-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ผักปอดน้ำ กับ ผักตบชวา
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ผักปอดน้ำ กับ ผักตบชวา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ผักปอดน้ำ กับ ผักตบชวา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 09/02/2010 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ผักปอดน้ำ กับ ผักตบชวา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากทราบว่าผักปอดน้ำกับผักตบชวาเป็นผักตัวเดียวกันรึเปล่า

เรียนผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจให้ทราบเพื่อประเทืองปัญญาด้วยจ้า Laughing
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เอ้า.... ใครช่วยตอบที
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.thetimestar.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=66033&Ntype=2

แพงพวยน้ำ

ชื่ออื่น : ผักปอดน้ำ พังพวย ผักแพงพวย

ประโยชน์ทางอาหาร : ยอดอ่อน-ลวกให้สุกแล้วยำใส่กุ้งแห้ง เนื้อหมู ผักกระเฉด หรือแกงส้ม

ประโยชน์ ทางยา : แก้ร้อนใน แก้ไอแห้ง แก้บิด หัด แผลอักเสบ ผื่นคัน แผลเรื้อรัง ขับปัสสาวะ โรคผิวหนัง เหน็บชา อัมพาต มะเร็ง และแก้หนองใน

สภาพที่เจริญเติบโต : พบตามบริเวณที่ชื้นแฉะ ในนาข้าวบริเวณคันนา แปลงเพาะปลูก

ฤดูที่ใช้ประโยชน์ : ตลอดปี
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://doctor.or.th/node/5280

พังพวย

“สมุนไพรที่นำเสนอนี้ ผู้เขียนได้แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ “พจนานุกรมสมุนไพรจีน” ของประเทศจีน ขนาดน้ำหนักของสมุนไพรที่ใช้นี้แปลและคิดคำนวณมาจากที่จีนบันทึกไว้ ซึ่งเป็นขนาดใช้ในผู้ใหญ่ ดังนั้นเวลานำมาใช้จึงต้องดัดแปลงน้ำหนักของยาให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนักและสุขภาพของผู้ใช้ด้วย เริ่มลงตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปีที่ 1”



ชื่ออื่นๆ

พังพวย (ไทย) ผักปอดน้ำ (พายัพ) ก้วย นั่งจั้ว จุ่ยเล้ง ปี่แป่ฉ่าย ชื่อเผื่อเข่า (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Jussiaea repens Linno วงศ์ Onagraceae

ลักษณะต้น

เป็น พืชที่ลอยอยู่ในน้ำหรือที่ชื้นแฉะ มีราก พยุงช่วยให้ลอยน้ำอยู่ได้ เป็นรูปทรงกระบอกกลมสีขาว ยาวประมาณ 1.5-5 ซ.ม. ตามข้อมีรากเป็นเส้นฝอยๆ มากมาย

ใบ ออกตรงกันข้าม ยาว 1.5-5 ซ.ม. กว้าง 0.5-2.5 ซ.ม. ปลายใบกลมมน ค่อยๆ เรียงเล็กลงมาที่ฐานใบ มีก้านยาวประมาณ 0.3-1 ซ.ม.

ดอก ออกข้างใบ ดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แหลมยาวประมาณ 7 ม.ม. ด้านนอกมีขนอ่อนๆ กลับดอก กลีบดอกมี 5 กลับ หลุดร่วงได้ง่าย มีสีขาว โคนกลีบสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 12 ม.ม. เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 5 ก้อง มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ปลายเป็นตุ่มมีรอยแยกตื้น 5 รอย

ผล เป็นฝักทรงกระบอกตรง อาจมีขนหรือไม่มีก็ได้ ยาว 2-3 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ม.ม. มีเมล็ดมาก เมล็ดเรียบเป็นมัน ออกดอกตอนปลายฤดูหนาว มักพบขึ้นตามท้องนา บ่อ สระน้ำ หรือแหล่งน้ำต่างๆ

วิธีเก็บมาใช้

เก็บในตอนที่กำลังออกดอก และลำต้นงอกงามดี ล้างให้สะอาดตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ หรือใช้สดๆ ก็ได้

ลักษณะยาแห้งที่ดี

ควร มีลักษณะลำต้นยาวและอวบอ้วน กว้างประมาณ 3-5 ม.ม. สีออกน้ำตาลแดงมีรอยย่นทั้งตามยาวและตามขวาง มีเนื้อนิ่ม ตามใต้ข้อๆ มีรากแห้งเป็นฝอยสีดำคล้ายเส้นผม กลับมันร่วงง่าย มักร่วงหายหมดไป

