-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 29 DEC *ต้นทุนนาข้าว, กล้วยตายพราย
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 29 DEC *ต้นทุนนาข้าว, กล้วยตายพราย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 29 DEC *ต้นทุนนาข้าว, กล้วยตายพราย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 30/12/2014 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 29 DEC *ต้นทุนนาข้าว, กล้วยตายพราย ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร รายการวิทยุ 29 DEC

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (086) 771-32xx
ข้อความ : ผู้พันครับ นาข้าว 50 ไร่ ต้นทุนค่าแรง ปุ๋ย ยา สูงมาก เมื่อเทียบกับราคาขายที่ได้ ผมดูแล้วเห็นว่า เป็นต้นทุนที่จำเป็น ลดหรือตัดไม่ได้ ผู้พันมีความคิดเห็น หรือมีแนวทางแก้ ปัญหานี้อย่างไรบ้างครับ .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ทุกคำตอบต่อไปนี้ เกิดจาก “คิดเอง” ของคนที่ไม่ได้ทำนาข้าวเป็นอาชีพ ชนิดทำกับมือ ทุกเรื่องทุกประเด็น คือ ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ ฟังแล้วคิดต่อ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ด้วยเรื่องหรือประเด็นที่ตัวเองหรือคนข้างบ้านประสบมา .... สำคัญที่สุด คือ ยอมรับไหมว่า นี่คือปัญหาที่แท้จริง นี่คือต้นเหตุแห่งความล้มเหลวทั้งมวล

- ปัญหาเดิม ปัญหาเดียวกัน แต่ต่างเจ้าของกัน เช่น ปัญหาข้าวก็ว่าไม่ใช่ข้าวฉัน ไม่ใช่ข้าวผม เป็นข้าวของคนอื่น จึงเกิด คนถามใหม่-ปัญหาเดิม-คำตอบเดิม นี่คือ จุดอ่อนหนึ่งแห่งปัญหาการเกษตรบ้านเรา ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า บ้านอื่นประเทศอื่นเขาเป็นเยี่ยงนี้บ้างไหม

- เท่าที่ได้สัมผัสกับเกษตรกรมา 20 ปี พอจะสรุปได้ว่า คิดไม่เป็น กับ ไม่ยอมคิด มันคนละเรื่องคนละอย่างกัน .... “คิดไม่เป็น” คือ ความไม่มีความรู้ ไม่รู้จริงๆ แต่ “ไม่ยอมคิด” คือ รู้ทั้งรู้ เพราะยึดติด คำพระเรียกมิจฉาทิฐิ

– ว่ามั้ย ทุกปัญหา ตัวเองทำเอง ทั้งนั้น .... คนไม่มีความรู้จริงๆ อันนี้น่าสงสาร ถ้าคิดซักหน่อยก็น่าจะบอกตัวเองได้ว่านั่นมัน ใช่หรือไม่ใช่ .... คนมีความรู้ รู้ทั้งรู้แต่ยึดติด อันนี้ให้ปล่อยไป บอกยังไงก็ไม่เชื่อ พูดยังไงก็ไม่ฟัง

– ความชะล่าใจ หรือความประมาท หรือความไม่ใส่ใจ หรือเจ็บไม่จำ ไม่ทำไม่คิดอะไรทั้งสิ้น รู้ทั้งรู้ก็ได้แต่รอให้ปัญหามันเกิดซะก่อน .... ที่ว่า :

.... ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำตระกูลเผ่าพันธุ์ วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา หรือศัตรูพืชกำลังขยายพันธุ์

.... ไม่มีสารเคมี หรือสารสมุนไพรใดในโลกนี้ ที่ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เป็นแล้วเป็นเลย เสียหายแล้วเสียหายเลย ต้องกันก่อนแก้

.... ข้าวเป็นพืชที่มีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน คือมากถึง 200 ชนิด/ชื่อ เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ

- นาข้าว 50 ไร่ เมื่อไม่ทำเองก็ต้องจ้าง จ้างคือจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างอยู่แล้ว สำคัญที่ จ้างให้ทำอะไร ? ทำอย่างไร ? ทำเพื่ออะไร ? ทำแล้วได้อะไร ? ได้เท่าไหร่ ?

