-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-จับตา....กลูโคซามิน.สารมหัศจรรย์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - จับตา....กลูโคซามิน.สารมหัศจรรย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

จับตา....กลูโคซามิน.สารมหัศจรรย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11554

ตอบตอบ: 05/02/2010 7:13 pm    ชื่อกระทู้: จับตา....กลูโคซามิน.สารมหัศจรรย์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


สืบเนื่องจากการได้ GUIDE LINE เกี่ยวกับ "ปุ๋ย" สำหรับพืชมาให้คิด โดยว่าปุ๋ยทางใบตัวหนึ่ง/
ยี่ห้อหนึ่ง ราคาแพงมากๆ ลิตรละ "หมื่นหย่อน" (อย่าเดา...ถ้าไม่กลัวกระเทือนใจ) แล้วว่าไม่
แพงเพราะอัตราใช้น้อยมากๆ บอกว่าราคานี้ไม่แพงเลย เพราะใช้เพียง 1-2 ซีซี./น้ำ 1,000
ลิตร ให้นาข้าวได้ครั้งละนับ 100 ไร่ (เพียง 1-2 ซีซี. เนี่ยนะ) มันเป็นสุดยอดความเข้มข้นของ
สารอาหารพืช..... นอกจากสารอาหารสำหรับพืชตัวนี้แล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่งชื่อ "โฟลวานอยด์ หรือ
วาโฟลนอยด์ (ชื่อประมาณนี้) ก็คุณสมบัติเดียวกัน......ข้อมูลแจ้งว่าเป็นนวตกรรมใหม่โดยนัก
วิทยาศาสตร์ไต้หวัน ได้คิดค้น ทดลอง ทดสอบ ในประเทศไทย สนนราคาวันนี้ 50,000 บาท/
ลิตร.

แง่คิดวันนี้ ..... แม้สารอาหารตัวนี้จะเป็นสารอาหารสำหรับคน แต่สามารถนำมา APPLY สำหรับ
ใช้กับพืชได้ เหมือน AMINOPROTINE ประมาณนั้น....แตราคานี้เห็นจะสู้ไม่ไหว

ฝากใครก็ได้ ช่วยค้นหาข้อมูล กลูโคซามิน. กับ โฟลวานอยด์. หรือ โวฟลานอยด์. มาบอก
กล่าวกับพวกเรา เพื่อเติมเพิ่มความรู้......ขอบคุณครับ

ลุงคิมครับผม

...........................................................................................................


กลูโคซามีน เป็นสารซึ่งปรากฏเป็นปกติในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดในร่างกายของเรา โดยการ
สังเคราะห์ที่เริ่มจากกลูโคส

เซลล์ของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อจะใช้กลูโคซามีนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โปรตีโอกลัยแคน
ซึงเป็นสารสำคัญในส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้าง

เมื่ออายุของเรามากขึ้น การทำงานของเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อจะเฉื่อยลง ความสามารถใน
การสังเคราะห์กลูโคซามีนและโปรตีนโอกลัยแคนลดลง ทำให้โครงสร้างของกระดูกอ่อนผิวข้อ
อ่อนแอลง เสี่ยงต่อการแตกสลายจากการใช้งานของข้อ ศักยภาพในการซ่อมแซมการสึกหรอที่
เกิดจากการใช้งานของข้อในชีวิตประจำวันจะลดลงด้วย

มีการสังเคราะห์กลูโคซามีน ผลิตเป็นยารับประทานและยาฉีดเข้าข้อ (กลูโคซามีนซัลเฟต) โดยมี
แนวคิดว่ากลูโคซามีนที่ให้เสริมเข้าไปจากภายนอกนี้ จะช่วยให้เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ นำไปใช้
ในการสังเคราะห์สารที่จะช่วยในการซ่อมแซมผิวข้อได้มากขึ้น

กลูโคซามีนในรูปของยาสำหรับรับประทาน ถูกทำให้อยู่ในรูปที่คงตัวมากขึ้น เป็นกลูโคซามีน
ซัลเฟต ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี สามารถถูกดูดซึมทางลำไส้ได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด
เนื่องจากเป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงทำให้กลูโคซามีนซัลเฟตสามารถซึมผ่านผนัง หลอด
เลือดผ่านน้ำในข้อ และเข้าสู่เซลล์ของกระดูกอ่อนผิวข้อได้โดยง่าย

การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตทางการแพทย์
งานวิจัยที่ศึกษาผลของการใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม
พบว่าการให้ในระยะสั้น (ประมาณ 6 สัปดาห์) ให้ผลในการลดอาการปวด และเพิ่มความสามารถ
ในการทำงานของข้อได้เหนือกว่ายาหลอกและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (ยาไอบู
โพรเฟนไพร็อกซิแคม)