สรรพคุณ

ทั้ง ต้นมีรสจืด เย็นจัด ใช้ดับร้อน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษ แก้ไอแห้งๆ แก้ดีซ่านอันเกิดจากพิษสุรา แก้โรคหนองใน หัด ผื่นคัน และแผลอักเสบอื่นๆ

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้

ใช้ต้นแห้งหนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำกิน หรือใช้ต้นสดคั้นเอาน้ำกิน

ใช้ภายนอก ใช้ตำพอกหรือสุมไฟให้เป็นถ่านผสมพอก

ตำรับยา

1.แก้ดีซ่านเกิดจากพิษสุรา ใช้พืชนี้ขณะที่ยังสด 1 กำมือ คั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้งเดือน 5

2. แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นหนอง ใช้พืชนี้ขณะที่ยังสด 30 กรัม น้ำตาลกรวด 15 กรัม ผสมน้ำต้มกิน หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง

3. แก้งูกัด สุนัขบ้ากัด ใช้พืชนี้ขณะที่ยังสด 1-2 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นเอาน้ำกิน แล้วเอากากมาพอกแผล

4. แก้หวัด ตัวร้อน ไอแห้งๆ ใช้พืชนี้ตอนที่แห้งแล้ว หนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำกิน

5. แก้แผลหกล้ม แผลเน่าเปื่อย ใช้พืชนี้ขณะที่ยังสดตำพอก

6. แก้เด็กเป็นฝี มีหัวกลัดหนอง ยังไม่แตก เอาพืชนี้ต้มเอาน้ำล้างและเอาต้นสดๆ ตำพอก

7. แก้กลากน้ำนม ใช้พืชนี้ตำพอก

8. แก้ปวดฟัน ใช้พืชนี้ 60 กรัม ต้มน้ำกิน

9. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ท้องผูก ใช้พืชนี้สดๆ ตำคั้นเอาน้ำ 60-120 กรัม ผสมน้ำผึ้งเดือนห้าอุ่นให้อุ่นแล้วกิน

10. แก้ผดผื่นคัน หัด หลังจากหัดออกแล้วไข้ไม่ลด ใช้พืชนี้สดๆ หนัก 30-60 กรัม คั้นเอาน้ำแล้วต้มกิน

หมายเหตุ

ในไทยและอินโดจีน เอายอดแพงพวยมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก ในมาเลเซียใช้พอกแก้โรคเกี่ยวกับผิวหนังและโรคแผลเรื้อรังต่างๆ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem74460.html

แพงพวย.............นกตะวัน

ในลำคลองเล็กๆแห่งนี้มีพรรณไม้น้ำขึ้นอยู่หลากหลายชนิดเหลือเกิน นอกจากผักบุ้งหรือผักทอดยอดแล้ว เรายังเห็นผักตบชวา จอก จอกหูหนู และแหนลอยอยู่ในน้ำเกลื่อนกลาดไปหมด บางตอนหนาแน่นมากจนแทบบดบังผิวน้ำทีเดียว บางตอนที่น้ำตื้นมีสาหร่ายหางกระรอกชูยอดขึ้นมาระผิวน้ำ ส่วนตามริมตลิ่งมีพืชชายน้ำขึ้นอยู่มากมายเช่นกัน เช่น กก ผักตบไทย เตาเกียด และตาลปัตรฤๅษี รวมทั้งแพงพวยที่ทอดลำต้นเลื้อยลงน้ำปะปนกับผักบุ้ง

แทรกผักบุ้งพุ่งยอดทอดผิวน้ำ
ลำต้นฉ่ำชูใบเขียวใสหนา
ปลายใบมนพ้นน้ำร่ำแสงทา
แพงพวยจ้าแจ่มใสใต้แดดทอ

ต้นเป็นท่อนค่อนกลมอมน้ำอวบ
อ่อนไหวยวบยามลมพัดข่มหนอ
แต่รากขาวยาวหน่อยคอยดึงกอ
พืชลอยล้อลมเล่นเหมือนเช่นเคย

มีดอกเดี่ยวเอี้ยวคลี่สีเด่นขาว
ก้านดอกยาวยื่นตั้งยั้งดอกเฉย
กลีบทั้งห้าอ้าบานมิผ่านเลย
แต้มเหลืองเนยข้างในตรงไส้กลาง

