-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 DEC ....... สตรอเบอรี่, ปลูกไม้ผลอะไร, มะนาววงปูน, มะม่วงกับมดแดง, เรียนทำปุ๋ย, ราขาวพลู, ขยายพันธุ์พุด, ผสมพันธุ์กล้วยไม้, มะยงชิดระยะชิด, ข้าวเมาตอซัง
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 DEC ....... สตรอเบอรี่, ปลูกไม้ผลอะไร, มะนาววงปูน, มะม่วงกับมดแดง, เรียนทำปุ๋ย, ราขาวพลู, ขยายพันธุ์พุด, ผสมพันธุ์กล้วยไม้, มะยงชิดระยะชิด, ข้าวเมาตอซัง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 DEC ....... สตรอเบอรี่, ปลูกไม้ผลอะไร, มะนาววงปูน, มะม่วงกับมดแดง, เรียนทำปุ๋ย, ราขาวพลู, ขยายพันธุ์พุด, ผสมพันธุ์กล้วยไม้, มะยงชิดระยะชิด, ข้าวเมาตอซัง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/12/2013 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 DEC ....... สตรอเบอรี่, ปลู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร รายการวิทยุ 8 DEC
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์,
กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต, สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต,
ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2 )“คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ภาคกลางปลูกสตรอเบอร์รี่ได้ไหม ..... ?

ตอบ :
- พืชทั่วๆไปต้องการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต ประกอบด้วย “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” .... สตรอเบอรี่นอกจากต้องการปัจจัยพื้นฐาน “แสงแดด/อุณหภูมิ” ที่แตกต่างไปจากพืชอื่นแล้ว พื้นที่ปลูกต้องเป็นพื้นที่สูงกว่า 700 ม. จากระดับน้ำเลปานกลางเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

** อุณหภูมิ .... ต้องการอากาศหนาวเย็น 16-17 องศา ซี.
** แสง ......... ต้องการแสงแดดวันละ 10 ชม.
** พันธุ์ ........ พันธุ์ที่ออกดอกติดผลได้ทั้งวันสั้นและวันยาว ได้แก่ เซลวา, ทริบิวตี้, ทรีสตาร์, .... พันธุ์ที่ผสมในประเทศไทยโดยตรง ได้แก่พันธุ์พระราชทานเบอร์ 20, 50, 60, 70, ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทยมากกว่าพันธุ์อื่นๆ

@@ ประสบการณ์ตรง
** มีคนเอาไหลมาจากภาคเหนือ มาปลูกที่ จ.ปทุมธานี ช่วงที่อากาศหนาว (หนาวแบบปทุมธานี) ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโต อยู่ได้ประมาณ 3 เดือน แต่พออากาศเริ่มร้อน ต้นก็เริ่มเหี่ยยวเฉาแล้วตายในที่สุด

** กรมวิชาการเกษตรแนะนำการปลูกสตรอเบอรี่ใน กทม.ว่า ต้องเลี้ยงในห้องเย็นนาน 60 วันขึ้นไป จึงจะชักนำให้สตรอเบอรี่ออกดอกได้


** สวนสวรรค์สุพรรณบุรีที่แรกและที่เดียวในภาคกลาง ที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้สำเร็จเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว

16 ธันวาคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2556 :
งานเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จ. สุพรรณบุรี หรือ “สวนสวรรค์สุพรรณบุรี” ได้กำหนดงานจัดในวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2556 ภายในงานพบกับไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวหลากหลายสีสันและหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ลิลลี่ แกลดิโอลัส (ดอกคำมั่นสัญญา) พิทูเนีย แพงพวย กุหลาบนางฟ้า บีโกเนีย หน้าวัวสายพันธุ์ต่างประเทศ และเลือกชิมลูกสตรอเบอรี่สดๆ จากสวนสวรรค์สุพรรณบุรีที่แรกและที่เดียวในภาคกลางที่ปลูกสตรอเบอรี่ได้สำเร็จ นอกจากนี้ภายในงานยังพบกับ การออกร้านของดีเมืองสุพรรณบุรี สินค้า OTOP ของชุมชน พรรณไม้ราคาถูกจากสวนเกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปปลูกกันอีกด้วย

http://www.suphan.biz/GradenCenter.htm

----------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : เนื้อที่ 3 ไร่ อยู่ฉะเชิงเทรา ปลูกผลไม้อะไรดี....?

ตอบ :
- คงตอบแบบฟันธงให้ไม่ได้ เพราะ นานาจิตตัง + วัตถุประสงค์ แต่ให้แนวคิดได้ คือ ปลูกกินตามใจคนในบ้าน ปลูกขายตามใจคนซื้อ .... หลักการ คือ

** ปลูกกิน
- เลือกไม้ผลทะวาย ออกดอกติดผลได้ตลอดปี แบบไม่มีรุ่น คนนิยม
- เลือกไม้ผลหายาก ปกติไม่มีขายตามท้องตลาด รสชาดดี

** ปลูกขาย
- เลือกไม้ผลทะวาย บังคับให้ออกเป็นรุ่น ขายสด หรือแปรรูป คนนิยม
- เลือกผลไม้ราคาแพงสำหรับตลาดบน เกรด เอ. จัมโบ้. หากินยาก

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : มะนาวในวงปูนมีดอก ๆร่วง เป็นเพราะอะไร.....?

