวนาปีถึง 15
ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ร้อยละ 83 ของพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด และ
คิดเป็นร้อยละ 26 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของประเทศ ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ข้าวที่
ปลูกมากเป็นอันดับสองรองจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

สาเหตุที่เกษตรกรนิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ข้าวสุกอ่อนนุ่ม
และมีกลิ่นหอม แต่ปัญหาของการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 คือ เป็นข้าวนาปีซึ่งไวต่อช่วงแสงจึง
ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้นไม่สามารถปลูกในฤดูนาปรังได้

คำว่า “ข้าวนาปี หรือข้าวไวต่อแสง” เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้เฉพาะในฤดูฝน ออกดอกตรงตามฤดู
กาลเพราะต้องการช่วงแสงจำเพาะเพื่อการออกดอก (ไวต่อช่วงแสง) ไม่ว่าจะปลูกข้าวพันธุ์นั้นเมื่อ
ใด เช่น การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาคอีสาน ไม่ว่าจะปลูกข้าวพันธุ์นี้เมื่อใด จะออกดอก
ในช่วงเดือนตุลาคม เท่านั้น ส่วนคำว่า “ข้าวนาปรัง หรือพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง” เป็นพันธุ์ข้าวที่
มีอายุการเก็บเกี่ยวค่อนข้างแน่นอน เมื่อมีอายุครบถึงระยะเวลาออกดอก จะออกดอกโดยไม่ต้อง
อาศัยช่วงแสงเป็นตัวกำหนด จึงปลูกข้าวชนิดนี้ได้ตลอดทั้งปี แต่เกษตรกรมักจะเรียกว่า
ข้าวนาปรัง แม้ว่าจะปลูกได้ตลอดปีทั้งในฤดูนาปีที่อาศัยน้ำฝน และในช่วงฤดูแล้งที่ต้องใช้น้ำชล
ประทาน เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ให้ปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรัง ศูนย์พันธุวิศวกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยา
ลัยแม่โจ้ และศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กรมการข้าว ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข
6 ให้ไม่ไวต่อช่วงแสง และมีคุณภาพการหุงต้มและลักษณะอื่นๆ เหมือนกับพันธุ์ กข6 โดยใช้
โมเลกุลเครื่องหมายในการคัดเลือกร่วมกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม (conventional
breeding)

ปัจจุบันได้สายพันธุ์ข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และเมื่อทดลองปลูกข้าวเหนียว กข 6 ที่ได้จาก
การปรับปรุงพันธุ์เปรียบเทียบกับข้าวเหนียว กข 6 พันธุ์เดิมที่ไวต่อแสงในเรือนทดลอง โดยให้ต้น
ข้าวทั้งสองพันธุ์ได้รับแสง 14 ชั่วโมง/วัน ซึ่งเป็นสภาพวันยาว ต้นข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เดิมไม่
ออกดอก แสดงว่าเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงที่ปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ส่วนต้นข้าวเหนียวสายพันธุ์
กข 6 ที่ได้จากปรับปรุงพันธุ์ออกดอกได้ จึงใช้ปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรังการทดสอบผล
ผลิตเบื้องต้นในฤดูนาปี 2550 ที่นาทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัด
เชียงใหม่ พบว่า ผลผลิต องค์ประกอบของผลผลิต คุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดข้าวเปลือก
และข้าวสารของสายพันธุ์ข้าว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ไม่แตกต่างกับข้าว
พันธุ์ กข 6 เดิม เมื่อนำข้าวสารของสายพันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงไปหาปริมาณสาร
หอมในข้าว พบว่ามีสารหอมเช่นเดียวกับข้าวพันธุ์ กข 6 เดิม ในขั้นต่อไป คณะนักวิจัยต้องนำสาย
พันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงนี้ ไปปลูกทดสอบร่วมกับข้าวพันธุ์ กข 6 กข 10 และสัน
ป่าตอง 1 ในหลายพื้นที่ และหลายฤดูอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อศึกษาศักยภาพในการให้ผลผลิต
ลักษณะทางการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งลักษณะกายภาพและคุณภาพในการหุงต้ม ตามขั้นตอน
ของกรมการข้าว ก่อนเผยแพร่ให้เกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อไป ซึ่งคาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่ปี
ข้างหน้า เกษตรกรไทยจะปลูกข้าวเหนียวพันธุ์กข 6 ได้ตลอดปีทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ข้าวสาย
พันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงในแปลงทดสอบผลผลิตเบื้องต้น ในฤดูนาปี 2550 ที่นาทดลอง
ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสาร
ของข้าวสายพันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสง เปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ กข 6 เดิม


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 6:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล *

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มักระบาดในช่วงที่อากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสูง
ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงทั้งในเขตนาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในปี พ.ศ.
2533 มีการระบาดรุนแรงในพื้นที่นาภาคกลาง ผลผลิตลดลง 1.5-1.8 ล้านตันข้าวเปลือก คิด
เป็นมูลค่าในขณะนั้นประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 พบการแพร่
ระบาดรุนแรงใน อ.สามโก้ จ.อ่างทอง มีพื้นที่นาเสียหาย 100% เกือบ 1,000 ไร่ และพบการ
ระบาดกว่า 70-80% ของพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 40,000 ไร่