เจ้าเลื้อยคลอกอบุ้งพุ่งไปเรื่อย
แม้ลมเฉื่อยพัดฉิวคลื่นพลิ้วหว่าง
ยังลอยเล่นเช่นเก่าเข้าไปค้าง
เคียงแนบข้างเคล้าบุ้งพุ่งชะลอ

แพงพวย (Creeping Water Primrose; Jussiaea repens) เป็นพรรณไม้น้ำในวงศ์ Onagraceae บางคนเรียกว่า พังพวย หรือ ผักแพง แต่ในภาคเหนือเรียกว่า ผักปอด หรือ ผักปอดน้ำ แต่ในระยะหลังผมมักได้ยินบางคนเรียกพรรณไม้น้ำชนิดนี้ว่า แพงพวยน้ำ คงเรียกให้แตกต่างหรือเพื่อมิให้สับสนกับต้นแพงพวยที่ขึ้นอยู่บนบกซึ่งเป็น ไม้ประดับที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกกันว่า แพงพวยฝรั่ง (Madagascar Periwinkle; Catharanthus roseus) นั่นเอง


เมืองนกกิ้งโครง 7
16 มกราคม 2548
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2

ผักตบชวา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผักตบชวา (อังกฤษ: Water Hyacinth) เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้: ผักปอด, สวะ, ผักโรค, ผักตบชวา, ผักยะวา, ผักอีโยก, ผักป่อง

ประวัติ

ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียใน ฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น[1] ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผักตบชวามีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ก้านใบกลมอวบน้ำตรงกลางพองออกภายในเป็นช่องอากาศคล้ายฟองน้ำช่วยให้ลอยน้ำ ได้ ดอกเกิดเป็นช่อที่ปลายยอดมีดอกย่อย 3-25 ดอก สีม่วงอ่อน มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบบนสุดขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ และมีจุดเหลืองที่กลางกลีบ ขยายพันธุ์โดยการแยกต้นอ่อนที่ปลายไหลไปปลูก

ประโยชน์

* การบริโภค ดอกอ่อนและก้านใบอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้ม
* ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่นหมู ใช้ทำปุ๋ยหมัก ก้านและใบอ่อนนำมารับประทานได้ เครื่องจักสานผักตบชวา
* ด้านสมุนไพร ใช้แก้พิษภายในร่างกาย และขับลม ใช้ทาหรือพอกแก้แผลอักเสบ


เอเลี่ยนสปีชี่ส์

ผักตบชวาจัดเป็น "เอเลี่ยน สปีชี่ส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ในประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1 เดือนผักตบชวาเพียง 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีและทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป[3] จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำและทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบในการกำจัดผักตบชวาจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นอีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกันนี้ จะมีก็แต่ประเทศในแถบยุโรปเท่านั้นที่ปลอดการรบกวน และบริเวณที่ถูกผักตบชวาคุกคามมากที่สุดคือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ประเทศไทยเองมีการเริ่มกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงขนาดมีการออกพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456[4][5] ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์ก่อนต่างๆได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจากแหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของผักตบชวา

บทบาทในการกำจัดน้ำเสีย

ผักตบชวาสามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยการทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ ทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นกรองออก นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมากจะช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียด และจุลินทรีย์ที่ อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จะช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ ทั้ง 3 ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณ 95 % ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ 80 % และ 77 % ตามลำดับ[6] สถานที่แรกในประเทศไทยที่ใช้การบำบัดด้วยวิธีนี้คือ "บึงมักกะสัน" ซึ่งเป็นโครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว โดยใช้หลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผัก ตบชวา


ผักตบในวรรณกรรม

มีปรากฏอยู่ในโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่

ชุมนัก ผักตบซ้อน บอนแซง
บอนสุพรรณหั่นแกง อร่อยแท้
บอนบางกอกดอกแสลง เหลือแล่ แม่เอย
บอนปากยากจะแก้ ไม่สริ้นลิ้นบอน

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11553

ตอบตอบ: 09/02/2010 9:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณ aorrayong....

ทั้งแพงพวย. และตบชวา. เอาไปคลุมโคนต้นกล้วย แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ครั้ง
เดียวก็เหลือจะพอ หรือขี้ไก่ก็ได้ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว กล้วยต้นนั้นจะลำต้นใหญ่โต
ให้ผลเครือใหญ่ยาว จำนวนหวีมาก แต่ละหวีจำนวนผลมาก รสชาติดี

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 12/02/2010 1:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณ aorrayong และลุงคิมที่ให้ความรู้

ขอบคุณจ้า Shocked
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©