ตอบ :
- ต้นไม่สมบูรณ์เพราะ “ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ปัจจัยปัจจัยหนึ่งไม่ถูกต้องหรือเหมาะสมสำหรับมะนาว

- ขาดการบำรุงดอกโดยตรง คือ 15-30-15, เอ็นเอเอ. แคลเซียม โบรอน เพื่อการบำรุงดอกโดยฉพาะอย่างรุนแรง .... อย่างไรก็ตาม ปุ๋ย/ฮอร์โมน ไม่ใช่ของวิเศษที่สามารถทำให้พัฒนาการของพืชเป็นไปตามประสิทธิภาพที่ผู้ผลิตกล่าวอ้าง หากสภาพต้นไม่สมบูรณ์จริง ปุ๋ย/ฮอร์โมน จะเกิดประสิทธิภาพเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

- ปลูกมะนาวในวงปูนเป็นกระแส ปลูกแล้วอายุอยู่ได้แค่ 3-4 ปี รากเริ่มเต็มวงปูน ต้นจะเริ่มโทรม ให้ผลผลิตลดลง แล้วยืนต้นตายในที่สุด ทางเลือกที่ดีสำหรับมะนาวไม้ยืนต้น ให้พูนดินเป็นโคกสูง 30-50 ซม. กว้าง 1.5-2 ตร.ม. จะดีกว่า

- มะนาวเมื่อโตเต็มที่ ทรงพุ่มกว้าง 5-6 ม. ความสูง 4-5 ม. สมบูรณ์เต็มที่สามารถให้ผลได้ 1}000-2,000 ผล/ต้น/ปี


@@ หลักการและเหตุผล มะนาวในวงปูน
– พื้นที่เพื่อการดำรงชีวิตจำกัดภายในวงปูนเท่านั้น สารอาหารธรรมชาติจากนอกวงปูนเข้าไปในวงปูนไม่ได้ ในขณะที่รากจะออกไปหาสารอาหารกินเองนอกวงปูนก็ไปไม่ได้ เปรียบเหมือน สัตว์เลี้ยงในคอกในกรงที่ต้องได้รับสาอาหารจากคนให้เท่านั้น ถ้าคนไม่ให้แล้วสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร จึงเป็นหน้าที่ของคนปลูกที่ต้องหาสารอาหารให้ต้นมะนาวในวงปูนได้กิน

- วัตถุประสงค์ของการปลูกมะนาวในวงปูนเพื่อทำมะนาวหน้าแล้ง ซึ่งจะต้องงดน้ำแล้วเปิดตาดอกในช่วงเดือน ก.ค.- ส.ค.- ก.ย. ซึ่งเป็นหน้าฝนให้ได้ เพราะในวงปูนสามารถควบคุมหรืองดน้ำได้แน่นอน แม้จะงดน้ำได้แล้วทำให้มะนาวออกดอกได้ แต่ดอกจะติดเป็นลูกหรือไม่ ติดเป็นลูกแล้วจะโตหรือไม่โต แล้วจะมีคุณภาพหรือไม่ แม้กระทั่งต้นจะมีอายุยืนนานหรือไม่ เรื่องนี้เราต้องช่วยเขา 100% เขาช่วยตัวเองไม่ได้เลยก็เพราะเจ้าวงปูนนี่แหละที่เป็นอุปสรรค

@@ หลักการบำรุงมะนาวในวงปูน :
- บริหารจัดการ “ปัจจัยพื้นฐาน (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ตามความต้องการของมะนาวในวงปูนให้ถูกต้องเหมาะสมอย่างแท้จริง
- บำรุงมะนาวแบบ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของมะนาวในวงปูน
- ลดปุ๋ยเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ และสารปรับปรุงบำรุงดิน
- ลดธาตุหลัก เพิ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน และอื่นๆที่จำเป็น
- ให้สารอาหารครบสูตรทั้งทางใบและทางราก แบบให้น้อยบ่อยครั้ง สม่ำเสมอ
– ให้ปุ๋ยทางใบเป็นหลักเพื่อชดเชยกรณีที่ในดินมีสารอาหารน้อย

@@ บำรุงมะนาวในวงปูน :
- ทางใบ : ให้สูตรสหประชาชาติไปเลย.... น้ำ 200 ล. +ไทเป 60 ซีซี. + ไบโออิ 60 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (60 ซีซี.) 2 รอบ สลับด้วย แคบเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10-15 วัน ฉีดพ่นให้ปียกโชก ทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น .... ทุกครั้งที่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้ + สารสมุนไพรเข้าไปด้วยเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว

- ทางราก : ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น, ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 6 เดือน/ครั้ง, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1 ล./50 วงปูน)/เดือน, ให้ 21-7-14 วงปูนละ 2 ช้อน/เดือน, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : สวนมะม่วง มดแดงมาก หญ้ารกมาก กำจัดอย่างไร....?