การศึกษาผลระยะยาวในขนาดยา 1,500 มิลลิกรัม วันละครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี เปรียบเทียบ
กับการใช้ยาหลอก พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อที่เสื่อม โดย
ประเมินจากค่าความกว้างเฉลี่ยของข้อซึ่งวัดจากภาพเอกซเรย์

กลูโคซามีนซัลเฟต เป็นยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
แต่ปัจจุบันมีการผลิตกลูโคซามีนในลักษณะอาหารเสริมจำหน่าย

(หวังว่า ผู้ถาม จะไม่ใช่ผู้จำหน่ายกลูโคซามีนที่เป็นอาหารเสริมนะครับ)

ที่มา:
http://www.boneandjointdecade.or.th/bulletin3.shtml


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/02/2010 7:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 05/02/2010 7:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://www.nia.or.th/innolinks/200604/innovtrend.htm

ฯลฯ
กลูโคซามีนคืออะไร มาจากไหน


กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารที่ปรากฏในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดในร่างกายของเรา โดยก
ลูโคซามีนจะถูกสังเคราะห์จากน้ำตาลกลูโคส หลังจากนั้นเซลล์ของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อจะนำกลู
โคซามีนไปใช้เป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์โปรตีโอกลัยแคน ซึ่งเป็นสารสำคัญในส่วนประกอบ
ที่เป็นโครงสร้างของกระดูกอ่อน อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุของคนเรามากขึ้น การทำงานของเซลล์
กระดูกอ่อนผิวข้อจะเฉื่อยลงมีผลให้ความสามารถในการ สังเคราะห์ กลูโคซามีนและโปรตีโอกลัย
แคนลดลงตามไปด้วย ทำให้โครงสร้างของกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอลง และเสี่ยงต่อการแตก
สลายจากการใช้งานของข้อ รวมถึงศักยภาพในการซ่อมแซมการสึกหรอ ที่เกิดจากการใช้งานของ
ข้อในชีวิตประจำวันจะลดลงด้วย


กลูโคซามีน เป็นสารที่เป็นโครงสร้างหน่วยย่อย (building unit) ของไคตินและไคโตซานซึ่ง
เป็นสารที่พบมากในเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนหมึก เปลือกของแมลง และผนังเซลของเห็ดราบาง
ชนิด
โดยไคตินจะถูกย่อยสลายด้วยกรดและผ่านการทำบริสุทธิ์ เพื่อให้ได้กลูโคซามีนที่
อยู่ในรูปบริสุทธิ์สูง ทั้งนี้ กลูโคซามีน ที่สามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมจะต้องอยู่ในรูป
ของ กลูโคซามีนคลอไรด์และกลูโคซามีนซัลเฟตเพื่อใช้สำหรับรับประทาน ซึ่งมีคุณสมบัติละลาย
น้ำได้ดี สามารถถูกดูดซึมทางลำไส้ได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด และเนื่องจากสารประกอบ
กลูโคซามีนทั้งสองน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงทำให้สามารถซึมผ่านผนัง หลอดเลือดผ่านน้ำในข้อ และ
เข้าสู่เซลล์ของกระดูกอ่อนผิวข้อได้โดยง่าย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 05/02/2010 8:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Glucosamine

Glucosamine
From Wikipedia, the free encyclopedia

Glucosamine (C6H13NO5) is an amino sugar and a prominent precursor
in the biochemical synthesis of glycosylated proteins and lipids.


Glucosamine is part of the structure of the polysaccharides chitosan and
chitin, which compose the exoskeletons of crustaceans and other
arthropods, cell walls in fungi and many higher organisms.


Glucosamine is one of the most abundant monosaccharides.[1] It is
produced commercially by the hydrolysis of crustacean exoskeletons or,
less commonly by fermentation of a grain such as corn or wheat.[citation
needed] In the US it is one of the most commonly used non-vitamin, non-
mineral, natural products used by adults as a complementary or
alternative medicine.[2

Biochemistry

Glucosamine was first prepared in 1876 by Dr. Georg Ledderhose by the
hydrolysis of chitin with concentrated hydrochloric acid.[3][4] The
stereochemistry was not fully defined until the 1939 work of Walter
Haworth.[1] D-Glucosamine is made naturally in the form of glucosamine-
6-phosphate, and is the biochemical precursor of all nitrogen-containing
sugars.[5] Specifically, glucosamine-6-phosphate is synthesized from
fructose 6-phosphate and glutamine[6] as the first step of the
hexosamine biosynthesis pathway.[7] The end-product of this pathway is
UDP-N-acetylglucosamine (UDP-GlcNAc), which is then used for making
glycosaminoglycans, proteoglycans, and glycolipids.

As the formation of glucosamine-6-phosphate is the first step for the
synthesis of these products, glucosamine may be important in regulating
their production; however, the way that the hexosamine biosynthesis
pathway is actually regulated, and whether this could be involved in
contributing to human disease remains unclear.[8]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©