- ระหว่าง “จ้างให้ทำสินค้าราคาถูก” กับ “จ้างให้ทำสินค้าราคาแพง” อย่างไหนคุ้มค่าจ้างกว่ากัน

- กรณีนาข้าว ได้ข้าวมาแล้ว ระหว่างขายเป็น ....
* ข้าวพันธุ์รวมกองให้โรงสี .... หรือ
* ขายเป็นข้าวปลูก ทำพันธุ์ .... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องขาย .... หรือ
* สีเป็นข้าวกล้องงอกขาย .... ตลาดไหนได้ราคาดีกว่ากัน ?

หรือแม้แต่ทำ....
* ข้าวเบญจรงค์ 5 สี .... หรือ
* น้ำมันรำ .... หรือ
* จมูกข้าวบรรจุแคปซูล .... แต่ละอย่าง หรือทุกอย่าง มูลค่าเพิ่มเท่าไหร่ ?

แม้แต่แกลบฟางเอามาทำปุ๋ยอินทรีย์ แบบนี้จ้างแรงงานก็จ้างไปเถอะ คุ้มค่าจ้างทั้งนั้น นี่แหละที่เรียกว่า “คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น” ในเมื่อมีคนทำได้ แต่เราทำไม่ได้ อันนี้ก็ว่ากันไป


@@ วิเคราะห์ปัญหาแบบแยก “มูลเหตุ และการแก้ไข” ทีละประเด็น :
* “ต้นทุนค่าแรง” :
- แรงงานหายาก ... แก้ไขโดย จ้างให้น้อยคนที่สุด แล้วใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย
- เครื่องทุ่นแรงประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน .... แก้ไขโดย เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องทุ่นแรงเทคโนโลยีรุ่นใหม่

- เครื่องฉีดพ่นแบบไทยประดิษฐ์ สุพรรณบุรี บรรทุก “น้ำ+ปุ๋ย+ยาสมุนไพร” ครั้งละ 200 ล. มีแขนหัวฉีดยื่นออกข้าง ข้างละ 10 ม. (2 ข้าง = 20 ม.) ทำงานได้วันละ 50 ไร่ แรงงานคนเดียว

(คุณพนมฯ ใช้ประจำ ถามเบอร์โทรที่ชาตรี 081-841-9874 .... ลูกหลานที่เรียนเทคนิคเครื่องจักรกลก็ทำได้ ทำใช้-ทำรับจ้าง-ทำขาย-ทำแจก-ทำทิ้ง .... คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องให้โอกาสเขา)

- จ้างแรงงานไม่ทำตามสั่ง ชอบอ้างว่า ไม่เคยทำ/แถวนี้ไม่มีใครทำ/ไม่ได้ผล .... แก้ไขโดยทำความตกลงให้แน่นอนก่อนว่าจ้าง ไม่ตกลงก็ไม่จ้าง

- แรงงานพูดยาก .... แก้ไขโดย บอกจ้างประจำ เพื่อให้มีรายได้ประจำ
- แปลงใหญ่ 50 ไร่ .... แก้ไขโดย ลดขนาดเหลือ 20 ไร่ ทำเองสองคนผัวเมีย ที่เหลือให้เขาเช่า

* “ต้นทุนค่าปุ๋ย”
- ต้นทุนค่าปุ๋ยสูง ....แก้ไขโดย จับหลักสมการปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
– ใส่ปุ๋ยมากเพราะดินไม่กินปุ๋ย .... แก้ไขโดย ปรับสภาพดินด้วย ปุ๋ยอินทรีย์/จุลินทรีย์ ดีรุ่นนี้แล้ว ดีต่อรุ่นหน้า รุ่นต่อๆ ไปด้วย เลิกปลูกข้าวเปลี่ยนเป็นปลูกอะไรก็ได้ เพราะดินดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

- ต้นทุนค่าปุ๋ยทางดินสูง .... แก้ไขโดย ซื้อปุ๋ยทางใบ แล้วดูเนื้อในส่วนผสม ไม่ใช่ดูแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคาแพง เพื่อความชัวร์ ทำเอง 50 ซื้อ 50 หรือทำเอง 100 หรือซื้อ 100