ตอบ :
- ถ้าต้องการผลผลิตมะม่วง ขอให้แง่คิดเบื้องต้นว่า สวนไม่ใช่ลานวัด หรือสวนไม่ใช่สนามเด็กเล่น หากต้องการต้นมะม่วงเป็นที่พักร่มไต้ต้นไม้ก็กำจัดได้ทั้งมดแดงและหญ้า

- มดแดงช่วยกำจัดศัตรูพืชประเภทหนอนและเพลี้ยได้ดีมากๆ ใม่ใช่ให้เลี้ยงมดแดง แต่อาจจะควบคุมไม่ให้มีปริมาณมากจนเกินไป วิธีขับไล่มดแดงออกจากต้นมะม่วง (ต้นไม้ผลทุกชนิด) ให้ตัดกิ่งที่มดสามารถใช้เป็นสะพานเดินข้ามไปมาระหว่างต้นข้างคียงได้ พร้อมกับใช้กาวเหนียวทาโคนต้น เพื่อไม่ให้มดแดงบนต้นไต่ลงมาที่พื้นดิน กับป้องกันมดแดงที่พื้นดินไต่กลับขึ้นไปบนต้น เมื่อมดแดงเจอสถานการณ์แบบนี้ กลุ่มมดที่อยู่บนต้นจะดิ่งพสุธาลงมา สมทบกับบรรดามดที่พื้นดิน อพยบไปหาที่อยู่ใหม่เอง

- รากหญ้าช่วยอารักขาจุลินทรีย์ เก็บความชื้นไว้หน้าดิน เน่าสลายแล้วกลายเป็นปุ๋ย จึงไม่ควรกำจัดหญ้าด้วยยาฆ่าหญ้า แต่ใช้วิธีการตัดแต่งให้เรียบ สวยงาม

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : อยากไปเรียนวิธีทำปุ๋ยที่ไร่กล้อมแกล้ม เปิดสอนเมื่อไร....?

ตอบ :
- เรียนแบบไหน .... คนสอน นั่งพูดเช้ายันค่ำ คนเรียนก็นั่งจด จด จด วิธีนี้คงไม่ได้ เพราะคนสอน “หายเมา” แล้ว

- เคยถามอาจารย์สอนมหาลัยว่า หลักสูตรปริญญาตรี หรือโท หรือเอก แห่งมหาลัยไหน คณะอะไร สอนหลักสูตรการทำปุ๋ย สูตรที่ขายกันตามท้องตลาด ทั้งทางใบทางราก คำตอบคือ ไม่มีมหาลัยไหน คณะใด สอนวิชานี้เลย แม้แต่ภาควิชา “วิศวเคมี” ก็ไม่ได้สอนตรงๆ แต่สอนหลักการกว้างๆเท่านั้น คนที่ทำปุ๋ยเป็นวันนี้ล้วนแต่เรียนมาจาก “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเองทั้งสิ้น .... นักผสมปุ๋ยมือ 1 คนหนึ่งของประเทศไทย อยู่ จ.ปทุมธานี วันนี้ผลิตปุ๋ยทางใบชนิดน้ำส่งให้บริษัทอเมริกาเดือนละ 50,000 ลิตร บริษัทที่ว่ารับของแล้วไปแพ็ค ใส่ยี่ห้อของตัวเอง ในเรือที่จอดอยู่ในทะเลสากล แพ็คเสร็จส่งขึ้นฝั่ง ส่งให้เอเย่นต์ในเวียดนาม มาเลเซีย อินโดเนเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี คาดว่าส่วนหนึ่งเข้ามาวางเอเย่นต์ไทยด้วย แต่ไม่รู้ว่าชื่อยี่ห้ออะไรเท่านั้น

- คิดว่าเรื่องการทำปุ๋ยง่ายนักหรือ เรียนกันแบบสอนปากเปล่าแค่วันดียวแล้วทำได้เลย กับคนที่ไม่มีความรู้ทางวิชาการเป็นพื้นฐานมาก่อน รู้หรือไม่ว่า ภาษาเกษตรไม่มีภาษาไทย มีแต่ภาษาอังกฤษ แถมภาษาลาติน อีกต่างหาก ในวิชาการทำปุ๋ยเป็นเรื่องของ เคมีวิทยาศาสตร์ ล้วนๆ