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบและคอรวงต้นข้าว ตัวเต็มวัยสีน้ำตาล
ทำลายต้นข้าวในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแปลงนาที่ปลูกข้าวติดต่อกันนานโดยไม่เว้น
ช่วงพักมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผิดประเภทในนาข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมาก
ขึ้น เนื่องจากแมลงตัวห้ำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถูกทำลาย ในขณะที่เพลี้ยปรับตัว
ได้ ต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ในระยะกล้า ต้นข้าวที่
ออกรวงมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา นอกจากทำลายต้นข้าวโดยตรงแล้ว เพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ทำให้ใบข้าวหงิกไม่สามารถออกรวงได้

การปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาลให้ลดลง อย่างไรตาม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พันธุ์ข้าวที่พัฒนา
มีความต้านทานระยะสั้น นักวิจัยจึงต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ถึงแม้ว่าในเขตนาน้ำฝน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังไม่เป็นปัญหาหลัก แต่
จากข้อมูลหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีเพิ่มมากขึ้น และจะ
กลายเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง

ในการปลูกข้าวนาน้ำฝน และจากการที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นข้าวสายพันธุ์ดีที่
ปลูกในเขตนาน้ำฝน และไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วย
ปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไบโอเทค ได้ร่วมมือกับ กรมการข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 ให้
ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

คณะนักวิจัยทำการรวบรวมและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการสืบหาพันธุกรรมข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และใช้
เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ ในการสืบหาตำแหน่งของยีน เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทาน
ซึ่งคณะนักวิจัยพบว่า ข้าวสายพันธุ์จากประเทศศรีลังกาและอินเดีย มีความต้านทานต่อเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทยจึงเป็นแหล่งพันธุกรรมของความต้านทานที่ดี และเมื่อสืบหายีน
ควบคุมลักษณะความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวทั้งสองพันธุ์ พบว่า พันธุ์ข้าวจากศรี
ลังกามียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ส่วนพันธุ์ข้าวจากอินเดียมียีนต้านทานอยู่บน
โครโมโซมที่ 6 จึงพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ที่ มีความแม่นยำ สำหรับช่วยในการคัด
เลือกความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์

คณะนักวิจัยได้ปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้
พันธุ์ข้าวจากศรีลังกาและอินเดีย ผสมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และใช้เครื่องหมายโมเลกุล
ในการติดตามและคัดเลือกต้นข้าวขาวดอกมะลิที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบัน
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ใหม่ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือก
ลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร สำหรับการ
ปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ กข 6 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการคัด
เลือกและทดสอบความต้านทาน

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสี
น้ำตาล ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และทนน้ำท่วมฉับพลัน และได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มี
ลักษณะต้านทานทั้งสามรวมอยู่ด้วยกัน และอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการเกษตร
และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2010 6:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 13/03/2010 8:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การวิจัยและพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เป็นตลาดรองรับแรงงานขนาดใหญ่ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก
อ้อยรวมทั้งประเทศ 6.5 ล้านไร่ มีโรงงานน้ำตาล 46 โรงงาน ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก
น้ำตาลทราย 21,800 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผลผลิตอ้อยโดยเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 7-10 ตันต่อ
ไร่ ในขณะที่ประเทศคู่แข่งที่ส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ คือ บราซิล และออสเตรเลีย อยู่ที่ 13-15
ตันต่อไร่ การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรม
อ้อยและน้ำตาล เพราะเกี่ยวพันกับปัญหาด้านความหวาน ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ปัญหาด้านแมลง
และโรค เช่น หนอนกออ้อย และโรคใบขาว

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงสนับ
สนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อย

ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ความหลากหลายของฐานพันธุกรรม มีความจำเป็นอย่างมากในการนำ
ลักษณะที่ดี ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่หลากหลายเหล่านี้ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ให้มีลักษณะที่ต้อง
การ ไบโอเทคสนับสนุน ร.ศ. ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บรวบรวม
สายพันธุกรรม

อ้อยที่มีอยู่ในประเทศ ทั้งสายพันธุ์อ้อยที่ใช้ในเชิงการค้า รวมทั้งสายพันธุ์อ้อยป่า หรือพืชในตระกูล
ใกล้เคียงและเนื่องจากการเก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ ต้องอาศัยการผสมพันธุ์ที่
ต้องใช้ดอก จึงได้เลือก บ้านทิพุเย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นสถานีเก็บรวบรวมสาย
พันธุ์อ้อย และผสมพันธุ์

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ที่อ้อยเกือบทุกสายพันธุ์ออกดอกได้ปัจจุบัน สถานี ฯ เก็บรวบ
รวมอ้อยสายพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 1,280 สายพันธุ์ สำหรับใช้ผสมพันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ได้
ผลผลิตและน้ำตาลสูงขึ้น ในจำนวนนี้ มีพันธุ์อ้อยที่ใช้ในการผลิตเชิงการค้า ที่มีฐานพันธุกรรมจาก
ต่างประเทศ ประมาณ 21 สายพันธุ์ และพันธุ์การค้าที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศไทย เช่น ชัยนาท 1 อู่
ทอง 1 และ K-84-200

พันธุ์อ้อยที่เก็บรวบรวมไว้ จะมีประวัติที่สามารถสืบค้นกลับไปถึงที่มาของสายพันธุ์พ่อแม่ได้ถึง
3-5 รุ่น ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของอ้อยไทย มีข้อมูลลักษณะพันธุ์ ลักษณะของดินปลูกที่
เหมาะสมกับพันธุ์ มีฐานข้อมูล การผสมพันธุ์ ระยะเวลาการออกดอก ความยากง่ายในการผสมติด
และลักษณะเด่นของลูกผสมที่ได้


ผลงานเด่น่นไบโอเทค
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ถัดไป
หน้า 1 จากทั้งหมด 10

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©