- ค่าขนส่งแพง .... แก้ไขโดย สั่งซื้อแบบให้ส่งถึงที่หรือทาง ปณ. สั่งซื้องวดเดียว 1 รุ่น หรือแบ่งสั่งซื้อ 2 งวด

- ซื้อปุ๋ยผิด .... แก้ไขโดย ตรวจสอบคนขายปุ๋ย เมื่อมั่นใจแล้วเป็นลูกค้าประจำ มีบริการหลังการขาย ให้คำปรึกษาได้

* “ต้นทุนค่ายา (สารเคมียาฆ่าแมลง)”
- ราคา แก้ไขโดยจับหลักสมการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด
– ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ตัวศัตรูพืช (ชื่อ วงจรชีวิต สภาพแวดล้อม ฯลฯ) แก้ไขโดยรวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

– ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ชื่อสามัญ ชื่อการค้า ออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืช แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

– ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อพืช สภาพแวดล้อม แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

– ไม่มีมีความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียจากการใช้สารเคมีต่อคน สัตว์เลี้ยง แก้ไขโดย อ่านฉลาก ถามย้อนไปที่บริษัทผู้ผลิต, รวมกลุ่มสอบถาม จนท.เกษตร, ให้ลูกหลานเปิดอินเตอร์เน็ต

- รู้เทคนิคการตลาดของคนขาย อย่ายึดติดแค่ ยี่ห้อ/โฆษณา/ราคา เท่านั้น แก้ไขโดย ถามคนในกระจก

- ระวังสารเคมียาฆ่าแมลงประเภท ลด/แลก/แจก/แถม แก้ไขโดย ถามคนในกระจก
- ระวังสัมภเวสี เร่ขายตามบ้าน แก้ไขโดย ถามคนในกระจก

* “ต้นทุนที่จำเป็น”
– จ่ายทุนตามใจคน (ตัวเอง ข้างบ้าน) ไม่จ่ายทุนตามความเหมาะสมของพืชตระกูลข้าว
– จ่ายทุนทุกครั้งนึกถึงผลรับ ระยะสั้น/ระยะปานกลาง/ระยะยาว

- คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ให้ออกว่าการลงทุนทำได้ด้วย ลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้วยเวลาเอาผลผลิต ลงทุนด้วยเวลาไม่เอาผลผลิต

* “ลดหรือตัด”
- พิจารณาผลต่อต้นข้าว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตามความเหมาะสมของต้นข้าว
– พิจารณาผลที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมทางสังคม เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของเรา


@@ ต้นทุนนาข้าว อินทรีย์นำ เคมีเสริม :
- เขียนรายจ่ายที่เป็นเงินทุกรายการ .... (ปุ๋ย ยา น้ำมัน แรงงาน ค่าเช่า เทคโนโลยี) แล้วมาพิจารณา ความจำเป็น, ความถูกต้อง, ทำเอง/ซื้อ, ความคุ้มค่ารุ่นนี้/รุ่นหน้า/รุ่นต่อๆไป

- เขียนรายจ่ายที่ไม่ไม่เป็นเงินทุกรายการ .... ที่ดิน, เวลา, โอกาส,
- เขียนรายรับจากการตลาด .... ผลตอบแทน(มูลค่า) จากการขายที่ โรงสี, ร้านข้าวปลูก, แปลงข้างบ้าน, แปรรูปขายปลีก/ส่ง,

- บัญชีข้างฝา .... ทุกคนเห็น อ่านแล้วคิดตามอัทธยาศรัย ช่วยเตือนสติทุกคนในบ้าน เพื่อนบ้าน, สร้างนวัตกรรมทางความคิดใหม่ ผิดกับบัญชีบนสมุดที่เรียกว่า บัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน เขียนแล้วเก็บไว้บนโต๊ะหรือในลิ้นชักโต๊ะ บัญชีแบบนี้คนเขียนรู้แค่คนเดียว เชื่อว่าคงไม่มีใครในบ้าน แม้ แต่ลูกเมียผัวของตัวเองหยิบมาอ่านหรอกนะ