@@ ประสบการณ์ตรง
– ทำรายการวิทยุช่วง 3-4 ปีแรก เริ่มจับแนวเกษตรใหม่แบบ อินทรีย์ชีวภาพนำ เคมีวิทยาศาสตร์เสริม ได้ แจกเอกสารทาง ปณ. กว่า 100,000 แผ่น โดย สมช.ผู้ฟังหลายท่านร่วมด้วยช่วยกัน ถ่ายเอกสารมาให้ รายละครั้งละหลายๆพันแผ่น โดยทางรายการออกค่าแสตมป์ให้ เอกสารชิ้นนี้ไปไกลถึงสหรัฐอเมริกาทั้งๆที่เป็นภาษาไทย เพราะเพื่อนทหารอเมริกันที่เคยไปรบสงครามเกาหลีรุ่นเดียวกันแจ้งข่าวมา ผลจากการแจกเอกสารที่ได้รับ คือ ไม่มีใครยอมรับหลักการนี้แม้แต่คนเดียว

- เป็น “นักส่งเสริม” คนเดียวที่กล้าพูดว่าในน้ำหมักชีวภาพมีสารอาหารพืชน้อยถึงน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชที่จะเจริญเติบโตจนได้เกรด เอ. จัมโบ้. ได้ ต้อง เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ปุ๋ยเคมีลงไปด้วย ภายใต้กรอบ “อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของพืช” .... ในขณะที่ “นักส่งเสริมคนอื่นๆ” ยืนยันให้ใช้แต่น้ำหมักชีวภาพอย่างเดี่ยว ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี

– เป็น “นักส่งเสริม” คนเดียวที่กล้าพูดว่า “จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย และ ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์” ชื่อก็คนละชื่อกัน แต่ทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกัน .... ในขณะที่ “นักส่งเสริมคนอื่นๆ” ยืนยันว่า “จุลินทรีย์คือปุ๋ย” ใช้จุลินทรีย์เดี่ยวๆพืชก็เจริญเติบโตได้

- เป็น “นักส่งเสริม” คนเดียวที่ใช้หลักการ การทำน้ำหมักชีวภาพของอียิปต์โบราณ, ของจีนโบราณ, ของอเมริกาเมื่อ 70 ปีที่แล้ว, ของฟูกูโอกะ ญี่ปุ่น, ของ ดร.โช เกาหลี, ของ ดร.อรรถ บุญนิธี, ของ ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ, ของ อ.สำรวล ดอกไม้หอม. มาผสมผสานต่อยอดกันตามความเหมาะสม .... ในขณะที่ “นักส่งเสริมคนอื่นๆ” ยืนยันวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุส่วนผสมเพียงอย่างเดียวล้วนๆ

- เคยตระเวนไปสอนทั่วราชอาณาจักร แบบพูดให้ฟังเฉยๆ สไตล์ TALK SHOW เหมือนเขียนหนังสือบนอากาศให้อ่าน มานานกว่า 10 ปี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 20 จังหวัด มีคนมาฟังนับรวมเหยียบแสนหรือหลายๆแสน .... ผลจากการสอน คือ ไม่เคยมีใครทำได้แม้แต่คนเดียว

– เปิดสอนที่ไร่กล้อมแกล้ม สอนแบบ LEARNING BY DOING การปฎิบัตินำ วิชาการเสริม ทั้งทำให้ดูและให้ทำกับมือ รวมเวลาสอนมาแล้วประมาณ 3 ปี มีคนมาเรียนราว 1,000 .... ผลก็คือ ไม่เคยมีใครทำได้แม้แต่คนเดียว เช่นกัน


- วิธีสอนแบบ LEARNING BY DOING ปฏิบัตินำ-วิชาการเสริม :
** เขียนรายการชื่อส่วนผสมทุกรายการบนบอร์ดเป็นภาษาไทย พร้อมอัตราใช้สำหรับให้จด ถ่ายรูปภาพนิ่ง วิดิโอ บันทึกเสียง
** โชว์ส่วนผสมของจริงที่จะใช้ทุกอย่างบนโต๊ะให้เห็นกับตา สัมผัสได้ด้วยมือ

** แนะนำบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายส่วนผสม พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ให้ผู้มาเรียนโทรสอบถามด้วยตัวเองถึงรายละเอียดที่ต้องการทราบ

** อธิบายถึงประสิทธิภาพของส่วนผสมแต่ละตัวที่มีต่อพืช โดยตรง โดยอ้อม
** บอกลำดับการใส่ส่วนผสมแต่ละตัว พร้อมบอกด้วยว่า การใส่ผิดลำดับก่อนหลังมีผลเสียอย่างไร แก้ไขอย่างไร

** เริ่มใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับตั้งแต่ตัวแรกถึงตัวสุดท้าย ตัวแรกผู้สอนใส่ให้ดูก่อน ตัวต่อไปให้ผู้เรียนใส่ด้วยมือตัวเอง (ถ้าผู้เรียนสนใจ ถ้าไม่สนใจ ผู้สอนใส่เองจนครบทุกตัว) พร้อมบอกเทคนิคการทำให้ส่วนผสมแต่ละตัวเข้ากันดีจนเป็นเนื้อเดียวกัน

** สอนวิธีการตรวจสอบแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยการพิสูจน์ “สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง-วุ้น-ฯลฯ” โดยมีหลักวิชาการรองรับยืนยัน
** สอนการตรวจสอบความเข้มข้นของเนื้อปุ๋ย (ถ.พ.)
** สอนเทคนิคการใช้
** สอนการเก็บรักษา
** สอนสมการปุ๋ย
** สอนวิชามารเกี่ยวกับตลาดปุ๋ย
** สอนปัญหาที่เป็นเหตุให้ทำเองไม่ได้ พร้อมวิธีแก้ปัญหา
** ถาม-ตอบ ข้อสงสัย
** ทำเสร็จพร้อมใช้พร้อมขายแล้ว แบ่งแจกฟรีให้ทุกคนนำกลับไป

- ทุกครั้งก่อนลงมือสอนจะแจ้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการให้ทุกคนทำเป็น ทำใช้-ทำขาย-ทำแจก ก็ว่าไป โดยพื้นฐานทางความคิดของแต่ละคนต่างคิดว่า การทำปุ๋ยเป็นเรื่องง่าย เรียนรู้ครั้งเดียวแล้วทำได้เลย ผลสุดท้ายคือ ทำไม่ได้แม้แต่คนเดียว บางคนกลับไปแล้ว “ด่า” ตาคิมตามหลัง อันนี้มีคนโทรมาบอกแถมสอนอีกว่า นั่นไม่ใช่ความผิดของคนสอน แต่เป็นความผิดของคนเรียนเอง ในเมื่อรู้ว่าเรื่องนี้มันยาก ทำไมไม่อยู่เรียนหลายๆวัน ฝึกหัดทำหลายๆครั้ง คำตอบจากคนที่เคยมาเรียนคือ “ไม่มีเวลา” .... ก็มีนะที่บางคนพูดว่า วันไหนลุงคิมจะผสมปุ๋ยให้โทรบอกเขาด้วย หรือบางคนกระซิบคนงานที่ไร่กล้อมแกล้มว่า วันไหนลุงคิมจะผสมปุ๋ยให้โทรบอกเขาด้วย .... โถ โถ งานนี้ต้องโอ๊ะโอ๋กันขนาดนั้นเชียวหรือ

- คิดอยู่เสมอว่า ทำการเกษตรเป็นอาชีพ หากลดต้นทุนค่าปุ๋ย ต้นทุนค่าสารเคมี ลงมาได้ ขายได้เท่าไหร่นั่นคือ กำไรเพิ่มขึ้น แปลกที่แนวคิดนี้เกษตรไม่สนใจ ไม่คิดพัฒนาตัวเอง ไม่ปรับปรุงตัวเอง เรียนแล้ว รู้แล้ว ทำเป็นแล้ว เอาไปต่อยอดขยายผลได้ จะเป็นความรู้อยู่กับตัวเองไปตลอดชีวิต ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ด้วย ก็เลยไม่รู้ว่า วันนี้เกษตรกรต้องการอะไรกันแน่

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ใบพลูเป็นราขาว กำจัดอย่างไร.....?

ตอบ :
- ถ้ามั่นใจว่าเป็น “รา” จะเป็นสีอะไรก็ช่างเถอะ สมุนไพร “เผ็ดจัด” ฉีดบ่อยๆแล้วจะดีเอง
- เชื้อราทุกชนิดชอบความชื้น ฝนตก น้ำค้าง ล้วนเป็นแหล่งความชื้นความชื้นทั้งนั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : พุดซ้อน พุดธรรมดา ขยายพันธุ์ชำกิ่งได้หรือไม่.....?

ตอบ :
- ตอนหรือชำ ได้ทั้งนั้น การปฏิบัติเหมือนไม้ทั่วๆไป
- เลือกกิ่งกลางอ่อนกลางแก่เป็นหลัง

– การตอน ทาแผลตอนด้วยกะปิ กับขุยมะพร้าวตุ้มตอนแช่น้ำมะพร้าวแก่ล่วงหน้า 3-5 วัน จะช่วยให้กิ่งตอนออกรากเร็ว

- การชำ กรีดเปลือกที่โคนก้านชำ 2-3 รอย ยาว 1 ซม. แช่ในฮอร์โมนเร่งราก 3-6 ชม. แล้วนำไปปักชำจะช่วยให้ออกรากเร็ว

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : ผสมพันธุ์ดอกกล้วยไท้แคทริยา ทำอย่างไร....?