--------------------------------------------


จาก : (098) 734-07xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ผมลงกล้วยหอมทอง 10 ไร่ ปลูกรอบแรก ปลูกจากหน่อหลายอายุ ตอนนี้บางส่วนเริ่มออกเครือ บางส่วนยังไม่ออก ต้นที่ออกเครือเริ่มกาบเน่า ใบเหลือง มีหลายต้นโค่นหักกลางต้น ถามคุณลุงว่าเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร แปลงปลูกเป็นสวนส้มเก่า ยกร่องน้ำหล่อ อยู่ธัญญบุรี .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ชัดเจน นี่คือโรค “ตายพราย” ในกล้วย เชื้อตัวนี้เป็นไวรัสชื่อ “ฟูซาเรียม” เกิดเองเมื่อดินเป็นกรดจัด ดินไม่เป็นกรดจะไม่เกิด หรือเกิดมาแล้วก็ตายไปเอง นอกจากนี้ในความเป็นกรดจัดของดินก็จะมีเชื้อโรคตัวอื่นตามมาอีก ได้แก่ ไฟธอปเทอร์ร่า. พีเทียม. สเคลโรเทียม. ไรซ็อคโทเนีย. ใส้เดือนฝอยรากปม. กับอีก 8-9-10 ชื่อ ไม่ได้ท่องมา ที่แน่ๆ ทุกเชื้อโรคเกิดเองทั้งนั้น เกิดเพราะดินเป็นกรดจัด

ในความเป็นกรดจัดของดิน นอกจากเกิดเชื้อโรคแล้ว การเจริญเติบ โตของพืชก็ชะงัก กระทั่งยืนต้นตายได้ ในทางกลับกัน หากดินไม่เป็นกรดจัด นอกจากไม่เกิดเชื้อโรคแล้ว ยังส่งให้พืชเจริญเติบโตอีกด้วย

ดินเป็นกรดจัดเพราะคนใส่กรดลงไป หรือเกิดจากการกระทำของคน ได้แก่
1. ใส่ปุ๋ยเคมีผิดสูตร ผิดอัตรา ผิดดิน ผิดน้ำ ผิดอินทรีย์วัตถุ พืชเอาไปกินไม่ได้ เหลือตก ค้างในดิน ทำให้ดินเป็นกรด เพราะตัวปุ๋ยเคมีเองเป็นกรด

2. ฉีดพ่นหรือละอองยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ลงไปสัมผัสกับดิน ตัวยาฆ่าแมลงยาฆ่าเองเป็นกรดจัด
3. ใช้น้ำในร่องรดต้นกล้วย น้ำในร่องเป็นกรดจัด เพราะพื้นดินย่านนั้นเป็นกรดจัด ไต้พื้น ดินมีกำมะถัน

4. ในดินไม่มีจุลินทรีย์ช่วยปรับโครงสร้างดิน และช่วยกำจัดเชื้อโรคในดินให้
5. ดินเหนียว น้ำขังค้างนาน อากาศลงไปไม่ได้ กลายเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ดินเป็นกรดจัด

- ลักษณะหรือสาเหตุเดียวกันนี้ เกิดขึ้นได้ในดินทุกที่ และต่อพืชทุกชนิด

การแพร่ระบาด :
มักจะแพร่ระบาดกับกล้วยที่ปลูกในดินเหนียวการระบายน้ำไม่ดี เชื้อราสามารถเกิดสปอร์ บนผิวหนังเหง้า แล้วแพร่ระบาดติดไปกับหน่อพันธุ์สู่พื้นที่ปลูกใหม่ได้ หรืออาจะถูกน้ำพัดพาไป

ลักษณะอาการ :
เชื้อราจะเข้าทำลายราก แล้วเจริญเข้าไปอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของเหง้าและโคนลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารเกิดอุดตัน และเน่าเป็นสีน้ำตาลตัดกับเนื้อเยื่อสีขาวอย่างเห็นได้ชัด ของเหลวจากเซลที่เน่าจะไหลเข้าไปอุดตันท่อน้ำท่ออาหารด้วยเช่นกัน เมื่อโรคมีความรุนแรงจะทำให้ท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มและแดงม่วง ซึ่งเป็นผลให้การส่งผ่านน้ำและแร่ธาตุอาหารไม่สามารถเป็นไปตามปกติได้ เพราะท่อน้ำท่ออาหารเสื่อมสภาพ ใบจึงเกิดขาดน้ำมีลักษณะอาการเหี่ยวเฉาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผืนใบอาจเหี่ยวย่น และหักพับลงมาขนานแนบลำต้น ส่วนใบยอดนั้นยังเห็นสีขาวและเจริญตั้งตรงอยู่บนยอด กาบของลำต้นเทียมจะประกบอยู่อย่างหลวมๆ แล้วแยกออกและห้อยลงมา การเจริญเติบโตจะชะงักงัน ไม่ผลิดอกออกผล ในขณะเดียวกันก็อาจมีหน่อกล้วยงอกเจริญออกมาสดใสเหมือนปกติอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจะชะงักการเจริญ มีลักษณะอาการเหี่ยวเฉาตามมา อย่างไรก็ตาม ทั้งต้นแก่และต้นอ่อนเมื่อผ่าลำต้น ตรวจดูตามขวางจะพบว่ากาบที่อยู่ภายนอกจะมีเนื้อเยื่อสีเหลือง แต่กาบถัดเข้าไปจะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง

การป้องกันและกำจัด :
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วย อย่าให้รกรุงรังเพราะอาจจะเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคได้
– อย่าน้ำขังค้างนาน โดยการทำช่องทางระบายน้ำให้ดี

– ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสะดวก ด้วยการใส่ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอิน ทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น.

– ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 เดีอนละครั้ง
– ให้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า (ราเขียว) สม่ำเสมอ และให้ก่อนดินเป็นกรด

– หลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำที่เดิม วิธีการคือ ปลูกกล้วยรุ่นเดียว ตัดเครือแล้วเปลี่ยนพืชปลูกเพื่อตัววงจรชีวิตเชื้อโรค
- พบกล้วยที่เป็นโรคนี้ ให้ตัดต้นเผาไฟทิ้ง พรวนดินหลุมปลูก ตากแดดให้แห้ง ใส่หญ้าห้งแล้วเผาเพื่อฆ่าเชื้อโรค .... เผาฆ่าเชื้อแล้วเปลี่ยนพืชปลูกเพื่อตัดวงจรชีวิตเชื้อโรค

@@ บำรุงกล้วยหอม :
- ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติ “น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 60 ซีซี. + ไทเป 60 ซีซี. + ยูเรก้า 60 ซีซี. + สารสมุนไพร 1 ล.” ทุก 15-20 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูก – ออกเครือ – ตกเครือ – เก็บเกี่ยว

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, ขี้วัวขี้ไก่, กระดูกป่น, ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงเตรียมดินเตรียมแปลง, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.)/เดือน/ไร่ .... ไม่ต้องปุ๋ยเคมี เพราะทุกสูตรที่ให้ทั้งทางใบ ทางราก มีเพียงพอแล้วสำหรับพืชตระกูลกล้วย

@@ บำรุงกล้วยหอม แบบเทคโนโลยีชาวบ้าน :
* ก่อนตัดเครือ 2-3 อาทิตย์ ฉีดพ่นด้วยน้ำคั้นมะเขือเทศสุก ให้ทั่วต้นแต่เน้นที่เครือโดยตรง 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ หลังจากตัดเครือ และนำไปบ่มจนสุกแล้วจะได้รสชาติและกลิ่นดีมาก

* คลุมโคนต้นด้วยผักปอด ทั้งต้น ใบ และราก ใส่ทับด้วยยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตดี

* หลังตัดปลี 20-30 วัน ห่อผลด้วยกระสอบปุ๋ยหรือห่อด้วยใบกล้วย เครือที่ห่อด้วยใบกล้วย จะให้คุณภาพดีกว่าห่อด้วยกระสอบปุ๋ย

* ธรรมชาติของกล้วยเมื่อผลในเครือแก่ได้ 3 ใน 4 ของเครือ ใบธงจะเริ่มเหลืองโทรม นั่นคืออาการหมดอายุขัย ในเมื่อผล 1 ใน 4 ของเครือที่ปลายเครือยังแก่ไม่จัดแล้วใบเลิกสังเคราะห์อาหารจึงไม่ได้รับสารอาหาร แก้ไขด้วยการให้ “แม็กเนเซียม - สังกะสี” ใบธงก็จะเขียวยันวันตัดเครือ

---------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©