ตอบ :
- เลือกดอกที่ต้องการให้เป็นต้นแม่ ดอกสมบูรณ์ ต้นสมบูรณ์ ลักษณะพันธุ์ตามต้องการ และเกสรตัวเมียพร้อมรับการผสม
- เลือกดอกที่ต้องการให้เป็นต้นพ่อ ดอกสมบูรณ์ ต้นสมบูรณ์ ลักษณะพันธุ์ตามต้องการ และเกสรตัวผู้พร้อมผสม

- ใช้กรรไกตัดปากดอก (กลีบ) ของต้นแม่ทิ้งไป
- ลักษณะดอกของต้นแม่หรือต้นพ่อ บางสายพันธุ์อาจมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนี้ ให้ตัดเกสรตัวผู้ในดอกต้นที่จะเป็นต้นแม่ทิ้งไป .... ถ้ามีเกสรเพศเดียวก็ไม่ต้องตัดออก

- ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเกสรตัวผู้เอาเกสรตัวผู้ของต้นพ่อ ไปใส่ให้กับเกสรตัวเมียของต้นแม่
- ผสมเกสรแล้วใช้ถุงไยสังเคราะห์ห่อดอกไว้ เพื้อป้องกันการผสมซ้ำจากเกสรตัวผู้พันธุ์อื่นๆ นาน 3-5 วัน จึงถอดถุงห่อดอกออก

- บำรุงเลี้ยงตามปกติ กระทั่งผลแก่จึงเอาเมล็ดมาดำเนินการเพาะต่อไป
- ต้นใหม่ที่เกิดจากเมล็ดจะเป็นแคทริยาพันธุ์ใหม่ต่างไปจากต้นพ่อต้นแม่ (กลายพันธุ์) ซึ่งจะดีกว่า หรือด้อยกว่า ไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้าหรือกำหนดได้

---------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (092)187-39xx
ข้อความ : มีที่ว่างข้างบ้าน 5 ไร่ ปลูกสำปะหลังมานานกว่า 10 ปี อยากปลูกมะยงชิด ระยะชิดพิเศษ แบบมะม่วงที่ไร่กล้อมแกล้ม ผู้พันบอกว่าธรรมชาติของมะม่วงกับมะยงชิดไม่เหมือนกัน เรารักมะยงชิดแต่มะยงชิดไม่รักเรา อยากให้ผู้พันวางแผนขั้นตอนการปลูกมะยงชิดระยะชิดพิเศษ และการบำรุงให้ด้วยว่า ต้องเริ่มต้นจากอะไรก่อน อะไรทีหลัง .... ขอบคุณครับ

ตอบ :
@@ ระยะชิด :
- ระยะปกติ 6 x 6 ม., ระยะชิดปกติ 3 x 3 ม. โตขึ้นต้นบียดกัน ตัดออกต้นเว้นต้น กลายเป็น 6 ม., ระยะชิดพิเศษ 2 x 2 ม. โตขึ้นต้นบียดกัน ตัดออกต้น 2 ต้นเว้นต้น กลายเป็น 6 ม.,

@@ เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- ไถดะขี้ไถใหญ่ๆ ทั้งแปลง ตากแดด 15 แดดจัด แล้วไถแปร ปรับเรียบ ใส่อินทรีย์วัตถุ ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์. ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, ทำแปลงลูกฟูก, ด้วยน้ำหมักชีวภาพ, บ่มดินทิ้งไว้ 15-20 วัน, กำจัดวัชพืชให้หมด

– ทำแปลงสันลูกฟูก วางแผนปลูกแบบแถวคู่ต่อ 1 สันแปลง ช่องว่างระหว่างทำร่องระบายน้ำ ยาวตามทางน้ำไหล ปากร่องกว่าง 1 ม. ลึก 30 ซม. ก้นสอบ 30 ซม.

– หมายจุดลงมะยงชิด จัดระยะห่างระหว่างต้น ระหว่างแถว ตามแผนที่วางไว้ จะพบพื้นที่ว่างระหว่างต้นสำหรับไม้พี่เลี้ยง

- ทำหลุมปลูกมะยงชิดล่วงหน้า ใส่อินทรีย์วัตถุ จุลินทรีย์ บ่มดินไว้ 3-6 เดือน รอให้ไม้พี่เลี้ยงพร้อมแล้วจึงลงมะยงชิด

@@ เตรียมไม้พี่เลี้ยง :
- ปลูกกล้วยระหว่างจุดที่กำหนดไว้สำหรับมะยงชิด.... ระยะชิดพิเศษ (2 x 2 ม.) ปลูกกล้วยนอกแถวมะยงชิด ....ระยะชิดปกติ (3 x 3 ม.) ปลูกกล้วยนอกแถวหรือในแถวมะยงชิด ตามความเหมาะสมและจำเป็น

- ประโยชน์จากไม้พี่เลี้ยงประเภทกล้วย ได้ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ, ใบกล้วย, ปลีกล้วย, ผลกล้วย ต้นกล้วย, สำคัญที่สุดคือรากกล้วยบำรุงดิน ที่เรียกว่า ปลูกกล้วยเอาราก ประมาณนั้น

– ปลูกพืชพุ่มเตี้ย อายุสั้น ฤดูกาลเดียว เช่น พริก มะเขือ แทรกระหว่าง ไม้พี่เลี้ยง (กล้วย) กับไม้ประธาน (มะยงชิด)
- บำรุงไม้พี่เลี้ยง พืชแทรมแซก ตามปกติ

@@ เตรียมกล้า :
- เลือกสายพันธุ์ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง ถือหลัก ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูให้แน่ดูถึงยาย ซื้อต้นไม้ไปให้ถึงสวน ไปตอนที่สายพันธุ์ที่ต้องการกำลังมีผลผลิตแก่ใกล้เก็บบนต้น แล้วเจรจาต้าอ้วยกับเข้าของสวนขยายพันธุ์ (ทาบกิ่ง) จากต้นนั้นมาขาย

- เลือกต้นกล้าที่ผ่านการอนุบาลมานาน ดินในถุงอนุบาลเก่า ระบบรากแก่เต็มถุง แตกยอดใหม่มาแล้ว 2-3 รอบ

- ปลูกต้นกล้าลึกเพียงดินปากถุงชำเสมอผิวดินหลุมปลูก ระยะ 10-15 วันแรกให้มีกิ่งไม้บังแดดให้ก่อน กระทั่งแตกยอดใหม่ 1-2 ชุด จึงเอากิ่งไม้บังแดดออด

@@ เตรียมบำรุง ระยะกล้า :
** ทางใบ
- ให้ ไบโออิ + 25-5-5 + เหล็ก คีเลต ทุก 15 วัน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ป้องกันศัตรูพืชทำลายใบอ่อน

** ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.)/ไร่ รดโคนต้น ทุก 2-3 เดือน
- พรวนดิน พูนดินโคนต้น ทุก 3 เดือน
- ให้ฮอร์ใมนบำรุงราก 12-60-0 ทุก 2-3 เดือน
- หญ้าคลุมโคนต้นหนาๆ

หมายเหตุ :
- ในน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงมีฮอร์โมน (อินทรีย์) บำรุงรากส่วนหนึ่งแล้ว หากจะใส่ 12-60-0 เสริมย่อมทำได้

- เมื่อต้นกล้าโตเริ่มเลี้ยงตัวเองได้แล้ว ให้ตัดใบกล้วยออกบ้างเพื่อให้ต้นมะยงชิดได้รับแสงแดด แต่ยังไม่เอาต้นกล้วยออก จนกว่าต้นมะยงชิดจะให้ผลผลิต 1-2 รุ่นจึงเอาออก
- การบำรุงเพื่อเอาผลผลิต ปฎิบัติตาม “8 ขั้นตอนบำรุงไม้ผล”


@@ เกร็ดความรู้เรื่องมะยงชิด :
- มะยงชิด มะยงห่าง มะปรางหวาน มะปรางเปรี้ยว เป็นไม้ตระกูลเดียวกัน ผสมพันธุ์กันได้ ต่างกันที่ รูปทรง ขนาด รส สี

- โตช้าเพราะระบบรากน้อย .... ต้นกล้าที่มีรากเดียว 5 ปี ออกดอกติดลูก, ต้นกล้าเสริมราก 1 ราก 3 ปี ออกดอกติดลูก, ต้นกล้าเสริมราก 2 ราก 2 ปี ออกดอกติดลูก

- ปลูกต้นกล้าระยะเล็ก ต้องมีไม้พี่เลี้ยง อย่างน้อย 2-3 ปี หรือเริ่มให้ผลผลิตแล้วจึงเอาไม้พี่เลี้ยงออก .... การใช้ซาแลนบังแดดแทนไม้พี่เลี้ยง ไม่ค่อยได้ผล เพราะในซาแลนไม่มีความชิ้นสัมพัทธิ์ในอากาศ .... ไม้พี่เลี้ยงที่ดีที่สุด คือ กล้วย

- ความที่เป็นไม้โตช้า แนะนำให้ปลูกแบบระยะชิดปกติอ 200 ต้น/ไร่ เลี้ยงไป 10 ปี จนต้นโตทรงพุ่มเริ่มชนกันเบียดกัน จึงออกออกต้นเว้นต้น หรือตัดแต่งกิ่งเป็นโจรแขนด้วน แล้วเลี้ยงต่ออีก 10 ปี ก็ได้

- ต้นพันธุ์มะยงชิด ระบบรากแข็งแรงดี พร้อมลงปลูก ราคาต้นค่อนข้างแพง ทางออกหนึ่ง คือ เริ่มปลูกด้วยการเพาะเมล็ด ลงจุดที่จะปลูกจริงลงไปก่อน เลี้ยงจนต้นกล้าโตแล้วค่อยเปลี่ยนยอด .... อันนี้เราซื้อต้นพันธุ์มาแค่ 2-3-4 ต้น สำหรับเลี้ยงเอายอด เมื่อต้นกล้าเพาะเมล็ดโตแล้วจัดการเปลี่ยนยอด แล้วเลี้ยงต่อไปแค่ 2-3 ปี ก็ออกดอกติดผลได้ .... ข้อแม้นิดเดียว “เปลี่ยนยอด” เป็นหรือเปล่า

– ติดสปริงเกอร์ + หม้อปุ๋ยหน้าโซน เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


จาก : (090) 831-46xx
ข้อความ : ทำนาไถกลบฟางครั้งแรก ไถกลบแล้ว 7 วัน มีคนบอกว่า ไถกลบฟางจะทำให้
ข้าวเน่าตอซัง เรื่องนี้เท็จจริงแค่ไหน แก้ไขอย่างไร .... ขอบคุณครับ จากผู้ฟังใหม่

ตอบ :
- ไถกลบฟางครั้งแรก ครั้งต่อๆมา ครั้งไหนๆ ก็มีสิทธิข้าวเมาตอซังได้ทั้งนั้น ถ้าฟางนั้นยังย่อยสลายไม่เรียบร้อย เพราะขณะที่ยังย่อยสลายไม่เรียบร้อยจะเกิดแก๊ซไข่เน่าเหมือนเศษพืชสด ปุ๋ยคอกใหม่ ใส่ต้นไม้แล้วใบเหี่ยว ยอดเหลือง .... นี่ก็อีหร็อบเดียวกัน

คำถามเดิม .... จาก : (081) 526-56xx
ข้อความ : ตอนนี้ข้าวเหลือง อยากทราบว่ามันเป็นอะไร มันจะเกี่ยวกับข้าวเมาตอซังหรือเปล่า และช่วยอธิบายเรื่อง ข้าวเมาตอซังดวย......ขอบคุณค่ะ

ตอบ :
- เมาตอซัง เป็นเพราะแก๊ซไข่เน่า (ไฮโดรเจน ซัลไฟด์) ซึ่งเกิดจากฟางที่กำลังย่อยสลายใหม่ๆ แล้วไม่มีจุลินทรีย์ หรือมีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟาโดยเฉพาะ จึงทำให้เกิดแก๊สดังกล่าว.... กรณีนี้แก้ไขโดย :

1) ใส่จุลินทรีย์ประเภทย่อยสลายฟางโดยเฉพาะ (ขยายเชื้อจากฟาง)
2) ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น .... จุลินทรีย์ “จาวปลวก” ช่วยย่อยสลายฟางได้
3) ใส่กากน้ำตาลเพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
4) ใส่ยิบซั่ม เฟอร์มิกซ์, ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กระดูกป่น ใส่น้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง (สูตรหน้าเว้บ) ซึ่งจะได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และสารอาหารสำหรับจุลิน ทรีย์ประจำถิ่น ต่อการย่อยสลายของฟาง และเศษซากวัชพืชทุกชนิด

(.....เศษซากพืชสดใหม่ทุกชนิด ปุ๋ยคอกใหม่ ใส่ลงไปในดินหรือคลุมโคนต้น แล้วต้นเกิดอาการใบเหลือง เหี่ยว ยืนต้นตาย ที่เกษตรกรเรียกว่า “ร้อน” นั้น ก็มาจากสาเหตุแก๊ซไข่เน่าตัวนี้เช่นกัน ....)

- ก่อนลงมือทำนา (หว่าน/ดำ/หยอด) ให้ตรวจสอบดิน ถ้ามีฟองแต่ไม่เหม็นหรือมีกลิ่นหอมของฟางข้าว แสดงว่าไม่มีแก๊สไข่เน่า ให้ลงมือทำเทือกได้เลย แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นก็ต้องแก้ไขอย่างที่บอกก่อน เพราะถ้ายังฝืนทำต่อไป นอกจากต้นข้าวจะชงักกาเจริญเติบโตแล้ว ยังอาจยืนต้นเหลืองตายอีกด้วย

- ต้นข้าวที่จะเมาตอซัง มักเกิดกับต้นข้าวระยะกล้าช่วงแรกๆ ต้นสูงราวฝ่ามือ ถึง 1 คืบมือเท่านั้น หลังจากนั่นมักไม่ค่อยเป็น เพราะฟางถูกย่อยสลายหมดแล้ว....

- ต้นข้าวที่โตแล้ว หรืออายุเกินระยะกล้าแล้ว มีอาการใบเหลือง หรือใบไหม้ แสดงว่าเป็นโรค (รา) แก้ไขโดย “สารอาหารทางใบ + สารสมุนไพร” ตามความเหมาะสม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------



.
    กลับไปข้างบน
    แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
    แสดงการตอบก่อนนี้:   
    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
    หน้า 1 จากทั้งหมด 1

     
    ไปยัง:  
    คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
    คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
    คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
    คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
    คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

    Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
    Forums ©